วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิชา จิตวิทยาศาสนา (ต่อจากครั้งที่แล้ว)

ชีวประวัตินักจิตวิทยา
๑.ซิกมันด์ ฟรอยด์
ซิกมันด์ ฟรอยด์  จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๙ ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ รวมอายุ ๘๓ ปี ครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์ มีฐานะปานกลาง ซิกมันด์ ฟรอยด์ สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาตที่นั่น
            ๒.แนวความคิดที่สำคัญ
                            บุคลิกภาพเกิดจากพลัง ๓ อย่าง ได้แก่ อิด (id) ส่วนของสัญชาติญาณที่อยู่ใน จิตใต้สำนึก ซูเปอร์อีโก้ (superego) ส่วนของวัฒนธรรมที่ดีงามและส่วนยับยั้งชั่งใจ และอีโก้ (ego) ส่วนของตัวฉันซึ่งจะประสานอิดกับซูเปอร์อีโก้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว พลังทั้งสามนี้จะขัดแย้งกันตลอดเวลา
                            ฟรอยด์ ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย หลังจากกลับมาอยู่ที่กรุงเวียนนา ฟรอยด์ จึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาต
ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego)  และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
            ๓.จิตใต้สำนึกเรื่อง Id Ego Supper-Ego
จิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ แต่มีอิทธิพลจูงใจพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุดแบ่งเป็น ๓ส่วน คือ
๓.๑ อิด ( Id ) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ  และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ ( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) ที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมตามความเป็นจริง จะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นปฐมภูมิ (Primary Process of Thinking) เช่น เด็กหิวก็จะร้องไห้ทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของเขา  และส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก 
๓.๒ อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง  และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา  และการรับรู้ที่เหมาะสม  และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
๓.๓ซูเปอร์อีโก้ (Superego)นั้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม  และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา และอุดมคติที่พ่อแม่สอนเข้ามาไว้ในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เด็กมีอายุประมาณ  –  ขวบ (ระยะ Oedipus Complex)  และเด็กจะพัฒนาความรู้สึกเหล่านี้ไปตามวัย โดยมีสภาพแวดล้อมทางบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญการทำงานของ Superego จะขึ้นอยู่กับหลักแห่งจริยธรรม (Moral Principle) ที่ห้ามควบคุม  และจัดการไม่ให้ Id ได้รับการตอบสนองโดยไม่คำนึงถึง ความผิดชอบชั่วดี โดยมี Ego เป็นตัวกลางที่ประสานการทำงานของแรงผลักดันจาก Id  และ Superego โดยทั่วไปแล้ว Superego จะเป็นเรื่องของการมีมโนธรรม (Conscience) ที่พัฒนามาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ หรือผู้อบรมเลี้ยงดู ซึ่งเป็นค่านิยมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ส่วนนี้จะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกผิด (Guilt Feeling) ที่จะติดตามรบกวนจิตใจของบุคคลเมื่อกระทำสิ่งใดที่ขัดต่อมโนธรรมของตนเอง และส่วนที่ เรียกว่าอุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) ที่พัฒนามาจากการเอาแบบอย่าง (Identification) จากบุคคลที่เคารพรักเช่น พ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยงดู  และคนใกล้ชิด ทำให้เด็กรับรู้ว่าทำสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้รับการยอมรับ และความชื่นชมยกย่องซึ่งทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เมื่อได้ทำตามอุดมคติของตนบางส่วนของ Superego จะอยู่ในระดับจิตสำนึก และบางส่วนจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
๔.การวางโครงสร้างของบุคลิกภาพ
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พันธุกรรม วุฒิภาวะ การฝึกหัดในระยะวัยทารก แรงจูงใจทางสังคมจากการเรียนรู้ และการเรียนรู้บุคคล มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคลิกภาพ ดังนั้นเมื่อจะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพ จึงต้องเริ่มจากสิ่งที่ทารกได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม(Heredity) อิทธิพลที่ทารกได้รับก่อนคลอด ทารกแต่ละคนมีจุดเริ่มต้นที่ไม่เหมือนกัน ทารกบางคนอาจจะแข็งแรง หรือฉลาดกว่าบางคน ทังนี้เพราะอวัยวะสัมผัส และระบบประสาทได้รับการถ้ายทอดมาไม่เหมือนกัน  ศักยภาพเหล่านี้จะพัฒนาไปตามประสบการณ์ที่ได้รับ ขณะที่ถึงระดับวุฒิภาวะ เราสามารถแบ่งประสบการณ์ออกได้เป็น ๒ประเภท คือ
        ๑.ประสบการณ์ที่ทุกคนประสบเหมือนกัน (Common Experiences) ขบวนการเจริญเติบโต รวมถึงการเรียนรู้ก็จะแสดงพฤติกรรมในวิถีทางที่สังคมคาดหวังไว้ เรามักยอมรับค่านิยมของกลุ่ม โดยไม่ค่อยสนใจกับคนในสังคมอื่นว่าเขายอมรับค่านิยมเช่นเดียวกับเราหรือไม่ 
อิทธิพลของวัฒนธรรม (Culture) ที่เห็นได้ชัดคือ   บทบาทที่สังคมกำหนดให้บุคคล ได้แก่ บทบาททางเพศ บทบาททางอาชีพ และบทบาททางสังคมอื่นเนื่องจากวัฒนธรรมเป็นที่ขัดเกลาบุคลิกภาพของบุคคล จึงกล่าวได้ว่า แต่ละวัฒนธรรมต่างก็พัฒนาลักษณะโครงสร้างของบุคลิกภาพของบุคคล แม้ว่าวัฒนธรรมจะมีอิทธิพลในการพัฒนาบุคลิกภาพบางประการของบุคคลในวัฒนธรรมเดียวกันให้คล้ายกัน แต่เราไม่สามารถคาดคะเนบุคลิกภาพของบุคคลได้อย่างแน่ชัด ถ้าทราบเพียงว่าเขาเจริญเติบโตอยู่ในวัฒนธรรมใดมา ทั้งนี้มีเหตุผล ๒ประการคือ
                                ๑.วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อบุคคลนั้นแท้จริงไม่ใช่แบบเดียวกัน ทั้งนี้เพราะผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่บุคคลอื่น ต่างก็มีค่านิยมและการปฏิบัติตนไม่เหมือนกัน
                                ๒.บุคคลแต่ละคนต่างก็มีประสบการณ์บางประการที่แตกต่างจากคนอื่น
๒.ประสบการณ์เฉพาะที่แต่ละบุคคลได้รับ (Unique or Individual Experiences) แต่ละบุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อความกดดันทางสังคมตามวิถีทางของตน การที่ปฏิบัติกิริยาตอบสนองแตกต่างกันไปนี้ อาจเนื่องจากพื้นฐานทางชีววิทยาต่างกัน แต่ละคน(นอกจากฝาแฝด) ต่างก็มีพันธุกรรมที่แตกต่างกันนอกจากจะมี biological potential ต่างกันแล้ว แต่ละคนยังต้องผ่านขบวนการอบรมสั่งสอนจากบิดามารดา ญาติพี่น้อง และบุคคลอื่นในสังคม
                        ดังนั้น โครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคล จึงประกอบด้วยอิทธิพลจากประสบการณ์ที่ทุกคนประสบเหมือนกัน ประสบการณ์เฉพาะที่แต่ละคนได้รับมาไม่เหมือนกัน ขบวนการทั้งสองประเภทจะผสมกัน กลายเป็นโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลนั้น
คำจำกัดความของบุคลิกภาพ
คำว่า"บุคลิกภาพ"มาจากภาษาละตินว่า Persona หมายถึงหน้ากากที่ตัวละครใช้สวมเวลาออกแสดง เพื่อที่จะแสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดให้โดยทั่วไปแล้ว บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะส่วนรวมของพฤติกรรมของบุคคล ทั้งในด้านชีวิตสวนตัว ในด้านกิจการงาน และในสังคมทั่วไป นั่นคือเราเข้าใจบุคลิกภาพในความหมายรวมๆ ต่อไปนี้จะได้ยกเอาคำจำกัดความของบุคลิกภาพ ที่นักเขียนตำราจิตวิทยาคนเด่นๆเขียนเอาไว้จากหนังสือศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษา "บุคลิกภาพ คือผลรวมของพันธุกรรมและประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคล"Sandford : "บุคลิกภาพ คือ กระบวนการระหว่างลักษณะต่างๆของบุคคล(รวมทั้งลักษณะทางร่างกายและจิตใจ)อย่างเป็นแบบฉบับเดียว ซึ่งแต่ลักษณะต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และรวมกันเป็นลักษณะเฉพาะประจำของแต่ละบุคคล"Morgan : "บุคลิกภาพ คือ คุณสมบัติและคุณลักษณะเด่นของบุคคล รวมทั้งการปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ"Murphy : "บุคลิกภาพ คือความเด่นประจำตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะบอกถึงความแตกต่างกับบุคคลอื่นๆได้ในรูปของปริมาณและคุณภาพในลักษณะเด่นของบุคคลนั้นๆ"Allport : "บุคลิกภาพ หมายถึงกระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคน ทั้งภาพในและภาพนอก(จิตใจและร่างกาย)ซึ่งบุคลิกภาพนี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดตัดสิน พิจารณา ลักษณะพฤติกรรมและความนึกคิดของบุคคลนั้น"Hilgard : "บุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะรวมของบุคคล และวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งกำหนดการปรับตัวตามแบบฉบับของแต่ละบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม"Schneiders : "บุคลิกภาพ คือ กระบวนการสร้าง หรือการรวมคุณลักษณะทั้งด้านร่างกายและจิตใจของบุคคล ตลอดจนความสามารถ ความโน้มเอียง นิสัย อากัปกิริยาของแต่บุคคลโดยเฉพาะ และบุคลิกภาพจะเป็นเครื่องกำหนดปฏิกิริยาของบุคคลที่มีต่อตนเอง และต่อผู้อื่น และเป็นผลต่อความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งแวดล้อม วัตถุ บุคคล และวัฒนธรรมของสังคมที่เขาอาศัยอยู่"อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า คำจำกัดความใดดีที่สุด และถูกต้องที่สุด ทั้งนี้ เพราะคำจำกัดความแต่ละอันต่างก็มาจากความเชื่อในทฤษฎีบุคลิกภาพ ที่มีอยู่มากมายแตกต่างกัน เราจะเชื่อหรือยึดถือคำจำกัดความใดได้ เราก็ต้องพิจารณาถึงทฤษฎีบุคลิกภาพเสียก่อน
                  ๕.ขั้นตอนในการพัฒนาบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido)  และสามารถเคลื่อนที่ไปยัง ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ขึ้นที่ส่วนนั้น วิธีการที่จะขจัดความตึงเครียด ได้ก็โดยการเร้าหรือกระตุ้นส่วนนั้นอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจ (Gratification) บริเวณที่พลัง Libido เคลื่อนไปอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือวัยต่างๆ ของบุคคล จะทำให้เกิดการพัฒนาการไปตาม ขั้นตอนของวัยนั้นๆ ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น  ขั้น ได้แก่
๑.ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง ๑ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุข และความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้ ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่จะทำให้เด็ก เกิดความไว้วางใจ และความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง และสภาพแวดล้อม เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มพัฒนาความรักตัวเอง
                        ๒.ขั้นทวาร (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ ๑-๓ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจ เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวาร ในระยะนี้เด็กเริ่ม
เป็นตัวของตัวเอง 
๓.ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ ๕ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิด ความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บางส่วนจะเคลื่อนที่ออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อแม่ ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับเด็ก ทำให้เด็กชายรักใคร่  และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็นปรปักษ์กับพ่อในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่ และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉา และเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิปุส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย  และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็กหญิง  ในขั้นนี้ นอกจากจะเกิด Oedipus Complex แล้วเด็กชายจะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าจะถูกตัดอวัยวะเพศ (Castration Anxiety) เพราะเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างทางร่างกายของเพศชาย และเพศหญิง 
๔.ขั้นแฝง (Latency Stage)  เริ่มตั้งแต่ อายุ – ๑๑ ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ  และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสมในขั้นนี้เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน   
๕.ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก ๑๒ ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่นจนกระทั้ง ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเวลาเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิง และชายต่างๆ กัน  และมีพัฒนาการทางร่างกายตน มีความสามารถในการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตาม สัญชาตญาณทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้รับความอบอุ่น  และการดูแลเอาใจใส่ทางจิตใจจากพ่อแม่ เมื่อบุคคลมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์แล้ว  จะเกิดความพึงพอใจทางด้านเพศ มีการแสวงความสุขทางเพศระหว่างชายหญิง บุคคลที่มีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างปกติ ไม่มีการติดตรึง ก็จะสามารถมีชีวิตทางสังคม ที่ถูกต้องเหมาะสมคือมีครอบครัว  และสามารถแสดงบทบาททางเพศ  และบทบาทของพ่อแม่ได้อย่างเหมาะสม
                  ๖.สัญชาตญาณความหวาดกังวล
                  บุคลิกภาพเกิดจากพลัง ๓ อย่าง ได้แก่ อิด (id) ส่วนของสัญชาติญาณที่อยู่ใน จิตใต้สำนึก ซูเปอร์อีโก้ (superego) ส่วนของวัฒนธรรมที่ดีงามและส่วนยับยั้งชั่งใจ และอีโก้ (ego) ส่วนของตัวฉันซึ่งจะประสานอิดกับซูเปอร์อีโก้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว พลังทั้งสามนี้จะขัดแย้งกันตลอดเวลา  เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ได้รับการตอบสนองด้านความหิวอย่างเต็มที่ อิดจะกระตุ้น ความปรารถนาทางเพศและความก้าวร้าว ทฤษฏีนี้เชื่อว่าเด็กเล็กมีความรู้สึกทางเพศกับพ่อแม่ที่มีเพศตรงข้ามกับตน ขณะเดียวกันก็เกลียดและกลัวพ่อหรือแม่เพศเดียวกับตน เด็กชายที่ไม่สามารถหาทางออกให้พลังนี้อย่างถูกต้องอาจเป็นทุกข์จากปมอิดิปุส (จากอีดีปุสวีรบุรุษในตำนานกรีก ซึ่งได้สังหารบิดาและแต่งานกับมารดาโดยไม่รู้มาก่อน) เด็กผู้หญิงที่มีปัญหานี้อาจเกิดจากปมอิเล็กตรา (เรื่องจากตำนานกรีก เมื่อกษัตริย์อากาเมมนอนผู้เป็นพระบิดาถูกมเหสีที่นอกพระทัยปลงพระชนม์ อิเล็กตราก็แก้แค้นโดยชักนำเชษฐาให้สังหารพระมารดา)
๗.อีโก้และกลวิธีป้องกันตัว
                  อีโก้ เป็นส่วนที่ 3 เป็นตัวจัดการร่วมกับอิดและยืนอยู่คนละข้างกับซูเปอร์อีโก้ เป็นตัวการของความจริงด้วยการรับรู้ คิด และจำ อีโก้จะป้องกันไม่ให้ปรารถนาที่เป็นข้อห้ามไหลบ่าท่วมท้น กับพัฒนากลไกทางจิต เช่นเก็บกด เลียนแบบ เปลี่ยนที่ โทษผู้อื่น โดดเดี่ยว ปฏิเสธไม่รับรู้และอื่นๆ
พฤติกรรมมนุษย์ ในมุมมองของจิตวิเคราะห์จะเป็นดังตัวอย่าง
                        เวลาหิวอิดจะคลายความหิวโดยฝัน ฝันถึงอาหารรสอร่อย แต่อีโก้ บอกว่า ต้องได้กินอาหารจริงๆ ไม่ใช่ฝันจึงจะหายหิว ซูเปอร์อีโก้ บอกว่าต้องกินอาหารที่เป็นของคุณเองไม่ใช่ไปขโมยใครมา
                        จากตัวอย่างพฤติกรรมบุคคลที่ลงตัวเรียบร้อยคือ อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้ ไม่ขัดแย้งกันถ้าขโมยอาหารหรือขู่บังคับเอาอาหารมาจากคนอื่น ซูเปอร์อีโก้ไม่เห็นด้วย คนผู้นั้นจะรู้สึกผิด มิใช่ว่าจะได้กินอาหารหรือไม่ก็ตาม ถ้าซูเปอร์อีโก้มีกำลังสูงมาก คนผู้นั้นจะไม่อาจกระทำการขโมยหรือข่มขู่เอาอาหารมากินได้เลยแม้อิดจะคะยั้นคะยอมากเพียงใด อีโก้ก็คิดหาอาหารด้วยวิธีอื่น หากหิวจัดมากซูเปอร์อีโก้อาจอ่อนกำลังลงและเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แต่ก็ไม่วายหันกลับบอกว่าเอาแต่พอหายหิวอย่ามาก
                        ดังนั้นพฤติกรรมบุคคลจะหนักไปข้างใดข้างหนึ่งขึ้นอยู่กับความกลมกลืนลงตัวหรือขัดแย้งกันของ อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้เป็นสำคัญ

