วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติของพระเจ้าพิมพิสาร(พุทธอุปัฏฐาก)

พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต แคว้นมคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวจึงเสด็จไปนมัสการ และชักชวนให้สละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน เมื่อได้รับคำปฏิเสธจึงขอคำปฏิญญาว่าหากทรงค้นพบสิ่งที่แสวงหาเมื่อใด ขอให้มาสอนพระองค์เป็นคนแรก
     ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าเมื่อโปรดปัญจวัคคีย์โปรดพระยสะและสหายมีพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ องค์ ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่าง ๆ แล้วพระองค์จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อเปลื้องคำปฏิญญาที่ประทานให้กับพระเจ้าพิมพิสารนั้นเอง
     พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้นำแคว้นใหญ่ ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนคนอื่น ๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์
     สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือชฏิลสามพี่น้องอยู่ พระองค์จึงต้องไปโปรดสามพี่น้องก่อน
     เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิลสามพี่น้องสละลัทธิความเชื่อดังเดิมนั้นมาเป็นสาวกของพระองค์หมดแล้ว ก็พาสาวกใหม่จำนวนพันรูปไปพักยังสวนตาลหนุ่มใกล้เมืองราชคฤห์
     เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม ได้เห็นอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าคองอัญชลีต่อพระพุทธเจ้าประกาศเหตุผลที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็หายสงสัย ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วนับถือพระรัตนตรัย และถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น
     หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวายสวนไผ่นอกเมืองให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวัน เวฬุวันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลปทนิวาปสถาน คือสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
     พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้าน่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้นเคยเป็นพระญาติของพระองค์มาขอส่วนบุญ และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา
      วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารในพระราชวัง แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากกฏโฉมอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสขอบคุณที่แบ่งส่วนบุณให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป
     เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงนำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม
     พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่า โกศลเทวี หรือ เวเทหิ เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระโอรสนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ในช่วยตั้งครรภ์พระนางเวเทหิทรงแพ้พระครรภ์ใคร่เสวยพระโลหิตของพระสวามี โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย
     เมื่อพระโอรสประสูติแล้ว ทรงให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เจ้าชายน้อยก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์
     พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จเดินจงกรมยังชีพอยู่ในคุกได้ด้วยพุทธานุสสติคือ มองลอดช่องหน้าต่างทอดพระเนตรดูพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏพร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน
     เมื่อรู้ว่าเสด็จพ่อยังเดินอยู่ได้ กษัตริย์อกตัญญูก็สั่งให้เอามีดโกนเฉือนพระบาทเอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน พระเจ้าพิมพิสารทนทุกขเวทนาไม่ไหวก็สิ้นพระชนม์ ณ ที่คุมขังนั้นแล
     พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาหยั่งรากลงในแคว้นมคธและเจริญแพร่หลายชั่วระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงพระคุณของพระองค์ในข้อนี้







 


ประวัติและความเป็นมา(ประเพณีเดือน ๑๐)

