ความหมายของจิตวิทยาศาสนา
คำว่า จิตวิทยา หมายถึง เป็นวิชาที่ด้วยการศึกษาจิตใจของมนุษย์เป็นวิชาที่สอนให้เกิดความเข้าใจในการกระทำของมนุษย์ และวิชานี้ตั้งคำถามต่อไปว่า ที่กระทำทางกายอย่างนั้น เจ้าตัวเขาคิดอย่างไร และเจ้าตัวคิดอย่างไรจึงพูดอย่างนั้น การศึกษาวิชาจิตวิทยาโดยพื้นเพเดิมแล้วเริ่มจากการสงสัย เริ่มโดยการตั้งคำถามและการแสวงหาคำตอบนั้น ๆ ในเชิงเหตุ เชิงผล อย่างเป็นระบบ ที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นกระบวนการแห่งการเรียนรู้ จึงเกิดมีกฎเกณฑ์ในการเรียนรู้ และมีผลของการเรียนที่เรียกว่าเป็นกฎ เรียกว่าเป็นสูตรหรือจะเรียกว่าเป็นทฤษฎี (Theory) ของแต่ละเรื่อง แต่ละอย่างไป
จิตวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะศึกษาถึงพฤติกรรม อันพฤติกรรมหมายถึงการกระทำต่าง ๆ ของสิ่งที่มีชีวิต ด้วยวิธีการสังเกต หรือโดยการใช้เครื่องมือเข้าช่วย อย่างนี้ใช่หรือไม่
จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับอินทรีย์ของสิ่งที่มีชีวิต ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ศึกษาถึงกระบวนการปรับตัว เหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว ในลักษณะอย่างนี้ใช่หรือไม่
จิตวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และยังศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมที่บุคคลและกลุ่มบุคคลในช่วงอายุระดับต่าง ๆ กัน มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างกันอย่างไร ใช่หรือไม่
จิตวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา ทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ด้วย ใช่หรือไม่
จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกระทำกิจกรรมของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม ใช่หรือไม่
จิตวิทยา หากจะสรุปว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ใช่หรือไม่
และ คำว่า พฤติกรรม หมายถึงพฤติกรรมทั้งภายใน คืออารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรมภายนอก หมายถึง สิ่งที่ทำ คำที่พูด และอากับกิริยาอาการ ต่าง ๆ นั้นด้วย
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกายในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์
ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของ
ศาสนาไว้ว่า “ลัทธิ ความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ”
ศาสนาคืออะไร ? ศาสนามาจากภาษาสันสกฤตว่า “ ศาสนม ” และภาษาบาลี “ สาสน ? ” แปลว่า “ คำสั่งสอนและข้อบังคับ ” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า“ รีลีเจียน ” ( religion ) ซึ่งคำนี้มาจากภาษาละตินว่า “ เรลีจีโอ ” ( religio ) แปลว่า “ ความกลัว ” หรือ“ ความยำเกรงในอำนาจพระเจ้า ” ความหมายแบบนี้รวมถึงความศรัทธา ตลอดจนการทำกิจกรรมต่อพระเจ้า โดยผ่านคำสอนที่เป็นระบบทางศีลธรรม ดังนั้นความหมายของ “ ศาสนม ” และ “ สาสน ” จึงต่างจาก “ รีลีเจียน ”
( religion ) โดยคำว่า“ ศาสนม ” และ “ สาสน ” มิได้มุ่งหมายเฉพาะคำสอนของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ แต่หมายถึงคำสอนของผู้ก่อตั้งศาสนาที่จะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติได้พ้นจากความทุกข์ส่วน “ รีลีเจียน ” ( religion ) มีความหมายค่อนข้างโน้มนำไปในเรื่องอำนาจของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ อันได้แก่พระเจ้า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๒๕ : ๗๗๐) ได้อธิบายว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์ อันมีหลักคือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญและบาป อันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถืออันนั้น
ชีวิตกับศาสนาขั้นมูลฐานที่ต้องการ
ศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร
จากทฤษฎีต่าง ๆ ที่ฮอพฟ์ได้ทำการสรุปไว้ ๕ ทฤษฎี ดังนี้
๑) เกิดจากความเชื่อเรื่องวิญญาณ เป็นความเชื่อในลัทธิวิญญาณนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่ามนุษย์ดั้งเดิมในยุคแรก ๆ นั้น มีความสับสนในการแยกความแตกต่างระหว่างความจริงกับความฝัน เมื่อพวกเขาฝันเห็นเกี่ยวกับความตายหรือฝันเห็นวิญญาณ จึงทำให้เกิดเป็นความเชื่อในเรื่องจิตหรือวิญญาณ และคิดว่าสิ่งที่เห็นในฝันนั้นมีอยู่จริง ๆกลุ่มนี้ยังมีความเชื่อต่อไปอีกว่าวิญญาณเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีอยู่ในมนุษย์เท่านั้น แต่ยังแฝงอยู่ในธรรมชาติด้วยเช่น ก้อนหิน ต้นไม้ สัตว์ อากาศ แม่น้ำ ลำธาร ภูเขาไฟ และภูเขา เป็นต้น วิญญาณเหล่านี้ในภาษาละตินเรียกว่า “ อนิมา ” ( Anima ) ซึ่งวิญญาณนี้หากมนุษย์ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้วิญญาณนี้ไม่พอใจและลงโทษมนุษย์ได้ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องทำพิธีสวดอ้อนวอนเพื่อขอความกรุณานอกจากนี้ยังมีอีกความเชื่อหนึ่งในหมู่เกาะเมลานีเชียน ( Melanesians ) ที่เรียกอำนาจนี้ว่า “ มานา ” ( Mana ) วิญญาณแบบมานานี้เป็นวิญญาณแบบอบุคคล เป็นอำนาจที่แฝงอยู่ในธรรมชาติ ต่างจากอนิมาที่เป็นอำนาจลึกลับ
แบบบุคคล อำนาจแบบมานาไม่ต้องเซ่นไหว้หรือสวดอ้อนวอนเอาใจแบบอนิมา เพียงแต่หลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างซึ่งอาจให้โทษ การหลีกเลี่ยงไม่กระทำนี้เรียกว่า “ ตาบู ” ( Taboo )เช่น การไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรือพืชบางชนิด การไม่แต่งงานในสายเลือดเดียวกัน การไม่ปลูกต้นไม้บางชนิดในบ้าน เป็นต้น
แบบบุคคล อำนาจแบบมานาไม่ต้องเซ่นไหว้หรือสวดอ้อนวอนเอาใจแบบอนิมา เพียงแต่หลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างซึ่งอาจให้โทษ การหลีกเลี่ยงไม่กระทำนี้เรียกว่า “ ตาบู ” ( Taboo )เช่น การไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรือพืชบางชนิด การไม่แต่งงานในสายเลือดเดียวกัน การไม่ปลูกต้นไม้บางชนิดในบ้าน เป็นต้น
๒) เกิดจากการนับถือธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากความช่างสังเกตของมนุษย์ที่เห็นความสม่ำเสมอของธรรมชาติก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ การเกิดกระแสน้ำขึ้นน้ำลง การเกิดพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ลง พระจันทร์ขึ้น พระจันทร์ลง ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่กล่าวมานี้เป็นผลมาจากอำนาจลึกลับที่มนุษย์ไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้แต่มันก็มีอยู่ในธรรมชาติ มนุษย์ในสมัยนั้นจึงผูกเรื่องขึ้นมากลายเป็นตำนานและเล่าต่อ ๆ กันมา เช่น ตำนานเทพเจ้ากรีกโรมันเทพเจ้าอินเดีย เป็นต้น
