วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาผลิตข้าวซ้อมมือของชุมชน ตำบลท่าซัก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

ภูมิปัญญาผลิตข้าวซ้อมมือของชุมชนตำบลท่าซัก

ข้อมูลทั่วไปตำบลท่าซัก

            ตำบลท่าซัก  อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ  ๔.๕  กิโลเมตร  พื้นที่ทั้งหมด  ๔๕.๐๘๐  ตารางกิโลเมตร  จำนวน  ๙  หมู่บ้าน  พื้นที่ทางการเกษตรประมาณ  ๕,๐๐๐  ไร่  ประชากรตำบลท่าซักรวม  ๑๐,๐๒๔  คน  ชาย  ๔,๙๔๐  คน  หญิง  ๕,๐๘๔  คน  จำนวนครัวเรือน  ๓,๓๙๙  ครัวเรือน  ความหนาแน่นของประชากร  ๒๓๓  คนต่อตารางกิโลเมตร
                  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 
                  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  คือ  ข้าว  เกษตรกรประกอบอาชีพการเกษตรมากกว่า  ๑  กิจกรรม  คือทำนาควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์  ทำประมง  เลี้ยงปลา  และปลูกผัก
                  พืชสัตว์เศรษฐกิจ
                           เกษตรกร  เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย  ปูดำ  ปลากะพง  แพะ  และวัวพันธ์พื้นเมือง 
                  การประมง
                           เกษตรกรหมู่ที่  ๖ ถึงหมู่ที่  ๙   อยู่ติดกับบริเวณชายฝั่งทะเล  มีอาชีพออกเรือหาปลา  และเลี้ยงกุ้งนาธรรมชาติ
                         ข้อมูลการตลาด
                  - ข้าว  เกษตรกรขายให้แก่พ่อค้าโรงสีในหมู่บ้าน  และโรงสีในตำบลใกล้เคียง
                  - สัตว์  (สัตว์ปีก วัว  แพะ)  ขายกับพ่อค้าที่มารับซื้อในหมู่บ้าน  และตลาดในตัวเมือง
                        - ประมง  (ปลาดุก ปลากะพง  กุ้ง  ปูดำ)  ขายให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อที่ปากบ่อและบางส่วนนำไปขายในตลาดในตัวเมือง 
                        - พืชผัก  ขายให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อในหมู่บ้าน  และขายในตลาดในตัวเมือง
                                 จากการสำรวจตำบลท่าซักมีแหล่งเรียนรู้หลายๆ  แหล่งที่น่าสนใจ  แต่ในที่นี้จะขอนำแหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลท่าซัก  กลุ่มข้าวซ้อมมือตำบลท่าซัก  ที่มีชื่อเสียงมาให้ทุกคนได้เรียนรู้ดังนี้ 
 
แหล่งเรียนรู้ชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือตำบลท่าซัก
            กลุ่มแม่บ้าน  หมู่ที่๕  ตำบลท่าซัก  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรม  ได้รวมตัวกัน โดยการนำของนางบำรุง  สิริคุณ  ซึ่งเป็นคนตำบลท่าซักดังเดิม  แต่งงานกับนายมณี  สิริคุณ  มีบุตรด้วยกัน ๓ คน เป็นชายทั้งหมด  เริ่มทำข้าวซ้อมมือตั้งแต่ปี  ๒๕๔๙ ถึงปัจจุบันนี้  และนางบำรุง สิริคุณตอนนี้มีอายุ ๖๐ปีกว่าแล้ว   ท่านได้กล่าวว่า คนแถบนี้ดั่งเดิมมีการทำนาเป็นอาชีพ และปัจจุบันยังมีการทำนาอยู่บ้าง  แต่บางคนได้เลิกการทำนาไปแล้ว  เพราะมีหลายปัจจัยดัวยกัน คือ  ขาดทุน ไม่มีเวลา และรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ  แต่สำหรับกลุ่มชุมชนท่าซักได้ตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อผลิตข้าวซ้อมมือขึ้น  ซึ่งดำรงไว้ซึ่งคุณค่าแห่งภูมิปัญญาของตำบลท่าซักเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและยังมีแรงบันดาลใจมาจากพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว  เพราะในหลวงดำริว่าจะกินกล้องและข้าวซ้อมมือ เพื่อเป็นอนุรักษ์ในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น และนางบำรุงยังได้กล่าวอีกว่า ได้ทำโครงการไปยังหน่วยงานของรัฐต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องของงบประมาณมาช่วยสิ่งเสริมในการอนุรักษ์ผลิตข้าวซ้อมมือเอาไว้แต่ไม่ผ่านแม้แต่ครั้งเดียว  จึงได้แต่ชักชวนคนในชุมชนที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาการผลิตข้าวซ้อมมือของตำบลท่าซักให้อยู่ดำรงอยู่ได้ในปัจจุบันนี้
                สำหรับตลาดที่ส่งไปขายมีหลายแห่งด้วยกัน  เช่น ฝากกลุ่มประหลาดุกร้าไปขายตลาดต่างๆ  เช่น ตลาดเปิดท้าย เป็นต้น ขายกิโลละ  ๔๐  บาท และยังขายที่โรงพยาบาลมหาราชในทุกวันศุกร์ แต่สู่กับค่ารถไปไม่ไหวเลยต้องหยุดไป  ปัจจุบันนี้นางบำรุงดำเนินการผลิตข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือต่อไปถึงแม้อายุมาแล้ว แต่ยึดมั่นนิธานที่ว่า ในหลวงกินข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ  การผลิต
ผลิตข้าวซ้อมมือ  และข้าวกล้อง  โดยข้าวที่นำมาผลิตคือ  ข้าวสังหยด  ซึ่งจะมีลักษณะเมล็ดจะออกสีแดงเข้ม  จะง่ายต่อการหุง  มีรสชาติอร่อย  ไม่แข็ง  วิธีการปรุงข้าวอาจจะผสมกับข้าวธรรมดาก็ได้  เหมาะสำหรับทุกวัย
           