ประเพณีสารทเดือนสิบ
      สารทเดือนสิบ หรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกกันว่าประเพณีทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือน
สิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือนสิบเพื่อเพื่อนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคทั้งขนมสำคัญห้าอย่างไปถวาย
พระ แล้วอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษของตน ชาวเมืองนี้ไม่ว่าจะไปอยู่ไกลเพียงใด เมื่อถึงช่วงทำบุญเดือนสิบ ก็จะกลับภูมิลำเนามาร่วมทำบุญ ด้วยความสำนึกกตัญญูที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจมาแต่เยาว์วัย
ประวัติความเป็นมา
     ประเพณีสารทเดือนสิบวิวัฒนาการมาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ ซึ่งลูกหลานจัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศ
ส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติ
ในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่าประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อ
บรรพบุรุษ นำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารท
เดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาล คาดว่าพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในนครศรีธรรมราช จึงรับประเพณีนี้มาด้วย
ความเชื่อ
     ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าบรรพบุรุษอันไดแก่ ปู่ย่าตายาย และญาติพี่น้องที่
ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรก
กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปีมายังชีพ
ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอ
ส่วนบุญจากลูกหลายญาติพี่น้องและจะกลับไปนรกในวันแรม ๑ ค่ำ เดืออนสิบ
     โอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไป
แล้ว เป็นการแสดงกตัญญูกตเวที
ระยะเวลา
     ระยะเวลาของการประกอบพิธีประเพณีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครนิยม
ทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ
พิธีกรรม
     การปฏิบัติพิธีกรรมการทำบุญสารทเดือนสอบมีสามขั้นตอน คือ
๑) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ
๒) การฉลองหมฺรับและการบังสกุล
๓) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
๑) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ 
     การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้จัดหมฺรับ เริ่มขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ วันนี้เรียกกันว่า "วันจ่าย" ตลาดต่างๆ จึงคึกคักและคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนชาวบ้านจะซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน
ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัเตรียมไว้สำหรับใส่หมฺรับ
และสำหรับนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ
  ๑.๑ การจัดหมัรบ
         การหมฺรับมักจะจัดเฉพาะครอบครัวหรือจัดรวมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหมฺรับใช้
กระบุง หรือ เข่งสานด้วยด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของหมฺรับ ปัจจุบัน
ใช้ภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ
         การจัดหมฺรับ คือการบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบ ฯลฯ ลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้
สำหรับงานนี้โดยเฉพา โดยจัดเป็นชั้นๆ ดังนี้
             ๑) ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้ง ลงไว้ที่ก้นภาชนะ ได้แก่ ข้าวสาร แล้วใส่พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุง
อาหารที่จำเป็น
             ๒) ขั้นที่สอง จัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ใส่ขึ้นมาจากชั้นแรก ได้แก่ มะพร้าว ขี้พร้า
หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ ข้าวโพด อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีในเวลานั้น
             ๓) ขั้นที่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ปูน ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน
            ๔) ขั้นบนสุด ใช้บรรจุและประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ เป็นสิ่งสำคัญของหมฺรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมบรรพบุรุษและ
ญาติที่ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจาก
๑.๓) การยกหมฺรับ
                วันแรม ๑๔ ค่ำ ชาวบ้านจะจำหมฺรับที่จัดเตรียมไว้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด โดยเลือวัดที่อยู่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม วันนี้เรียกว่า " วันยกหมฺรับ" การยกหมฺรับไปวัดเป็น
ขบวนแห่หรือไม่มีขบวนแห่ก็ได้ โดยนำหมฺรับและภัตตาหารไปถวายพระด้วย

๒) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล 
      วันแรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า "วันหลองหมฺรับ" มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสกุลการทำบุญวันนี้
เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้
กระทำพิธีกรรมในวันนี้บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เกิดทุขเวทนาด้วยความ
อดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูไป
๓) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
        เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้วก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า " ตั้งเปรต" เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้เป็นสาธารณะทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มี
ญาติหรือญาติได้มาร่วมทำบุญได้
        บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้นเพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า " หลาเปรต" (ศาลาเปรต) เมื่องตั้งขนม ผลไม้ และ
และเงินทำบุญเสร็จแล้วก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้วมาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ก็จะเก็บ
สายสิญจน์
      การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า "ชิงเปตร" ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกัน
เข้าไปแย่งขนมกันอย่างคึกคัก เพราะความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะ
ได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
      วัดบางแห่งสร้างหลาเปรตไว้สูง โดยมีเสาเพียงเสาเดียว เสานี้เกลาจนลื่นและชะโลมด้วยน้ำมัน เมื่อถึง
เวลาชิงเปรต เด็กๆ แย่งกันปีนขึ้นไป หลายคนตกลงมาเพราะเสาลื่น และอาจถูกคนอื่นดึงขาพลัดตกลงมา
กว่าจะมีผู้ชนะการปีนไปถึงหลาเปรต ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงมีทั้งความสนุกสนาน และความ
และความตื่นเต้น
แก่นแท้หรือสาระสำคัญ
       ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการคือ
       ๑) เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ โดยรำลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  ที่ได้เลี้ยงดูลูกหลานและให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เพื่อตอบแทนบุญคุณดังกล่าวลูกหลานจึงทำบุญ
อุทิศส่วนกุศลไปให้
      ๒) เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไหล ได้มาพบปะซักถามสารทุกข์สุกดิบต่อกัน และได้มีโอกาสทำบุญ
ร่วมกัน เป็นการสร้างความสนิทสนมกลมเกลียวในหมู่ญาติ สร้างความสบายใจที่ได้ทำบุญ
     ๓) เป็นการเก็บพืชผลของตนไปทำบุญถวายพระ เพราะชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มีอาชีพทาง
ทางการเกษตร ในช่วงปลายเดือนสิบเป็นระยะที่พืชพันธุ์ต่างๆ กำลังออกผล จึงได้เก็บพืชผลไปทำบุญอันเป็น
สิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
      ๔) เป็นการเก็บเสบียงอาหาร มีทั้งพืชผัก อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป จัดนำไปถวายในรูปหมฺรับหรือสำรับ เพือที่ทางวัดจะได้เก็บรักษาไว้เป็นเสียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน ทั้งนี้เพราะในภาคใต้ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นใน
ปลายเดือนสิบ ซึ่งพระภิกษุสงฆ์จะบิณฑบาตด้วยความยากลำบาก
      ๕) เป็นการจัดงานรื่นเริงสนุนสนานประจำปี งานรื่นเริงจัดขึ้นเพราะความภาคภูมิใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ที่ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับไป และเป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิต
ทางการเกษตรและชื่นชมในผลผลิตที่ได้รับได้ร่วมกันจัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองร่วมกัน งานเพื่อเฉลิม
ฉลองประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งนับเป็นงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้
และประเทศไทย













