แบบฝึกหัด
(๑.) ตอบ คำว่า “ศาสนา” แปลว่า คำสั่งสอน “คำสั่ง” หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว เรียกว่า ศีลหรือวินัย “คำสอน” หมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี เรียกว่า ศีลธรรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำนิยามไว้ว่า “ศาสนา” หมายถึง ลัทธิ ความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อนั้น ๆ
ท่านพุทธทาส ได้ให้ความ คำว่า “ศาสนา” คือ ตัวการปฏิบัติหรือตัวการกระทำอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ หรือสิ่งที่สัตว์นั้น ๆ ไม่พึงปรารถนา
ตามความหมายนี้ศาสนา แบ่งออกได้ เป็น ๒ ระดับ คือ
๑. ระดับสัญชาตญาณ (Instinctive Religion)
๒.ระดับมนุษยธรรม (Humanistic Religion)
สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้กล่าวไว้ว่า
๑.ศาสนา คือ ที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงสุดของมนุษย์
๒.ศาสนา คือ ที่พึ่งทางจิตใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกยึดเหนี่ยวตามความพอใจและตามความเหมาะสมแก่เหตุและสิ่งแวดล้อมของตน
๓.ศาสนา คือ คำสั่งสอนอันว่าด้วยศีลธรรมและอุดมคติสูงสุดในเรื่องของบุคคล รวมทั้งแนวความเชื่อและแนวปฏิบัติต่าง ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา
แม็กช์ เวเบอร์ ได้กล่าวไว้ว่า
การที่จะให้คำจำจัดความแก่ศาสนา คือบอกให้ทราบว่าศาสนาคืออะไรตั้งแต่แรกเริ่มเสนอเรื่องราวเช่นนี้ย่อมเป็นไม่ได้ เราจะสามารถให้คำจำกัดความได้ ก็ต่อเมื่อถึงตอนเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วเท่านั้นความหมายของศาสตร์
ศาสตร์ (Science) คือ ความรู้ที่ได้มาอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์นี้ได้มาจากการนำความรู้เฉพาะเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านการสังเกตจดจำสั่งสมมาจัดสานเข้าด้วยกันอย่างเชื่อมโยงสอดคล้องกันเป็นระบบเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน และยกระดับความรู้เหล่านั้นให้มีลักษณะเป็น “หลัก” ขึ้นมามีลักษณะเป็นทฤษฎีหรือหลักการทั่วไป และเป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็น ระบบระเบียบ (Systematic) มีเหตุผล (Rational) และมีวิธีการ (Methodical) ที่แน่นอน บางครั้งเราใช้คำว่า “วิชา” แทนคำว่า “ศาสตร์” หรือบางครั้งใช้คำว่า “หลักวิชา” แทนได้
__________________________________________________________________________
(๒.) ตอบ วิธีการแสวงหาความรู้ของศาสนาในโลกนี้เกิดจากแหล่งสำคัญ ๕ ประการ
๑.เกิดจากประสาทสัมผัส (Sense contact) หมายถึง การสัมผัสกันระหว่าง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ต่าง ๆ หากเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ความรู้ประจักษ์ ความรู้ประสบการณ์ ความรู้ภาวะวิสัย
๒.เกิดจากการคิดอนุมาน (imferrence) หมายถึง การคิดหาบทสรุปซึ่งเราไม่รู้มาก่อนโดยอาศัยสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วมาเป็นรากฐาน ความรู้ที่ได้จากการอนุมาน เรียกว่า
ความรู้ทางอ้อม ความรู้อนุมาน ความรู้ทางปรัชญา
๓. เกิดจากการเปิดเผยของเทพเจ้า ( revelation) หมายถึง ศาสนาเชื่อว่ามีความรู้บางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะมนุษย์มีความสามารถทางสติปัญญาจำกัด แต่เทพเจ้าเป็นสัพพัญญู (omniscient) รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และในบ้างครั้งเทพเจ้าสงสารมนุษย์ก็เปิดเผยความรู้ให้มนุษย์ได้ทราบโดยวิธีการต่าง ๆ
๔.เกิดจากวิชชุญาณ (Intuition) หมายถึง ความรู้ชนิดพิเศษที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน คล้ายกับเปิดไฟสว่างจ้าขึ้นในที่มืด ทำให้เห็นความจริงแท้ของสิ่งต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ความรู้แบบวิชชุญาณเกิดขึ้นเองในเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิอย่างเต็มที่แล้วเพ่งดูปรากฎการณ์แห่งชีวิต
