วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ ภาคเรียนที่ ๑ / ๒๕๕๑ หลักสูตรพระสังฆาฑิการระดับปริญญาตรี

แบบทดสอบ ภาคเรียนที่ ๑ / ๒๕๕๑
(๑.)  ตอบ  คำว่ารัฐ กับ  ชาติ  มีความแตกต่างกันอย่างนี้คือ
             รัฐหมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
              “ชาติ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกัน       ในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า ชาติไทย” “ประเทศ ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่าประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศแม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐมี ๔ อย่างคือ
๑.ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ
     ๑.)จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่
แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
     ๒.)ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา
และวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม
     ๓.)คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ
๒.ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ
๑.)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้อง
ทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล
๒.)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะ
ต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย
๓.รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบ
ทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
๔.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ อำนาจอธิปไตยภายใน๑   อำนาจอธิปไตยภายนอก
(๒.)  ตอบ    คำว่า รัฐใช้ในความหมายกว้าง คือ ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นรัฐประชาชาติอย่างที่รู้จักกันทุกวันนี้  แต่หมายถึง การจัดองค์การทางการเมืองทั่ว ๆ ไป  ดังนั้น  “กำเนิดของรัฐได้แก่ การพยายามมองว่า อะไรน่าจะเป็นเหตุให้เกิดมีการรวมตัวของคนในสังคมขึ้นมาเป็นองค์การทางการเมือง โดยกล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มแรกหรือในสังคมแบบดั้งเดิม มนุษย์ได้รวมตัวขึ้นมาเป็นองค์การทางการเมืองได้อย่างไร
                    ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดรัฐมี ๘ ทฤษฎี ได้แก่
                ๑. ทฤษฎีเทวสิทธิ์   ทฤษฎีนี้ถือว่า รัฐเกิดขึ้นมาจากสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์ คือเทพเจ้าหรือผู้อยู่เหนือมนุษย์ ทฤษฎีนี้มีสาระอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) รัฐได้รับการสถาปนาขึ้นโดยเทวโองการหรือเทวประสงค์ (๒) ผู้ครองรัฐหรือผู้เป็นประมุขของรัฐได้รับการแต่งตั้งโดยผู้มีสภาวะเหนือมนุษย์ คือโดยพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ (๓) ความรับผิดชอบหรือภารกิจที่ผู้นำหรือประมุขกระทำนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์นั้นเท่านั้น
 ๒. ทฤษฎีการแบ่งงาน  ทฤษฎีนี้ถือว่า  รัฐเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นอันมีขึ้น เพราะงานของมนุษย์ได้แตกแขนงและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น  งานของมนุษย์มีมากขึ้น คือ  มีไม่เฉพาะแต่ในเกษตรกรรม แต่ได้ขยายออกไปเป็นพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม  และการรวมตัวทางเศรษฐกิจในรูปต่าง ๆ กัน
๓. ทฤษฎีสัญชาตญาณหรือทฤษฎีธรรมชาติ  ทฤษฎีนี้ถือว่า เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมีสัญชาตญาณที่ผลักดันให้มนุษย์รวมตัวกันให้เป็นรัฐหรือให้เป็นองค์การทางการเมืองขึ้นมา ดังที่อาริสโตเติล (Aristotle) กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณให้อยู่ในเมืองหรือรัฐ หากไม่อยู่ในรัฐแล้ว ถือว่าจะต้องเป็นเทพเจ้า หรือ สัตว์โลกอื่น ๆ
๔. ทฤษฎีสัญญาประชาคม   ทฤษฎีนี้ถือว่า  ในภาวะธรรมชาติ  คือเมื่อยังไม่มีสภาพเป็นสังคมการเมือง  คนย่อมมีสิทธิตามธรรมชาติ  อันได้แก่สิทธิที่มีมาแต่กำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกครองตนเอง และเมื่อมีอยู่ในตัวคนตั้งแต่แรกเช่นนี้ย่อมสามารถมอบให้บุคคลอื่นได้ การมอบหมายยกสิทธิที่มีติดตัวมา (สิทธิตามธรรมชาติ) ให้ผู้อื่นนี้ อาจทำได้ในรูปของการให้ทำหน้าที่หนึ่งหรือหลาย ๆ หน้าที่สัญญาประชาคมซึ่งหมายถึง การทำสัญญาโดยที่มีการมอบอำนาจหรือมอบสิทธิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองของชุมชนนั้น
