ไสยศาสตร์-magic
1.
ลักษณะทั่วไป
1.1 ไสยศาสตร์
เป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์ทางอถรรพเวท เป็น
ระบบ (อันเกิดจาก) ความเชื่อ และการปฏิบัติ
อันมีจุดรวมอยู่ที่ความคิดจากการปฏิบัติแห่งพิธีการและเชื่อว่าสามารถควบคุมอำนาจลึกลับ ซึ่งจะทำให้ความมุ่งหมายของบุคคลบรรลุ ฉะนั้น ไสยศาสตร์จึงเป็นการปฏิบัติตามความเชื่อถือทางสังคม
1.2
ไสยศาสตร์นี้
นอกจากจะเป็นระบบความเชื่อดังกล่าวข้าง
ต้นแล้วยังเป็นศิลป (Art)
ที่ว่าด้วยอำนาจลึกลับที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถจะต่อสู้หรือต้านทานได้
ไสยศาสตร์นั้นเป็นทั้งการปฏิบัติตามกรรม
และเป็นศิลปที่ว่าด้วยอำนาจลึกลับที่อยู่เหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ดี
ถือว่าเป็นระบบที่เกิดจากความเชื่อทางศาสนา เรามักเรียกว่า ไสยศาสตร์
เวทมนต์คาถา มายาศาสตร์ แม่มด แล้วแต่การแสดงออกทางสังคม แต่ในที่นี้เรียกว่า
ไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์นั้นเป็นอำนาจลึกลับ มีผู้ให้ลักษณะได้ว่า
ความรู้ไสยศาสตร์เกิดขึ้นมาจากความเขลาของมนุษย์
ซึ่งมีต่อสิ่งที่มีอยู่รอบตัวเขา
ซึ่งเขาไม่สามารถเข้าใจหรืออธิบายได้ว่ามีลักษณะหรือธรรมชาติอยู่อย่างไร เพราะมนุษย์ไม่สามารถทำความเข้าใจ และอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ มนุษย์จึงเกิดความกลัว
และไม่มัเสถียรภาพทางใจ ความกลัว หรือการขาดเสถียรภาพทางใจ
อันนี้เป็นบ่อเกิดที่สำคัญของไสยศาสตร์ พูดอีกนัยหนึ่งว่า “ไสยศาสตร์ คือองค์ความรู้
หรือความไม่รู้ที่มนุษย์ได้มาโดยการคาดคะเนหรือเดาสุ่ม”
ไสยศาสตร์ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง
คือ เป็นความเชื่อที่เรียกว่า โชคลาง (Superstition) ซึ่งความเชื่อระบบนี้ก็เป็นความเชื่อที่เกิดโดยความไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมชาตินั่นเอง
แต่พยายามจะดึงเอาธรรมชาติเข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดผลตามความต้องการของผู้กระทำ
เช่น การทำเสน่ห์ยาแฝด คงกระพันชาตรี เป็นต้น
ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่เารไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ทั้งนั้น ฉะนั้น
ไสบศาสตร์จึงเกิดขึ้นจากความเขลาของมนุษย์เอง
2. ความหมายไสยศาสตร์
คำว่า Magic มีคำแปลที่ใชัในภาษาไทยหลายความหมายด้วยกัน ซึ่งจะแยกออกตามที่เคยพบ
และใช้ในกระบวนวิชาเกี่ยวกับความผูกพันทางศาสนา:
2.1
แปลว่า “ไสยศาสตร์” เป็นตำราและความรู้ทางไสย
ซึ่ง
เป็นความรู้ประเภทลึกลับอันเกิดจากความเขลาของมนุษย์
ซึ่งมีต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า
องค์ความรู้หรือความไม่รู้ที่มนุษย์ได้มาโดยการคาดคะเนหรือการเดาสุ่ม
2.2
แปลว่า
“เวทมนต์คาถา” เป็นระบบความเชื่อและการ
ปฏิบัติอันมีจุดรวมอยู่ที่ความคิดที่เกิดจากการปฏิบัติแห่งพิธีการ
และเชื่อว่าสามารถควบคุม ซึ่งจะทำให้ความมุ่งหมายของบุคคลบรรลุผล (ดูเรื่องคาถาอาคมประกอบ)
นักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียง 2 ท่าน ได้กล่าวถึง Magic ที่
น่าฟังซึ่งทั้งสองนั้นได้แก่ :
Edward
Tylor เชื่อว่า เวทมนต์คาถาพัฒนาขึ้นมา
จากการใช้ความคิดที่ไม่ถูกต้องของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์
แต่เมื่อปฏิบัติเป็บแบบสืบต่อ ๆ กันมา
จึงกลายเป็นการปฏิบัติที่มีระเบียบเป็นระบบ
ซึ่ง Tylor
เรียกว่าวิทยาศาสตร์จอมปลอม
(Psseudo Science) เพราะพิสูจน์ความจริงไม่ได้
B.Frazer
ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า เวทมนต์คาถา
เป็นระบบมายาของกฏธรรมชาติที่ชี้ทางให้มนุษย์เชื่อ
และปฏิบัติในสิ่งที่ยึดหลักเหตุผล
2.3
แปลว่า “มายาศษสตร์” เป็นคำที่แปลมาจาก Magic
เหมือนกัน
ซึ่งเป็นเรื่องการแสร้งทำ
เล่ห์เหลี่ยม การล่อลวงอันเป็นความไม่จริง
หรือเป็นเรื่องเทียมความจริงอันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้
3.