ประวัติประเพณีเดือน ๑๐ (ชาวภาคใต้)

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน
การจัดหฺมฺรับ
เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า วันหลองหฺมฺรับแต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ /หมะหรับ/ สำหรับการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเซี่ยนหมาก สุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง ( บางท่านบอกว่า 6 อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม 6 อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย
การยกหฺมฺรับ
ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหมฺรับ ต่างก็จะนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงาม เพราะถือเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ตนศรัทธา การยกหมฺรับไปวัดอาจต่างครอบครัวต่างไปหรืออาจจัดเป็นขบวนแห่ ทั้งนี้เพื่อต้องการความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ได้จัดให้มีขบวนแห่หมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบทุก ๆ ปี โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างส่งหฺมฺรับของตนเข้าร่วมขบวนแห่และร่วมการประกวด ซึ่งในช่วงเทศกาลนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชมากยิ่งขึ้น
เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน ตั้งเปรตเพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบันนิยมตั้งบน หลาเปรตโดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน ชิงเปรตโดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ







x

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทกลอนสอนธรรมเรื่องของตัวกูของกู






เป็นเรื่องของแมวที่มีอารมณ์ดีมาก


...แมวเหมียว..
แมวเอ๋ยแมวเหมียว
รูปร่างประเปรียวเป็นหนักหนา
ร้องเรียก เหมียว เหมียว เดี๋ยวก็มา
เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู
รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง
ค่ำ ค่ำ ซ้ำนั่งระวังหนู
ควรนับว่ามันกตัญญู
คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย
......

