วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความเชื่อเรื่องประเพณีและพิธีกรรมการเกิด

ในปัจจุบันนี้ การคลอดมักทำกันที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ข้อดีคือมีหมอและพยาบาลคอยช่วยกันดูแล 
อาการ ช่วยทำการคลอด ตลอดจนดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด อย่างไรก็ตามการคลอดแบบไทยหรือแบบพื้นบ้านนั้น ก็มีขั้นตอนและกรรมวิธีต่าง ๆ การคลอดดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด ให้เป็นไปได้ด้วยดี เช่น เดียวกันกับการแพทย์สมัยใหม่ 
การคลอดแบบไทย 
           หมอตำแยจะเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญมากในการคลอดแบบไทยเมื่อเริ่มมีอาการปวดท้องใกล้คลอดญาติ จะ รีบไปเชิญหมอตำแยมาที่บ้าน พอมาถึงหมอจะนำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เตรียมมาด้วยไปต้มน้ำ พร้อมล้างมือทำความสะอาดเรียบร้อย หมอจะประคับประคองท้องแม่และกล่อมมดลูก ด้วยการแซะข้างท้อง คลึงท้องให้ปากมดลูกขยับมาตรงกับปากช่องคลอด แล้วจึงจะข่มท้องให้คลอด 
หลังจากการคลอด หมอจะดูแลทารกก่อน โดยจะล้วงปาก ควักเมือก และช่วยให้หายใจ จนเมื่อทารกปลอด 
ภัยดีแล้วจึงทำการตัดสายสะดือ อาบน้ำให้ทารก เพื่อทำความสะอาดล้างคราบเลือดและไขที่ติดตัวอยู่ บางครั้งจะใช้น้ำมันมะพร้าวทาตัวเพื่อช่วยให้ไขลอก ทำความสะอาดตัวเรียบร้อยแล้ว จึงนำทารกไปวางบนที่นอนที่จัดเตรียมไว้เมื่อดูแลทารกเรียบร้อยหมดแล้วหมอจะมาดูแลแม่ โดยจะคลึงและแซะข้างท้องตะล่อมช่วยให้รกออกมาจากท้องแม่ 
"ขณะที่เด็กคลอดออกมานั้น ถ้ามีรกตามออกมาพร้อมเด็ก จะเรียกว่า "" รกตามดี" "หลังจากที่ตัดสายสะดือเสร็จ" เรียบร้อย หมอจะนำรกและส่วนต่าง ๆ ที่ติดมาด้วยไปล้างน้ำทำความสะอาด แล้วใส่ไว้ในหม้อทะนน หม้อตาลหรือกระบอกไม้ไผ่โรยเกลือให้ท่วมแล้วนำไปฝั่งดินในกรณีที่เด็กคลอด แล้วรกไม่ออกมาพร้อมกัน หลังตัดสายสะดือแล้วหมอจะเอาปลายสายสะดือที่ติดกับรกซึ่งอยู่ในท้องแม่ ผูกกับขาซ้ายของแม่ เพราะถ้าไม่ผูกเอาไว้สายสะดืออาจจะหลุดกลับเข้า 
"ไปในท้องแม่ ( เรียกว่า "" รกบิน "" ) ซึ่งจะทำให้เอาออกได้ยาก และ อาจเกิดอันตรายกับแม่ได้" 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการคลอด 
*** การคลอดท้องแรก ( ท้องสาว ) มักใช้เวลานานกว่าการคลอดของคนที่เคยมีบุตรแล้ว 
*** ก่อนคลอดต้องปวดท้อง เนื่องจากมดลูกมีการบีบหดตัวให้หัวเด็กกลับหัวลงมาทางปากมดลูกเพื่อคลอด 
*** หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว รก (Placenta) จะตามออกมา รกจะออกมาหลังคลอดพอดี หรือหลังคลอด 20 ถึง 30 นาทีก็ได้ 