ความสัมพันธ์กันไสยศาสตร์
ตามความหมายที่ระบุข้างต้นนั้น
เป็นการตีความหมายแต่ละความเห็นของแต่ละท่านว่าจะมีความหมายอย่างไร หากพิจารณาแล้ว ไสยศาสตร์ก็ดี เวทมนต์คาถาก็ดี
มายาศาสตร์ก็ดี
ต่างเกื้อกูลแกกันและกันโดย :
3.1
ไสยศาตร์
ต้องใช้เวทมนต์คาถา และมายาศาสตร์เป็น
เครื่องมือในการดำเนินบทบาทให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง
3.2
เวทมนต์คาถา ถือว่าเป็นไสยศาสตร์
และประกอบด้วย
มายาศาสตร์ เพราะเป็นแม่พิธีในการกระทำต่าง ๆ
ซึ่งผู้ทำพิธีมักเป็นพวกพ่อมดหมอผี
3.3
มายาศาสตร์ มีลักษณะเช่นเดียวกับไสยศาสตร์
คือ
เกิดขึ้นจากความงมงายของมนุษย์เอง
ซึ่งเป็นเรื่องเทียมความจริง
อันเปํนการแสดงออกในรูปของการหลอกลวง
เพราะฉะนั้น คำทั้งสามคำจึงต้องอาศัยกัน จะกล่าวถึง
อย่างใดอย่างหนึ่งก็หมายถึงอีกสองอย่างด้วย ในที่นี้ เพื่อความสะดวกจึงขอใช้คำว่า ไสยศาสตร์
4.
การเกิดไสยศาสตร์
เรื่องไสยศาสตร์นี้
เกิดขึ้นเพราะความเกรงกลัวผีสาง
เทวดา
เนื่องจากมนุษย์ครั้งดั้งเดิมเมื่อประสบภัยธรรมชาติ ไม่สามารถจะต่อสู้ต้านทานได้
ก็นึกว่าเป็นเพราะผีหรือเทวดาซึ่งมีอำนาจอยู่เหนือตนเป็นผู้บันดาล และเป็นธรรมดาอยู่เอง จะต้องหาทางป้องกันและขจัดปัดเป่าเหตุร้ายนั้นให้พ้นไปเสีย
เมื่อเป็นดังนี้ไสยศาสตร์จึงเป็นเรื่องของวิธีการหาความปลอดภัยให้ตนเอง ซึ่งแต่ละคนพยายามแสวงหามาเพื่อให้ตนได้รับความปลอดภัยตามประสงค์
นั่นก้แล้วแต่ว่าจะมีวิธีการอย่างไรเท่านั้นเอง
หนทางป้องกัน
ซึ่งยังติดมาจนทุกวันนี้ก็คือใช้เล่ห์กระเท่หืด้วยวิธีเสกคาถาอาคมหรือลงเลขยันต์เพื่อไม่ให้ผีซึ่งถือเป็นอุบาทว์จัญไรเข้ามายุ่มย่ามกับคน
คติความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “มายิก”
(Magic) ซึ่งมีแทรกอยู่ทุกศาสนาไม่มากก็น้อย ข้อนี้ทำให้เราเห็นว่ามายิกหรือไสยศาสตร์นั้น
จะมีลักษณะเกี่ยวข้องกับศาสนาอยู่ด้วยซึ่งจะมากน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ในชนบทบางกลุ่มบางเหล่า
ประสงค์จะสร้างความมั่น
ใจให้กับพวกตน
ก็ได้อาศัยไสยศาสตร์เป็นเครื่องช่วยในด้านจิตใจอีกแรงหนึ่ง
จะเห็นได้จากการรบทัพจับศึกจะมีการกระทำเพื่อเอาเคล็ด อันเป็นลักษณะตัดไม้ข่มนาม
โดยทำหุ่นของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามแล้วนำมาทำพิธีตัดคอบ้าง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า เมื่อไปรบทัพแล้วต้องชนะหรือพวกชาวเกาะ Trobiand
ทำพิธีปลุกใจก่อนออกไปทำการประมงเป็นต้น ซึ่งการทำพิธีต่าง ๆ เหล่านี้
ต่างมีวิธีการแตกต่างกันออกไป
5.
