วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ส่วนที่ ๑ เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการจารึก พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑

ส่วนที่ ๑ เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการจารึก
พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑
-----------------------------------
(จากหนังสือพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา)
-----------------------------------      
         ในปีวอกสัมฤทธิศกนั้น พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชรำพึงถึงพระไตรปิฎกธรรมอันเป็นมูลราก แห่งพระปริยัติศาสนา ทรงพระราชศรัทธาพราะราชทานพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ให้เป็นค่าจ้างช่างจารจารึกพระไตรปิฎกลงลาน แต่บรรดามีฉบับในที่ใด ๆ ที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญก็ให้ชำระ แปลออกเป็นอักษรขอม สร้างขึ้นใส่ตู้ไว้ในหอพระมนเทียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ให้เล่าเรียนทุก ๆ พระอารามแลวงตามความปรารถนา จึงเจ้าหมื่นไวยวรนาถกราบทูลว่า พระไตรปิฎก ซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างขึ้นไว้ทุกวันนี้ อักษรบทพยัญชนะตกวิปลาสอยู่แต่ฉบับเดิมมา หาผู้จะทำนุบำรุงตกแต้มดัดแปลงให้ถูกต้องบริบูรณ์ขึ้นมิได้ ครั้นได้ทรงสดับก็ทรงพระปรารภว่า พระบาลอรรถกถา ฎีกาพระไตรปิฎกทุกวันนี้ เมื่อผิดเพี้ยนวิปลาสอยู่เป็นอันมากฉะนี้ จะเป็นเค้ามูลพระปฏิปัตติศาสนา ปฏิเวธศาสนานั้นมิได้ อนึ่งท่านผู้รักษาพระไตรปิฎกมีอยู่ทุกวันนี้ก็น้อยมาก ถ้าสิ้นท่านเหล่านี้แล้ว เห็นว่า พระปริยัติศาสนาและปฏิปัตติศาสนา และปฏิเวธศาสนา จะเสื่อมศูนย์เป็นอันเร็วนัก สัตว์โลกทั้งปวงจะหาที่พึ่งมิได้ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ควรจะทำนุบำรุงพระวรพุทธศาสนาไว้ให้ถาวรวัฒนาการเป็นประโยชน์ ไปแก่เทพามนุษย์ทั้งปวง จึงจะเป็นทางพระบรมโพธิญาณบารมี ครั้นทรงพระราชดำริฉะนี้แล้ว จึงให้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวร ฯ เป็นประธาน บนพระที่นั่งอมรินทรา ภิเษกมหาปราสาท ให้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะฐานานุกรมบาเรียนร้อยรูปมารับพระราชทานฉัน ครั้นเสร็จสงฆภุตตากิจแล้ว สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึ่งทรงถวาย นมัสการดำรัสเผดียงถาม พระราชาคณะทั้งปวงว่า พระไตรปิฎกธรรมทุกวันนี้ ยังถูกต้องบริบูรณ์อยู่หรือพิรุธผิดเพี้ยนประการใด จึ่งสมเด็จพระสังฆราชพระราชาคณะทั้งปวง พร้อมกันถวายพระพรว่า พระบาลี และ อรรถกถาฎีกาพระไตรปิฎกทุกวันนี้พิรุธมากมาช้านานแล้ว หากษัตริย์พระองค์ใดจะทำนุกบำรุงเป็นศาสนูปถัมภกมิได้ แต่กำลังอาตมภาพทั้งปวงก็คิดจะใคร่ทำนุกบำรุงอยู่เห็นจะไม่สำเร็จ และกาลเมื่อ สมเด็จพระสรรเพชญพระพุทธองค์ผู้ทรงพระทัศอรหาทิคุณอันประเสริฐ เมื่อพระองค์เสด็จบรรทมเหนือพระมรณมัญจาพุทธาอาสน์ เป็นอนุฏฐานไสยาสน์ ณ หว่างนางรังทั้งคู่ในสาลวโนทยานแห่งพระยามลราช ใกล้กรุงสินาราราชธานี มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรสงฆ์ทั้งปวง พระธรรมวินัยอันใดทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ อันพระตถาคตเทศนาสั่งสอนท่าน เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว พระ ธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น จะเป็นครูสั่งสอนท่านและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างพระตถาคตแปดหมื่นสี่พันพระองค์ ตรัสมอบพระพุทธศาสนาไว้แก่พระปริยัติธรรมฉนี้แล้ว ก็เข้าสู่พระปรินิพพาน จำเดิมแต่สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้านิพพานถวายพระเพลิงแล้วเจ็ดวัน พระมหากัสสปเจ้าระลึกถึงถ้อยคำพระสุภัทรภิกษุแก่ กล่าวติเตียนพระบรมครูเป็นมูลเหตุจึงดำริห์การจะกระทำสังคานาย เลือกสรรพ พระสงฆ์ทั้งหลายล้วนพระอรหันต์ทรงพระจตุปฏิสัมภิทาญาณ กับพระอานนท์เป็นเสกขบุคคลพระองค์หนึ่งได้พระอรหัตต์ในราตรี รุ่งขึ้นจะทำสังคายนายพอครบห้าร้อยพระองค์ มีพระเจ้าอชาตสัตรูเป็นศาสนู ถัมภก กระทำสังคายนายพระไตรปิฎกในพระมณฑป แถบถ้ำสัตตบรรณคูหา ณ เขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร เจ็ดเดือนจึงสำเร็จการปฐมสังคายนาย.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๑๐๐ ปี ภิกษุชาววัชชีคามเป็นอลัชชี สำแดงวัตถุสิบประการ กระทำผิดพระวินัยบัญญัติ และพระมหาเถร ขีณาสพแปดองค์ มีพระยศเถรเป็นต้น พระเรวัตเถรเป็นปริโยสาน ชำระทศวัตถุอธิกรณ์รำงับ ยังพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิแล้วเลือกพระอรหันต์อันทรงพระปฏิสัมภิทาญาณเจ็ดร้อยพระองค์ มีพระสัพพากามิเถรเจ้า เป็นประธาน กระทำสังคายนายพระไตรปิฎกในวาลุการามวิหาร ใกล้เมืองเวสาลี มีพระเจ้ากาลาโสกราชเป็นศาสนูปถัมภก แปดเดือนจึงสำเร็จการทุติยสังคายนาย.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๒๑๘ ปี ครั้งนั้นเหล่าเดียรถีย์เข้าปลอมบวชในพระศาสนา จึงพระโมคคลีบุตรดิสเถรเจ้ายังพระเจ้าศรีธรรมา โศกราชให้เรียนรู้ในพุทธสมัย แล้วชำระสึกเดียรถีย์เสียถึงหกหมื่น ยังพระศาสนาให้บริสุทธิแล้ว พระโมคคลีบุตรดิสเถร จึงเลือกพระอรหันต์อันทรงพระปฏิสัมภิทาญาณพันพระองค์ กระทำสังคายนายพระไตรปิฎก ในอโสการามวิหาร ใกล้กรุงปาตลีบุตรมหานคร มีพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นศาสนูปถัมภก เก้าเดือนจึงสำเร็จการตติยสังคายนาย.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๒๓๘ ปี จึงพระมหินทเถรเจ้าออกไปสู่ลังกาทวีป บวชกุลบุตรให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม คือหยั่งราก พระพุทธศาสนาลงในเกาะลังกาแล้ว พระขีณาสพทั้งสามสิบแปดพระองค์มีพระมหินทเถร และพระอริฏฐเถรเป็นประธาน กับพระสงฆ์ซึ่งทรงพระปริยัติธรรมร้อยรูป กระทำสังคายนายพระไตรปิฎก ในมณฑป ถูปารามวิหาร ใกล้กรุงอนุราธบุรี มีพระเจ้าเทวานัมปิยดิสเป็นศาสนูปถัมภก สิบเดือนจึงสำเร็จการจตุตถสังคายนาย.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๔๓๓ ปี ครั้งนั้นพระอรหันต์ทั้งปวงในลังกาทวีป พิจารณาเห็นว่าพระพุทธศาสนาจะเสื่อมลง เหตุพระสงฆ์ ซึ่ง ทรงพระไตรปิฎกขึ้นปากเจนใจนั้น เบาบางลงกว่าแต่ก่อน จึงเลือกพระอรหันต์อันทรงพระปฏิสัมภิทาญาณ และพระสงฆ์ปุถุชนผู้ทรงพระปริยัติมากกว่าพัน ประชุมกันในอภัยคิรีวิหาร ใกล้เมืองอนุราธบุรี มีพระเจ้าวัฏฏ คามินีอภัยเป็นศาสนูปถัมภก กระทำพระมณฑปถวาย ให้กระทำสังคายนายพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงลานทั้งพระบาลีและอรรถกถาเป็นสิงหฬภาษา ปีหนึ่งจึงสำเร็จการปัญจมสังคายนาย.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๙๕๖ ปี จึงพระพุทธโฆษาเถรเจ้าออกไปแต่ชมพูทวีป แปลพระไตรปิฎกอันเป็สิงหฬภาษา จารึกลงลานใหม่ แปลงเป็นมคธภาษา กระทำในโลหปราสาท ณ เมืองอนุราธบุรี มีพระเจ้ามหานามเป็นศาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จ นับเนื่องในฉัฏฐสังคายนาย.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๑๕๘๗ ปี ครั้งนั้นพระเจ้าปรักมหาหุราชได้เสวยราชสมบัติในลังกาทวีป ย้ายพระนครจากอนุราธบุรีมาตั้งอยู่ ณ เมืองจลัตถิมหานคร จึงพระมหากัสสปเถรกับพระสงฆ์ปุถุชนมากกว่าพัน ประชุมกันชำระพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสิงหฬภาษาบ้าง มคธภาษาบ้าง แปลงแปลออกเป็นมคธภาษาทั้งสิ้น จารึกลงในลานใหม่ มีพระเจ้า ปรักพาหุราชเป็นศาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จบริบูรณ์ นับเนื่องเข้าในสัตมสังคายนาย เบื้องหน้าแต่นั้นมาจึงพระเจ้าธรรมา ผู้เสวยาชสมบัติ ณ เมืองอริมะทะนะบุรี คือเมืองพุกาม เสด็จออกไปลอกพระไตรปิฎกในลังกา ทวีป เชิญใส่สำเภามายังชมพูทวีปนี้ แต่นั้นมาพระปริยัติธรรมจึงแผ่ไพศาล ไปในนานาประเทศทั้งปวง บรรดาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ นับถือพระรัตนตรัยนั้น ได้ลอกต่อ ๆ กันไปเปลี่ยนแปลงอักขระตามประเทศภาษาแห่งตน ๆ ก็ผิดเพี้ยนพิปลาสไปบ้างทุก ๆ พระคัมภีร์ ที่มากบ้างน้อยบ้าง.

               ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒,๐๒๐ ปี จึงพระธรรมทินเถรเจ้าผู้เป็นมหาเถรอยู่ ณ เมืองนพิสีนคร คือเมืองเชียงใหม่ พิจารณาเห็นพระไตรปิฎก พิรุธมาก ทั้งพระบาลี อรรถกถา ฎีกา จึงถวายพระพรแก่พระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราชาธิราช ผู้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ว่าจะชำระพระปริยัติให้บริบูรณ์ บรมกษัตริย์จึงให้กระทำมณฑปในมหาโพธารามวิหาร ในพระนคร พระธรรมทินเถรจึงเลือกพระสงฆ์ ซึ่งทรงพระไตรปิฎกมากกว่าร้อยประชุมกันในมณฑปนั้น กระทำชำระพระไตรปิฎก ตกแต้มให้ถูกถ้วนบริบูรณ์ ปีหนึ่งจึงสำเร็จ มีพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราชเป็นศาสนูปถัมภก นับเนื่องในอัฐมสังคายนายอีกครั้งหนึ่ง. เบื้องหน้าแต่นั้นมาพระเถรานุเถระในชมพูทวีปได้เล่าเรียนสร้างสืบต่อกันมา และท้าวพระยาเศรษฐีคหบดี ศรัทธาสร้างไว้ในเมืองสัมมาทิฏฐิทั้งปวง คือเมืองไทย, ลาว, เขมร, พม่า, มอญ, เป็นอักษรส่ำสมกันอยู่เป็นอันมาก หาท้าวพระยาและสมณะผู้ใดที่จะศรัทธา สามารถอาจจะชำระพระไตรปิฎกขึ้นไว้ ให้บูรณะดุจท่านแต่ก่อนนั้นมิได้มี ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒,๓๐๐ ปีเศษแล้ว บรรดาเมืองสัมมาทิฏฐิ ทั้งปวง ก็ก่อเกิดการยุทธสงครามแก่กัน ถึงพินาศฉิบหายด้วยภัยแห่งปัจจามิตร มีผู้ร้ายเผาวัดวาอารามไตรปิฎกก็สาบศูนย์สิ้นไป จนถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ถึงกาลพินาศด้วยภัยพม่าข้าศึก พระไตรปิฎก และเจดียฐานทั้งปวงก็เป็น อันตรายสาบศูนย์ สมณะผู้จะรักษาร่ำเรียนพระไตรปิฎกนั้นก็พลัดพรากล้มตายเป็นอันมาก หาผู้ใดที่จะเป็นที่พำนัก ป้องกันข้าศึกศัตรูมิได้ เหตุฉะนี้พระไตรปิฎกจึงมิได้บริบูรณ์ เสื่อมศูนย์ล่วงโรยมาจนตราบเท่ากาลทุกวันนี้.

               พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงดำรัสว่า ครั้งนี้ ขออาราธนา พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นจงได้ ฝ่ายอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนัน เป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติ บริบูรณ์เป็นมูลที่ตั้งพระพุทธศาสนาให้จงได้ พระราชาคณะทั้งปวงรับสาธุ แล้วถวายพระพรว่า อาตมภาพทั้งปวงมีสติปัญญาน้อยนัก ไม่เหมือนท่านแต่ก่อน แต่จะอุตสาหะชำระพระปริยัติสนองพระเดชพระคุณตามสติปัญญา และสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงทำนุกบำรุงพระพุทธศาสนาครั้งนี้ก็นับได้ชื่อว่า นวมะสังคายนาย คำรบเก้าครั้งจะยังพระปริยัติศาสนา ให้ถาวรวัฒนายืนยาวไปในอนาคตสมัยสิ้นกาลช้านาน แล้วถวายพระพรลา ออกมาประชุมพร้อมกัน ณ วัดบางว้าใหญ่ จึงสมเด็จพระสังฆราชให้เลือกสรรพระราชาคณะฐานานุกรมบาเรียน และอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกาได้บ้างนั้น จัดให้พระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก สามสิบสองคน จะกระทำการชำระพระไตรปิฎก จึงให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถ กราบบังคมทูลพระกรุณา สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึงมีพระราชดำรัสให้จัดแจงที่จะกระทำการสังคายนาย ณ วัดนิพพานาราม เหตุประดิษฐานอยู่หว่าง พระราชวังทั้งสอง และครั้งนั้นจึงพระราชทานนามใหม่ ให้ชื่อว่าวัดพระศรีสรรเพชดาราม และทรงพระมหาบริจาคพระราชทรัพย์แจกจ่าย เกณฑ์พระราชวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายใน ทั้งพระราชวังหลวง พระราชวังบวร ฯ วังหลัง ให้ทำสำรับคาวหวานถวายพระสงฆ์ซึ่งจะชำระพระไตรปิฎกทั้งเช้าทั้งเพล เพลาละสี่ร้อยสามสิบหกสำรับ ทั้งคาวทั้งหวาน พระราชทานเงินตราเป็นค่าขาทนียโภชนียาหารสำรับคู่ละบาท มีพระราชกำหนดให้นิมนต์พระสงฆ์ ประชุม พร้อมกัน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชดาราม ในวันกติกบุรณมีเพ็ญเดือนสิบสองในปีวอกสัมฤทธิศก พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒,๓๓๑ พระวัสสา เป็นพุธวารศุกลปักษ์ดฤถีเพลาบ่ายสามโมง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสอง พระองค์ ก็เสด็จพระราชดำเนินด้วยมหันตราชอิสริยบริวารยศ พร้อมด้วยเครื่องสูงและปี่กลองชนะแห่ออกจากพระราชวังไปยังพระอาราม เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงถวายนมัสการพระรัตนตรัยด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว อาราธนา พระพิมลธรรมให้อ่านคำประกาศเทวดาในท่ามกลางสงฆ์สมาคม ขออานุภาพเทพเจ้าทั้งปวงให้อุปถัมภนาการ ให้สำเร็จกิจมหาสังคายนายแล้วให้แบ่งพระสงฆ์ออกเป็นสี่กอง สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎกกองหนึ่ง พระวันรัตนเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎกกองหนึ่ง พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎกกองหนึ่ง พระพุฒาจารย์เป็นแม่กองชำระสัททาวิเศษกองหนึ่ง และครั้งนั้นพระธรรมไตรโลกเป็นโทษอยู่มิได้นับเข้าในสังคายนาย พระธรรมไตรโลกจึงทูลสมเด็จพระสังฆราช ขอเข้าช่วยชำระพระไตรปิฎกด้วย และพระสงฆ์ทั้งสี่กองนั้นทรงพระกรุณาโปรดให้นิมนต์แยกกันชำระพระปริยัติอยู่ ณ อุโบสถกองหนึ่ง อยู่ ณ พระวิหารกองหนึ่งพระมณฑปกองหนึ่ง การเปรียญกองหนึ่ง ทรงถวายปากไก่กะปุกหมึกหรดาลครบทุกองค์ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกไป ณ พระอารามทุกวัน ๆ วันละสองเวลาทั้งสองพระองค์ เพลาเช้าทรงประเคนสำรับปณีตโภชนียขาทนียาหารแก่พระสงฆ์ให้ฉัน ณ พระระเบียงทั้งรอบ เพลาเย็นทรงถวายอัฐบานและเทียนเป็นนิจทุกวัน และพระสงฆ์กับทั้งราชบัณฑิตประชุมกันพิจารณาดูพระปริยัติสอบสวนพระบาลีกับอรรถกถา ฎีกา ที่ผิดเพี้ยนพิปลาส ก็ตกแต้มเปลี่ยนแปลงอักขระให้ถูกถ้วนบริบูรณ์ ทุก ๆ พระคัมภีร์ใหญ่น้อยทั่วทั้งสิ้น และที่ใดสงสัยเคลือบแคลงก็ปรึกษาไต่ถามพระราชาคณะผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นมหาเถรให้วิสัชนาตัดสินที่ผิดและชอบ และกระทำการชำระพระไตรปิฎกตั้งแต่วันเพ็ญเดือนสิบสอง จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือนห้า ปีระกา เอกศก พอครบห้าเดือนก็สำเร็จการสังคายนาย จึงทรงพระกรุณาโปรดให้จำหน่ายพระราชทรัพย์เป็นมูลค่าจ้างให้ช่างจารคฤหัสถ์ และพระสงฆ์สามเณร จารึกพระไตรปิฎก ซึ่งชำระบริสุทธิแล้วนั้นลงลานใหญ่สำเร็จแล้วให้ ปิดทองทึบทั้งในปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้น เรียกว่าฉบับทอง ห่อด้วยผ้ายกเชือกรัดถักด้วยไหมเบญจพรรณมีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึก และฉลากทอเป็นตัวอักษรบอกชื่อพระคัมภีร์ทุก ๆ คัมภีร์ อนึ่ง เมื่อเสร็จการสังคายนายนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงถวายไตรจีวรบริขารภัณฑ์แก่พระสงฆ์ทั้งสองร้อยสิบแปดรูป มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นอาทิ ล้วนประณีตทุกสิ่งเป็นมหามหะกรรมฉลองพระไตรปิฎก และพระราชทานรางวัลเสื้อผ้าแก่ราชบัณฑิต ทั้งสามสิบสองคน มีพระยาธรรมปโรหิต และพระยาพจนาพิมลเป็นต้นนั้นด้วย แล้วทรงสุวรรณภิงคารหล่อหลั่งทักษิโณทกธารา อุทิศแผ่ผลพระราชกุศลศาสนูปถัมภกกิจไปแก่เทพามนุษย์สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วอนันตโลกธาตุ เป็นปัตตานุปทานบุญญกิริยาวัตถุ อันยิ่งเพื่อประโยชน์แก่พระบรมโพธิสัพพัญญุตญาณ ครั้นเมื่อเสร็จการสร้างพระไตรปิฎกฉบับทองแล้ว จึงให้เชิญพระคัมภีร์ทั้งปวงขึ้นพระยานุมาศ พระราชยานต่าง ๆ ตั้งกระบวนแห่สมโภชพระไตรปิฎก มีเครื่องเล่นเป็นเอนกนานุประการ เป็นมหรสพแก่ตาประชาราษฎรทั้งปวง และเชิญพระคัมภีร์พระปริยัติธรรมเข้าประดิษฐานไว้ในตู้ประดับมุกด์ตั้งในหอมนเทียรธรรมกลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในพระราชวัง.
คำประกาศเทวดาครั้งสังคายนา ปีวอกสัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๓๑
รัชกาลที่ ๑

(จากหนังสือประกาศพระราชพิธี เล่ม ๒ หน้า ๑๐)

