วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิชา พุทธปรัชญา อ.พระมหาเทพรัตน์ อริยวํโส

วิชา พุทธปรัชญา อ.พระมหาเทพรัตน์   อริยวํโส
                                                                เรื่องมนุษย์
                คำว่ามนุษย์มาจากคำว่า มนะ หรือ มโน ซึ่งแปลว่า ใจ นำไปสนธิกับคำว่า อุษยะ ซึ่งแปลว่า
สูง     มนะ+อุษยะ  =  มนุษย์  มนุษย์จึงแปลว่า ผู้มีใจสูง ดังที่อาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า
                “ เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง    เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน   ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่เพียงคน  
 ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา
                สารัตถะของมนุษย์คือ  “ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ    ถ้ามีครบควรเรียกมนุสสา 
 เพราะทำถูกพูดถูกทุกเวลา     เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์จริง
                เปรียบเทียบมนุษย์ ๕ ประเภท  
                ๑.มนุสฺสเนรยิโก แปลว่า มนุษย์สัตว์นรกคือเป็นมนุษย์แต่ชื่อ ส่วนความประพฤติทางกาย วาจา ใจนั้นเลวทราม ดุร้ายหยาบคายเหมือนสัตว์นรกฉะนั้น
                ๒.มนุสฺสเปโต แปลว่า มนุษย์ผู้มากไปด้วยความโลภ มากไปด้วยตัณหา อยากอยู่ตลอดเวลาไม่ยอมอิ่มเปรียบเทียบกับเปรตที่ ปากเท่ารูเข็ม ท้องเท่าภูเขา สูงเท่าต้นตาล
                .มนุสฺสติรจฺฉาโน แปลว่า มนุษย์สัตว์เดรัจฉาน เดรัจฉาน แปลว่า ผู้ไปขวาง
คือเดินทอดตัว ไม่ได้เดินตั้งตัวเหมือนคน คือ มนุษย์ที่ขวางศีลขวางธรรม มนุษย์ผู้ไรศีลธรรม    
                ๓.มนุสฺสภูโต  แปลว่า เป็นมนุษย์บริบูรณ์คือคนรักษาศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ    
 ไม่ผิดศีลข้อ ๑ ถึงข้อ ๓ ทั้ง ไม่พูดเท็จ   ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดหยาบ   ไม่พูดเพ้อเจ้อ   ไม่โลภ
ไม่คิดพยาบาท  เห็นชอบตามธรรมนองคลองธรรม  รวมเป็น ๑๐ ข้อ
                ๔.มนุสฺสเทโว แปลว่า มนุษย์เทวดา คือ มนุษย์ผู้ที่มี  บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา   และ มีหิริ   คือความละอายแก่ใจ    มีโอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อบาป
               
ปัจจัยการเกิดของมุษย์ ๓ ประการ
                                .มารดามีระดู หมายถึง หญิงที่จะตั้งครรภ์ได้ต้องมีไข่ หรืออยู่ในภาวะที่ไข่ตก จึงจะสามารถตั้งครรภ์ขึ้นมาได้
                                .มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน หมายถึง มีหญิง-ชายได้ร่วมประเวณีกัน เพื่อให้ไข่ของฝ่ายหญิงกับสเปอร์มของผู้ชายได้ผสมกัน
                                .มีสัตว์มากำเนิด หมายถึง มีการจุติของวิญญาณ วิญญาณในที่นี้ก็คือ "ธาตุรู้"นั่นเอง ซึ่งเป็นตัวนามธรรม.
                               

วิวัฒนาการการเกิดขึ้นของโลกและมนุษย์ 
                พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องการกำเนิดของมนุษย์ในยุคแรก ซึ่งเกิดจากพวกพรหมที่หมดบุญลงมากินง้วนดิน กินมากเข้ากายก็หยาบ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการในด้านทางต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การพัฒนาด้านร่างกาย  การสร้างบ้านเรือน การประกอบอาชีพ เป็นต้น
                 จากมนุษย์ยุคแรกที่มีไม่มากนัก ยังแยกกันอยู่ เวลาผ่านไปมนุษย์มีมากขึ้นและอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นสังคม เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานเข้า ความต้องการปัจจัยด้านต่าง ๆ มากขึ้น อกุศลธรรมเกิด มีการแก่งแย่งปัจจัย ๔ เกิดข้อพิพาทขึ้น มีความจำเป็นต้องหาผู้ที่มีความสามารถที่จะปกครองหมู่คณะได้ วรรณะกษัตริย์ คือผู้ที่เป็นใหญ่ในเขตแดนจึงเกิดขึ้น คนบางเหล่าออกบวชมุ่งปฏิบัติธรรมล้างบาป วรรณะพราหมณ์ จึงเกิดขึ้น บางพวกมีครอบครัวประกอบการงาน คนพวกนี้จัดอยู่ใน วรรณะแพศย์ ส่วนพวกที่ทำการล่าสัตว์ ทำไร่ไถนา คนเหล่านี้จัดอยู่ในพวก ศูทร ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ในหมู่ที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน พวกพราหมณ์ก็ไม่ใช่วรรณะที่ประเสริฐสุด
                ก่อนจบพระธรรมเทศนาพระองค์ทรง พระองค์ทรงสรรเสริญธรรมว่าประเสริฐที่สุดในชาตินี้และชาติหน้า ทุกวรรณะหากประพฤติชั่วก็ไปอบาย  ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสุด ผู้สิ้นอาสาวะกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้งสี่ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดา และมนุษย์ทั้งปวง.
                (ธมฺเมน หีนา ปสุภิ สมานา  เมื่อปราศจากธรรมแล้วคนกับสัตว์ก็เสมอกัน)        
องค์ประกอบของมนุษย์ คือ ขันธ์ ๕
                ขันธ์๕   แปลได้หลายอย่าง  เช่น  กอง หมู่ กลุ่ม  กอง๕  หมู่๕  กลุ่ม๕
                มนุษย์ประกอบด้วยสองสิ่งคือ รูป  กับ  นาม  อีกอย่างคือ  กาย กับ ใจ
                รูปหมายถึง  ร่างกาย     อีก ๔ ข้อที่เหลือ  เป็นนาม
                               .รูปหมายถึงร่างกาย
                                .เวทนาหมายถึงความรู้สึกสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์(อุเบกขา)
                                .สัญญาหมายถึงความจำกำหนดหมาย
                                .สังขารไม่ได้หมายถึงร่างกายแต่หมายถึงการปรุงแต่งดีชั่วบุญบาป
                                ๕.วิญญาณหมายถึงการรับรู้ของจิต
การเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตตามหลักของพระพุทธศาสนาคือกำเนิด ๔ 
                               ๑.อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก งู    
              ๒.ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว หมา
                                ๓.สังเสทชะ เกิดในของเน่า เช่น เชื่อโรค  แบคทีเรีย  เชื้อรา
                                ๔.โอปปาติกะ เกิดฉับพลัน สมบูรณ์ในตัวเอง เช่น พวกเปรต  อสูรกาย   พรหม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น