๓) เกิดจากความเชื่อในลัทธิเอกเทวนิยม เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย คุณพ่อวิลเฮล์มชมิตต์ ( Father Wilhelm Schmidt ) ซึ่งเป็นบาทหลวงนิกายซูอิต ท่านเชื่อว่า บ่อเกิดของศาสนามาจากความเชื่อที่ว่า มีพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่อยู่องค์หนึ่ง เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นมา เป็นบิดาของเทพเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระองค์สร้างโลกแล้วก็ทรงปล่อยโลกให้เป็นไปตามวิถีทางของมัน โดยพระองค์ติดต่อกับโลกนี้น้อยมาก แต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งพระองค์จะเสด็จกลับมาอีก แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดแบบเอกเทวนิยม
๔) เกิดจากความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย เซอร์ เจมส์ จอร์ช เฟรเซอร์ ( Sir James George Frazer ) ท่านเสนอไว้ว่า มนุษย์ได้พัฒนาเกี่ยวกับความคิดในเรื่องศาสนามีทั้งหมด
๓ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ มนุษย์พยายามจะเอาชนะธรรมชาติโดยใช้ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ พ่อมด หมอผี เป็นต้น โดยจะใช้วิธีการเซ่นสรวงบูชา การเต้นรำขับร้อง และการทำนาย ทั้งหมดนี้เกิดจากพื้นฐานที่ว่ามนุษย์พยายามที่จะควบคุมธรรมชาติ
ระยะที่ ๒ เป็นระยะที่มนุษย์มีศาสนาจึงเกิดพวกนักบวชขึ้นมา ใช้วิธีการสวดมนต์ อ้อนวอน และทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือเกิดความพอใจ
ระยะที่ ๓ เป็นระยะเวลาที่เกิดความเจริญในทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยหลักของเหตุผลจึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เช่น ถ้าชาวนาต้องการฝนเขาไม่ต้องทำพิธีแห่นางแมว เขาแค่ต้องไปหานักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบในการทำฝนเทียม ที่จะมีวิธีที่จะทำให้เกิดฝนขึ้นโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผลและเป็นรูปธรรมสามารถมองเห็นได้
๕) เกิดจากความปรารถนาอันรุนแรงที่จะสร้างพระเจ้าขึ้นมา ฟอยเออบัค ( Ludwig Feuerbach ) ซึ่งเป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงมากในศตวรรษที่ ๑๙ มีความเชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง และความเชื่อในเรื่องพระเจ้าก็เป็นเพียงความปรารถนาอันรุนแรงของมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะแก้ปัญหาความยุ่งยากในชีวิตของเขาต่อมาศิษย์ของฟอยเออบัค ๒ คน คือ มาร์กซ์
( Karl Marx ) และ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) เป็นผู้บุกเบิกความคิดในการปฏิเสธความมีอยู่ของพระเจ้า มาร์กซ์ กล่าวว่า “ ศาสนาคือยาเสพติด ” เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็นเพียงกระบวนพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ในระหว่างชนชั้น ศาสนาเกิดจากคนกลุ่มหนึ่งได้สร้างกลไกขึ้นมาเพื่อควบคุมมวลชนไม่ให้เกิดความคิดในการต่อต้านหรือปฏิวัติ คนกลุ่มนั้น ได้แก่ นักปกครอง และนักบวชผู้ซึ่งพยายามทุกวิถีทางที่จะรักษาความมั่งคั่งและอำนาจในหมู่ตนให้นานที่สุด ดังนั้น พวกเขาจึงสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า สวรรค์และนรก สำหรับคนยากจนซึ่งเป็นชนชั้นส่วนใหญ่
ให้ยอมรับในชีวิตที่ตนกำลังเผชิญอยู่เพื่อความสุขนิรันดรในสวรรค์ คำสอนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรไปจากฝิ่นที่มีฤทธิ์ทำให้ผู้เสพหลงมัวเมาคลั่งไคล้ ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เขามีความคิดเห็นว่า ศาสนาเกิดมาจากความรู้สึกผิดในจิตของแต่ละคนความรู้สึกผิดนี้สืบเนื่องมาจากความเกลียดชังพ่อที่มีมาตั้งแต่เด็กและฝังรากลึกในจิตไร้สำนึกของลูกชาย ทำให้พวกเขาพยายามชดเชยความรู้สึกโดยจินตนาการถึงพ่อที่มีความยิ่งใหญ่ พิเศษและเรียกว่า พระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ที่สมบูรณ์ในแบบความคิดของฟรอยด์ ก็คือ คนที่สามารถยืนหยัดต่อสู้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยไม่อาศัยศาสนาและพระเจ้า แม้ว่าการเกิดขึ้นของศาสนาจะมีทัศนะต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แต่ก็อาจสรุปได้ว่า ศาสนาเป็นความเชื่อถือของมนุษย์ในกลุ่ม ๆ หนึ่ง เมื่อเชื่อแล้วจะต้องมีการปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อความพ้นทุกข์ทางกายและใจ ความเชื่อถือของมนุษย์ในด้านศาสนามีอะไรบ้าง ?
( Karl Marx ) และ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) เป็นผู้บุกเบิกความคิดในการปฏิเสธความมีอยู่ของพระเจ้า มาร์กซ์ กล่าวว่า “ ศาสนาคือยาเสพติด ” เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็นเพียงกระบวนพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ในระหว่างชนชั้น ศาสนาเกิดจากคนกลุ่มหนึ่งได้สร้างกลไกขึ้นมาเพื่อควบคุมมวลชนไม่ให้เกิดความคิดในการต่อต้านหรือปฏิวัติ คนกลุ่มนั้น ได้แก่ นักปกครอง และนักบวชผู้ซึ่งพยายามทุกวิถีทางที่จะรักษาความมั่งคั่งและอำนาจในหมู่ตนให้นานที่สุด ดังนั้น พวกเขาจึงสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า สวรรค์และนรก สำหรับคนยากจนซึ่งเป็นชนชั้นส่วนใหญ่
ให้ยอมรับในชีวิตที่ตนกำลังเผชิญอยู่เพื่อความสุขนิรันดรในสวรรค์ คำสอนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรไปจากฝิ่นที่มีฤทธิ์ทำให้ผู้เสพหลงมัวเมาคลั่งไคล้ ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เขามีความคิดเห็นว่า ศาสนาเกิดมาจากความรู้สึกผิดในจิตของแต่ละคนความรู้สึกผิดนี้สืบเนื่องมาจากความเกลียดชังพ่อที่มีมาตั้งแต่เด็กและฝังรากลึกในจิตไร้สำนึกของลูกชาย ทำให้พวกเขาพยายามชดเชยความรู้สึกโดยจินตนาการถึงพ่อที่มีความยิ่งใหญ่ พิเศษและเรียกว่า พระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ที่สมบูรณ์ในแบบความคิดของฟรอยด์ ก็คือ คนที่สามารถยืนหยัดต่อสู้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยไม่อาศัยศาสนาและพระเจ้า แม้ว่าการเกิดขึ้นของศาสนาจะมีทัศนะต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แต่ก็อาจสรุปได้ว่า ศาสนาเป็นความเชื่อถือของมนุษย์ในกลุ่ม ๆ หนึ่ง เมื่อเชื่อแล้วจะต้องมีการปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อความพ้นทุกข์ทางกายและใจ ความเชื่อถือของมนุษย์ในด้านศาสนามีอะไรบ้าง ?
ความต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์
ความต้องการของมนุษย์
มนุษย์มีความต้องการมากกว่าความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน ซึ่งฟรอยด์และนักพฤติกรรมนิยมและนักคิดใช้อธิบายถึงพฤติกรรมมนุษย์. ฟรอมม์เรียกว่า ความต้องการของมนุษย์ (human needs), ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความต้องการของสัตว์(animal needs) ที่ค่อนข้างพื้นฐาน. และอธิบายเพิ่มเติมว่า ความต้องการของมนุษย์สามารถอธิบายได้ด้วยคำอธิบายง่ายๆว่า: ความต้องการของมนุษย์ คือ การค้นหาคำตอบว่า เขามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร.