กระบวนการผลิต
                ในการผลิต  กลุ่มแม่บ้านจะผลิตโดยใช้เครื่องบทกะเทาะเปลือกที่มีความหยาบ  แต่ไม่ทำให้จมูกข้าวหักออก  ซึ่งจะมีแรงงานคนคนเดียวหมุน  คล้ายๆ โม้แป้ง  ซึ่งเครื่องบดกะเทาะเปลือกนี้ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน   
          หลังจากการที่มีการกะเทาะเปลือกออกแล้ว   ก็จะมีการแยกเปลือกและเมล็ดออกจากกัน  ข้าวที่ได้จะเป็นข้าวกล้อง  คือข้าวที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกออกเท่านั้น  จึงหมายถึง  ข้าวที่ผ่านขัดสีเพียงครั้งเดียว  ข้าวที่ได้จึงเป็นข้าวที่มีสีขุ่น  แต่เป็นข้าวที่ยังคงมีจมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าว  ซึ่งเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณค่าอยู่มาก)  เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหาร  เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย
ความแตกต่างระหว่างข้าวกล้องกับข้าวซ้อมมือ
                   เมื่อการกะเทาะเปลือกและมีการแยกเปลือกข้าวออกจากกันก็จะเป็นข้าวกล้อง  สำหรบบางคนไม่นิยมรับประธานข้าวกล้องเพราะมีความรู้สึกว่า  ข้าวจะแข็ง  รับประธานไม่อร่อย  ทางกลุ่มก็ได้นำข้าวกล้องมาผลิตเป็นข้าวซ้อมมืออีกทางเลือกหนึ่ง  ให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้เลือก 
                โดยวิธีการนำข้าวกล้องมาตำกับครกไม้โบราณเพื่อขัดสีอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อให้ได้ข้าวซ้อมมือที่มีรสชาติ  นิ่ม  อร่อย  ไม่แข็ง
                หลังจากที่ได้นำข้าวกล้องมาตำกับครกไม้โบราณเพื่อขัดสี  เมื่อตำเสร็จก็จะนำข้าวที่ตำครกมาแยกข้าว  แยกรำข้าว  (จมูกข้าว)  ออกจากกัน  หลังจากนั้นก็นำมาบรรจุหีบห่อ
            คุณประโยชน์ระหว่างข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ  ข้าวกล้องจะมีประโยชน์มากกว่าข้าวซ้อมมือ  เนื่องจากข้าวกล้องได้ผ่านการขัดสีเพียงครั้งเดียว  แต่ยังคงเป็นข้าวที่คงมีจมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าว  ซึ่งเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณค่าทางอาหารอยู่มาก  ส่วนข้าวซ้อมมือหลังจากผ่านการกะเทาะเปลือกแล้วต้องนำมาตำกับครกโบราณอีกครั้ง  ทำให้จมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าวถูกทำลายไป  ซึ่งเราจะเรียกจมูกข้าวที่ถูกทำลายไปว่า  รำข้าว 

ประโยชน์อันล้ำค่าของข้าวกล้อง
        อาหารอายุวัฒนะ
        ข้าวกล้องเป็นอาหารธรรมชาติที่ถือได้ว่าเป็นอาหาร  มีสารอาหารกว่า  ๒๐  ชนิด  ข้าวกล้องมีสีน้ำตาลอ่อน  เป็นข้าวที่ขัดสีเพียงครั้งเดียวเพื่อเอาเปลือกออก (เอาแกลบออก)  จมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าวซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมสารอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายนั้นยังคงอยู่ 
                ส่วนข้าวซ้อมมือถึงแม้จมูกข้าวจะถูกทำลายไปบ้างแต่ก็ยังมีสารอาหารเกือบสมบูรณ์  สำหรับข้าวที่เราบริโภคกัน  เป็นข้าวที่ถูกขัดสีหลายครั้งจนเหลือแต่เนื้อข้าวสีขาว  ที่แทบจะหาคุณค่าและประโยชน์ไม่ได้นอกจากแป้ง  ซึ่งเราคุ้นเคยและติดใจกับความนุ่ม  และสีขาวบริสุทธิ์น่ากิน  จนมองข้ามคุณค่ามหาศาลของข้าวกล้องไป
                คุณค่าทางอาหารและยา 
            ข้าวกล้อง  มีคุณค่าทางอาหารที่สำคัญหลายอย่าง  ในข้าวกล้องมีคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานแก่ร่างกาย  โปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  ไขมันชนิดที่มีอิ่มตัวให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย  เส้นใยเป็นส่วนเพิ่มกากอาหารทำให้การขับถ่ายสะดวก  ป้องกันอาการท้องผูกและการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