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทวิเคราะห์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
            หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ไว้เสวยวิมุติสุข  คือความสุขที่เกิดจากการพ้นทุกข์ บริเวณรอบต้นศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงพิจารณาวางแผนในการเผยแผ่สัจธรรม ให้มวลมนุษย์หลุดพ้นจาก พรหมลิขิต มาเป็น กรรมลิขิต
            ขั้นแรกต้องหาบุคคลที่มีสติปัญญาที่พอจะฟังเข้าใจรู้เรื่องรวดเร็วก่อนจึงเดินทางไปเทศนาโปรด พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เดินทางด้วยพระบาท 10 วัน พระองค์เทศนาครั้งแรก ชื่อธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปรากฏว่าพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก จึงขอบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นจึงมีครบองค์ 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา ส่วนพระอีก 4 รูป ภายหลังก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน จนในที่สุด ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ หรือผู้หมดกิเลสสิ้นเชิง
            จากนั้นเทศนาโปรดยสกุมารซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสีผู้เบื่อหน่ายชีวิตครองเรือน พร้อมพรรคพวก รวม 55 คน บรรลุอรหันต์ทั้งสิ้น ในพรรษาแรกนั้นเอง
            เมื่อพ้นฤดูฝนก็ประชุมสาวกทั้ง 60 รูป ให้ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและหันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา โดยให้สาวกยึดอุดมการณ์ว่า เพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชน และเพื่ออนุเคราะห์โลก ซึ่งสาวกทั้ง 60 ท่านทำงานได้ผลดีเกินคาด เพราะท่านเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
            พระพุทธเจ้าเสด็จกลับเมืองราชคฤห์เพื่อโปรดชฏิล 3 พี่น้อง คืออุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป พร้อมบริวาร 1,000 คน เป็นพวกบูชาไฟ ชาวเมืองราชคฤห์เลื่อมใสมาก พระพุทธเจ้าใช้เวลาเทศนาสั่งสอนจนทั้งหมดหันมายมอรับและขอบวชในพระพุทธศาสนา และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
            จากนั้นพระพุทธเจ้านำบริวารทั้งหมดเข้าเมืองราชคฤห์ เทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสาร ประกาศตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา และสร้างวัดเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในศาสนา พร้อมข้าราชบริพาร ชาวเมืองราชคฤห์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
            ระหว่างประทับที่กรุงราชคฤห์นี้พระพุทธองค์ได้สาวกที่สำคัญยิ่ง 2 รูป คือ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา และพระโมคคัลลานะ ได้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ทั้งคู่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปทั่วชมพูทวีป
            ระยะแรกพระสาวกล้วนเป็นชนชั้นสูงทั้งสิ้น และทรงมีพระเจ้าพิมพิสารกาตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรมคธเป็นองค์อุปถัมภ์ พระองค์ไม่กีดกั้นคนไม่ว่าอยู่ในวรรณะใด เมื่อเข้ามาบวชทุกคนเหมือนกัน ถือเป็นศากยบุตร คือ ลูกของพระศากยมุนี เหมือนกันทุกคน  ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะอีกต่อไป แต่การรับพวกวรรณะศูทรซึ่งนับเป็นชนชั้นต่ำเข้ามานั้น ย่อมเป็นที่รังเกียจของพวกชั้นสูงว่าทำไมสาวกของพระพุทธเจ้าจึงมีกิริยามารยาทไพร่เช่นนี้ พระองค์จึงแก้ปัญหาโดยสอน สมบัติผู้ดี ภาษาบาลีเรียกว่า เสขิยวัตร ถึง 75 ข้อ เป็นเรื่องกิริยามารยาท ทำให้พวกศูทรสามารถปรับปรุงแก้ไขตนเองเป็นผู้ดีได้เช่นกัน มีโอกาสศึกษาเล่นเรียนพระธรรมจนเป็นอริยบุคคลไม่ต่างจากวรรณะอื่นๆ เลย พระพุทธองค์มีความเสมอภาคกัน รักษาศีลเท่าเทียมกัน ต้องใช้ผ้าบังสุกุลเหมือนกัน บิณฑบาตเลี้ยงชีพเหมือนกัน มีคติความเชื่อเหมือนกัน คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ต้องรับผลกรรมนั้น นี้คือ กรรมลิขิต
            ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิวัติสังคมอินเดียของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่มวลมนุษย์โลกโดยแท้ ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อช่วยเหลือสังคมให้เป็นอิสระจากพันธนาการ พรหมลิขิต โดยมิได้ย่อท้อ ทรงรับปัจจัย 4 เพียงเล็กน้อย เพื่อยังชีพ แต่เป็นผู้ให้โดยไม่มีขอบเขต ทรงโน้มน้าวสาวกให้เป็นผู้เสียสละ ทรงสั่งสอนโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ เพราะทรงสอนว่า บุคลจะชั่วดีเพราะชาติกำเนิดก็หาไม่ แต่จะชั่วหรือดี เพราะกรรมคือการกระทำของตนเท่านั้น ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนหนึ่งจะทำให้อีกคนหนึ่งบริสุทธิ์ไม่ได้
            พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาสั่งสอนโดยไม่คำนึงถึงชนชั้นวรรณะ สาวกของพระองค์ล้วนมีอำนาจมาก เช่น พระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล กษัตริย์ลิจฉวี แห่งแคว้นวัชชี และยังมีเศรษฐี มหาเศรษฐีมากมาย ทำให้งานยกฐานะทางสังคมและพัฒนาสังคมให้เท่าเทียมกันได้ผลเกินคาดหมาย
            พระองค์ยังยกฐานะของสตรีเท่าเทียมบุรุษ เช่น ทรงอณุญาตให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีและมีจำนวนมากที่สามารถบรรลุโสดาบันถึงพระอรหันต์
นอกจากนี้ การทำงานของพระองค์สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากบรรดาสาวกทั้งภิกษุ ภิกษุฯ อุบาสก และอุบาสิกา แม้มีอุปสรรคบ้างก็น้อยกว่าศาสนาอื่นๆ ในอินเดีย ซึ่งพระองค์มีเวลาเพียง 45 ปี ในการเปลี่ยนความเชื่อเรื่อง พรหมลิขิต ที่ฝังรากลึกนับพันปี มาเชื่อใน กรรมลิขิต แทน แต่จะให้หมดไปสิ้นเชิงจึงเป็นไปไม่ได้  แต่พระองค์ก็ทำงานจนวาระสุดท้ายที่ทรงเทศนาสั่งสอนด้วยพระองค์เอง จากนั้นเสด็จปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันที่พระองค์ประสูติ  และตรัสู้ นับเป็นมหัศจรรย์ที่วาระทั้ง 3 มาเกิดขึ้นในวันเดียวกัน จึงเรียกวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา สถานที่ที่พระองค์นิพพานคือเมืองกุสินารา บริเวณที่นิพพาน เรียกว่า กาเซีย  จนบัดนี้ล่วงเวลามา 2540 ปีแล้ว พระธรรมของพระองค์ก็ยังสถิตสถาพรอยู่ในโลก และมีผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวตะวันตกมากขึ้นเป็นลำดับ เพราะทรงสอนอย่าสงมีเหตุผล มีอิสระในการเชื่อและปฏิบัติ มิได้บังคับให้หลงงมงาย นับว่าพระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานในเหล่าสาวก และพุทธ   ศาสนิชนควรเจริญรอยตามพระยุคลบาทอย่างต่อไป