๒.คาร์ล  กุสตาฟ  จุง  Carl Gustav Jung
       คาร์ล  กุสตาฟ  จุง  เป็นนักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติทัดเทียมกับฟรอยด์  เดิมทีทั้งสองนิยมชมชื่นซึ่งกันและกัน  โดยฟรอยด์นั้นเป็นเสมือนอาจารย์ของจุง   แต่ต่อมาจุงไม่เห็นด้วยกับทรรศนะของฟรอยด์  จนต้องแยกกันไป  ต่างผ่ายต่างเผยแพร่แนวคิดของตนแพร่หลายเคียงคู่กันไป  ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ  จุงแพร่หลายในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
                        จุงเกิด    เมือง Kesswyl  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  เมื่อวันที่ ๒๖กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๘๗๕ในครอบครัวมีถิ่นฐานอยู่ในท้องถิ่นมาหลายชั่วอายุคน  มีบิดาเป็นพระนิกาย Swiss eformed Church และมีมารดาที่เป็นลูกสาวของครอบครัวที่จบจากมหาวิทยาลัย Basel มาหลายรุ่น  จุงมีน้องสาวคนเดียวที่อายุห่างกัน ๙ ปี  ในสมัยเด็กจุงเป็นเด็กที่มีปัญหากับการเรียนอย่างมาก  การตายอย่างกะทันหันของบิดา  ทำให้จุงต้องตัดสินใจเลือกว่าจะศึกษาต่อไปทางสายใด  ขณะที่เรียนแพทย์จุงมีความสนใจในหลายๆ ด้าน  ทั้งปรัชญา,วรรณกรรม   จุงจบการ ศึกษาเป็นแพทยศาสตร์บันฑิตจากมหาวิทยาลัย Basel และต่อมาได้ฝึกหัดเป็นจิตแพทย์ที่เมืองซูริค
                           ในช่วงนี้เขาทำงานที่โรงพยาบาลและงานสอนที่มหาวิทยาลัยที่ซูริคแล้ว  และหันมาทุ่มเทเวลาให้แก่งานศึกษาส่วนตัว  งานวิจัย  การเดินทาง และการแต่งตำรา  มาถึงตอนนี้เขาได้แยกจากฟรอยด์ในแนวคิดทางวิชาการที่มองกันคนละทางแล้ว  มีผู้แปลหนังสือของจุงเป็นภาษาต่างๆ  ซึ่งเป็นที่นิยมทั้งกับนักวิชาการและผู้อ่านทั่วไป 
                           จุง  เป็นผู้มีความรู้ในหลายสาขา เช่น  โบราณคดี  วรรณคดี  แพทยศาสตร์  จิตเวช  ปรัชญา  ศาสนา  เขายกย่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า  ทรงเข้าพระทัยถึงศาสตร์ด้านจิตใจมนุษย์อย่างล้ำลึกยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน
                 จุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของจุงก็คือ การเป็นผู้สร้างแรงจูงใจและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้คนที่ต้องการจะเข้าใจในความหมายของชีวิตของพวกเขาเองอย่างลึกซึ้ง
                 จุง  ถึงแก่กรรม    บ้านของเขาในเมืองซูริคเมื่อวันที่  ๖  มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๑