                มีวิตามินบี  ๑  ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา  ช่วยการทำงานของระบบประสาทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ     
                มีวิตามินบี  ๒  ช่วยป้องกันปากนกระจอก  ช่วยเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน
                มีไนอาซิน  ช่วยในการทำงานของระบบผิวหนังและประสาท
                มีแคลเซียม  ฟอสฟอรัส  บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง  ธาตุเหล็กช่วยสร้างเมล็ดเลือดแดง 
                ในจมูกข้าวมีวิตามินอี  ซิลิเนียมและแมกนีเซียม  ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบต่างๆ  ของร่างกาย  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  นอกนจากนี้วิตามินอี  มีส่วนช่วยชะลอความแก่และซิลีเนียมช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย
                ข้าวกล้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
            ก้าวแรกของการควบคุมเบาหวานด้วยอาหาร  คือการเปลี่ยนแปลงจากการกิน   ข้าวกล้องดีต่อโรคเบาหวานหลายกรณี  คือ
- ข้าวกล้องย้อยได้ช้ากว่า  กลูโคสที่ซึมเข้าไปช้ากว่าการกินข้าวขาว  แป้งขัดและน้ำตาล  ทำให้ผ่อนการทำงานของตับอ่อนได้ดี
- ข้าวกล้องมีสารเส้นใยมากกว่าข้าวขาว  แป้งขัดขาวและน้ำตาล  (ซึ่งไม่มีสารเส้นใยเลย)  สารเส้นใยช่วยให้อิ่มเร็ว  การกินแต่ละมื้อจึงรับแคลอรี่ไปไม่มาก  ทำให้เหลือน้ำตาลซึมเข้าไปในร่างกายน้อยลง  การควบคุมเบาหวานก็ง่ายขึ้น
- ข้าวกล้องมีวิตามินบีพร้อม  ซึ่งข้าวขาวไม่มี  ทำให้ร่างกายได้พลังงานจากข้าวกล้องหมดจดกว่า  กินข้าวกล้องปริมาณไม่มากแต่อยู่ท้อง  เพราะมีสารเส้นใยสูง  และไม่ค่อยหิวเพราะมีพลังงานใช้เหลือเฟือ  จึงทำให้น้ำหนักลดลงได้ดีกว่าการกินข้าวขาว 

ประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับจากแหล่งเรียนรู้ชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือ
                - ทุกคนจะได้เห็นคุณค่า  รู้สึกรัก  และห่วงแหน  ชีวิตความเป็นอยู่และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่ตนได้อาศัยอยู่
                - ทุกคนที่ได้เรียนรู้วิธีการทำข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ  และการเกิดความคิดริเริ่ม  จะพัฒนาการผลิตให้เร็วขึ้น  เพื่อรองรับความต้องการของตลาด
                - ทุกคนได้ทราบถึงประโยชน์ของข้าวกล้อง  ข้าวซ้อมมือ  ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร  และสามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบได้
                - ทุกคนได้รับการปลูกฝังให้สนใจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  หรือปัญหาของสังคมในชุมชน  เพื่อจะได้นำความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาในการทำข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ
            ๑.  สถานที่ส่งออกอยู่ไกล
                    ๒. กลุ่มชุมชนที่ทำข้าวกล้องมีอายุสูงวัย
                    ๓. ฝนไม่ตกตามฤดูกาล
                    ๔. เกิดความขาดทุนอยู่กินไม่ได้ยั่งยืน
                    ๕. งานมีให้เลือกมาขึ้นดีกว่ามาทำข้าวซ้อมมือ  และมีค่าแรงแพงมาก
                    ๖.  ถุงใส่ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือต้องใช้โลโก้  ในการผลิตต้องใช้ต้นทุนสูงเช่นกัน

บทสรุป
                    ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดังเดิมที่ชาวตำบลท่าซักช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้  ด้วยแรงบันดาลใจจากแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวและยังได้เห็นคุณค่างทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของการทำกิน  และยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้คน  เพราะข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือมีคุณค่างทางอาหารและเป็นยาถือว่าเป็นภูมิปัญญาอย่างลุ่มลึกที่ผ่านกระบวนการคัดสรรค์เป็นอย่างดียิ่งของคนในชุมชนตำบลท่าซัก    ภูมิปัญญาการผลิตข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือของชุมชนตำบลท่าซักดำรงอยู่ได้หรือมิได้ขึ้นอยู่กับชุมชนและหน่วยของรัฐจะให้ความสำคัญและให้ความสนใจเห็นคุณค่ามากน้อยเพียงใดหรือจะปล่อยให้ภูมิปัญญาในการทำข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือตายไปกับคนสมัยก่อน  โดยที่คนรุ่นหลังมีให้ความสนใจ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น