ความไม่แน่นอนในการใช้ชีวิตของแต่ละคน

ก่อนที่จะรัก คุณพร้อมที่จะอกหักหรือยัง
ก่อนที่จะรัก คุณพร้อมที่จะเลิกเจ้าชู้ได้หรือยัง
ก่อนที่จะรัก คุณรัก หรือ คุณหลง ถามตัวเองก่อน
ก่อนที่จะรักคุณพร้อมที่จะเสียสละรึยัง
ก่อนที่จะรักคุณพร้อมที่จะรับเรื่องดีๆ + เรื่องร้ายๆ รึยัง
ก่อนที่จะรักคุณพร้อมที่จะเป็นผู้ให้และผู้รับรึยัง
เมื่อได้รับรักคุณพร้อมที่จะรับผิดชอบคนๆนึงรึยัง
เมื่อได้รับรักคุณพร้อมที่จะดูแลคนๆนั้นให้ดีที่สุดรึยัง
เมื่อได้รับรักคุณพร้อมที่จะรับเเรื่องบางเรื่องที่จะเกิดขึ้นมารึยัง
เมื่อได้รับรักคุณพร้อมที่จะห่างกับคนที่คุณรักรึยัง
เมื่อได้รัก คุณปฏิบัติตัวเหมือนก่อนที่จะรักหรือป่าว
เมื่อได้รัก คุณอย่าเอา รัก ไปรวมกับ เซ็กส์ มันคนละเรื่องกัน
เมื่อได้รัก คุณรัก หรือ คุณผูกพัน กันแน่??? 
(เกี่ยวนะ เพราะบางคนหมดรักไปแร้วแต่ไม่กล้าเลิก เพราะความผูกพันนี่แหละ
เมื่อไร้รัก คุณจะกลับมาอยู่คนเดียวเหมือนเดิมได้หรือป่าว
เมื่อไร้รัก คุณจะทนจากความเจ็บปวดนั้นได้แค่ไหน
เมื่อไร้รัก คุณพร้อมที่จะเปิดใจให้คนอื่นอีกหรือป่าว ความรัก
ไม่มีนิยามตายตัว
ไม่มีความหมายที่แน่นอน
ไม่มีความรู้สึกที่แน่แน่ว
ไม่มีใครรักได้เหมือนกัน ไม่มีการสอน
ไม่มีการสอบ ไม่มีการลอกไม่มีแบบฝึกหัด
ไม่เข้าใครออกใคร ไม่มีให้ในพรสรรค์
ดูแลความรักของคุณให้ดีที่สุด
ก่อนที่คุณจะไม่มีความรักให้ดูแลอีกเลย ...
.................. 

ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้น แต่ความอดกลั้นน้อยลง
เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง
เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง
เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น
เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า
แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น.....
เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้วแต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง
เรามีรายได้ สูงขึ้นแต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง
เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง
ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น
บ้านสวย ๆ กลายเป็นบ้านแตกสาแหรกขาด
ดังนั้น……จากนี้ไป……ขอให้พวกเรา
อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ
เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ …….โอกาสที่พิเศษสุด……แล้ว
จงแสวงหา การหยั่งรู้
จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่โดยไม่ใส่ใจกับความ…..อยาก…..
จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูง คนที่รักให้มากขึ้น…….กินอาหารให้อร่อย
ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป
ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด
เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้
เอาคำพูดที่ว่า…….สักวันหนึ่ง……..ออกไปเสียจากพจนานุกรม
บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะทำอะไรก็ตาม ที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น
ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย
เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง
และเวลานี้…..ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่มีเวลาที่จะ copy
ข้อความนี้ไปให้คนที่คุณรักอ่าน……แล้วคิดว่า….สักวันหนึ่ง…..ค่อยส่ง
จงอย่าลืมคิดว่า….สักวันหนึ่ง…..วันนั้น
คุณอาจไม่มีโอกาสมานั่งตรงนี้เพื่อทำอย่างที่คุณต้องการอีกก็ได้





จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยตั้งใจคิดว่า

เขาเป็นเพื่อน เกิด แก่เจ็บ ตาย ของเรา.
เขาเป็นเพื่อน เวียนว่ายอยู่ในวัฎฎสงสารด้วยกันกะเรา.
เขาก็ตกอยู่ใต้ อำนาจกิเลส เหมือนเรา ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง.
เขาก็มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่น้อยไปกว่าเรา.
เขาย่อมพลั้งเผลอบางคราว เหมือนเรา.
เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม เหมือนเรา ไม่รู้จักนิพพานเหมือนเรา.
เขาโง่ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยโง่.
เขาก็ตามใจ ตัวเองในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยกระทำ.
เขาก็อยากดี เหมือนเรา ที่อยาก ดี-เด่น-ดัง.
เขาก็มักจะกอบโกย และ เอาเปรียบ เมื่อมีโอกาสเหมือนเรา.
เขามีสิทธิที่จะบ้า ดี-เมาดี-หลงดี-จมดี เหมือนเรา.
เขาเป็น คนธรรมดา ที่ยึดมั่น ถือมั่น อะไรต่างๆ เหมือนเรา.
เขาไม่มี หน้าที่ ที่จะเป็นทุกข์ หรือตายแทนเรา.
เขาเป็น เพื่อน ร่วมชาติ ร่วมศาสนา กะเรา.
เขาก็ ทำอะไร ด้วย ความคิดชั่วแล่น และ ผลุนผลัน เหมือนเรา.
เขามี หน้าที่ รับผิดชอบ ต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะมีรสนิยม ตามพอใจของเขา.
เขามีสิทธิ ที่จะเลือก ( แม้ศาสนา ) ตามพอใจของเขา.
เขามีสิทธิ ที่จะใช้ สมบัติ สาธารณะ เท่ากันกับเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะเป็นโรคประสาท หรือเป็นบ้า เท่ากับเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะขอความช่วย เหลือ เห็นอกเห็นใจ จากเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะได้รับอภัย จากเรา ตามควรแก่กรณี.
เขามีสิทธิ ที่จะเป็นสังคมนิยม หรือ เสรีนิยม ตามใจเขา.
เขามีสิทธิ ที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น.
เขามีสิทธิ แห่งมนุษย์ชน เท่ากัน กับเรา , สำหรับจะอยู่ในใลก.
....ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการ ขัดแย้งใดๆเกิดขึ้น.

**********************
พุทธทาส อินฺทปญฺโญ
สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี


ปัญหาเฉลยพุทธประวัติ (ธรรมศึกษาชั้นตรี)

คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว  โดยกากบาทในช่องของข้อ ที่ต้องการ  ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   . ประเทศใดไม่ได้อยู่ในดินแดนชมพูทวีป ?
     . อินเดีย                             . ปากีสถาน
     . ไทย                               . เนปาล
     คำตอบ :
  . พวกพลเรือนที่มีอาชีพทำนา ค้าขาย จัดอยู่ในวรรณะใด ?
     . กษัตริย์                             . พราหมณ์
     . แพศย์                              . ศูทร
     คำตอบ :
  . ไตรเพทเป็นคัมภีร์ของศาสนาใด ?
     . ศาสนาพุทธ                         . ศาสนาพราหมณ์
     . ศาสนาเชน                          . ศาสนาซิกซ์
     คำตอบ :
  . กษัตริย์พระองค์ใด เป็นต้นศากยวงศ์ ?
     . พระเจ้าโอกกากราช                  . พระเจ้าอโศกมหาราช
     . พระเจ้าชัยเสนะ                      . พระเจ้าสีหหนุ
     คำตอบ :
  . กษัตริย์พระองค์ใด เป็นพระอัยกา (ปู่) ของพระพุทธเจ้า ?
            . พระเจ้าโอกกากราช                  . พระเจ้าอัญชนะ
     . พระเจ้าสีหหนุ                       . พระเจ้าชัยเสนะ
     คำตอบ :
  . เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ณ ที่ไหน ?
     . สวนเวฬุวัน                         . สวนลุมพินีวัน
     . สวนอัมพวัน                         . ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
     คำตอบ :
  . ลักษณะของพระมหาบุรุษ ใครเป็นผู้ทำนายคนแรก ?