-----------------------------------

               ♠ โภน์โตเทวสังฆาโย ดูกรฝูงเทพเจ้าทั้งปวงผู้มีทิพโสต ทิพจักขุ บรรดาอยู่ในโลกธาตุ จงประกาศบอกกล่าวกันให้ทั่ว มาประชุมชวนกันอนุสรสวนาการคำสงฆ์ประกาศสารธุรกิจในพระพุทธศาสนา เฉพาะพระภักตรสมเด็จพระบรมสารีริกธาตุเจ้า ด้วยพระสงฆ์ทั้งหลาย ๒๑๙ รูป พร้อมกันสมมุติให้อาตมภาพประกาศอาราธนาผู้เดียวนี้ ดุจหนึ่งสงฆ์ทั้งปวงประกาศอาราธนาเทพยเจ้าทั้งหลายพร้อมกัน ด้วยสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พระพุทธองค์ผู้ทรงพระทัศอรหาธิคุณอันประเสริฐ เมื่อพระองค์แรกได้ตรัสแก่พระปรมาภิเศกสัมโพธิญาณ เสด็จยับยั้งอยู่ในควงไม้พระโพธิมหาสถาน ๗ วัน ทรงพระอาวัชนาการพระพุทธกิจ อันจะโปรดเวไนยสัตว์ให้ถ้วน กำหนดพุทธประเพณีแลจะตั้งพระพุทธศาสนาในมัชฌิมประเทศราชธานีชนบท กำหนดด้วยพระสัพพัญญุตัญ ญาณเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปโปรดพุทธเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ได้มัคแลผล มีพระอัญญาโกณฑัญญเถรเป็นต้น และพระสุภัทธเป็นปริโยสาน แล้วก็เสด็จบรรทมเหนือพระมรณมัญจาพุทธาอาศน์เป็นอนุถานไสยาศน์ ระหว่างไม้รังทั้งคู่ในพระราชอุทยานแห่งพระเจ้ามลราชแทบกรุงกุสินา รายราชธานี มีพุทธฎีกาตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งปวง พระธรรมวิไนยอันใดทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันพระตถาคตตรัสเทศนาสั่งสอนท่าน เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว พระธรรม ๘๔,๐๐๐ นั้นจะเป็นครูสั่งสอนท่านแลสรรพสัตว์ทั้งปวง ต่างพระตถาคต ๘๔,๐๐๐ พระองค์ ตรัสมอบพระศาสนาไว้แก่พระปริยัติไตรปิฎกธรรมฉะนี้แล้วก็เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน จำเดิมแต่สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จนิพพานถวายพระเพลิง ๗ วัน พระมหากัสสปะเถรเจ้ารฦกถึงถ้อยคำพระสุภัทธภิกขุแก่ แลพระมหากรุณาธิคุณเป็นเหตุจึงดำริห์คิดจะกระทำพระธรรม สังคายนา เลือกพระสงฆ์ทั้งหลาย ๕๐๐ พระองค์ ล้วนแต่พระสงฆ์อรหัตตจตุปฏิสัมภิทาญาณ แลสมเด็จพระเจ้าอชาตสัตรูเป็นสาสนูปถัมภก กระทำในพระมรฏปแทบถ้ำสัตตบัณคูหา ณะกรุงราชคฤหมหานคร ๗ เดือน ก็สำเร็จเป็นปถมสังคายนา ครั้นพระพุทธศักราชล่วงถึง ๑๐๐ ปี ภิกขุชาววัชชีคามเป็นอลัชชีสำแดงวัตถุ ๑๐ ประการ กระทำผิดด้วยพระวินัยบัญญัติ และพระมหาเถรขีณาศพ ๘ พระองค์เป็นประธาน มีพระยศเถรเป็นต้น พระเรวัตตมหาเถรเป็นปริโยสาน ชำระหลักตอในพระสาสนาบริสุทธิแล้ว เลือกได้พระขีณาศพอันทรงพระไตรปิฎกแล พระจตุปฏิสัมภิทาญาณ ๗๐๐ พระองค์ กระทำสังคายนาพระไตรปิฎกในวาฬุการามใกล้เมืองไพสาลี สมเด็จพระเจ้ากาลาโสกราชเป็นสาสนูปถัมภก ๘ เดือนสำเร็จ ชื่อทุติยสังคายนา ยังบวรพุทธสาสนาให้วัฒนาการสืบไป.

               ♠ ครั้นพระพุทธศักราชล่วงไป ๒๑๘ พระวษา พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชบพิตรได้เสวยราชสมบัติในเมืองปาตลีบุตรเลื่อมใสในพระสาสนา ครั้งนั้นเดียรถีย์ทั้งหลายปลอมสงฆ์เข้าบวช และพระขีณาศพเจ้าทั้งหลาย มีพระโมคคลีบุตรดิศเถรเป็นประธาน ยังพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชให้เรียนรู้ในพระพุทธสมัยแล้ว สมเด็จพระมหากระษัตริย์ให้ชุมนุมภิกษุทั้งปวง ตรัสถามโดยลัทธิพุทธสาสนา เดียรถีย์ทั้งปวงว่าตามลัทธิเดียรถีย์ไม่ต้องในพระพุทธสาสนา พระองค์ให้ผ้าขาวสึกเดียรถีย์เสียหกหมื่น ชำระพระสาสนาให้พระสงฆ์ทั้งปวงกระทำอุโบสถกรรมแล้ว พระโมคคลีบุตรดิสเถรเจ้าเลือกพระขีณาศพทรงพระปฏิสัมภิทาญาณได้ ๑,๐๐๐ พระองค์กระทำตติยสังคายนาในโสการาม สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมาโศกเป็นสาสนูปถัมภก ๙ เดือนสำเร็จ ยังพระพุทธสาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป.

               ♠ ครั้นพระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๓๘ พระวษา สมเด็จพระเจ้าเทวานังปิยดิศ เสวยราชสมบัติในลังกาทวีปพระขีณาศพเจ้า ๓๘ พระองค์ มีพระมหินทเถรเจ้าแลพระอริฏฐเป็นประธาน ประชุมพระสงฆ์ ๑,๐๐๐ หนึ่ง แลจะยังรากพระสาสนาให้หยั่งลงในลังกาทวีป คือให้กุลบุตรชาวลังกาเรียนพระปริยัติไตรปิฎก จึงกระทำสังคายนา ดุจหนึ่งปถมสังคายนา ทุติยสังคายนา ตติยสังคายนาในมรฎปถูปารามมหาวิหาร สมเด็จพระเจ้าเทวานังปิยดิศเป็นสาสนูปถัมภก ยังรากพระสาสนาให้หยั่งลงในลังกา กระทำจัตุถะสังคายนา ๑๐ เดือนจึงสำเร็จ.

               ♠ จำเดิมแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเจ้า เสด็จเข้าสู่พระนิพพานแล้ว ๔๓๓ พระวษา พระเจ้าวัฒคามินีอไภยเสวยราชสมบัติในลังกาทวีป ครั้งนั้นพระขีณาศพสงฆ์ทั้งปวง อันทรงพระปฏิสัมภิทาอภิญาสามบัติ สมัยไตรปิฎกธราจารย์เป็นอันมาก เห็นพระสาสนาจะเสื่อมลงไป หาผู้จะทรงพระไตรปิฎกขึ้นปากขึ้นใจมิได้ จึงจัดเลือกพระสงฆ์ขีณาศพไตรวิชาปิฎกธราธรรมมากกว่าพันประชุมกันในมหาวิหาร สมเด็จพระเจ้าวัฒคามินีอไภยเป็นสาสนูปถัมภก แต่งพระมรฎปบรรจงวิจิตรรจนาให้จาฤก เชิญพระไตรปิฎกลงสู่ใบลานกับทั้งพระอัตถกถา ให้พระสาสนาจีรฐีติกาลสืบไป กระทำประดุจหนึ่งปัญจะมะสังคายนาตรวจตรากันจาฤกพระไตรปิฎกนั้น ปีหนึ่งจึงสำเร็จ.

