วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

เฉลยบาลีไวยากรณ์


                                            เฉลยบาลีไวยากรณ์ 

                  ประมวล

                        ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ 
       ๑. ถ.  บาลีไวยากรณ์ว่าด้วยเรื่องอะไร ?  แบ่งเป็นกี่ภาค ?  อะไรบ้าง ?
        ต.  ว่าด้วยเรื่องระเบียบถ้อยคำสำนวน  และระเบียบหนังสือใน
ภาษาบาลีทั่วไป.  แบ่งเป็น  ๔ ภาค  คือ  อักขรวิธี  ๑ วจีวิภาค 
วากยสัมพันธ์    ฉันทลักษณ์ ๑
       ๒. ถ. ผู้ศึกษาบาลีไวยากรณ์  ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
        ต.  ได้รับประโยชน์  คือ  ความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีว่า
อะไรเป็นอะไร  เป็นเหตุให้ใช้ถ้อยคำสำนวนถูกต้อง  ได้ระเบียบตาม
ภาษานิยม  เช่นเดียวกับผู้เรียนไวยากรณ์ภาษาไทยฉะนั้น. [ อ.น. ]
       ๓. ถ.  ลักษณะอักขรวิธีและวจีวิภาค  แผกกันอย่างไร ?
        ต.  อักขวิธี  เป็นวิธีว่าด้วยตัวอักษร  เช่นวิธีก่อน  วิธีต่อตัว
อักษร  จัดวรรคตอนในส่วนตัวอักษร  เป็นต้น.  วจีวิภาร  เป็นการแบ่ง
คำพูดที่ประกอบด้วยตัวอักษรหลายตัวรวมกันเข้าเป็นคำ ๆ จำแนก
คำพูดเหล่านั้นออกเป็นอย่าง ๆ ตามลักษณะของคำพูด  เช่นคำพูดที่
เป็นชื่อจัดไว้พวกหนึ่ง  คำพูดเป็นกิริยาจัดไว้พวกหนึ่ง  ดังนี้เป็นต้น.
                                  [ อักขรวิธี ]
       ๑.  อะไรเรียกอักขระ  ?  อักขระแปลว่าอะไร ?  มีอุปการ
อย่างไรหรือ  เขาจึงใช้กันทุกชาติ ? 
        ต.  เสียงก็ดี  ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่าอักขระ. อักขระแปลว่า
ไม่รู้จักอย่างหนึ่ง, ไม่เป็นของแข็งอย่างหนึ่ง. เนื้อความของถ้วย
คำทั้งปวง ต้องหมายรู้กันได้ด้วยอักขระทั้งนั้น  เพราะฉะนั้น  เขาจึง
ต้องใช้กันทุกชาติ. 
       ๒.  อักขรวิธี  แบ่งออกเป็นกี่แผนก ?  อะไรบ้าง  ?  แผนกไหน
ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
        ต.  แบ่งเป็น ๒ แผนก  คือ สมัญญาภิธาน  ว่าด้วยอักษรที่เป็น
สระและพยัญชนะ  พร้อมทั้งฐานกรณ์แผนก   ๑ สนธิ ว่าด้วยต่ออักษร
ที่อยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกันแผนก ๑. 

                 [สมัญญาภิธานว่าด้วยสระและพยัญชนะ]
       ๑. อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น  มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
        ต. มี ๔๑ ตัว คือ  อ อา อิ อี  อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ชื่อสระ.
ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ , ฏ  ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ
พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ     ๓๓ ตัวนี้ชื่อพยัญชนะ. 
        ๒. อักขระกับพยัญชนะ  ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ?
        ต.  ต่างกัน  อักขระ  หมายความกว้าง  คือหมายถึงทั้งสระทั้ง
พยัญชนะ, ส่วนพยัญชนะ หมายความเฉพาะพยัญชนะมี ก, ข. เป็นต้น
ไม่ได้หมายความถึงสระด้วย.
        ๓.  อะไรเรียกว่าอักขระ  พยัญชนะและนิคคหิต ? ในคำทั้ง ๓
นั้น คำไหนแปลว่ากระไร ?  
          ต. เสียงก็ดี  ตัวหนังสือก็ดี  เรียกว่าอักขระ,  อักขระ  แปลว่าไม่รู้
จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง  ๑ อักขระที่เหลือจากสระ  ๓๓ ตัว มี
ก. เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด  เรียกว่าพยัญชนะ. พยัญชนะ  แปลว่า
ทำเนื้อความให้ปรากฏ พยัญชนะ คือ  เรียกว่า นิคคหิต  นิคคหิต
แปลว่ากดสระหรือกรณ์. 
        ๔. อะไรเรียกว่านิสัย ?  อะไรเรียกว่านิสสิต ?  มีหน้าที่ต่าง
กันอย่างไร ?
        ต.  สระ    ตัวเรียกว่านิสัย. พยัญชนะ  ๓๓  ตัวเรียกว่านิสสิต,
นิสสัย  มีหน้าที่ออกสำเนียง และเป็นที่อาศัยแห่งพยัญชนะ. นิสสิต
มีหน้าที่ทำเนื้อความให้ปรากฏ  แต่ต้องอาศัยสระ.  [ ๒๔๖๔ ].
        ๕. อักขระพวกไหนชื่อว่านิสสัย ?  พวกไหนชื่อว่านิสสิต  ?
เพราะเหตุไร ?
        ต.  อักขระ  ๘ ตัวเบื้องต้นชื่อว่านิสสัย  เพราะเป็นที่อาศัยของ
พยัญชนะ, ที่เหลือนอกนี้ชื่อว่านิสสิต  เพราะต้องอาศัยสระ.  [ ๒๔๖๘ ].
        ๖. สระ  ๘ ตัว  ๆ ไหนเป็นรัสสะ    ทีฆะ  ?  และตัวไหน  จัดเป็น
ครุ ลหุ?
        ต.  อ อิ อุ เป็นรัสสะ, อา อี  อู เอ  โอ  เป็นทีฆะ, แต่ เอ เป็น โอ ๒
ตัวนี้  ถ้ามีพยัญชนะสังโยคซ้อนกันอยู่เบื้องหลัง  ท่านจัดเป็นรัสสะ.
สระที่เป็นทีฆะล้วน  ๕ ตัว  และที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยคและ
นิคคหิตอยู่เบื้องหลัง  จัดเป็นครุ.  สระที่เป็นรัสสะล้วน  ไม่มีพยัญชนะ
สังโยคและนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง  จัดเป็นลหุ. 
       ๗.  เอ โอ เป็นรัสสสระได้ไหม  ถ้าไม่ได้ก็แล้วไป  ถ้าได้  ยก
ตัวอย่างมาดู  ? 
        ต.  ถ้ามีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลังเป็นรัสสสระได้  เหมือน
คำว่า  เสยฺโย  โสตฺถิ  เป็นต้น. [๒๔๖๖].
       ๘.  เอ กับ  โอ  โดยฐานต่างจากสระอื่นอย่างไร  จงบรรยายและ
ชี้เหตุด้วย ?
        ต. สระอื่นเกิดในฐานเดียว  เอ กับ โอ เกิดใ น  ๒ ฐาน  เอ เกิด
ที่คอและเพดาน. โอ เกิดที่คอและริมฝีปาก.   เพราะสระ ๒ ตัวนี้เป็น
สังยุตตสระ.    กับ  อิ  ผสมกันเป็น  เอ.  อ กับ อุ  ผสมกันเป็น โอ.
                   พยัญชนะ                                        
       ๑.  พยัญชนะ  แปลว่ากระไร ?  มีอุปการะแก่อักขรวิธีอย่างไร ?
        ต.  พยัญชนะ  แปลว่า  ทำเนื้อความให้ปรากฏ  คือให้ได้ความ
ชัดเจนขึ้น  มีอุปการะแก่อักขรวิธีมาก  เพราะความลำพังสระซึ่งเรียก
ว่านิสสัย  ถ้าไม่มีพยัญชนะเข้าอาศัยแล้ว  ก็ไม่ได้ความชัดตามภาษา
ินิยม  เช่นจะพูดว่า "ไปไหนมา" ก็จะเป็น  "ไอไอ๋อา"  มีเสียง
เหมือนกันไปหมด.  แต่เมื่อมีพยัญชนะเข้าอาศัยแล้ว  เสียงก็ปรากฏ
ชัด  ได้ความตามภาษาให้สำเร็จประโยชน์ในการพูด  การเขียนอักษร.
    ๒.  พยัญชนะ ๓๓ ตัวนั้น  จัดเป็นวรรคก็มี  เป็นอรรคก็มี การ
  จัดอย่างนั้น ถืออะไรเป็นหลัก หรือจัดส่ง ๆ ไปเช่นนั้น ?
        ต.  ถือฐานกรณ์เป็นหลัก คือพยัญชนะที่เป็นพวก ๆ กัน ตาม
ฐานการณ์ที่เกิด  จัดเป็นวรรค. ที่ไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐานกรณ์
ที่เกิด  จัดเป็นอวรรค. มีหลักอย่างนี้ มิได้จัดส่ง ๆ ไป. [ อ. น. ].
      ๓.   พยัญชนะวรรค  อวรรค  อย่างไหนมีจำนวนเท่าไร ? จง
บรรยาย. 
        ต.  พยัญชนะวรรค มี  ๒๕  ตัว  ก ข ค ฆ ง, จ ฉ  ช ฌ ,
ฏ  ฑ ฒ ณ,    ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม. ที่เป็นอวรรค  ๘ ตัว  คือ
ย ร ล ว ส ห ฬ  
    ๔.  อนุสาร  คืออะไร ?  และแปลว่าอะไร ?  เหตุใดจึงชื่อ
อย่างนั้น ?
        ต.  อนุสาร  คือนิคคหิต,  แปลว่า ไปตามสระ. ได้ชื่ออย่างนั้น
ก็เพราะไปตามสระ คือ  อ อิ อุ เสมอ  เหมือนคำว่า อห  เสตุ  อกาสึ
เป็นต้น. [๒๔๖๕ ].
                             [ฐานกรณ์ของอักขระ ]
      ๑.  ฐาน กับ กรณ์ ต่างกันอย่างไร ?  และอย่างไหนมีเท่าไร ?
จงแสดงมาดู.
        ต.  ฐานได้แก่ที่ตั้งที่เกิดของอักขระ  กรณ์  ได้แก่ที่ทำอักขระ.
ฐานมี  ๖ คือ  กณฺโ  คอ, ตาลุ  เพดาน,  มุทฺธา  ศีรษะ,  หรือปุ่มเหงือก
ก็ว่า,  ทนฺโต ฟัน, โอฏฺโ  ริมฝีปาก,  นาสิกา  จมูก. กรณ์มี ๔
คือ ชิวฺหามชฺณ  ท่ามกลางลิ้น  ๑ ชิวฺโหปคฺค  ถัดปลายลิ้นเข้ามา ๑
ชิวฺหคฺค  ปลายลิ้น  ๑ สกฏฺาน านของตน  ๑.
       ๒. อะไรเป็นฐานและกรณ์ของพยัญชนะอรรค ? ในพยัญชนะ
เหล่านี้  ตัวไหนเป็นสิถิลหรือธนิต ?  รู้ได้อย่างไร ?
        ต.  เพดานเป็นฐานของ ย, ท่ามกลางลิ้นเป็นกรณ์ของ ย.
ศีรษะหรือปุ่มเหงือกเป็นฐานของ ร,  ถัดปลายลิ้นเข้ามาเป็นกรณ์
ของ ร, ฟันเป็นฐานของ  ,  ปลายลิ้นเป็นกรณ์ของ ล,  ฟันและ
ริมฝีปากเป็นาของ ว,  ปลายลิ้นและริมฝีปากเป็นกรณ์ของ ว,
ฟันเป็นฐานของ ล,  ปลายลิ้นเป็นกรณ์ของ ส, คอเป็นฐานและเป็น
กรณ์ของ ห, ศีรษะเป็นฐานของ ฬ,   ถัดปลายลิ้นเข้ามาเป็นกรณ์
ของ ฬ,  จมูกเป็นฐานและกรณ์ของนิคคหิต.
        ในพยัญชนะเหล่านี้ ย ล ว ส ฬ  เป็นสิถิล, ร ห   เป็นธนิต
รู้ได้ว่า ย ล ว ฬ ๔ ตัวนี้ ใช้เป็นตัวสะกดได้ มีเสียงเท่ากับพยัญชนะ
ที่ ๓  ที่  ๕ ในวรรคทั้ง ๕ อันเป็นสิถิลโฆสะ  ใช้สะกดได้เหมือกัน,
ส รู้ได้ว่าเป็นสิถิลอโฆสะ  เพราะสะกดได้   มีเสียงเท่ากับพยัญชนะที่ ๑
ในวรรคทั้ง ๕ อันใช้สะกดได้เหมือนกัน,  ร ห  เป็น  ธนิต  เพราะ
ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้  ซึ่งมีเสียงเท่ากับพยัญชนะที่ ๔  ในวรรคทั้ง ๕
อันใช้สะกดไม่ได้เหมือนกัน. 