โครงสร้างบุคลิกภาพ

                  จุงเรียกโครงสร้างบุคลิกภาพว่า  Psyche  ประกอบด้วยระบบต่างๆซึ่งทำงานร่วมกัน  อันได้แก่ 
                        . Ego คือ จิตสำนึก  ประกอบด้วยการจำได้หมายรู้ที่ประกอบด้วย  สติสัมปชัญญะ  รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดต่างๆ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้จักอัตตภาพแห่งตน (Identity)
                        ๒. Personal  Unconscious  หรือ  Complexes  คือ จิตใต้สำนึก  เป็นส่วนประสบ - การณ์ของ
                           จิตสำนึกมาก่อนแต่ถูกเก็บกดไว้  อย่างไรก็ดี  สามารถดึงขึ้นมาอยู่ในจิตใต้สำนึกได้    จุง  อธิบายว่าประสบการณ์จิตสำนึก และจิตใต้สำนึกเป็นประสบการณ์ที่สับเปลี่ยนกันไปมา  ถ้าความความรู้สึกต่างๆ
                           ในจิตใต้สำนึกรวมตัวกันเข้าเป็นหมวดหมู่ของพฤติกรรมแล้ว  จะเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า ปม’  (complex)  ขึ้นเช่น ปมแม่ ได้แก่ความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับแม่ของผู้ใดผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และบุคลิกภาพของเขา  ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม  ทั้งทางบวก และทางลบ  ตัวอย่างเช่น  ชายคนหนึ่งเลือกแต่งงานกับผู้หญิงที่มีอุปนิสัยใจคอเหมือนกับแม่ของเขา  แสดงว่าปมแม่ในจิตของเขามีอิทธิพลในการเลือกคู่ครอง
                        ๓. Collective  Unconscious หรือ Archetype  เป็นกระบวนการจิตใต้สำนึกที่สั่งสมลักษณะบุคลิกภาพมาหลายชั่วอายุคน  มนุษย์ทุกชาติทุกภาษามีลักษณะนี้ร่วมกันทั้งนั้น  จุง  เรียกกระบวนนี้ว่า  Archetype เขายกตัวอย่าง  Archetype  ประเภทหนึ่งว่า  มนุษยชาติย่อมมีแม่  ทารกเกิดมาพร้อมกับมีแนวคิดติดตัวมาแล้วว่าจะต้องพบแม่และต้องทำอะไรๆ กับแม่บ้าง  เป็นญาณสร้างสมมาในสมองแล้วจากประสบการณ์ตั้งแต่อดีตของชาติพันธุ์
                        ๔. Persona  คือ ภาวะซึ่งขอใช้คำอุปมาว่า หัวโขนที่คนสวมเพื่อทำบทบาทตามหน้าที่ที่รับมอบให้แสดงต่อคนดู  ตามความจริงของชีวิต Persona คือภาวะที่คนต้องแสดงตนหรือพฤติกรรมตามที่สังคมคาดหวัง  หรือตามประเพณีนิยม  และบางครั้งก็เพื่อสนองแรงจูงใจ Archetype  หรือบางครั้งก็เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่บุคคลที่เข้าไปมีสัมพันธ์ด้วย  หากการแสดงบทบาทเช่นนี้มีความขัดแย้งกับลักษณะบุคลิกและนิสัยที่แท้จริงของตนอย่างมาก 
                                        ๕. Anima  and  Animus  จุง  เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีลักษณะความเป็นชาย และหญิง อยู่ในตัว ทั้งทางกายภาพ  อารมณ์  และจิตใจ  จุงเรียกลักษณะชายว่า  Anima  และลักษณะหญิงว่า Animus
                        ๖. Shadow  คือส่วนของ Archetype ที่ทั้งมนุษย์และสัตว์มีเหมือนกัน  เป็นส่วนถูกบดบังอยู่ภายในจิตใต้สำนึก, ขนบประเพณี  และ persona  เช่น  ความก้าวร้าว  ความต้องการทางเพศ
หรือกับบุคคลอื่นโดยทั่วไป เป็นคนเปิดเผย ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเก็บตัว ไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซากจำเจ เปลี่ยนแปลงความเคยชินหรือลักษณะนิสัยของตนเองได้ง่ายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  การแสดงออกของอารมณ์เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าทฤษฎีบุคลิกภาพของจุง
                        จุงความเชื่อว่า บุคลิกภาพของคนเราซึ่งแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นมีการ สะสมต่อเนื่องมาตลอดนับแต่เริ่มมีชีวิต แต่เขาไม่สู้จะให้ความสำคัญกับเรื่องเพศและอดีตที่ฝังใจเหมือนทฤษฎีของฟรอยด์  
                        เขาเน้นความสำคัญที่ประสบการณ์จากการดำเนินชีวิตของคนเรา โดยเห็นว่ามีส่วนสร้างสมบุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพของบุคคลแบ่งเป็น  ๒ แบบ
                        ๑. บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะชอบสังคม ชอบเด่น ชอบแต่งตัวดีๆ ชอบนำตัวไปพัวพันกับสิ่งแวดล้อมจะโกรธ เศร้าโศก ดีใจ เสียใจ หรือเบื่อหน่ายอะไร มีอารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีอุปนิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม  เมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมในรูปของการป้องกันตัว ( Defense )  
                        ๒. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (introvert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักทำหรือคิดโดยผูกพันกับตนเองมากกว่าบุคคลอื่นหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เป็นคนลึกลับ  ชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบทำตัวเด่นเมื่ออกงาน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบทำอะไรตามกฎเกณฑ์และแบบแผนที่วางเอาไว้ มีหลักการที่แน่นอนในการที่จะควบคุมตนเอง  เมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมแบบหลบหนี  แยกตัวออกไปจากสังคม(Isolation)  
                        จากลักษณะบุคลิกภาพทั้งสองแบบที่กล่าวมานี้ บุคคลบางคนไม่ถึงกับโน้มเอียงไปในลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ คือ เป็นกลางๆ ไม่ชอบเก็บตัวมากไปและไม่ชอบแสดงออกมากไป จุงเรียกพวกที่ ๓  นี้ว่า บุคลิกแบบกลางๆ (ambivert) ซึ่งจะเป็นคนแบบธรรมดาๆ  ไม่เด่น  เป็นพวกที่ผสมผสานอยู่ในคนส่วนใหญ่ทั่วไป
                  หนังได้สื่อให้เห็นถึง "อารมณ์" ของความรู้สึก "คน" หลายอารมณ์ หลากเหตุการณ์ ตั้งแต่อาการทางจิตของซาบีน่า ความรู้สึกของเธอที่มีต่อ  ดร.จุง  จนกระทั่งความ  "นิ่ง"  ของภรรยาจากความเจ็บปวดของการเป็นเมีย  ที่มาจับได้ว่าสามีตัวเองแอบมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับคนไข้ความอ่อนไหวของ ดร.หนุ่มกับคนไข้สาวเป็นเรื่องของตัณหาราคะ...แต่กลายเป็นความรัก
ในที่สุด แต่สุดท้ายแล้วคนที่อาจจะต้อง "บำบัด" คือตัวจุงเสียเองเมื่อเขาได้รู้ว่าความรักที่เขาสร้างขึ้นมานั้นมันเป็นไปไม่ได้
                               The Soul Keeper แปลตรงตัวว่า "ผู้ดูแลวิญญาณ" ชื่อหนังมาจากตอนที่ ดร.จุง ให้ก้อนหินที่เขาบอกว่าเป็น "วิญญาณ" ของเขาให้ซาบีน่าเก็บไว้ดูแลรักษา ในขณะที่เธอเองก็ให้ "พินัยกรรม" ของ  เธอซึ่งเขียนเอาไว้ว่า "ถ้าหากฉันตายให้ยกศีรษะของฉันให้กับ ดร.ยุง เขาเท่านั้นที่จะเป็นผู้ได้ชำแหละมัน ส่วนร่างกายของฉันให้ทำไปเผา  แล้วเอาขี้ถ้าไปโรยใต้ต้นโอ๊คที่สลักคำว่า "ฉันก็เป็นคนคนหนึ่ง"  ซึ่งเป็นประโยคปิดหนังด้วยเช่นกัน
                               "ความรักย่อมแข็งแกร่งกว่าความกลัว" บางประโยคจากหนัง... ถึงแม้ความสัมพันธ์ของ  ดร.จุง กับ ซาบีน่าจะไม่ราบรื่นนัก แต่เขาก็รักเธอ และเธอก็รักเขา  การจบลงด้วยการจากไปของซาบีน่า  คือการยุติ "นรก" ของทั้งสองคนบางครั้งความรักก็จบลงสวยงามได้เช่นกัน
                     อีริค ฟรอมม์ เกิดปี ๑๙๐๐ ณ เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี. พ่อของเขาเป็นนักธุรกิจ จากคำบอกเล่าของเขาพ่อของเขาค่อนข้างจะเป็นคนเจ้าอารมณ์. แม่ของเขามักจะมีอารมณ์ซึมเศร้าบ่อยๆ. หรืออีกนัยหนึ่ง วัยเด็กของเขาจึงดูไม่มีความสุขนัก.
                         อีริคมาจากครอบครัวที่เคร่งศาสนา แต่กรณีของเขาเป็นยิวที่นับถือคริสต์นิกายออโธด็อกซ์. ตัวฟรอมม์เองต่อมาเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า ผู้วิเศษที่ไม่เชื่อในพระเจ้าในชีวประวัติของเขา ฟรอมม์ได้พูดถึงสองเหตุการณ์ในช่วงวัยรุ่นของซึ่งมีผลต่อวิถีชีวิตต่อมาของเขา. เหตุการณ์แรกเกี่ยวข้องกับเพื่อนบ้าน:
                        เธอน่าจะอายุราว ๒๕ ปี เธอเป็นคนน่าประทับใจนอกจากนั้นยังเป็นช่างเขียนภาพ เธอเป็นนักวาดภาพคนเดียวที่ผมรู้จัก. ผมจำได้ว่า เคยได้ยินว่า เธอเคยหมั้นแล้วก็ถอนหมั้น ผมจำได้ว่า เธอชอบไปขลุกอยู่ที่บริษัทพ่อซึ่งเป็นหม้ายของเธอ. เท่าที่ผมจำได้ เขาเป็นชายแก่ที่ไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรน่าประทับ หรืออย่างน้อยก็ในความคิดผม (อาจจะตัดสินด้วยอคติเพราะความอิจฉา). แล้ววันหนึ่งผมก็ได้ยินข่าวที่สะเทือนใจ: พ่อของเธอเสียชีวิตและไม่นานหลังจากนั้นเธอก็ฆ่าตัวตายและเขียนเอาไว้ว่าเธอต้องการให้ฝังร่างเธอไว้กับพ่อ.
                    อย่างที่คุณสามารถจินตนาการได้, ข่าวนี้มีผลกระทบอย่างมากกับเด็กอายุ ๑๒ ขวบ อย่างอีริค และเขาพบว่าตนเองว่ากำลังถามในหลายๆ อย่างที่เราเองก็อาจจะถาม: ต่อมาเขาก็เริ่มค้นหาคำตอบ อย่างน้อยก็บางส่วน, ตามแนว คิดของฟรอยด์.
                   เหตุการณ์ที่สองที่สองที่ใหญ่กว่า คือ: สงครามโลกครั้งที่ ๑. ในวัยรุ่น เมื่ออายุ ๑๔ ปี เขามีทัศนะที่สุดโต่งว่า ความรักชาติเป็นเรื่องสำคัญมาก. รอบตัวเขามักจะได้ยินเรื่องราวว่า: พวกเรา (ชาวเยอรมัน หรือจะให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ชาวเยอรมันที่เป็นคริสเตียน) เป็นกลุ่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนเขา(อังกฤษและเหล่าสัมพันธมิตร) เป็นพวกที่เห็นแก่ตัวอย่างที่สุดทุเรศ. น่าเกลียดน่าชัง "ความกระหายสงคราม (war hysteria)" ทำให้เขากลัว, และเขาควรที่จะกลัว.
                    ประวัติโดยสรุป, เขาจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ในปี ๑๙๒๒  และเริ่มทำงานครั้งแรกเป็นนักจิตบำบัด. ในปี ๑๙๓๔  อันเป็นช่วงเวลาที่ชาวเยอรมันจำนวนมากย้ายออกจาก  เยอรมันนี  ตัวเขาเองได้ย้ายไปสหรัฐ โดยได้ตั้งรกรากที่เมืองนิวยอร์ก อันเป็นที่ซึ่งเขาได้พบกับนักคิดหลายคนซึ่งเป็นชาวอพยพมารวมกันอยู่ที่นี่รวม    ถึง คาเรน ฮอร์นายซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่ที่เกี่ยวพันกับเขาในหลายๆด้าน.
                        ในช่วงท้ายของชีวิต เขาย้ายไปสอนหนังสือที่แม็กซิโกซิตี้. เขาได้ทำงานวิจัยที่น่าสนใจหลายชิ้นเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจกับบุคลิกภาพแบบต่างๆ. เขาเสียชีวิตในปี ๑๙๘๐ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์.
       ทฤษฎี
                ได้ผสมผสานระบบที่เป็นตัวกำหนดสองตัวที่มีแตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เขามองว่าบุคคลสามารถอยู่เหนือตัวกำหนดทั้งที่อยู่ในทฤษฎีทฤษฎีของฟรอยด์และมาร์คอันที่จริง ฟรอมม์ทำให้เสรีภาพเป็นคุณลักษณะศูนย์ของธรรมชาติมนุษย์
                        ตามทัศนะของฟรอมม์ มีหลายตัวอย่างที่ตัวควบคุมทำหน้าที่เดี่ยวๆ ตัวอย่างที่ดีของตัวกำหนดทางชีวภาพแบบเดียวๆที่ชัดเจนที่สุดตามทัศนะของฟรอยด์ คือ พวกสัตว์ต่างๆ
                   ทุกวันนี้ เราอาจจะมองไปที่ชีวิตของคนในยุคกลาง ชีวิตของสัตว์อื่นๆ และสัตว์เล็กสัตว์น้อย. แต่ความจริงก็คือว่า การขาดเสรีภาพที่อธิบายโดยการถูกกำหนดทางชีววิทยาหรือสังคมเป็นเรื่องง่าย. ชีวิตของคุณมีโครงสร้าง ความหมาย ไม่มีขอกังขาใดๆ ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องค้นหาจิตวิญญาณ หากคุณใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมและไม่เป็นทุกข์เพราะวิกฤติอัตลักษณ์
                        ด้วยเหตุนี้ กว่า ๕00 ปี อุดมคติแห่งปัจเจกบุคคลซึ่งมีความคิด ความรู้สึก สำนึกศีลธรรม และความรับผิดชอบเฉพาะบุคคลจึงก่อเกิดขึ้นมา. แต่ความเป็นปัจเจกนั้นก็มาพร้อมกับความรู้สึกโดดเดี่ยวแปลกแยก และสับสน เสรีภาพจึงเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก และเมื่อเราได้รับมาแล้ว ก็มีแนวโน้มว่าเราจะหลบเลี่ยงที่จะรับเอาเสรีภาพ
                        ฟรอมม์  อธิบายว่า  คนเราจะหลีกหนีจากการมีเสรีภาพ  ใน ๓ ลักษณะคือ :
               ๑) เผด็จการ   เราจะหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพโดยการหลอมรวมตนเองเข้าเป็นกับคนอื่นๆ โดยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการ)อย่างเช่น สังคมในยุคกลาง. วิธีนี้กระทำได้ใน ๒ ลักษณะ. อย่างแรก คือยอมรับอำนาจของผู้อื่น เป็นฝ่ายอ่อนน้อมยอมตาม.
 อีกลักษณะหนึ่งคือ เอาตนเองศูนย์กลางอำนาจ และบังคับให้ผู้อื่นอยู่ในอำนาจของตน. แต่ไม่ว่าทางใด คุณก็เป็นคนที่หลีกหนีจากอัตลักษณ์เฉพาะแห่งตน.
               ๒) การทำลาย   พวกเผด็จการนิยม  จะตอบสนองต่อชีวิตที่เจ็บปวด  ด้วยการทำร้ายตนเองในทำนองว่า ดูสิ ถ้าไม่ฉันอยู่เสียแล้ว จะมีอะไรทำร้ายฉัน  ส่วนพวกอื่นจะตอบสนองต่อความเจ็บปวดโดยการต่อต้านโลก: ถ้าฉันทำลายโลกพังย่อยยับแล้ว  ดูสิว่ามันจะทำร้ายฉัน  การหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพแบบนี้ อยู่ในรูปของสิ่งเลวร้ายในชีวิตอันไม่น่าพึงปรารถนาในลักษณะต่างๆ การทำลายทรัพย์สิน การสร้างความอัปยศอดสูให้ผู้อื่นการจอล้างจองผลาญ, อาชญากรผู้ก่อการร้าย
ฟรอมม์อธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าความปรารถนาที่จะทำลายของบุคคลถูกปิดกั้นโดยโอกาส เขาหรือเธอก็จะเปลี่ยนทิศทางความปรารถนานั้นเข้าหาตนเอง. ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของพฤติกรรมทลายตนเอง คือ การฆ่าตัวตายแต่เราอาจจะหมายรวมเอาความเจ็บป่วยหลายๆอย่างเข้าด้วยได้ เช่น การติดสารเสพติด แอลกอฮอล หรือแม้กระทั้งการทำตัวไร้ชีวิตชีวาในงานบันเทิงต่าง. เขาอธิบายสัญชาตญาณแห่งความตายในของฟรอยด์ในทางกลับกันว่า: พฤติกรรมทำลายตนเอง คือ พฤติกรรมทำลายที่ถูกสกัดกั้นไม่ให้กระทำต่อผู้อื่น.
                    ๓)  การทำตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติ  พวกเผด็จการนิยมจะหลีกเลี่ยงการมีเสรีภาพโดยการซ่อนอยู่ภายใต้ชนชั้นเผด็จการ. แต่สังคมเน้นคุณภาพ! จึงมีชนชั้นที่จะให้ซ่อนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (แม้ว่า ความมั่งคั่งจะมีอยู่มากมายสำหรับใครก็ตามที่ต้องการมัน แต่บางคนก็ไม่ต้องการมัน). เมื่อเราต้องการที่จะหลบซ่อน เราจะหันไปซ่อนในวัฒนธรรมมวลชนแทนเมื่อฉันต้องแต่งตัวในตอนเช้า มีหลายหลายที่ฉันต้องตัดสินใจ! แต่เมื่อฉันใคร่ครวญว่า ฉันกำลังจะสวมใส่อะไร ความคับข้องใจของฉันก็อันตรธานไปทันใด. แม้กระทั่งเวลาที่ฉันดูโทรทัศน์ รายการอย่างเช่น รายการพยากรณ์ชีวิตจะบอกฉันอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด. ถ้าฉันมีความคิดเห็น พูด คิด รู้สึกเหมือนคนอื่นๆในสังคม เมื่อนั้น ฉันจะจางหายไปในฝูงชน และฉันไม่จำเป็นต้องรู้ถึงเสรีภาพและความรับผิดชอบของฉัน. พวกตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติจึงเป็นของคู่กับกับพวกนิยมเผด็จการ.
      ครอบครัว
               รูปแบบการหลีกหนีจากเสรีภาพที่คุณมีแนวโน้มที่จะใช้มักจะเกี่ยวข้องกับกับประเภทของครอบครัวที่คุณเติบโตมาฟรอมม์ได้กล่าวถึงครอบครัวที่ไม่มีประสิทธิผลเอาไว้ ๒ ประเภท คือ
              ๑) ครอบครัวแบบอิงอาศัยกันและกัน การอิงอาศัยกันและกัน(Symbiosis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตสองสิ่งที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากอีกฝ่ายหนึ่ง. ในครอบครัวแบบอิงอาศัยกันและกัน สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว "ครอบงำ" สมาชิกคนอื่นๆ และทำให้สมาชิกที่ถูกครอบงำนั้นไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองได้. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกรณีของพ่อแม่ที่ ครอบงำลูก และทำให้บุคลิกภาพของลูกจะเป็นตัวสะท้อนถึงแรงปรารถนาของพ่อแม่. ในสังคมแบบยึดจารีตเดิมหลายแห่ง กรณีดังกล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กหญิง.
               ๒) ครอบครับแบบห่างเหิน ในความเป็นจริง ลักษณะที่เห็นได้ชัดสำหรับครอบครัวประเภทนี้ คือ ความเย็นชาต่อกันที่ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ นอกเหนือจากการแสดงความรังเกียจแบบเย็นชาแม้ว่าการห่างเหินจะเป็นรูปแบบหนึ่งของครอบครัวที่มักพบเห็นได้ทั่วไป ในบางสังคมในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา นับแต่ชนชั้นกลาง ชนชั้นพ่อค้าจนถึงชีวิตในกองทัพ.
                   




