วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อคิดจากคำคมในสื่อออนไลน์ต่างๆ

































ความหมายและความสำคัญของเสาอโศก






เกี่ยวกับเสาอโศก

ความหมายที่สำคัญของ "เสาอโศก"
                พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงบริเวณตำแหน่งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระปฐมเทศนา อันประกอบด้วยทางแห่งความสงบและความหลุดพ้น ให้แพร่หลายไปทั่วทิศทั้ง ๔ แห่งจักรวาล
ลักษณะของยอดเสาหิน ๔ ประการคือ
๑. บนยอดเสาแกะสลักเป็นรูปสิงโต ๔ ตัว นั่งหลังชนกัน ซึ่งอยู่ในลักษณะคำรามหรือเปล่งสีหนาท แต่เดิมมีธรรมจักรตั้งอยู่บนหลังของสิงห์ทั้ง ๔ เป็นลักษณะสิงห์แบกธรรมจักร ซึ่งมี ๒๔ ซี่ ธรรมจักร คือ เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา
๒. ใต้ฐานสิงโตมีรูปธรรมจักร ๔ ด้าน วงล้อธรรมจักรมี ๒๔ ซี่ เท่ากับจำนวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งขบวนการเกิดและขบวนการดับ (ทุกข์)
๓. ระหว่างรูปธรรมจักรแต่ละด้านมีรูปสัตว์สำคัญ ๔ ชนิด เรียงไปตามลำดับ คือ
"ช้าง โค ม้า และสิงโต" ซึ่งล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งนักปราชญ์ได้ให้ความหมายดังนี้
                "ช้าง" หมายถึง การเสด็จลงสู่พระครรภ์ (พระมารดาสุบินเห็นช้างเผือก) หรือ ปัญญาชาญฉลาด สุขุมเยือกเย็น
                "โค" หมายถึง ทรงได้ปฐมฌาน (ขณะพระบิดาทรงทำพิธีแรกนาขวัญ) หรือ ความแข็งแรง อดทน
"ม้า" หมายถึง การทรงม้าเสด็จออกผนวช หรือ ฝีเท้าอันรวดเร็ว
                "สิงโต" หมายถึง การแสดงธรรมจักร ซึ่งเปรียบเหมือนการเปล่งสีหนาท หรือการคำรามของพญาราชสีห์ สร้างความยำเกรงแก่สรรพสัตว์ และอาจหมายถึง พละกำลังอันมหาศาล
สัตว์ผู้ทรงความยิ่งใหญ่นี้จะคอยเฝ้าพระธรรมจักรให้ดำรงอยู่ ส่งเสียงสีหนาทกึกก้องไปทั่วชมพูทวีป

๔. รองลงมาจากรูปสัตว์สำคัญทั้ง ๔ นั้น เป็นรูปกลีบบัว อันเป็นดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนา หรือความบริสุทธิ์ นั่นเอง.

การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสงบเย็น












วัดท้าวโคตรเป็นวัดที่เป็นแหล่งโบราณวัตถุ