ฟรอมม์กล่าวว่า บางที เป้าหมายหลักของวัฒนธรรม อาจเป็นอาจตอบคำถามได้ดีทีสุด. ฟรอมม์กล่าวว่า วัฒนธรรมทั้งปวงก็เหมือนกับศาสนาที่พยายามอธิบายความหมายของชีวิต. และบางวัฒนธรรมทำได้ดีกว่านั้น.
มุมมองในแง่งบของการแสดงความต้องการนี้คือการพูดว่า พวกเราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความวิปลาส (need to avoid insanity) และเขานิยามว่า โรคประสาท ว่าเป็นความพยายามที่จะพึงพอใจกับกับคำตอบที่ไม่เหมาะสมกับเรา. เขากล่าวว่า โรคประสาททุกชนิดเป็นศาสนาส่วนบุคคล (Private religion) ชนิดหนึ่ง ที่พวกเราหวังพึ่งเมื่อวัฒนธรรมไม่สร้างความพึงพอใจให้กับเราได้อีกต่อไป. เขาอธิบายความต้องการของมนุษย์เอาไว้ 5 ประเภท ดังนี้
๑)ความสัมพันธ์ (Relatedness)
ในฐานะที่เป็นมนุษย์ พวกเราตระหนักดีว่าความเป็นแปลกแยกระหว่างเราและคนอื่นและพยายามที่จะเอาชนะ. ฟรอมม์เรียกว่าต้องการผูกพัน (need for relatedness) และมองว่าความรักคือ ความรู้สึกที่กว้างที่สุด. ฟรอมม์กล่าวว่า ความรัก "คือความเป็นหนึ่งเดียวกับบุคคลหรือบางสิ่งนอกเหนือตนเองภายใต้เงื่อนไขของการรักษาความแตกต่าง (separateness) และเอกภาพ (integrity) ไว้ในตัวคนคนเดียว." (หน้า 37 ของหนังสือ The Sane Society). มันช่วยให้เราอยู่เหนือ (transcend) ความแตกต่างของเราเองโดยไม่ต้องปฏิเสธความเป็นหนึ่งเดียวของเราเอง.
ความต้องการ บางครั้งก็มีอำนาจจนเราต้องแสวงหาโดยใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมตัวอย่างเช่น บางคนต้องการกำจัดความโดดเดี่ยวของตนเองโดยการโอนอ่อนตามผู้อื่น กลุ่ม หรือ แนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้า. บางคนก็พยายามที่จะกำจัดความโดเดี่ยวโดยการพยายามที่ใช้อำนาจเหนือบุคคลอื่น. ไม่ว่าโดยวิธีการใดข้างต้นล้วงไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับเขาได้: ความรู้สึกแปลกแยกของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้.
วิธีการหนึ่งที่บางคนพยายามที่จะเอาชนะคามต้องการนี้คือ การปฏิเสธความต้ององการ. ฟรอมม์เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความสัมพันธ์ว่า การหลงไหลตนเอง (narcissism). การหลงใหลตนเอง (Narcissism) – การหลงรักตนเอง – เป็นธรรมชาติของเด็ก ที่ไม่สามารถรับรู้ว่าตนเองเป็นหนึ่งต่างหากจากโลกและคนอื่นๆ. แต่ในผู้ใหญ่ การหลงใหลตนเอง เป็นสาเหตุของพยาธิสภาพ. อย่างเช่น อาการจิตเภท(schizophrenic) คนที่หลงใหลตนเองมีความเป็นจริงอยู่อย่างเดียวเท่านั้น: คือ โลกแห่งความคิด ความรู้สึก และความต้องการของตัวเขาเอง. โลกของเขา คือสิ่งที่เขาต้องการจะเป็น และเขาก็สูญเสียการติดต่อกับความเป็นจริง.
๒)การสร้างสรรค์ (Creativity)
ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะเอาชนะ อยู่เหนือ(transcend) ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของเรา: ความรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใครสักคนสร้างขึ้นมา. เราต้องการที่จะเป็นผู้สร้าง. การสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ: เราให้กำเนิดลูกหลาน ปลูกพืช สร้างภาชนะ วาดภาพ เขียนหนังสือ และรักคนอื่น. การสร้างสรรค์ แท้จริงแล้วก็ คือ การแสดงความรัก.
โชคร้ายที่บางคนหาหนทางแหง่การสร้างสรรค์ไม่เจอ. เมื่อคับข้องใจ พวกเขาจะพยายามเอาชนะการเป็นผู้ถูกกระทำด้วยการเป็นผู้ทำลาย (destroyer). การทำลายจะทำให้ฉัน "อยู่เหนือ" สิ่งต่างๆหรือบุคคลที่ฉันทำลาย. มันทำให้ฉันรู้ว่าตนเองมีพลังอำนาจ. เราสามารถที่จะเกลียดและรัก. แต่ในที่สุดแล้ว มันไม่ช่วยให้เราได้สัมผัสความรู้สึกมีการอยู่เหนือ เหมือนอย่างที่เราต้องการ.
๓)การมีสังกัด (Rootedness)
โชคร้ายที่บางคนหาหนทางแหง่การสร้างสรรค์ไม่เจอ. เมื่อคับข้องใจ พวกเขาจะพยายามเอาชนะการเป็นผู้ถูกกระทำด้วยการเป็นผู้ทำลาย (destroyer). การทำลายจะทำให้ฉัน "อยู่เหนือ" สิ่งต่างๆหรือบุคคลที่ฉันทำลาย. มันทำให้ฉันรู้ว่าตนเองมีพลังอำนาจ. เราสามารถที่จะเกลียดและรัก. แต่ในที่สุดแล้ว มันไม่ช่วยให้เราได้สัมผัสความรู้สึกมีการอยู่เหนือ เหมือนอย่างที่เราต้องการ.
๓)การมีสังกัด (Rootedness)
พวกเราต้องการมีสังกัด. เราต้องการที่จะรู้สึกว่าทุกแห่งเป็นเสมือนบ้านของเรา แม้กระนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราก็มีบางอย่างที่แปลกแยกจากโลกตามธรรมชาติ.
รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือการผูกพันอยู่กับแม่ของเราเอง. แต่การที่จะเติบโตขึ้น หมายความว่า เราต้องห่างเหินจากอ้อมอกของมารดา. หากไม่ยอมออกห่างจากมารดา ฟรอมม์เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า การผิดประเวณีทางจิตวิทยา(psychological incest). เพื่อที่จะจัดการกับความยุ่งยากของโลกวัยผู้ใหญ่ เราต้องแสวงหาสังกัดที่ใหม่ และกว้างใหญ่ขึ้น. เราต้องแสวงหาภราดรภาพ(brotherhood) (และภคินีภาพ) กับเพื่อนมนุษย์.
ความต้องการชนิดนี้ มีแง่มุมทางด้านพยาธิสภาพด้วย: ตัวอย่างเช่น, คนไข้จิตเภทจะพยายามที่ถอยหลังเข้าสู่ภาวะเหมือนเมื่อครั้งที่อยู่ในครรภ์มารดาที่ซึ่ง คุณอาจจะพูดว่า สายสะดือยังไม่ถูกตัด. เช่นเดียวกับคนที่มีอาการประสาทที่กลัวการออกจากบ้านแม้กระทั่งไปเอาจดหมายที่หน้าบ้าน. พวกคลั่งกลุ่มของตน ประเทศชาติ ศาสนาของตนเท่านั้น ว่าเป็นสิ่งทีดีที่สุด และเป็นจริง. คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างเป็นคนอันตราย ต้องหลีกเลี่ยงหรือถูกกำจัด.
๔)การรู้สึกว่าตนเองมีเอกลักษณ์(A sense of identity)
"มนุษย์อาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพูดได้.'" (p 62 of The Sane Society) ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะรู้สึกถึง อัตลักษณ์ (Identity) แห่งปัจเจกบุคคล (individuality) เพื่อจะรักษาสมดุลย์.