               ♠ ครั้นพระพุทธศักราชล่วงไปได้ ๙๕๖ พระวษา สมเด็จพระเจ้ามหานามได้เสวยราชสมบัติในลังพระพุทธโฆษจารย์ออกไปแปลพระไตรปิฎก กับทังพระอัตถกถาอันตั้งอยู่ด้วยสิงหฬภาษา เป็นมคธภาษาบาฬี กระทำในโลหะปราสาท พระเจ้ามหานามเป็นสาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จ เป็นที่ชำระพระสาสนาครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จแล้วจึงเชิญเสด็จพระธรรมายังชมพูทวีป กุลบุตรได้เล่าเรียนสืบ ๆ กันมา.

               ♠ ครั้นพระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๑,๕๘๗ พระวษา สมเด็จพระเจ้าปรักมะพาหุราชบพิตรได้เสวยราชสมบัติในลังกาเป็นเอกราชาธิบดี พระกัสสปะเถรเจ้า กับพระสงฆ์มหานาคมากกว่าพัน ชวนกันอุตสาหะ แปลลินาถฎีกาพระไตรปิฎก อันพระขีณาศพไตรปิฎกธรเจ้าแต่ก่อนกระทำไว้เป็นภาษาสิงหฬบ้าง ภาษามคธบ้างปนกันอยู่ จึงอุตสาหะจัดแจงแปลงแปลออกเป็นภาษามคธ ปรากฏประดุจดั่งว่ากระทำสังคายนาพระธรรมวิไนย และสมเด็จพระเจ้าปรักมะพาหุสาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จการ.

               ♠ ครั้นพระพุทธศักราชล่วงมาถึง ๒,๐๐๐ ปีเศษนั้น พระปริยัติสาสนาอันเป็นมูลปรนนิบัติมัคผล ซึ่งพระโมคคลีบุตรดิศเถรเจ้าให้พระเถรานุเถรเจ้าทั้งหลายไปตังสาสนาในปจันตชนบท แลพระไตรปิฎกอันพระพุทธ โฆษาจารย์เจ้าไปแปลมาแต่ลังกา มาไว้ในชมพูทวีป พระเถรานุเถรในชมพูทวีปได้เล่าเรียนสร้างสืบต่อกันมา แลท้าวพระยาเศรษฐี คหบดีศรัทธาสร้างไว้ในกรุงสัมมาทิฏฐิทั้งปวง คือเมืองไทย, ลาว, เขมร, พม่า, มอญ, เป็นอักษรพิรุธส่ำสมกันอยู่เป็นอันมาก หาท้าวพระยาสมณะผู้ใดที่จะศรัทธาสามารถอาจชำระพระไตรปิฎกขึ้นไว้ ให้บริบูรณ์ดุจท่านแต่ก่อนนั้นมิได้มี.

               ♠ ครั้นพระพุทธศักราชาได้ ๒,๓๐๐ ปีเศษนั้น พม่าก็แต่งยุทธสงครามยกมารบรันทำย่ำยี เมืองสัมมาทิฏฐิทั้งนี้สาบสูญร่วงโรยไปเพราะภัยเกิดแต่พม่าเป็นต้นเหตุ มีผู้ร้ายเผาวัดวาอารามพระไตรปิฎกสาบสูญสิ้นไป จนถึงกรุงศรีอยุธยาก็พินาศฉิบหาย พระไตรปิฎกเจียฐานก็สาบสูญ สมณพราหมณาจารย์ผู้จะรักษาร่ำเรียนพระไตรปิฎกนั้นก็พลัดพรายล้มตายเป็นอันมาก หาผู้ใดที่จะเป็นที่พำนักป้องกันต้านทานข้าศึกศัตรูมิได้ แต่สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้าทั้งสองพระองค์ ผู้ทรงปฏิธานปรารถนาพระปรมาภิเศกสัมโพธิญาณ ทรงพระกรุณาอุสาหะ ผู้เสียพระชนมชีพถวายพระศรีรัตนไตรย คุมพลทหารกู้แก้บำรุงบวรพุทธสาสนาและสมณอาณาประชาราษฎรทั้งปวง ช่วยรับรบต้านทานอรินราชศัตรูหมู่พม่าข้าศึกไว้ได้ไชยชำนะแล้ว ทรงพระอุสาหะจัดแจงพระนครราชธานีนิคมชนบทสมณพราหมณประชาราษฎร บวรเจดียฐานอารามบริเวณาวาศอันพินาศฉิบหายนั้นและบวชกุลบุตรฐาปนาการ พระพุทธบาทเจียฐาน ปรารถนาจะให้รุ่งเรืองขึ้นดุจหนึ่งกาลแต่ก่อน ตั้งพระไทยบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ เป็นอันมาก และเอาพระไทยใส่บำรุงบวรพุทธสาสนา เป็นต้นว่านิสสัคคียวัตถุภิกษุรับเงินรับทองบริโภคพระสาสนานี้เสียมาเป็นช้านาน มหากระษัตริย์องค์ใดจะห้ามปราบลงมิได้ ด้วยเดชพระบารมีทรงบำรุงครั้งนี้ พระสาสนาสิกขานี้ก็คงคืน รุ่งเรืองขึ้น มีคุณในพระสาสนาฉนี้ แล้วทรงพระราชรำพึงถึงพระไตรปิฎกอันเป็นมูลรากพระสาสนา ทรงพระราชศรัทธาพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ให้ช่างจาน ๆ จาฤกพระไตรปิฎกบรรดามีในที่ใดเป็นอักษรภาษาไทย, ภาษามอญ, ภาษาลาว ให้ชำระแปลออกเป็นอักษรขอมขึ้นไว้ในตู้หีบหอพระมณเฑียรธรรม อันวิจิตรบรรจงงามพร้อม ทุกสิ่งสรรพพระราชกุศล และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ให้เล่าเรียนทุกอารามตามความปรารถนา จึงจมื่นไวยวรนารถกราบทูลพระกรุณาว่า พระไตรปิฎกซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างไว้ทุกวันนี้ อักษรบทพยัญชนะตกวิปลาศอยู่แต่ฉบับเดิมมา หาผู้จะทำนุกบำรุงขึ้นมิได้ ครั้นได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปรารภไปว่า พระอัตถกถาฎกาบาฬีพระไตร ปิฎกทุกกวันนี้ เมื่อแลผิดเพี้ยนอยู่เป็นอันมาก จะเป็นเค้ามูลปฏิบัติปฏิเวธสาสนานั้นมิได้ อนึ่ง ท่านผู้รักษาพระไตรปิฎกทุกวันนี้ก็น้อยนัก ถ้าสิ้นท่านเหล่านี้แล้ว เห็นพระปริยัติสาสนา ปฏิบัติสาสนา ปฏิเวธสาสนา จะสาบสูญเป็นอันเร็วนัก สัตว์โลกทังปวงจะหาที่พึ่งมิได้ในอนาคตกาล ควรจะทำนุกบำรุงบวรพุทธสาสนาสมเด็จพระมหากรุณาไว้ ให้เป็นประโยชน์ไปแก่เทพามนุษย์ทั้งปวง จึงจะเป็นทางพระบรมโพธิญาณบารมี ครั้นพระทรงดำริห์ฉนี้แล้ว จึงให้อารธนาพระสงฆ์ราชาคณะถานาบาเรียนร้อยรูป มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานมารับพระราชทานฉันในพระที่นั่งอัมรินทราภิเศกมหาปราสาท

