วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

๙ วิธีเอาชนะอุปสรรคในชีวิต


๙ วิธีเอาชนะอุปสรรคในชีวิต
น้อยคนนักในโลกนี้ที่จะไม่รู้จักคำว่า "อุปสรรค" แทบทุกคนต้องเคยประสบพอเจอกันมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรในเรื่องการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ อุปสรรคในเรื่องของการทำงาน ฯลฯ แล้วแต่ว่าใครจะเจอมากเจอน้อย บางคนเจออุปสรรคในชีวิตมามากมาย แต่ก็สามารถฝ่าฟันไปได้จนประสบความสำเร็จในชีวิต กลายเป็นตำนานเล่าขานให้เป็นตัวอย่าง และเป็นกำลังใจให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ เพื่อความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเพียงเล็กน้อยก็มีความย่อท้อและยอมแพ้ง่ายๆ ยิ่งขระที่สถานการณืเศรษฐกิจในบ้านเรากำลังย่ำแย่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งตอกย้ำความพ่ายแพ้แก่อุปสรรคของคนในสังคมลงไปอีก
ก็เลยมีข้อแนะนำเล้กๆ น้อยๆ ว่าด้วย ๙ วิะเอาชนะอุปสรรคในชีวิต โดยเรียบเรียงมาจากในหนังสือชีวิตวันนี้ เล่ม ๑ โซึ่งเขียนโดย ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ เป็นนักคิด นักเขียน นักวิชาการ และจิตแพทย์ ผู้มีผลงานเป็นที่ยอมรับของเมืองไทย โดยท่านมีข้อแนะนำที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ
.มีความผฝันและจินตนาการที่ดีเข้าไว้ ชีวิตถ้าขาดความฝันก็แห้งแล้ง เราต้องฝันว่าเรามีหนทางชนะอุปสรรค ความฝันที่ดีเหล่านี้จะทำให้เราเกิดกำลังใจ และอยากทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป
.คิดว่าทุกอย่างมีความเป็นไปได้พุทธศาสนาสอนว่า ทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นอนิจจังคือไม่แน่นอน ฉะนั้นความเป็นไปไม่ได้ ชีวิตคุณมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งนั้นจงเลิกพูดของคนที่เกิดมาเพื่อจะแพ้ และแพ้ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มลงมือทำเสียอีก
.อย่าคิดถึงปมด้วยของตัวเอง เพราะการนึกถึงปมด้วยของตัวเอง จะเป็นตัวฉุดให้คุณหยุดทำกิจกรรมที่สร้างสรร คุณจะขาดความกล้าหาญ ขาดพลังจงคิดว่าปมด้วยเป็นความปกติของชีวิตเราไม่ได้แตกต่างและไม่ได้ด้อยกว่าใครๆ ไม่เป็นคนสมบูรณืแบบหรอก และไม่มีใครที่ไม่มีความบกพร่องเลยเช่นกัน
.ปลุกความกล้าให้เกิดขึ้นเสมอ จงลดความกลัวเหตุการณ์หรือผู้คนต่างๆ เสีย บอกกับตัวเองว่าคุณเป็นคนกล้าหาญ จงหัดปฏิเสธความกลัวบ่อยๆและบอกกับตัวเองว่าคุณกล้ามากขึ้นๆ ความกลัวต่างๆ จะจางไปจากตัวคุณเอง
.มองจุดดีหรือจุดเด่นของตัวเองให้พบและเลิกดูถูกตัวเองเสียที คนเรามีทั้งสิ่งดีและไม่ดี ถ้าคุณคอยจับผิดตัวเอง มองแต่สิ่งที่คิดว่าไม่ดี คุณก็จะมองเห็น
.มีความรักเพื่อนมนุษย์ให้มากขึ้น ให้ลดความเกลียดชังหรือความโกรธเพื่อนมนุษย์ เพราะถ้าคุณยิ่งเกลียดและโกรธเท่ากับคุณสร้างศัตรูทุกวันๆและมากขึ้นๆ ตามจำนวนความเกลียดและความโกรธของคุณ ถ้าคุณเข้าใจและยอมรับในความบกพร่องของเพื่อนมนุษย์ที่มีสาเหตุมาจากสันดานดิบของแต่ละคนที่หลงเหลืออยุ่ ร่วมกับความไม่รู้ของแต่ละคน ซึ่งมีกันทุกคน คุณก็จะโกรธเขาน้อยลง และจะยอมรับเขาได้มากขึ้นว่า เขาจะมีความทุกข์จากสิ่งบกพร่องของเขานั่นเอง อย่าให้ความบกพร่องของเขามาทำลายความสุขของชีวิตคุณเลย เราจะให้อภัยเขาได้ เพราะเข้าใจถึงความบกพร่องของเขาได้แล้ว แค่นนี้ก็ถื่อว่าคุณมีความรักให้เพื่อนมนุษย์ได้มากขึ้นแล้ว
.มีทัศนคติที่ดีต่อโลกและชีวิต อย่ามองโลกในแง่ความจริงทั้งหมด เพราะชีวิตจะแห้งแล้ง จงมีความเชื่อที่ดี จงมีความหวังที่ดี และจงมีความรักที่ดี ทั้ง ๓ ตัวนี้จะทำให้คุณมีทัศนคติที่ดีต่อชีวิต ทั้งของตัวเองและคนอื่น จะทำให้อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
.ถ่อมตน อย่าหยิ่งหรือจองหอง ความถ่อมตนจะทำให้เกิดสติปัญญา ความถ่อมตนจะทำให้เราไม่เหลิงถ้าเราเป็นผู้ชนะ และความถ่อมตนจะทำให้เราไม่เจ็บปวดมากถ้าเราเป็นผู้แพ้