           จิตไร้สำนึกทางสังคม
               ฟรอมม์ว่า  พวกเรารับค่านิยมผ่านการอบรมเลี้ยงดู บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมไปว่า สังคมเข้ามาพัวพันกับเรื่องต่างในชีวิตเรามากแค่ไหนเรามักคิดว่า สิ่งที่ผลักดันให้เราทำสิ่งต่างๆมีอย่างเดียวเท่านั้น คือวิถีธรรมชาติ พวกเราเรียนรู้ว่า ทั้งหมดเกิดจากจิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกทางสังคม แน่นอนดังนั้น หลายครั้งพวกเราเชื่อว่าพวกเราแสดงพฤติกรรมไปตามเจตจำนงอิสระของตัวเราเอง แต่ความเป็นจริงแล้วเราเพียงทำตามคำสั่งที่เราเคยทำนั้นเพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องสนใจเรื่องเหล่านั้นอีก.
                ฟรอมม์อธิบาย บุคลิกภาพทั้ง ๕ แบบ
            . แนวคิดแบบมือขอ   คนเหล่านี้มักจะคาดหวังว่าจะได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการ. ถ้าเขาไม่ได้ในทันทีเขาจะรอต่อไป. พวกเขาเชื่อว่า สิ่งของและความพึงพอใจจะมาจากนอกตัวเขา. ชาวนาจำนวนมากมักมีความคิดแบบนี้. นอกจากนี้ยังพบได้ในหลายวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ บุคคลจึงไม่พยายามทำงานหนักเพื่อเลี้ยงชีพตน (แม้ว่า ต่อมาธรรมชาติจะไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน!). นอกจากนี้ยังพบได้ในสังคมชนชั้นล่าง: ทาส เชลย ครอบครัวสวัสดิการ แรงงานอพยพ และอื่นที่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น.
              . แนวคิดแบบแสวงหาผลประโยชน์   คนเหล่านี้จะคาดหวังว่าจะได้รับสิ่งที่เขาต้องการ. ความจริงก็คือ สิ่งต่างๆจะมีค่ามากขึ้นถ้าเข้าได้มาจากผู้อื่น: ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการปล้นชิง แนวคิดที่ขโมยมาจากผู้อื่น ความรักที่ได้มาโดยการใช้อำนาจบีบบังคับ. พบได้ทั่วไปในสังคมชั้นสูงในประวัติศาสตร์ต่างๆ และในสังคมชั้นสูงของอาณานิคมของจักรวรรดิ. อย่างเช่นความคิดของชาวอังกฤษในอินเดียเป็นตัวอย่างเช่น: ฐานะทางสังคมของเขาขึ้นอยู่กับอำนาจเบ็ดเสร็จของเขาที่ได้รับจากชนพื้นเมือง.คุณลักษณะที่เฉพาะตัวหลายอย่างสามารถที่สร้างความสะดวกสบายให้กับคนรอบตัวเขา! เรายังพบได้ในอนารยชนที่เลี้ยงชีวิตด้วยการเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มชนที่เลี้ยงชีวิตด้วยการปล้นสะดม (อย่างเช่น ชาวไวกิ้ง).
               . แนวคิดแบบเก็บสะสม     พวกที่ชอบเก็บสะสมก็คิดเอาแต่จะเก็บสะสมอย่างเดียว. ทุกอย่างสำหรับเป็นสิ่งที่ต้องเก็บสะสมและเก็บสะสมให้มากยิ่งขึ้น. แม้กระทั้งคนรักก็เป็นสิ่งที่จะต้องเก็บสะสม, รักษา หรือซื้อหาเอาไว้. ฟรอมม์เห็นด้วยกับแนวคิดของคาร์ล มาร์ก ว่า บุคลิกภาพแบบนี้มักพบได้ในชนชั้นกลาง กลุ่มที่มีฐานะปานกลางที่มีอาชีพค้าขาย และเกษตรกรที่ค่อนข้างมีฐานะ และกลุ่มอาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเชื่อมโยงบุคลิกภาพแบบนี้กับจริยธรรมเกี่ยวกับการทำงานของชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ที่เคร่งครัด.
                   ๔. แนวคิดแบบการตลาด   คนที่มีบุคลิกภาพแบบการตลาด คิดแต่จะขายอย่างเดียว. ความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าฉันสามารถขายตัวฉันเอง สร้างตัวเองเป็นสินค้า และโฆษณาตนเองได้อย่างไร. ครอบครัวฉัน โรงเรียนของฉัน งานของฉัน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของฉัน ทุกอย่างเป็นการโฆษณา และจะต้อง ขายได้.แม้ความรักเองก็ถูกมองว่าเป็นเพียงความติดต่อสัมพันธ์กันเท่านั้น. คนที่มีบุคลิกภาพแบบการตลาดเท่านั้นที่จะคิดถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการแต่งงาน เมื่อแต่งงานกันแล้วฉันจะให้โน่นนี่แก่คุณ และคุณต้องให้โน่นนี่แก่ฉัน. ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การแต่งงานจะล้มเลิกและเป็นโมฆะ ไม่มีอะไรต้องเสียใจ (เรายังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้!) ตามความเห็นของฟรอมม์ นี่คือบุคลิกภาพของสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่. หรือก็คือบุคลิกภาพของเราในปัจจุบัน!
                     . แนวคิดแบบเน้นผลิตผล (The productive orientation) เป็นบุคลิกภาพวัฒนะซึ่งหลายครั้ง ฟรอมม์อ้างว่า หมายถึง บุคคลที่ไม่เสแสร้ง. คนแบบนี้คือจะที่ไม่ปฏิเสธธรรมชาติทางกายและสังคม และไม่ห่างเหินจากเสรีภาพและความรับผิดชอบ. คนประเภทนี้จะมาจากครอบครัวที่ให้ความรักโดยไม่มีการครอบงำใช้กฎอย่างมีเหตุผล และให้เสรีภาพในการปรับตัวเข้าหากัน.
สังคมที่ทำให้เกิดแบบเน้นผลผลิต ยังไม่มี ตามความคิดเห็นของฟรอมม์. ฟรอมม์ มีความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่อาจคล้ายคลึงกัน. ฟรอมม์เรียกว่า humanistic communitarian socialism. ซึ่งคำที่เป็นที่รู้จักมานักในอเมริกา ข้าพเจ้าขออธิบาย: มนุษยนิยม หมายถึง เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่สูงส่งกว่า ไม่ใช่ภาวะที่ทรงพลังอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งไม่ใช่แนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้าของใครบางคน. ชุมชนนิยม สังคมเล็กๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับการปกครองแบบใหญ่ หรือองค์กร. สังคมนิยม หมายถึง การที่สมาชิกทุกคนรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพของคนอื่นๆ. ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่เข้าใจว่า เป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งแนวคิดของฟรอมม์
               ความชั่วร้าย 
                  ฟรอมม์มักสนใจใจการพยายามเข้าใจ คนที่ขี้นชื่อว่าชั่วร้ายอย่างแท้จริงในโลกนี้ ไม่ใช่ชั่วร้ายเพราะความสับสน ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด โง่เขลา หรือเพราะเจ็บป่วย แต่เป็นคนที่ประพฤติชั่วร้ายหรือทำอะไรเช่นนั้นทั้งที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์: ฮิตเลอร์ สตาลิน ชาร์ลแมนสัน จิม โจนส์ และคนอื่นๆทั้งที่มีในระดับที่รุนแรงและไม่รุนแรง.
             ความต้องการของมนุษย์ (Human Needs)
              ฟรอมม์ก็เหมือนกับหลายคนที่เชื่อว่า มนุษย์มีความต้องการมากกว่าความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน ซึ่งฟรอยด์และนักพฤติกรรมนิยมและนักคิดใช้อธิบายถึงพฤติกรรมมนุษย์. ฟรอมม์เรียกว่า ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความต้องการของสัตว์ ที่ค่อนข้างพื้นฐาน. และอธิบายเพิ่มเติมว่า ความต้องการของมนุษย์สามารถอธิบายได้ด้วยคำอธิบายง่ายๆว่า ความต้องการของมนุษย์ คือ การค้นหาคำตอบว่า เขามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร.
                มุมมองในแง่งบของการแสดงความต้องการนี้คือการพูดว่า พวกเราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความวิปลาส (need to avoid insanity) และเขานิยามว่า โรคประสาท ว่าเป็นความพยายามที่จะพึงพอใจกับกับคำตอบที่ไม่เหมาะสมกับเรา. เขากล่าวว่า โรคประสาททุกชนิดเป็นศาสนาส่วนบุคคล (Private religion) ชนิดหนึ่ง ที่พวกเราหวังพึ่งเมื่อวัฒนธรรมไม่สร้างความพึงพอใจให้กับเราได้อีกต่อไป. เขาอธิบาย