        ๓. ในจำพวกสระเอ กับ โอ เกิด  ในฐานไหน?  มีกำเนิดเป็นมา
อย่างไร  จึงได้เกินในฐานนั้น ?
        ต.  เอ เกิดใน ๒ ฐาน  คือ คอและเพดาน โอ เกิดใน ๒ ฐาน
คือ คอและริมฝีปาก, สระ  ๒ ตัวนี้  เป็นสังยุตตสระ  ประกอบ
สระ  ๒ ตัวเป็นเสียงเดียวกัน. อ กับ อิ  ผสมกันเป็น เอ, อ กับ อุ
ผสมกันเป็น  โอ,  เพราะฉะนั้น เอ จึงเกิดในคอและเพดานตามฐาน
ของ อ  และ  อิ, โอ จึงเกิดในคอและริมฝีปากตามฐานของ อ และ
อุ.
      ๔. อักขระอะไรบ้าง  เกิดใน ๒ ฐาน ?
        ต.   เอ, โอ, , , , , , , เกิดใน ๒ าน. 
        ถ.  สระ ๘ ตัว  เกิดฐานเดียวกัน  หรือต่างกันอย่างไร ?
        ต.  ไม่เกิดฐานเดียวกันทั้งนั้น  อ อา เกิดในคอ, อิ อี  เกิดที่
เพดาน,  อุ อู  เกิดที่ริมฝีปาก,  เอ เกิดในคอและเพดาน, โอ เกิด
ในคอและริมฝีปาก.
       ๕. ห แต่ลำพังตัวเอง  เกิดที่ไหน ?  และประกอบด้วยพยัญชนะ
อื่นอะไร ? เกิดที่ไหน ?
        ต. ห แต่ลำพังตัวเองเกิดแต่คอ  ประกอบด้วยพยัญชนะ ๘ ตัว
คือ      น ม ย ล ว ฬ  ท่านกล่าวว่าเกิดที่อกด้วย.
       ๖. กรณ์  ๓ นั้น กรณ์ไหนสำหรับอักขระพวกไหน ?
        ต.  ชิวฺหามชฺฌ  ท่ามกลางลิ้น เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นตาลุชะ,
ชิวฺโหปคฺค  ถัดปลายลิ้นเข้ามา  เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นมุทธชะ,
ชิวฺหคฺค  ปลายลิ้น  เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นทันตชะ,  สกฏฺาน
านของตน  เป็นกรณ์ของอักขระที่เหลือจากนี้.
                                   [ เสียงอักขระ ]
      ๑. เสียงของอักษรทั้งปวง  ท่านจัดอักษรอย่างไหน  มีเสียง
 กี่มาตรา ?
        ต. ท่านจัดอักษรที่เป็นสระสั้นมาตราเดียว สระยาว ๒ มาตรา
สระที่มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลัง ๓ มาตรา,  พยัญชนะทั้งหมด
ตัวหนึ่ง ๆ มีเสียงกึ่งมาตรา ถ้าพยัญชนะควบกัน ๒ ตัว ก็มีเสียง
ยาวเท่ากับพยัญชนะไม่ควบตัวหนึ่ง. 
        ๒. สระกับพยัญชนะ ต้องอาศัยกันจึงออกเสียได้  หรือไม่ต้อง
อาศัยกัน  ก็ออกเสียงได้ ?
        ต. สระ แม้จะไม่อาศัยพยัญชนะก็ออกเสียงได้ตามลำพัง  เช่น
อาภา  โอชา  เป็นต้น คำว่า  อา โอ นั้น  ไม่มีพยัญชนะอาศัย  แต่
ก็ออกเสียงได้ ส่วนพยัญชนะ  จะออกเสียงตามลำพังไม่ได้  ต้อง
อาศัยสระจึงออกเสียงได้  เช่น  ติโร  รุกฺโข  เป็นต้น.
        ๓.  พยัญชนะอะไร  จัดเป็นอโฆสะ ? อะไรจัดเป็นโฆสะ ?
        ต.  พยัญชนะที่ ๑ ที่  ๒ ในวรรคทั้ง  ๕ คือ ก ข,  จ ฉ,  ฏ ,
ต ถ,  ป ผ, และ  ส รวม  ๑๑ ตัว เป็นอโฆสะ  มีเสียงไม่ก้อง.  พยัญชนะ
ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ คือ    ฆ ง,  ช ฌ , ฑ ฒ ณ,
ท ธ น, พ ภ ม, และ  ย ร ล ว ห ฬ. ๒๑ ตัวนี้  เป็นโฆสะ  มีเสียง
ก้อง. 
        ๔. นิคคหิต  จัดเป็นโฆสะหรืออโฆสะ ?หรือไม่จัดเป็นทั้ง ๒
อย่าง ?
        ต. ศัพทศาตราจารย์  จัดเป็นโฆสะ  ส่วนนักปราชญ์ฝ่าย
ศาสนา  จัดเป็นโฆสาโฆสวิมุต  คือพ้นจากโฆสะและอโฆสะ
      ๕.  จงจัดพยัญชนะวรรคเป็น ๔ หมู่  มีสิถิลอโฆสะเป็นต้น.  และ
พยัญชนะ ๔ หมู่  มีเสียงหนักเบากว่ากันอย่างไร ?
        ต.  จัดพยัญชนะวรรคเป็น ๔ หมู่นั้น ดังนี้ :-
        ๑.  สิถิลอโฆสะ  ก จ ฏ ต ป.
        ๒.  ธนิตอโฆสะ ข ฉ  ถ ผ.
        ๓.  สิถิลโฆสะ ค ง ช  ฑ ณ ท น พ ม.
        ๔.  ธนิตโฆสะ  ฆ ฌ ฒ ธ ภ.
พยัญชนะเป็นสิถิลอโฆสะ  มีเสียงเบากว่าทุกยัญชนะ,  ธนิตอโฆสะ
มีเสียงหนักกว่าสิถิลอโฆสะ, สิถิดโฆสะ  มีเสียงดังกว่า ธนิตอโฆสะ,
ธนิตโฆสะ  มีเสียดังก้องกว่าสิถิลโฆสะ.

       ๖.  พยัญชนะอะไรบ้าง เป็นธนิตโฆสะ. และพยัญชนะพวกนี้
ออกเสียเช่นไร ?
        ต.  พยัญชนะที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ คือ  ฆ ฌ ฒ ธ ภ เป็นธนิต-
โฆสะ. พยัญชนะพวกนี้  ออกเสียงดังก้อง  มีเสียง ห แกม. [๒๔๕๗]
      ๗. พยัญชนะที่เป็นอัฑฒสระคืออะไรบ้าง ?  เหตุใดจึงชื่อดังนั้น ?
        ต.  พยัญชนะ ๗ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ.  เพราะพยัญชนะ
เหล่านี้  บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันด้วยพยัญชนะอื่น  ออกเสียง
พร้อมกันได้ บางตัวแม้เป็นตัวสะกดก็คงออกเสียงหน่อยหนึ่ง  พอให้รู้
ได้ว่าตัวนั้นสะกด. 
                                [ พยัญชนะสังโยค]
      ๑.  พยัญชนะเช่นไรเรียกว่าพยัญชนะสังโยค  จงอธิบายถึงวิธี
ที่อาจเป็นได้เพียงไร ?  
        ต.  พยัญชนะที่ซ้อนกันเรียกว่าพยัญชนะสังโยค  วิธีที่อาจเป็นได้
นั้นดังนี้ คือ พยัญชนะที่ ๑  ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑และ  ที่ ๒  ในวรรค
ของตนได้,  พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔  ในวรรค
ของตนได้, พยัญชนะที่สุดวรรค  ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตน
ได้ทั้ง ๕ ตัว   เว้นแต่ตัว  ง ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว  ซ้อนหน้าตัวเอง
ไม่ได้, ย ล ส ซ้อนหน้าตัวเองได้, นอกจากนี้ยังมีอีก  แต่ท่านมิได้
วางระเบียบไว้แน่นอน.
     ๒.  ลักษณะที่ประกอบพยัญชนะซ้อนกันได้นั้น  เป็นอย่างไร ?
พยัญชนะสนธิ เหตุใดจึงได้สนธิกิริโยปกรณ์แต่เพียง ๕ ? และเหตุใด
สระสนธิจึงมีสนธิกิริยาปกรณ์ขาดไป ๑ ?
        ต.  ลักษณะที่จะประกอบพยัญชนะซ้อนกันได้นั้น ดังนี้  ใน
พยัญชนะวรรคทั้งหลาย  พยัญชนะที่ ๑  ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑  และ
ที่ ๒  ในวรรคของตนได้,  พยัญชนะที่ ๓  ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓  และ
ที่ ๔  ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที่ ๕ สุดวรรคซ้อนหน้าพยัญชนะใน
วรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว ยกเสียแต่ตัว ง. ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว
มิได้สำเนียงในภาษาบาลี  ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้.  พยัญชนะวรรคที่
ซ้อนกันดังนี้ก็ดี ตัว ย ล ส  ซ้อนกัน ๒ ตัวก็ดี ไม่มีสระคั่น  พยัญชนะ
ตัวหน้าเป็นตัวสะกดของสระที่อยู่หน้าตน  ไม่ออกเสียงผสมด้วย
 พยัญชนะตัวหลัง.  ส่วนพยัญชนะตัวหลังอาศัยสระตัวหลังออกสำเนียง 
พยัญชนะอาจจะลบได้  อาเทสได้  ลงอาคมก็ได้  ปกติก็ได้  ซ้อนกัน
ก็ได้  แต่จะทีฆะ  รัสสะ  หรือวิการไม่ได้  เพราะทีฆะ  รัสสะและวิการ
เป็นของสระ  เพราะฉะนั้น  พยัญชนะสนธิจึงได้สนธิกิริโยปกรณ์แต่
เพียง ๕,  สระจะซ้อนกันไม่ได้เลย  ได้แต่พียงผสมกัน  เพราะฉะนั้น
ในสระสนธิจึงไม่มีสัญโญโค.
      ๓.  พยัญชนะสังโยค  ในพยัญชนะวรรคทั้งหลาย  มีเกณฑ์ที่
จะประกอบอย่างไร ?  จงแสดงอุทาหรณ์แห่งพยัญชนะ ที่ซ้อนหน้า
ตัวเองทุกตัว.
        ต.  มีเกณฑ์ที่จะประกอบอย่างนี้ คือ พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้า
พยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที่ ๓ ซ้อหน้า
พยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที  ซ้อนหน้า
พยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ตัว เว้นแต่ตัว ง ที่ซ้อนหน้าพยัญชนะ
อื่นๆ   ในวรรคของตนได้  แต่ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้ เพราะมิได้ออก
เสียงในภาษาบาลี  มีไว้สำหรับเป็นตัวสะกดอย่างเดียว. อุทาหรณ์
แห่งพยัญชนะที่ซ้อนหน้าตัวเอง คือ  เนปกฺก  วิทูนคฺค ปณฺฑจฺจ
โสหชฺช  การุญฺ  วฏฺฏ  ฉฑฺฑิต  ปณฺณ  นีลตฺต  หาลิทฺท  ทินฺนธน
สปฺปก นิพฺพาน  โอปมฺม  โสเจยฺย โกสลฺล  โปริสฺส.  [นปุ.  ๑๗ ].
      ๔. พยัญชนะอะไรบ้างซ้อนหน้าตัวเองได้ ?  พยัญชนะอะไรบ้าง
ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่น ?
        ต.  พยัญชนะที่ ๑  ที่ ๓  ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้นแต่ ง  กับ ย ล ส
ซ้อนหน้าตัวเองได้, ง ว ฬ  ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่นบางตัว [ ๒๔๗๘ ].
                                          [ สนธิ]   
     ๑. สนธิกับสมาส  มุ่งลักษณะอย่างเดียวกันมิใช่หรือ ?  เห็น
อย่างไร ?  จงอธิบาย .
