วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดธรรมภาคปฏิบัติ ๕

แบบฝึกหัดธรรมภาคปฏิบัติ ๕
๑.ตอบ  การเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานตามในที่มาสติปัฏฐานสูตรมีวิธีการปฎิบัติอย่างนี้คือ
ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า ๓๑๐-๓๑๔ อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ วิธีอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา ๙ วิธี จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขเวทนา ความว่า ภิกษุกำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข ทางกายก็ดี ทางใจก็ดีก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา จะวินิจฉัยในคำนั้น แม้เด็กทารกที่ยังนอนหงาย เมื่อเสวยสุขในคราวดื่มนมเป็นต้นก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาก็จริงอยู่ แต่คำว่า สุขเวทนาเป็นต้นนี้ มิได้ตรัสหมายถึงความรู้ชัดอย่างนั้น เพราะความรู้ชัดเช่นนั้น ไม่ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่ถอนความสำคัญว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่เป็นกัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐานภาวนาเลย ส่วนความรู้ชัดของภิกษุนี้ ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ถอนความสำคัญ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้ ทั้งเป็นกัมมัฏฐาน เป็นสติปัฏฐานภาวนา ก็คำนี้ตรัสหมายถึงความเสวยสุขเวทนาพร้อมทั้งที่รู้ตัวอยู่ อย่างนี้ว่า ใครเสวย ความเสวยของใครเสวยเพราะเหตุไร
        สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
ยกตัวอย่าง ในปัญหาเหล่านั้น ถามว่า ใครเสวย ตอบว่า มิใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เสวย ถามว่า ความเสวยของใคร ตอบว่า มิใช่ความเสวยของสัตว์ หรือบุคคลไรๆ ถามว่า เสวยเพราะเหตุไร ตอบว่า ก็เวทนาของภิกษุนั้นมีวัตถุเป็นอารมณ์ อย่างเดียว เหตุนั้น เธอจึงรู้อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเสวยเวทนา เพราะทำวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา มีสุขเวทนา เป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์ ก็คำว่า เราเสวยเวทนา เป็นเพียงสมมติเรียกกัน เพราะยึดถือความเป็นไปแห่งเวทนานั้น เธอกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลาย เสวยเวทนาเพราะ ทำวัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้ พึงทราบว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาเหมือนพระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งสำนักอยู่ที่จิตตลบรรพต
                        สติกำหนดเวทนา เป็นอริยสัจ
ในเวทนานุปัสสนานี้ สติอันกำหนดเวทนา เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติ
กำหนดเวทนา เป็นอารมณ์นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยสัจ การหยุดทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคอันกำหนดทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์เป็นมรรคสัจ ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดสติกำหนดเวทนาเป็นอารมณ์ อย่างนี้แล
______________________________________________



๒.ตอบ วิปัสสนูปกิเลส  หมายถึง ปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา หมายถึง สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวหรือหลง จึงทําให้รับธรรมได้ยาก ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนา กล่าวโดยย่อก็คือ  วิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา หมายถึง สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวหรือหลง จึงทําให้รับธรรมได้ยาก ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนา กล่าวโดยย่อก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง จึงหมายรวมถึงสมาธิและฌานอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติวิปัสสนาด้วย  เป็นกิเลสชนิดที่ทําให้ติดได้อย่างเหนียวแน่นและยาวนานและให้โทษรุนแรงได้  ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงญาณหรือความเข้าใจยังไม่พร้อมบริบูรณ์  จึงไปติดอยู่ในผลของสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆคือติดเพลิน หรือมิจฉาญาณด้วยความเข้าใจยังไม่ถูกต้องหรืออวิชชาเป็นเหตุนั่นเอง  และถ้าไม่รู้ระลึกเลยโดยไม่แก้ไขแล้วก็จักติดอยู่ที่นี่ทําให้ไม่สามารถเข้าไปถึงปัญญาชอบ(สัมมาญาณ)อย่างแท้จริงได้  เมื่อไม่แก้ไขจึงส่งผลร้ายตามมา คือ ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางจิต เช่น หดหู่  วิกลจริต วิปลาส และทางกาย เช่น เจ็บปวด, เจ็บป่วยต่างๆ ตามมาได้อย่างคาดคิดไม่ถึง(อ่านรายละเอียดของอาการต่างๆได้ใน ติดสุข)  และเมื่อเกิดผลร้ายขึ้นก็ยังไม่รู้ตัวอีกเสียด้วยว่า เป็นเพราะปฏิบัติผิดด้วยอวิชชา
 แต่พึงระลึกว่าเกิดแต่การปฏิบัติผิด อย่างไม่ถูกต้อง,ไม่แก้ไขนั่นเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง  จึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปโทษหรือไปกลัวในการปฏิบัติธรรมหรือพระกรรมฐานแต่อย่างใด  แต่เป็นเพราะอวิชชาจึงไปติดเพลิน,เพลิดเพลินเสียแต่ในผลคือความสุข,สงบ,สบายต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌาน,สมาธิ  จึงยังให้เกิดวิปัสนูปกิเลสเหล่านี้ขึ้นนั่นเอง กล่าวคือก่อให้เกิดอาการต่างๆที่เรียกกันทั่วไปว่า ติดสุข  ติดนิมิตหรือติดโอภาส  ติดปีติ  ติดสงบ  ติดสบาย  ติดผู้รู้  ติดแช่นิ่งอยู่ภายในหรือจิตส่งในโดยไม่รู้ตัว ฯ
         ถ้ากล่าวกันอย่างเน้นชัดแล้วก็กล่าวได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส มักเกิดจากการปฏิบัติพระกรรมฐานหรือก็คือการปฏิบัติสมถวิปัสสนานั่นเอง  แต่ไปหลงเน้นปฏิบัติแต่ฝ่ายสมถะหรือสมาธิจนเสียการ โดยขาด
______________________________________________