               ♠ ครั้นเสร็จสงฆ์ภุตากิจแล้วสมเด็จบรมบพิตรพระมหากระษัตราธราชเจ้าทั้งสองพระองค์จึงถวายนมัสการ ตรัสเผดียงถามพระราชาคณะทั้งปวงว่า พระไตรปิฎกทุกวันนี้ยังบริบูรณ์อยู่ฤาพิรุธผิดเพี้ยนประการใด สงฆ์ราชาคณะ พร้อมกันถวายพระพรว่า พระบาฬอัตถกถาพระไตรปิฎกทุกวันนี้พิรุธมากมาช้านานแล้ว หากระษัตริย์องค์ใดจะบำรุงเป็นสานูปถัมภกมิได้ แต่กำลังอาตมภาพทั้งปวงก็คิดจะใคร่บำรุงอยู่เห็นไม่สำเร็จ จึงตรัสว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุสาหะในฝ่ายพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นจงได้ ฝ่ายอาณาจักรที่จะเป็นสาสนูปถัมภกนั้นไว้พนักงานโยม ๆ จะ สู้เสียชีวิตบูชาพระรัตรไตรย สุดแต่จะให้พระปริยัติบริบูรณ์เป็นมูลพระสาสนาจงได้ อาตมภาพพระสงฆ์ราชคณะทั้งปวงก็ถวายสาธุการรับแล้วออกมาประชุมพระสงฆ์ทั้งหลายเลือกได้ที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกบ้างนั้นได้สงฆ์ ๒๑๙ รูป กับราชบัณฑิตย์อุบาสก ๓๐ คน แลสงฆ์ ๒๑๙ รูป กับราชบัณฑิตย์อุบาสกทั้งนี้ มีสติปัญญาอันน้อยมิได้ทรงพระไตรปิฎก แต่จะใคร่บำรุงบวรพุทธสาสนา บำรุงพระราชกุศลศรัทธาสมเด็จพระมหากระษัตราธราชเจ้าอันปรารถนาพระพุทธภูมิทั้งสองพระองค์ ซึ่งทรงพระราชอุสาหะจะบำรุงพระวรพุทธสาสนา แลแต่ก่อนมามีพระขีณาศพอันทรงอิทธิฤทธิ์เป็นอันมาก ครั้นเห็นพระสาสนาเศร้าหมองลงแล้ว ย่อมเสด็จขึ้นไปยังเทวโลก อาราธนาเทพเจ้าอันมีกุศลสมภารบารมี มีสติปัญญา อันมีในเทวโลกดุจพระดิศมหาพรหม ลงมาเป็นพระโมคคลีบุตรดิศเถร พระโฆษเทวบุตรมาเป็นพุทธโฆษา เดชะอำนาจท่านผู้มีพระบารมีชำระพระสาสนาที่เศร้าหมองนั้นก็รุ่งเรืองขึ้นได้ง่ายงาม บัดนี้อาตมภาพสงฆ์ทั้งปวงอนาถาหาอิทธิฤทธิ์สติปัญญาไม่ ปราศจากอาจารย์ท่านผู้เป็นอริยอิทธิฤทธิ์สิทธิสมภารอันมีญาณ อาจหยั่งไป ในพระไตรปิฎกไม่มีแล้ว แลจะชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ดุจหนึ่งเข็มในปลายจะงอยปากยุงอันหยั่งลงในมหาสมุทร ด้วยอาตมภาพทั้งปวงมีสติปัญญาน้อย เดชะผลความสัจซึ่งอาราธนานี้ ขอจงบันดาลให้เทพยเจ้าทั้งปวง อันมีในหมื่นจักรวาฬแลท่านผู้เป็นสัมมาทิฏฐิไตรปิฒกธราจารย์ ญาณสัพพัญญูโพธิสัตว์อริยบุทคลเป็นต้นว่า ท้าวสุธาวาศพรหมพระศรีอาริย เมตยโพธิสัตว์สมเด็จอัมรินทราธิราช โฆษเทวบุตร แลธรรมกถึกเทวบุตรทั้งหลายอันเป็นครูรู้พุทธาธิบายแต่ก่อนนั้น จงเห็นแก่พระพุทธสาสนามาช่วยอาตมภาพทั้งปวงผู้เป็นศิษย์ให้มีสติปัญญา บันดาลให้เห็นคล่องต้องตามพระไตรปิฎกให้บริบูรณ์ไว้ จะได้เป็นที่พึ่งแก่เทพามนุษย์ทั้งปวง จงช่วยเกียจกันซึ่งสรรพอันตราย ขออย่าให้มีขันธมารเทวบุตรมาร มาเบียดเบียนด้วย ฉันนวุติโรคชีวันตราย แลกิเลศมารทั้งหลายอย่าเข้ามาระคนดลสันดานพระสงฆ์ และสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้าทั้งสอง สุริวงษานุวงษ์แลราชบัณฑิตย์เสนาบดี ราชบริษัทอันกระทำการบำรุงปรนนิบัติปริยัติสาสนา อย่าให้จิตรคิดย่อหย่อนเกียจคร้านในการมหากุศลอันจะเป็นผลประโยชน์ไปแก่ตนในอนาคตกาล อย่าให้เริศร้างค้างได้ ขอให้จิตรเลื่อมใสศรัทธาอุตสาหะช่วยกันบำรุงพระปริยัติสาสนาให้บริบูรณ์สำเร็จไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ไปแก่เทพามนุษย์ทั้งปวงให้จิรฐิติกาลไปยาวะปัญจสหัสสวัสสปริเฉทกำหนด จงสำเร็จโดยดังมโนรถปณิธานปรารถนา ตามอาตมภาพสงฆ์ทั้งปวงประกาศอาราธนามานี้เถิด. 
 