วิธีการอาบน้ำและดูแลทารกหลังคลอด 
ในการอาบน้ำให้กับเด็กทารกแรกเกิดนั้น หมอจะนั่งกับพื้น เหยียดขาทั้งสองข้างออกไป นำทารกมาวางบน ขาโดยให้หัวทารกอยู่ทางปลายเท้าและขาอยู่ที่ต้นขาของหมอ แล้วค่อย ๆ วักน้ำอุ่นอาบล้างตัว ระหว่างที่อาบหมอต้อง - ระวังไม่ให้สายสะดือเปียกน้ำ ถ้าทารกที่คลอดมาขาขด บิดเบี้ยวเล็กน้อย หมอจะบีบขาให้ชิดกันเพื่อดัดให้ตรง แม่ในชนบทยังคงใช้วิธีอาบแบบนี้อาบให้ลูกไปจนโต หลังจากตัดสายสะดือและอาบน้ำทารกเรียบร้อยแล้ว หมอจะนำทารกไปวางบนเบาะที่ปูผ้าอ้อมรองไว้ ใช้ผ้า อ้อมอีกผืนปิดที่หน้าอกของทารก หมอจะยกเบาะไปให้ใส่กระด้ง แล้วยกกระด้งขึ้นร่อนเวียนไปทางขวา 3 รอบ พร้อม "กับพูดว่า "" สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ใครมารับเอาเน้อ " "ญาติผู้ใหญ่จะรับไว้และรับสมอ้างว่าทารกเป็นลูกของตน แล้ว" ส่งกระด้งกลับคืนไปให้หมอ หมอจะทำตามเดิมอีกจนครบ 3 รอบ เสร็จแล้วจึงอุ้มเด็กไปวางบนพื้น ให้ญาตินำด้ายหลอด สมุด ดินสอ หรือ ก้อนหิน มาใส่ในกระด้ง เพื่อเป็นเคล็ดให้เด็กโตขึ้น จะได้ฉลาด อ่านเขียนเรียนหนังสือเก่ง ต่อจากนั้น ญาติและพ่อแม่เด็กจะนำสุ่มจับปลาขนาดใหญ่มาครอบเด็ก ใช้ผ้าขาวคลุมไม่ให้ใครมาเอาชีวิตเด็กไปได้ ถ้าไม่มีสุ่มอาจจะใช้ผ้านุ่งมาจีบโดยผู้ปลายผ้าไว้ข้างหนึ่งแล้วนำไปแขวนกับขื่อกางชายผ้าอีกด้านหนึ่งออกเป็น - "กระโจม นำมาครอบทารกไว้ คนโบราณเรียกวิธีนี้ว่า "" การครอบกระโจม "" ซึ่งจะช่วยป้องกันลมและกันยุง เมื่อทารกอยู่" ในสุ่มจนครบกำหนดแล้ว ( 3 - 7 วัน ) จึงนำเด็กขึ้นนอนเปล กรณีที่หลังคลอดแล้วแม่ยังไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน ระหว่างที่รอให้แม่มีน้ำนม ถ้าทารกเกิดหิว แม่จะให้กินน้ำผึ้ง ผสมกับน้ำอุ่นๆซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เด็กมีน้ำเสียงไพเราะเมื่อโตขึ้นบางแห่งก็จะขูดกล้วยน้ำหว้าผสมกับน้ำผึ้งเพื่อ ป้อนให้ ทารกกินระหว่างรอน้ำนม เมื่อแม่มีน้ำนมแล้วจึงให้ลูกดูดกินนมแม่ต่อไป เมื่อเด็กโตขึ้นพอสมควร แม่จะใช้ข้าวบดและกล้วยย่างขูด เป็นอาหารเสริมให้เด็กด้วย 
การฝังรก 
                การฝังรกเป็นเคล็ดที่เชื่อถือกันมาแต่โบราณว่า เมื่อฝังแล้วจะทำให้เด็กไม่ลืมรกรากของตนเอง พิธีฝังรก ซึ่งนิยมทำกันในแต่ละภาคนั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันแต่ส่วนมากมักฝังหลังจากเด็กเกิดครบ 3 วัน หรือ 7 วัน การฝังจะฝังตามทิศและตามวันเกิดของเด็ก ในบางท้องถิ่นนิยมฝังรกไว้ในบ้าน โดยส่วนมากพ่อแม่จะฝังรกในเวลาที่ปลอดคน เช่น ตอนเช้าหรือตอนเย็นโพล้เพล้ เพราะไม่ต้องการให้มีใคร ทักถาม บางท้องถิ่นจะฝังรกในที่ดินซึ่งพ่อแม่จะยกให้เด็กต่อหน้าญาติ ๆ เพื่อให้เป็นพยานรับรู้ ในภาคใต้มีการปลูกมะพร้าวไว้ในบริเวณที่ฝั่งรก เพื่อจะได้ใช้ผลของมะพร้าวไว้ทำยาแก้คุณไสย์ และแก้พิษให้เด็กเมื่อโตขึ้น ในปัจจุบัน ผู้หญิงนิยมไปคลอดในโรงพยาบาล จึงแทบไม่มีการทำพิธีอีกต่อไปผู้เฒ่าผู้แก่มักจะพูดเสมอว่า เด็กสมัยนี้ลืมรกรากของตน ไม่กลับถิ่นกำเนิด และยังมีการย้ายถิ่นย้ายบ้านกันเรื่อยไป

ลักษณะน้ำนมแม่ 
คัมภีร์ประถมจินดาอธิบายถึงวิธีดูลักษณะน้ำนมแม่ที่จะใช้เลี้ยงเด็กไว้ว่า ให้ทดสอบน้ำนมแม่โดยนำไปหยด 
ลงในขันที่ใส่น้ำไว้ เมื่อพิจารณาลักษณะการจม และ กระจายตัวของหยดน้ำนมจะแบ่งน้ำนมออกได้เป็น 2ประเภท คือ 
1. น้ำนมดีถือเป็นน้ำนมที่ใช้เลี้ยงทารกแล้วทำให้ทารกดีน้ำนมชั้นเอกดีที่สุดต้องมีสีขาวเมื่อหยดลงในน้ำแล้วจะ จมลง โดยยังเกาะกันเหมือนเม็ดบัวส่วนน้ำนมชั้นรองเมื่อหยดในน้ำแล้วนมจะกระจายแต่ข้นจมถึงก้นขันจะ ไม่เกาะ กันกลม 
2. น้ำนมชั่วหรือน้ำนมมีมลทิน ถือเป็นน้ำนมที่ไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก คือ น้ำนมที่มาจากแม่ที่มีระดูขัดเสมอๆ น้ำนมที่มาจากแม่ที่อยู่ไฟไม่ได้(ถือว่าป็นน้ำนมดิบ)และน้ำนมแม่ที่หยดลงในน้ำแล้วมีเลือดและน้ำเหลืองกระจาย ออกเป็นสาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น