องค์ประกอบของไสยศาสตร์ magic
องค์ประกอบที่ใช้สำหรับ Magic
มี 3 ประการ คือ :
5.1มนตราหรือคาถาอาคม
(The Spell) คือข้อความอันศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งประพันธ์ขึ้นสำหรับบริกรรมหรือสวดขับ
เพื่อบังคับหรืออ้อนวอนสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติมี ผีสาง
เทวดา เป็นต้น ให้อำนวยสิ่งที่ตนปรารถนา
5.2พิธี (Rite) การใช้เวทมนต์คาถา จะต้องมีพิธีรีตอง เช่น เสก
เป่า
สวดบริกรรม หรือการประพรมน้ำลงบนพื้นดิน
เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิบัติ
การใช้เวทมนต์คาถา เพื่อทำให้ฝนตก หรือการเป่าผงไปให้ถูกผู้หญิง
จะทำให้ผู้หญิงรัก เป็นต้น
พิธีดังกล่าวนี้เชื่อว่าจะเป็นพาหนะหรือแปลงถ้อยคำที่เป็นเวทมนต์คาถาให้เกิดผลขึ้นมา
5.3เงื่อนไขของผู้ปฏิบัติ (Condition of Performance)เนื่องจากการใช้เวทมนต์คาถาต้องมีพิธีการดังกล่าวนี้
แต่ผลจะเกิดขึ้นหรือไม่
ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติด้วย
เช่น
ผู้ปฏิบัติจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และเชื่อมั่นอย่างแท้จริง
ต้องเคารพปฏิบัติตามประเพณีอันเป็นข้อห้ามของสังคม (Taboos)
หรือต้องละเว้นการกินอาหารบางอย่าง ต้องงดเว้นการร่วมเพศ ดังนี้เป็นต้น
หากมีการฝ่าฝืนอาจทำให้การใช้เวทมนตืคาถานั้นไม่บังเกิดผลก็ได้
ใรการประกอบพิธีการใช้เวทมนต์คาถาบางอย่างจะต้องมีกำลังใจเข้มแข็งไม่หวั่นไหวในระหว่างกระทบพิธี เช่น การเรียกภูตผีปีศาจ หรือทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความวิบัติ เช่น
การเสกตาปูให้เข้าท้องคน
การทำให้คนเป็นบ้า เป็นต้น
5.4 อุปกรณ์พิธี ในการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น
อุปกรณ์ในการทำพิธีนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะเป็นการปฏิบัติต่อสภาวชนิดหนึ่งที่ลึกลับ อุปกรณ์เหล่านี้ เท่าที่เคยพบเห็นพอจำแนกได้ดังนี้
ก.
เกี่ยวกับอาหาร อาหารที่ใช้เกี่ยวกับไสยศาสตร์มักเป็น
ของแห้ง
เช่นเครื่องพล่า เครื่องยำ เป็นต้น
ข.
ภาชนะใส่อาหาร มักใช้ใบตองเย็บเป็นกระทงเล็กๆ ใส่
อาหารแล้วใช้หยวกกล้วยมาเย็บ เอาไม้ขัด
หาใบตองรองก้นทำเป็นถาดใส่อาหาร
ซึ่งภาชนะเหล่านี้
ถือว่าเมื่อใช้แล้วทิ้งไปเลย
มนุษย์จะนำมาใช้อีกไม่ได้
ทั้งนี้
คงจะถือว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับมนุษย์นั้นอยู่คนละโลกกัน จะใช้รวมกันไม่ได้ สำหรับภาชนะใส่อาหารนี้ บางแห่งใช้ภาชนะดินปั้นก็มี
ค.