ส่วนที่ ๒
เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎก
ในรัชกาลที่ ๕

จากหนังสือกฎหมายรัชกาลที่ ๕ หน้า ๘๓๘

หลวงรัตนาญัปติ (เปล่ง) อธิบดีกรมอัยการรวบรวม

-----------------------------------

การสาสนูปถัมภกคือการพิมพ์พระไตรปิฎก

               ♠ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์จะทรงทนุบำรุงพระพุทสาศนาให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้นไปประการใด ท่านทั้งหลายก็คงแลเหนในการที่ทรงบำเพญพระราชกุศลสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุให้เป็นภาชนรับรองพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ทั้งเอนกทานบริจากของประณีตต่าง ๆ ฤาการยกย่องโดยสมณศักดิ์ ซึ่งเป็นเสบียงกำลังแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ผู้ทรงวิไนยบัญญัติ ของพระพุทธเจ้าให้ดำรงค์อยู่ แลเป็นผู้แนะนำชาวสยามให้ประพฤติการละบาปบำเพ็ญบุญนั้นก็มีเป็นอันมากในปีหนึ่ง ๆ ก็อีกประการหนึ่งที่ทรงบริจากทั้งสองอย่างนั้น ปีหนึ่งก็สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก เพราะเหตุด้วยทรงเลื่อมใสในคุณพระรัตนไตรยนั้น บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ถึงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพุทธภาสิตเป็นที่ร่ำเรียนศึกษาของผู้ที่นับถือพระพุทธสาศนานั้นด้วยเหตุอย่างไร คงปรากฏในกระแสพระราชดำรัสแก่พระเถรานุเถร ซึ่งจะมีต่อไปในน่ากระดาษนี้แล้ว เพราะฉะนั้นจึ่งจะโปรดให้ผเดียงพระสงฆ์ เถรานุเถรที่ชำนาญในพระไตรปิฎกอันมีสมณศักดิ ๑๑๐ พระองค์ เป็นผู้ตรวจแก้ฉบับพระไตรยปิฎกที่จะตีพิมพ์ โปรดให้พระบรมวงษานุวงษข้าราชการฝ่ายคฤหัฐเป็นกรรมสัมปาทิกสภา จัดการพิมพ์พระไตรยปิฎกให้สำเร็จทันในสมัยเมื่อเสด็จดำรงค์ศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี จะได้มีการมหกรรมฉลองพระไตรยปิฎกนี้ในมงคลสมัย ผู้ซึ่งรับพระบรมราชโองการจัดการพิมพ์พระไตรยปิฎกฝ่ายคฤหัฐซึ่งเป็นกรรมสัมปาทิกสภาพ นั้นคือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช สภานายก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าประภากร พระยาภาสกรวงษที่เกษตราอธิบดี พระยาศรีสุนทรโวหาร ครั้น ณ วันที่ ๗ เดือน ๓ แรมค่ำ ๑ ปีชวดสัมฤทธิศก โปรดให้เชิญเสด็จพระบรมวงษานุวงษ ที่ทรงพระผนวชได้ดำรงค์สมณศักดิ์เป็นประธานสงฆ์ คือ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ และกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรกับหม่อมเจ้าที่เป็นราชาคณะทั้งปวง นิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่มีสมเด็จพระพุทธโฆษาทั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่มีประโยคเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกกับทั้งพระสงฆ์เปรียญประโยคสูงจบเปรียญ ๓ ประโยค ทั้งในกรุงแลหัวเมืองมีจำนวนพระสงฆ์ ๑๑๐ องค์ ประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดาราม แล้วพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับพร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ ข้าราชการเฝ้าในที่นั้น เมื่อทรงนมัสการพระรัตนไตรยแล้ว ขุนสุวรรณอักษร กรมพระอาลักษณ์ อ่านประกาศตามกระแสพระบรมราชโองการ อาราธนาพระสงฆ์ให้สอบแก้พระไตรยปิฎกซึ่งตีพิมพ์ ดังจะได้เห็นต่อไปในน่าหลัง

               ♠ ครั้นเมื่อประกาศจบแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่น่าอาศนสงฆ์ ทรงแสดงพระราชดำริห์ด้วยพระองค์เองแก่พระสงฆ์ พระราชดำริห์นั้นก็เป็นที่ยินดีของ พระสงฆ์มากแล้ว จึงทรงประเคนขวดหมึกกับปากกาแก่พระเถรานุเถระทั้งปวง ได้รับพระราชทานทั่วกัน เพื่อจะได้ใช้ตรวจแก้ทานฉบับพระไตรยปิฎกต่อไป ทรงประเคนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลากลับไป พระเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต่อนี้ไปพระเถรานุเถระผู้ใหญ่จะได้แบ่งเป็นกอง ๆ มีพระราชาคณะเปรียญผู้น้อย แลพระเปรียญผู้ช่วยเป็นพนักงานดังนี้คือ พระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ เป็นประธานาธิบดีในการที่จะตรวจแบบฉบับพระไตรยปิฎกพระองค์หนึ่ง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ๑ สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ ๑ เป็นรองอธิบดีจัดการทั้งปวง ๒ พระองค์ มีแม่กองใหญ่ ๘ กอง คือ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นแม่กองตรวจพระวินัยปิฎกกอง ๑ พระธรรมไตรโลกย์แม่กองกอง ๑ พระธรรมราชาแม่กองกอง ๑ พระเทพโมลีแม่กองกอง ๑ ตรวจพระอภิธรรมปิฎก ๒ กอง คือ พระพิมลธรรมแม่กองกอง ๑ พระธรรมวโรดมแม่กองกอง ๑ กับพระบรมวงษานุวงษ ข้างราชการฝ่ายคฤหัฐที่เป็นกรรมสัมปาทิกสภาพจะได้จัดการตีพิมพ์พระไตรยปิฎกให้สำเร็จ ๑,๐๐๐ ฉบับ ทันพระบรมราชประสงค์ หนังสือพิมพ์พระไตรยปิฎกนี้ ได้ทราบว่าจบหนึ่ง ๔๐ เล่ม จะตีพิมพ์จบก็เป็นหนังสือถึง ๔๐,๐๐๐ เล่ม พระราชทรัพย์หลวงที่จะใช้ในค่าหนังสือนี้คงไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ชั่ง เมื่อจะคิดเทียบกับการที่จานลงใบลานแล้ว ถ้าจะสร้าง ๑,๐๐๐ จบ คงเป็นเงินหลายหมื่นชั่ง ทั้งจะเป็นหนังสือกองโต จนไม่มีที่เก็บไว้ได้ แลช้านับด้วยหลายสิบปีจึงจะแล้วสำเร็จ ทั้งจะเคลื่อนคลาดไม่ถูกต้องกันได้สักฉบับเดียวด้วย เมื่อได้ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มสมุทอย่างนี้ ถ้าตรวจฉบับให้ดีถูกต้องแล้ว ก็จะเป็นการเรียบร้อยเหมือนกันทั้ง ๑,๐๐๐ จบ และการที่จะเก็บรักษาก็ไม่เปลืองที่มาก ถ้าเก็บดี ๆ ก็ทนได้ไม่ผิดกับใบลานมากนัก ในเวลาทำการก็ได้เร็วกว่า ราคาก็ต่ำกว่าที่จะจ้างช่างจานทำหลายสิบเท่า แลเป็นที่น่าจะชื่นชมยินดีของชนทั้งหลาย ที่นับถือพระพุทธสาศนาอย่างยิ่ง ด้วยว่าตั้งแต่พระพุทธสาศนาได้แพร่หลายมาถึงเมืองเราจนกาลบัดนี้ เหนจะไม่เคยมีพระไตรยปิฎก ในหมู่ชาวเราจบมากเท่าครั้งนี้เลย ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระไตรยปิฎก ๑,๐๐๐ จบอย่างนี้ คงไม่เคยมีพระเจ้าแผ่นดินที่นับถือพระพุทธสาศนา ประเทศใดได้บริจากพระราชทรัพย์สร้างขึ้นเท่านี้เลย เพราะเหตุนั้น จึงเป็นที่ชื่นชมโสมนัสเป็นอันมาก ขอผลอันดียิ่งจงมีในพระเจ้าอยู่ของเรา แลพระราชอาณาจักรสยามยิ่งขึ้นทุกเมื่อเทอญ.


