วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์

ที่มา
        เป็นบทนำของตำราชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ แพทย์แผนโบราณของไทย มีเนื้อหากว้าง ๆ เช่น กล่าวถึงคุณสมบัติขอแพทย์ที่ต้องมีความรู้ความสามารถ  มีศีลธรรม  มีคุณธรรม  ละกิเลส  และบาปกรรมข้อที่แพทย์ควรระวัง  การอธิบายเปรียบเทียบเรื่องกายนคร  ผลการรักษาอาจสำเร็จและไม่สำเร็จ  อย่าดูถูกวิชาความรู้และครูบาอาจารย์ ในภาคนี้มุ่งเป็นคุณสมบัติ  ความคิด  และความประพฤติของแพทย์
        ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ทั้งชุดมี ๑๔ คัมภีร์  ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงให้ประชุมแพทย์หลวง  สืบค้นและรวมตำราแพทย์ไทย  นำมาตรวจสอบชำระให้ถูกต้อง  และจึงจดบันทึกไว้ในสมุดไทย  ตำราชุดนี้ได้มีการพยายามจัดพิมพ์เผยแพร่หลาบครั้ง  และมาสำเร็จสมบูรณ์ด้วยพระพิศณุประสาทเวช  และได้เผยแพร่ให้ประชาชนด้วย

วิเคราะห์กิจกรรมท้ายบท
        แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นมรดกที่มีค่า  เรียกว่า  เป็นสมบัติของแผ่นดิน  เป็นภูมิปัญญาไทยที่ตกทอดมาเป็นตำราที่ใช้รักษาไข้  รวมทั้งเป็นตำรายาสมุนไพรเป็นภูมิที่รู้ที่ทรงคุณค่าของไทย
        ข้อที่เป็นคุณสมบัติของแพทย์  ได้แก่
๑.  เรียนรู้ให้เจนจัด            ๒.  รักษาโรคด้วยความรู้ที่แม่นยำ  อย่าเดา
๓.  มีวิริยะอุตสาหะ             ๔.  ถือศีลห้า  ศีลแปด
๕. พ้นจากกิเลส ๓ คือ  โลภ  โกรธ  หลง
บาปธรรม  ๑๔  ประการที่แพทย์ควรละ ได้แก่
๑.  โลภ                             ๒.  โกรธ
                ๓.  หลง                             ๔.  วิจิกิจฉา
                ๕. อุจธัจจะ                        ๖.  ทิฐิมานะ
                ๗.  ถือตน                 ๘.  อย่าล่วงเกินผู้ประพฤติกรรม
                ๙. วิตก                             ๑๐. พยาบาทวิสิงหา
                ๑๑.  กามราคะ                    ๑๒.  ไม่ละอายบาป
๑๓.  อโนตตัปปะ                ๑๔.  รังเกียจคนไข้ยามยาก
        ในการพรรณนา  กายนคร  ได้แต่งเป็นการเปรียบ  ดังนี้
                ดวงจิตคือกษัตริย์                ปิตตคือวังหน้า
                อาหารคือเสบียง          เปรียบแพทย์คือทหาร
                ดวงจิตคือกษัตริย์                ผ่านสมบัติอันโอฬาร
                ข้าศึกคือโรคา            เกิดเขม่นฆ่าในกายเรา

     ข้าศึกที่รุกรานเบียดเบียนร่างกายคือ  โรคภัยไข้เจ็บ  ที่นอกจากบ่อนทำลายร่างกายแล้วยังทำลายจิตใจด้วย

        คัมภีร์ฉันทศาสตร์  อาจจะฟังเข้าใจยาก  เพราะเป็นภาษาโบราณ  มีคำศัพท์ยากอยู่มากสำนวนการเรียงคำก็เป็นคำประพันธ์  และยังมีคำศัพท์ธรรมปนอยู่ด้วย  แต่ถ้าอ่านแล้วค่อย ๆ  พิจารณาก็จะเข้าใจได้  เนื้อหาค่อนข้างเป็นการสั่งสอน  ผู้อ่านจะซาบซึ้งคุณสมบัติของแพทย์ไทย  ว่าเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม  ศีลธรรม  แลความรู้  เป็นคนมีค่าสูงยิ่ง  และเป็นคนตัวอย่างของสังคมไทย  ซึ่งปัจจุบันนี้จะหาคนที่ทรงคุณค่าเช่นนี้ได้ยากนัก