บางครั้ง ความต้องการนี้ก็มีอำนาจผลักดันให้เราแสวงหามัน ตัวอย่างเช่น การทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มีสถานภาพหรือพยายามที่พยายามที่จะปรับตัวให้ได้มากที่สุด. บางครั้งพวกเราก็ทำให้ชีวิตเราถดถอยลงเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม. แต่นี่เป็นเพียงอัตลักษณ์ที่จอมปลอม เป็นอัตลักษณ์ที่เราได้จากคนอื่น แทนที่จะเป็นอัตลักษณ์ที่เราพัฒนาขึ้นเองและ และอัตลักษณ์นั้นก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้เรา.
5. กรอบแนวคิด (A frame of orientation)
สุดท้าย พวกเราต้องการที่จะเข้าใจและโลกและสถานที่ต่างๆ. อีกครั้ง, สังคมของเรา –และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางศาสนาของวัฒนธรรมเรา – ที่มักจะให้คำอธิบายสิ่งต่างให้เราทราบ. หลายอย่าง อย่างเช่น ตำนาน ปรัชญา และศาสตร์ต่างที่ให้แนวคิดแก่เรา.
ฟรอมม์กล่าวว่า ความต้องการที่จำเป็นจริงๆมี 2 อย่าง: อันดับแรก พวกเราต้องการกรอบแนวคิด (frame of orientation) เกือบทุกอย่างที่เราจะทำ. แม้ว่า สิ่งที่เลวร้ายอย่างหนึ่งจะดีกว่าอีกอย่างหนึ่ง! และทำให้คนคนนั้นถูกลวงอยู่บ่อยครั้ง. เราต้องการที่จะเชื่อ แม้ว่า บางครั้งจะเป็นผลร้าย. หากพวกเราไม่ต้องการคำอธิบายแบบคร่าวๆ เราจะสร้างคำอธิบายบางอย่างขึ้นมา โดยใช้การอ้างเหตุผล(rationalization).
ประการต่อมา คือ พวกเราต้องการที่จะมีกรอบแนวคิดที่ดี มีประโยชน์ และถูกต้อง. นี่คือ ที่ซึ่งเหตุผลเข้ามาเกี่ยวข้อง. นี่คือสิ่งดีๆที่พ่อแม่และคนอื่นๆอธิบายโลกและชีวิตของเราให้เราทราบ แต่ถ้าไม่มีละ, มันจะเป็นอะไรดี? กรอบแนวคิดต้องมีเหตุผล.
ฟรอมม์ ยังเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง เขากล่าวว่า พวกเราไม่ต้องการปรัชญา และวิทยาศาสตร์ แบบเย็นชา. เราต้องการกรอบแนวคิดที่ให้ความหมายแก่เรา. เราต้องการที่จะเข้าใจ
ความเชื่อทางศาสนา
ความคิดความเชื่อทางศาสนา
ทุกศาสนา ส่วนใหญ่มักจะสอน ให้ห้ามสงสัยในคำสอน เชื่อได้หรือไม่เป็นจริงอย่างที่ท่านศาสดาสอนไว้ยกเว้นแต่ พุทธศาสนา สอนให้ต้องสงสัยในคำสอน สอนให้คิด สอนให้ใคร่ ครวญจนเข้าใจชัดเจนก่อนจึงค่อยเชื่อ ตามหลักแห่งความเชื่อใน กาลามสูตร ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญา พิจารณาให้เห็นจริงถึง คุณ โทษ หรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ มี ๑๐ ประการคือ
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
๒. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว(มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา(มาสมโณ โน ครูติ)
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว(มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา(มาสมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
ความเชื่อถือของมนุษย์ในด้านศาสนามี ๒ ประเภท คือ
๑) ความเชื่อถือในอำนาจอันสูงสุดของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ความเชื่อแบบนี้ก่อให้เกิดเป็นลัทธิเทวนิยม ( Theism )ซึ่งยอมรับในอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และทำลายโลก อำนาจของพระองค์จึงแผ่คลุมอยู่ไปทั่ว พระองค์ทรงสรรเดชะ ทรงรู้ทุกสิ่ง จึงไม่มีความรู้ใดปิดบังอำพรางพระองค์ได้ ทรงสถิตอยู่ในทุก ๆ แห่ง ความเชื่อเช่นนี้ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาซิกข์ เป็นต้น
๒) ความเชื่อถือในหลักธรรมและกฎศีลธรรมต่าง ๆ และจริยธรรมทั่ว ๆ ไปแต่ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดและไม่เชื่อว่าโลกจะเกิดจากพระผู้สร้างนี้ เพราะเชื่อว่าโลกเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ ศาสนาในกลุ่มนี้จึงเรียกว่า อเทวนิยม ( Atheism ) มีแนวความคิดอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลมากกว่าความเชื่อศรัทธา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน คำสอนของเหลาจื้อและคำสอนของขงจื้อ เป็นต้น
มูลเหตุของการเกิดศาสนา
๑) ศาสนาเกิดจากความไม่รู้ คือ ไม่รู้จริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ความเร้นลับของธรรมชาติ วิญญาณบรรพบุรุษ
๒) ศาสนาเกิดจากความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติ คือกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น กลัวฟ้าร้อง กลัวลมพายุ กลัวน้ำท่วม กลัวฝนตก ฯลฯ
๓) ศาสนาเกิดจากความต้องการศูนย์รวมกำลังใจ คือ ศาสนาเป็นศูนย์รวมของ ศาสนิกชน เช่น มีเทพเจ้าองค์เดียวกัน จึงทำให้ศาสนาเป็นศูนย์รวมของกำลังใจ ทำให้เกิดความสามัคคีของกลุ่ม
๔) ศาสนาเกิดจากความต้องการที่พึ่งทางใจ คือมนุษย์นอกจากจะมีความต้องการเครื่องจำเป็นต่อชีวิต เพื่อสนอง ความต้องการทางกายแล้ว ยังมีความต้องการที่พึ่งพิงทางใจอีกด้วย ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจที่ดีที่สุด
๕) ศาสนาเกิดจากความต้องการความสงบสุขของสังคม สังคมย่อมต้องการความสงบสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ ศาสนาจึงเกิดขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการที่จะให้สังคมมีความสงบสุข
ความต้องการทางจิตวิทยาศาสนา
การศึกษาถึงความคิดและพฤติกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์ เหตุที่กล่าวว่า “จิตวิทยา” เป็น “วิทยาศาสตร์” ก็เพราะ นักจิตวิทยาทั้งหลายต่างก็นำเอาวิธีการวิจัยอันเข้มงวดแบบเดียวกับที่พบในงานวิจัยสืบค้นทางวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ มาใช้ นั่นเอง งานวิจัยบางชิ้นจะออกเป็นแนวชีววิทยา (ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาผลกระทบของการบาดเจ็บทางสมองของหนูต่อการกินอาหารของมัน) ในขณะที่งานวิจัยอื่น ๆ อาจเป็นแนวเกี่ยวกับสังคม ( เป็นต้นว่า เกี่ยวกับ การระบุปัจจัยต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความเฉยเมยของผู้เห็นเหตุการณ์ เป็นต้น ) เนื่องจาก จิตวิทยากระจายตัวครอบคลุมขอบข่ายเนื้อหาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง จึงเป็นการยากที่จะให้ภาพที่กระจ่างชัดว่า นักจิตวิทยาทำอะไร มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่คิดว่า นักจิตวิทยา รายไหนรายนั้น จะต้องเป็นพวก “ไม่พูดไม่จา” “มีเตียงตรวจไข้สีดำ” และ”ชอบที่จะค้นหาสาเหตุว่าทำไมคนนั้นมีพฤติกรรมอย่างนั้น ทำไมคนนี้มีพฤติกรรมอย่างนี้” เป็นต้น ความจริง คำบรรยายเหล่านี้มักใช้อธิบายลักษณะเด่นของคลินิกจิตวิทยา ซึ่งก็คือคลินิกที่ทำการวินิจฉัยและให้การรักษาอาการป่วยทางจิต หรือพฤติกรรมผิดปกติต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ไม่ได้รักษาผู้ผิดปกติทางจิต และไม่ได้ฝึกบำบัดจิต ด้วยว่า แท้ที่จริงแล้ว เขาเป็นกลุ่มที่มีความแตกต่างและมีความสนใจเฉพาะมากมายหลายหลากเลยทีเดียว