เครื่องบูชา
เป็นเครื่องที่ใช้ประกอบพิธีกรรมด้านนี้
มัก
จะใช้ของที่เป็นเคล็ดที่เป็นเงื่อนไขในการทำพิธีกรรรม
ง.ที่ตั้งอุปกรณ์พิธี มักขึ้นอยู่กับพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ที่ทำ
ไม่มีกำหนดตายตัว เช่นการสะเดาะเคราะห์ที่เรียกว่า “เสียกบาล” มักทำที่ทางสามแพร่ง การเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักตั้งศาลเพียงตา เป็นต้น
5.5 ผู้ทำพิธี หรือผู้ประกอบพิธี นอกจากจะประกอบด้วย
ลักษณะตามข้อ 5.3
แล้วยังทีลักษณะของผู้กระทำอีก
ซึ่งส่วนมากจะเป็นพ่อมดหมอผี
5.6 วันประกอบพิธี ขึ้นอยู่กับพิธีทางไสยศาสตร์ที่จะทำ นั่น
คือพิธีนั้นเกี่ยวกับอะไร สมควรที่จะกระทำในวันและเวลาใด ทั้งนี้
ต้องขึ้นอยู่กับพิธีนั้นๆ เป็นสำคัญ
เช่น วันเสาร์ ห้าค่ำ
ที่เรียกว่า “เสาร์ห้า” หรือวันเพ็ญเดือนสิบสองที่ตรงกับวันจันทร์ ที่เรียกว่า “จันทร์เพ็ญ” หรือ “จันทร์เพ็ง” เป็นต้น
6.ประเภทของไสยศาสตร์ Magic
Magic
คือใช้วิชาความรู้เพื่อบังคับ หรือป้องกันสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติให้เป็นไปตามประสงค์ที่ตนต้องการ แยกได้เป็น
2 คือ:
6.1
เป็นเรื่องแก้หรือป้องกันเหตุร้าย ซึ่งถือว่าเป็นเสนียด
จัญไรตลอดจนขับไล่สิ่งร้ายนั้น ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผี ให้ปลาตหนีไป
อย่างนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า White Magic ใช้วิทยาคมแก้อาถรรพ์ปัดรังควาน ฯลฯ
6.2
ใช้ความรู้มายิกให้ไปทำร้ายคนอื่น เรียก Black
Magic
เช่นทำกฤติยา
ยาแฝด และทำคุณไสย ฝังรูปฝังรอย
เป็นต้น
คติชาวบ้าน ( Folklore)
1.
ความหมายของคติชาวบ้าน
คติชาวบ้านมีผู้ให้ความหมายไว้ ดังจะยกมากล่าวดังนี้
1.1
คติชาวบ้าน
หมายถึง ความคิด ความเชื่อ และการ
บำเพ็ญชีวิตของคนโบราณและบางเรื่องบางอย่างยังตกทอดมาถึงคนสมัยปัจจุบัน
1.2 คติชาวบ้าน
หมายถึง ความรู้ในด้านต่างๆ
ของชาวบ้าน
เช่น
ขนบธรรมเนียมประเพณี
ความเชื่อ นิทานประเภทต่างๆ ฯลฯ
1.3 คติชาวบ้าน หมายถึง
ความเชื่อในวรรณคดีเก่าๆ ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนมากปรากฏในรูปของนิยาย เทพนิยาย
เพลงและสุภาษิต เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับแม่โพสพ แม่พระธรณี
เป็นต้น
1.4พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ – ไทย ให้ความหมายไว้ว่า ความเชื่อเรื่องเทพนิยาย เรื่องนิยาย
หรือประเพณี ที่ยังเหลือรอดมา รวมเรียกว่า
เป็นความรู้หรือปัญญาแบบชาวบ้านซึ่งหมายถึงชนดั้งเดิมก็ได้ คนทั่วไปที่ด้อยการศึกษาก็ได้ หรือหมายถึงมวลชนส่วนใหญ่ในสังคมก็ได้
คติชาวบ้านปรากฏในเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นประเพณี เช่น
เรื่องนิยาย เพลงร้อง คำสวดและสุภาษิตต่างๆ ที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2.
