แบบฝึกหัด
๑.ตอบ นิกายทั้ง ๓ นิกายมีความแตกต่างกันอย่างนี้คือ
นิกายโรมันคาทอลิกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ นักบุญเปโตร ได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร อาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังในฐานะ " ผู้ดูแลฝูงแกะ" ของพระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะนักบวชเท่านั้น แต่เป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิกจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่นให้สัตบุรุษมีศรัทธา และปฏิบัติตามพระศาสนจักร เพราะศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์การที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามภาระกิจ ที่พระเจ้าได้มอบไว้
เดิมทีศาสนาคริสต์ยังไม่แบ่งแยกเป็นนิกาย ต่อเมื่อเกิดการแยกตัวของนิกายใหม่ ผู้ปฏิบัติในแนวทางเดิม (ที่ผ่านการเติบโตและดัดแปลงจากสมัยนักบุญเปโตร) จึงได้รับการแยกแยะว่าเป็นนิกายดั้งเดิม แตกต่างจากนิกายใหม่ เหตุการณ์แบ่งแยกครั้งแรกเกิดในรัชสมัยของ จักรพรรดิคอนสแตนติน เมื่อพระองค์ได้ตั้งราชธานีใหม่ในภาคตะวันออก แถบประเทศตุรกีในปัจจุบัน พระราชทานนามว่า "คอนสแตนติโนเปิล" หรือ โรมันตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ อาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรนี้มีความอิสระแยกออกจาก โรมันตะวันตก ซึ่งมี กรุงโรม เป็นศูนย์กลาง แต่เมื่อนานวันอาณาจักรโรมันตะวันออกมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระในทุกด้าน จึงตีตนออกห่าง แยกการปกครองเป็นเอกเทศ รวมถึงการปกครองทางศาสนา มีความเป็นอิสระจากกรุงโรม ไม่ยอมรับในพระราชอำนาจของพระสันตะปาปา จึงทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็นนิกาย กล่าวคือ อาณาจักรโรมันตะวันตกได้รับอิทธิพลจากสำนักวาติกัน ซึ่งการศาสนามีบทบาทกลมกลืนกับสังคมและการเมือง นับถือ นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนอาณาจักรโรมันตะวันออกได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของเอเชีย นับถือ นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์
นิกายออร์โธดอกซ์
มาจากคำว่า Orhtos เป็นคำภาษากรีก แปลว่าสัจธรรม หรือความเที่ยงตรง ผสมกับคำว่า Doxa เป็นภาษากรีกเช่นกัน แปลว่า ศรัทธารวมกัน หมายถึงความเชื่อ ตามบัญญัติอันแท้จริงในพระคัมภีร์เดิม เป็นนิกาย แรก ที่แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสำนัก วาติกันในกรุงโรม โดยมีสาเหตุใหญ่ที่สุดคือ การปฏิเสธในอำนาจของ พระสันตะปาปา ประกอบกับ มีพื้นภูมิประเทศที่ห่างไกล จากอำนาจของโรมันตะวันตก จึงเป็นการง่ายที่จะตั้งตนเป็น อิสระ และปฏิบัติพิธีกรรมความเชื่อ ไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิม ของตนผสมผสมผสานกับความเชื่อใน คริสตศาสนา ดังนั้นนิกายออร์ธอด็อกซ์ จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกแยก จากพวกคาทอลิค และพวกโปรเตสแตนด์ ลัทธิออร์โธดอกซ์กำเนิดในปาเลสไตน์ เกิดในปีความศ.1054 โดยหลังจาก พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์แล้ว 2 เดือน ศิษย์ของพระเยซู เดินทางไปเผยแผ่ศาสนา เปรโตไปกรุงโรม ขณะที่เปาโลไปกรีซ ต้นสายของออร์โธดอกซ์ จึงมีรกรากอยู่ที่ภูเขาอาธอส ในประเทศกรีซ