ผู้ที่มีอาชีพเป็นนักจิตวิทยาจำนวนมาก จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มด้วยการเป็นสมาชิกสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ๑๘๙๒ และในปี ๒๐๐๑ สมาคมนี้ มีสมาชิกกว่า ๘๕,000 คน เป็นชาย ๕๓% เป็นหญิง การที่ มีแผนกมากถึง แผนก และแต่ละแผนกก็ยังประกอบด้วยกลุ่มความสนใจย่อย ๆ อีกมากมาย สะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายในเรื่องความสนใจในหมู่นักจิตวิทยานั้นมีอยู่มิใช่น้อย ตั้งข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้ว จิตวิทยาไม่ได้มีขอบข่ายเฉพาะที่แตกต่างกันมากมายนัก เพียงแต่ว่ามันมีหลายแขนง และทุกแขนงก็ใช้หลักจิตวิทยาพื้นฐานเดียวกัน สมาชิกของ บางรายไม่ได้มีความสนใจในความแตกต่าง แต่ก็มีอีกหลายรายซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มความสนใจเหล่านั้นมากกว่า 1 กลุ่ม Aตีพิมพ์วารสารหลายฉบับ เนื่องจากเห็นว่าวารสารเป็นสื่อกลางในอันที่จะช่วยให้นักจิตวิทยาทั้งหลายแจ้งข่าวการค้นพบต่าง ๆ ทางการวิจัยถึงนักวิชาการอื่น ๆ นอกจากนั้น APA ก็ยังจัดให้มีการประชุมทั้งในระดับภาคพื้น และระดับชาติ กำหนดมาตรฐานการอบรมผู้จบการศึกษาทางด้านจิตวิทยาบางด้าน ( ได้แก่ จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการให้คำปรึกษา และ จิตวิทยาในโรงเรียน ) พัฒนาและบังคับใช้กฎจรรยาบรรณอาชีพ ตลอดจนช่วยหางานให้แก่นักจิตวิทยาด้วย ในปี ๑๙๘๘ ได้มีการก่อตั้งสมาคม ขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ทั้งสมาชิกและจุดยืนสำคัญของ ได้โน้มเอียงไปในแนวจิตวิทยาการดูแลสุขภาพ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวินัยจิตวิทยาให้ก้าวหน้าขึ้น โดยเริ่มจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมนี้เป็นนักวิชาการทางด้านจิตวิทยา
ผู้ที่มีอาชีพเป็นนักจิตวิทยาจำนวนมาก จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มด้วยการเป็นสมาชิกสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ๑๘๙๒ และในปี ๒๐๐๑ สมาคมนี้ มีสมาชิกกว่า ๘๕,000 คน เป็นชาย ๕๓% เป็นหญิง การที่ มีแผนกมากถึง แผนก และแต่ละแผนกก็ยังประกอบด้วยกลุ่มความสนใจย่อย ๆ อีกมากมาย สะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายในเรื่องความสนใจในหมู่นักจิตวิทยานั้นมีอยู่มิใช่น้อย ตั้งข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้ว จิตวิทยาไม่ได้มีขอบข่ายเฉพาะที่แตกต่างกันมากมายนัก เพียงแต่ว่ามันมีหลายแขนง และทุกแขนงก็ใช้หลักจิตวิทยาพื้นฐานเดียวกัน สมาชิกของ บางรายไม่ได้มีความสนใจในความแตกต่าง แต่ก็มีอีกหลายรายซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มความสนใจเหล่านั้นมากกว่า 1 กลุ่ม Aตีพิมพ์วารสารหลายฉบับ เนื่องจากเห็นว่าวารสารเป็นสื่อกลางในอันที่จะช่วยให้นักจิตวิทยาทั้งหลายแจ้งข่าวการค้นพบต่าง ๆ ทางการวิจัยถึงนักวิชาการอื่น ๆ นอกจากนั้น APA ก็ยังจัดให้มีการประชุมทั้งในระดับภาคพื้น และระดับชาติ กำหนดมาตรฐานการอบรมผู้จบการศึกษาทางด้านจิตวิทยาบางด้าน ( ได้แก่ จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการให้คำปรึกษา และ จิตวิทยาในโรงเรียน ) พัฒนาและบังคับใช้กฎจรรยาบรรณอาชีพ ตลอดจนช่วยหางานให้แก่นักจิตวิทยาด้วย ในปี ๑๙๘๘ ได้มีการก่อตั้งสมาคม ขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ทั้งสมาชิกและจุดยืนสำคัญของ ได้โน้มเอียงไปในแนวจิตวิทยาการดูแลสุขภาพ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวินัยจิตวิทยาให้ก้าวหน้าขึ้น โดยเริ่มจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมนี้เป็นนักวิชาการทางด้านจิตวิทยา
หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ ๒๕00 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม ในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. ๒๔๗๓ เล็กน้อย และในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ก็มีการสอนจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งใน ๕ วิชา ของการสอนวิชาครุศาสตร์ใน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ กระทรวงศึกษาธิการด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ความต้องการที่พึ่งอันประเสริฐ
พุทธศาสนา นอกจากจะสอนหลักธรรมอันเป็นธรรมจริยาในการดำเนินชีวิต ในด้านเศรษฐกิจได้เน้นในแง่ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาสำหรับเป็นแนวทางในการผลิตและบริโภค อันเป็นสารัตถะของเศรษฐกิจไม่ให้ตกเป็นทางแห่งความโลภ ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเสนอหลักคำสอนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจไว้ ๒ ขั้น
๑)ขั้นสนอง (To Satisfy) คือ สนองความต้องการปัจจัย ๔ อันเป็นเครื่องอาศัยเพื่อให้ชีวิตปลอดภัย โดยการสอนให้ตั้งตัวได้ในทางเศรษฐกิจ พยายามยกฐานะของตนให้สูงขึ้นด้วยความขยันหมันเพียร รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ รู้จักคบเพื่อนที่ดีและความรู้จักประมาณตนในการใช้จ่าย ในขั้นนี้พระพุทธศาสนาสอนย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจมาคู่กับสังคมและศีลธรรม
(ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์)
๒)ขั้นบำบัด (To Subdue) เป็นการสอนให้ชนะความอยากอันไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอให้อยู่เหนือความยาก ไม่ตกเป็นทาสของความอยากอย่างรุนแรง และสอนให้รู้จักการประมาณในการบริโภค (โภชเนมัตตัญญุตา) หลีกเลี่ยงการบริโภคอย่างฟุ่มเฟื่อย อันจะเป็นการทิ้งเชื่อลงในไฟ ซึ่งมีแต่จะกระโหมหนักยิ่งขึ้น ในที่สุดก็เป็นการวิ่งตามความอยากอันไม่มีที่สิ้นสุด
ในขั้นนี้ พระพุทธศาสนาได้วางหลักการไว้ดังนี้
ความทะยานอยากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์และปัญหาต่าง ๆ การดับความทะยายอยากเสียได้ และรู้จักประมาณในการบริโภคเป็นการดับทุกข์และดับปัญหา
บุคคลผู้ยังไม่ตกเป็นทาสของความทะยานอยากที่เกิดขึ้นเพียงใด ก็ยังมีความเจริญได้ไม่เสื่อมเพียงนั้น
และเพื่อเน้นการก้าวไปสู่ขั้นสูงกว่าเศรษฐกิจทางโลกหรือขั้นสนองอีกขั้นพระพุทธศาสนาได้สอนเรื่องทรัพย์อันประเสริฐ (อริยทรัพย์) อันเป็นทรัพย์ภายในจิตใจ 7 ประการ คือ
๑.เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ (ศรัทธา)
๒.รักษา กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย (ศีล)
๓.ละอายต่อบาปทุจริต (หิริ)
๔.เกรงกลัวต่อบาปทุจริต (โอตตัปปะ)