ประโยชน์ของคติชาวบ้าน
คติชาวบ้านยังเป็นเรื่องที่ชาวบ้านหรือหมู่ชนในสังคมนั้นๆ
ได้
บอกเล่าสืบๆ กันมามีหลายอรรถรส เมื่อกล่าวถึงประโยชน์ที่พึงจะได้รับมีดังนี้
2.1
เป็นเครื่องส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกัน
แม้ว่าคติชาวบ้านจะเป็นผลลัพท์จากอดีต
แต่ก็ยังเป็นกระบอกเสียงของปัจจุบัน
ที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างคนต่างถิ่นในประเทศเดียวกันให้เข้าใจว่าแต่ละถิ่น คนมีนิสัย
ความเป็นอยู่
ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างออกไปนั้นเพราะอะไร
2.2
ทำให้เห็นสิ่งดีงามในท้องถิ่นของตน ว่าที่ที่ตนเองอยู่ก็
มีอะไรดีที่น่าภาคภูมิใจ
แต่มิได้หมายความว่าให้หลงถิ่นของตนแล้วดูถูกถิ่นอื่น
เพราะแต่ละถิ่นก็มีศิลปะและสมบัติอันดีงามของตนทั้งนั้น
2.3
ประโยชน์ทางการศึกษาจะช่วยให้ศึกษาวิชาอื่นได้
กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น
ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี
เป็นต้น
และใช้เป็นเครื่องยืนยันหรืออ้างอิงถึงบางเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
2.4
ได้ความเพลิดเพลินในการศึกษา เช่น
นิทานพื้นเมือง
เพลงกล่อมเด็ก ศิลปะการแสดงในแต่ละถิ่น ปริศนา
นอกจากนี้ผู้สนใจอาจนำนิทานพื้นเมืองไปแต่งเป็นนิยายหรือนิทานคำกลอนต่อไปได้อีก เป็นการสืบต่อมรดกไปในทางที่ดีงาม
2.5
ใช้เป็นเครื่องสั่งสอนและอบรม ทั้งตนเองและผู้มีอายุ
เยาว์กว่า
จากภาษิตชาวบ้าน
หรือนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
2.6
สำหรับผู้ที่เป็นครู อาจนำคติชาวบ้านไปสอดแทรกใน
วิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม
พลศึกษา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ
2.7
เป็นเครื่องช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
ให้คงอยู่
เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ
ทั้งยังเป็นเครื่องให้บุคคลได้ระลึกถึงชาติกำเนิดของตนได้ไม่มากก็น้อย ว่าเป็นคนมีอดีตมานมนาน ไม่ขาดแคลน
เพราะที่ไม่มีอดีตก็คือผู้ที่เป็นเด็กอยู่เสมอ
2.8
คติชาวบ้านช่วยให้อารมณ์เก็บกดและคับข้องใจของ
ชาวบ้านคลี่คลายไป
2.9
คติชาวบ้านช่วยให้วัฒนธรรมเข้มแข็งขึ้น
ทำให้วัฒนธรรมของสังคมดำเนินไปอย่างถูกต้อง เมื่อชาวบ้านเกิดความสงสัย ในการปฏิบัติพิธีกรรม การจัดระเบียบสังคม
2.10
คติชาวบ้านทำหน้าที่ให้การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสังคมที่ไม่รู้หนังสือ
2.11
คติชาวบ้านทำหน้าที่รักษาแบบแผนพฤติกรรมซึ่งเป็นที่
ยอมรับกันแล้วในสังคม
เพราะบางประเภทมีความสำคัญในฐานะที่เป็นกลไกสร้างความกดดันและการควบคุมทางสังคมโดยการควบคุมบุคคลที่พยายามประพฤติตนเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานทางสังคม
3. ประเภทของคติชาวบ้าน
3.1
นิทานชาวบ้านซึ่งแบ่งออกตามลักษณะใหญ่ๆ 5
ประการคือ
3.1.1นิทานปรำปรา (
fairy tale ) คำว่าปรำปราบอกให้ทราบว่า เป็นเรื่องเก่าแก่ที่เล่าสืบต่อกันมา
ซึ่งนิทานประเภทนี้จะมีลักษณะที่มีการเริ่มเรื่องด้วยคำว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมี…หรือที่ว่า” Once upon
a time…”และตัวเอกต้องเป็นคนดีมีลักษณะอันดีงามและการจบของนิทานประเภทนี้จะอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า
happy ending
เสมอ