๕. ทฤษฎีอภิปรัชญา ทฤษฎีนี้ถือว่า รัฐมีสภาพพิเศษแตกต่างจากสังคมของคนโดยทั่วไป คือรัฐเป็นสภาพนามธรรม  ซึ่งจับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ แต่เป็นสภาวะที่มีอยู่อย่างแท้จริง รัฐมีตัวตนเป็นเอกเทศจากสังคมมนุษย์ธรรมดา คือมีสภาพเฉพาะของตัวเอง เข้าขั้นอภิปรัชญา(Metaphysics) อันหมายถึงมีสภาวะเหนือโลกส่งเหนือสภาวะธรรมดาและจะยืนยงคงกระพันอยู่ตลอดกาล
๖. ทฤษฎีทางกฎหมาย  ทฤษฎีนี้ถือว่า รัฐมีขึ้นมาโดยความจำเป็นทางกฎหมาย คือ เมื่อมีคนอยู่รวมกันในสังคมเป็นจำนวนมาก ย่อมจำเป็นต้องมีบทบัญญัติต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรฐานแห่งพฤติกรรม  นอกจากนี้ ยังจะต้องมีองค์การที่จะต้องดูแลให้มีการประพฤติปฏิบัติเป็นไปตามบทบัญญัติเหล่านั้น องค์การนั้นคือรัฐ
            ๗. ทฤษฎีเชิงชีววิทยาว่าด้วยรัฐเป็นอินทรีย์และทฤษฎีวิวัฒนาการ  ทฤษฎีนี้ถือว่า รัฐประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ซึ่งแต่ละส่วนเปรียบเสมือนอวัยวะต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นอินทรีย์และรัฐย่อมมีวงจรของการวิวัฒนาการคล้าย ๆ ของสิ่งมีชีวิต กำเนิดรัฐเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและการเจริญเติบโตก็เป็นไปแบบสิ่งมีชีวิต
                ๘. ทฤษฎีพลานุภาพ   ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับสมมติฐานที่ว่าเมื่อหลายหมื่นหรือหลายแสนปีมาแล้ว มนุษย์เป็นอันมากที่เร่ร่อนพเนจร โดยมีความดุดันก้าวร้าว มีการรุกรานกันระหว่างเผ่าเพื่อแบ่งผลประโยชน์ต่าง ๆ ระยะนี้การสงครามหรือการรบพุ่งระหว่างกลุ่มหรือเผ่าต่าง ๆ เป็นของธรรมดา เมื่อเผ่าหนึ่งได้กลายเป็นผู้พิชิตแล้ว พวกพเนจรเหล่านี้ก็ตั้งต้นเป็นอภิสิทธิ์ชนคือเป็นผู้มีสิทธิพิเศษต่าง ๆ
_____________________________________________________________________________
(๓.)  ตอบ  วิวัฒนาการและรูปแบการปกครองของรัฐแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.รัฐเดี่ยว คือรัฐที่มี รัฐบาลปกครองเพียงรัฐบาลเดียวโดยรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลางหน่วยการปกครองอื่นๆ ภายในประเทศ ถือว่าอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาลกลาง เช่น ไทย ฝรั่งเศส ญี่ปุน อังกฤษ นอรเวย์ สวีเดน ฯลฯ
ลักษณะของรัฐเดี่ยวต้องมีรูปลักษณะการปกครองที่มีกฎหมาย ระเบียบแบบแผน เป็นแบบอย่างเดียวกัน ทั้งประเทศมีอาณาเขตไม่กว้างขวางเท่าใดนักรัฐบาลกลางรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลางแห่งเดียว ประชาชนในรัฐจะมีเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เป็นแบบอย่างเดียวกัน ได้แก่ญี่ปุน อังกฤษ ฝรั่งเศส นอรเวย์สวีเดน เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย ฯลฯ
๒.รัฐรวม คือ รัฐที่มีการปกครองโดยมีรัฐบาลสองระดับ ได้แก่รัฐบาลที่ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของรัฐ ส่วนอีกรัฐบาลเรียกว่า รัฐบาลมลรัฐ หรือรัฐบาลทองถิ่น ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของท้องถิ่น ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการดํารงชีวิตประจำวัน
ลักษณะของรัฐรวมมีรัฐบาล ๒ ระดับ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ล่วนใหญ่จะมีอาณาเขตกว้างขวาง รัฐบาลกลางจะไม่มีเอกภาพในการบริหาร เพราะรัฐบาลส่วนท้องถิ่นจะวางนโยบายปกครองตนเอง ประชาชนจะมีหลายเชื้อชาติ และหลายวัฒนธรรมมาอยู่ร่วมกัน มักจะขึ้นต้นด้วย คําว่า สหรัฐ สหภาพ สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ 
_____________________________________________________________________________
๔. ตอบ    อธิปไตย หมายถึง การปกครองของรัฐ ซึ่งทําใหรัฐมีอิสระเสรีภาพและความเป็นเอกราชในอธิปไตยในรัฐ 