๕.เกิดจากหลักฐานต่าง ๆ ( anthority) หมายถึง แหล่งความรู้สำเร็จรูปอยู่แล้ว ดังนี้
* จากท่านผู้รู้ เช่น ครู อาจารย์ นักปราชญ์ ศาสดา
* จากคัมภีร์หรือตำรา ที่ท่านผู้รู้ได้เขียนบันทึกไว้
* จากขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เชื่อปฏิบัติถ่ายทอดสืบต่อกันมา
__________________________________________________________________________
(๓.) ตอบ พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้คือ
พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเองแต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม ซึ่งเป็นองค์หนึ่งในบรรดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายที่ได้เคยตั้งพุทธบริษัทมาแล้ว และที่จะตั้งต่อไปในอนาคต ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากที่ตรัสรู้แต่ไม่มีบารมีพอให้ตั้งพุทธบริษัทได้ จึงให้ผลเฉพาะตัวเรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา คือ เป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ กล่าวคือ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ทั้งความเป็นจริงและข้อธรรมได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ เช่น วิเคราะห์จิตได้ละเอียดลอออย่างน่าอัศจรรย์ใจ วิเคราะห์ธรรมะออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุมและประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น
วิทยาศาสตร์ (Sciences) คือ ความรู้ที่มนุษย์มาโดยการใช้วิธีการอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนผ่านการสังเกต ทดลองอย่างเป็นรูปธรรมเป็นความรู้ที่คาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ และเมื่อไปจัดการกับวัตถุสิ่งของเรื่องทางกายภาพแล้วมีประสิทธิภาพ เป็นความรู้สากลเพราะสามารถพิสูจน์ ได้ และเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการศึกษาเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็นเงื่อนไข และให้ความมั่นใจได้ในระดับ “น่าจะเป็น” เช่น ถ้าเล่นกลางแดดมากจะปวดศีรษะ หรือ นำบริสุทธิ์ย่อมเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส เป็นต้น
ความรู้ทางพุทธศาสนา มีลักษณะเป็นสัจจะ และเป็นสากล ไม่ยกเว้นตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่เป็นเงื่อนไข เช่น มนุษย์กระทำการเพราะแรงจูงใจคือกิเลส ในศาสนาคริสต์ กล่าวว่า “ทุกคนมีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด” และในศาสนาอิสลามสอนว่า “ความตายคือพระประสงค์ของพระเจ้า”
__________________________________________________________________________
(๔.) ตอบ จิตวิทยา (psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าพฤติกรรมทั้งของคนและสัตว์เพื่ออธิบายการควบคุมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์และเพื่อตอบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมว่า เขาทำอย่างนั้นทำไม อะไรเป็นเหตุให้เขาทำอย่างนั้น การศึกษาเรื่องจิตทำให้เกิดคำถามและคำตอบมากมาย ทั้งเป็นลักษณะขัดแย้งและลงรอยกัน ซึ่งได้อธิบายด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่มีวิวัฒนาการดังนี้
๑.วิธีการทางปรัญชา ( Philosophical Appraoch)
๒.วิธีการทางศาสนา (Religioun Approach)
พุทธศาสนากับจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้คือ
ไม่ว่ายุดใดสมัยใดสิ่งที่มนุษย์ปรารถนามากที่สุดก็คือ ความสุข มนุษย์ทุกคนต่างดิ้นรนและไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้ แม้แต่ทารกที่เพิ่งคลอดออกมาดูโลกอันกว้างใหญ่ สิ่งที่เด็กต้องการคือความสุข จากการที่มีอะไรบางอย่างไปกระตุ้นริมฝีปาก เช่น การดูดนม ฟรอย์ด (Freuld) เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ทุกคนมีแรงขับซึ่งเป็นความต้องการสำหรับความอยู่รอด