ถือเป็นแบบฉบับของวรรณกรรมในสมัยก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจบของเรื่องที่อยู่ในลักษณะที่เรียกว่า “ Deus Ex Machina “
3.1.2
นิทานท้องถิ่น ( legend ) เป็นนิทานที่มีลักษณะ
คล้ายนิทานปรำปรา แต่มีลักษณะที่สั้นกว่า
ไม่ต้องใช้เวลาเล่าเนิ่นนานเรื่องราวที่จะเล่าจะเกี่ยวข้องกับแต่ละท้องถิ่นและเชื่อกันด้วยว่าเกิดขึ้นจริงแต่อยู่ในลักษณะตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา เรื่องที่จะเล่ามีเค้าโครงที่ชวนให้เชื่อถือแต่เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ พิสูจน์ไม่ได้
นิทานท้องถิ่นนี้แยกย่อยๆ ได้หลายลักษณะ
เช่น
3.1.2.1
นิทานที่เกี่ยวกับประวัติสถานที่ นิทาน
ประเภทนี้มีอยู่มากมายเกือบทุกตำบลทุกหมู่บ้านหรือทุกจังหวัด ย่อมมีนิทานที่เล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของสถานที่ต่างๆ
ในทำนองตำนานค่อนข้างจะเป็นสิ่งเหลือเชื่อแต่ก็เล่ากันในทำนองที่น่าเชื่อถือและเป็นที่เชื่อถือกัยอย่างจริงจัง เช่น
เรื่องเกาะหนูเกาะแมว
ที่จังหวัดสงขลา
เรื่องเขาอกทะลุในจังหวัดพัทลุง
เป็นต้น
3.1.2.2
นิทานเกี่ยวกับบรรพบุรุษ บุคคลสำคัญ
หรือ
วิญญาณประจำท้องถิ่น
รวมไปจนกระทั่งวิญญาณที่คุ้มครองรักษาหรือที่มีชื่อเสียง
การเล่านิทานประเภทนี้จะต้องคำนึงถึงการทีต้องให้การเคารพนับถือ เพราะบุคคลเหล่านี้เปรียบเสมือนตัวแทนของคนในตำบลก็ว่าได้
บางทีก็เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตามเยี่ยงที่นิยมหรือละเว้นการปฏิบัติตามข้อห้ามที่มี เช่น
เรื่องหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
เป็นต้น
3.1.2.3 นิทานเกี่ยวกับความเชื่อ เคล็ดลับ
โชคลาง เครื่องราง นิทานประเภทนี้เกิดจากความเชื่อถือ หรือขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งความรู้ทางไสยศาสตร์ เวทมนตร์
คาถาอาคม
และอิทธิพลของศาสนาในแต่ละท้องถิ่น
เช่น
เรื่องการนับถือโต๊ะตาหยงของชาวเหมืองแร่ของชาวใต้ เป็นต้น
3.1.2.4
นิทานเกี่ยวกับขุมทรัพย์ ลายแทง
เป็น
เรื่องเกี่ยวกับสถานที่เหมือนกันแต่จะเล่าในทำนองเกี่ยวกับขุมทรัพย์ที่ฝังหรือซ่อนไว้ เกี่ยวกับลายแทงต่างๆ
เกี่ยวกับการหาสมบัติ
ยาอายุวัฒนะหรือปัญหาซ่อนเงื่อนต่างๆ
เช่น เรื่องปูโสมเฝ้าทรัพย์
เร่องเก้าเส้งเก้าแสน
ที่จังหวัดสงขลา เป็นต้น
3.1.3
นิทานเรื่องสัตว์ (animal
tale ) นิทานประเภท
นี้เป็นเรื่องที่สัตว์พูดได้ สัตว์เป็นตัวละครเป็นตัวแทนของมนุษย์และการกระทำต่างๆ
ที่ประสงค์จะให้เห็นสัตว์ที่ปรากฏในท้องเรื่อง
จะเห็นถึงลักษณะต่างๆ
ส่วนมากจะไม่อยู่ในลักษณะที่สอนใจหรือเป็นคติให้เกิดแนวความคิด
3.1.4
นิทานชวนหัว ( jest )
นิทานชาวบ้านประเภทนี้
บางทีเป็นที่มาของตลาดการละเล่นพื้นเมืองทางใต้เอง หนังตะลุง
หรือมโนราห์ก็มักนำไปผูกเรื่องชวนหัวอยู่เสมอ ตัวตลกหนังตะลุงบางตัวก็กล่าวว่า มีที่มาจากบุคคลบางคน เช่น “สะหม้อ “กล่าว่ามาจากตำบลสะกอม ในจังหวัดสงขลา หรือนุ้ยเท่ง
ก็มีตำนานที่มา
และมีเรื่องชวนขันจากแต่ละหมู่บ้านที่ผูกเป็นเรื่องเล่าได้ บางทีจะเห็นว่าตัวเอกของเรื่องไม่ใช่คนฉลาดเลย
แต่มีเหตุบังเอิญให้ได้รับผลสำเร็จในการกระทำต่างๆ เช่น เรื่องศรีธนญชัย เป็นต้น
3.1.5 เทพนิยาย ( myth ) นิทานแบบนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับนางฟ้า
เทวดาหรือแม่มด
โดยเฉพาะมีมากทั้งในนิทานต่างประเทศและของไทยเราเอง การต่อสู้ระหว่างสุริยเทพกับพญางูของกรีก การเล่าเรื่องราวตำนานของเทพต่างๆ