                   อำนาจอธิปไตย  คือ อำนาจซึ่งแสดงความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระ ความไม่ขึ้นแก่ใคร หรือ ต้องเชื่อฟังคำสั่ง คำบัญชาของผู้ใดที่เหนือตนโดยปราศจากความยินยอมของตน อำนาจอธิปไตย คือ คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของรัฐ และเป็นอำนาจสูงสุดที่รัฐมีอยู่เหนือประชากรของตน ไม่มีขีดจำกัดใดๆ ตามกฎหมายที่จะใช้อำนาจนั้น ดังเราจะเห็นได้ว่า รัฐเปิดให้บุคคลมีเสรีภาพในการกระทำการใดๆ ตามต้องการได้ แต่รัฐพร้อมเสมอที่จะแสดงอำนาจ หรือเข้าไปแทรกแซง การกระทำของประชาชน
                           อำนาจอธิปไตย ๔ อย่างคือ
๑.) มีความสมบูรณ์เด็ดขาด กล่าวคืออำนาจอธิปไตยต้องไม่ถูกจำกัดจากสิ่งใดๆ คือ โดยทั่วไปแล้วในรัฐหนึ่งๆ ย่อมประกอบด้วยอำนาจต่างๆ หลายประการ แต่อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ทั้งที่เป็นอำนาจที่เด็ดขาด และบริบูรณ์ในตัวเองโดยไม่มีอำนาจใด หรือกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดมาลบล้างได้
             ๒.) ความครอบคลุมทั่วไปรอบด้าน  กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยต้องแผ่ขยายไปยังทุกคน และทุกกลุ่มคนภายในรัฐ ไม่ว่าเป็นบุคคลหรือดินแดนหรือองค์กรใดๆ ก็ตาม
             ๓.) ความยืนยงถาวร  กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยจะต้องอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่าประมุขของรัฐจะเสียชีวิต คณะรัฐบาลจะเปลี่ยนแปลง หรือโครงสร้างรัฐจะถูกปรับปรุงใหม่ กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยย่อมอยู่คู่กับรัฐเสมอไปโดยไม่สูญสลาย นักปรัชญาการเมืองกล่าวว่าการมีอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบข้อหนึ่งของรัฐเพราะฉะนั้นถ้าสูญสิ้นอำนาจอธิปไตยก็เท่ากับว่าสูญสิ้นรัฐ
              ๔.) ความไม่อาจถูกแบ่งแยกได้  กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด เป็นหนึ่งเดียว แบ่งแยกไม่ได้ แม้รัฐจะมอบอำนาจให้องค์กรต่างๆ ทำหน้าที่ และความรับผิดชอบ แต่อำนาจนั้นสามารถที่จะถอดถอนคืนได้ กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจทางนามธรรมจึงไม่มีผู้ใดมองเห็น แต่ที่ทราบว่ามีอยู่ในรัฐเพราะผลของการใช้อำนาจอธิปไตย หรือผลของการมีอำนาจอธิปไตยเป็นสิ่งที่เข้าใจได้หรืออาจแลเห็นได้ในบางกรณี ตัวอย่างเช่น การที่รัฐดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีอำนาจอธิปไตยหรือการที่บุคคลหนึ่งสามารถบังคับบัญชาผู้อื่นได้โดยไม่มีใครมาบังคับบัญชาตนก็เพราะบุคคลนั้นมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง
_____________________________________________________________________________
 (๕.)  ตอบ  การปกครองระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองของประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ประชาชนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของอธิปไตยด้วยวิธีการ
ที่สำคัญ ดังนี้
๑. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจในการปกครอง
๒.ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม
๓.เป็นการปกครองที่ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด นโยบายและ
การดำเนินการของรัฐบาลจะต้องมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่
๔.ยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลักในการปกครอง ในขณะเดียวกันก็เคารพเสียงข้างน้อย
๕.ประชาชนมีความเสมอภาคกัน และมีสิทธิเสรีภาพตามที่กฎหมายกำหนด
๖.ประชาชนมีอำนาจในการควบคุมรัฐบาลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
        การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ  การปกครองที่ประชาชนเป็นผู้ปกครองตนเอง  ประชาชนรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับตัวเขา  และสามารถเรียนรู้ที่จะปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ภายใต้ระบบการเมือง  ซึ่งจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างไม่มีขีดจำกัด  ทำให้ประชาชนได้เข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของตัวเองได้อย่างดีที่สุด
_____________________________________________________________________________
(๖.)  ตอบ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทยให้ความหมายของกฎหมายว่า
