วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มาเรียนรู้ในเรื่องของการให้ทาน


        สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า  แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี  เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี  จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อยย่อม
ขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้คือ
  ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน  แม้มาถึง  ๑๐๐  ครั้ง  ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล   ไม่มีธรรมเลยก็ตาม  ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์แลสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี
๒ , ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล  ไม่มีธรรมวินัย  แม้จะให้มากถึง ๑๐๐   ครั้ง
ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๕  แม้จะให้ครั้งเดียวก็ตาม
๓  ให้ทานแก่ผู้มีศีล  ๕  แม้จะมากถึง  ๑๐๐  ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล  ๘  แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๔. ให้ทานแก่ผู้มีศีล  ๘  แม้มากถึง  ๑๐๐  ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล  ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนาแม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียว
๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล  ๑๐ แม้จะมากถึง  ๑๐๐  ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์   ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร  ๒๒๗ ข้อ
       พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน  จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกันบุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร  ๒๗๗  ข้อนั้น  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงตรัสเรียกว่าเป็น พระ แต่เป็นเพียงพระสมมุติ 
  เรียกกันว่า  สมมุติสงฆ์  พระที่แท้จริงนั้น  หมายถึงบุคคลที่บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาปัตติผล  เป็นพระโสดาบันเป็นต้นไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็น    
ฆราวาสก็ตามก็นับว่าเป็น พระ  ทั้งสิ้นและพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับขั้นจากน้อยไปหามาก  ดังนี้คือ  พระโสดาบัน  พระสกิทาคามี  พระอนาคามี  พระอรหันต์  พระปัจเจกพุทธเจ้า  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้ 
๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์   แม้จะมากถึง  ๑๐๐  ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน  แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงก็ยังมีการแยกเป็นพระโสดาบันปัตติมรรค  และพระโสดาปัตติผล  ฯลฯ  เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล  แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่อย่อพอให้ได้ความเท่านั้น ) 
๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน  แม้จะมากถึง  ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่า  การถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี  แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี  แม้จะมากถึง  ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่า  การ ถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี  แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม  
๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี  แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการ ถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์  แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์  แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการ ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง  ก็ยังไม่บุญน้อยกว่าการ ถวายทานแก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๒.ถวายทานแก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แม้จะมากถึง  ๑๐๐  ครั้ง
ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นประธาน  แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม



๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน  แม้จะมากถึง  ๑๐๐  ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน  แม้จะได้กระทำเพียงครั้ง$เดียวก็ตาม  วิหารทานได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร  ศาลากาเปรียญ  ศาลาโรงธรรม   ศาลาท่าน้ำ  ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง  อันเป็นที่สาธารณะประโยชน์ร่วมกัน  อนึ่งการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน  แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา  เช่น  โรงพยาบาล  โรงเรียน  บ่อน้ำ  แท้งก์น้ำ   ศาลารถยนต์โดยสารประจำทาง  สุสาน  เมรุเผาศพ  ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน
  ๑๔.  การถวายวิหารทาน  แม้จะมากถึง  ๑๐๐    ( ๑๐๐ หลัง )  กัยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมเป็นทาน  แม้จะได้เพียงครั้งเดียวก็ตามการให้ธรรมเป็นทานคือการเทศน์  การสอนธรรมแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้  ที่รู้อยู่แล้วให้รู้
ยิ่ง ๆ ขึ้น  ให้ได้เข้าใจในมรรค  ผล  นิพพาน  ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิได้กลับเป็น
สัมมาทิฎฐิ  ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรมรวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ
๑๕. การให้ธรรมเป็นทานแม้มากถึง  ๑๐๐  ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้  อภัยทาน   แม้การจะการให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม  การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธไม่อาฆาตจองเวรไม่พยาบาลคิดร้านผู้อื่นแม้แต่ศัตรูซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทานเพราะเป็นการบเพ็ญเพียรเพื่อละ  โทสะกิเลส  และเป็นการเจริญ  เมตตาพรหมวิหารธรรม  อันเป็นวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร  ๔ให้เกิดขึ้น  อันพรหมวิหาร ๔ นั้นเป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่
บำเพ็ญฌานและวิปัสสนาผู้ที่ทรงพรหมวิหาร  ๔  ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌานซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด  ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง  พยาบาท
ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้  การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็นจึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
    อย่างไรก็ดี  การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด  แม้จะชนะการให้อื่น ๆ  ทั้งมวล  ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ที่ต่ำ   ฝ่ายศีล  เพราะเป็นการบำเพ็ญบารคนขั้นต่างกัน    
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น