        ต.  มุ่งลักษณะต่างกัน  สนธิหมายเอาลักษณะการต่อตัวอักษร
มิได้เพ่งถึงศัพท์.  ส่วนสมาสเพ่งการย่อศัพท์หลาย ๆ บท ให้เข้าเป็นบท
เดียวกัน มิได้มุ่งการต่อตัวอักษร. แต่ถ้าอักษรที่ต่อกันในสมาส
มีวิธีซึ่งต้องต่อด้วยวิธีของสนธิ จึงต้องเอาวิธีสนธิมาให้. [ ๒๔๗๔ ].
 ๒. จงพรรณนาความต่างแห่งศัพท์สนธิกับศัพท์สมาส ?  มหา-
สาโล  ศัพท์นี้ เป็นศัพท์สนธิด้วยหรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
        ต.  ศัพท์สนธิกับศัพท์สมาสต่างกันอย่างนี้  ต่อศัพท์และอักขระ
ให้เนื่องกันด้วยอักขระ  เพื่อจะย่ออักขระให้น้อยลง  เป็นอุปมการะใน
การแต่งฉันท์ และให้คำพูดสละสวย เรียกสนธิ. ย่อบทวิภัตติ
หลาย ๆ บท ให้เป็นบทเดียวกัน  เรียกสมาส. เป็นศัพท์สนธิด้วย.
เพราะอาเทสพยัญชนะ คือ ร เป็น ล จึงเป็นมหาสาโล.  [ ๒๔๖๓].
      ๓.  สนธิ กล่าวตามประเภทเป็นกี่อย่าง ?  นิคคหิตสนธิ ๑
อย่างไหน  ต้องใช้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร  ?  คืออะไรบ้าง ?
        ต.  เป็น ๓ คือ สระสนธิ ๒ พยัญชนะสนธิ  ๑ นิคคหิตสนธิ ๑
สระสนธิ  ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ คือ โลโป  อาเทโส  อาคโม
วิกาโร  ปกติ  ทีโฆ รสฺส.  พยัญชนะสนธิ  ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕
  คือ  โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ  สญฺโโค.  ส่วนนิคคหิตสนธิ
ใช้สนธิกิริโยปกรณ์  ๔ คือ  โลโป อาเทโส อาคโม  ปกติ. [ ๒๔๖๘ ]
      ๔. สนธิมีชื่อว่าอย่างไร  อย่างไหนมีอุทากรณ์อย่างไร ? 
        ต.  มีชื่อว่า  สระสนธิ  พยัญชนะ สนธิ  นิคคหิตสนธิ เป็น ๓,
สระสนธิ  มีอุทาหรณ์ว่า ยสฺส= อินฺทฺริยานิ  ลบสระหน้าคือ    ที่สุด
แห่งศัพท์  ยสฺส  เสีย  สนธิเป็น  ยสฺสินฺทฺริยานิ.  พยัญชนะสนธิ  มี
อุทาหรณ์ว่า มหาสาโร  เป็นมหาสาโล. นิคฺคหิตสนธิ  มีอุทาหรณ์
ว่า  พุทฺธาน=สาสน  เป็น  พุทฺธานสาสน. [ ๒๔๖๓ ]"
      ๕.  สระสนธิ  ต่อสระนั้น คือต่อสระอะไรกับอะไร ? และมี
สนธิกิริโยปกรณ์อะไรบ้าง ?
        ต.  คือต่อสระที่สุดของศัพท์หน้าซึ่งเรียกว่าสระหน้า  กับสระ
หน้าของศัพท์หลังซึ่งเรียกว่าสระหลัง  มีสนธิกิริโยปกรณ์  ๗ คือ
โลปะ  อาเทส  อาคม วิการ  ปกติ  ทีฆะ  รัสสะ. [ ๒๔๖๐ ].
    ๖. สระสนธิ  ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร  อะไรบ้าง  ?  โลปสระ
เช่นไรจำเป็นต้องทีฆะสระด้วย เช่นไรไม่ต้อง ?
        ต. ได้สนธิกิริโยปกรณ์เป็น  ๗ คือ  โลโป อาเทโล  อาคโม
วิกาโร ปกติ  ทีโฆ รสฺส,  ถ้าลบสระสั้นที่มีรูปเสมอกัน คือเป็น อ
หรือ อิ  หรือ อุ ทั้ง ๓ ตัว  ต้องทีฆะสระสั้นที่ไม่ได้ลบ เช่น  ตตฺร= อย
เป็น ตตฺราย,  ยานิ= อิธ เป็น  ยานีธ,  พหุ= อุปกาโร  เป็น พหูปกาโร
หรือสระหน้าเป็นทีฆะ  สระเบื้องปลายเป็นรัสสะ เมื่อลบแล้ว  ต้อง
ทีฆะสระหลัง เช่น  สทฺธา= อิธ   เป็น สทฺธีธ, นอกจากนี้ไม่ต้อง.
  ๗.  จกฺขุ= อายตน สนธิเป็น  จกฺขายตน  จะถูกหรือไม่ ? ถ้าถูก
เป็นสนธิอะไร  มีวิธีอย่างไร  ถ้าไม่ถูก จะควรทำอย่างไรจึงจะ
ถูก ?  และทำอย่างนั้นด้วยสนธิกิริโยปกรณ์อะไร ? ในสนธิอะไร ?
        ต. ถูก. เป็นสระโลปสนธิ คือ  ลบสนะหน้า. อีกอย่างหนึ่ง
สนธิ เป็น  จกฺขฺวายตน  ก็ได้  เป็นอาเทส.
   ๘. สระอะไรบ้าง เป็นอาเทสได้เฉพาะในที่เช่นไร ฒ?  จงยก
อุทาหรณ์.
        ต. สระที่อาเทสได้ คือ  อิ เอ อุ โอ ถ้ามีสระอยู่เบื้องหลัง
แปลง อิ  ตัวหน้าเป็น ย. ถ้าพยัญชนะซ้อนกัน  ๓ ตัว  ลบพยัญชนะ
ที่มีรูปเสมอกันเสียตัวหนึ่ง อุทหรณ์  ปฏิสนฺถารวุตติ= อสฺส เป็น
ปฏิสนฺธารวุตฺยสฺส,  เอา เอ  เป็น ย  อุทาหรณ์ เต = อสฺส เป็น
ตฺยสฺส,  เอา โอ เป็น ว  อุทาหรณฺ  อถโข=อสฺส  เป็น  อถขฺวสฺส,
เอา อุ  เป็น ว อุทกาหรณ์  พหุ= อาพาโธ  เป็น พหฺวาพาโธ ถ้ามี
สระอยู่ข้างหน้า  แปลง เอ  ตัวหน้าแห่ง เอว ศัพท์อันอยู่เบื้องปลาย
เป็น ริ ได้บ้าง  แล้วรัสสะตัวหน้าให้สั้น  อุทาหรณ์   ยถา-เอว
เป็น  ยถริว.
        ๙. จิตฺตขฺวาห  วตฺเถรวตฺถ ตัดบทอย่างไร ?
        ต.  จิตฺต โข อห  ลบนิคคหิต  และเอา โอ เป็น ว. วตฺถุ  เอตฺถ
เอา อุ  เป็น ว.
       ๑๐. สระสนธิ  ในที่เช่นไร แปลนิคคหิตเป็น   จงนำอุทาหรณ์
มาแสดง ?
        ต. พยัญชนะวรรคและ  เอ, ห อยู่หลัง  แปลงนิคคหิตเป็น 
อุทาหรณ์  พุทฺธญฺจ  มมญฺเว  เอวญฺหิ. ย อยู่หลัง แปลนิคคหิต
กับ ย เป็น   อุทาหรณ์  สฺโชน.
     ๑๑.   ในสระสนธิ  เมื่อลบสระแล้ว อย่างไรต้องทีฆะ? อย่างไร
ไม่ต้อง ? อุทาหรณ์ว่า  โนเปติ  เป็นทีฆสนธิใช่ไหม?  เพราะเหตุไร ?
        ต.  ถ้าลบสระยาวหรือสระสั้นที่มีรูปไม่เสมอกัน  ต้องทีฆะสระสั้น
ที่ไม่ได้ลบ ถ้าลบสระสั้นที่รูปไม่เสอมกัน ไม่ต้องทีฆะสระสั้นที่
ไม่ได้ลบก็ได้.  ไม่ใช่  เพราะทีฆะ ท่านประสงค์ทำสระสั้นให้ยาว เช่น
อ เป็น อา, อิ เป็น อี, อุ เป็น อี, อุ. ถ้าเอา อิ  เป็น เอ เอา อุ เป็น
โอ ท่านเรียกวิการ.
    ๑๒.ในสนธิ  ในที่เช่นไร  วิการ อิ เป็น เอ และ อุ  เป็น โอ
ได้ จง ชักอุทาหรณ์มาด้วย ?
        ต.  ในที่มีสระ อ อยู่ข้างหน้า  วิการ อิ เป็น เอ และ อุ  เป็น โอ
ได้ อุทาหรณ์  พนฺธฺสฺส= อิง พนฺธุสฺเสว,  น -อุเปติ  โนเปติ  เว้น
ไว้แต่มีพยัญชนะสังโยคสะกดสระ อิ  หรือ อุ นั้น  อุทาหรณ์  เทว=
อินฺโท  เทวินฺโท, จิตฺต = อุปฺปาโท จิตฺตุปฺปาโท.
      ๑๓. ทีฆสนธินั้น  แบ่งเป็นเท่าไร ?  คืออะไรบ้าง ? อย่างไหน
อุทาหรณ์อย่างไร ?
        ต. แบ่งเป็น  ๒ คือ  ทีฆะสระหน้าอย่าง ๑ ทีฆะสระหลังอย่าง ๑
 ทีฆะสระหน้านั้นดังนี้  สระหน้าเมื่อสระหลังลบแล้ว ทีฆะได้บ้าง
อุทาหรณ์ว่า สาธุ= อิติ เป็น สาธูติ  หรือพยัญชนะอยู่หลัง  ทีฆะได้บ้าง
อุทาหรณ์  มุนิ= จเร  เป็น มุนีเจ  ทีฆะสระหลังก็อย่างเดียวกัน ต่างแต่
ลบสระหน้าทีฆะสระหลัง  ดังนี้  สทฺธา=อิธ เป็น สทฺธีธ.
 ๑๔.  พยัญชนะสนธิ  ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร?  ส่วนอาเทโส
พยัญชนะ อย่างไหนนิยมสระ  อย่างไหนนิยมพยัญชนะ อย่างไหน
ไม่นิยมเลย ?
        ต.  พยัญชนะสนธิ  ได้สนธิกิริยาโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป อาเทโส
อาคโม ปกติ  สญฺโโค. ส่วนอาเทสพยัญชนะ ถ้าสระอยู่หลัง แปลง
ติ ที่ทำเป็น ตฺย  แล้วให้เป็น   จฺจ อุทาหรณ์  อิติ= เอว อิจฺเจว
แปลง อภิ เป็น อพฺภ  อุทาหรณ์ อภิ=อุคฺคจฺฉติ  เป็น  อพฺภุคฺคจฺฉติ
เป็นต้น  อย่างนี้  นิยมสระ ถ้าพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง  แปลง อว เป็นโอ
อุทาหรณ์ อว= นทฺธา เป็น  โอนทฺธา  เป็นต้น  อย่างนี้นิยมพยัญชนะ
แปลง ธ  เป็น ห อุทาหรณ์  สาธุ=ทสฺสน เป็น สาหุทสฺสน  เป็นต้น
อย่างนี้ไม่นิยมเลย. 
      ๑๕.   อาเทสพยัญชนะสนธิ  มีวิธีทำอย่างไร  ที่เรียกว่า   นิยมสระ
นิยมพยัญชนะ  และไม่นิยมกันเลย   จงยกอุทาหรณ์ประกอบด้วยทุกแห่ง ?
        ต.  มีวิธีทำอย่างนี้  ถ้าสระอยู่หลัง แปลงติ  ที่ท่านทำเป็น  ตฺย
แล้วให้เป็น จฺจ  อุทาหรณ์  อิติ = เอว  เป็น อิจฺเจว  เป็นต้น  ดังนี้
เรียกว่า  นิยมสระ   [คือนิยมสระเบื้องหลัง],  แปลง  อว เป็น โอ
อุทาหรณ์  อว= นทฺธา  เป็น   โอนทฺธา ดังนี้  เรียกว่า นิยมพยัญชนะ
[คือพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง]  แปลง ธ เป็น   ห อุทาหรณ์  สาธุ =
ทสฺสน เป็นต้น  สาหุทสฺสน  แปลง ท  เป็น ต อุทาหรณ์  สุคโท  เป็น
สุคโต  เป็นต้น  เรียกว่า  ไม่นิยมเลย [ คือไม่นิยมสระหรือพยัญชนะ
เบื้องปลาย ] 
      ๑๖. ขอข้อบังคับและตัวอย่างพยัญชนะอาคม  ๘ ตัว ?