          ความต้องการของมนุษย์ ๕ ประเภท ดังนี้
           . ความสัมพันธ์ (Relatedness)ในฐานะที่เป็นมนุษย์ พวกเราตระหนักดีว่าความเป็นแปลกแยกระหว่างเราและคนอื่นและพยายามที่จะเอาชนะ. ฟรอมม์เรียกว่าต้องการผูกพัน (need for relatedness) และมองว่าความรักคือ ความรู้สึกที่กว้างที่สุด. ฟรอมม์กล่าวว่า ความรัก "คือความเป็นหนึ่งเดียวกับบุคคลหรือบางสิ่งนอกเหนือตนเองภายใต้เงื่อนไขของการรักษาความแตกต่าง (separateness) และเอกภาพ (integrity) ไว้ในตัวคนคนเดียว." (หน้า 37 ของหนังสือ The Sane Society). มันช่วยให้เราอยู่เหนือ (transcend) ความแตกต่างของเราเองโดยไม่ต้องปฏิเสธความเป็นหนึ่งเดียวของเราเอง.
           . การสร้างสรรค์  ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะเอาชนะ อยู่เหนือข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของเรา: ความรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใครสักคนสร้างขึ้นมา. เราต้องการที่จะเป็นผู้สร้าง. การสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ: เราให้กำเนิดลูกหลาน ปลูกพืช สร้างภาชนะ วาดภาพ เขียนหนังสือ และรักคนอื่น. การสร้างสรรค์ แท้จริงแล้วก็ คือ การแสดงความรัก.
           . การมีสังกัด  พวกเราต้องการมีสังกัด. เราต้องการที่จะรู้สึกว่าทุกแห่งเป็นเสมือนบ้านของเรา แม้กระนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราก็มีบางอย่างที่แปลกแยกจากโลกตามธรรมชาติ.
             ความต้องการชนิดนี้ มีแง่มุมทางด้านพยาธิสภาพด้วย: ตัวอย่างเช่น, คนไข้จิตเภทจะพยายามที่ถอยหลังเข้าสู่ภาวะเหมือนเมื่อครั้งที่อยู่ในครรภ์มารดาที่ซึ่ง คุณอาจจะพูดว่า สายสะดือยังไม่ถูกตัด. เช่นเดียวกับคนที่มีอาการประสาทที่กลัวการออกจากบ้านแม้กระทั่งไปเอาจดหมายที่หน้าบ้าน. พวกคลั่งกลุ่มของตน ประเทศชาติ ศาสนาของตนเท่านั้น ว่าเป็นสิ่งทีดีที่สุด และเป็นจริง. คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างเป็นคนอันตราย ต้องหลีกเลี่ยงหรือถูกกำจัด.
              
                         . การรู้สึกว่าตนเองมีเอกลักษณ์  มนุษย์อาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพูดได้.'" (p 62 of The Sane Society) ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะรู้สึกถึงอัตลักษณ์แห่งปัจเจกบุคคล(individuality) เพื่อจะรักษาสมดลย์.
                        ความต้องการนี้ก็มีอำนาจผลักดันให้เราแสวงหามัน ตัวอย่างเช่น การทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มีสถานภาพหรือพยายามที่พยายามที่จะปรับตัวให้ได้มากที่สุด บางครั้งพวกเราก็ทำให้ชีวิตเราถดถอยลงเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม แต่นี่เป็นเพียงอัตลักษณ์ที่จอมปลอม เป็นอัตลักษณ์ที่เราได้จากคนอื่น แทนที่จะเป็นอัตลักษณ์ที่เราพัฒนาขึ้นเองและ และอัตลักษณ์นั้นก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้เรา.
                    . กรอบแนวคิด   สุดท้าย พวกเราต้องการที่จะเข้าใจและโลกและสถานที่ต่างๆ อีกครั้งสังคมของเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางศาสนาของวัฒนธรรมเรา  ที่มักจะให้คำอธิบายสิ่งต่างให้เราทราบ. หลายอย่าง อย่างเช่น ตำนาน ปรัชญา และศาสตร์ต่างที่ให้แนวคิดแก่เรา
                     ฟรอมม์กล่าวว่า ความต้องการที่จำเป็นจริงๆมี ๒ อย่าง: อันดับแรก พวกเราต้องการกรอบแนวคิด (frame of orientation) เกือบทุกอย่างที่เราจะทำ. แม้ว่า สิ่งที่เลวร้ายอย่างหนึ่งจะดีกว่าอีกอย่างหนึ่ง! และทำให้คนคนนั้นถูกลวงอยู่บ่อยครั้ง. เราต้องการที่จะเชื่อ แม้ว่า บางครั้งจะเป็นผลร้าย. หากพวกเราไม่ต้องการคำอธิบายแบบคร่าวๆ เราจะสร้างคำอธิบายบางอย่างขึ้นมา โดยใช้การอ้างเหตุผล

๔.แอริค  เอช.  แอริคสัน
        ชีวประวัติ
                        แอริคสัน  เกิดเมื่อ  วันที่  ๑๕  มิถุนายน  ค.ศ. ๑๙๐๒  ณ  เมืองฟรังก์เฟิร์ต  ประเทศเยอรมนี พ่อแม่เป็นชาวเดนมาร์ก  แม่มีเชื้อสายยิว  พ่อของแอริคสัน  ได้แยกทางกับแม่ของเขาก่อนที่ แอริคสันจะเกิด  ดังนั้น  เขาจึงไม่มีโอกาสรู้เลยว่าพ่อที่แท้จริงของเขา  คือใคร  แม่ได้แต่งงานใหม่กับนายแพทย์  Homburger Erikson  กุมารแพทย์  ซึ่งรับเขาเป็นลูก และตั้งชื่อ  แอริคสัน  ตามชื่อของเขา  แอริคสัน  ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  Erik  Homburger  Erikson  ในปี ๑๙๓๙  เมื่อเขาเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกา
                        เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษา  แอริคสัน  ตัดสินใจไม่ได้ว่าตนอยากทำอะไร  เขาจึงใช้เวลาท่อง เที่ยวไป  ณ ประเทศต่างๆ ในยุโรป  เพื่อให้เกิดความบันดาลใจว่าเขาควรทำอะไรดี   ขณะนั้นเขาอายุประมาณ  ๒๕  ปี  เพื่อนร่วมชั้นซึ่งรู้จักเขามาก่อนได้เชิญชวนเขามาเป็นครูที่โรงเรียนเด็ก  ณ กรุงเวียนนา  โรงเรียนนี้ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ  มอนเตสโซรี  โดยครูมีสิทธิ์จัดหลักสูตรและการเรียนการสอนตามความพร้อม และความถนัดของเด็ก  เน้นการเล่นคือการเรียน โรงเรียนแห่งนี้ยังมีลักษณะพิเศษคือเด็กๆได้รับการทำจิตวิเคราะห์ และในบางรายก็เชิญผู้ปกครองเด็กมาทำจิตวิเคราะห์ร่วมด้วย
                       