๕.สดับตรับฟังหรือเล่าเรียนมาก (พาหุสัจจะ)
๖.รู้จักเสียสละ (จาคะ)
๗.มีปัญญารอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (ปัญญา)
พระพุทธศาสนาเน้นทรัพย์ภายในนี้ว่าเป็นพื้นฐานและคุณธรรมภายในจิตใจที่ทำให้ผู้ลงทุนผลิตและผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม เป็นเหตุทำให้ทรัพย์ภายนอกหรือทรัพย์ที่เป็นรูปธรรมมั่นคงถาวร ตั้งอยู่ได้
ดังนั้น หลักการทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ จึงเป็นการสอนให้มีเจตนาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะสมทรัพย์เพื่อความร่ำรวยจนเกินความจำเป็น แต่เน้นให้เป็นแบบพ่อเพียงกับตนเอง คือไม่ประสงค์จะให้มีการสะสมความมั่งคั่งไปสร้างความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและส่วนรวมในลักษณะเป็นทาสของตัณหา และพร้อมกันนั้นก็สอนให้ควบคุมจิตมิให้ใฝ่หาสิ่งที่เกินความจำเป็น เพื่อความสุดยอดแห่งอัตตา คือเมื่อสรุปแล้วก็คือทั้งอุปสงค์และอุปทานจะต้องอยู่บนฐานแห่งสัมมาทิฏฐินั้นเอง
ประสบการณ์พฤติกรรมและความเชื่อทางศาสนา
คำว่า “ พฤติกรรม ” คือ ตัวการปฏิบัติหรือตัวการกระทำที่แสดงออกมาอันเป็นไปเพื่อการแสดงออกตามลักษณะของสิ่งเร้านั้นๆ หรือสิ่งที่สัตว์นั้น ๆ ไม่พึงปรารถนาหรือพอใจอย่างสูงสุด
พฤติกรรมศาสนา แบ่งออกได้ เป็น ๒ ระดับ คือ
๑)ระดับสัญชาตญาณ (Instinctive Religion) คือ การเกลียดกลัวต่ออันตราย มีความรู้สึกที่จะหลบลี้หนีอันตราย เพราะสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมี สัญชาตญาณรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทุกตัวตน
๒)ระดับมนุษยธรรม (Humanistic Religion) คือ การกระทำที่สูงขึ้นกว่าระดับสัญชาติญาณซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์เริ่มตั้งแต่คนป่าคนเจริญแล้ว จนกระทั่งท่านตรัสรู้อุบัติขึ้นมาในโลกซึ่งระบบวิธีการกระทำเพื่อพ้นจากอันตรายของตนอันละเอียดสุขุมยิ่งขึ้น
พุทธศาสนาและมโนภาพของจิตวิทยาสมัยใหม่มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจิตใจและสุขภาพจิตแต่ก็ยังมีความแตกต่างบางอย่างที่ควรได้รับความสนใจ ความไม่เหมือนกันที่ควรศึกษาคือ
๑)ในส่วนที่เกี่ยวกับ ความประสงค์ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต จิตวิทยาร่วมสมัยเป็นผลิตผลของอารยะธรรมแผนใหม่ และประกอบด้วยวิทยาการใหม่ ๆ
จิตวิทยาจึงจำเป็นต้องรับบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาของมนุษย์ จุดประสงค์ที่สำคัญคือ การช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของตน ส่วนจุดประสงค์ของพุทธศาสนาก็คือ การช่วยให้คนที่ปกติหรือคนที่มีสุขภาพจิตดีอยู่แล้วมีภาวะทางจิตที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนบรรลุระดับสูงสุดของพัฒนาการทางจิตใจ คือ ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
๒)ในส่วนที่เกี่ยวกับ ตัณหา จิตวิทยามีทัศนะว่ามนุษย์เป็นระบบพลังงานอันซับซ้อนและเต็มไปด้วยแรงขับที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลามนุษย์พยายามอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้บรรลุสภาวะของความสงบซึ่งเป็นจุดหมายที่สำคัญ แรงจูงใจ หรือความต้องการ เป็นพลังงานที่สำคัญที่ผลักดันให้มนุษย์มีพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมาย
ตัณหา ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม แม้แต่ความต้องการที่จะบรรลุสภาวะจริงแท้แห่งตน ซึ่งเป็นแรงจูงใจระดับที่สูงสุดตามทัศนะของจิตวิทยา สามารถทำลายลงได้โดยใช้หลักการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ นับแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อขุดถอนรากเหง้าของตัณหาทุกชนิดให้หมดสิ้นไป จึงกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ที่สุด คือผู้ที่สามารถทำลายตัณหาทุกอย่างได้โดยเด็ดขาด
๓)ในส่วนที่เกี่ยวกับระดับ จิตวิทยามีวิวัฒนาการเรื่อยมา นับตั้งแต่ยุคก่อนวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจิตวิทยาสมัยใหม่มีทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์มากมาหลายอย่างก็ตาม แต่ความรู้ทั้งหมดก็ยังจำกัดหรือวนเวียนอยู่ในระดับโลกิยะพุทธปรัชญาสอนให้มนุษย์รู้จักพัฒนาตนเองแลสามารถเอาชนะทุกข์ได้ตามลำดับขั้นจนอยู่เหนือโลกหรือถึงระดับโลกุตตระ
๔)เกี่ยวกับตัวบุคคล มนุษย์มีความพอใจอย่างมากต่อการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย เช่น อาหารและเพศจนเกินขอบเขต วิถีชีวิตก็คงไม่แตกต่างกับสัตว์ มนุษย์ต้องรู้จักใช้ตัณหาให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ไม่ปล่อยให้ตัณหามาเป็นเจ้านายหรือมีอิทธิพลเหนือเรา
ศาสนาแบบเทวนิยม
มนุษย์เราเกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมนานาชนิด เรามีประสาททั้งห้า เป็นสื่อสำหรับสัมผัสสภาพแวดล้อมเหล่านั้น แต่ก็ไม่สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมรอบกายเราได้ทั้งหมด บางสิ่งอยู่สุดสายตาที่เราจะรับรู้ได้ ธรรมชาติบางอย่างเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ บางอย่างสร้างความเสียหายต่อมนุษย์ เช่น น้ำท่วม พายุพัดทำลายบ้านเมือง ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้มนุษย์เกิดความกลัว แล้วจึงหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ฉะนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดศาสนาเพื่อความอบอุ่นทางด้านจิตใจและต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงปฐมกำเนิดศาสนาที่ไม่มีศาสดากล่าวคือ
ปฐมกำเนิดศาสนาไม่มีศาสดา มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนาประเภทนี้ก็คือความกลัว พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ไว้ในอรรถกถาธรรมบทว่า “มนุษย์เป็นจำนวนมาก เมื่อถูกความตายคุกคาม ประสบความเดือดร้อน มักจะเข้าไปหาต้นไม้ ภูเขา จอมปลวก เป็นที่พึ่ง เพื่อขจัดภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐเลย แต่การเข้าถึงอริยสัจ ๔ นั้นเป็นของประเสริฐสุด ที่ยกขึ้นมาอ้างนั้นเป็นที่แน่นนอนว่าคนเรานั้นเมื่อได้รับความเดือดร้อนมักจะเข้าหาสิ่งที่ตนเองว่าศักดิ์สิทธิ์แน่ๆ ในที่สุดเราก็ได้ข้อสรุปว่าการอ้อนวอนเป็นการเริ่มต้นศาสนาของมนุษย์ที่กล่าวนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่อาจจะเป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังมีอีกจุดหนึ่งที่อาจเป็นจุถดเริ่มต้นของศาสนาก็ได้คือ การทำพิธีกรรมเกี่ยวกับผู้ตายซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์เชื่อกันว่า เมื่อคนเราตายแล้ววิญญาณยังอยู่ และเชื่อต่อไปว่าวิญญาณที่เหลืออยู่นั้น คงจะต้องกินอาหารเหมือนตอนมีชีวิตอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงนำเอาข้าวปลาอาหาร และเครื่องใช้ใส่โลงไปให้ด้วยความเชื่อเรื่องวิญญาณดูเหมือนจะเป็นความเชื่อที่มีเหตุผลหรือเป็นสัจจะอย่างหนึ่งที่กล่าวเช่นนี้ก็เนื่องมาจากว่า มนุษย์ทุกเหล่าไม่ว่าผู้เจริญแล้ว หรือผู้ที่อยู่ในอารยะธรรมที่ป่าเถื่อน ล้วนนับถือวิญญาณ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผีทั้งสิ้น หลักคณิตศาสตร์มีว่าสองบวกสิองจะต้องเป็นสี่เสมอ ไม่ว่าใครจะบวกก็ตามหลักนี้เป็นสัจจะ ดังนั้นการนับถือผีจึงชวนให้คิดว่าน่าจะเป็นสัจจะ สังเกตดูได้ว่า คนทุกท้องถิ่น อยู่ไกลกันสุดหล้าฟ้าเขียว ล้วนนับถือผีด้วยกันทั้งนั้น จะต่างกันเฉพาะชื่อที่เรียกเท่านั้น สภาพของผีหรือวิญญาณที่มนุษย์นับถือนั้นโดยความรู้สึกของคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ล่องลอย ไม่มีร่างกายอยู่อาศัย แต่ความจริงพระพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า พวกผีหรือพวกวิญญาณนั้นเป็นพวกมีร่างกายเป็นทิพย์ ไม่ใช่ผีเฉพาะวิญญาณตามความรู้สึกของคนทั่วไป จัดเป็นสัตว์จำพวกหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าพวกมีกายละเอียดหรือมีกายทิพย์ การที่พระพุทธศาสนากล่าวถึงวิญญาณนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
ปฐมกำเนิดศาสนามีศาสดา ศาสนาประเภทนี้เป็นศาสนาประเภทที่มีผู้ตั้งขึ้นที่ท่านเรียกว่า ศาสดา ซึ่งแปลว่า ผู้สอนในศาสนาเทวนิยมจะถือว่าเป็นทูตสวรรค์นำคำสอนของพระผู้เป็นเจ้ามาบอกมนุษย์ ศาสนาเหล่านี้ได้แก่ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาซิกข์ กำเนิดศาสนาประเภทนี้เรารู้ปฐมกำเนิดแน่นอน เพราะมีตัวบุคคลผู้ก่อตั้งเป็นหลักฐาน
วิวัฒนาการของศาสนา
กำเนิดศาสนาที่ไม่มีศาสดาก่อตั้งที่ได้กล่าวข้างต้น อาจสรุปได้ ๒ จุดคือ ความเชื่อเรื่องวิญญาณและความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเนื่องมาจากความกลัวภัยธรรมชาติที่สร้างความวิบัติ จาก ๒ จุดนี้ได้สร้างความเชื่อถือ ๒ สาย คือ สายหนึ่งสร้างความเชื่อเรื่องวิญญาณไม่ตาย ตลอดจนเกิดความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดของวิญญาณ อีกสายหนึ่งสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นพระเจ้าผู้ไร้อำนาจสร้างศาสนาที่สร้างสรรพสิ่งภายในโลก ดังนั้นในหัวข้อเรื่องวิวัฒนาการศาสนาจะมีเรื่องที่ต้องศึกษา ๒ เรื่อง คือ
๑. การวิวัฒนาการของความเชื่อเรื่องวิญญาณ
๒. การวิวัฒนาการของความกลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จะกล่าวโดยสรุปทั้งบทของบทที่ ๒ ได้ดังนี้ กล่าวคือ ปฐมกำเนิดศาสนาเทวนิยม มีแนวกำเนิด ๒ สาย คือ
๑. ปฐมกำเนิดศาสนาไม่มีศาสดา
๒. ปฐมกำเนิดศาสนามีศาสดา
การวิวัฒนาการของศาสนาเทวนิยมได้วิวัฒนาการออกไป ๒ สาย คือ
๑. การวิวัฒนาการของความเชื่อเรื่องวิญญาณ
๒. การวิวัฒนาการของความกลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พิธีกรรมของศาสนามี ๒ ประเภท คือ
๑. พิธีกรรมเชิญผีเข้าทรงของไทย
๒. พิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณบรรพบุรุษ
ศาสนาแบบอเทวนิยม
ศาสนาประเภทอเทวนิยม หมายถึง ศาสนาที่ไม่ยอมรับว่ามีพระผู้สร้างโลก และสร้างสรรพสิ่ง ศาสนาประเภทดังกล่าวนี้มรศาสนาพุทธและศาสนาเชนเท่านั้น ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่ปฏิบัติอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า ทรมานตนให้ลำบาก ตัวอย่างเช่น นักบวชในศาสนานี้ต้องไม่นุ่งผ้า แม้แต่ตัวศาสดาเองก็เป็นชีเปลือยเช่นกัน เพราะการปฏิบัติดังกล่าวจึงทำให้ศาสนาไม่แพร่หลายออกนอกอินเดีย
สำหรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในประเทศอินเดียและร่วมสมัยอยู่กับศาสนาเชนเช่นเดียวกัน ศาสนาทั้ง ๒ นี้มีหลักการตรงกันในเรื่องนั้น การกระทำของมนุษย์ไม่สอนให้หวังพึ่งพระเจ้า และก็ไม่สอนว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก มนุษย์ ดังนั้น ศาสนาทั้ง ๒นี้จึงถูกเรียกว่าอเทวนิยม
เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำประเทศไทยถือว่ามีความจำเป็นเฉพาะหน้าที่ทุกคนควรจะศึกษาในฐานะเป็นชาวพุทธ และในฐานะที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ค้นพบกฏของหลักธรรม ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น พระพุทธศาสนาปฏิเสธพระเจ้าสร้างโลก แต่ไม่ปฏิเสธความมีอยู่ของเทพเจ้า แต่การยอมรับการมีเทพเจ้าของพระองค์นั้นเป็นการยอมรับโดยการค้นพบด้วยพระองค์เอง ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้หลายแห่งว่า “เราตถาคตได้ค้นพบโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก และพรหมโลก ด้วยตัวของเราเองแล้ว เราตถาคตจะไม่ประกาศว่าเราได้ค้นพบโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก และพรหมโลก” จากพุทธพจน์ที่ยกขึ้นมาสรุปได้ว่า ศาสนาเทวนิยมที่ได้กล่าวกำเนิดมาแล้วนั้น ล้วนมีประสบการณ์เรื่องวิญญาณ มาอย่างเลื่อนลอย แต่สำหรับพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเรื่องวิญญาณหรือพวกทิพย์มาด้วยพระองค์เอง เราจึงควรมีพิจารณากันว่ากำเนิดของพระพุทธศาสนามีความเป็นมาอย่างไร ตามที่เราได้ศึกษามาในกำเนิดศาสนาเทวนิยมนั้น เราจะเห็นว่า กำเนิดเริ่มมาจากการคาดคะเน ว่าวิญญาณของมนุษย์ไม่ตายไปตามร่างกายของมนุษย์ แล้วความเชื่อนั้นก็วิวัฒนาการเป็นศาสนานับถือวิญญาณ และนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพระเจ้า ตลอดระยะเวลาของการวิวัฒนาการของศาสนาเหล่านี้ มีนักศึกษาหรือนักการศาสนาหลายคนได้เพิ่มเติมหลักการต่างๆ กันเป็นช่วงๆ พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ มีศาสดาที่ไม่ปรากฏนาม เพิ่มหลักการขึ้นมาอยู่เสมอจนถึงศาสนาเทวนิยมที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน แม้ศาสนาเทวนิยมที่มีศาสดาก่อตั้งก็ยอมรับพระรับที่คนรุ่นเก่าตั้งไว้ เช่น พระเยซูก็ยอมรับพระยะโฮวาที่ศาสนายูดายพูดไว้ ท่านนบีโมฮัมหมัดก็ยอมรับพระอัลเลาะห์ที่คนรุ่นเก่าของท่านสร้างขึ้น