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดกับนิกายคาทอลิกในสมัยนั้นคือ ออร์โธดอกซ์ ถือพระผู้เป็นเจ้า และพระเยซู เป็นหนึ่งเดียว บุคคลจึงไม่ต้องไปขอไถ่บาป กับบาทหลวงผู้ใด สำหรับโรมันคาทอลิก แยกสายไปที่กรุงโรมเมื่อปี ความศ. 50 ก่อนหน้านี้ ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองของตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อ สำนักวาติกัน ของโรม มีปาตริอาร์ค เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์ บางกลุ่ม ที่ยังขึ้นต่อ สำนักวาติกัน เรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออก แต่ระบบการปกครอง อยู่ภายใต้การชี้นำ ของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกาย ออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย รัสเซีย ฯลฯ
โปรเตสแตนต์
มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและชีวิต คริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า "โปรเตสแตนด์" (Protestant) ซึ่งแปลว่า "ประท้วง", "ผู้คัดค้าน" แยกตัวในปี ความศ. 1529 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอรมัน และผู้สนับสนุน ในยุคที่ฝ่ายคาทอลิกเกิดปัญหาขึ้นมากมาย ทั้งในหมู่คณะสงฆ์ และการตีความพระคัมภีร์
มาร์ติน ลูเธอร์ (1483-1546) เกิดที่แซกซอน ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียน ได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอก และได้ศึกษาเทวศาสตร์ และได้เป็นครูในมหาวิทยาลัย มีผู้รักใคร่ เชื่อถือ จำนวนมาก ต่อมาลูเธอร์ มีโอกาส เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และตะลึง ที่เห็นว่า สังฆราชมีชีวิตอยู่ ฟุ้งเฟ้อ เลิศเลอ จนเกินเหตุ จึงเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ต่อมาได้ตีความพระคัมภีร์ ไบเบิล และวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง พระศาสนจักร ซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก ความคิดของ มาร์ติน ลูเธอร์ ได้รับการสนับสนุนจากมหาชนเยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลาย ออกไปทั่วยุโรป การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศบัพพาชนียกรรม มาร์ติน ลูเธอร์ ต่อมาทางฝ่ายสังฆราชบัญญัติกฎที่หาประโยชน์แต่กลุ่มของตนเอง เอาเปรียบหลอกเงินชาวบ้าน ลูเธอร์ จึงเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลาย มาหารือกันว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างไรดี เรื่องกระทบไปถึงวงการการเมือง เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งเยอรมนี เกรงว่าความแตกแยกทางศาสนา จะทำให้กลุ่มแตกแยก ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว กระเทือนบัลลังก์ของพระองค์ จึงให้เปิดสภาไต่สวน เพื่อเอาผิด ลูเธอร์ ซึ่งปรากฏว่า สภาจับผิด อะไรไม่ได้ แต่ก็ลงเอยด้วยการประกาศให้ลูเธอร์ เป็นคนนอกศาสนาอยู่ดี สุดท้าย ลูเธอร์ แต่งหนังสือบรรยาย ความเห็น แสดงลัทธิใหม่ แปลคัมภีร์ไบเบิลออกมา เป็นถ้อยคำที่ชาวบ้านทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจ จึงเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน
มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและชีวิต คริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า "โปรเตสแตนด์" (Protestant) ซึ่งแปลว่า "ประท้วง", "ผู้คัดค้าน" แยกตัวในปี ความศ. 1529 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอรมัน และผู้สนับสนุน ในยุคที่ฝ่ายคาทอลิกเกิดปัญหาขึ้นมากมาย ทั้งในหมู่คณะสงฆ์ และการตีความพระคัมภีร์
มาร์ติน ลูเธอร์ (1483-1546) เกิดที่แซกซอน ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียน ได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอก และได้ศึกษาเทวศาสตร์ และได้เป็นครูในมหาวิทยาลัย มีผู้รักใคร่ เชื่อถือ จำนวนมาก ต่อมาลูเธอร์ มีโอกาส เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และตะลึง ที่เห็นว่า สังฆราชมีชีวิตอยู่ ฟุ้งเฟ้อ เลิศเลอ จนเกินเหตุ จึงเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ต่อมาได้ตีความพระคัมภีร์ ไบเบิล และวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง พระศาสนจักร ซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก ความคิดของ มาร์ติน ลูเธอร์ ได้รับการสนับสนุนจากมหาชนเยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลาย ออกไปทั่วยุโรป การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศบัพพาชนียกรรม มาร์ติน ลูเธอร์ ต่อมาทางฝ่ายสังฆราชบัญญัติกฎที่หาประโยชน์แต่กลุ่มของตนเอง เอาเปรียบหลอกเงินชาวบ้าน ลูเธอร์ จึงเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลาย มาหารือกันว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างไรดี เรื่องกระทบไปถึงวงการการเมือง เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งเยอรมนี เกรงว่าความแตกแยกทางศาสนา จะทำให้กลุ่มแตกแยก ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว กระเทือนบัลลังก์ของพระองค์ จึงให้เปิดสภาไต่สวน เพื่อเอาผิด ลูเธอร์ ซึ่งปรากฏว่า สภาจับผิด อะไรไม่ได้ แต่ก็ลงเอยด้วยการประกาศให้ลูเธอร์ เป็นคนนอกศาสนาอยู่ดี สุดท้าย ลูเธอร์ แต่งหนังสือบรรยาย ความเห็น แสดงลัทธิใหม่ แปลคัมภีร์ไบเบิลออกมา เป็นถ้อยคำที่ชาวบ้านทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจ จึงเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน
๒.ตอบ ความรักในศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาคริสต์อย่างนี้คือ
ศาสนาคริสต์ถือว่าความรักคือสิ่งสูงสุด คือทุกสิ่ง คือพระลักษณะของพระเจ้า คือพระเจ้า พระเจ้าคือความรัก ความรักของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุดความรักย่อมอดทนนาน และกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัวไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียวไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีในการประพฤติผิดแต่ชื่นชมยินดีในความประพฤติชอบความรักให้ทนได้ทุกอย่าง แม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอและทนต่อทุกอย่าง ความรักไม่มีวันสิ้นสุดเปรียบเสมือนความรักที่พระเยซูมีต่อเรา โดยลงมาตายบนไม้กางเขน ที่หาค่าไม่ได้ และไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่ปรารถนาจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้กลับคืนดีกับเราอีกไม่มีรักใดจะยิ่งใหญ่กว่านี้อีก คือการที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหายของตน''และเหตุฉะนั้นจึงตั้งอยู่ ๓ สิ่ง