.หมั่นศึกษาและเลียนแบบ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งโดยการอ่าน การฟัง หรือ การไต่ถาม ประสบการณ์ชีวิตของคนเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมามากมาย ถ้าเราได้ศึกษาเราจะเกิดกำลังใจและอยากเลียนแบบอย่าง
ถ้าคุณมีแนวคิดดังที่กล่าวมาแล้วนี้ และเริ่มลงมือปฏิบัติตาม อุปสรรคทั้งหลายในชีวิตก็จะน้อยลงเพราะคุณจะเกิดพลัง กำลังใจ สติ ปัญญา ความกล้าหาญ และกล้าลงมือกระทำสิ่งที่สร้างสรร มีความเชื่อ ความหวังที่ดีในชีวิตมากขึ้น ศัตรูก็น้อยลง  มีมิตรมากขึ้น ชีวิตมีความสุขและความสำเร็จมากขึ้น แม้บางครั้งถ้าเราไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคได้จริงๆ แต่เราก็จะมองข้ามไปและรอคอยโอกาสใหม่ด้วยจิตใจที่มองโลกในแง่ดี ไม่ทุกข์ร้อนกับสิ่งที่ผิดหวังจริงๆมากมายนัก พร้อมจะเกิดกำลังใจใหม่และมีพลังเริ่มชีวิตใหม่ ซึ่งเท่ากับคุณเป็นผู้ชนะอุปสรรคนั้นนั่นเอง

ศาสนาพิธี


ศาสนาพิธี

การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์
                ความเข้าใจเรื่องวัด ศาสนพิธี และพิธีกรรมของสงฆ์ นับเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก เพราะจะมีผลให้การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ในศาสนพิธีที่วัดเป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสมเรียบร้อย
                () วัด ตามทรรศนะของพุทธศาสนิกชน คืออาวาสที่ประดิษฐานอยู่อาศัยของพระพุทธรูปและพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งสถานที่ประกอบสังฆกรรมและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยพุทธศาสนิกชนก็ควรทราบต่อไปว่า วัดนั้นมีกฎหมายกำหนดคุ้มครองว่า ผู้ใดจะกระทำการใดๆอันเป็นการเหยียดหยามวัดไม่ได้ ผู้ใดผืนทำลงไปต้องมีโทษตามกฎหมายคือโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีไม่เกินเจ็ดปี ปรับตั้งแต่สองพันบาทไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ทั้งนี้วัดเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่เราทุกคนควรรักษาไว้
                () ศาสนพิธีต่าง ๆ แบ่งได้ดังนี้
                                ๑) ศาสนพิธีที่มีอยู่เป็นประจำทุกวันนี้ เช่น การทำวัตรเช้า-เย็น การถวายอาหารและรับศีลรับพรซึ่งชาวพุทธกระทำต่อพระสงฆ์ทุกวัน
                                ๒) ศานพิธีที่มีพิธีขึ้นตามพระธรรมวินัย ทุกวันพระขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ถือตามจันทรคติในวันเหล่านี้จะมีพิธีกรรม เช่น การฟังเทศน์ รักษาอุโบสถ (ศีล ๘) เป็นต้น
                                ๓) ศาสนพิธีที่มีขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น การบรรพชาสมเณร การอุปสมบท และการทำบุญกุศลต่าง ๆ
                                ๔) ศาสนพิธีตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
                () พระสงฆ์ คือ พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาซึ่งอาศัยจำพรรษาอยู่ในวัดต่าง ๆ อยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลที่เคารพสักการะของชาวพุทธในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพระรัตนตรัยแล้ว ตามกฎหมาย คือประมวลกฎหมายอาญา ยังได้บัญญัติคุ้มครองพระภิกษุสงฆ์ไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องแต่งกายแสดงว่าเป็นพระภิกษุสามเณร เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุสามเณร ใครกระทำการดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ในศาสนพิธี
                ศาสนพิธี มีหลายอย่างตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น โดยปกติแล้วมักจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์อยู่เสมอ เพราะในหมู่ชาวพุทธถือเอาพระสงฆ์เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะรู้ถึงวิธีปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ เพื่อผลอันไพบูลย์สืบต่อไป
                พิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนพิธีมีอยู่หลายอย่าง เช่น ศาสนพิธีในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันธรรมสวนะ หรือว่าวันพระ เป็นต้น ดังนั้นในส่วนนี้จึงขอกล่าวถึงการปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ในการประกอบศาสนพิธีที่วัดไว้ในหลักการ ดังนี้
                ๑. การปฏิบัติตนเมื่อเข้าไปวัด ควรสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย ไม่ส่งเสียงดังเอะอะโวยวาย ซึ่งเป็นการรบกวนผู้อื่น ไม่ดื่มสุราและสิ่งเสพติดอื่นๆ ไม่ร้องรำทำเพลง
                ๒. การไปวัดเพื่อร่วมพิธีกรรมทางศาสนา การแต่งกาย ชาวพุทธควรยึดหลักสะอาด สุดภาพเรียบร้อย ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ
                ๓. การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทุกอย่าง สิ่งสำคัญคือดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องสักการะบูชา ควรเตรียมให้พร้อม
                ๔. ควรไปถึงสถานที่ก่อนการประกอบศาสนพิธีจะเริ่มขึ้น และรอเวลาเริ่มพิธีด้วยอาการสงบเรียบร้อย
                ๕. พิธีกรรมใดที่ต้องเปล่งเสียง เช่น การกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย การกล่าวคำอาราธนาศีล-อาราธนาธรรม การรับศีลเป็นต้น ควรเปล่งเสียงดังฟังชัดโดยพร้อมเพรียงกัน
                ๖. มีการแสดงพระธรรมเทศนา ควรตั้งใจฟัง



                ศาสนพิธี  ได้แก่วิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของชาวพุทธในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา และยังเป็นการแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาและความเป็นระเบียบของชาวพุทธในการประกอบพิธีกรรมด้วย
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
                การจัดโต๊ะหมู่บูชา คือ การจัดที่สำหรับบูชาพระ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาและความเคารพในพระรัตนตรัย ซึ่งการบูชามี 2 ประการ คือ
                1.1  การบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน สิ่งของและเครื่องสักการะอื่น ๆ รวมเรียกว่า อามิสบูชา
                1.2  การปฏิบัติตนตามหลักคำสอน เรียกว่า ปฏิบัติบูชา
อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงออกถึงความเคารพสักการะในพระพุทธเจ้า เพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพจิตใจตนเอง เตือนใจตนเองให้มุ่งทำความดี และเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต การจัดโต๊ะหมู่บูชาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
                1.1  การจัดโต๊ะหมู่บูชาในงานพิธี
                ในงานบุญพิธีต่าง ๆ รวมทั้งในการประชุมสัมมนา ตามประเพณีนิยมของไทย มักจัดให้มีที่บูชาพระรัตนตรัยประกอบด้วย อย่างน้อยที่สุด คือ พระพุทธรูป ดอกไม้ เชิงเทียน และกระถางธูป
                การจัดสถานที่บูชาพระรัตนตรัย นิยมจัดเป็นโต๊ะหมู่บูชาเบื้องต้นที่สุดอาจเป็นโต๊ะเดี่ยว ใช้ผ้าขาวหรือผ้าสะอาดปูรองพื้น เพื่อเป็นที่ตั้งพระพุทธรูป
              การตั้งพระพุทธรูป นิยมตั้งหันพระพักตร์ไปทางเดียวกับพระสงฆ์  โดยพระสงฆ์นั่งทางเบื้องซ้ายของพระพุทธรูป ทั้งนี้เพราะประเพณีนิยมถือว่าพระพุทธรูปซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และมีเครื่องบูชา ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน โดยการจัดมีหลายลักษณะ ดังนี้
                1) การจัดโต๊ะหมู่เดี่ยว
                การจัดโต๊ะหมู่แบบเดี่ยวประกอบด้วย
