วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด เปรียบเทียบเถรวาท - มหายาน

แบบฝึกหัด
๑.อธิบาย ความเป็นมาระหว่างนิกายมหายาน เถรวาทมีความแตกต่าง
          นิกายมหายานมีความแตกต่างในเรื่องเหล่านี้
            การเกิดของนิกายนี้ค่อยเป็นค่อยไปและปรากฏเป็นนิกายชัดเจนในพุทธศตวรรษที่ ๕ จากพระสงฆ์พวกมหาสังฆิกะ ซึ่งสืบเนื่องมาจากพวกวัชชีบุตรคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๒ นิกายนี้เกิดขึ้น โดยมีความมุ่งหมายดังนี้คือ 
           ๑). เพื่อความคงอยู่ของพระพุทธศาสนาในอินเดียด้วยสู้กับลัทธิพราหมณ์
           ๒). เพื่อปรับปรุงวิธีเผยแผ่เสียใหม่แข่งกับลัทธิพราหมณ์
           ๓). เพื่อทำตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ ในการเผยแผ่
                                    นิกายเถรวาทมีความแตกต่างในเรื่องเหล่านี้
เถรวาท ( หินยาน ) ยึดมั่นอยู่ในธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแบบเดิมตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยกพระธรรมวินัยไว้ในฐานะอันสูงส่งและศักดิสิทธิ์ แม้พระไตรปิฎกก็ไม่เปลี่ยนแปลง คงรักษาของเดิมซึ่งเป็นภาษามคธเอาไว้เป็นหลักเป็นธรรมนูญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใครจะแปลเป็นภาษาอะไรก็แปลไป แต่ไม่ทิ้งของเดิมคงรักษาของเดิมภาษามคธเป็นหลัก
เป็นสาเหตุที่สำคัญเพราะ
            ทั้ง ๒ นิกายนนี้มีจุดประสงค์คนละแนวทางกันมหายานยึดในหลัก
โพธิจิต สอนให้มนุษย์ตั้งความปรารถนาในโพธิญาณ ไม่ใช่มุ่งปรารถนาในอรหัตญาณดังความเชื่อในฝ่ายเถรวาท มหายานเชื่อในพุทธการกธรรม ยึดหลักของพุทธบารมีเป็นประทีปนำทาง แทนการเน้นในเรื่องอริยสัจ ๔ เช่นของฝ่ายเถรวาท
หลักการเชิงคุณภาพและปริมาณของศาสนิกชน
                 ของฝ่ายเถรวาท คือเอาคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ ยึดถือและคงไว้ซึ่งพระธรรมวินัยแลสิกขาบททุกข้อ ที่พระพุทธองค์เคยบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด ส่วนมหายานถือเอาทางด้านปริมาณ ดังนั้นปรัชญามหายานจึง ลดหย่อนผ่อนปรนพระธรรมวินัย เช่นในเรื่องสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นเหตุ อปยคมนีย ที่นำไปสู่อบายภูมิลง คงไว้แต่สิกขาบทที่สำคัญส่วนใหญ่

เงื่อนไขของปณิธานในความปรารถนาพุทธภูมิ
                  มหายานมีความเชื่อมั่นต่อปณิธานที่ปรารถนาในพุทธภูมิ ผู้ที่บรรลุโพธิจิตหากมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติสิ่งใดแม้จะขัดกับพระธรรมวินัย หากแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของพระศาสนา แม้จะเป็นการกระทำถึงขั้นปาณาติบาตด้วยการเผด็จชีวิตต่อผู้ทรยศต่อพระศาสนา ก็พร้อมที่จะทำ แม้กรรมนั้นจำต้องทำให้พระโพธิสัตว์ต้องตกนรก ทั้งนี้เพื่อแลกกับบุญกุศลที่ได้คุ้มครองพระศาสนา

___________________________________________________

๒.เปรียบเทียบหลักคำสอนของเถรวาท มหายาน ที่แตกต่างกัน
                        ความแตกต่างระหว่างเถรวาทกับมหายาน
                         เถรวาท ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ
                        มหายาน ถือเรื่องบารมีเป็นสำคัญ
                         เถรวาท ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ
                         มหายาน ถือปริมาณเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงค่อยปรับปรุงคุณภาพภายหลัง 
                        ดังนั้น จึงต้องลดหย่อนการปฏิบัติพระวินัยบางข้อลงเข้าหาบุคคลและเพิ่มเทวดาและเพิ่มพิธีกรรมสังคีตกรรมเพื่อจูงใจคน ได้อธิบายพุทธมติอย่างกว้างขวางเกินประมาณเพื่อการเผยแผ่ จนทำให้พระพุทธพจน์ซึ่งเป็นสัจจะนิยมกลายเป็นปรัชญา และตรรกวิทยาไป
ข้อเหมือนกันระหว่างเถรวาทกับมหายาน
            พุทธศาสนาฝ่ายมหายานกับฝ่ายเถรวาท ต่างเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า จุดมุ่งหมายสูงสุดของสองนิกายนี้มีอยู่ร่วมกันคือ วิมุตติ ความหลุดพ้น จะมีข้อแตกต่างเพียงนิกายว่า จะตีความตามพระธรรมวินัยอย่างไร และเมื่อนำสารัตถะของนิกายมหายานกับหินยานมาเปรียบเทียบกันดู เราก็จะได้รับประโยชน์ทางปัญญาดังนี้คือ
            ๑. เถรวาท ( หินยาน ) ยึดมั่นอยู่ในธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแบบเดิมตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยกพระธรรมวินัยไว้ในฐานะอันสูงส่งและศักดิสิทธิ์ แม้พระไตรปิฎกก็ไม่เปลี่ยนแปลง คงรักษาของเดิมซึ่งเป็นภาษามคธเอาไว้เป็นหลักเป็นธรรมนูญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใครจะแปลเป็นภาษาอะไรก็แปลไป แต่ไม่ทิ้งของเดิมคงรักษาของเดิมภาษามคธเป็นหลัก
            มหายานเป็นพวกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง มองพระพุทธพจน์ในแง่ปรัชญา วิพากษ์วิจารณ์ความหมายพระพุทธพจน์ไปในแง่ต่าง ๆ ตามความคิดของบุคคลแต่ละบุคคล ปรับปรุงธรรมวินัยไปตามกาลเทศะ เพื่อความเหมาะสมแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน แล้วใช้ต้นฉบับนั้นเป็นหลัก
                                    สิ่งที่เหมือนกันอย่างเห็นได้ชัด
๑. จุดมุ่งหมายปลายทางของทั้งสองนิกายเหมือนกันคือวิมุติ
๒. คำสอนทั้งสองนิกายเป็นประโยชน์แก่สังคมของมนุษย์ในด้าน  ศีลธรรม และ จรรยา
๓. ทั้งสองนิกายสอนในเรื่องกฏแห่งกรรม
๔. ทั้งสองนิกายต่างยอมรับเรื่องความไม่จำกัดสรรพสิ่ง คือ ไม่มี  เริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุด
     ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ
___________________________________________________