        ต.  พยัญชนะอาคม    ตัว ย  ว ม ท น ต ร ฬ นี้  ถ้าสระอยู่
เบื้องหลัง  ลงได้บ้างดังนี้  ย อาคม  ยถา=อิท  ยถายิท, ว อาคม
อุ = ทิกฺขติ  เป็น วุทิกฺขติ,   อาคม  ครุ=เอสฺสติ เป็น ครุเมสฺสติ,
ท อาคม  อตฺต =  อตฺโถ  เป็น อตฺตทตฺโถ,  น อาคม  อิโต=อายติ
เป็น อิโตนายติ, ต อาคม  ตสฺมา= อิห  เป็น  ตสฺมาติห, ร อาคม
สพฺภิ=เอว เป็น สพฺภิเรว,    อาคม = อายตน  เป็น  ฉฬายตน,
ใน สัททนีติ  ว่า ลง ห อาคมก็ได้   อุทาหรณ์ว่าสุ = อุชุ  เป็น สุหุชุ,
สุ = อุฏฺิต  เป็นสุหุฏฺิต.
     ๑๗.  อาคโม  และ สญฺโโค  ในพยัญชนะสนธิ  ๘ ตัว  ย ว ม
ท น ต ร ฬ ถ้าสระอยู่หลัง  ลงได้บ้าง,  ในสัททนีติว่า ลง ห อาคม
ก็ได้.  ส่วน  สญฺโโค  แบ่งเป็น  ๒ คือ  ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือน
กันอย่าง ๑ ที่ไม่เหมือนกันอย่าง ๑ อุทาหรณ์ที่ต้น อิธ= ปโมทติ
เป็น อิธปฺปโมทติ,  จาตุ =ทสี  เป็นจาตุทฺทสี,  อุทาหรณ์ที่ ๒ เอา
อักขระที่ ๑ ซ้อนหน้าอักขระที่ ๒ อักขระที่ ๓ ซ้อนหน้าอักขระที่ ๔
ดังอุทาหรณ์ว่า จตฺตาริ = านานิ  เป็น  จตฺตาริฏฺานานิ,  เอโสว

จ=ฌานผโล เป็น  เอโสว  จชฺฌานผโล. [๒๔๖๖].
       ๑๘.  การลงอาคมทั้งสระและพยัญชนะ มีจำกัดอย่างไร ? จง
อธิบายและยกอุทาหรณ์. 
        ต.  มีจำกัดอย่างนี้ ถ้าสระ  โอ อยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง  ลบ
โอ เสีย  แล้วลง อ อาคม อุทาหรณ์ โส สีลวา  เป็น  สสีลวา, ถ้า
พยัญชนะ อยู่เบื้องปลาย ลง โอ อาคม  ก็ได้  อุทาหรณ์ ปร= สหสฺส
เป็น  ปโรสหสฺส,  ส่วนพยัญชนะอาคมนั้น มีจำกัดให้ลงได้  ๘ ตัว คือ
ย ว ม ท น ต ร ฬ แต่ต้องมีสระอยู่เบื้องหลังจึงจะลงได้ อุทาหรณ์
ยถา=อิท  เป็น  ยถายิท,  อุ = ทิกฺขติ  เป็น วุทิกฺขติ, ครุ = เอสฺสติ
เป็น  ครุเมสฺสติ,  อตฺต= อิห  เป็น ตสฺมาติห,  สพฺภิ= เอว  เป็น สพฺภิเรว
ฉ= อายตน  เป็น ฉฬายตน  แต่ในสัททนีติ  ลง ห อาคมก็ได้
อุทาหรณ์  สุ = อุชุ เป็น  สุหุชุ. [๒๔๖๘].
     ๑๙.  ในสระสนธิ ในที่เช่นไร  แปลงนิคคหิตเป็น   ได้ ชัก
อุทาหรณ์มาเทียบด้วย ?
        ต.  พยัญชนะวรรคและ  เอ, ห อยู่หลัง  แปลงนิคคหิตเป็น ญ
ได้  อุทาหรณ์  ธมฺมญฺจเร, ปจฺจตฺตญฺเว,  เอวญฺหิ. ย  อยู่หลัง
แปลงนิคคหิต กับ ย  เป็น  ฺ  อุทาหรณ์ สญฺโโค. [ ๒๔๕๘ ].
    ๒๐. จงให้ตัวอย่างแห่งอาเทสสนธิทั้ง ๓  เฉพาะนิยมสระเบื้อง
ปลาย ?
        ต.  สารเทสสนธิ เช่นคำว่า อคฺยาคาร  พหฺวาพาโธ. พยัญชนา-
เทสสนธิ  ดังคำว่า อิจฺเจว  อชฺฌคมา  อชฺโฌกาโส.  นิคคหิตาเทส-
สนธิ  เช่นคำว่า  ตญฺเว,  เอตทโวจ,  ยมห.[ ๒๔๖๙]"
 ๒๑.  การลงอาคม  ท่านบัญญัติให้ใช้ในสนธิไหน ?  จงแสดง
พร้อมทั้งวิธีหรือโอกาสที่ท่านอนุญาตให้ลงด้วย ?  
        ต.    ในสระสนธิ ถ้ามีพยัญชนะอยู่หลัง  สระ  โอ อยู่หน้า ลบ
โอ แล้วลง อ อาคมได้,ถ้าสระ อ อยู่หน้า ลบ อ  แล้วลง โอ  อาคม
ได้,  ในพยัญชนะสนธิ ถ้ามีสระอยู่หลัง  ลง ย ว ม ท น ต ร ฬ
อาคมได้, ในสัททนีติว่า ห อาคมก็ลงได้,  ในนิคคหิตสมาธิ  ถ้าสระ
หรือพยัญชนะอยู่หลัง  ลงนิคคหิตอาคมได้.
   ๒๒.  อาเทสกับวิการ  ต่างกันอย่างไร ?  เมื่อพบอุทาหรณ์ว่า
นิพฺเพมติโก จะเข้าใจว่าเป็นมาอย่างไร ?
        ต.  อาเทส  ได้แก่แปลงสระหรือนิคคหิตให้เป็นพยัญชนะ หรือ
แปลงพยัญชนะให้เป็นสระ  หรือเป็นพยัญชนะอื่นจากเดิม, ส่วน
วิการได้แก่ทำสระให้เป็นสระมีรูปผิดจากวัณณะเดิม  ต่างกันอย่างนี้.
นิพฺเพมติโก เข้าใจว่าเดิมเป็น นิ วิ มติโก  วิการ อิ  เป็น  เอ อาเทส
ว เป็น พ แล้วสังโยค  คือ  ซ้อน พ.
      ๒๓.  ปจฺจุปการ  อุภยมฺเปต   สพฺพตฺถมปราชิตา ศัพท์ไหนเป็น
สนธิอะไรได้บ้าง  จงแถลงวิธีสนธินั้น ๆ ให้สิ้นเชิง ?
        ต. ปจฺจุปการ  เป็นพยัญชนะสนธิ  เดิมเป็น ปติ= อุปการ
แปลง ติ เป็น ตยฺ แล้วแปลงเป็น จฺจ. อุภยมฺเปต เป็นนิคคหิตสนธิ
ในท่อนหน้า  เป็นสระสนธิในท่อนหลัง เดิมเป็น อุภย= ปิ= เอต  แปลง
นิคคหิตเป็น ม  เป็นเสร็จในเรื่องนิคคหิตสนธิท่อนต้น ท่อนหลัง
ลบ อิ  เสีย  สนธิเข้าเป็น  เป เป็นสระสนธิ.  สพฺพตฺถมปราชิตา เป็น
พยัญชนะสนธิ  เดิมเป็น สพฺถตฺถ=อปาราชิตา  ลง ม อาคม. [๒๔๖๗ ].
๒๔.  ทุกฺขมเนฺติ  เสนาสนฺตุฏฺ  กว่าจะสำเร็จรูปอย่างนี้ได้  ต้อง
ผ่านวิธีแห่งสนธิอะไรบ้าง  ? จะแสดงให้สิ้นเชิง.
        ต.  ทุกฺขมเนวฺติ  ตัดบทเป็น ทุกฺข  อเนฺวติ.  ทุกฺข  ทุ = ขม
ข ซ้อน กฺ หน้า  ข โดยวิธีแห่งสัญโญคสนธิ.  อเนฺวติ  อนุ = เอติ เอา อุ
เป็น ว โดยวิธีแห่งสราเทสสนธิ.  ทุกฺข=อเนฺวติ  เอานิคคหิตเป็น ม
โดยวิธีแห่งนิคคหิตาเทสสนธิ  สำเร็จรูปเป็น ทุกฺขมเนฺวติ. เสนา-
สนฺตุฏฺ  ตัดบทเป็น  เสน = อนสฺตุฏฺ,   อสนฺตุฏฺ  น ส = ตุฏฺ  เอา
นิคคหิตที่ ส เป็น น โดยวิธีแห่งนิคคหิตาเทสสนธิ เสน = อสนฺตุฏ
ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง  โดยวิธีแห่งสรโลปสนธิและทีฆสนธิ  สำเร็จ
รูปเป็น  เสนาสนฺตุฏฺ.
       ๒๕.  ในวิธีของสนธิกิริโยปกรณ์ ๘ อย่าง เฉพาะบ้างปกติ  ดู
ไม่น่าจะเป็นอุปการะแก่การต่ออย่างไรเลย  แต่ไฉนท่านจึงจัดเข้าประจำ
ทั่วทั้ง ๓ สนธิ  หรืออาจเป็นได้บ้าง ? เห็นอย่างไร จงอธิบายมา ?
        ต.  เป็นอุปการะได้อย่าง ๑  เพราะการต่ออักขระ  ซึ่งเรียกว่า
สนธินั้น   จะต่อเข้าเฉยๆ  โดยไม่มีหลักเกณฑ์ไม่ได้  จะต่อได้เฉพาะ
ตามหลักที่วางไว้  เช่น โลปะ เป็นต้น   แต่เมื่อต้องการจะต่อเข้าเฉยๆ
โดยไม่ต้องลงหรือทำอย่างอื่น  เช่นนี้ก็ต้องต่อโดยใช้หลักที่เรียกว่า
ปกติ  คงรูปไว้ตามเดิม  จึงเห็นว่า  ปกติ  ก็มีประโยชน์อยู่ในสนธิทั้ง ๓.
                                          [ นาม ] 
       ๑.  จงแสดงลักษณะแห่งนามทั้ง ๓  ให้เห็นว่าต่างกัน  ยกตัวอย่าง
มาสักประโยคหนึ่ง  เป็นคำมคธหนึ่งคำไทยก็ตาม  แสดงให้เห็นว่า
คำนั้น ๆ เป็นนามนั้น ๆ ?
        ต. นามที่เป็นชื่อของคน,  สัตว์,  ที่, สิ่งของ  เป็นนามนาม.
นามที่แสดงลักษณะของนามนาม  สำหรับหมายให้รู้ว่านามนามนั้น
ดีหรือชั่วเป็นต้น  เป็นคุณนาม. สัพพนาม เป็นศัพท์สำหรับใช้แทน
นามนามที่ออกชื่อมาแล้ว  เพื่อจะไม่ให้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ.  อุจฺจ  ขตฺติยสฺส
กุล ,  ต  ชนเหิ  มานิต. กุล  เป็นชื่อขอสกุล เป็นนามนาม,  อุจฺจ
แสดงลักษณะของสกุล เป็นคุณนาม, ต  ใช้แทนสกุล  เป็น
สัพพนาม.
      ๒.  นามศัพท์  เมื่อนำไปใช้ในข้อความทั้งปวง  จะต้องทำ
อย่างไร ?
        ต.  ต้องประกอบด้วยลิงค์  วจนะ  และ วิภัตติ.
      ๓.  นามศัพท์ทั้ง ๓ อย่างไหนแบ่งเป็นกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?
        ต.  นามนาม  แบ่งเป็น  ๒ อย่าง  คือ สาธารณนาม ๑  อสาธารณ-
นาม ๑.  คุณนาม  แบ่งเป็น ๓ อย่าง  คือ ปกติ  ๑ วิเสสน  ๑ อติวิเสส ๑.
สัพพนาม  แบ่งเป็น  ๒ อย่าง  คือ ปุริสสัพพนาม  ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑.
     ๔.  คุณนามแบ่งเป็น ๓ จะสังเกตรูปได้อย่างไรว่า นี้เป็นคุณนาม
ชั้นนั้นชั้นนี้ ?