ไม่ว่าในวรรณคดีกรีก หรือสันสกฤตไทย เรื่องราวของท้าวมหาสงกรานต์ เรื่องราวของพระอินทร์ ฯลฯ
ก็จัดเข้าในลักษณะนี้ทั้งสิ้น
3.2 เพลงชาวบ้าน( folk songs ) คือเพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ
ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็ประดิษฐ์แบบแผนการร้องไปตามความนิยม และสำเนียงพูดที่แตกต่างกันไป
เพลงประเภทนี้มักนิยมร้องกันในเทศกาลหรือเวลามีงงานชุมนุมผู้คนในหมู่บ้านเพื่อร่วมรื่นเริงกัน
ลักษณะทั่วไปของเพลงชาวบ้านคือมีความเรียบง่ายทั้งในการเลือกใช้ถ้อยคำ และการร้องการเล่น แต่ก็เป็นความเรียบง่ายที่สมบูรณ์และงดงามอยู่ในตัว มีความคล้ายคลึงกันในด้านเนื้อหา ลำดับเรื่อง
การใช้ถ้อยคำและวิธีร้อยกรอง
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นความสนุกสนานเป็นสำคัญ เช่น
เพลงกล่อมเด็ก
ซึ่งมีทั้งประเภทแสดงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก เกี่ยวกับสัตว์เกี่ยวกับธรรมชาติ เกี่ยวกับค่านิยมของสังคม เสียดสีล้อเลียนและเพลงประกอบการเล่น เป็นต้น
3.3คำกล่าว (folk
says ) คำกล่าวของชาวบ้านเป็นถ้อยคำ
ที่ชาวบ้านกล่าวกันอยู่เป็นประจำในรูปของสำนวน สุภาษิต
คำพังเพย คำให้พร คำด่า
บทคำขวัญ
บทแหล่และคำกล่าวในโอกาศพิเศษ
3.4
ปริศนาคำทาย ( folk riddle ) คือข้อความที่เป็น
ปัญหา
ซึ่งเกิดจากความต้องการลองภูมิปัญญาซึ่งกันและกัน
ข้อความที่เป็นปัญหานี้จะไม่ถามตรงๆ แต่จะใช้วิธีผูกปริศนาอย่างแยบยล เพื่อให้ผู้ถามเกิดความสงสัย ไขว้เขว
เป็นผลให้ขบปัญหาอย่างรอบคอบและลึกซึ้งส่วนใหญ่สิ่งที่นำมาถามนั้นมักเป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งของหรือเรื่องราวใกล้ตัว ดังนั้น
การศึกษาปริศนาจึงช่วยให้เข้าใจความคิด
บุคลิกภาพ
และเชาว์ปัญญาของกลุ่มชน
ตลอดจนสภาพสังคม
ค่านิยมและทรัพยากรในท้องถิ่นได้อย่างดี
3.5
ความเชื่อ ( beliefs ) เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับวงจรของชีวิต
การเกิด
การตาย โชคลาง ความฝัน
จุดไสยศาสตร์ ลักษณะความดีชั่ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสงนางไม้
และอื่นๆ
สรุป
ไสมไสยศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อความเป็นอยู่ของคน
ไทยโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยในชนบทที่ได้รับการ
ศึกษาน้อยหรือไม่ได้รับการศึกษาเลยนั้น จะยึดไสยศาสตร์เป็น
เครื่องป้องกันภยันตรายที่พวกเขากลัว ดังนั้น
หากต้องการจะ
เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาชาวขนบทให้เจริญขึ้น นักพัฒนาชนบท
จำเป็นต้องคำนึงถึงความเชื่อของพวกเขาและต้องมีความรู้ด้านไสยศาสตร์บ้างพอสมควร มิฉะนั้นแล้วอาจเกิดผลร้ายขึ้นได้
ผลดีของไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์นั้นเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยโบราณและคนปัจจุบัน
ก็ยังคงยึดถือเชื่อมั่นกันอยู่ แสดงว่าจะต้องมีส่วนดีในตัวของมัน
เองบ้าง
คนถึงได้ดำรงรักษาไว้
หากพิจารณาส่วนที่ดีพบว่า ไสย
ศาตร์ทำหน้าที่ระงับความขลาดกลัวของบุคคล และก่อให้เกิด
ความอบอุ่นสบายใจได้ ในสมัยก่อนเมื่อมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้น
เช่น ไฟไหม้ป่า พายุแรง
มนุษย์เกิดความกลัวจนหาความสุขความสบายไม่ได้
ไสยศาตร์เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์หายกลัวเพราะมนุษย์ถือโอกาส
อ้างว่าปรากฏการณ์เหล่านั้นเกิดจากเทพเจ้า