ส่วนที่ ๒
เอกสารเกี่ยวกับการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎก
ในรัชกาลที่ ๕

จากหนังสือกฎหมายรัชกาลที่ ๕ หน้า ๘๓๘

หลวงรัตนาญัปติ (เปล่ง) อธิบดีกรมอัยการรวบรวม

-----------------------------------

การสาสนูปถัมภกคือการพิมพ์พระไตรปิฎก

               ♠ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์จะทรงทนุบำรุงพระพุทสาศนาให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้นไปประการใด ท่านทั้งหลายก็คงแลเหนในการที่ทรงบำเพญพระราชกุศลสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุให้เป็นภาชนรับรองพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ทั้งเอนกทานบริจากของประณีตต่าง ๆ ฤาการยกย่องโดยสมณศักดิ์ ซึ่งเป็นเสบียงกำลังแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ผู้ทรงวิไนยบัญญัติ ของพระพุทธเจ้าให้ดำรงค์อยู่ แลเป็นผู้แนะนำชาวสยามให้ประพฤติการละบาปบำเพ็ญบุญนั้นก็มีเป็นอันมากในปีหนึ่ง ๆ ก็อีกประการหนึ่งที่ทรงบริจากทั้งสองอย่างนั้น ปีหนึ่งก็สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก เพราะเหตุด้วยทรงเลื่อมใสในคุณพระรัตนไตรยนั้น บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ถึงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพุทธภาสิตเป็นที่ร่ำเรียนศึกษาของผู้ที่นับถือพระพุทธสาศนานั้นด้วยเหตุอย่างไร คงปรากฏในกระแสพระราชดำรัสแก่พระเถรานุเถร ซึ่งจะมีต่อไปในน่ากระดาษนี้แล้ว เพราะฉะนั้นจึ่งจะโปรดให้ผเดียงพระสงฆ์ เถรานุเถรที่ชำนาญในพระไตรปิฎกอันมีสมณศักดิ ๑๑๐ พระองค์ เป็นผู้ตรวจแก้ฉบับพระไตรยปิฎกที่จะตีพิมพ์ โปรดให้พระบรมวงษานุวงษข้าราชการฝ่ายคฤหัฐเป็นกรรมสัมปาทิกสภา จัดการพิมพ์พระไตรยปิฎกให้สำเร็จทันในสมัยเมื่อเสด็จดำรงค์ศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี จะได้มีการมหกรรมฉลองพระไตรยปิฎกนี้ในมงคลสมัย ผู้ซึ่งรับพระบรมราชโองการจัดการพิมพ์พระไตรยปิฎกฝ่ายคฤหัฐซึ่งเป็นกรรมสัมปาทิกสภาพ นั้นคือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช สภานายก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าประภากร พระยาภาสกรวงษที่เกษตราอธิบดี พระยาศรีสุนทรโวหาร ครั้น ณ วันที่ ๗ เดือน ๓ แรมค่ำ ๑ ปีชวดสัมฤทธิศก โปรดให้เชิญเสด็จพระบรมวงษานุวงษ ที่ทรงพระผนวชได้ดำรงค์สมณศักดิ์เป็นประธานสงฆ์ คือ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ และกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรกับหม่อมเจ้าที่เป็นราชาคณะทั้งปวง นิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่มีสมเด็จพระพุทธโฆษาทั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่มีประโยคเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกกับทั้งพระสงฆ์เปรียญประโยคสูงจบเปรียญ ๓ ประโยค ทั้งในกรุงแลหัวเมืองมีจำนวนพระสงฆ์ ๑๑๐ องค์ ประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดาราม แล้วพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับพร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ ข้าราชการเฝ้าในที่นั้น เมื่อทรงนมัสการพระรัตนไตรยแล้ว ขุนสุวรรณอักษร กรมพระอาลักษณ์ อ่านประกาศตามกระแสพระบรมราชโองการ อาราธนาพระสงฆ์ให้สอบแก้พระไตรยปิฎกซึ่งตีพิมพ์ ดังจะได้เห็นต่อไปในน่าหลัง

               ♠ ครั้นเมื่อประกาศจบแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่น่าอาศนสงฆ์ ทรงแสดงพระราชดำริห์ด้วยพระองค์เองแก่พระสงฆ์ พระราชดำริห์นั้นก็เป็นที่ยินดีของ พระสงฆ์มากแล้ว จึงทรงประเคนขวดหมึกกับปากกาแก่พระเถรานุเถระทั้งปวง ได้รับพระราชทานทั่วกัน เพื่อจะได้ใช้ตรวจแก้ทานฉบับพระไตรยปิฎกต่อไป ทรงประเคนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลากลับไป พระเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต่อนี้ไปพระเถรานุเถระผู้ใหญ่จะได้แบ่งเป็นกอง ๆ มีพระราชาคณะเปรียญผู้น้อย แลพระเปรียญผู้ช่วยเป็นพนักงานดังนี้คือ พระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ เป็นประธานาธิบดีในการที่จะตรวจแบบฉบับพระไตรยปิฎกพระองค์หนึ่ง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ๑ สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ ๑ เป็นรองอธิบดีจัดการทั้งปวง ๒ พระองค์ มีแม่กองใหญ่ ๘ กอง คือ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นแม่กองตรวจพระวินัยปิฎกกอง ๑ พระธรรมไตรโลกย์แม่กองกอง ๑ พระธรรมราชาแม่กองกอง ๑ พระเทพโมลีแม่กองกอง ๑ ตรวจพระอภิธรรมปิฎก ๒ กอง คือ พระพิมลธรรมแม่กองกอง ๑ พระธรรมวโรดมแม่กองกอง ๑ กับพระบรมวงษานุวงษ ข้างราชการฝ่ายคฤหัฐที่เป็นกรรมสัมปาทิกสภาพจะได้จัดการตีพิมพ์พระไตรยปิฎกให้สำเร็จ ๑,๐๐๐ ฉบับ ทันพระบรมราชประสงค์ หนังสือพิมพ์พระไตรยปิฎกนี้ ได้ทราบว่าจบหนึ่ง ๔๐ เล่ม จะตีพิมพ์จบก็เป็นหนังสือถึง ๔๐,๐๐๐ เล่ม พระราชทรัพย์หลวงที่จะใช้ในค่าหนังสือนี้คงไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ชั่ง เมื่อจะคิดเทียบกับการที่จานลงใบลานแล้ว ถ้าจะสร้าง ๑,๐๐๐ จบ คงเป็นเงินหลายหมื่นชั่ง ทั้งจะเป็นหนังสือกองโต จนไม่มีที่เก็บไว้ได้ แลช้านับด้วยหลายสิบปีจึงจะแล้วสำเร็จ ทั้งจะเคลื่อนคลาดไม่ถูกต้องกันได้สักฉบับเดียวด้วย เมื่อได้ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มสมุทอย่างนี้ ถ้าตรวจฉบับให้ดีถูกต้องแล้ว ก็จะเป็นการเรียบร้อยเหมือนกันทั้ง ๑,๐๐๐ จบ และการที่จะเก็บรักษาก็ไม่เปลืองที่มาก ถ้าเก็บดี ๆ ก็ทนได้ไม่ผิดกับใบลานมากนัก ในเวลาทำการก็ได้เร็วกว่า ราคาก็ต่ำกว่าที่จะจ้างช่างจานทำหลายสิบเท่า แลเป็นที่น่าจะชื่นชมยินดีของชนทั้งหลาย ที่นับถือพระพุทธสาศนาอย่างยิ่ง ด้วยว่าตั้งแต่พระพุทธสาศนาได้แพร่หลายมาถึงเมืองเราจนกาลบัดนี้ เหนจะไม่เคยมีพระไตรยปิฎก ในหมู่ชาวเราจบมากเท่าครั้งนี้เลย ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระไตรยปิฎก ๑,๐๐๐ จบอย่างนี้ คงไม่เคยมีพระเจ้าแผ่นดินที่นับถือพระพุทธสาศนา ประเทศใดได้บริจากพระราชทรัพย์สร้างขึ้นเท่านี้เลย เพราะเหตุนั้น จึงเป็นที่ชื่นชมโสมนัสเป็นอันมาก ขอผลอันดียิ่งจงมีในพระเจ้าอยู่ของเรา แลพระราชอาณาจักรสยามยิ่งขึ้นทุกเมื่อเทอญ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น