วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เรื่องความทุกข์ในพระพุทธศาสนา

ความทุกข์เกิดที่ไหนต้องดับทุกข์ที่นั้น
อริยสัจ ๔ คือ
                อริยสัจ หรือ จตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะมีอยู่ ๔ ประการคือ
                ๑. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์หรือขันธ์ 5
                ๒. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
                ๓. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง ๓ ได้อย่างสิ้นเชิง
                ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ ๖. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ ๗. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ ๘. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
                มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ ๑. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ๒. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ และ ๓. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ความทุกข์
                คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์หรือขันธ์ ๕
                ทุกข์ ๑๐ ประการ
                ๑. สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำกาย ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
                ๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์ที่จรมา ได้แก่ โศกะ ปริเทวะ โทมนัส อุปายาส
                ๓. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย
                ๔. พยาธิทุกข์ ทุกข์ คือ ความเจ็บไข้ได้ป่วย
                ๕. สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือ ความร้อนรุ่ม เพราะ ราคา โทสะ โมหะ
                ๖. วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรมตามสนอง
                ๗. สหคตทุกข์ ทุกข์เกิดจากโลกธรรม ๘
                ๘. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ทุกข์เพราะต้องแสวงหาอาหาร
                ๙. วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีการทะเลาะวิวาทเป็นมูล
                ๑๐. ทุกข์ขันธ์ อุปาทาน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
                ทุกข์มีหลายชนิด คือ ทุกข์ที่มาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก ความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความน้อยอกน้อยใจ ความคับแค้นใจ ตลอดจนรวมไปถึงการเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร่ และการปรารถนาในสิ่งใดก็ไม่สามารถได้สิ่งนั้น
                ในพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร ได้จำแนกทุกข์ไว้ ๑๑ ชนิด มีดังนี้คือ
                . ชาติ คือ ความเกิด
                . ชรา คือ ความแก่
                . มรณะ คือ ความตาย
                . โสกะ คือ ความแห้งใจ ความเศร้าใจ
                . ปริเทวะ คือ ความระทมใจ พิไรรำพัน หรือ ความบ่นเพ้อ
                . ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายตัว
                . โทมนัส คือ ความไม่สบายใจ ความน้อยใจ
                . อุปายาส คือ ความคับแค้นใจ ความตรอมใจ
                . อัปปิยสัมปโยค คือ การเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่
                ๑๐. ปิยวิปปโยค คือ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร่
                ๑๑. อิจฉิตาลาภะ คือ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
ทุกข์ทั้ง ๑๑ ชนิดนี้ สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ๒ ประเภท คือ
                ๑.สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ คือ ทุกข์อันเป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ ชาติ ชรา และมรณะ
                ๒.ปกิณณกทุกข์ หรือทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดเป็นครั้งคราวขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อัปปิยสัมปโยค ปิยวิปปโยค และอิจฉิตาลาภะ
เราจะเห็นได้ว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางกายก็ดี (กายิกทุกข์) หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางใจก็ดี (เจตสิกทุกข์) ล้วนเกิดขึ้นมิได้
                นอกเหนือไปจากขันธ์ ๕ เลย รูปและนามยังมีอยู่ตราบใดตราบนั้น ทุกข์ย่อมเกิดปรากฏที่รูปและนามไม่มีที่สิ้นสุด รูปและนามก็เป็นตัวทุกข์เพราะจะต้องบำรุงให้มาก ทั้งยังเป็นสิ่งที่ไม่ตั้งอยู่ได้นาน มีความแปรปรวนแตกสลายซ้ำยังมาเป็นตัวรับทุกข์อื่น ๆ คือ ทุกข์กายและใจอีกด้วย จึงเป็นทั้งตัวทุกข์ และตัวรับทุกข์
                ทุกข์ทั้ง ๑๑ ชนิดนี้ ส่วนมากเรามักจะเข้าใจและเป็นที่ทราบกันดีแล้ว ยกเว้นทุกข์บางชนิด คือ ชาติหรือความเกิดเท่านั้นที่น่าขบคิดว่า เป็นทุกข์ได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ความเกิดนั้นเป็นความวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น เราไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้โดยไม่พ่วงเอาทุกข์อื่น ๆ ติดมาด้วย ความเกิดเป็นประตูแห่งความทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดความตายไม่ว่าจะเกิดในทางดีหรือชั่วก็ตามย่อมต้องพ่วงความทุกข์อื่น ๆ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความเศร้าโศก เป็นต้น
                ดังนั้น การละความเกิดได้นั้น จะละได้ด้วยการละกิเลสโดยระวังตัวให้มีสติอยู่เสมอ ไม่เผลอหรือปล่อยให้จิตปรุงแต่งเป็นตัณหาเพราะตัณหานี้เองที่เป็นตัวทำให้เกิดมีขึ้นมา ฉะนั้น เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส เราจะต้อง
ไม่มีความเผลอในขณะนั้นหรือถ้าเผลอไปก็จะมีสติกลับมาโดยเร็ว ก็จะมีความเผลอน้อยลง ๆ จนกระทั่งไม่มีเลย จึงจะเรียกว่า เป็นผู้รู้ตามเป็นจริง จึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติดำรงอยู่ ตัณหาก็จะหมดไป ความทุกข์ก็ไม่มี
                เราจะเห็นได้ว่า การแก้ปัญหาแบบนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริง ๆ คือ ภายในจิตของเรานี้เองด้วยการระมัดระวัง และมีสติอยู่เสมอทุกครั้งที่เกิดการสัมผัส ไม่เพลิดเพลินกับอารมณ์ภายนอก อันเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดตัณหา และในที่สุดก็เกิดการเวียนว่ายไม่รู้จักจบสิ้น ความทุกข์จึงไม่สามารถดับไปได้เลย
                ความทุกข์ที่เกิดทางกายก็ดีหรือทางใจก็ดี ล้วนเกิดขึ้นมิได้นอกเหนือไปจากขันธ์ 5 รูปและนามยังมีอยู่ ตราบใดตราบนั้นทุกข์ย่อมเกิดปรากฏที่รูปและนามไม่มีที่สิ้นสุด รูปและนามเป็นตัวทุกข์เพราะจะต้องบำรุงให้มาก ทั้งยังเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนแตกสลาย ซ้ำยังมาเป็นตัวรับทุกข์อื่น ๆ คือ ทุกข์กายและใจอีกด้วย รูปและนามนี้จึงเป็นทั้งตัวทุกข์และตัวรับทุกข์


เปรียบเทียบคนหนีความทุกข์กับภาพต่อไปนี้








 


 

                ( ความทุกข์ต้องแลกด้วยชีวิต)
                                                                ความทุกข์เกิดที่จิตเพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ
                                                                ความทุกข์จะไม่โผล่ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ
                                                                ความทุกข์เกิดไม่ได้ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ
                                                                  
                                                                                พุทธทาส


______________________________________________________________________________
เปรียบเสมือน
(นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ ไส้เดือนไม่เห็นดิน หนอนไม่เห็นคูถ)

ตาบอด ตาดี
                                                                หมู่นกจ้อง มองเท่าไร ไม่เห็นฟ้า
                                                ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
                                                ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
                                                หนอนก็ไม่ มองเห็นคูถ ที่ดูดกิน;
                                                                คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
                                                ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
                                                ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
                                                เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย ฯ

                                                                                                                     พุทธทาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น