                                1) พระพุทธ1 องค์             
                                2) แจกัน 2
                                3) เชิงเทียน 2
                                4) กระถางธูป 1
                (2) การจัดโต๊ะหมู่ 5 ประกอบด้วย
                                1) พระพุทธรูป 1 องค์
                                2) แจกัน 4
                                3) พานดอกไม้ 5
                                4) เชิงเทียน 6 (หรือ 8)
                                5) กระถางธูป 1
                                6) โต๊ะหมู่ 5
                นอกจากนี้ยังมีการจัดโต๊ะหมู่ 7หมู่ 9 ซึ่งเป็นเพิ่มที่โต๊ะหมู่และเชิงเทียน
                (3) การจัดโต๊ะหมู่ 7 ประกอบด้วย
                1) พระพุทธรูป 1
                2)แจกัน 4
                3) พานดอกไม้ 5
                4) เชิงเทียน 8 (หรือ 10)
                5) กระถางธูป
                6) โต๊ะหมู่ 7
                (4) การจัดโต๊ะหมู่ 9 ประกอบด้วย
                ) พระพุทธรูป
                2) แจกัน 6
                3) พานดอกไม้ 7
                4) เชิงเทียน 10(หรือ 12)
                5) กระถางธูป
หมายเหตุ : การจัดโต๊ะหมู่เดี่ยว หมู่ 5 หมู่ 7 และหมู่ 9เป็นการจัดประกวดหรือใช้ในพิธี
การจัดโต๊ะหมู่ประจำบ้าน
                การจัดที่บูชาพระรัตนตรัยที่บ้าน นิยมจัดกันตามสภาพและฐานะของเจ้าของบ้าน กล่าวคือ อาจจัดเป็นหิ้งพระติดข้างฝาบ้าน จัดเป็นโต๊ะหมู่บูชาเดี่ยวหรือการจัดห้องพระประจำบ้าน รูปแบบและการจัดโต๊ะหมู่จัดมีรูปแบบเดียวกันกับการจัดในงานพิธี ส่วนเครื่องบูชาควรดอกไม้ ธูป เทียน แล้ว เจ้าของบ้านอาจจัดตามความจำเป็นเท่าที่มีก็ได้
การจุดธูปเทียน
                การจุดธูปเทียน เป็นการเริ่มต้นในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพเป็นผู้จุดธูปเทียน เว้นแต่ได้เชิญบุคคลอื่นมาเป็นประธานในพิธี แต่ถ้างานนั้นมีพิธีกรก็ให้พิธีกรนั้นเป็นผู้เชิญเจ้าภาพหรือประธานมาจุดธูปเทียน
                การจุดเทียน นิยมจุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปหรือซ้ายมือของผู้จุดก่อน ถ้าเทียนหลายเล่ม นิยมจุดคู่บนก่อน แล้วเลื่อนมาจุดคู่ล่าง โดยเริ่มจากเล่มขวามือของพระพุทธรูปก่อน
                การจุดธูป ถ้าธูปจุ่มน้ำมันหรือติดเชื้อไว้ก็ใช้เทียนชนวน แต่ถ้าธูปไม่ได้จุ่มน้ำมันหรือติดเชื้อไว้ก็ถอนก้านธูปไปจุดที่เทียนชนวนหรือใช้ไม้ขีดไฟหรือไฟแช๊กแล้วแต่ความเหมาะสม การปักธูปนิยมปักเรียงรายพองาม ไม่ควรนำธูปกวมลงทีเดียวทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามและดูไม่สวยงาม
การอาราธนาศีล
                คำว่า อาราธนา เป็นคำศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ แปลว่า เชื้อเชิญ การอาราธนาศีล จึงหมายถึงการเชื้อเชิญพระสงฆ์ให้ศีล หรือการขอรับศีล การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในทางพระพระพุทธศาสนา เริ่มต้นด้วยการอาราธนาศีล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พระสงฆ์เตือนสติมิให้กระทำความผิด ความชั่ว แล้วตั้งใจรักษาศีล รวมทั้งเป็นการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ เพื่อรองรับการประกอบความดีต่อไป
                การอาราธนาศีล หากในงานนั้นมีพิธีกรก็เป็นหน้าที่ของพิธีกร แต่ถ้าไม่มีพิธีกรเจ้าภาพจะอาราธนาเองหรือจะขอให้ผู้ใดผู้หนึ่งในงานนั้นเป็นผู้อาราธนาก็ได้
คำอาราธนาศีล 5
                มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถาย ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานะ ยาจามะ
ตติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจสีลานิ ยาจามะ
คำแปล
                ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีลห้าพร้อมด้วยสรณะทั้ง 3 เพื่อต้องการรักษา แยกกันเป็นข้อ ๆ       
                ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีลห้า พร้อมด้วยสรณะทั้ง 3 เพื่อการรักษา แยกกันเป็นข้อ ๆ แม้ครั้งที่ 2
                ข้าแต่ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีลห้า พร้อมด้วยสรณะทั้ง 3 เพื่อต้องการรักษาแยกกันเป็นข้อ ๆ แม้ครั้งที่ 3
การสมาทานศีล
                การสมาทานศีล คือ ความตั้งใจที่จะรับศีลหรืองดเว้นจากความชั่วนั้น ๆ เช่น งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เสพสุราเมรัยและของมึนเมาต่าง ๆ อันทำให้เกิดความประมาท ขาดสติสัมปชัญญะ ในการรับศีล พระสงฆ์จะเป็นผู้กล่าวเป็นภาษาบาลี เมื่อจบแต่ละข้อแล้ว ผู้เข้าร่วมงานว่าตามดังนี้
คำสมาทาน
                ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
                อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
                กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
                มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
                สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
คำแปล
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์และเบียดเบียน
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของยังไม่ได้ให้
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท ด้วยการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทด้วยการงดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทด้วยการงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
การอาราธนาพระปริตร
                การอาราธนาพระปริตร หมายถึงการขอหรือการเชื้อเชิญให้พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และเป็นการเตรียมพร้อมที่จะรับฟังบทเจริญพระพุทธมนต์ ในบทที่ว่าด้วยพุทธานุภาพ เพื่อป้องกันภัยพิบัติและสร้างความเป็นสิริมงคลให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต การอาราธนาพระปริตรกระทำต่อกันภายหลังจากการสมาทานศีล  คำ อาราธนาพระปริตร
                                วิปัตติปะฏิพาหายะ             สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
                                สัพพะทุกขะวินาสายะ       ปะริตตัง พะรูถะ มังคะลัง
                                วิปัตติปะฏิพาหายะ             สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
                                สัพพะภะยะวินาสายะ       ปะริตตัง พะรูถะ มังคะลัง
                                วิปัตติปะฏิพาหายะ             สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
                                สัพพะโรคะวินาสายะ        ปะริตตัง พะรูถะ มังคะลัง
คำแปล
                ขอท่านทั้งหลาย จงกล่าวพระปริตรอันเป็นมงคล เพื่อป้องกันวิบัติ เพื่อให้สำเร็จสมบัติ เพื่อความพินาศแห่งทุกข์ทั้งปวง
                ขอท่านทั้งหลาย จงกล่าวพระปริตรอันเป็นมงคล เพื่อป้องกันวิบัติ เพื่อให้สำเร็จสมบัติ เพื่อความพินาศแห่งภัยทั้งปวง
                ขอท่านทั้งหลาย จงกล่าวพระปริตรอันเป็นมงคล เพื่อป้องกันวิบัติ เพื่อให้สำเร็จสมบัติ เพื่อความพินาศแห่งโรคทั้งปวง
การอาราธนาธรรม
                การอาราธนาธรรม หมายถึง การขอร้องหรือเชื้อเชิญให้พระสงฆ์แสดงธรรม เพื่อชี้แนะแนวทาง การปฏิบัติความดี ความหลักพระพุทธศาสนา โดยปกติแล้วการอาราธนาธรรม จะกระทำเมื่อต้องการให้พระสงฆ์พระธรรมเทศนา     หรือในโอกาสอาราธนาพระสงฆ์ให้สวดพระพุทธมนต์
                การปฏิบัติ พิธีกรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าภาพเป็นผู้กล่าวคำอาราธนาธรรมหลังจากการรับศีลเสร็จแล้ว อาจจะนั่งหรือยืนประนมมือตามความเหมาะสม