        ต.  สังเกตรู้ได ้ ๒ อย่าง คือ สังเกตคำแปลอย่าง ๑ สังเกต
ศัพท์อย่าง ๑.  สังเกตคำแปลนั้น  คือ ปกติคุณนาม  แสดงลักษณะ
อาการหรือสมบัติของนามนามตามปกติ  เช่น คนมีศรัทธา, มีศีล.
ไม่มีคำแปลว่า  "ยิ่ง  หรือ กว่า"  และคำแปลว่า "ที่สุด" วิเสส-
คุณนาม  มีคำแปลว่า "ยิ่ง หรือ กว่า"  เช่น  ดียิ่ง  หรือคำอื่นๆ
อีกที่แสดงว่า ดีหรือชั่วที่สุด  เช่น บาปที่สุด  ดุร้ายที่สุด สูงเกิน
เปรียบ. สังเกตศัพท์นั้น คือ  ศัพท์ที่เป็นปกติคุณนาม  ไม่มีปัจจัย
อุปสรรคและนิบาต ที่แสดงความยิ่งและหย่อนกว่าปกติต่อท้ายหรือ
อยู่หน้า  เช่น  สทฺโธ  สีลวา เป็นต้น.ศัพท์ที่เป็นวิเสสนคุณนาม  มี
ตร อิย  ปัจจัยในตัทธิตต่อท้ายบ้าง เช่น  ลามกตโร  ปาปิโย,  มี
อติ  อุปสรรคนำหน้าบ้าง เช่น  อติสุนฺทโร เป็นต้น. ศัพท์ที่เป็นอติ-
วิเสสคุณนาม มี ตม อิฏฺ  ปัจจัยในตัทธิตต่อท้ายบ้าง เช่น  ปาปตโม
จณฺฑิฏฺโ  มีอติวิยอุปสรรคและนิบาตนำหน้าบ้าง  เช่น  อติวิยอุจฺโจ
เป็นต้น.              
    ๕.  นามศัพท์  ถ้านำไปใช้ในข้อความทั้งปวง  ต้องประกอบ
ด้วยอะไร ?  เมื่อได้ประกอบได้กับวิภัตติแล้ว เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา
อย่างไรบ้าง ?
        ต.  ต้องประกอบด้วย ลิงค์  วจนะ  วิภัตติ.  เป็นประโยชน์
ให้ผู้ศึกษาเข้าใจ  การันต์  ลิงค์  วจนะ  และอายตนิบาตคือคำต่อ  ซึ่ง
ท่านจัดไว้สำหรับวิภัตติโดยแน่นอนและชัดเจนขึ้น  เช่นคำว่า  ซึ่ง,
ด้วย,  แก่,  จาก,  ของ, ใน, เป็นต้น  ต้องใช้วิภัตติข้างหลังบอก
ให้รู้เนื้อความนั้น ๆ ทั้งสิ้น.
   ๖.  นามนามกับคุณนาม  ต่างกันอย่างไร ?  ภทฺร บาป เป็น
นามหรือคุณ  หรือเป็นได้ทั้ง  ๒ อย่าง ?  ถ้าเป็นอะไร  ก็ให้บอกถึง
ชั้นด้วย ?
        ต. นามที่เป็นชื่อของ  คน สัตว์  ที่ สิ่งของ เป็นนามนาม,
ส่วนนามที่แสดงลักษณะของนามนาม  สำหรับหมายให้รู้ได้ว่าดีหรือชั่ว
เป็นต้น  เป็นคุณนาม, เป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง ที่เป็นนามนาม เป็นชั้น
สาธารณะ  ที่เป็นคุณนาม เป็นชั้นปกติ. [๒๔๖๘ ].
    ๗.   การแบ่งนามนามเป็น ๒ นั้น  อาศัยเหตุอะไร? การแบ่ง
เช่นนั้น  มีประโยชน์อย่างไร ?
        ต.   อาศัยชนิดของนามนามนั่นเอง  ซึ่งประชาชนใช้พูดกัน
โดยไม่จำกัดนามอย่างหนึ่ง. โดยจำกัดนามอย่างหนึ่ง.  การแบ่งเช่น
นั้น  ก็มีประโยชน์ที่จะให้ทราบความจำกัด  หรือความไม่จำกัดของ
นามโดยแน่นอน  เมื่อรู้เช่นนั้น  ย่อมได้รับความสะดวกในเวลาพูด
คือ เมื่อต้องการจะพูดจำกัดหรือไม่จำกัดนามอย่างไร  ก็เลือก
พูดได้ตามประสงค์.
     ๘.  จงแสดงให้เห็นว่า นามนามมีอำนาจเหนือคุณศัพท์อย่างไร ?
จะควรเรียงคุณศัพท์ไว้หน้านามหรือหลังนาม  จึงจะเหมาะ  จงให้
ตัวอย่าง ? 
        ต.  มีอำนาจที่จะบังคับคุณศัพท์ให้มี  ลิงค์  วจนะ วิภัตติ  เสมอ
กับนามนาม  ซึ่งเป็นเจ้าของ  เพราะว่าคุณศัพท์จะได้ก็ต้องอาศัยนาม
ถ้านามไม่มี  คุณศัพท์ก็ไม่ปรากฏ, คุณนาม  แสดงลักษณะ ของ
นามนามบทใด  เรียงไว้หน้านามนามบทนั้น  ดังนี้  อุจฺโจ  รุกฺโข,  อุจฺเจ
รุกฺเข สุกณา.  ถ้าเนื่องด้วยกิริยาว่ามี ว่าเป็น   เรียงไว้หลังนามนาม
ซึ่งเป็นเจ้าของ  หน้ากิริยาว่ามี ว่าเป็น  ดังนี้  สุคนฺธ  ปุปฺผ  มนุสฺสาน
มนาป  โหติ. 
    ๙.  คุณศัพท์เนื่องด้วยกิริยาว่ามี ว่าเป็น เรียงไว้หลังนาม ซึ่ง
เป็นเจ้าของ  หน้ากิริยาว่ามี  ว่าเป็น มิใช่หรือ ? ถ้าเป็นเช่นนั้น ๒ บทว่า
สุสสฺสา  สุลภปิณฺฑา ในอุทาหรณ์นี้ว่า  เตน โข ปน  สมเยน เวสาลี
สุภิกฺขา  โหติ  สุสสฺสา  สุลภปิณฺฑา ทำไมจึงเรียงไว้หลังกิริยา ?
        ต.  คำว่าคุณศัพท์เนื่องด้วยกิริยาว่ามี ว่าเป็น เรียงไว้หลังนาม-
นาม  ซึ่งเป็นเจ้าของ  หน้ากิริยาว่ามี ว่าเป็นนั้น  ท่านกล่าวหมาย
เฉพาะที่มีคุณศัพท์บทเดียว  แต่อุทาหรณ์นี้ มีคุณศัพท์เช่นนั้นถึง ๓
บท คือ  สุภิกฺขา  สุสสฺสา  สุลภปิณฺฑา  เมื่อมีคุณศัพท์เนื่องด้วย
กิริยาว่ามี ว่าเป็น  หลายบทเช่นนี้ ท่านให้เรียงไว้หน้ากิริยานั้นแต่บท
เดียว  ที่เหลือเรียงไว้หลังกิริยาทั้งสิ้น  ดังนี้.
 ๑๐. คุณ  กับ วิเสสนะ  ของ นามนาม  โดยอาการเป็นอันเดียวกัน
อยากทราบว่า โดยรูปศัพท์  ท่านจัดไว้ต่างกันอย่างไรหรือไม่ ชี้
ตัวอย่าง ?
        ต.  โดยรูปศัพท์  ท่านจัดไว้ต่างกัน  เพื่อให้กำหนดรู้ได้ว่า
ลักษณะนี้เป็นคุณหรือวิเสสนะ ศัพท์เหล่าใดพอจะเป็นเครื่องแสดง
ลักษณะของนามให้รู้ว่าดีหรือชั่ว  เช่น  ปาโป  สุนฺทโร  จณฺโฑ เป็น
ต้น จัดเป็นพวกคุณนาม, ศัพท์เหล่าใดที่ส่องนามให้วิเศษขึ้น ไม่
เกี่ยวกับการแสดงลักษณะของนามนั้น  เพ่งลักษณะที่แน่หรือไม่แน่
ของนามเป็นประมาณ  เช่น โย  โส อญฺตโร เป็นต้น  จัดได้เป็น
พวกวิเสสนะ เรียกวาวิเสสนสัพพนาม ดังนี้ .
  ๑๑. คำว่า "คนไทย" เป็นนามประเภทไหน ?
        ต.  เป็นนามได้ทั้ง ๒ ประเภท  แล้วแต่ความหมาย.  ถ้าใช้เรียก
หมู่คนไทยด้วยกัน  ไม่ได้เกี่ยวกับคนชาติอื่น  ก็หมายความถึงคนไทย
ทุกคน เช่นนี้จัดเป็นสาธารณนาม,  ถ้าใช้เรียกชนหลายชาติที่รวม
กันอยู่  คำว่า"คนไทย"  ก็หมายความเฉพาะแต่คนชาติไทย ไม่ได้
หมายถึงชนชาติอื่น  เช่นนี้จัดเป็นอสาธารณนาม. 
 ๑๒. คุณนาม  สัพพนาม  เวลาแปลไม่ได้แสดงอายตนิบาตและ
วจนะ  เหตุไรจึงต้องประกอบด้วย  ลิงค์  วจนะ  วิภัตติ  ดุจนามนาม
ด้วย ?
        ต.  เพราะคุณนาม สัพพนาม  ต้องอาศัยนามนามเป็นหลัก  ถ้า
ไม่ประกอบ  ลิงค์  วจนะ  วิภัตติ  จะรู้ไม่ได้ว่า เป็นคุณนามและ
สัพพนามแห่งนามนามตัวไหน ไม่สามารถจะประกอบคำพูดเข้าเป็น
พากย์ได้.
๑๓.  สัพพนาม  คือนามอย่างไร  จำเป็นอย่างไร  จึงต้องมี ?
        ต.  สัพพนาม  คือนามที่ใช้แทนนามนามซึ่งออกซึ่งมาแล้ว  เช่น
ท่าน เธอ เขา มัน กู สู เอง มึง เป็นต้น.  จำเป็นต้องมี  เพราะการ
พูดด้วยการความไพเราะเรียบร้อย  ถ้าไม่มีสัพพนามคือคำแทนชื่อ
แล้ว  การพูดก็จำต้องออกชื่อ สัตว์  บุคคล สิ่งของนั้น ๆ ซึ่งเตย
ออกชื่อมาแล้วทุกครั้งไป เป็นการซ้ำซากไม่เพราะหู  ตัวอย่างเช่น
นามแดงกินข้าว  นายแดงไปโรงเรียน  นายแดงเอาใจใส่ในการ
เรียน เมื่อพูดออกชื่อมาครั้งหนึ่งแล้ว  ต่อไป  ถ้าจำเป็นจะต้องพูด
ระบุถึงตัวเขาอีก   ก็ควรใช้สัพพนามแทนชื่อของเขา  ดังอุกทาหรณ์
ข้างต้นนั้น แต่เปลี่ยนใช้สัพพนาม   เป็นดังนี้  นายแดงกินข้าวแล้ว
เขาไปโรงเรียน  เขาเอาใจใส่การเรียน  เช่นนี้  ความเรียบร้อย
ไพเราะดีกว่า  เพราะเหตุนี้  สัพพนามจึงจำเป็นต้องมี.
๑๔. คำพูดที่เป็นสัพพนามสำหรับใช้ในในที่เช่นไร ?  จงชักตัวอย่าง
คำมคธกับคำไทยเทียบกัน ?
        ต.  คำพูดเป็นสัพพนามนั้น สำหรับใช้ในที่ออกชื่อนามนามซ้ำๆ
ตัวอย่าง ปมปุริส  โส ท่านหรือเขา ผู้ชาย, สา ท่านหรือเขา
ผู้หญิง  ต มัน  เป็นคำต่ำ คำสูงไม่มีใช้.  มชฺฌิมปุริส  ตฺว ท่าน
หรือ เจ้า สู เอง,  อุตฺตมปุริส  อห ข้าพเจ้า หรือข้า กู [ ๒๔๕๘ ].
๑๕. จงเขียนประโยคบาลี   หรือไทย  มาเทียบกับนาม ทั้ง ๓ แล้ว
บอกว่าคำนั้นเป็นนามนั้น ๆ ?
        ต. อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ  ภควา, โส ปุริสทมฺเท  เทมติ.