     . อุทกดาบส                          . อาฬารดาบส
     . โกณฑัญญพราหมณ์                  . อสิตดาบส
     คำตอบ :
  . พระนางสิริมหามายาทิวงคต เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้กี่วัน ?
     . ๓ วัน                              . ๕ วัน
     . ๗ วัน                              . ๑๕ วัน
     คำตอบ :
  . เจ้าชายสิทธัตถะได้ปฐมฌานครั้งแรกที่ไหน ?
     . ใต้ต้นโพธิพฤกษ์                     . ใต้ต้นไทร
     . ใต้ต้นชมพูพฤกษ์                    . ใต้ต้นจิก
     คำตอบ :
๑๐เจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศบรรพชา ณ สถานที่ใด ?
     . ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา                    . ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
     . ริ่มฝั่งแม่น้ำคงคา                     . ริมฝั่งแม่น้ำสินธู
     คำตอบ :
๑๑เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบรรพชา ใครนำบาตรและจีวรมาถวาย ?
     . สหัมบดีพรหม                       . ท้าวสักกเทวราช
     . ท้าวจาตุมหาราช                     . ฆฏิการพรหม
     คำตอบ :
๑๒. สมณพราหมณ์มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ใจยังยินดีอยู่ในกาม เปรียบได้
     กับอะไร ?
     . ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ                    . ไม้สดที่อยู่บนบก
     . ไม้แห้งที่อยู่บนบก                   . ถูกทุกข้อ
     คำตอบ :
๑๓. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุเท่าไร ?
     . ๒๙ พรรษา                         . ๓๕ พรรษา
     . ๓๖ พรรษา                          . ๔๕ พรรษา
     คำตอบ :
๑๔. พระพุทธเจ้าทรงผจญกับธิดามาร ณ สถานที่ใด ?
     . อนิมมิสเจดีย์                        . รัตนจงกรมเจดีย์
     . ต้นอชปาลนิโครธ                    . ต้นราชายตนะ
     คำตอบ :
๑๕. อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรมเป็นสรณะเป็นคนแรกคือใคร ?
     . ตปุสสะและภัลลิกะ                   . โสตถิยพราหมณ์
     . อนาถปิณฑิกเศรษฐี                  . บิดาของยสกุลบุตร
     คำตอบ :
๑๖ผู้มาทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าโปรดเวไนยสัตว์คือใคร ?
     . พกาพรหม                          . ฆฏิการพรหม
     . มหาพรหม                          . สหัมบดีพรหม
     คำตอบ :
๑๗. " ที่สุด ๒ อย่างและทางสายกลาง "  อยู่ในพระสูตรไหน ?
     . เวทนาปริคคหสูตร                   . ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
     . อาทิตตปริยายสูตร                   . อนัตตลักขณสูตร
     คำตอบ :
๑๘. พระรัตนตรัย เกิดขึ้นในโลกเมื่อไร ?
     . วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓                . วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
     . วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘                . วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙
     คำตอบ :
๑๙วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ชื่อว่าอะไร ?
     . เชตวัน                             . ลัฏฐิวัน   
     . ปุพพาราม                          . เวฬุวัน
     คำตอบ :
๒๐. " ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร "  ใครกล่าว ?
     . อุปติสสปริพาชก                     . โกลิตปริพาชก
     . ปิปผลิมาณพ                        . ทีฆนขปริพาชก
     คำตอบ :
๒๑. พระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
     แก่ใคร ?
     . ทีฆนขปริพาชก                     
    