คำอาราธนาธรรม
                พรัมมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ
                กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อายาจาถะ
                สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
                เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

คำแปล
                ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นใหญ่ในพรหมโลกได้ลงมาประคองอัญชลี กราบทูลขอพรอันประเสริฐว่า สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ประเภทมีธุลีในจักษุน้อยก็พอมี ขอพระองค์จงทรงแสดง พระธรรมเทศนา เพื่อสงเคราะห์หมู่ประชาสัตว์พวกนี้เถิด


วิสุทธิ ๗


วิสุทธิ ๗
วิสุทธิมัคค คือ ทางบริสุทธิ ที่นำไปสู่ความหมดจดจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง ซึ่งจัดเป็น ๗ ระยะ หรือ ๗ ขั้น อันเรียกว่า วิสุทธิ ๗ ประการนั้นเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด หรือบรรได ๗ ขั้น จึงจะถึงซึ่งความบริสุทธิ วิสุทธิ ๗ ได้แก่
๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งสีล บุคคลที่สมบูรณ์ด้วย จาตุปาริสุทธิสีลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยสีล เป็นสีลวิสุทธิ จาตุปาริสุทธิสีล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสีล อินทรียสังวรสีล อาชีวปาริสุทธิสีล และปัจจยนิสสิตสีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต คือ จิตที่บริสุทธิจากนิวรณ์ทั้งหลาย ขณะใดที่จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ขณะนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ จึงได้ชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิ
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งทิฏฐิ ปัญญาที่รู้แจ้ง รูปนามตามความเป็นจริง ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวโดย โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว (โสฬสญาณจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)
๔. กังขาวิตรณวิสุทธ ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย เพราะเกิดปัญญาที่รู้แจ้งปัจจัยที่ให้เกิดรูปนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร, นามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ กล่าวโดยโสฬสญาณ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๒ ที่ชื่อว่า ปัจจยปริคคหญาณแล้ว
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้ว่าทาง หรือ มิใช่ทาง กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแจ้งญาณที่ ๓ ที่ชื่อว่า สัมมสนญาณแล้ว และถึงญาณที่ ๔ ที่ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ เพียง ตรุณะ คือ
เพียงอย่างอ่อนเท่านั้น ยังไม่ถึง อุทยัพพยญาณ ที่เรียกว่า พลวะ คือ อย่างกล้า(ตรุณอุทยัพพยญาณ นี่แหละที่จะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็นว่า นี่แหละเป็นทางที่ชอบแล้ว กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแล้ว พลวอุทยัพพยญาณ (อย่างกล้า)นั้นแล้ว เป็นต้นไปถึง อนุโลมญาณ และนับโคตรภูญาณรวมด้วยโดยปริยายโดยอ้อม
 ๗. ญาณทัสสนวิสุทธ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็น พระนิพพาน คือ มัคคญาณ และนับผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ รวมด้วยโดยอนุโลม

อานิสงส์ของปัญญา


อานิสงส์ของปัญญา
ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ในโลกุตตรจิต ซึ่งมีอานิสงส์ ดังต่อไปนี้
๑. กำจัดกิเลสต่าง ๆ ให้เป็นสมุจเฉทได้โดยสิ้นเชิง
๒. เสวยรสแห่งอริยผล คือ ตั้งอยู่ในผลสมาบัติได้
๓. เข้านิโรธสมาบัติ คือ ดับจิตและเจตสิกได้
๔. ควรแก่การต้อนรับ บูชา ของมนุษย์และเทวดา