ภควา  เป็นพระนามของพระบรมศาสดา  เป็นนามนาม,  ปุริสทมฺม-
สารถิ  แสดงลักษณะสามัญแห่งพระองค์ เป็นปกติคุณนาม,  อนุตฺตโร
แสดงลักษณะวิเศษแห่งพระองค์ เป็นวิเสสคุณนาม,  โส ใช้แทน
พระบรมศาสดา เป็นสัพพนาม. 
                                       [ ลิงค์ ]
๑.  ลิงค์แปลว่าอะไร ? จัดเป็นเท่าไร  ?  อะไรบ้าง  ?  และจัด
อย่างไร ?
        ต.  แปลว่าเพศ. จัดเป็น  ๓ ปุลิงฺคฺ  เพศชาย ๑  อิตฺถีลิงฺค
เพศหญิง    นปุสกลิงฺค์  มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง  ๑.  จัดตาม
สมมติของภาษาบ้าง  ตามกำเนิดบ้าง .
 ๒.  ลิงค์นั้นจัดตามกำเนิดอย่างเดียวไม่พอหรือ ? เหตุไฉน  จึง
ต้องจัดตามสมมติด้วย  ซึ่งที่ให้ผู้ศึกษาจำลิงค์ได้ยาก ?
        ต.  จริงอยู่ การจัดลิงค์ตามสมมตินั้นทำให้ผู้ศึกษาจำลิงค์ได้
ยาก  เพราะสับสนเพศกัน เช่น ทาโร เมีย  ตามธรรมดาต้องเป็น
อิตถีลิงค์  เพศหญิง แต่สมมติให้เป็นปุงลิงค์เพศชาย  ภูมิ แผ่นดิน
ตามธรรมดาต้องเป็นนปุงสกลิงค์  มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง  แต่สมมติ
ให้เป็นอิตถีลิงค์เป็นต้น. จะจัดตามกำเนิดอย่างเดียวไม่พอ  เพราะ
คำพูดผิดลิงค์เช่นนั้น  เขานิยมพูกันมาก่อนตำราไวยากรณ์เกิดขึ้น
ตำราไวยากรณ์เกิดทีหลัง  ตามหลักการแต่ตำราไวยากรณ์จะต้อง
รวบรวมเอาคำพูดทั้งสิ้นให้อยู่ในกรอบและอนุวัตรตามภาษานิยม  ถ้า
ไม่มีการจัดลิงค์ตามสมมติแล้ว คำพูดเหล่านั้นก็จะอยู่นอกกฏเกณฑ์
ตำราไวยากรณ์ไป  ตำราไวยากรณ์ก็อำนวยผลไม่บริบูรณ์  เพราะ
ฉะนั้น  จึงจำเป็นต้องมีจัดลิงค์ตามสมมติด้วย.
๓. ลิงค์มีประโยชน์อย่างไร ? โปรดอธิบาย. 
        ต.  ลิงค์มีประโยชน์ให้รู้ได้ว่า เป็นเพศชาย  เป็นเพศหญิง
หรือเพศรวม คือไม่ใช่ชายไม่ใช่หญิง  และเมื่อทราบลิงค์แล้ว เป็น
เหตุให้สะดวกในการแจกวิภัตติตามการันต์นั้น ๆ ถ้าไม่ทราบว่าเป็น
ลิงค์อะไร ก็ยากที่จะนำไปแจกตามการันต์ให้ถูกต้องได้ ลิงค์เป็น
หลักสำคัญในการที่จะนำศัพท์ไปแจกตามการันต์ต่าง ๆ .
   ๔.  การจัดลิงค์นั้น  จัดอย่างไร ? จงแสดงวิธีจัดมาดู.
        ต.  การจัดลิงค์นั้น  จัดตามกำเนิด ๑ จัดตามสมมติ    จัด
ตามกำเนิดนั้น  คือกำเนิดของสิ่งนั้นเป็นเพศอะไร  ก็จัดเป็นเพศนั้น
ไม่มีเปลี่ยนแปลง. จัดตามสมมตินั้น คือกำเนินสตรี  สมมติให้เป็น
ปุงลิงค์  และของที่ไม่มีวิญญาณ  สมมติให้เป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์.
  ๕. ปุงลิงค์  สมมติให้เป็นอิตถีลิงค์  หรือนปุงสกลิงค์  มีหรือไม่ ?
        ต.  ที่สมมติให้เป็นอิตถีลิงค์มี  เช่น เทวดา  ตามรูปศัพท์เป็น
อิตถีลิงค์อย่างเดียว.   แต่เทวดานั้นคงมีทั้งหญิงทั้งชาย. ส่วนปุงลิงค์
ที่สมมติเป็นนปุงสกลิงค์นั้นยังไม่เคยพบ. เข้าใจว่าคงไม่มี. [อ. น. ].
๖.  นามนามเป็นกี่ลิงค์ ?  จงยกตัวอย่าง ? สตรีและของ
ปราศจากวิญญาณควรจัดเป็นลิงค์อะไร ?  เหตุไรจึงมีศัพท์ เช่น
ทาร  ศัพท์  ภูมิ  ศัพท์ที่ไม่นิยมตามนั้น ?
        ต.  นามนามเป็นลิงค์เดียวบ้าง คือจะเป็นปุงลิงค์ หรืออิตถีลิงค์
หรือนปุงสกลิงค์ก็อย่างเดียว  เช่น  อมโร  อจฺฉรา  องฺค  เป็นต้น  อนึ่ง
ศัพท์เดียวกันนั่นเอง  มีรูปเป็นอย่างเดียวกันเป็น ๒ ลิงค์บ้าง เช่น
อกฺขโร  อกฺขร  เป็นต้น. หรือมีมูลศัพท์เป็นอันเดียวกัน เปลี่ยน
แต่สระที่สุดได้  เป็น ๒ ลิงค์  เช่น อรหา  อรหนฺตี  เป็นต้น. สตรี 
ควรเป็นอิตถีลิงค์  ของที่ไม่มีวิญญาณควรเป็นนปุงสกลิงค์  เพราะ
ท่านจัดโดยสมมติ จึงไม่นิยมตามนั้น. 

  ๗.  คุณนามและสัพพนาม เป็นลิงค์เดียวหรือ ๒ ลิงค์  หรือ
เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ ?
        ต.  ตามหลักท่านว่าเป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์  เว้นแต่ ตุมฺห และ อมฺห
ศัพท์เป็นได้ ๒ ลิงค์  และศัพท์สังขยาที่เป็นคุณบางอย่างเท่านั้น.  เช่น
เอกูนนวุติ  ถึง อฏฺนวุติ  เป็นแต่อิตถีลิงค์อย่างเดียว.
     ๘. เหตุไร  คุณนามและสัพพนา  จึงจัดให้เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ ?
        ต.  เพราะนามทั้ง ๒ นี้  ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามนามนาม คือ
นามนามเป็น ลิงค์   วจนะ  วิภัตต  อะไร  ก็ต้องเปลี่ยนให้ตรงกับ
นามนามนั้นเสมอไป  จะคงตัวอยู่ไม่ได้  ทั้งนี้  เว้นแต่สังขยาบาง
อย่างดังกล่าวแล้ว.
      ๙. อคาร  (เรือน)  เป็นลิงค์อะไร?  แจกตามแบบไหน ?
        ต.  เป็นได้  ๒ ลิงค์  คือเป็นปุงลิงค์ก็ได้  เป็นนปุงสกลิงค์ก็ได้
เป็นปุงลิงค์แจกตามแบบ อ การันต์  (ปุริส)  มีรูปเป็น อคาโร. เป็น
นปุงสกลิงค์แจกตามแบบ  อ การันต์  (กุล)  มีรูปเป็น อคาร. [ อ. น.].
                                     [ วจนะ ]
      ๑.  วจนะหมายความว่ากระไร ?  มีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?
จำเป็นต้องมีหรือ  ถ้าไม่มี  จะเป็นอย่างไร ? 
        ต. วจนะหมายความว่า คำพูดที่ระบุจำนวนนามนาม มี ๒
อย่าง คือ  เอวจนะ  สำหรับพูดถึงนามนามสิ่งเดียว.  พหุวจนะ
สำหรับพูดถึงนามนามหลายสิ่ง. จำเป็นต้อมี. ถ้าไม่มีก็ทำให้ทราบ
จำนวนของนามว่ามากหรือน้อยไม่ได้.
     ๒. วจนะมีประโยชน์อย่างไร ?  สังเกตที่ไหนจึงจะรู้จักวจนะได้
แม่นยำ ?
        ต.  วจนะมีประโยชน์ให้รู้จำนวนนามน้อยหรือมาก. ที่จะ
รู้ได้ต้องสังเกตที่ท้ายศัพท์  ซึ่งเป็นวิภัตติ  ถ้าที่ท้ายศัพท์เป็นวิภัตติ
อะไร  ก็ทราบวจนะได้ทันที  เพราะวิภัตติเป็นเครื่องหมายให้รู้วจนะ
ได้แม่นยำ.
๓.  วจนะกับสังขยา  ต่างก็เป็นเครื่องหมาย  บอกจำนวนของ
นามนามเหมือนกันมิใช่หรือ ?  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ทำไมท่านจึงจัดให้มี
ทั้ง ๒ อย่างเล่า ?  จะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หรือ ?
        ต.  จริง  วจนะและสังขยาเป็นเครื่องหมายบอกจำนวนนามนาม
แต่มีลักษณะต่างกัน  วจนะบอกจำนวนนามนามไม่ชัดเจน  เช่น
ปุริโส  ชาย  ปุริสา  ชายหลายคน  ไม่ชัดเจนไปว่าเท่าไรแน่  แม้ที่
เป็นเอกวจนะก็ไม่ระบุให้ชัดว่า "หนึ่ง"  ส่วนสังขยา นับจำนวน
นามนามชัดลงไปทีเดียว เช่นชายคนหนึ่ง  ก็มีศัพท์ว่า  เอโก  ปุริโส
ชน  ๔ คนว่า จตฺตาโร ชนา  เป็นต้น.
                                       [ วิภัตติ ]
๑. วิภัตติ  มีหน้าที่อย่างไร ?  มีจำนวนเท่าไร  ? จัดเป็นหมวด
หมู่กันอย่างไรบ้าง  ?  จงบรรยาย. 
        ต.  วิภัตติมีหน้าที่แจกนามศัพท์ตามการันต์นั้น  ๆ ทำให้ศัพท์
มีรูปต่างๆ หมุนไปให้ได้ความตามภาษา มีจำนวน ๑๔  จัดเป็น
เอกวจนะ    พหุวจนะ  ๗ และจัดเป็นที่ ๆ  ๗ ที่ คือ  ปฐมาที่ ๑
ทุติยาที ๒  ตติยาที่ ๓  จตุตถีที่ ๔ ปัญจมีที่ ๕  ฉัฏฐีที่ ๖  สัตตมี
ที่ ๗. 
     ๒. วิภัตติ  มีประโยชน์อย่างไร ?
        ต. มีประโยชน์  ทำผู้ศึกษาให้กำหนดเนื้อความได้ง่ายขึ้น และ
จำลิงค์วจนะได้แม่นยำขึ้น ทำเนื้อความแห่งศัพท์ทั้งปวงให้ประสาน
เกี่ยวเนื่องถึงกัน  และได้ความตามภาษานิยม.
  ๓.  วิภัตติทำให้กำหนดจำลิงค์ได้แม่นยำขึ้นนั้น  จะกำหนดจำ
ได้อย่างไร ?  จงอธิบายให้เห็นจริง.
        ต. กำหนดจำได้อย่างนี้  คือลิงค์ทั้ง ๓ ท่านประกอบวิภัตติให้
มีรูปต่างกัน ปุงลิงค์  ท่านประกอบวิภัตติเป็นอย่าง ๑  อิตถีลิงค์ ท่าน
ประกอบวิภัตติเป็นอย่าง๑   นปุงสกลิงค์  ท่านประกอบวิภัตติเป็น
อย่าง ๑  เมื่อเป็นศัพท์ที่ท่านประกอบไว้ก็จำได้ เช่น  ตาณ ศัพท์
ปุงลิงค์เป็น ตาโณ  อิตถีลิงค์เป็น  ตาณา  นปุงสกลิงค์เป็น ตาณ  รูป
ศัพท์ที่ท่านประกอบแล้วไม่เหมือนกัน  จึงทำให้จำลิงค์ได้ง่ายและ
แม่นยำ.
 ๔.  ศัพท์อาลปนะ  ท่านมิได้จัดวิภัตติไว้ประจำ.  ถ้าเช่นนั้น
ศัพท์อาลปนะเห็นจะไม่ได้ประกอบด้วยวิภัตติกระมัง หรืออย่างไร ?
จงแสดง. 