ทฤษฎี   (Psychosocial Stage)
                 ทฤษฎีนี้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคล เป็นผลเนื่องมาจากวุฒิภาวะบวกกับการเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และบุคลิกภาพของบุคคลจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับพัฒนาการตามขั้นตอน ซึ่งมีทั้งหมด ๘ ขั้นด้วยกัน ดังนี้
                ขั้นที่  ๑  ปีแรกของชีวิต  เป็นช่วงพัฒนาการเกี่ยวกับความรู้สึกไว้ใจ และไม่ไว้ใจ  ระยะนี้ถ้าต้องการได้รับการตอบสนองด้วยดี  ได้รับความอบอุ่น  ความสนใจจากผู้ใหญ่  เขาจะมองสิ่งแวด ล้อมในแง่ดี  ไว้วางใจผู้อื่นซึ่งจะติดไปจนเป็นผู้ใหญ่  แต่ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบตรงกันข้าม  เมื่อเป็นผู้ใหญ่มักมองคนในแง่ร้าย  ไม่ไว้วางใจใคร  ซึ่งลักษณะเหล่านี้ส่งผลมากต่อการทำงาน และการปรับตัวในสังคมการทำงาน
                   ขั้นที่ ๒ วัย ๒-๓ ขวบ เป็นพัฒนาการด้านความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองหากถูกเลี้ยงโดยผู้ใหญ่ผ่อนปรนให้เขาช่วยตัวเองเรื่องกิน แต่งตัว ทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ เขาจะรู้สึกมั่นใจในตนเอง แต่ถ้าถูกบังคับให้อยู่ในเกณฑ์มากเกินไปเคร่งระเบียบมากไป โดนดุว่าบ่อยๆ เขาอาจท้อแท้ มองตนเองว่าไม่มีความสามารถ ไม่มั่นใจในตนเอง ที่สุดเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็มักขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าตัดสินใจ ไม่สู้ชีวิต ขาดความพยายาม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่องาน
                  ขั้นที่ ๓ อายุ ๓-๕ ขวบ เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างคิด ช่างซักถาม ซึ่งบางทีก็คิดหรือถามในสิ่งไม่สมควร เมื่อถูกดุว่าเขาจะรู้สึกผิด ต่อไปไม่กล้าคิดไม่กล้าถาม จึงอาจเป็นคนไม่มีความคิดริเริ่ม แต่ถ้าผู้ใหญ่ยอมสนองความอยากรู้อยากเห็นของเขาบ้าง อธิบายด้วยถ้อยคำง่าย ชี้แจงเหตุผลสิ่งควรไม่ควร  ก็จะช่วยพัฒนาสติปัญญา และความคิด  ซึ่งส่งผลสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออก ซึ่งเหมาะสมกับบุคลิกภาพในการทำงาน
                 ขั้นที่ ๔  อายุ  ๖-๑๒ ปี วัยนี้ ถ้าทำอะไรได้รับผลดี จะภาคภูมิใจ แต่ถ้าผิดหวังจะเกิดความรู้ สึกด้อย  อาจมองตนเองต่ำกว่าความเป็นจริง  ส่งผลสู่การขาดความเชื่อมั่นในวัยผู้ใหญ่  ถ้าเป็นนักธุรกิจ  พ่อค้าก็มักเป็นประเภทไม่กล้าตัดสินใจนัก  ผิดกับผู้ที่เติบโตมาพร้อมกับความรู้สึกที่ดี  เกี่ยว กับตนเอง ถ้าเป็นนักธุรกิจก็มักมีความเชื่อมั่นสูง กล้าได้กล้าเสีย
                 ขั้นที่ ๕  อายุ  ๑๓-๑๗ ปี  ระยะวัยรุ่น สนใจตนเองมากเป็นพิเศษถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม บางคนว้าวุ่น ไม่แน่ใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีพฤติกรรมเป็นปัญหา แต่ถ้าพัฒนาการในขั้นที่แล้วๆ มาดี  ถึงวัยนี้มักมองตนเองด้วยความเป็นจริง  รู้บทบาทหน้าที่ตนเองดี  มีความรับผิด ชอบต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงาน
                ขั้นที่ ๖  อายุ ๑๘-๒๒ ปี  พัฒนาการวัยนี้มักขึ้นกับวัยต้นๆ  ถ้าวัยต้นมองสิ่งแวดล้อมในแง่ดี วัยนี้จะปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ดี  แต่ถ้าตรงข้ามก็มักจะแยกตัวจากเพื่อนจากสังคม ปรับตนไม่เหมาะ สม อาจมีพฤติกรรมเป็นปัญหาในวัยผู้ใหญ่
               ขั้นที่ ๗ อายุ ๒0-0 ปี อาจมีความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่หรือในบางรายก็เฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น ไม่ขยันหมั่นเพียร ขั้นนี้จะเป็นอย่างไร มักเป็นผลสืบเนื่องมาจากขั้นต้นๆ ที่ผ่านมา
               ขั้นที่ ๘ อายุ ๔๐ปีขึ้นไป วัยนี้ถ้าช่วงต้นๆ มีพัฒนาการมาดีจะเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ มีความรับผิดชอบสูง กล้าเผชิญปัญหา ทำประโยชน์ต่อสังคม มองโลกด้วยสายตาที่เป็นจริง มีวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่
                  จากคำอธิบายของทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสันนี้ จะเห็นได้ว่า บุคลิกภาพด้านความเชื่อมั่น  ความกล้า  ความมานะอดทน  ความกระตือรือร้น  มีที่มาจากการได้อยู่ในสิ่งแวด ล้อมที่อบอุ่น  ให้กำลังใจ  ให้โอกาส  ยอมรับ และสนับสนุนให้ได้รับความสำเร็จ  ซึ่งที่จริงแล้วไม่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่จะได้รับผลดังกล่าว ในผู้ใหญ่วัยทำงานโดยทั่วไป ถ้าได้ทำงานในบรรยากาศที่อบอุ่น เสริมกำลังใจ ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นและอื่นๆ อันเป็นบุคลิกภาพในการทำงานได้ ทฤษฎีนี้นอกจากช่วยให้เกิดความเข้าใจที่มาของบุคลิกภาพทางสังคมแล้ว ยังอาจให้แนวคิดในการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงานได้
พลังอีโก้ (Ego strength)
                   Ego ตามความหมายของแอริคสัน หมายถึงคุณสมบัติที่พึงมีพึงเป็น เมื่อบุคคลสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางด้านจิตวิทยาสังคมในแต่ละขั้นตอนของชีวิตทั้ง 8 ขั้นตอนได้ด้วยดี ดังนั้นอีโก้ของแอริคสันได้แก่ ความมีกำลังวังชา การมีความหวัง การรู้จักควบคุมตนเอง การมีความตั้งมั่น การมีแนวทางและเห็นความหมายของภารกิจที่ตนกำลังทำอยู่ การรู้จักวิธีจัดการ การมีสมรรถภาพ การมีความบริสุทธิ์ใจ การมีความจงรักภักดีต่อคุณค่าหรืออุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือต่อกลุ่ม หรือต่อสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งที่ตนสังกัดอยู่ การรู้จักสร้างไมตรีกับผู้อื่น การรู้จักรักและสนิทสนมกับผู้อื่น การมีผลงานสร้างสรรค์ การให้ความอนุเคราะห์อาทรบุคคลอื่น  การรู้จักปล่อยวางและความฉลาดรู้เท่าทันโลกเท่าทันชีวิต
                        วิธีการศึกษาบุคลิกภาพแบบ
                   แอริคสันกล่าวว่า การศึกษาแนวนี้ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจความซับซ้อนของกลไกพฤติกรรมบุคลิกภาพมนุษย์ทั้งคนปกติและผิดปกติอย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น บุคคลที่แอริคสันนำมาศึกษา อาทิเช่น ชีวิตวันเด็กของฮิตเลอร์ ,แมกซิม กอร์กี้,มาร์ติน ลูเธอร์,คานธี,เบอร์นาด ชอร์,เจฟเฟอร์สัน,วิลเลี่ยม เจมส์ และแม้แต่ชีวิตของซิกมันด์ ฟรอยด์ ผู้ที่เขาชื่นชมและนับถือว่าเป็นอาจารย์
                          จากการศึกษาชีวประวัติและวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้นทำให้แอริคสัน  ได้ความคิดว่า  วิธีการเช่นนี้น่าจะใช้กับคนไข้ได้ด้วย  ในกระบวนการศึกษาแบบ  Case history  อย่างไรก็ดี  แอริคสันตระหนักดีว่า การศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมคนไข้ในคลินิกย่อมแตกต่างจาการศึกษา  บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์อย่างมากมาย   เพราะนักจิตวิเคราะห์  ไม่สามารถทราบอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า  คนไข้มีพฤติกรรมนอกคลินิกอย่างไร  เขามีขีดจำกัดด้าน  สิ่ง แวดล้อมทางกาย และสังคมอย่างไร  เขาจึงลงมติว่าวิธี  Psychohistory  นั้น  นำมาใช้ในคลินิกกับคนไข้ไม่ได้ทั้งหมด แต่สามารถนำแนวคิดต่างๆ มาเสริมความเข้าใจ และช่วยเหลือคนไข้ในคลินิกได้
               ในช่วงชีวิตวิชาชีพอันยาวนานของเขา  เขาได้ใช้วิธีการ ศึกษาบุคลิกภาพของมนุษย์หลายๆวิธี วิธีอื่นๆที่สมควรนำมากล่าวถึงได้แก่
                          .การศึกษาประวิติของคนไข้ แอริคสันทำให้ผู้คนเกิดความเข้าใจในความซับซ้อนของโครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้มีความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ โดยเฉพาะ เด็กผู้มีพยาธิสภาพทางจิต
                           .การศึกษาจากการเล่นของเด็ก ทั้งเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มปกติ แอริคสันตระหนักดีว่าการเล่นของเด็กทำให้เข้าใจปัญหา ความรู้สึกนึกคิด และโลกของเด็กที่มีปัญหาดีกว่าการสื่อสารด้วยคำพูด ดังนั้นแอริคสันจึงสร้าง สถานการณ์การเล่นแบบมาตรฐานขึ้น ทำให้เขาได้พบข้อเท็จจริงมากมาย เขาได้กล่าวว่าการศึกษาการเล่นของเด็กทำให้นักจิตวิเคราะห์เข้าใจจิตใจอันซับซ้อนของเด็ก ประดุจเดียวกับการวิเคราะห์ความฝันของผู้ใหญ่
                           .การศึกษาชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นชาวอินเดียนแดงที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเขาใช้ชื่อวิธีการศึกษาว่า Anthropological Study การศึกษาชนกลุ่มน้อยทำให้เขาได้ข้อสรุปว่าอิทธิพลทางอารยธรรมมีผลต่อพฤติกรรม บุคลิกภาพ ค่านิยม ความเชื่อ ต่อมนุษย์อย่างใหญ่หลวง
                      แอริคสัน  เป็นนักปราชญ์จิตวิเคราะห์ที่โด่งดังไม่แพ้  ฟรอยด์ เพียเจท์ สกินเนอร์  ในวงการจิตวิทยา  ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเรื่อง  ทฤษฎีพัฒนาการบุคลิกภาพทางสังคมจิตวิทยาตามขั้นตอน”  ประดุจเดียวกับที่เพียเจท์ได้รับยกย่องว่า  เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเรื่อง  ทฤษฎีการพัฒนาการของความคิดเห็นตามขั้นตอน

๕.เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีของนักจิตวิทยาทั้ง ๔ กับแนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธ            ศาสนา
เปรียบเทียบแนวคิดของ ซิกมันด์ ฟรอยด์กับแนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนา
                            บุคลิกภาพเกิดจากพลัง ๓ อย่าง ได้แก่ อิด (id) ส่วนของสัญชาติญาณที่อยู่ใน จิตใต้สำนึก ซูเปอร์อีโก้ (superego) ส่วนของวัฒนธรรมที่ดีงามและส่วนยับยั้งชั่งใจ และอีโก้ (ego) ส่วนของตัวฉันซึ่งจะประสานอิดกับซูเปอร์อีโก้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว พลังทั้งสามนี้จะขัดแย้งกันตลอดเวลา
               แนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนามองอย่างนี้
                มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการศึกษาธรรมชาติพิเศษที่เป็นส่วนเฉพาะของมนุษย์ คือ เป็น สัตว์ที่ฝึกได้จะพูดว่า เป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ เป็นสัตว์ที่ศึกษาได้ หรือ เป็นสัตว์ที่เรียนรู้ได้ ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน         จะเรียกว่าเป็นสัตว์พิเศษก็ได้ คือแปลกจากสัตว์อื่น ในแง่ที่ว่าสัตว์อื่นฝึกไม่ได้ หรือฝึกแทบไม่ได้ แต่มนุษย์นี้ฝึกได้ และพร้อมกันนั้นก็เป็น สัตว์ที่ต้องฝึกด้วยพูดสั้นๆ ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก และฝึกได้
                แต่เมื่อมองในแง่บวก ว่า ฝึกได้ เรียนรู้ได้ ก็กลายเป็นแง่เด่น คือ พอฝึก เริ่มเรียนรู้แล้ว คราวนี้มนุษย์ก็เดินหน้า มีปัญญาเพิ่มพูนขึ้น พูดได้ สื่อสารได้ มีความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์อะไรๆ ได้ มีความเจริญทั้งในทางนามธรรม และทางวัตถุธรรม สามารถพัฒนาโลกของวัตถุ เกิดเทคโนโลยี
ต่างๆ มีศิลปะวิทยาการ เกิดเป็นวัฒนธรรม อารยะธรรม จนกระทั่งเกิดเป็นโลกของมนุษย์ซ้อนขึ้นมา ท่ามกลางโลกของธรรมชาติ
                สัตว์อื่นอย่างดี ที่ฝึกพิเศษได้บ้าง เช่น ช้าง ม้า ลิง เป็นต้น ก็
                ๑. ฝึกตัวเองไม่ได้ ต้องให้มนุษย์ฝึกให้
                ๒. แม้มนุษย์จะฝึกให้ ก็ฝึกได้ในขอบเขตจำกัด
                แต่มนุษย์ฝึกตัวเองได้ และฝึกได้แทบไม่มีที่สิ้นสุการฝึกศึกษาพัฒนาตน จึงทำให้มนุษย์กลายเป็นสัตว์ที่ประเสริฐเลิศสูงสุด ซึ่งเป็นความเลิศประเสริฐที่สัตว์ทั้งหลายอื่นไม่มี
                คำว่า ฝึก นี้ พูดตามคำหลักแท้ๆ คือ สิกขา หรือศึกษา ถ้าพูดอย่างสมัยใหม่ ก็ได้แก่คำว่า เรียนรู้และพัฒนา พูดรวมๆ กันไปว่า เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนา หรือเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนา
ศักยภาพของมนุษย์ คือจุดเริ่มของพระพุทธศาสนาดังที่ได้เน้นไว้ในพุทธคุณบทที่ว่า
                                อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ  สตฺถา เทวมนุสฺสานํ 
                เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ผู้ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวะและมนุษย์ทั้งหลาย
ชีวิตมี ๓ ด้าน การฝึกศึกษาก็ต้องประสานกัน ๓ ส่วน
                ชีวิต และการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น แยกได้เป็น ๓ ด้าน คือ
                ๑. ด้านสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตต้องติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กับโลก หรือสิ่งแวดล้อมนอกตัว โดยใช้
                ก) ทวาร/ช่องทางรับรู้และเสพความรู้สึก  ที่เรียกว่า อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (รวม ใจ ด้วยเป็น ๖)
                ข) ทวาร/ช่องทางทำกรรม  คือ กาย วาจา โดย ทำ และพูด (รวม ใจ-คิด ด้วยเป็น ๓)
                สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์นั้น แยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
                ๑) สิ่งแวดล้อมทางสังคม คือเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนสรรพสัตว์
                ๒) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือทางกายภาพ    มนุษย์ควรจะอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์และเพื่อนร่วมโลกด้วยดี อย่างเกื้อกูลกัน เป็นส่วนร่วมที่สร้างสรรค์ของสังคม และปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ ตั้งต้นแต่การใช้ตา หู ดู ฟัง ทั้งด้านการเรียนรู้ และการเสพอารมณ์ ให้ได้ผลดี รู้จักกินอยู่ แสวงหา เสพบริโภคปัจจัย ๔ เป็นต้น อย่างฉลาด ให้เป็นคุณแก่ตน แก่สังคม และแก่โลก อย่างน้อยไม่ให้เป็นการเบียดเบียน
                ๒. ด้านจิตใจ ในการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือแสดงออกทุกครั้ง จะมีการทำงานของจิตใจ และมีองค์ประกอบด้านจิตเกี่ยวข้อง เริ่มแต่ต้องมีเจตนา ความจงใจ ตั้งใจ หรือเจตจำนง และมีแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมทั้งมีความรู้สึกสุข หรือทุกข์ สบาย หรือไม่สบาย และปฏิกิริยาต่อจากสุข-ทุกข์นั้น เช่น ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อยากจะได้ อยากจะเอา หรืออยากจะหนี หรืออยากจะทำลาย ซึ่งจะมีผลชักนำพฤติกรรมทั้งหลาย ตั้งแต่จะให้ดูอะไร หรือไม่ดูอะไร จะพูดอะไร จะพูดกับใครว่าอย่างไร ฯลฯ
                ๓. ด้านปัญญา ในการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือแสดงออกทุกครั้ง ก็ตาม เมื่อมีภาวะอาการทางจิตใจอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ตาม องค์ประกอบอีกด้านหนึ่งของชีวิต คือ ความรู้ความเข้าใจ ความคิด ความเชื่อถือ เป็นต้น ที่เรียกรวมๆ ว่าด้านปัญญา ก็เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือมีบทบาทด้วย
                สิกขา คือการศึกษา ที่ฝึกอบรมพัฒนาชีวิต ๓ ด้านนั้น มีดังนี้
                ๑. สิกขา/การฝึกศึกษา ด้านสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนสรรพสัตว์ หรือสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ ก็ตาม ด้วยอินทรีย์ (เช่น ตา หู) หรือด้วยกาย วาจา ก็ตาม เรียกว่า ศีล (เรียกเต็มว่า อธิสีลสิกขา)
                ๒. สิกขา/การฝึกศึกษา ด้านจิตใจ   เรียกว่า สมาธิ    (เรียกเต็มว่า
อธิจิตตสิกขา)
                ๓. สิกขา/การฝึกศึกษา ด้านปัญญา  เรียกว่า ปัญญา  (เรียกเต็มว่า
อธิปัญญาสิกขา)
                รวมความว่า การฝึกศึกษานั้น มี ๓ อย่าง  เรียกว่า สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งพูดด้วยถ้อยคำของคนยุคปัจจุบันว่า เป็นระบบการศึกษาที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการ และให้มนุษย์เป็น
องค์รวมที่พัฒนาอย่างมีดุลยภาพ
                เมื่อมองจากแง่ของสิกขา ๓ จะเห็นความหมายของสิกขาแต่ละอย่างดังนี้
                ๑. ศีล คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกในด้านการสัมพันธ์ติดต่อปฏิบัติจัดการกับสิ่งแวดล้อม ทั้งทางวัตถุและทางสังคม ทั้งด้วยอินทรีย์ต่างๆ และด้วยพฤติกรรมทางกาย-วาจา พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การมีวิถีชีวิตที่ปลอดเวรภัยไร้การเบียดเบียน หรือการดำเนินชีวิตที่เกื้อกูลแก่สังคม และแก่โลก
                ๒. สมาธิ คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจได้แก่การพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ทั้งในด้านคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา ความมีไมตรี ความเห็นอกเห็นใจ
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสุภาพอ่อนโยน ความเคารพ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ในด้านความสามารถของจิต เช่น ความเข้มแข็งมั่นคง ความเพียรพยายาม ความกล้าหาญ ความขยัน ความอดทน ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นแน่วแน่
                ๓. ปัญญา คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อที่มีเหตุผล ความเห็นที่เข้าสู่แนวทางของความเป็นจริง การรู้จักหาความรู้ การรู้จักคิดพิจารณา การรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ทดลอง ตรวจสอบ ความรู้เข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การเข้าถึงความจริง 
การนำความรู้มาใช้แก้ไขปัญหา และคิดการต่างๆ ในทางเกื้อกูลสร้างสรรค์ เฉพาะอย่างยิ่ง เน้นการรู้ตรงตามความเป็นจริง หรือรู้เห็นตามที่มันเป็น ตลอดจนรู้แจ้งความจริงที่เป็นสากลของสิ่งทั้งปวง จนถึงขั้นรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ทำให้มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดปัญหา ไร้ทุกข์ เข้า
ถึงอิสรภาพโดยสมบูรณ์
               