๑. กำจัดกิเลส อะไรได้บ้างนั้น ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า การกำจัดกิเลสจนเป็นสมุจเฉทนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของมัคคญาณ คือ ปัญญาในมัคคจิตโดยเฉพาะ แต่ว่าได้เริ่มกำจัดหรือเริ่มประหาณกิเลสเรื่อยมาตั้งแต่ภังคญาณอันเป็นญาณที่ ๕ แห่งโสฬสญาณนั้นแล้ว กิเลสต่าง ๆ ก็เริ่มอ่อนกำลังลงตามลำดับ ครั้นมาถึง มัคคจิต กิเลสนั้น ๆ จึงดับสนิทพอดี มัคคจิตจะปรากฏขึ้นมาก็ด้วยอำนาจแห่งญาณต่าง ๆ เป็นปัจจัย ญาณต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นได้ เพราะ
การเจริญสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นหัวใจให้ถึงมัคคถึงผล
การเจริญสติปัฏฐานก็เพื่อให้สติตั้งมั่นในอารมณ์กัมมัฏฐาน ที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าในปัจจุบันนั้น ไม่คิดย้อนหลังไปถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ไม่คิดล่วงหน้าไปถึงอารมณ์ที่ยังไม่มีมา อันจะเป็นเหตุให้เกิด อภิชฌา และโทมนัส ผู้ปฏิบัติจึงจะต้องระวังให้จงหนัก อย่าให้อภิชฌา และโทมนัส อาศัยเกิดขึ้นในอารมณ์เหล่านั้นได้ เช่นเกิดมีธรรมที่ไม่ดีไม่ชอบใจมาปรากฏขึ้น ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะพยายามไม่รับอารมณ์นั้น เพราะอยากจะรับแต่อารมณ์ที่ดีที่ชอบใจ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีมาถึงเลย ครั้นเมื่ออารมณ์ที่ดีที่ชอบใจเกิดขึ้น ก็พยายามที่จะรักษาอารมณ์นั้นไว้ อย่างนี้ไม่ชื่อ
ว่าเข้าถึงสติปัฏฐาน เพราะยังมีความยินดียินร้ายอยู่ คือยังมีอภิชฌาและโทมนัสอยู่ จึงยังไม่เป็น มัชฌิมาปฏิปทา ข้อสำคัญ ต้องมีสติกำหนดอารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้า คือ ในอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น จึงจะปิดกั้นอภิชฌาและโทมนัสได้ เมื่ออารมณ์อะไรปรากฏขึ้น ก็กำหนดเพ่งเฉพาะอารมณ์นั้น จนกว่าจะเกิดปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นรูป เป็นนาม เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในการที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นอนิจจังนั้น ก็เพราะสันตติปิดบังไว้ ที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์ก็เพราะว่าอิริยาบถปิดบังไว้ ที่ไม่เห็นว่ารูปนามเป็นอนัตตา
ก็เพราะว่าฆนสัญญา ความที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนปิดบังไว้ จึงสำคัญไปว่า เป็นตัวเป็นตนขึ้น คือ มีสักกายทิฏฐินี้แหละที่เป็นพืชพันธุ์ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิอื่น ๆ อีกมากมาย
 ๒. การเสวยรสแห่งอริยผล คือ ตั้งอยู่ในผลสมาบัติได้ เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน ที่ได้มาจากอริยผลญาณอันบังเกิดแล้วแก่ตน เพื่อเสวยโลกุตตรสุข ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงประจักษ์ได้ในปัจจุบัน อันมี
ความหมายดังนี้
(๑) ปรารภจะเสวยซึ่งความสงบสุขในผลสมาบัติ
(๒) ไม่มีนิมิต รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์
(๓) ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว
(๔) กำหนดเวลาเข้า เวลาออก ด้วยการอธิฏฐาน
(๕) เมื่อยังไม่ครบกำหนดเวลาออก ก็คงตั้งอยู่ในผลสมาบัติ
(๖) เวลาเข้าก็เจริญวิปัสสนา เริ่มแต่อุทยัพพยญาณ จนอนุโลมญาณ ดับอารมณ์จากโลกีย์แล้วถึงผลญาณได้พระนิพพาน เป็นอารมณ์ตลอดไปจนครบกำหนดเวลาออก ตามที่ได้อธิษฐานไว้ ที่มัคคจิตไม่เกิด ก็เพราะเหตุว่า แรงอธิฏฐานน้อยไปในผลสมาบัติ ปรารถนาทิฏฐธัมมสุขวิหาร อยู่ในธรรมที่สงบสุขในปัจจุบันชาตินี้
บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยเจ้า คือเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลยเป็นอันขาด พระอริยเจ้าที่เข้าผลสมาบัติ ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ตนถึงครั้งสุดท้ายเท่านั้น แม้อริยผลที่ตนได้และผ่านพ้นเลยมาแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ พระโสดาบัน เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ โสดาปัตติผล พระสกทาคามี เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ สกทาคามิผลเท่านั้น จะเข้าโสดาปัตติผลที่ตนเคยได้เคยผ่านพ้นมาแล้วนั้น ก็หาได้ไม่
ในทำนองเดียวกัน พระอนาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้เฉพาะ อนาคามิผลอย่างเดียว พระอรหันต์ ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่อรหัตตผลโดยเฉพาะ เช่นเดียวกัน

พระอริยสุกขวิปัสสกเข้าผลสมาบัติได้หรือไม่
ได้เกิดปัญหาว่า ผู้ที่ได้มัคคผลคือพระอริยบุคคลนั้น สามารถเข้าสมาบัติได้ทุกท่านหรือหาไม่ หรือว่าเข้าผลสมาบัติได้เฉพาะพระอริยบุคคลผู้ที่ได้ฌานด้วยเท่านั้น มีหลักฐานแสดงไว้ใน ปัญญาภาวนานิสังสนิทเทส แห่ง วิสุทธิมัคคปกรณ์ ว่า
๑. สพฺเพปิ ปุถุชฺชนา น สมาปชฺชนฺติ กสฺมา อนธิคตตฺตา ฯ
ปุถุชนแม้ทั้งหมดเข้าผลสมาบัติไม่ได้ เพราะเหตุว่า ปุถุชนเหล่านั้น ไมได้บรรลุ มรรค ผล
๒. อริยา ปน สพฺเพปิ สมาปชฺชนฺติ กสฺมา อธิคตตฺตา ฯ
ส่วนพระอริยบุคคล แม้ทั้งหมด ย่อมเข้าผลสมาบัติได้ เพราะเหตุว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุ มรรค ผลแล้ว
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ก็มี ในวิสุทธิมัคค ก็มีว่า
กา ผลสมาปตฺตีติ ยา อริยผลสฺส นิโรเธ อปฺปนา
อัปปนาในเพราะความดับแห่งอริยผลอันใด อันนั้นแหละเรียกว่า ผลสมาบัติ
เก ตํ สมาปชฺชนฺต พวกไหนเข้าได้ เข้าได้เพราะเหตุใด
เก น สมาปชฺชนฺติ พวกไหนเข้าไม่ได้ เข้าไม่ได้เพราะใด
อริยา ปน สพฺพปิ สมาปชฺชนฺติ พระอริยเข้าได้ทุกจำพวก เพราะท่านได้บรรลุ มรรค ผล นิพพานแล้ว
สพฺเพปิ ปุถุชฺชนา น สมาปชฺชนฺติ ปุถุชนทุกจำพวกเข้าไม่ได้ เพราะตนไม่ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน การเข้าผลสมาบัตินั้นจะต้องเข้าด้วยกำลังของวิปัสสนาปัญญา ลำพังแต่สมถะอย่างเดียวก็เข้าผลสมาบัติ
ไม่ได้ เข้าได้แต่ฌานสมาบัติอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้นการเข้าผลสมาบัติ จึงต้องเป็นผู้ที่เคยได้ฌานมาแล้ว และทั้งเป็นผู้ที่เคยได้วสีมาแล้วในการเข้าฌานสมาบัติ แล้วมาเจริญวิปัสสนาได้สำเร็จมัคคผล ซึ่งเรียกว่า
โลกุตตรธรรมนั้น แล้วจึงเข้าสมาบัติด้วยผลจิตได้
แม้จะถือหลักว่า พระอริยผู้นั้นจะต้องเคยได้ฌานมาแล้ว เป็นประการสำคัญ จึงจะเข้าผลสมาบัติได้ก็ดี ก็คงเห็นว่า ลงได้เป็นพระอริยแล้ว ก็เข้าผลสมาบัติได้ทั้งนั้น เพราะแม้ว่าพระอริยผู้นั้นจะไม่ได้เจริญสมถภาวนา
มาก่อน ไม่เคยได้ฌานมาก่อนก็ตามที แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนาจนถึงมัคคญาณ มัคคจิตนั้นต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นองค์ของปฐมฌานโดยบริบูรณ์อย่างพร้อมมูลเสมอไป เหตุนี้โลกุตตรจิต จึงย่อมประกอบด้วยปฐมฌานอย่างแน่นอน ดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลินีอรรถกถา ซึ่งได้อ้างมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้วว่า
วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ ฯ
ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ท่านที่เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌานฯ
อนึ่งตามนัยแห่งอริยสัจจ ๔ ตอนที่แสดงมัคคอริยสัจจก็กล่าวไว้ว่า อริยมัคคนั้นเป็นสมถะด้วยเป็น
วิปัสสนาด้วย คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้ สงเคราะห์ด้วยวิปัสสนา ยาน(พาหนะ)เครื่องนำไปคือวิปัสสนาที่เหลืออีก ๖ องค์ อันได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ นั้นสงเคราะห์ด้วยสมถะ ยาน(พาหนะ)เครื่องนำไปคือสมถะ พระอริยสาวกท่านเว้นส่วน ๒ คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยค ด้วยวิปัสสนายาน และเว้นอัตตกิลมถานุโยค ด้วยสมถยาน ดำเนินไปไต่ไปยัง