หากบูชาเทพเจ้าเหล่านั้นเสียก็จะพ้นภัยพิบัติ เมื่อเกิดความเชื่อมั่นเช่นนั้นแล้วความขลาด
กลัวเรื่องไฟไหม้ป่าก็ลดน้อยลง ปัจจุบันแม้ว่าวิทยาศาสตร์เจริญ
ก้าว
หน้าไปมากแล้วก็ตาม
แต่เพราะความเจริญเหล่านั้นมุ่งไปทาง
ด้านวัตถุ
ทว่าด้านจิตใจของมนุษย์ยังมีความขลาดกลัวอีกมาก มนุษย์ จึงต้องยึดไสยศาสตร์ไว้ขจัดความกลัวต่อไปอีก
ซึ่งบางครั้งก็ยึดมั่นมากจนเกินไปจนถึงกับงมงายเลยก็มี
ไสยศาสตร์ยังก่อให้เกิดผลดี เช่น
เชื่อว่าการอาบน้ำ
เกี่ยวข้องกับ
“ ศรี” และ “สิริมงคล”โ ดยบอกว่า เช้าศรีอยู่ที่หน้า
กลางวันอยู่ที่หน้าอก เย็นอยู่ที่เท้า เวลาอาบน้ำตอนเช้าจึงต้อง
รดศรีษะก่อน
เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ปู่ ย่า ตา
ยาย บอกลูกหลานที่เป็นไสยศาสตร์ คือ ไม่ต้องให้คำอธิบายและห้ามพิสูจน์
เมื่อใช้เหตุผลพิจารณาจะพบว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะป้องกันการเป็นหวัดได้อย่างดี แต่ถ้าจะบอกเหตุผลให้คนที่ได้รับการศึกษาน้อยก็เชื่อได้ว่าน้อยคนนักที่จะรู้เรื่อง
ผลเสียของไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์ทำให้เกิดอาชีพต่างๆ
ที่เอาเปรียบสังคม
คือ
อาชีพหมอดูและหมอผี
ซึ่งอาจหาประโยชน์ใส่ตัวเองโดนอ้างไสยศาสตร์เป็นเครื่องมือ
นอกจากนั้นไสยศาสตร์ยังก่อผลเสียให้แก่ผู้เชื่อถือ ดังนี้คือ
1.
ทำให้เป็นคนไม่คิดหาเหตุผล เพราะห้ามพิสูจน์ เป็น
คนเชื่อง่าย
หลงงมงาย
ไม่ได้ใช้ความคิดไตร่ตรองดู
เชื่อเรื่องคนปิดตาขับรถได้เพราะวิญญาณขับให้ คนที่เชื่อเช่นนั้นไม่ต้องคิดไม่ต้องมีเหตุผลเนื่องจากว่าเรื่องนี้พิสูจน์ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เป็นต้น
คนที่ปัญญาถูกบดบังด้วยไสยศาสตร์บางครั้งอาจทำสิ่งที่เลวร้ายอย่างแรงที่สุด จนถึงอาจใช้คนไปทำร้ายคนอื่นๆ ได้
2.
ทำให้คนกล้ามุทะลุ บ้าบิ่น
อวดดี เช่น บางคนที่ได้
ไปสักตัวกับอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เชื่อว่ามีพระคุ้มแล้วยิงฟันไม่เข้า เกิดความฮึกเหิมประพฤติตัวเกะกะเกเร กลายเป็นอันธพาลและเป็นภัยแก่สังคมไปก็มี
3.
ทำให้ตกเป็นเครื่องมือของคนอื่นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น
ตามสำนักสงฆ์ทั่วๆ ไปที่อ้างว่าพระดี มีของดี
มีอิทธิฤทธิ์ให้เช่าในราคาแพงมาก
ผู้เชื่อในไสยศาสตร์จะแย่งชิงกันเช่า
แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเพียงวัตถุโลหะชิ้นเล็กๆ
ซึ่งคนโบราณทำเพียงเพื่อให้สำนึกถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น หลายคนจึงถูกหลอก
และอีกหลายคนอาศัยความโง่เขลาของผู้อื่นเพื่อความร่ำรวยของตนเอง
แม้ว่าไสยศาสตร์จะมีส่วนเสียอยู่บ้าง
แต่ไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจและนับถือกันมากในสังคมไทย โดยจะเห็นได้จากประเพณีที่คนไทยปฏิบัติกัน
เริ่มตั้งแต่ประเพณีการเกิดที่ต้องมีแม่ซื้อ การแห่นางแมวขอฝนเพื่อการประกอบอาชีพ การตั้งศาลพระภูมิตามบ้าน การใช้เครื่องรางของขลัง ผ้ายันตร์ต่างๆ เป็นต้น
การที่ไสยศาสตร์เป็นประเพณีที่ตายยากแสดงว่าคงต้องอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปในอนาคต
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงและควรช่วยกันปรามเสียตั้งแต่ต้นมือ คือ
ทำอย่างไรจะให้คนจำนวนหนึ่งซึ่งเชื่อถือนั้นไม่ถลำลึกจนกลายเป็นผู้งมงายไป
และทำอย่างไรถึงจะลดจำนวนผู้เชื่อถือหรืองมงายให้น้อยลงและหมดไปในที่สุด