แรงขับ (drives) แรงจูงใจ (motives) หรือความต้องการ (needs) มีลักษณะเป็นวัฏฏะจักรเช่นเดียวกับความหิว (hunger) ซึ่งเป็นแรงขับอย่างหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในการแสวงหาอาหาร พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้ไปสู่เป้าหมาย คืออาหาร เมื่อรับประทานอาหารแล้วความหิวก็หายไป และความอิ่มเข้ามาแทนที่
เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าความสุขและความทุกข์เป็นของคุ่กันและไม่อาจแยกออกจากกันได้โดยสิ้นเชิง ตั้งอยู่และดับไป ถ้ามองในทรรศนะของการ
เกิดและดับแล้ว ทั้งความสุขและความทุกข์จึงมีสภาพเหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งความสุขก็คือความทุกข์ในลักษณะหนึ่งนั่นเอง
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรียได้เสนอทฤษฎีบุคลิกภาพที่สำคัญ เรียกว่า ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยเสนอว่า ความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อกาแสดงออกของพฤติกรรมและเน้นถึงการแสดงสัญชาติทางเพศ ว่าเป็นแรงผลักดันที่สำคัญความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับจิตวิทยา
* จิตวิทยา มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาโดยมุ่งไปที่การแก้ปัญหาของคนป่วยโรคาจิต คนบ้าเสียสติ คนมีความวิปริตทางจิตใจแบบต่าง ๆ
* พุทธศาสนา มองปัญหาทางจิตใจของมนุษย์โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในวงการของการป่วยทางจิต คือ ไม่ได้เน้นเรื่องคนป่วยโรคจิต แต่เน้นที่ปัญหาทางจิตใจของมนุษย์ทั่วไปทุกคน
* จิตวิทยา ปัจจุบันมีการนำไปใช้ให้มีความสัมพันธ์กับค่านิยมในยุดอุตสาหกรรม ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาทางจิตวิทยามุ่งเพื่อนำมาเป็นอุบาย หรือใช้ประโยชน์ในการจัดการกับผู้อื่น เพื่อสนองความต้องการของคน
* พุทธศาสนา มุ่งพัฒนาจิตเพื่อให้อิสระไม่ตกเป็นทาสหรือเครื่องมือของกิเลส หรือความอยากในแง่การผลิตและการบริโภค
__________________________________________________________________________
(๕.) ตอบ รัฐศาสตร์ (Political Scienece) หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับรัฐนับตั้งแต่การกำเนิดวิวัฒนาการความเจริญเติบโต และความเสื่อม องค์ประกอบ หน้าที่และ บทบาทของรัฐบาล ประชาชนสถาบันทางการเมือง และการปกครอง ทฤษฎีและความคิดในการปกครองรัฐ อำนาจอธิปไตย เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
รัฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการปกครองที่จะทำให้ประชาชนของรัฐมีความผาสุข จึงเรียกว่า การเมือง (Political) ซึ่งหมายถึง อำนาจ (Power) อิทธิพล (Influence) และผลประโยชน์ (Interest) ที่ต่อรองและสัมพันธ์กัน
พุทธศาสนากับรัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญให้ความหมายเอกภาพ และสัญลักษณ์ของชาติเป็นที่มาของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติและเป็นวิถีประชาชนในชาติ
พุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดอุดมคติของสังคมมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ ไม่เพียงแต่ด้านพฤติกรรมทางกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงความรู้สึกสำนึกอีกด้วย การปกครองเป็นเรื่องของคน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ปกครองและฝ่ายผู้อยู่ใต้การปกครองที่พึ่งปฏิบัติต่อกันบนหลักธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งระเบียบและกฎเกณฑ์ทางสังคม หลักธรรมของศาสนาจึงเป็นรากฐานแห่งการปกครองอย่างจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้
รัฐศาสตร์พัฒนาขึ้นมาจากปรัชญาการเมือง และปรัชญาทางการเมืองก็มีรากฐานอยู่บนจริยศาสตร์ (Ethics) จริยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าความประพฤติของมนุษย์ว่า ผิด ถูก ชั่ว ดี อย่างไร บรรดาการปฏิบัติหรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งปวง จึงอาศัยหลักศีลธรรมของศาสนาเป็นวิถีทางดำเนินไปสู่เป้าหมายของชีวิตและความกลมกลืนทางสังคม
ศาสนากับรัฐศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญ ในความเอกภาพ และสัญญลักษณะของชาติที่มีมาของการถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ และเป็นวิถีประชาในชาติ
พุทธศาสนากับรัฐศาสตร์ ยังมีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องในทางใจ คือ ช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งอยู่ในความถูกต้อง เช่น ในศาสนาพุทธกล่าวถึง อธิปเตยยะ ๓ อย่าง คือ
๑.ความคิดเห็น
๒.การตัดสินใจ
๓.ความคล้อยตาม
__________________________________________________________________________
(๖.) ตอบ พุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
เศรษฐศาสตร์ พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เศรษฐศาสตร์พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานด้านปัจจัยความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยตรง มนุษย์ดำรงอยู่ท่ามกลางปัญหาทั้งหลาย และปัญหาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ก็คือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำอย่างไรจึงจะมีที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า อาหารบริโภค และยารักษาโรค หรือของกลางคือเงินไว้สำหรับใช้จ่าย แลกเปลี่ยน เพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ กิจกรรมในนี้จึงเจริญขึ้นเป็นระบบเศรษฐกิจ คือ อุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเป็นต้น
เศรษฐกิจเป็นเรื่องของคน ๒ คน คือ ผู้ลงทุน หรือผู้ผลิตกับผู้บริโภคผู้ลงทุนย่อมต้องการกำไรสูงสุด ส่วนผู้บริโภคใช้สอยทรัพยากรก็ยึดหลักการคือ ความพอใจสูงสุดจากการเลือกบริโภคสิ้นค้า ดังนั้น เป้าหมายสำคัญจึงอยู่ที่การได้รับค่าสูงสุดคือกำไรสูงสุดและความพอใจสูงสุด ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เกิดช่องว่างขึ้นมาระหว่างส่วนสุดทั้ง ๒ กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจ
วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา
หลักธรรมส่วนหนึ่งในพระพุทธศาสนา จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ แต่นั่นเป็นความคล้ายคลึงในบางแง่เท่านั้น มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ ดังนี้
ความรู้ในพระพุทธศาสนาทั้งหมด มีจุดมุ่งหมายหลักที่การนำไปใช้กลั่นกรองปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น หลักคำสอนในโอวาทปาฏิโมกข์ที่ว่า
๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๒.ทำความดีให้บริบูรณ์ ๓.ชำระจิตใจให้ผ่องใส
ประโยชน์ของความรู้ในทัศนะของพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๒ประเภท คือ
๑.ประโยชน์อันเกิดจากการนำความรู้นั้นมาสร้างความสะดวกสบายในชีวิต
๒.ประโยชน์อันเกิดจากการที่ความรู้นั้น ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพชีวิต
วิทยาศาสตร์เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ วิทยาศาสตร์เชื่อว่าคนสามารถเอาชนะธรรมชาติได้ แรกทีเดียววิทยาศาสตร์อาจมุ่งเอาชนะธรรมชาติส่วนที่เป็นสิ่งบั่นทอนชีวิตของมนุษย์ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปยาวนาน วิทยาศาสตร์ก็เริ่มหันเหการทำงานส่วนหนึ่งออกไป เพื่อสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น ซึ่งถือว่ามีความแตกต่างจากพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิงในประเด็นนี้
วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องสสาร เรื่องที่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ดังนั้นรากฐานทางอภิปรัชญาของวิทยาศาสตร์ จึงได้แก่แนวคิดแบบสสารนิยม
นักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น นิวตัน เชื่อในสิ่งเร้นลับที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น พระเจ้า จิต วิญญาณ แต่นักวิทยาศาสตร์ของคนบางคนได้มีความเชื่อในเรื่องของจิต วิญญาณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิทยาศาสตร์ไม่อนุญาตให้เราใส่เรืองที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยประสาทสัมผัสปะปนลงไปในเนื้อหาของวิทยาศาสตร์
ส่วนพุทธศาสนาเป็นที่ทราบกันดีว่า มีรากฐานทางอภิปรัชญาแบบจิตนิยม พุทธศาสนาเชื่อว่าภายในจักวาลนี้นอกจากวัตถุแล้ว ยังมีสิ่งอื่นทีมิใช่วัตถุรวมอยู่ด้วย แนวคิดแบบจิตนิยมของพุทธศาสนา อาจดูได้จากการสอนเรื่องาขันธ์ ๕ พุทธศาสนาเชื่อว่าคนเราประกอบด้วยกายกับขันธ์อื่นอีก ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ๔ ขันธ์หลังนี้ไม่ใช่สสาร หากแต่เป็นนามธรรม
ดังนั้นในทรรศนะของพุทธศาสนา การที่คนเราคิดได้ มีอารมณ์ความรู้สึก มีจินตนาการ มีความรัก ความเกลียด ความโกรธ ความโลภ ก็เพราะเรามีจิตซึ่งแตกต่างห่างจากกาย คนไม่ใช่กลุ่มก้อนของสสารอย่างที่ลัทธิสสารนิยมเชื่อ
ความแตกต่างระหว่างรากฐาน เป็นเรื่องสำคัญที่คนอ้างบ่อย ๆ ว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์บ้าง พุทธศาสนาเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์บ้าง การอ้างอย่างนั้นแม้จะเกิดจากความหวังดีและต้องการที่จะเชิดชูพุทธศาสนา แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง
ความรู้ในพุทธศาสนา อาจพิสูจน์ตรวจสอบได้เหมือนกับความรู้ในวิทยาศาสตร์ เพราะต่างก็เป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อาจตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสและมีเหตุผลเหมือนกัน แต่นั้นไม่จำเป็นว่าพุทธศาสนาจะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ หรือเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ รากฐานของสองความรู้นี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อสาวให้ลึกลงไปถึงที่สุดแล้ว วิทยาศาสตร์นั้นเองคือสิ่งที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงต่อพุทธศาสนา
__________________________________________________________________________
(๗.) ตอบ พุทธศาสนากับการ พุทธศาสนาได้พัฒนาไปเป็นลำดับขั้นดังต่อไปนี้
ศาสนามีอิทธิพลต่อสังคมทั้งทางลบและทางบวก คือ ก่อให้เกิดความแตกแยกและการรวมตัวกันของสังคม ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
๑.ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม อิทธิพลของศาสนาที่ก่อให้เกิดความแตกแยกและการรวมตัวกันของสังคม ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
๑.๑อิทธิพลของคำสอน การตีความหมายของคำสอนต่างกันก่อให้เกิดนิกายทางศาสนาขึ้นมา
๑.๒อิทธิพลของพิธีเคารพบูชา ผู้ที่นิยมพิธีแบบเดียวกันย่อมจะรวบรวมกันเป็นพวกเดียวกัน
๒.ก่อให้เกิดการแยกกลุ่ม คือ ศาสนาและความเชื่อแบบใหม่ก่อให้เกิดสังคมใหม่
๓.ให้ทัศนะคติแก่สังคม ประสบการณ์และคำสอนของแต่ละศาสนามีอิทธิพลต่อความรู้สึกของคนในสังคม
๔.ศาสนาช่วยเสริมสร้างทางศิลปะ คือ ก่อให้เกิดศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น ละคร วรรณคดี สถาปัตยกรรม
หน้าที่ของศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อสังคม ซึ่งสามารถควบคุมและปรับสภาพสังคมให้เป็นไปตามบทบาทอันเกิดจากอิทธิพลของศาสนา คือ อิทธิพลอันเกิดจากระบบความเชื่อในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เวทมนต์ คาถาอาคม หรือคำสั่งในเรื่องเหตุผล รวมทั้งจริยธรรม อันเป็นหน้าที่ค้ำจุนสังคมให้ทรงความมั่นคงเอาไว้ได้
__________________________________________________________________________
(๘.) ตอบ พุทธศาสนามีส่วนแก้ปัญหาสังคมอย่างนี้คือ
พุทธศาสนาไม่ส่งเสริมศรัธาที่ไม่ใช่ปัญญา ดังที่ปรากฏในกาลามสูตร ไม่ให้เราเชื่ออะไรง่ายๆ ๑๐ ประการ การไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แม้แต่ในคัมภีร์หรือพระอาจารย์ นอกเสียจากได้ใคร่ครวญลงมือปฏิบัติ ถือว่าเป็นหนทางแห่งปัญญา พุทศาสตร์นาไม่ใช่ปรัชญา หรือภิปรัชญาแต่พุทธศาสตร์นั้นจะหมายถึงแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ สิ่งใดไม่ใช่ความจริงไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และสิ่งนั้นไม่ใช่พุทธธรรม
พุทธศาสนาเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตและสังคม ความเชื่อหรือการปฏิบัติใดที่ก่อให้เกิดปัญหาชีวิตและสังคมสิ่งนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา ดังมีหลักยึดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบแล้วในอริยสัจ ๔ ประการ ในการแก้ปัญหา กำจัดทุกข์ ปัญหาบ้านเมืองที่เราประสบอยู่ถ้าได้นำหลักการนี้ไปใช้อย่างจริงจังก็น่าจะบรรเทาเบาบางลงว่า ปัญหาที่แท้จริงมันเกิดจากอะไร ให้ทุกคนยอมรับความจริงเสียก่อน เมื่อรู้สาเหตุก็จะทำให้ทราบ
ยกตัวอย่างวิธีแก้ไขปัญหาในกรณีต้องการใส่คำว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ถ้าคิดจะใส่ไว้แล้วมันเกิดปัญหาก็ไม่จำเป็นต้องใส่ไว้ เพราะดังกล่าวแล้วว่าพุทธศาสนามีไว้แก้ปัญหาไม่ใช่สร้างปัญหาเสียเอง ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าสังคมเราป่วยเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่ได้แก้ไข เราจะต้องระดมปัญญาเข้ามาแก้ไข ว่าควรจะทำอะไร ทุกคนมีส่วนช่วยที่จะเสนอแนะได้ในทางที่ดีที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง ไม่ตัดสินปัญหาด้วยกำลังดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้โดยหลักการทั่วไปชองชาวพุทธนั้นเมื่อเห็นคนตกทุกข์ได้ยากต้องช่วยเหลือโดยไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา เพราะศาสนาสอนเราให้มีเมตตากรุณา ไม่ทำลายล้างซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งดันและกัน แต่พยายามสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น หรือพยายามลดความขัดแย้งอันจะส่งผลที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ผู้เขียนยังเชื่อว่าจะให้ทุกคนได้รับความยุติธรรมเท่ากันหมดทุกคนคงเป็นไปไม่ได้ บางคนอาจจะโชคดีกว่าอีกคนที่โอกาสอำนวย แต่อีกจำนวนหนึ่งก็ไม่ได้โชคดี ทำอย่างไรจึงเฉลี่ยความสุข อุดมสมบูรณ์ให้กับคนที่ไม่โชคดี ไร้โอกาสปัจจุบันคนเยื้อแย่ง แย่งชิงวัตถุกันโดยหวังว่าวัตถุนั้นจะนำความสุขมาให้ ซึ่งก็ไม่จริงเสมอไป เพราะพบว่าการมีวัตถุหรือทรัพย์สมบัติมากกลับสร้างความทุกข์ให้กับเจ้าของทรัพย์
__________________________________________________________________________
(๙.) ตอบ บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนมีปัญหาอย่างไรตามที่ได้ประสบมา
หากจะมองจากบทบาทหลักของพระสงฆ์ โดยที่เริ่มจากบทบาทภายในของคณะสงฆ์เอง แล้วส่งผลต่อสังคม ต่อชุมชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น อันได้แก่
- ด้านการปกครองปกครองกันแบบพ่อปกครองลูก อาจารย์ปกครองศิษย์ ดังปรากฏตัวอย่างที่เป็นต้นแบบให้เห็นชัดเจน คือ หน้าที่ของสัทธิวิหาริกที่จะพึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์ และ หน้าที่ของพระอุปัชฌาย์จะพึงปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก ตรัสสั่งให้พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์เสมือนบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังกันและกัน ย่อมถึงซึ่งความเจริญงอกงามในธรรม
- ด้านการปกครองปกครองกันแบบพ่อปกครองลูก อาจารย์ปกครองศิษย์ ดังปรากฏตัวอย่างที่เป็นต้นแบบให้เห็นชัดเจน คือ หน้าที่ของสัทธิวิหาริกที่จะพึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์ และ หน้าที่ของพระอุปัชฌาย์จะพึงปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก ตรัสสั่งให้พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์เสมือนบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังกันและกัน ย่อมถึงซึ่งความเจริญงอกงามในธรรม