แผนการจัดการเรียนรู้ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ฯ

สาระสำคัญ
        การเรียนรู้วรรณกรรมงานประพันธ์เราต้องเรียนรู้ที่มาหรือภูมิหลังของเรื่องรวมทั้งประวัติของผู้แต่ง  เพื่อจะได้เชื่อมโยงเข้ากับแก่นและสาระของเนื้อหา  ดังเช่น  ที่มาของตำราชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์  แพทย์แผนโบราณของไทย  มีเนื้อหากว้าง ๆ  ที่กล่าวถึงคุณสมบัติขอแพทย์ที่ต้องมีความรู้ความสามารถ  มีศีลธรรม  มีคุณธรรม  ละกิเลส  และบาปกรรมข้อที่แพทย์ควรระวัง 

มาตรฐาน ท ๔. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
มาตรฐาน ท ๕. เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        ๑.  นักเรียนบอกที่มาของคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์สงเคราะห์ได้
        ๒.  นักเรียนจุดมุ่งหมายในการแต่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์สงเคราะห์ได้
        ๓.  นักเรียนบอกคุณธรรมที่แพทย์ต้องมีได้

สาระการเรียนรู้

        .  ที่มาของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

        ๒.  หลักคุณธรรมที่แพทย์ควรมี

.  ทดสอบก่อนเรียน


การจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้
๑.  ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับหน้าที่และบทบาทของแพทย์ตลอดทั้งจรรยาบรรณที่แพทย์ทุกคนควรมี  นักเรียนอาสาสมัคร ๒ ๓ คนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการไปหาหมอ  แพทย์และพยาบาลมีกิริยาท่าทางอย่างไรบ้าง
๒.  ครูติดแผนภูมิบทร้อยกรองต่อไปนี้บนกระดาน  ให้นักเรียนสังเกต
                จะกล่าวคัมภีร์ฉัน                ทศาสตร์บรรพ์ที่ครูสอน
                เสมอดวงทินกร           แลดวงจันทร์กระจ่างตา
                ส่องสัตว์ให้สว่าง         กระจ่างแจ้งในมรรคา
                หมอนวดแลหมอยา     ผู้เรียนรู้คัมภีร์ไสย์
                เรียนรู้ให้ครบหมด              จนจบบทคัมภีร์ใน
                ฉันทศาสตร์ท่านกล่าวไข             สิบสี่ข้อจงควรจำ
        ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายและ ครูถามนักเรียนถึงที่มาของบทร้อยกรองนี้มาจากที่ใด  ใครเป็นผู้แต่ง นักเรียนตอบอย่างอิสรเสรี  ครูสรุปและเฉลย
        ๓.  นักเรียนศึกษาที่มาของคัมภีร์ฉันทศาสตร์  แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์  ( ท้ายแผน )  จากนั้นให้นักเรียน ๓ ๕ คนตั้งคำถามให้เพื่อนตอบ
๔.  นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะ  ชุดที่ ๑  ( ท้ายแผน )  ชุดตอบคำถาม  เสร็จแล้ว  นำส่งครูตรวจสอบประเมินผลและประกาศผลการประเมิน  พร้อมทั้งแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องเป็นรายๆ
        ๕.  นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่  ๔  คัมภีร์ฉันทศาสตร์
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์  เสร็จแล้วนำส่งครูตรวจสอบความถูกต้องและประกาศผลโดยที่ยังไม่ต้องเฉลย

สื่อ /  แหล่งเรียนรู้ / บุคคล
๑. ใบความรู้  คัมภีร์ฉันทศาสตร์ฯ
๒. แบบทดสอบก่อนเรียน
๓. แบบฝึกหัดชุดที่  ๑
๔. หนังสือเรียน  ชุด วรรณคดีวิจักษ์  ชั้น ม. ๕
๕. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนเฉลยแบบฝึกหัด

วัดผลประเมินผล
๑. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
๒. ตรวจแบบฝึกหัดชุดที่  ๑

๓. หนังสือเรียน  ชุด  วรรณคดีวิจักษ์  ชั้น ม. ๕

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ (แผนจัดการเรียนรู้)

สาระสำคัญ
สมุนไพร  คือ  ผลิตผลธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ  ที่ใช้เป็นยาบำบัดโรค  หรือบำรุงร่างกาย  ไม่มีพิษต่อร่างกาย มีมากมายหลายชนิด  บางชนิดให้คุณค่าทางอาหาร  บางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค  สมุนไพรที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่สมุนไพรที่มีชื่อต่อไปนี้