เปรียบเทียบแนวคิดของคาร์ล  กุสตาฟ  จุง กับแนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนา
                จุงเรียกโครงสร้างบุคลิกภาพว่า  Psyche  ประกอบด้วยระบบต่างๆซึ่งทำงานร่วมกัน
 อันได้แก่ 
                . Ego คือ จิตสำนึก  ประกอบด้วยการจำได้หมายรู้ที่ประกอบด้วย  สติสัมปชัญญะ  รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดต่างๆ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้จักอัตตภาพแห่งตน
                ๒. Personal  Unconscious  หรือ  Complexes  คือ จิตใต้สำนึก เป็นส่วนประสบการณ์ของ
                   จิตสำนึกมาก่อนแต่ถูกเก็บกดไว้  อย่างไรก็ดี  สามารถดึงขึ้นมาอยู่ในจิตใต้สำนึกได้    จุง  อธิบายว่าประสบการณ์จิตสำนึก และจิตใต้สำนึกเป็นประสบการณ์ที่สับเปลี่ยนกันไปมา  ถ้าความความรู้สึกต่างๆ
                 . Collective  Unconscious หรือ Archetype  เป็นกระบวนการจิตใต้สำนึกที่สั่งสมลักษณะบุคลิกภาพมาหลายชั่วอายุคน  มนุษย์ทุกชาติทุกภาษามีลักษณะนี้ร่วมกันทั้งนั้น  จุง  เรียกกระบวนนี้ว่า  Archetype เขายกตัวอย่าง  Archetype  ประเภทหนึ่งว่า  มนุษยชาติย่อมมีแม่  ทารกเกิดมาพร้อมกับมีแนวคิดติดตัวมาแล้วว่าจะต้องพบแม่และต้องทำอะไรๆ กับแม่บ้าง  เป็นญาณสร้างสมมาในสมองแล้วจากประสบการณ์ตั้งแต่อดีตของชาติพันธุ์
                ๔. Persona  คือ ภาวะซึ่งขอใช้คำอุปมาว่า หัวโขนที่คนสวมเพื่อทำบทบาทตามหน้าที่ที่รับมอบให้แสดงต่อคนดู  ตามความจริงของชีวิต Persona คือภาวะที่คนต้องแสดงตนหรือพฤติกรรมตามที่สังคมคาดหวัง  หรือตามประเพณีนิยม  และบางครั้งก็เพื่อสนองแรงจูงใจ Archetype  หรือบางครั้งก็เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่บุคคลที่เข้าไปมีสัมพันธ์ด้วย  หากการแสดงบทบาทเช่นนี้มีความขัดแย้งกับลักษณะบุคลิกและนิสัยที่แท้จริงของตนอย่างมาก 
               . Anima  and  Animus  จุง  เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีลักษณะความเป็นชาย และหญิง อยู่ในตัว ทั้งทางกายภาพ  อารมณ์  และจิตใจ  จุงเรียกลักษณะชายว่า  Anima  และลักษณะหญิงว่า Animus
                ๖. Shadow  คือส่วนของ Archetype ที่ทั้งมนุษย์และสัตว์มีเหมือนกัน  เป็นส่วนถูกบดบังอยู่ภายในจิตใต้สำนึก, ขนบประเพณี  และ persona  เช่น  ความก้าวร้าว  ความต้องการทางเพศหรือกับบุคคลอื่นโดยทั่วไป เป็นคนเปิดเผย ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเก็บตัว ไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซากจำเจ เปลี่ยนแปลงความเคยชินหรือลักษณะนิสัยของตนเองได้ง่ายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป 
            แนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนามองอย่างนี้
การวัดผลของการศึกษาหรือการพัฒนาบุคคล รูปศัพท์ที่พบจึงมักเป็นคำแสดงคุณสมบัติของบุคคล คือแทนที่จะเป็น ภาวนา ๔ (กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และ ปัญญาภาวนา) ก็
เปลี่ยนเป็น ภาวิต ๔ คือ
                ๑. ภาวิตกาย มีกายที่พัฒนาแล้ว (มีกายภาวนา) คือ มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในทางที่เกื้อกูลและได้ผลดี เริ่มแต่รู้จักใช้อินทรีย์ เช่น ตา หู ดู ฟัง เป็นต้น อย่างมีสติ ดูเป็น ฟังเป็น ให้ได้ปัญญา บริโภคปัจจัย ๔ และสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยี อย่างฉลาด ได้ผลตรงเต็มตามคุณค่า
                ๒. ภาวิตศีล มีศีลที่พัฒนาแล้ว (มีศีลภาวนา) คือ มีพฤติกรรมทางสังคมที่พัฒนาแล้ว ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนเวรภัย ตั้งอยู่ในวินัย และมีอาชีวะที่สุจริต มีความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะที่เกื้อกูล สร้างสรรค์และส่งเสริมสันติสุข
                ๓. ภาวิตจิต มีจิตที่พัฒนาแล้ว (มีจิตภาวนา) คือ มีจิตใจที่ฝึกอบรมดีแล้วสมบูรณ์ด้วยคุณภาพจิต คือ ประกอบด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตากรุณา เอื้ออารี มีมุทิตา มีความเคารพ อ่อนโยน ซื่อสัตย์ กตัญญู เป็นต้น
                สมบูรณ์ด้วยสมรรถภาพจิต คือ มีจิตใจเข้มแข็งมั่นคง มีความเพียร
พยายาม กล้าหาญ อดทน รับผิดชอบ มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น และ
                สมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิต คือ มีจิตใจที่ร่าเริง เบิกบาน สดชื่น เอิบอิ่ม
ผ่องใส และสงบ เป็นสุข
                ๔. ภาวิตปัญญา มีปัญญาที่พัฒนาแล้ว (=มีปัญญาภาวนา) คือรู้จักคิด
รู้จักพิจารณา รู้จักวินิจฉัย รู้จักแก้ปัญหา และรู้จักจัดทำดำเนินการต่างๆ ด้วย
ปัญญาที่บริสุทธิ์ ซึ่งมองดูรู้เข้าใจเหตุปัจจัย มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง
หรือตามที่มันเป็น ปราศจากอคติและแรงจูงใจแอบแฝง เป็นผู้ที่กิเลสครอบงำ
บัญชาไม่ได้ เป็นอยู่ด้วยปัญญารู้เท่าทันโลกและชีวิต เป็นอิสระ ไร้ทุกข์
                ผู้มีภาวนา ครบทั้ง ๔ อย่าง เป็นภาวิต ทั้ง ๔ ด้านนี้แล้ว โดยสมบูรณ์
เรียกว่า "ภาวิตัตตะ" แปลว่าผู้ได้พัฒนาตนแล้ว ได้แก่พระอรหันต์ เป็น อเสขะ คือผู้จบการศึกษาแล้ว ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป  ภาวนาจัดเป็น ๔ อย่าง คือ
                ๑. กายภาวนา การพัฒนากาย คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือทางวัตถุ
                ๒. ศีลภาวนา การพัฒนาศีล คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือเพื่อนมนุษย์
                ๓. จิตภาวนา การพัฒนาจิต คือ การทำจิตใจให้เจริญงอกงามขึ้นในคุณธรรม ความดีงาม ความเข้มแข็งมั่นคง และความเบิกบานผ่องใสสงบสุข
                ๔. ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา คือ การเสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ และการหยั่งรู้ความจริง
อย่างที่กล่าวแล้วว่า ภาวนา ๔ นี้ ใช้ในการวัดผลเพื่อดูว่าด้านต่างๆ ของการพัฒนาชีวิตของคนนั้น ได้รับการพัฒนาครบถ้วนหรือไม่ ดังนั้น เพื่อจะดูให้ชัด