. สุภัททปริพาชก
     . พระอัสสชิ
    
. พระมหาโมคคัลลานะ
     คำตอบ :
๒๒. พระมหาโมคคัลลานะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ไหน ?
     . ถ้ำสุกรขาตา                        . ถ้ำสัตตบรรณคูหา
     . บ้านกัลลวาลมุตตคาม                 . บ้านนาลันทา
     คำตอบ :
๒๓. ผู้ที่ออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลกคือใคร ?
     . อุปติสสปริพาชก                       . โกลิตปริพาชก
     . อชิตมาณพ                         . ปิปผลิมาณพ
     คำตอบ :
๒๔. ผู้ทำบุญอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว คนแรกคือใคร ?
     . อนาถปิณฑิกเศรษฐี                  . พระเจ้าพิมพิสาร
     . พระเจ้าปเสนทิโกศล                  . นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
     คำตอบ :
๒๕. " ไม่ชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล "  หมายความว่าอย่างไร ?
     . ไม่ถือตัวเข้าไปสู่ตระกูล                . ไม่โอ้อวดเข้าไปสู่ตระกูล
     . ไม่โต้แย้งเข้าไปสู่ตระกูล               . ไม่ยกตนข่มท่านเข้าไปสู่ตระกูล
     คำตอบ :
๒๖. การบวชที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เอง คือวิธีใด ?
     . ติสรณคมนูปสัมปทา                 . เอหิภิกขุอุปสัมปทา
     . ญัตติจตุตถกรรม                     . ถูกทุกข้อ
     คำตอบ :
๒๗. พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ณ สถานที่ใด ?
     . เชตวัน                             . ลัฏฐิวัน
     . เวฬุวัน                             . อัมพวัน
     คำตอบ :
๒๘. ใครทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ได้สำเร็จ ?
     . กาฬุทายีอำมาตย์                    . ฉันนอำมาตย์
     . สันตติอำมาตย์                      . พระอานนท์
     คำตอบ :
๒๙. พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้าย ณ สถานที่ใด ?
     . นาลันทา                            . เวฬุวคาม
     . เวฬุวัน                             . กุสินารา
     คำตอบ :
๓๐. พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ณ สถานที่ใด ?
     . ธาตุเจดีย์                           . อนิมมิสเจดีย์      
     . รัตนฆรเจดีย์                        . ปาวาลเจดีย์
     คำตอบ :
๓๑. ใครเป็นผู้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้าเป็นคนสุดท้าย ?
     . อนาถปิณฑิกเศรษฐี                  . นายจุนทะ
     . นางวิสาขา                          . นางสุชาดา
     คำตอบ :
๓๒. ใครเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ?
     . พระอานนท์                         . พระอนุรุทธะ      
     . สุภัททวุฑฒบรรพชิต                 . สุภัททปริพาชก
     คำตอบ :
๓๓. พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองไหน ?
     . เมืองปาวา                          . เมืองพาราณสี
     . เมืองกุสินารา                        . เมืองสาวัตถี
     คำตอบ : ค
๓๔.  สถานที่ใด ไม่ใช่สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ?
     ก. ที่ประสูติ                                   ข. ที่ตรัสรู้
     ค. ที่ปรินิพพาน                         ง. ที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์
     คำตอบ : ง
๓๕.  สถานที่ใด เป็นที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ?
     ก. มกุฏพันธนเจดีย์                      ข. ปาสาณเจดีย์
     ค. อนิมมิสเจดีย์                        . รัตนฆรเจดีย์
     คำตอบ :
๓๖. ใครทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ?
     . มัลลกษัตริย์                         . พระมหากัสสปะ
     . โทณพราหมณ์                       . พระอานนท์
     คำตอบ :
๓๗. ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทน ?
     . พระมหากัสสปะ                     . พระอานนท์
     . พระอุบาลี                           . พระธรรมวินัย
     คำตอบ :
๓๘. พระพุทธเจ้าตรัสโอวาทครั้งสุดท้าย ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
     . ความสันโดษ                        . ความไม่ประมาท
     . ความกตัญญู                        . ถูกทุกข้อ
     คำตอบ :
๓๙. พระพุทธรูปจัดอยู่ในเจดีย์ประเภทใด ?
     . ธาตุเจดีย์                           . ธรรมเจดีย์
     . บริโภคเจดีย์                        . อุทเทสิกเจดีย์
     คำตอบ : ง
๔๐.  อะไร คือมูลเหตุแห่งการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ?
     ก. มีผู้กล่าวจ้วงจาบพระศาสดา            ข. มีผู้กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
     ค. มีผู้ละเมิดพระธรรมวินัย                ง. ถูกทุกข้อ
     คำตอบ : ข
๔๑.  คำว่า " อุโบสถ "  แปลว่าอะไร ?
     ก. การจำศีล                            ข. การรักษาศีล
     ค. การถือศีล                           ง. การเข้าจำ
     คำตอบ :
๔๒. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีกี่วัน ?
     . ๓ วัน                              . ๔ วัน
     . ๕ วัน                              .   วัน
     คำตอบ :
๔๓. การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดเข้าในพิธีใด ?
     . กุศลพิธี                             . ทานพิธี
     . บุญพิธี                             . ปกิณกพิธี
     คำตอบ :
๔๔. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันอะไร ?
     . วันแสดงปฐมเทศนา                  . วันแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
     . วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ        . วันปรินิพพาน
     คำตอบ :
๔๕. การถวายทานในข้อใด จัดเข้าในปาฏิบุคลิกทาน ?
     . สมหวังพาเพื่อนไปถวายสังฆทานที่วัด     . หงส์ฟ้าตักบาตรทุกเช้า
     . มะลิถวายอาหารพระที่ตนนับถือ           . ตะวันทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ที่บ้าน
     คำตอบ :
๔๖. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ?
     . วันพระเจ้าเปิดโลก                   . วันแสดงปฐมเทศนา
     . วันประสูติ                          . วันปรินิพพาน
     คำตอบ :
๔๗. ข้อใด ไม่ใช่พิธีทำบุญงานมงคล ?
     . งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่                . งานบวช
     . งานทำบุญอายุ                      . งานทำบุญอัฐิ
     คำตอบ :
๔๘. " สวดพระพุทธมนต์ "  ใช้สำหรับงานประเภทใด ?
     . งานมงคล                           . งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
     . งานอวมงคล                        . งานทำบุญอายุ
     คำตอบ :
๔๙. การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงการกราบเช่นไร ?
     . กราบครบองค์ ๕                     . กราบ ๓ ครั้ง
     . กราบ ๕ ครั้ง                        ก และ ข ถูก
     คำตอบ :
๕๐. การกรวดน้ำมุ่งประโยชน์อะไร ?
     . อุทิศส่วนบุญ                        . แสดงความเคารพ
     . ตั้งจิตอธิษฐาน                       . เพื่อให้เทวดารับรู้
     คำตอบ :