มาตรฐาน ท ๓.สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
มาตรฐาน ท ๕. เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        . นักเรียนบอกชื่อสมุนไพรไทยได้
        . นักเรียนบอกสรรพคุณสมุนไพรไทยได้
        . นักเรียนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยได้

สาระการเรียนรู้
        .  ชื่อสมุนไพรไทย
        .  สรรพคุณสมุนไพร
        ชื่อสมุนไพรภาษาอังกฤษ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
๑.  นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ  ๔  คน  แต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยนักเรียนที่มีระดับภูมิปัญญาสูง  กลาง  และต่ำ  ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม  รองหัวหน้ากลุ่ม  และเลขานุการกลุ่ม   ควรใช้กลุ่มเดิมตลอดบทเรียน
๒.  นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง  สมุนไพรไทย ( ท้ายแผน ) ครูสรุปและร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรรักษาโรค
๓.  นักเรียนแต่ละกลุ่มหาคำประพันธ์จาก  คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ที่กล่าวถึง สมุนไพรไทย ว่ามีข้อความตอนใดบ้าง ให้แต่ละกลุ่มยกข้อความนั้นมาพูดอธิบายหน้าชั้น
๔.  นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนอธิบายสรรพคุณของสมุนไพรไทย และ
ส่วนที่เรานำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพร เป็นใบงานกลุ่ม ชุดที่ ๕.๑ ( ท้ายแผน ) เสร็จแล้วครูเฉลยบนกระดาน นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันตรวจผลงาน
๕.  นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะ ชุดที่ ๕.๒ ( ท้ายแผน ) ชุดวาดภาพสมุนไพรไทย ๑ ชนิด  และแต่งกาพย์ยานี  ๑๑  อธิยายสรรพคุณของสมุนไพรนั้น

สื่อ /  แหล่งเรียนรู้ / บุคคล
๑. รูปภาพสมุนไพรไทย
๒. สี  กระดาษ
๓. ใบความรู้เรื่อง สมุนไพรไทย
๔. ใบงานกลุ่ม  ๕.๑
๕. หนังสือเรียน  ชุด วรรณคดีวิจักษ์  ชั้น ม.๕
๖. แบบฝึกเสริมทักษะ ๕.๒

วัดผลประเมินผล
๑. ประเมินจากการทำใบงานที่ ๕.๑

๒. ประเมินจากการทำใบงานที่ ๕.๒

สมุนไพรใกล้ตัวสามารถนำมาใช้ได้


















อุดมการณ์ของเจ้าอาวาสที่ต้องตั้งจิตไว้





รักวัดเหมือนบ้าน
รักงานเหมือนชีวิต
รักศิษย์เหมือนลูกหลาน
รักชาวบ้านเหมือนญาติ
นี้คือ อุดมการณ์ของเจ้าอาวาส

ข้อคิดเรื่องของอายุในแต่ละระดับ




ข้อคิดเรื่องของอายุในแต่ละระดับ

อายุ ๑-๗ ปี ถ้าไม่รู้ผิดถูก กฎหมายไม่เอาโทษ
อายุ ๘-๑๕ปี ถ้ายังทำตัวไร้เดียงสา คือปัญญาอ่อน
อายุ ๑๖-๒๐ปี ถ้ายังทำอะไรไม่เป็นเรื่องเป็นราว ถือว่าเป็นคนเขลาเบาปัญญา
อายุ ๒๑-๒๕ปี ถ้ายังไม่รู้จักทำงานให้เป็นแก่นสานถือว่าเป็นคนรกโลก
อายุ ๒๖-๓๐ปี ถ้ายังไม่เริ่มสร้างฐานะที่มั่นคงก็อย่าหวังอะไรมากนัก
อายุ ๓๑-๓๖ปี ถ้ายังเปลี่ยนงานทุกปี ก็ยากจะมีอนาคต
อายุ ๓๖-๔๐ปี ถ้ายังไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานก็เตรียมเดินลงเขา
อายุ ๔๐-๕๐ปี ถ้ายังไม่มีการงานที่มั่นคง ก็จงเตรียมตนเป็นคนไร้ค่า
อายุ ๕๑-๕๕ปี ถ้ายังไม่มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณอายุก็จงเตรียมเข้าสู่วงจรชีวิต
อายุ ๕๖ ปี ขึ้นไปถ้ายังหวังพึ่งลูกหลานก็อย่าลืมคำว่าเสียใจ
(ที่ระลึก สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำวังทอง จ.พัทลุง)