สำหรับศาสนาพุทธมิใช่เป็นเช่นนั้น พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธคำสอนของศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนกำลังนับถืออยู่ในสมัยที่พระองค์อุบัติขึ้นมา พระองค์ค้นพบหลักการของพระองค์ใหม่ ประกาศคำสอนใหม่ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ แต่ก็มีคำสอนของศาสนาพราหมณ์บางเรื่องที่เป็นสัจจะ พระองค์ก็ยอมรับคำสอนศาสนาพราหมณ์ประเภทนั้นว่าเป็นจริง และที่พระพุทธองค์ยอมรับความจริงบางอย่างของศาสนาพราหมณ์นั้น มิใช่ยอมรับตามศาสนาพราหมณ์ เช่น ศาสนาพราหมณ์สอนให้เรื่องเทพเจ้ามีอยู่จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยอมรับว่ามีจริง แต่พระองค์ค้นพบด้วยทิพจักษุของพระองค์เองแล้วจึงยอมรับว่ามีอย่างนั้น มิใช่ยอมรับตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ตามหลักพระพุทธศาสนาท่านว่า พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาได้ แต่ละพระองค์นั้นต้องบำเพ็ญบารมีถึงสี่อสงไขยแสนกัป จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดมาได้แต่ละครั้งนั้นแสนยาก ฉะนั้นการศึกษากำเนิดของพระพุทธศาสนาจึงควรเริ่มแต่ที่พระพุทธองค์ ทรงบำเพ็ญบารมีที่เราเรียกกันว่าชาดก การศึกษาเรื่องบำเพ็ฐบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเป็นการปูเรื่องเพื่อวิจารณ์ในบทที่ ๔ ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องลึกลับในวงการศาสนาต่างๆ เพราะนิทานชาดกมีคนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่าเป็นเรื่องไม่จริง ความจริงจะเป็นอย่างไร เราไปพิจารณากันในบทที่ ๔ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ในบทที่ ๓ ซึ่งว่าด้วยกำเนิดพระพุทธศาสนาจึงมีหัวเรื่องเพื่อศึกษา ๓ ประการ คือ
๑. ภูมิหลังของพระพุทธศาสนา
๒. กำเนิดพระพุทธศาสนา
๓. วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนา
ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่แสดงออกตามแนวการปฏิบัติของศาสนา
หลักธรรมส่วนหนึ่งในพระพุทธศาสนา จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ แต่นั่นเป็นความคล้ายคลึงในบางแง่เท่านั้น มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ ดังนี้
ความรู้ในพระพุทธศาสนาทั้งหมด มีจุดมุ่งหมายหลักที่การนำไปใช้กลั่นกรองปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น หลักคำสอนในโอวาทปาฏิโมกข์ที่ว่า
๑)ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒)ทำความดีให้บริบูรณ์
๓)ชำระจิตใจให้ผ่องใส
ประโยชน์ของความรู้ในทัศนะของพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑)ประโยชน์อันเกิดจากการนำความรู้นั้นมาสร้างความสะดวกสบายในชีวิต
๒)ประโยชน์อันเกิดจากการที่ความรู้นั้น ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพชีวิต
วิทยาศาสตร์เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ วิทยาศาสตร์เชื่อว่าคนสามารถเอาชนะธรรมชาติได้ แรกทีเดียววิทยาศาสตร์อาจมุ่งเอาชนะธรรมชาติส่วนที่เป็นสิ่งบั่นทอนชีวิตของมนุษย์ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปยาวนาน วิทยาศาสตร์ก็เริ่มหันเหการทำงานส่วนหนึ่งออกไป เพื่อสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น ซึ่งถือว่ามีความแตกต่างจากพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิงในประเด็นนี้
วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องสสาร เรื่องที่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ดังนั้นรากฐานทางอภิปรัชญาของวิทยาศาสตร์ จึงได้แก่แนวคิดแบบสสารนิยม
นักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น นิวตัน เชื่อในสิ่งเร้นลับที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น พระเจ้า จิต วิญญาณ แต่นักวิทยาศาสตร์ของคนบางคนได้มีความเชื่อในเรื่องของจิต วิญญาณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิทยาศาสตร์ไม่อนุญาตให้เราใส่เรืองที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยประสาทสัมผัสปะปนลงไปในเนื้อหาของวิทยาศาสตร์
ส่วนพุทธศาสนาเป็นที่ทราบกันดีว่า มีรากฐานทางอภิปรัชญาแบบจิตนิยม พุทธศาสนาเชื่อว่าภายในจักวาลนี้นอกจากวัตถุแล้ว ยังมีสิ่งอื่นทีมิใช่วัตถุรวมอยู่ด้วย แนวคิดแบบจิตนิยมของพุทธศาสนา อาจดูได้จากการสอนเรื่องาขันธ์ ๕ พุทธศาสนาเชื่อว่าคนเราประกอบด้วยกายกับขันธ์อื่นอีก ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ๔ ขันธ์หลังนี้ไม่ใช่สสาร หากแต่เป็นนามธรรม
ดังนั้นในทรรศนะของพุทธศาสนา การที่คนเราคิดได้ มีอารมณ์ความรู้สึก มีจินตนาการ มีความรัก ความเกลียด ความโกรธ ความโลภ ก็เพราะเรามีจิตซึ่งแตกต่างห่างจากกาย คนไม่ใช่กลุ่มก้อนของสสารอย่างที่ลัทธิสสารนิยมเชื่อ
ความแตกต่างระหว่างรากฐาน เป็นเรื่องสำคัญที่คนอ้างบ่อย ๆ ว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์บ้าง พุทธศาสนาเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์บ้าง การอ้างอย่างนั้นแม้จะเกิดจากความหวังดีและต้องการที่จะเชิดชูพุทธศาสนา แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง
ความรู้ในพุทธศาสนา อาจพิสูจน์ตรวจสอบได้เหมือนกับความรู้ในวิทยาศาสตร์ เพราะต่างก็เป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อาจตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสและมีเหตุผลเหมือนกัน แต่นั้นไม่จำเป็นว่าพุทธศาสนาจะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ หรือเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ รากฐานของสอง ความรู้นี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อสาวให้ลึกลงไปถึงที่สุดแล้ว วิทยาศาสตร์นั้นเองคือสิ่งที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงต่อพุทธศาสนา
ไม่ว่ายุดใดสมัยใดสิ่งที่มนุษย์ปรารถนามากที่สุดก็คือ ความสุข มนุษย์ทุกคนต่างดิ้นรนและไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้ แม้แต่ทารกที่เพิ่งคลอดออกมาดูโลกอันกว้างใหญ่ สิ่งที่เด็กต้องการคือความสุข จากการที่มีอะไรบางอย่างไปกระตุ้นริมฝีปาก เช่น การดูดนม ฟรอย์ด (Freuld) เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ทุกคนมีแรงขับซึ่งเป็นความต้องการสำหรับความอยู่รอด
แรงขับ (drives) แรงจูงใจ (motives) หรือความต้องการ (needs) มีลักษณะเป็นวัฏฏจักรเช่นเดียวกับความหิว (hunger) ซึ่งเป็นแรงขับอย่างหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในการแสวงหาอาหาร พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้ไปสู่เป้าหมาย คืออาหาร เมื่อรับประทานอาหารแล้วความหิวก็หายไป และความอิ่มเข้ามาแทนที่
เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าความสุขและความทุกข์เป็นของคุ่กันและไม่อาจแยกออกจากกันได้โดยสิ้นเชิง ตั้งอยู่และดับไป ถ้ามองในทรรศนะของการ
เกิดและดับแล้ว ทั้งความสุขและความทุกข์จึงมีสภาพเหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งความสุขก็คือความทุกข์ในลักษณะหนึ่งนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น