ความเชื่อ ๑ ความหวังใจ ๑ ความรัก ๑ แต่ความรักยิ่งใหญ่ที่สุดนอกจากนั้นพระคัมภีร์ยังเตือนว่าการมีทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ดี แต่ถ้าหากปราศจากความรักแล้วจะมีคุณค่าก็หามิได้เลยแม้ข้าพเจ้าจะพูดภาษาแปลกๆที่เป็นภาษามนุษย์หรือทูตสวรรค์ได้ แต่ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าเป็นเหมือนฆ้องหรือฉาบที่กำลังส่งเสียง แม้ข้าพเจ้าจะเผยพระวจนะได้ จะรู้ความล้ำลึกทุกอย่างและมีความรู้ทั้งสิ้น และแม้จะมีความเชื่อมากยิ่งที่จะย้ายภูเขาไปได้ แต่ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย แม้ข้าพเจ้าจะบริจาคสิ่งของของข้าพเจ้าทุกอย่างหรือยอมให้เอาตัวไป เผาไฟ(สำเนาโบราณบางฉบับว่า เอาตัวไปเพื่อข้าพเจ้าจะอวดได้) แต่ไม่มีความรัก ก็จะไม่เป็นประโยชน์กับข้าพเจ้า ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ แม้การเผยพระวจนะก็จะเสื่อมสลายไป แม้การพูดภาษาแปลกๆก็จะเลิกพูดกัน แม้วิชาความรู้ก็จะเสื่อมสลายไปพระองค์เอง ยังทรงย้ำอีกว่า คนที่เป็นสาวกของพระองค์ต้องมีความรัก หากไม่มีความรัก ไม่ใช่สาวกของพระองค์
ศาสนาพุทธความรักคือความทุกข์ รักน้อยทุกข์น้อย รักมากทุกข์มาก ไม่รักเลยไม่ทุกข์เลย
หากแต่คำกล่าวนี้ แท้จริงไม่ได้สื่อความว่าไม่ให้คนเรารักกัน แต่ความรักที่ให้แก่กันจะต้องเป็นความรักที่มอบให้อย่างบริสุทธิ์ใจอย่างมีเมตตาไม่คิดยึดติดในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียงหรือความรู้สึกต่อความรักนั้นๆ การแผ่เมตตาก็ถือเป็นความรักรูปแบบหนึ่ง
สรุป ในเทวิทยาศาสนาคริสต์ ความกรุณาหรือความรัก (agapē) อันเป็นคุณความดีทียิ่งใหย่ที่สุดในความดีสามประการแห่งนักบุญบริสุทธิ์Deus caritas est - "พระเจ้าคือความรัก" นอกจากนี้ยังมีความรักกรุณาที่ว่าความกรุณาได้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ รักพระเจ้าและรักในมนุษย์ "จงรักพระเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้า และรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง"
และในพระพุทธศาสนายังมีข้อที่กล่าวถึงความกรุณาคือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ หรือการเห็นผู้อื่นหรือสรรพสัตว์เป็นทุกข์หรือตกอยู่ในทุกข์แล้วทนอยู่ไม่ได้ ต้องหาทางช่วยเหลือเต็มที่ในพระพุทธศาสนา เมตตา เป็นหนึ่งในพรหมวิหารธรรม หรือพรหมวิหารสี่ ซึ่งประกอบไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยเป็นปัจจัยให้เกิดพรหมวิหารอื่นได้
๓.ตอบ คัมภีร์ใบเบิลได้สอนเรื่องเหล่านี้คือ
พระคัมภีร์ทุกข้อทุกตอนนั้นได้รับการดลใจจากพระเจ้า ผ่านทางมนุษย์ที่ถูกเลือกให้เขียนพระคัมภีร์ในบทนั้นๆมีจำนวน ๗๓ เล่ม ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิม กับพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูเจ้าประสูติ ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาฮีบรู มีบางส่วนถูกเขียนด้วนภาษากรีก และภาษาอิยิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเจ้าประสูติแล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูเจ้าตลอดพระชนม์ชีพ
ไบเบิล (Bible) (มาจากภาษากรีกว่า บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับ พระเจ้า, มนุษย์, ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความเป็น บาป สู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของ ศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาย ของ ชาวยิว