                 "กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
                  "กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
                    กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น ๒ คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ
จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย
                      แหล่งที่มาของกฏหมายมีอยู่มากมายหลายทาง และมีวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทังนี้สามารถแบ่งแหล่งที่มาของกฏหมายได้ดังนี้จารีตประเพณี เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องของการยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน การออกกฏหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการปกครองระบอบราชาธิปไตย การออกกฏหมายจะเป็นพระบรมราชโองการของกษัตริย์ ต่อมาอำนาจในการออกกฏหมายเป็นของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏหมายโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือ สถาบันรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติ ปัจจุบันรัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเป็นแหล่งออกกฏหมายโดยตรง คำสั่งและกฤษฏีกาที่ออกโดยฝ่ายบริหาร เป็นกฏหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกมาบังคับใช้ คำพิพากษาของศาล คำพิพากษาของศาลคือแหล่งที่มาของกฏหมายนั้นๆ เช่น กรณีที่ผู้พิพากษาเคยตัดสินคดีในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน เมื่อมีคดีลักษณะเช่นเดียวกันเกิดขึ้นมาอีก ผู้พิพากษาจะยึดเอาคำตัดสินที่แล้วมาเป็นหลัก ความคิดเห็นของนักวิชาการ นักวิชาการกฏหมายมีส่วนช่วยให้เกิดกฏหมายใหม่ๆ ขึ้นบังคับใช้ในสังคม หรือนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฏหมายต่างๆ ทีไม่มีความยุติธรรมหรือไม่มีความเท่าเทียมกันในสังคม ให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กฏหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก ๒๐ ปี เป็น ๑๘ ปี ฯลฯ
ลักษณะสำคัญของกฏหมายมีลักษณะสำคัญดังนี้
         ๑.กฏหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ลักษณะ คือ
บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด
บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ ๑๕ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาขน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น
       ๒.กฏหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ เช่น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกกฏหมาย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฏหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกาและกฏกระทรวง
       ๓.กฏหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้กับบุคคลทุกคนในรัฐโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างเสมอภาคไม่ว่าคนนั้นจะถือสัญชาติใดก็ตาม
        ๔.กฏหมายมีผลบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก
       ๕.ผู้ใดฝ่าฝืนกฏหมายต้องได้รับโทษ การปฏิบัติตามกฏหมายไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัยไม่มีความเข็ดหลาบ โดยไม่ถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามประมวล      กฏหมายอาญากำหนดไว้ ๕ ประการ คือ
การกักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนด เรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล และห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
_____________________________________________________________________________

 (๗.)  ตอบ  รัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆเกิดขึ้นด้วยวิธีนี้
      สำหรับประเทศไทย นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย บรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญเหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆคือ รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับสภาพอันแท้จริงของรัฐ กล่าวคือ เพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวม ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของเอกชนแต่ละบุคคล ...