        ต. จริงอยู่  ศัพท์อาลปนะ ท่านมิได้จัดวิภัตติไว้ประจำโดยตรง
แต่เมื่อจะใช้ประกอบวิภัตติ ท่านให้นำปฐมาวิภัตติมาประกอบตาม
วจนะที่ต้องการ  เพราะปฐมาวิภัตติ  ท่านใช้เป็นลิงคัตถะ หรือกัตตา
ที่เป็นตัวประธานอย่างหนึ่ง ใช้เป็นอาลปนะสำหรับร้องเรียกอย่างหนึ่ง.
  ๕. อายตนิบาต เกี่ยวเนื่องกับวิภัตติอย่างไร ?  มีประโยชน์
เกื้อกูลแก่ภาษาอย่างไร ?
        ต. เกี่ยวเนื่องด้วยวิภัตติอย่างนี้ คือ  เมื่อศัพท์ที่ประกอบด้วย
วิภัตติใดแล้ว  วิภัตตินั้นก็ปรากฏที่ท้ายศัพท์นั้น  เป็นเครื่องหมายให้
รู้ว่าศัพท์นี้เป็นวิภัตตินั้น ๆ เมื่อทราบวิภัตติแล้ว ก็ใช้อายตนิบาตได้
ถูกต้อง  เพราะวิภัตติเป็นเครื่องส่องแสดงให้ใช้อายตนิบาตนั้นได้ ถ้า
วิภัตติไม่ปรากฏ  ก็ใช้อายตนิบาตไม่ได้  เปรียบเหมือนช่องเข็มไม่
ปรากฏแต่จักษุของบุคคลใด บุคคลนั้นก็สนเข็มไม่ได้ฉะนั้น . อายต-
นิบาตมีประโยชน์เกื้อกูลแก่ภาษา  คือเป็นเครื่องเชื่อมหรือต่อเนื้อ
ความของศัพท์ทั้งปวงให้ต่อเนื่องกัน ได้ถ้อย ได้ความ ได้เรื่องราว
ถ้าไม่มีอายตนิบาตแล้ว เนื้อความของศัพท์ทั้งปวงจะไม่ติดต่อกัน
เลย หรือดอกไม้ที่ไม่ได้ร้อยด้วยด้ายฉะนั้น.
    ๖. อะไรเรียกว่าวิภัตติและอายตนิบาต, ศัพท์ประกอบวิภัตติ
ต้องมีอายนิบาตทั้งนั้นหรือไม่  เพราะเหตุไร ?
        ต. สิ  อ โย เป็นต้นเรียกว่าวิภัตติ,  ซึ่ง  ด้วย แก่  จาก ของ ใน
เป็นต้น เรียกว่าอายตนิบาต. ไม่ทั้งนั้น  เพราะธรรมดาอายตนิบาต
เนื่องจากวิภัตติแห่งนามนาม  และปุริสสัพพนาม [ ต ตุมฺห อมฺห]
โดยตรง  หรือ กึ ศัพท์บางคำเท่านั้น นอกนี้  โดยธรรมดาหรือมีไม่
เช่นปฐมาวิภัตติ ไม่เนื่องด้วยอายตนิบาต เพราะเป็นประธาน ที่ 
เนื่องกัน ตั้งแต่ทุติยาวิภัตติเป็นต้นไป  แต่สำนวนไทยที่บัญญัติให้
แปลปฐมาวิภัตติว่า"อันว่า"  ก็เพื่อกันเคอะเท่านั้น  ไม่ต้องใช้ก็ได้.
      ๗. อายตนิบาต  จะปรากฏเพราะอาศัยอะไร ? ย ศัพท์มีรูป
อย่างไร เป็นไตรลิงค์ ?  มีรูปอย่างไร  ไม่นิยมตามนั้น ?
        ต. อายตนิบาตจะปรากฏได้ด้วยวิภัตติอย่างหนึ่ง  ด้วยปัจจัย
อย่างหนึ่ง. ย ศัพท์ ประกอบกับ โต  ปัจจัย มีรูปเป็น  ยโต  เป็นเครื่อง
หมายปัญจมี แปลว่า แต่, ประกอบกับ ตฺร  ตฺถ  ห มีรูปเป็น  ยตฺร
ยตฺถ  ยห,  ประกอบกับ  ทา มีรูปเป็น ยทา เป็นเครื่องหมายสัตตมี
แปลว่า  ใน แจกตามลิงค์ทั้ง ๓  ไม่ได้ คงรูปอยู่เป็นอย่างเดียว.
                                 [ วิธีแจกนามนาม ]
    ๑.  วิธีแจกนามศัพท์  ต้องจับหลักอย่างไร  จึงจะได้รับความ
สะดวก ?
        ต.   ต้องกำหนดสระที่สุดแห่งศัพท์ ซึ่งเรียกว่า การันต์ เมื่อ
ทราบว่าศัพท์นั้น ๆ เป็นการันต์นั้นแล้ว  ก็ได้รับความสะดวกในการ
แจกนามศัพท์  เพราะศัพท์ทีเป็นลิงค์เดียวกัน  เป็นการันต์เดียวกัน
จะมีกี่ร้อยกี่พันหมื่นก็แจกเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด. 
      ๒. การันต์คืออะไร ?  เป็นสำคัญอย่างไร ?
        ต.  สระที่สุดอักษรหรือสระที่คุณศัพท์ เรียกว่า การันต์ จะ
ทราบได้ว่าศัพท์ไหนเป็นการันต์อะไร  ท่านให้สังเกตสระที่สุดของ
ศัพท์นั้นเป็นสำคัญ  ในอันให้จำลิงค์ได้แม่นยำขึ้น และให้ความสะดวก
ในการแจกศัพท์ให้เปลี่ยนแปลงไปตามวิภัตติทั้ง ๗.
    ๓.  การันต์โดยพิสดารมีเท่าไร  ? โดยย่อมีเท่าไร  ?  อะไรบ้าง ?
        ต.  โดยพิสดารมี ๑๓  คือ ปุงลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อ อิ อี อุ อู.
อิตถีลิงค์มีการันต์ ๕ คือ  อา อิ อี อุ อู.  นปุงสกลิงค์มีการันต์ ๓ คือ
อ อิ อุ. โดยย่อมี ๖ คือ  อ อา อิ อี  อุ อู.
    ๔.  สิ และ โย ปฐมาวิภัตติในที่เช่นไร แปลงเป็นอะไรได้บ้าง ?
        ต.   ใน อ การันต์  ปุงลิงค์แปลง สิ เป็น โอ  นปุงสกลิงค์แปลง
เป็น อ  ในพวกกติปยศัพท์ แปลงกับสระที่สุดแห่งศัพท์เป็น อา (ถ้าลง
ในอรรถแห่งอาลปนะ  ในการันต์อิตถีลิงค์แปลงเป็น เอ)  ในการันต์
ปุงลิงค์แปลง โย เป็น อา,  นปุงสกลิงค์แปลงกับสระที่สุดแห่งศัพท์เป็น
อานิ, ในหมู่ศัพท์มี  ภควนฺตุ  เป็นต้น และ ภวนฺต แปลง โย เป็น โอ.                                                
         ๕. อ ทุติยาวิภัตติ  แปลงเป็นอะไรได้บ้าง ?  ในที่เช่นไร ?
        ต.  ใน  อี การันต์ปุงลิงค์  แปลง อ  เป็น น  ได้บ้าง  อุทาหรณ์
เสฏฺีน, ในพวกกติปยศัพท์ บางศัพท์  แปลง  อ เป็น อาน ได้ อุทาหรณ์
อตฺตาน  พฺรหฺมาน  ราชาน, ในพวกศัพท์มโนคณะ  แปลง อ เป็น โอ
ได้บ้าง  อุทาหรณ์  ยโส  ลทฺธา   น มชฺเชยฺย. 
      ๖.  อา  และ  โอ คู่นี้  บางทีแปลงจาก สิ บางทีแปลงจาก โย
ไม่เป็นการแน่นอน  ขอให้ทานหลักฐานมาอธิบาย?
        ต.  หลักฐานในข้อนี้มีอยู่ คือ อา ถ้าอยู่ที่สุดแห่งศัพท์เหล่านี้
คือ อตฺต  พฺรหฺม  ราช  สข  ปุม  มฆว  และศัพท์ที่มี นฺตุ  หรือ นฺต
เป็นที่สุด  ซึ่งไม่มี นฺตุ  หรือ นฺต  ปรากฏอยู่  และศัพท์จำพวก   สตฺถุ
ปิตุ   มาตุ  แปลงมาจาก สิ. ถ้าอยู่ที่สุดแห่งศัพท์ที่เป็น อ การันต์สามัญ
ในปุงลิงค์  หรือศัพท์ที่มี นต  หรือ นฺตุ   เป็นที่สุด  แปลงมาจาก  โย.
โอ ถ้าอยู่ที่สุดศัพท์ที่เป็น อ การันต์ในปุงลิงค์นอกจากที่กล่าวข้างต้น
นั้น  แปลงมาจาก สิ.  ถ้าอยู่ที่สุดแห่งศัพท์ที่มี นฺต หรือ นฺตุ  เป็นที่สุด
และศัพท์ที่อาเทส อุ  เป็น อาร หรือ  อร และ คาว  ซึ่งแปลมาจาก
โค ศัพท์  แปลงมาจาก  โย.
     ๘. ศัพท์ว่า เจตนาย  ขตฺติยาย  วตฺถาย  เป็นวิภัตติอะไรได้
บ้าง ? และศัพท์ไหนเป็นลิงค์อะไร ?  แจกตามแบบไหน ?
        ต. เจตนาย เป็นได้  ๕ วิภัตติ  คือ ตติยา  จตุตถี  ปัญจมี ฉัฏฐี
สัตตมี  เอกวจนะ  เป็นอิตถีลิงค์  แจกตามแบบ กญฺา.  ขตฺติยาย
เป็นได้ ๑  วิภัตติ  คือ จตุตถีวิภัตติ  เอกวจนะ  เป็นปุงลิงค์  แจกตาม
แบบ ปุริส.  วตฺถาย ก็เป็นได้ ๑ วิภัตติคือ  จตุตถีวิภัตติ เอกวจนะ
เหมือนกัน แต่เป็นนปุงสกลิงค์  แจกตามแบบกุล.
     ๘.  เมธาวิโน เป็นวิภัตติอะไรได้บ้าง ?
        ต.  เป็น  ปฐมา ทุติยา อาลปนะ  พหุวจนะ  และจตุตถี  ฉัฏฐี
เอกวจนะ.
  ๙.  อตฺถาย หิตาย อิตถีลิงค์ใช่ไหม ?  และเป็นวจนะ
วิภัตติอะไร ?  แจกตามแบบไหน ?  ทำอย่างไร  จึงเป็นรูปเช่นนั้น ?
        ต.  ไม่ใช่.  อตฺถาย เป็นปุงลิงค์  เอกวจนะ  จตุตภีวิภัตติ แจก
ตามแบบ  ปุริส  เอา ส วิภัตติ  กับ อ สระที่สุดศัพท์ เป็น อาย.  ส่วน
หิตาย  เป็นนปุสกลิงค์  แจกตามแบบ กุล.  นอกนั้นก็อย่างเดียวกับ
อตฺถาย.
      ๑๐.  อาลปนะ คำสำหรับร้องเรียก  ไม่ได้ระบุว่า  ใช้วิภัตติอะไร
ประจำ  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ก็แปลว่า  ศัพท์อาลปนะ  ไม่ต้องประกอบ
วิภัตติอะไรเลย  เป็นศัพท์ว่างจากวิภัตติ  ถูกไหม ?  เห็นอย่างไร ?
จงแถลง.
        ต.  จริงอยู่  ศัพท์อาลปนะ  ไม่ได้ระบุไว้ชัดว่า ใช้วิภัตติอะไร
ประจำ  แต่ท่านว่า ยืมวิภัตติปฐมา  คือ สิ โย มาใช้.  จะว่าศัพท์
อาลปนะในนามทั้ง ๓ นี้  ว่างจากวิภัตติเลยทีเดียวหาถูกไม่  เว้นแต่
อาลปนะในอัพยยศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์พิเศษ คงรูปอยู่อย่างนั้น .
     ๑๑.  อตฺต  ศัพท์  ไม่มีพหุวจนะ  ถึงคราวให้พหุวจนะ  จะใช้
อย่างไร ?
        ต. ใช้เอกวจนะนั้นเอง  แต่ถ้ามีนามที่เป็นพหุวจนะนั้นหลายพวก
ใช้คำเอกวจนะซ้ำ  ๒ หน  อุทาหรณ์  อตฺตโน  อตฺตโน  ปตฺตาสเนสุ
นิสีทึสุ.
