วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์

ที่มา
        เป็นบทนำของตำราชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ แพทย์แผนโบราณของไทย มีเนื้อหากว้าง ๆ เช่น กล่าวถึงคุณสมบัติขอแพทย์ที่ต้องมีความรู้ความสามารถ  มีศีลธรรม  มีคุณธรรม  ละกิเลส  และบาปกรรมข้อที่แพทย์ควรระวัง  การอธิบายเปรียบเทียบเรื่องกายนคร  ผลการรักษาอาจสำเร็จและไม่สำเร็จ  อย่าดูถูกวิชาความรู้และครูบาอาจารย์ ในภาคนี้มุ่งเป็นคุณสมบัติ  ความคิด  และความประพฤติของแพทย์
        ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ทั้งชุดมี ๑๔ คัมภีร์  ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงให้ประชุมแพทย์หลวง  สืบค้นและรวมตำราแพทย์ไทย  นำมาตรวจสอบชำระให้ถูกต้อง  และจึงจดบันทึกไว้ในสมุดไทย  ตำราชุดนี้ได้มีการพยายามจัดพิมพ์เผยแพร่หลาบครั้ง  และมาสำเร็จสมบูรณ์ด้วยพระพิศณุประสาทเวช  และได้เผยแพร่ให้ประชาชนด้วย

วิเคราะห์กิจกรรมท้ายบท
        แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นมรดกที่มีค่า  เรียกว่า  เป็นสมบัติของแผ่นดิน  เป็นภูมิปัญญาไทยที่ตกทอดมาเป็นตำราที่ใช้รักษาไข้  รวมทั้งเป็นตำรายาสมุนไพรเป็นภูมิที่รู้ที่ทรงคุณค่าของไทย
        ข้อที่เป็นคุณสมบัติของแพทย์  ได้แก่
๑.  เรียนรู้ให้เจนจัด            ๒.  รักษาโรคด้วยความรู้ที่แม่นยำ  อย่าเดา
๓.  มีวิริยะอุตสาหะ             ๔.  ถือศีลห้า  ศีลแปด
๕. พ้นจากกิเลส ๓ คือ  โลภ  โกรธ  หลง
บาปธรรม  ๑๔  ประการที่แพทย์ควรละ ได้แก่
๑.  โลภ                             ๒.  โกรธ
                ๓.  หลง                             ๔.  วิจิกิจฉา
                ๕. อุจธัจจะ                        ๖.  ทิฐิมานะ
                ๗.  ถือตน                 ๘.  อย่าล่วงเกินผู้ประพฤติกรรม
                ๙. วิตก                             ๑๐. พยาบาทวิสิงหา
                ๑๑.  กามราคะ                    ๑๒.  ไม่ละอายบาป
๑๓.  อโนตตัปปะ                ๑๔.  รังเกียจคนไข้ยามยาก
        ในการพรรณนา  กายนคร  ได้แต่งเป็นการเปรียบ  ดังนี้
                ดวงจิตคือกษัตริย์                ปิตตคือวังหน้า
                อาหารคือเสบียง          เปรียบแพทย์คือทหาร
                ดวงจิตคือกษัตริย์                ผ่านสมบัติอันโอฬาร
                ข้าศึกคือโรคา            เกิดเขม่นฆ่าในกายเรา

     ข้าศึกที่รุกรานเบียดเบียนร่างกายคือ  โรคภัยไข้เจ็บ  ที่นอกจากบ่อนทำลายร่างกายแล้วยังทำลายจิตใจด้วย

        คัมภีร์ฉันทศาสตร์  อาจจะฟังเข้าใจยาก  เพราะเป็นภาษาโบราณ  มีคำศัพท์ยากอยู่มากสำนวนการเรียงคำก็เป็นคำประพันธ์  และยังมีคำศัพท์ธรรมปนอยู่ด้วย  แต่ถ้าอ่านแล้วค่อย ๆ  พิจารณาก็จะเข้าใจได้  เนื้อหาค่อนข้างเป็นการสั่งสอน  ผู้อ่านจะซาบซึ้งคุณสมบัติของแพทย์ไทย  ว่าเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม  ศีลธรรม  แลความรู้  เป็นคนมีค่าสูงยิ่ง  และเป็นคนตัวอย่างของสังคมไทย  ซึ่งปัจจุบันนี้จะหาคนที่ทรงคุณค่าเช่นนี้ได้ยากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น