๓.ตอบ  อินทรีย์ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
                อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
                การปรับอินทรีย์  ( ปัญญา + ศรัทธา + วิริยะ ) + ( ศีล(สติ) + สมาธิ  )  อันนี้ต้องเกิดพร้อมกันปัญญานำก่อนดีที่สุด  พาตกมรรคาได้เร็วที่สุด เพราะคนมีปัญญาจะมีมานะสูงต้องดูวาระของจิต
ว่าการปฏิบัติของแต่ละครั้งมีผลอย่างไรถ้าใหม่ๆต้องอาศัยการสอบอารมณ์
__________________________________________
๕.ตอบ วิปัสสนาภูมิ ๖ แตกต่างกันอย่างนี้คือ วิปัสสนาภูมิ ๖ ประกอบด้วย ๑. ขันธ์ ๕
 ๒. อายตนะ ๑๒   ๓. ธาตุ ๑๘    ๔. อินทรีย ๒๒  ๕. ปฏิจจสมุปปาท   ๖. อริยสัจจ ๔
ขันธ์ ๕ ก่อน มีขันธ์ อยู่ ๕ ขันธ์คือ ๑. รูป ๒.เวทนา ๓.สัญญา ๔.สังขาร ๕.วิญญาณ
 รูป จัดเป็นรูปธรรม คือสิ่งที่ เห็นได้ด้วยตา ได้ยินได้ด้วยหู สัมผัสกลิ่นได้ด้วยจมูก และสุดท้ายสัมผัสได้ด้วยกายเวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ จัดเป็นนามธรรม คือรู้ได้ด้วยใจอย่างเดียว
 ดังนั้นขันธ์ ๕ ก็คือ รูปธรรม + กับนามธรรม หรือกล่าวโดยย่อก็คือ รูปนาม นั้นเอง
__________________________________________
๗.ตอบ อุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมอง,สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ ๑.อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือก ควรไม่ควร ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย
. โกธะ โกรธ ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖. ปลาสะ ตีเสมอ ๗. อิสสา ริษยา ๘. มัจฉริยะตระหนี่ ๙. มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑. ถัม-ภะ หัวดื้อ ๑๒. สารัมภะ แข่งดี ๑๓. มานะ ถือตัว ๑๔.อติมานะ ดูหมิ่นท่าน ๑๕. มทะ มัวเมา ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ หรือละเลย
__________________________________________
๘.ตอบ การทำสมาธิ ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ถึง 40 วิธี ทุกวิธีล้วนเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียว คือการทำให้จิตใจสงบแต่ที่วิธีการมีเยอะนั้น ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า สมถกรรมฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานนิสัยของแต่ละคน โดยพระพุทธองค์ทรงแบ่งพื้นฐานนิสัยไว้ 6 ประเภท เรียกว่า จริต 6 อาทิเช่น คนที่มีราคะจริต คือหลงไหลในของสวยงามง่าย ควรพิจารณาความไม่งาม(อสุภะ) ความไม่เที่ยง- ความไม่แน่นอนในสังขารต่างๆ(อนิจจัง) เพื่อให้ใจไม่ติดในราคะได้ง่าย จะได้ทำสมาธิได้ง่าย เพราะเมื่อหลับตาทำสมาธิแล้ว ใจเราชอบอะไร คุ้นอะไร ก็จะมีภาพนั้นปรากฏขึ้นมาในใจสมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจนิ่งๆ ว่างๆ เฉยๆ ร่างกาย ยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจ หาก หยุด นิ่ง เฉย ได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสง ให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลัง ที่จะจุดไฟให้ติดได้ การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และ เต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น โยคะ
__________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น