    ๑๒. ศัพท์ว่า  วิธีน  ภาณิน อตฺตาน  ขนฺตฺย  เธนุย   เหล่านี้
เป็นลิงค์  วจนะ   วิภัตติ  และการันต์  อะไร ?
        ต.  วิธีนำเป็นปุงลิงค์  พหุวจนะ  จตุตถีและฉัฏฐีวิภัตติ  อิ การันต์.
ภาณิน  เป็นปุงลิงค์  เอกวจนะ  ทุติยาวิภัตติ  อีกา  การันต์.  อตฺตาน
เป็นปุงลิงค์  เอกวจนะ ทุติยาวิภัตติ  อ การันต์  แต่มีวิธีแจกอีก
อย่างหนึ่ง  ไม่เหมือนแบบ ปุริส,  ขนฺตฺย  เป็นอิตถีลิงค์  เอกวจนะ
สัตตมีวิภัตติ อิ การันต์, เธนุย  เป็นอิตถีลิงค์เอกวจนะ  สัตตมีวิภัตติ
อุ  การันต์ .
   ๑๓.  พฺรหฺมาน  พฺรหฺมาโน เป็นวิภัตติอะไร ?  ทำไมจึงมีรูป
อย่างนั้น ?
        ต.  พฺรหฺมาน เป็นได้ ๓ วิภัตติ  คือ  ทุติยา เอกวจนะ  จตุตถี
และฉัฏฐี  พหุวจนะ,  พฺรหฺมาโน เป็นได้ ๓  วิภัตติเหมือนกัน คือ
ปฐมา  ทุติยา  อาลปนะ  พหุวจนะ,  พฺรหฺมาน เอา อ ที่สุดแห่ง
พฺรหฺมศัพท์ กับ อ  วิภัตติ  เป็น อาน อย่างหนึ่ง, ลง น วิภัตติแล้ว
คง น  ไว้  ทีฆะที่สุดแห่งพฺรหฺมศัพท์ เป็น อา อย่างหนึ่ง, พฺรหฺมาโน
ลง โย วิภัตติ เอา โย  เป็น อาโน.
     ๑๔. ราชิโน  ราชีนิ  ราชินิ  รญฺ  ศัพท์ไหนเป็นวิภัตติ วจนะ
และลิงค์อะไร ?
        ต.  ราชิโน เป็นจตุตถีและฉัฏฐี  เอกวจนะ  ปุงลิงค์,  ราชินี
เป็นปฐมา  เอกวจนะ และพหุวจนะ, เป็นทุติยาและอาลปนะ พหุวจนะ
อิตถีลิงค์,  ราชินิ  เป็นอาลปนะ เอกวจนะ  อิตถีลิงค์ก็ได้  เป็น
สัตตมีวิภัตติ  เอกวจนะ  ปุงลิงค์ก็ได้,  รญฺ  เป็นจตุตถีและฉัฏฐี
พหุวจนะ  ปุงลิงค์.  
๑๕. ราช ศัพท์  เป็นได้กี่ลิงค์ ? ลิงค์อะไรบ้าง ? วิธีแจกแบบ
เดียวกันหรือต่างกัน ?
        ต. เป็นได้  ๒ ลิงค์  คือ ปุงลิงค์  และอิตถีลิงค์  มีวิธีแจกต่างกัน
คือ ปุงลิงค์  แจกอย่างที่ปรากฏชัดในแบบแล้ว.  ส่วนที่เป็นอิตถีลิงค์
แจกตามแบบนารี.
    ๑๖.  ภควนฺตุ  ปญฺวนฺตุ  อย่างไหนจัดเป็นนามอะไร ?  ลิงค์อะไร?
และเมื่อเป็นลิงค์นั้น  ๆ แล้ว มีรูปเป็นอย่างไร ?
        ต.  ภควนฺตุ สงเคราะห์เป็นนามนาม  ปุงลิงค์อย่างเดียว  เช่น
ภควา, ปญฺวนฺตุ  เป็นคุณนาม  เป็นได้  ๓ ลิงค์  เช่น  ปุงลิงค์
ปญฺวา, อิตถีลิงค์  ปญฺวตี,  นปุงสกลิงค์ ปญฺว  ปญฺวนฺต
เป็นต้น.
   ๑๗. ทำไม   ภควนฺตุ ศัพท์ ท่านจึงจัดเป็นนามนามปุงลิงค์อย่าง
เดียว ?  ไม่เหมือนศัพท์อื่น ๆ ที่แจกเป็นแบบเดียวกัน ?
        ต.  เพราะไม่นิยมใช้ในอิตถีลิงค์และนปุงสกลิงค์  จึงสงเคราะห์
เข้าเป็นนามนามปุลิงค์อย่างเดียว.
      ๑๘. ภควนฺตุ  ศัพท์  ปฐมา  พหุวจนะ  มี ๒ ศัพท์  คือ  ภควนฺตา
ภควนฺโต  หมายความอย่างเดียวกันหรือพิเศษต่างกันอย่างไรบ้าง ?
        ต. หมายความต่างกัน ภควนฺตา  เป็นทฺวิวจนะ  สำหรับกล่าว
ถึงคน ๒ คนเท่านั้น,  ส่วน  ภควนฺโต  เป็นพหุวจนะ  สำหรับกล่าวถึง
คนมาก  ตั้งแต่  ๓ คนขึ้นไป.

      ๑๙. สติมนฺตุ  ถ้าเป็นอิตถีลิงค์แปลเป็น  สติมตี  แจกตามแบบ
อี การันต์  ในอิตถีลิงค์  ถ้าเป็นนปุงสกลิงค์  แปลงเป็น สติม  แจก
ตามแบบ อ การันต์  ในลิงค์นั้น  ถูกไหน  ? ถูกหรือไม่ถูกจงแถลง
ให้แจ่ม  ?
        ต.  ที่เป็นอิตถีลิงค์  แจกตามแบบนารีนั้น ถูกแล้ว แต่ที่เป็น
นปุงสกลิงค์ แจกตาม    การันต์ในลิงค์นั้น  ไม่ถูก ต้องแจกตามแบบ
ถควนฺตุ  ศัพท์  มีต่างกันอยู่ก็คือ  ปฐมา  เอกวจนะ  เป็น  สติม  สติมนฺต,
อาลปนะ เอกวจนะ  เป็น สติม,  ปฐมา  ทุติยา  อาลปนะ  พหุวจนะ
เป็น สติมนฺตานิ นอกนั้นเหมือนรูป  ภควนฺตุ  ศัพท์.
      ๒๐. อรหนฺต  ศัพท์  กับลิงค์ ? ลิงค์อะไรบ้าง ? ลิงค์ไหน
นิยมแจกตามแบบไหน ?
        ต.  เป็นได้  ๒ ลิงค์  คือ ปุงลิงค์กับอิตถีลิงค์ ปุงลิงค์  แจกเหมือน
แบบ ภควนฺตุ  ศัพท์ แปลกแต่  ปฐมา  เอกวจนะ  เป็น อรหา  อรห
เท่านั้น  นอกนั้นเหมือนกัน. ที่เป็นอิตถีลิงค์  แปลงเป็น อรหนฺตี
แจกตามแบบ อี  การันต์  ในลิงค์นั้น .
      ๒๑. กุพฺพโต  เป็นวิภัตติอะไร ?  เหตุไฉนจึงเป็นอย่างนั้น ?
        ต.   เป็นจตุตถี และ ฉัฏฐีวิภัตติ  เหตุแจกอย่าง ภวนฺต  ศัพท์
ส วิภัตติ  เป็น โต.
    ๒๒.  ศัพท์พวกไหน ท่านนิยมแจกตามแบบ  สตฺถุ ศัพท์ ? ขอ
ตัวอย่างด้วย.
        ต. ศัพท์ที่ลง ตุ ปัจจัย  ในนามกิตก์  ตัวอย่างาเช่น ทาตุ  ภตฺตุ
หนฺตุ  เนตุ เป็นต้น.
  ๒๓. ปิตา อาลปนะ  กับ ตาต  ใช้ได้อย่างเดียวกันหรือมีพิเศษ
กว่ากันอย่างไร ?  ขอฟังอธิบาย.
        ต. ปิตา  อาลปนะ   นั้น แม้จะเป็นคำสำหรับร้องเรียกก็จริง  แต่
การพูดหรือการเขียนหนังสือไม่ได้ใช้เลย ใช้  ตาต  เอวจนะ,  ตาตา
พหุวจนะแทนและใช้เรียกบิดาก็ได้  เรียกบุตรก็ได้  เหมือนภาษา
ไทย คำว่า  พ่อ ใช้เรียกได้ทั้งบิดาทั้งบุตร  แต่ศัพท์ว่า ตาต นี้ ถ้าเป็น
วิภัตติอื่นนอกจาก อาลปนะ  แล้ว ใช้ได้แต่เฉพาะเป็นชื่อของบิดา.
     ๒๔.  มาตา  อาลปนะ  ท่านว่าไม่ได้ใช้ทั้งในการพูดทั้งในการเขียน
หนังสือ  เหมือนกับ ปิตา  จริงหรือ ? ถ้าจริง  ท่านใช้ได้ศัพท์อะไร
แทน  หรือไม่มี ?
        ต.  จริง.  มีใช้  อมฺม  เอกวจนะ. อมฺมา  พหุวจนะ  แทน แต่
ในตัปปุริสสมาส  ใช้ อาลปนะ  เป็น มาเต  ธีเต  ตัวอย่างเช่น  เทวมาเต
เทวธีเต  เป็นต้น.
  ๒๕.  มโนคณะ  มีกี่ศัพท์ ?  คืออะไรบ้าง ?  มีวิธีแปลงวิภัตติเป็น
อย่างไร  ?  เมื่อเข้าสมาส จะต้องทำอย่างไรบ้าง ?
        ต.  มโนคณะ มี ๑๒ ศัพท์  คือ มน  อย อุร เจต  ตป  ตม
เตช  ปย ยส  วจ  วย  สิร.  มีวิธีแปลงวิภัตติอย่างนี้  คือ นา กับ สฺมา
เป็น อา, ส ทั้ง ๒ เป็น โอ, สฺมึ  เป็น อิ, แล้วลง  ส อาคมเป็น สา
เป็นโส  เป็นสิ, เอา อ เป็น โอ ได้บ้าง, เมื่อเข้าสมาสแล้ว  ต้องเอา
สระที่สุดของตนเป็น  โอ ได้ เหมือนคำว่า มโนคโณ  หมู่แห่งมนะ
อโยมย  ของที่คุณทำด้วยเหล็ก .
  ๒๖.  ศัพท์ประเภทไหน  เมื่อย่อเข้าสมาสแล้ว  ทำที่สุดให้แปลก
จากปกติเดิมของตนได้  ? เหมือนคำว่ากระไร ?
        ต.  ศัพท์ คือ มาตุ  ธีตุ และ ศัพท์มโนคณะ  เหมือนคำว่า
เทวมาเต  เทวธีเต  มโนคโณ  อโยมย  เป็นต้น.
๒๗. ในที่เช่นไร แปลง อู  แห่ง สตฺถุ เป็น อาร ? ในที่เช่นไร
ไม่แปลง ? ในที่เช่นไร  แปลงแล้วต้องรัสสะ ?
        ต.  นิมิต  ปฐมา  กับ จตุตถี  ฉัฏฐี  เอกวจนะ  แปลงไม่ได้ , นิมิต
วิภัตติอื่น ๆ แปลงได้, นิมิต  สัตตมี เอกวจนะ  ต้องรัสสะ.[ ๒๕๕๗ ].
  ๒๘.  ศัพท์ไหนบ้าง  ที่ไม่นิยมเป็นลิงค์ใดลิงค์หนึ่งโดยแน่นอน ?
ศัพท์เหล่านั้น  ถ้าประสงค์จะใช้เป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์  จะเปลี่ยนรูป
เป็นอย่างไร ?  แจกตามแบบไหน ?
        ต. ศัพท์ คือ  โค [ โค ] สา [ สุนัข ] เมื่อประสงค์จะใช้เป็น
ปุงลิงค์ โค เปลี่ยนรูปเป็น โคณ,  สา เป็น สุนข  แจกตามแบบ  ปุริส,
เมื่อประสงค์เป็น  อิตถีลิงค์  โค เป็น  คาวี  สา เป็น สุนขี  แจกตาม
แบบ นารี, สา ใน ปุงลิงค์  และอิตถีลิงค์ใช้ศัพท์อื่น ๆ นอกจาก สุนข
สุนขี  ก็มี แจกตามการันต์ในลิงค์นั้น  ๆ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น