พันธสัญญา คือ สัญญาของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์
พันธสัญญาเดิม และ พันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิม เป็นสัญญาของพระเจ้าให้กับชาวยิว พันธสัญญาใหม่ เป็นสัญญาของพระเจ้าให้กับมนุษย์ทั้งมวล
*ด้วยพันธสัญญาทั้ง ๒ ฉบับนี้ทำให้ศาสนาคริสต์ขยายตัวได้เร็ว*
คัมภีร์พระไตรปิฏกสอนเรื่องเหล่านี้คือ
พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับคัมภีร์ของศาสนาอื่น เป็นหนังสือที่บอกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและข้อปฏิบัติที่สาวกพึงนำมาปฏิบัติ อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่คงไว้ซึ่งประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปผู้ที่มีความสนใจได้เป็นอย่างมาก คำสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้านั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด การที่เราจะได้ยินได้ฟังด้วยตัวเราเองนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะพระองค์ทรงดับขันธปรินิพพานนานแล้ว จึงมีแต่เพียงตำราเท่านั้นที่จะให้เราได้ศึกษา และถือว่าพระไตรปิฎกนั้นเป็นตำราที่สมบูรณ์ที่สุดที่ได้บันทึกเรื่องราวทั้งของพระพุทธเจ้า พระสาวก และคำสอนต่างๆ ของพระองค์ ดังนั้นจึงมีแต่เพียงพระไตรปิฏกเท่านั้นที่เราสามารถศึกษาหลักคำสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้
ฉะนั้น ผู้ที่จะศึกษาพระไตรปิฎกควรทราบถึงประวัติความเป็นมาของพระไตรปิฎก เพื่อให้ทราบว่าพระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นในสมัยใด เป็นต้น
__________________________________________________________________
๔.ตอบ จุดเด่นของพระพุทธศาสนา
-เป็นศาสนาแห่งความรู้และความจริง
-เป็นศาสนาแห่งความอิสรเสรีภาพ
-เป็นศาสนาอเทวนิยม
-เป็นศาสนาแห่งสันติภาพ
-เป็นกรรมวาท กิริยาท วิริยวาท
-เป็นวิภัชชวาท
-เป็นศาสนาแห่งปัญญา
-เป็นศาสนาที่เชื่อว่ามนุษย์ประเสริฐด้วยการฝึกฝนพัฒนา
-เป็นศาสนาแห่งการศึกษา
จุดด้อยของพระพุทธศาสนา
-สาวกทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก
-เป็นหลักคำสอนขัดต่อความรู้สึก
-เป็นคำสอนที่ลึกซึ้งมากเกินไป
-ผู้ศึกษาจับต้นชนปลายไม่ถูก
-ผู้สืบทอดมีน้อย
-มีการเผยแผ่ไม่ทั่วถึง
-คนสนใจน้อย
-สิ่งจูงใจมีอิทธิพลมากกว่า
-มีการประพฤตินอกรอย
จุดเด่นของศาสนาคริสต์
-มีคำสอนที่ลึกซึ้ง
-มีต้นทุนในการเผยแผ่เยอะ
-เข้าถึงมวลชน
-มีคนน้อยแต่มีอำนาจ
-มีความสามัครคีกันมาก
-เป็นคำสอนที่ทำให้ผู้ศึกษาคล้อยตาม
-เป็นศาสนาที่เน้นเรื่องความรัก
-ผู้มาเผยแผ่มีกลวิธีในการเผยแผ่
-มีการชักชวนให้มานับถือ
-ผู้เข้ามานับถือได้รับประโยชน์
-เป็นศาสนาที่คนมีหน้าตาในสังคมนับถือ
จุดด้อยของศาสนาคริสต์
-เป็นหลักธรรมที่พิสูตรไม่ได้กับวิทยาศาสตร์
-เป็นการบังคับให้นับถือ
-มีการเผยแผ่โดยลัทธิทางการเมือง
-เน้นอภินิหารมากเกินไป
-ไม่เป็นที่โดดเด่นทางสังคม
-ไม่สามมารถต่อเติมความคิดให้สูงขึ้นไปได้
-ผู้ที่เข้ามานับถือล้วนแต่ต้องการผลประโยชน์
-ไปเผยแผ่ไม่ทั่วถึงในบางที่
-ไม่ได้ผลทางการเผยแผ่
______________________________________________________________________
๕.ตอบ คริสต์ศาสนาเผยแผ่ไปในประเทศต่างๆมียุทธศาสตร์ในการเผยแผ่อย่างนี้คือ