                   ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะ ๕ อย่างคือ
                ๑. รัฐธรรมนูญที่ดี    ควรมีข้อความที่ชัดเจนแน่นอน
                ๒.รัฐธรรมนูญที่ดี    ควรจะมีการบัญญัติสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจน
แม่นยำ  แน่นอน
                ๓.รัฐธรรมนูญที่ดี    ควรต้องครอบครุมบทบัญญัติเดียวกับการปกครองของรัฐไว้อย่างครบถ้วน
                ๔.รัฐธรรมนูญที่ดี    ควรที่จะมีเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
                ๕.รัฐธรรมนูญที่ดี    ควรมีกำหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามกฏหมายขึ้นไว้
_____________________________________________________________________________
(๘.)  ตอบ    "พรรคการเมือง" หมายถึงหมู่คณะที่ก่อตั้งเพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของชนกลุ่มหนึ่งในสังคม (เช่น คนสูงศักดิ์ พ่อค้านายทุน  พ่อค้ารายย่อย ชาวนาชาวประมง หรือคนกรรมาชีพอุตสาหกรรม  เป็นต้น)
     ในประเทศที่มีประสบการณ์ยาวนานด้านพรรคการเมือง เป็นที่เข้าใจกันว่า สิ่งที่หลอมรวมและยึดโยงบุคคลให้ร่วมมือกันดำเนินการทางการเมืองได้แก่ ปัจจัยนามธรรม ได้แก่ ปรัชญาหรืออุดมการณ์ทางการเมือง หรือทางเศรษฐกิจ/สังคม/การเมือง เช่น ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและระบบการเมืองแบบเผด็จการก็จะมีพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว นโยบายพรรคไม่ว่าสมัยใดก็ต้องอยู่ในประมณฑลของกรอบ  สังคมนิยม ประเทศที่การเมืองเป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจเป็นเสรีนิยมหรือทุนนิยม ก็มักมีหลายพรรคซึ่งสะท้อนปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองในขอบข่ายหรือแถบความคิด  ที่กว้าง เรียงมาตั้งแต่อนุรักษนิยม เสรีนิยม สังคมประชาธิปไตย แรงงาน สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ฯลฯ
พรรคการเมืองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็ตั้งชื่อตามครรลองนี้ว่าพรรค ซึ่งบ้านเราเคยหยิบยืมมาใช้เรียกว่าพรรค ชาติสังคม เมื่ออ่านชื่อพรรคก็เหมือนอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์ คือพอจะสะท้อนปรัชญาอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองที่จะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของพรรค
พรรคการเมืองควรมีแนวปฏิบัติตั้งแต่การตั้งชื่อพรรคให้ครอบคลุมและสะท้อนอุดมการณ์ปรัชญาทางการเมืองที่แต่ละพรรคยึดถือ ถ้าจะไม่แก่อุดมการณ์มากนัก จะใช้ปรัชญาสัมฤทธิ์คติ ก็ระบุเอาไว้
(๙.)  ตอบ  พรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมัยหน้า  คุณสมบัติหลักของพรรคการเมืองทั่วไปก็คือ
๑.จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการทางการเมืองในระดับที่ดูแลประโยชน์ส่วนรวม  ของระบบการเมืองโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าความสนใจของกลุ่มผลประโยชน์ แต่ละพรรคอาจจะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาไว้แตกต่างกัน
๒.การดำเนินการทางการเมืองของพรรคการเมืองย่อมมีจุดหมายปลายทางที่จะลงเลือกตั้งเพื่อเป็นตัวแทนของปวงชนเข้าทำหน้าที่ในสถาบันทางการเมือง พรรคการเมืองย่อมมีจุดมุ่งหมายจะมีโอกาสจัดตั้งหรือร่วมจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองที่มีความมุ่งหมายหรือพฤติกรรมเป็นอย่างอื่น เช่นประสงค์จะเป็นผู้ตรวจสอบ การทำงานของระบบราชการ หรือประสงค์จะให้การศึกษาทางการเมืองแก่สาธารณชน ฯลฯ ไม่ควรจะเรียกตัวเองว่าเป็นพรรคการเมือง
