วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
๒๖๐๐ ปี พุทธชยันตี หมายความว่าอะไร
๒๖๐๐ ปี พุทธชยันตี หมายความว่าอะไร
คำว่า “พุทธชยันตี” เป็นคำที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศไทย ในสมัยนั้นประทศไทยได้จัดงาน “ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” เป็นพิธีใหญ่มากที่ท้องสนามหลวง ในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ไทยเราใช้ “งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ก็เพราะในปีนั้นเป็นปีที่ประชาชนบางพวกเรียกว่า “กึ่งพุทธกาล” ซึ่งรัฐบาลไทยเห็นว่าเป็นคำที่ไม่เป็นมงคล เพราะถ้า พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็น “ปีกึ่งพุทธกาล” ก็แสดงว่าพระพุทธศาสนาจะมีอายุเพียง ๕๐๐๐ ปีเท่านั้น ความจริงพระพุทธศาสนาจอยู่แค่ ๕๐๐๐ ปีหรือไม่นั้น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงพยากรณ์ไว้ พระองค์เพียงตรัสว่า “ถ้าตราบใดพุทธบริษัทยังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว พระพุทธศาสนาก็จะดำรงอยู่ตราบนั้น” หรือความเป็นอรหันต์ก็มิได้พยากรณ์ไว้ว่าจะสูญสิ้นไปจากโลกเมื่อใด เพราะตราบใดที่พุทธบริษัทยังปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัยแล้ว โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์อยู่ตราบนั้น แม้ในขณะนี้ในประเทศไทยอาจมีพระอรหันต์ แต่ท่านจะไม่ประกาศตัวว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้ใดที่ประกาศตัวว่าเป็นพระอรหันต์ก็อย่าเพิ่งเชื่อตามอย่างงมงาย เพียงแต่อาจตั้งข้อสังเกตจากศีลาจารวัตรของท่านแล้วก็สันนิษฐานว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ซึ่งความจริงอาจถูกหรือผิดก็ได้
ที่ทางประเทศอินเดียและศรีลังกาได้จัดงานเฉลิมฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ว่าเป็นปีพุทธชยันตีนั้น เพราะอินเดียและศรีลังกาเขานับ พ.ศ.ก่อนของเรา ๑ ปี คือเขานับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็น พ.ศ. ๑ ส่วนไทยเรานับจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑ ทำนองเดียวกับที่ฝรั่งกับจีนนับอายุไม่ตรงกัน ข้าพเจ้าจำได้ว่าเมื่อคราวไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเยล (Yare) สหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่เขาถามว่าข้าพเจ้าอายุเท่าไหร่ ข้าพเจ้าตอบว่าอายุ ๓๑ ปี เขาก็ถามวันเดือนปีเกิดของข้าพเจ้า แล้วเขาก็บอกว่าข้าพเจ้าอายุ ๓๐ ปีเท่านั้น คือเขานับอายุเต็ม แต่คนจีนเขานับอายุย่าง คือนับทั้งที่อยู่ในท้องแม่ด้วย การนับอายุจึงแตกต่างกัน เช่นเดียวกับการนับ พ.ศ. ของไทยกับอินเดีย ฉะนั้น
คำว่า “พุทธชยันตี” โดยทั่วๆ ไป เราก็แปลว่า “วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศชัยชนะ” เหนือกิเลสทั้งปวงที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี คาถาที่พระสงฆ์นิยมสวดเพื่อชัยมงคลหรือสวัสดิมงคลมักจะเริ่มด้วย “ชยันโต โพธิยา มูเล ฯลฯ” ซึ่งแปลว่า “ทรงมีชัยชนะ (มารทั้งหลาย) ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์” ซึ่งเราถือกันว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงพิชิตมารได้หมด หรือที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มารวิชัย” ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงพิชิตมารได้ก็เพราะพระองค์ทรงถูกมารผจญก่อนที่จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ หลังจากที่ทรงพิชิตกิเลสได้หมดแล้ว ก็ได้ชื่อวาพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น คำว่า “พุทธชยันตี” อีกความหมายหนึ่งก็คือ “วันที่เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก”
โดยทั่วไป เราถือว่า “วันวิสาขบูชา” คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอุบัติขึ้นมาในโลก คือเป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติและเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยต่างปีกันคือ ประสูติก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ตรัสรู้ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี และเสด็จดับขันธปรินิพพานก่อนพุทธศักราช ๑ ปี แต่เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้อธิบายว่าวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นวันเดียวกัน คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิดเป็นพระพุทธเจ้า และในวันนั้นและขณะนั้นแหละเป็นวันที่พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจึงได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า และในวันนั้น ขณะเดียวกันนั้น พระองค์ก็ทรงนิพพาน คือ ทรงดับกิเลสได้หมดสิ้น ซึ่งเรียกว่า “อุปาทิเสสนิพพาน” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิดมากเช่นเดียวกัน
ได้มีบางคนสงสัยว่า “พุทธชยันตี” นี้นับอย่างไร คือ ปีนี้เป็น พ.ศ. ๒๕๕๕ ถ้านับรวมวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อีก ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช จึงรวมเป็น ๒๖๐๐ ปี คือเป็น ๒๖๐๐ ปีแห่งการเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ๒๖๐๐ ปีแห่งการที่พระองค์ทรงเอาชนะกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ
ราชบัณฑิต
คำว่า “พุทธชยันตี” เป็นคำที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศไทย ในสมัยนั้นประทศไทยได้จัดงาน “ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” เป็นพิธีใหญ่มากที่ท้องสนามหลวง ในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ไทยเราใช้ “งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ก็เพราะในปีนั้นเป็นปีที่ประชาชนบางพวกเรียกว่า “กึ่งพุทธกาล” ซึ่งรัฐบาลไทยเห็นว่าเป็นคำที่ไม่เป็นมงคล เพราะถ้า พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็น “ปีกึ่งพุทธกาล” ก็แสดงว่าพระพุทธศาสนาจะมีอายุเพียง ๕๐๐๐ ปีเท่านั้น ความจริงพระพุทธศาสนาจอยู่แค่ ๕๐๐๐ ปีหรือไม่นั้น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงพยากรณ์ไว้ พระองค์เพียงตรัสว่า “ถ้าตราบใดพุทธบริษัทยังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว พระพุทธศาสนาก็จะดำรงอยู่ตราบนั้น” หรือความเป็นอรหันต์ก็มิได้พยากรณ์ไว้ว่าจะสูญสิ้นไปจากโลกเมื่อใด เพราะตราบใดที่พุทธบริษัทยังปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัยแล้ว โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์อยู่ตราบนั้น แม้ในขณะนี้ในประเทศไทยอาจมีพระอรหันต์ แต่ท่านจะไม่ประกาศตัวว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้ใดที่ประกาศตัวว่าเป็นพระอรหันต์ก็อย่าเพิ่งเชื่อตามอย่างงมงาย เพียงแต่อาจตั้งข้อสังเกตจากศีลาจารวัตรของท่านแล้วก็สันนิษฐานว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ซึ่งความจริงอาจถูกหรือผิดก็ได้
ที่ทางประเทศอินเดียและศรีลังกาได้จัดงานเฉลิมฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ว่าเป็นปีพุทธชยันตีนั้น เพราะอินเดียและศรีลังกาเขานับ พ.ศ.ก่อนของเรา ๑ ปี คือเขานับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็น พ.ศ. ๑ ส่วนไทยเรานับจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑ ทำนองเดียวกับที่ฝรั่งกับจีนนับอายุไม่ตรงกัน ข้าพเจ้าจำได้ว่าเมื่อคราวไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเยล (Yare) สหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่เขาถามว่าข้าพเจ้าอายุเท่าไหร่ ข้าพเจ้าตอบว่าอายุ ๓๑ ปี เขาก็ถามวันเดือนปีเกิดของข้าพเจ้า แล้วเขาก็บอกว่าข้าพเจ้าอายุ ๓๐ ปีเท่านั้น คือเขานับอายุเต็ม แต่คนจีนเขานับอายุย่าง คือนับทั้งที่อยู่ในท้องแม่ด้วย การนับอายุจึงแตกต่างกัน เช่นเดียวกับการนับ พ.ศ. ของไทยกับอินเดีย ฉะนั้น
คำว่า “พุทธชยันตี” โดยทั่วๆ ไป เราก็แปลว่า “วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศชัยชนะ” เหนือกิเลสทั้งปวงที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี คาถาที่พระสงฆ์นิยมสวดเพื่อชัยมงคลหรือสวัสดิมงคลมักจะเริ่มด้วย “ชยันโต โพธิยา มูเล ฯลฯ” ซึ่งแปลว่า “ทรงมีชัยชนะ (มารทั้งหลาย) ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์” ซึ่งเราถือกันว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงพิชิตมารได้หมด หรือที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มารวิชัย” ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงพิชิตมารได้ก็เพราะพระองค์ทรงถูกมารผจญก่อนที่จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ หลังจากที่ทรงพิชิตกิเลสได้หมดแล้ว ก็ได้ชื่อวาพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น คำว่า “พุทธชยันตี” อีกความหมายหนึ่งก็คือ “วันที่เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก”
โดยทั่วไป เราถือว่า “วันวิสาขบูชา” คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอุบัติขึ้นมาในโลก คือเป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติและเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยต่างปีกันคือ ประสูติก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ตรัสรู้ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี และเสด็จดับขันธปรินิพพานก่อนพุทธศักราช ๑ ปี แต่เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้อธิบายว่าวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นวันเดียวกัน คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิดเป็นพระพุทธเจ้า และในวันนั้นและขณะนั้นแหละเป็นวันที่พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจึงได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า และในวันนั้น ขณะเดียวกันนั้น พระองค์ก็ทรงนิพพาน คือ ทรงดับกิเลสได้หมดสิ้น ซึ่งเรียกว่า “อุปาทิเสสนิพพาน” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิดมากเช่นเดียวกัน
ได้มีบางคนสงสัยว่า “พุทธชยันตี” นี้นับอย่างไร คือ ปีนี้เป็น พ.ศ. ๒๕๕๕ ถ้านับรวมวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อีก ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช จึงรวมเป็น ๒๖๐๐ ปี คือเป็น ๒๖๐๐ ปีแห่งการเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ๒๖๐๐ ปีแห่งการที่พระองค์ทรงเอาชนะกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ
ราชบัณฑิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)