- ด้านการศึกษาและการศึกษาสงเคราะห์ บทบาทของพระสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันพระสงฆ์ได้ทำหน้าที่ให้ความอนุเคราะห์ในด้านการศึกษา ทั้งส่วนที่จัดการศึกษาเองโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ทางรัฐบาลไม่สามารถจัดการศึกษาบริการได้ทั่วถึง อันได้แก่กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางสังคม ด้อยโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ก็ได้อาศัยพระสงฆ์ให้การศึกษา ในขณะที่ศึกษาก็ไม่ต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาล แต่ใช้ทุนจากประชาชนโดยตรง ทั้งที่อยู่อาศัย อาหารและในการใช้จ่าย แม้จะมีส่วนหนึ่งที่เรียนจบแล้วที่ทางฝ่ายคณะสงฆ์ยังไม่ได้ใช้งาน แล้วท่านเหล่านั้นลาสมณะเพศออกไปก็ไปทำงานให้ทางรัฐบาล โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุน หากมองอย่างนี้แล้วจะเห็นได้ว่าคณะสงฆ์ได้ช่วยเหลือสงเคราะห์รัฐบาลด้วย ไม่เพียงแต่ได้ช่วยอนุเคราะห์กับประชาชนกลุ่มที่ด้อยโอกาสเพียงฝ่ายเดียว แต่อย่างไรก็ตามบทบาทของพระสงฆ์ในการศึกษาสงเคราะห์นี้ อาจมองได้ทั้งที่เป็นระบบ คือจัดตั้งโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอน มีหลักสูตรที่แน่นอน และอีกที่จัดอย่างไม่เป็นระบบ อาจเป็นลักษณะการให้ทุนสนับสนุนการศึกษา การให้ทุนในสร้างอาคารเรียน ให้ทุนซื้อสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์ทางการศึกษา ให้ทุนการศึกษากับครูเพื่อพัฒนาครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ฯลฯ
- ด้านการเผยแผ่ บทบาทด้านการเผยแผ่ที่เป็นปกติจนประชาชนมองเป็นวิถีชีวิตหรือเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ ก็คือการแสดงธรรมในวันพระ ในเทศกาลวันสำคัญ พระสงฆ์ได้โอกาสในการแสดงธรรมการเผยแผ่ธรรมอยู่เป็นปกติ และในรูปแบบที่ไม่เป็นรูปแบบ กล่าวคืออาจจะใช้วิธีการพูดคุยสนทนาในโอกาสพบปะ จะเป็นการเผยแผ่โดยไม่เป็นกิจลักษณะ แต่ก็แฝงด้วยให้ข้อคิดทางธรรม หรือในโอกาสที่ประชาชนมาทำบุญวันเกิดแล้วขอพรจากพระสงฆ์ มาถวายสังฆทานแล้วพระสงฆ์ก็ให้พร ในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นการสอนโดยที่ผู้รับไม่รู้ว่าถูกสอน แต่ได้ซึมซับเอาคำสอน เอาคติธรรม ได้เกิดการเรียนรู้พระธรรมคำสอน หากพระสงฆ์สำนึกตระหนักในบทบาทเหล่านี้อย่างจริงจัง พระสงฆ์จะมีโอกาสในการเผยแผ่ธรรมและได้เข้าถึงประชาชนโดยไม่ยากเลย และไม่ต้องรอเทศกาลสำคัญใดๆ ทั้งสิ้น ในความเห็นส่วนตัวแล้วรูปแบบโอกาสใดไม่สำคัญ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้ฟังเกิดการเรียนรู้จุดที่ต้องการคือให้ผู้ฟังได้เกิดการเรียนรู้จะให้ใครเป็นศูนย์กลางก็แล้วแต่อยากจะกล่าวด้วยว่าขอให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลางอันเป็นจุดที่ต้องการให้เกิดกับผู้ฟัง ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนแห่งพฤติกรรมของคน ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด ให้เขาเรียนรู้ในด้านใด
- ด้านสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ บทบาทด้านสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ อันเป็นบทบาทหลักอีกด้านหนึ่ง ที่หมายถึงด้านการก่อสร้าง การพัฒนาศาสนวัตถุ โดยเริ่มจากการสร้างศาสนวัตถุภายในวัดของพระสงฆ์ สร้างเพื่อให้เป็นที่สะดวกแก่การศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม มิใช่เป็นการสร้างเพื่ออวดอ้างบารมี แข่งขันความฟุ่มเฟือยหรูหรา เอาบทบาททั้งหมดมาทุ่มเทกับบทบาทด้านการก่อสร้าง บางวัดสร้างโบสถ์มาจนเจ้าอาวาสตายไป ๔-๕ องค์โบสถ์ยังเสร็จ