เปรียบเทียบแนวคิดของอีริค ฟรอมม์   กับแนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนา
ความต้องการของมนุษย์ ๕ ประเภท ดังนี้
           . ความสัมพันธ์   ในฐานะที่เป็นมนุษย์ พวกเราตระหนักดีว่าความเป็นแปลกแยกระหว่างเราและคนอื่นและพยายามที่จะเอาชนะ. ฟรอมม์เรียกว่าต้องการผูกพัน  และมองว่าความรักคือ ความรู้สึกที่กว้างที่สุด. ฟรอมม์กล่าวว่า ความรัก "คือความเป็นหนึ่งเดียวกับบุคคลหรือบางสิ่งนอกเหนือตนเองภายใต้เงื่อนไขของการรักษาความแตกต่าง  และเอกภาพ ไว้ในตัวคนคนเดียว.
           . การสร้างสรรค์  ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะเอาชนะ อยู่เหนือข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของเรา: ความรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใครสักคนสร้างขึ้นมา. เราต้องการที่จะเป็นผู้สร้าง. การสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ: เราให้กำเนิดลูกหลาน ปลูกพืช สร้างภาชนะ วาดภาพ เขียนหนังสือ และรักคนอื่น. การสร้างสรรค์ แท้จริงแล้วก็ คือ การแสดงความรัก.
           . การมีสังกัด  พวกเราต้องการมีสังกัด. เราต้องการที่จะรู้สึกว่าทุกแห่งเป็นเสมือนบ้านของเรา แม้กระนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราก็มีบางอย่างที่แปลกแยกจากโลกตามธรรมชาติ.
           . การรู้สึกว่าตนเองมีเอกลักษณ์  มนุษย์อาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพูดได้ ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะรู้สึกถึงอัตลักษณ์แห่งปัจเจกบุคคลเพื่อจะรักษาสมดุลย์.
. กรอบแนวคิด   สุดท้าย พวกเราต้องการที่จะเข้าใจและโลกและสถานที่ต่างๆ อีกครั้งสังคมของเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางศาสนาของวัฒนธรรมเรา  ที่มักจะให้คำอธิบายสิ่งต่างให้เราทราบหลายอย่าง อย่างเช่น ตำนาน ปรัชญา และศาสตร์ต่างที่ให้แนวคิดแก่เรา
แนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนามองอย่างนี้
ความต้องการพื้นฐานหรือขั้นต้นสุดของสังคมมนุษย์ ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่จะไม่ให้มี
การเบียดเบียนกัน ๕ ประการ คือ
                ๑) ไม่อยากให้ใครมาทำร้ายร่างกายทำลายชีวิต
                ๒. ไม่อยากให้ใครมาละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
                ๓. ไม่อยากให้ใครมาล่วงละเมิดสามี - ภรรยาเป็นเหตุให้เกิดปัญหา
                ๔. ไม่อยากให้ใครได้ว่าร้ายกล่าวร้ายหลอกลวง
                ๕. เว้นการทำลายทำลายสติสัมปชัญญะของตนเอง แล้วนำ
ไปสู่การก่อกรรมชั่วอย่างอื่นที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
               องค์ธรรมทั้ง ๗ ที่เกื้อหนุนในการเดินชีวิต
เพราะเป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าถึงการที่มรรคจะเกิดขึ้น หรือเป็นจุดเริ่มที่จะนำเข้าสู่มรรค อาจเรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า แสงเงินแสงทองของ (วิถี) ชีวิตที่ดีงาม หรือเรียกในแง่สิกขาว่า
รุ่งอรุณของการศึกษา ดังนี้
                ๑. กัลยาณมิตตตา (มีกัลยาณมิตร=แสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี)
ได้แก่ ปรโตโฆสะที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่ได้กล่าวแล้ว
                ๒. ศีลสัมปทา (ทำศีลให้ถึงพร้อม=มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต) คือ ประพฤติดี มีวินัย มีระเบียบในการดำเนินชีวิต ตั้งอยู่ในความสุจริต และมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีที่เกื้อกูล
                ๓. ฉันทสัมปทา (ทำฉันทะให้ถึงพร้อม=มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์) คือ พอใจใฝ่รักในความรู้ อยากรู้ให้จริง และปรารถนาจะทำสิ่งทั้งหลายให้ดีงาม
                ๔. อัตตสัมปทา (ทำตนให้ถึงพร้อม=มุ่งมั่นฝึกตนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้) คือการทำตนให้ถึงความสมบูรณ์แห่งศักยภาพของความเป็นมนุษย์ โดยมีจิตสำนึกในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนอยู่เสมอ
                ๕. ทิฏฐิสัมปทา (ทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม=ถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรๆตามเหตุและผล) คือ มีความเชื่อที่มีเหตุผล ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
                ๖. อัปปมาทสัมปทา (ทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม=ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท) คือ มีสติครองตัว เป็นคนกระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา ไม่ปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะมีจิตสำนึกตระหนักในความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เห็นคุณค่าของกาลเวลา และรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
         ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อมฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง) รู้จักคิด รู้จักพิจารณา มองเป็น คิดเป็น เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นไป ในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย รู้จักสอบสวนสืบค้นวิเคราะห์วิจัย ให้เห็นความจริง หรือให้เห็นแง่ด้านที่จะทำให้เป็นประโยชน์

เปรียบเทียบแนวคิดของแอริค  เอช.  แอริคสันกับแนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนา
Ego ตามความหมายของแอริคสัน หมายถึงคุณสมบัติที่พึงมีพึงเป็น เมื่อบุคคลสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางด้านจิตวิทยาสังคมในแต่ละขั้นตอนของชีวิตทั้ง ๘ ขั้นตอนคือ
๑)    ความไว้วางใจแย้งกับความสงสัยน้ำใจผู้อื่น   เป็นการต้องการความไว้ใจอันเกิดจากที่เด็กทารกได้รับการตอบสนอง ในความตัองการขั้นพื้นฐานทางร่างกาย - จิตใจ
๒)   ความเป็นตัวของตัวเองแย้งกับความละอายใจและไม่แน่ใจ  ขั้นนี้อยู่ในวัยทารกตอน   ปลายเริ่มรู้จักการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ
๓)   ความคิดริเริ่มแย้งกับความรู้สึกผิด  เป็นระยะวัยเด็กตอนต้นมีความคิดริเริ่มและความรู้สึกที่จะพัฒนา
๔)    ระยะเอาการเอางานแย้งต่อปมด้อย เป็นระยะวัยเด็กตอนปลาย เป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถควบคุมกิจการของตนเป็นการฝึกพัฒนาการต่างๆ
๕)  การพบอัตลักษณ์แห่งตนแย้งกับการไม่เข้าใจตนเอง  เป็นระยะวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งมีลักษณะวิกฤติยิ่งกว่าช่วงอื่น
๖)  ความสนิทเสน่หา  ความร่วมใจแย้งกับความเปล่าเปลี่ยว อาจมีความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่หรือในบางรายก็เฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น ไม่ขยันหมั่นเพียร
              ๗) การบำรุงส่งเสริมผู้อื่นแย้งกับการพะวงเฉพาะตน เป็นช่วงวัยกลางคน จุดเด่นของช่วง  
     นี้คือการแข่งขัน การเผื่อแผ่ การแนะนำ และสร้างสรรค์
  ๘) ความมั่นคงทางใจแย้งกับความสิ้นหวัง  เป็นวัยสูงอายุ เมื่อย้อนถึงอดีตแล้ว อาจเกิด
      ความอาลัยอาวรณ์ หรือยอมรับไม่ได้ และต้องการที่พึ่งทางใจ


           
แนวคิดด้านจิตวิทยาของพุทธศาสนามองอย่างนี้
    ความรู้ทางศาสนามีอยู่ ๕ ประการ (แบบเทวนิยม)
                ๑)  เกิดจากประสาทสัมผัส  หมายถึง  การสัมผัสกันระหว่าง  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย และใจ  กับ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  และธรรมารมณ์ต่าง ๆ   หากเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์  เรียกว่า   ความรู้ประจักษ์   ความรู้ประสบการณ์   ความรู้ภาวะวิสัย 
                ๒)  เกิดจากการคิดอนุมาน  หมายถึง  การคิดหาบทสรุปซึ่งเราไม่รู้มาก่อนโดยอาศัยสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วล้วนมาเป็นรากฐาน  ความรู้ที่ได้จากการอนุมาน เรียกว่า ความรู้ทางอ้อม  ความรู้อนุมาน   ความรู้ทางปรัชญา 
๓) เกิดจากการเปิดเผยของเทพเจ้า     หมายถึง  ศาสนาเชื่อว่ามีความรู้บางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถจะรู้ได้  เพราะมนุษย์มีความสามารถทางสติปัญญาจำกัด  แต่เทพเจ้าเป็นสัพพัญญู   รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และในบ้างครั้งเทพเจ้าสงสารมนุษย์ก็เปิดเผยความรู้ให้มนุษย์ได้ทราบโดยวิธีการต่าง ๆ 
๔)  เกิดจากวิชชุญาณ (Intuition)   หมายถึง  ความรู้ชนิดพิเศษที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน   คล้ายกับเปิดไฟสว่างจ้าขึ้นในที่มืด ทำให้เห็นความจริงแท้ของสิ่งต่าง ๆ  อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน  ความรู้แบบวิชชุญาณเกิดขึ้นเองในเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิอย่างเต็มที่แล้วเพ่งดูปรากฎการณ์แห่งชีวิต
๕)  เกิดจากหลักฐานต่าง ๆ  หมายถึง  แหล่งความรู้สำเร็จรูปอยู่แล้ว  ดังนี้
จากท่านผู้รู้  เช่น  ครู  อาจารย์  นักปราชญ์  ศาสดา    จากคัมภีร์หรือตำรา  ที่ท่านผู้รู้ได้เขียนบันทึกไว้  จากขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เชื่อปฏิบัติถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ความรู้ทางศาสนามีอยู่ ๖ ประการ (แบบอเทวนิยม)
                                ๑)  ความรู้ระดับวิญญาณ  หมายถึง  การรับรู้  รูป เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  และมโนภาพ  ด้วย  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ
                                ๒) ความรู้ระดับสัญญา  หมายถึง  การรับรู้ถึงคุณภาพและรายละเอียดต่าง ๆ  ของ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  และโผฏฐัพพะ
                                ๓) ความรู้ระดับอภิญญา   หมายถึง  การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ   และลักษณะต่าง ๆ  ของมัน  โดยอาศัยพลังจิตโดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย  ตา หู  จมูก  ลิ้น  และผิวกาย 
                                ๔) ความรู้ระดับทิฐิหรือความคิดเห็น  หมายถึง  การเห็น  การเข้าใจถึงความจริงรวบยอด   ที่อยู่เบื้องหลังสภาวธรรมหรือการเห็นลักษณะร่วมที่อยู่เบื้องหลังสิ่งต่าง ๆ 
                                ๕) ความรู้ระดับวิชชุญาณ    หมายถึง  ความเห็นเกิดจากการติดตามหลักเหตุผล   และเป็นการรู้อย่างเลือน ๆ  ลาง ๆ   แต่ความรู้ระดับวิชชุญาณเป็นความรู้ที่เกิดจากการทำจิตใจให้สงบอย่างสมบูรณ์ตามหลักสมาธิอันถูกต้องแล้วนำจิตไปเพ่งดูส่วนต่าง ๆ 
                                ๖) ความรู้ระดับสัมโพธิญาณ    หมายถึง  การตรัสรู้ขึ้นมา  คือรู้ว่าตนหลุดพ้นจากสภาวธรรมฝ่ายสังขตะ  (วิมุตติญาณทัสนะ)  แล้วอยู่ในสภาวธรรมฝ่ายอสังขตะแล้วเสร็จกิจที่ควรทำทุกอย่างแล้ว  ประกาศอิสรภาพจากสภาวธรรมฝ่ายสังขตะได้เต็มที่แล้ว

สรุป
จิตวิทยาศาสนา
                                จิตวิทยา  (psychology)  เป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าพฤติกรรมทั้งของคนและสัตว์เพื่ออธิบายการควบคุมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์และเพื่อตอบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมว่า  เขาทำอย่างนั้นทำไม  อะไรเป็นเหตุให้เขาทำอย่างนั้น  การศึกษาเรื่องจิตทำให้เกิดคำถามและคำตอบมากมาย  ทั้งเป็นลักษณะขัดแย้งและลงรอยกัน  ซึ่งได้อธิบายด้วยวิธีการต่าง ๆ  ที่มีวิวัฒนาการดังนี้
                                ๑)วิธีการทางปรัญชา  ( Philosophical Appraoch)   เป็นวิธีแรกที่อธิบายเรื่องจิตในแนวของปรัชญาและทำให้เกิดทฤษฎีหรือคำตอบที่มีความขัดแย้งกัน  คือ 
-จิตนิยม ซึ่งอธิบายว่าจิตมีอยู่จริง  เป็นอิสระจากร่างกาย  บังคับควบคุมร่างกายได้  เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและบทบาททั้งหมดของร่างกายมนุษย์
-สสารนิยม  ซึ่งตอบปัญหาโดยปฏิเสธจิตนิยมว่า จิตก็คือระบบประสาทรวมนั่นเอง  มีกลไกละเอียดอ่อนและซับซ้อนสมองคือที่รวมของประสาททั้งหมดที่ไปกำหนดการเคลื่อนไหวของร่างกาย  วิธีนี้ศึกษาจิตดำเนินไปโดยการใช้ความคิดและเหตุผลเป็นสำคัญ
                                ๒) วิธีการทางศาสนา  ในทางศาสนาเทวนิยม  จิตหรือวิญญาณ  มีธรรมชาติเป็นอมตะ  ในศาสนาอเทวนิยม  เช่น  พุทธศาสนา  จิต  หมายถึง  ความรู้แจ้งในอารมณ์  การแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ  จิตอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ
                ซิกมันด์  ฟรอยด์  (Sigmund  Freud)  นักจิตวิทยาชาวออสเตรียได้เสนอทฤษฎีบุคลิกภาพที่สำคัญ  เรียกว่า  ทฤษฎีจิตวิเคราะห์   โดยเสนอว่า ความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการ   จิตวิทยาจึงจำเป็นต้องรับบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาของมนุษย์
           จุดประสงค์ของจิตวิทยาที่สำคัญคือ  การช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของตน  ส่วนจุดประสงค์ของพุทธศาสนาก็คือ  การช่วยให้คนที่ปกติหรือคนที่มีสุขภาพจิตดีอยู่แล้วมีภาวะทางจิตที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ  จนบรรลุระดับสูงสุดของพัฒนาการทางจิตใจ  คือ  ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
 
                                             %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น