๑.การเข้าหาผู้นำประดับประเทศตัวอย่างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์พวกบาทหลวงฝรั่งเศสเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาไม่นานก็มองสภาพการต่าง ๆ ออกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ มาในระยะแรกประเทศที่ถือเป็นมหาอำนาจทางทะเลและสามารถล่าอาณานิคมได้ทั่วโลกคือประเทศโปรตุเกสกับประเทศสเปนประเทศทั้งสองได้เดินทางสำรวจโลกทางทะเลได้พบหมู่เกาะและทวีปต่าง
๒.การจัดสรรที่ดิน องค์การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย พิจารณาเห็นตรงกันว่าการมีที่ดินไว้ ในครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์เป็นเครื่องมือในการประกาศศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะองค์การคริสต์ฝ่ายโรมันคาทอลิก มีจุดมุ่งหมายประการแรกคือ การซื้อที่ดินและจัดสรรที่ดินโดยการรวบรวมผู้ที่เข้ารีตใหม่หรือสนใจที่จะเข้านับถือคริสต์มาอยู่ในที่แห่งเดียวกัน นั้นก็คือ เมื่อซื้อที่ดินได้หมดแล้ว บาทหลวงก็จัดการสร้างโบสถ์ โรงเรียน โรงพยาบาล รวมทั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นเอกเทศ เป็นเขตเฉพาะที่ควบคุมและปกครองให้เป็นเอกภาพ เพื่อเป็นการสร้างสังคมใหม่วัฒนธรรมใหม่ให้ขาดจากประเพณีวัฒนธรรมเดิมเพื่อให้เข้าอยู่ในบรรยากาศวัฒนธรรมใหม่ คือวัฒนธรรมคริสต์แทนซึ่งเป็นจุดหมายที่ทางศาสนาคริสต์ที่ตั้งเอาไว้ เช่นที่เกาะดอนโดน จังหวัดนครพนม บาทหลวงเกโก ได้นำชาวคริสต์เข้าจับจองที่ดิน แล้วจัดสรรที่ดินให้พวกที่เข้ารับศีลล้างบาปใหม่ ๆ เหล่านั้น ประสบผลสำเร็จ
๓.การจัดตั้งสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล อารยธรรมต้องอาศัยการศึกษา
ต้องอาศัย อุปนิสัยอุปนิสัยต้องอาศัยศาสนา ศาสนาต้องพึ่งอาศัยพระคริสต์ และการรักษาโรคทำให้พระคริสต์ปรากฎองค์การทางศาสนาคริสต์ในประเทศไทยนิยมทำการเผยแพร่โดยตั้งโรงพยาบาลและโรงเรียน และมีบาทหลวงผู้สอนนักศึกษาเป็นผู้นำอย่างสำคัญ และในการตั้งไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย โรงพยาบาล หรือสถาบันค้นคว้า หรือเผยแพร่วิทยาการ หรือให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ แม้แต่ช่วยเหลือผู้อพยพภัยทางการเมือง ภัยตามธรรมชาติหรืออุปัทวเหตุใด ๆ ก็ตาม จุดประสงค์หลักที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมเหล่านั้นคือ ความพยายามกลับใจรับผู้บริการให้ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ ประวัตร ผลวัฒนะ ได้กล่าวถึง งานหมอของบรัดเลย์ ตอนหนึ่งว่า “ก่อนจะจ่ายยา” เขาจะให้คนไข้สวดมนต์และอ่านพระคัมภีร์เสมอ เพื่อจูงใจให้เห็นว่าพระเจ้าศักดิ์สิทธิ์”
๔.การใช้สื่อสารมวลชน การสื่อสารเป็นหัวใจของงานเผยแพร่ ทหารใช้ปืน
เครื่องมือในการรบฉันใด นักเผยแพร่ย่อมใช้สื่อสาร เป็นอาวุธฉันนั้นอุดมการณ์ของกิจการเผยแพร่ที่บาทหลวงตระหนักคือ การทำให้คนอื่นเข้าใจและรู้ศาสนาคริสต์ ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ เช่น สื่อสารด้านการฟัง เช่น การบันทึกเทปหรือแผ่นเสียง ด้านพูด เช่น การโฆษณา ปาฐกถา การบรรยาย เทศนา เป็นต้น ด้านการเขียนมีหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งรายปักษ์ รายสัปดาห์ รายวัน เป็นต้น ด้านการดูการอ่าน เช่น โทรทัศน์ภาพยนต์ สไลด์ เป็นต้น
______________________________________________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น