๓.ถึงแม้พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันการเมืองระดับสูงในสังคม และครอบคลุมกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ไว้จำนวนมาก และมีโอกาสที่จะเป็นรัฐบาลในช่วงสั้นหรือช่วงยาว แต่พรรคการเมืองก็ไม่ถึงกับอยู่ในตำแหน่งที่เป็นตัวแทน ประเทศชาติหรือสังคมทั้งมวล
๔.พรรคการเมืองที่จะมีคุณสมบัติ เข้าดำเนินการทางการเมืองอย่างจริงจัง จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและผ่านกระบวนการจัดตั้งตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน เป็นสถาบันที่เป็นทางการ  และจะมีผลให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกรรมวิธีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อแนะนำในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
๑.ควรทำใจให้เป็นกลางปราศจากอคติ
๒.พิจารณาหาเหตุผลให้ถี่ถ้วนแน่ชัดก่อนจะเลือกลงไป
๓.เพื่อความเสมอภาคกันทางสังคมควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปใช้สิทธิของตนเอง
๔.สิทธิและเสียงของประชาชนที่มีคุณธรรมทำให้ชาติมั่นคง
๕.รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทำให้เรามีสิทธิเรียกร้องได้
_____________________________________________________________________________
(๑๐.) ตอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบันของไทย
        ชื่อ นายเตช  บุนนาค           
                -  วิเคราะห์ -
                                ความสัมพันธ์ระหว่างไทย กัมพูชากรณีเขาพระวิหาร
                    - ผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้เกิดความบาดหมางกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าใจกันว่าเป็นการคดโกงกันและความหวาดระแวงใจกันขึ้นก็ตามมา ผู้นำประเทศอาจจะมีความเข้าใจรายละเอียดดีถึงความเป็นมา แต่ว่าประชาชนบางส่วนมีความเข้าใจผิดว่าสิ่งที่เราจะต้องทำคือการเอาสถานที่นั้นคืนมาให้จงได้ และมีการปลุกระดมด้วยวิธีการต่างๆ
                    ในกรณีที่เกิดเป็นข่าวที่ออกเผยแผ่ไปทั่วโลกนั้นคนที่ได้มองเห็นภาพเหล่านี้ต่างมีความคิดไปในประเด็นต่างๆกันแต่คนทั้ง ๒ ประเทศนี้มีความระแวงกันแน่นอน
                    - ผลดี
                  ๑. ทำให้ได้รู้ความจริงว่าเขาพระวิหารเป็นของประเทศไหน
                     ๒. ทำให้ได้รู้หลักฐานที่อ้างอิงกันมาทั้ง ๒ ฝ่าย
                   ๓. ทำให้ได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ในด้านหลักฐานและคำพูดของนักโบราณคดี
                    ๔. ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
                    ๕. ทำให้เป็นการตัดปัญหาที่เป็นเหตุให้แตกแยกกัน
                    -ผลเสีย
                    ๑. เป็นชนวนแห่งความแตกแยก
                   ๒. เป็นการผูกอาคาดจองเวรซึ่งกันและกัน
                    ๓.  เป็นการเดือดร้อนในภายหลังที่จะตามมา
                    ๔.  เป็นการเสียถึงประเทศไทยว่าเป็นคนโกง
                  ๕.  เป็นการระแวงกันทั้งไทยและกัมพูชา
_____________________________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น