๓.การแตกแยกระหว่างมหายาน เถรวาท เกิดจากวัตถุ ๑๐ ประการนั้นจริง เพราะ
 วัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้คือ
     
๑. สิงคโลณกัปปะ พระภิกษุสั่งสมเกลือในกลักเขาเป็นต้น แล้วนำไปผสมอาหารอื่น ฉันได้ไม่เป็นอาบัติ ซึ่งผิดพุทธบัญญัติว่า ภิกษุสั่งสมของเคี้ยวของฉัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์
     
๒. ทวังคุลกัปปะ ภิกษุฉันอาหารเวลาตะวันบ่ายล่วงไปแล้ว ๒ องคุลีได้ไม่เป็นอาบัติ ซึ่งขัดกับพระบัญญัติที่ห้ามภิกษุฉันอาหารในยามวิกาล ถ้าฉันเป็นอาบัติปาจิตตีย์
     
๓. คามันตรกัปปะ ภิกษุฉันจากวัด แล้วเข้าไปในบ้าน เขาถวายอาหารก็ฉันได้อีกในเวลาเดียวกัน แม้ไม่ได้ทำวินัยกรรมมาก่อนซึ่งขัดกับพระบัญญัติที่ห้ามภิกษุฉันอดิเรก ถ้าฉันต้องอาบัติปาจิตตีย์
     
๔. อาวาสกัปปะ อาวาสใหญ่มีสีมาใหญ่ ทำอุโบสถแยกกันได้ ในพระวินัยห้ามการทำอุโบสถแยกกัน ถ้าแยกกันเป็นอาบัติปาจิตตีย์
๕. อนุมติกัปปะ ถ้ามีภิกษุที่ควรนำฉันทะมามีอยู่ แต่มิได้นำมาจะทำอุโบสถก่อนก็ได้ แต่พระวินัยห้ามไม่ให้กระทำเช่นนั้น
     
      ๖. อาจิณกัปปะ ข้อปฏิบัติอันใดที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครูบาอาจารย์ แม้ประพฤติผิดก็ควร
     
    ๗. อมัตถิกกัปปะ ภิกษุฉันอาหารแล้วไม่ได้ทำวินัยกรรมก่อน ฉันนมสดที่ไม่ได้แปลเป็นนมส้มไม่ควร แต่วัชชีบุตรว่าควร
     
    ๘. ชโลคิง ปาตุง เหล้าอ่อนที่ไม่ได้เป็นสุราน้ำเมาฉันได้ ซึ่งขัดพระวินัยที่ห้ามดื่มน้ำเมา
     
    ๙. อทศกัง นิสีทนัง ภิกษุใช้ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชายก็ควร
     
    ๑๐. ชาตรูปรชตัง ภิกษุรับเงินและทองก็ได้
        ในเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้น เป็นความแตกต่างด้วย และเป็นสาเหตุให้เกิดความแตกแยกด้วย เพราะว่าในเรื่องของสิกขาบทเล็กๆน้อยๆนั้น ฝ่ายเถรวาทไม่กล้าที่จะถอนและตั้งขึ้นใหม่ แต่ทางฝ่ายมหายาน บางท้องที่ไม่ได้เน้นทางพระวินัยมากมายนัก แต่จะวิวัฒนาการไปตามกระแสโลก และเน้นหนักไปทางของความหลุดพ้นเสียมากกว่า
                        ดังมีพุทธพจน์ในเรื่องจิตเดิมแท้ที่ว่า
ปภสฺสรมิทํ  ภิกขเว  จิตตํ  อาคนฺตุเกหิ  อุปกิเลเสหิ  อุปกิลิฏฺฐํ
 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จิตนี้ประภัสสร  เศร้าหมองแล้วเพราะกิเลส
เป็นอาคันตุกะจรมา
อาจเป็นเพราะพุทธพจน์บทนี้ที่ทำให้ทางฝ่ายมหายาน ไม่เน้นในเรื่องพระวินัยเสียมากนักคงเน้นหนักทางการบรรลุโพธิสัตย์เสียมากกว่า

___________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น