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันพระสงฆ์ได้ทำหน้าที่ให้ความอนุเคราะห์ในด้านการศึกษา ทั้งส่วนที่จัดการศึกษาเองโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ทางรัฐบาลไม่สามารถจัดการศึกษาบริการได้ทั่วถึง อันได้แก่กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางสังคม ด้อยโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ก็ได้อาศัยพระสงฆ์ให้การศึกษา ในขณะที่ศึกษาก็ไม่ต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาล แต่ใช้ทุนจากประชาชนโดยตรง ทั้งที่อยู่อาศัย อาหารและในการใช้จ่าย แม้จะมีส่วนหนึ่งที่เรียนจบแล้วที่ทางฝ่ายคณะสงฆ์ยังไม่ได้ใช้งาน แล้วท่านเหล่านั้นลาสมณะเพศออกไปก็ไปทำงานให้ทางรัฐบาล โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุน หากมองอย่างนี้แล้วจะเห็นได้ว่าคณะสงฆ์ได้ช่วยเหลือสงเคราะห์รัฐบาลด้วย ไม่เพียงแต่ได้ช่วยอนุเคราะห์กับประชาชนกลุ่มที่ด้อยโอกาสเพียงฝ่ายเดียว แต่อย่างไรก็ตามบทบาทของพระสงฆ์ในการศึกษาสงเคราะห์นี้ อาจมองได้ทั้งที่เป็นระบบ คือจัดตั้งโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอน มีหลักสูตรที่แน่นอน และอีกที่จัดอย่างไม่เป็นระบบ อาจเป็นลักษณะการให้ทุนสนับสนุนการศึกษา การให้ทุนในสร้างอาคารเรียน ให้ทุนซื้อสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์ทางการศึกษา ให้ทุนการศึกษากับครูเพื่อพัฒนาครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ฯลฯ
- ด้านการเผยแผ่ บทบาทด้านการเผยแผ่ที่เป็นปกติจนประชาชนมองเป็นวิถีชีวิตหรือเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ ก็คือการแสดงธรรมในวันพระ ในเทศกาลวันสำคัญ พระสงฆ์ได้โอกาสในการแสดงธรรมการเผยแผ่ธรรมอยู่เป็นปกติ และในรูปแบบที่ไม่เป็นรูปแบบ กล่าวคืออาจจะใช้วิธีการพูดคุยสนทนาในโอกาสพบปะ จะเป็นการเผยแผ่โดยไม่เป็นกิจลักษณะ แต่ก็แฝงด้วยให้ข้อคิดทางธรรม หรือในโอกาสที่ประชาชนมาทำบุญวันเกิดแล้วขอพรจากพระสงฆ์ มาถวายสังฆทานแล้วพระสงฆ์ก็ให้พร ในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นการสอนโดยที่ผู้รับไม่รู้ว่าถูกสอน แต่ได้ซึมซับเอาคำสอน เอาคติธรรม ได้เกิดการเรียนรู้พระธรรมคำสอน หากพระสงฆ์สำนึกตระหนักในบทบาทเหล่านี้อย่างจริงจัง พระสงฆ์จะมีโอกาสในการเผยแผ่ธรรมและได้เข้าถึงประชาชนโดยไม่ยากเลย และไม่ต้องรอเทศกาลสำคัญใดๆ ทั้งสิ้น ในความเห็นส่วนตัวแล้วรูปแบบโอกาสใดไม่สำคัญ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้ฟังเกิดการเรียนรู้จุดที่ต้องการคือให้ผู้ฟังได้เกิดการเรียนรู้จะให้ใครเป็นศูนย์กลางก็แล้วแต่อยากจะกล่าวด้วยว่าขอให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลางอันเป็นจุดที่ต้องการให้เกิดกับผู้ฟัง ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนแห่งพฤติกรรมของคน ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด ให้เขาเรียนรู้ในด้านใด
- ด้านสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ บทบาทด้านสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ อันเป็นบทบาทหลักอีกด้านหนึ่ง ที่หมายถึงด้านการก่อสร้าง การพัฒนาศาสนวัตถุ โดยเริ่มจากการสร้างศาสนวัตถุภายในวัดของพระสงฆ์ สร้างเพื่อให้เป็นที่สะดวกแก่การศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม มิใช่เป็นการสร้างเพื่ออวดอ้างบารมี แข่งขันความฟุ่มเฟือยหรูหรา เอาบทบาททั้งหมดมาทุ่มเทกับบทบาทด้านการก่อสร้าง บางวัดสร้างโบสถ์มาจนเจ้าอาวาสตายไป ๔-๕ องค์โบสถ์ยังเสร็จ
__________________________________________________________________________
(๑๐.) ตอบ คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของในหลวง มีดังต่อไปนี้คือ
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
๑.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
๓.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ดังตัวอย่างพระราชดำรัสต่อไปนี้
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่แต่เราอยู่ อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วม ให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”
“...การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง..”
__________________________________________________________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น