วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอนเกี่ยวกับเรื่องความรักของแม่

                                                                                 

ประวัติ มจร.และพิธีการซ้อมรับปริญญา

                                 
                                                                           

เรื่องที่ควรทราบของ (นักธรรมชั้นตรี)


นักธรรมชั้นตรี ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
๑. วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นวิชาที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ ที่กล่าวว่าเป็นศิลป์ เพราะการเรียงความเป็นเรื่องของความงดงามในการใช้ภาษา ส่วนที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์นั้น เพราะการเรียงความเป็นวิชาที่มีหลักการ มีทฤษฎี วิธีการที่เป็นแบบแผนชัดเจน ฉะนั้น ผู้ที่จะเรียงความได้ดีต้องมีความรู้ในด้านภาษาดีพอสมควรและเรียนรู้หลักการวิธีการจนเข้าใจ ตลอดจนมีประสบการณ์ผ่านการฝึกหัดมาอย่างดีวิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรม นอกจากจะทำให้ผู้เรียนขบคิดหัวข้อธรรมะให้แตกฉานสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเองแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน นำเสนอแก่ผู้อื่นให้เข้าใจได้ด้วยภาษาเขียนตรงกับหลักการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิด ลงมือทำ และ นำเสนอ หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า คิด ทำ นำเสนอ
สำหรับนักธรรมชั้นตรี ต้องแต่งอธิบายให้สมเหตุสมผลอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ ๑ สุภาษิต บอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตที่อ้างมานั้นต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมกับเรื่องกระทู้ตั้ง ชั้นนี้กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๒ หน้าขึ้นไป และต้องเขียนเว้นบรรทัด
๒. วิชาธรรมวิภาค
วิชาธรรมวิภาค เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาหลักธรรม คำสอน ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง และนำไปเป็นหลักหยึดในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม อันจะนำความสุขสงบให้บังเกิดขึ้นแก่ชีวิตตนเอง และสังคมส่วนรวมหลักธรรมในวิชาธรรมวิภาคนี้ ท่านจัดไว้เป็นหมวด ตั้งแต่ ทุกะ หมวด ๒ ถึง ทสกะ หมวด ๑๐ ปกิณกะ หมวด เบ็ดเตล็ด รวมถึงคิหิปฏิบัติ คือ หลักปฏิบัติสำหรับผู้ครองเรือน
๓. วิชาพุทธประวัติ
วิชาพุทธประวัติ เป็นวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ทราบประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอยู่จริง ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ การทราบภูมิหลัง ความเป็นมาของพระพุทธเจ้าจะทำให้เกิดศรัทธาปสาทะ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง ที่สำคัญเมื่อได้ทราบพระจริยาวัตรของพระพุทธองค์แล้ว จะทำให้ได้แบบแผนที่ดีงามในการดำเนินชีวิต และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์
๔.วิชาวินัยมุข
วิชาวินัยมุข กล่าวถึงพระวินัย ซึ่งเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ระบุถึงโทษมากโทษน้อยตามความผิดที่กระทำ แล้วสั่งสอนให้สำรวมระวังมิให้ปฏิบัติผิด ให้ปฏิบัติตามข้อที่ทรงอนุญาต งดเว้นข้อที่ทรงห้าม วิชาวินัยจึงเป็นวิชาที่มุ่งให้ผู้ศึกษาทราบรายละเดียดของพระวินัย แล้วมุ่งรักษาให้บริสุทธิ์ พระวินัยชื่อว่า เป็นรากแก้วของพระศาสนา เพราะเป็นตัวบ่งชี้ หรือวัดความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาได้ ทั้งนี้ดูได้จากการปฏิบัติตามพระวินัยของพระภิกษุ หากปฏิบัติตามพระวินัยได้มาก ก็แสดงว่าเจริญ และหากปฏิบัติย่อหย่อนก็แสดงว่าเสื่อม
ในส่วนของวินัยมุขนี้จะกล่าวถึงศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ
๕ วิชาศาสนพิธี
วิชาศาสนพิธี เป็นวิชาที่กล่าวถึงพิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนที่จะพึงปฏิบัติในทางศาสนา ซึ่งนอกจากจะสื่อความหมายไปถึงหลักจริยธรรมในศาสนาแล้ว ยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้พุทธศาสนิกชนมีระเบียบแบบแผนที่ดีงาม และเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนแล้ว ก็นับว่าบุคคล กลุ่มคน สังคมนั้นๆ มีความเจริญ มีระเบียบแบบแผนเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น กลายเป็นอารยธรรมทางศาสนาที่งดงาม เป็นที่ชื่นชมของผู้รู้ทั่วไป
วิชาศาสนพิธีสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี มีเนื้อหา ครอบคลุมพิธีกรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน เช่น พิธีถวายทาน พิธีแสดงความเคารพ เป็นต้น


วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จงทำตัวให้มีคุณค่าเมื่อเกิดมาอยู่ในโลกนี้

                                ทุกสิ่งทุกอย่างมีค่าแก่โลก
@ ต้นไม้ให้  ความร่มรื่น  แก่ชีวิต                    นกตัวนิด  ให้เสียงเพลง  แก่โลกหล้า
ดอกไม้น้อย  ยังให้ความ  ชื่นบานตา                  แม้ต้นหญ้า  ก็ยังให้  ออกซิเจน
แล้วตัวเรา  ที่เกิดมา  ในโลกนี้                        ทำสิ่งดี  ใดไว้  ให้โลกเห็น
กินนอนเล่น  เท่านั้นหรือ  ที่ทำเป็น                    ไม่ดีเด่น  กว่าบรรดา  ต้นหญ้าเลย
พรรณหมู่ไม้  โตได้  วันละนิด                         อันความงาม  พาจิต  คนสดใส
ก่อนเหี่ยวแห้ง  หมู่แมลง  ยังชื่นใจ                    ดูดเกสร  ร่อนไป  เลี้ยงรวงรัง
อันคนเรา  เกิดมาอยู่  คู่กับโลก                        มีทุกข์โศก  โรคร้าย  ตายลงฝัง
ชีวิตดับ  ลับโลกไป  เพราะกายพัง                     ควรปลูกฝัง  ดีไว้  ให้โลกชม........
                                     

บทกลอน (เกี่ยวกับวันแม่)

                                           แม่ประคองครรภ์  
@ เมื่อรู้ว่าตัวเธอนั้นตั้งท้อง
เฝ้าประคองด้วยใจที่มุ่งหวัง
สิ่งที่ชอบเผ็ดร้อนเธอระวัง
เพื่อปกกันลูกน้อยจะกระเทือน
แม้ไม่รู้ว่าจะชายหรือหญิง
เธอประวิงเฝ้านับครบวันเคลื่อน
แม้จะเจ็บจะกลัวตัดทั้งปวง
เธอปลื้มทรวงเสียงแว้แรกเริ่มดัง
เริ่มตั้งไข่ใจพองประคองลูก
ความพันผูกแนบแน่นสุดขานไข
เริ่มหัดเดินหัดพูดแม่สุขใจ
ก้าวแรกได้ให้ลูกด้วยผูกพัน
แม่เป็นครูคนแรกของชีวิต
ชี้ถูกผิดให้ลูกรู้ด้วยความฝัน
เติบโตใหญ่รวยจนไม่สำคัญ
ขอลูกฉันเป็นคนดีของสังคม
มาวันนี้แม่เริ่มแก่ชราล้า
แม่มองหาลูกทุกคนอยู่ที่ไหน
จากอกแม่ลืมแม่ไม่ห่วงใย
ถึงเศร้าใจแต่แม่ไม่โกรธเคือง
ถ้าใครยังมีแม่ขอเชิญเถิด
กราบเท้าเทิดบาทแม่ประเสริฐเหลือ
กตัญญูรู้คุณบุญคุ้มตัว
แม้สิ่งชั่วต้องแพ้พ่ายกตเวทิตาคุณ
กตัญญูรู้คุณบุญคุ้มตัว
แม้สิ่งชั่วต้องแพ้พ่ายกตเวทิตาคุณ
กตัญญูรู้คุณบุญคุ้มตัว
แม้สิ่งชั่วต้องแพ้พ่ายกตเวทิตาคุณ

@ รักของแม่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งไหน

หาสิ่งใดมาเทียบมิได้หนา
ตั้งแต่แม่ตั้งท้องคลอดลูกยา
อีกน้ำนมของมารดาให้ลูกกิน
แม่ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกน้อย
แม่เฝ้าคอยพัดวีให้ลูกสิ้น
แม่ยอมอดเมื่อให้ลูกนั้นได้กิน
แม่ยลยินลูกน้อยดั่งกลอยใจ


บทกลอน พ่อแม่ - แก่เฒ่า


พ่อแม่ - แก่เฒ่า  
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า  
          จำจากเจ้าไม่อยู่นาน  
      จะพบจะพ้องพาน 
                    เพียงเสี้ยววานของคืนวัน

        ใจจริงไม่อยากจาก   
                            เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน 
      แต่ชีพมิทนทาน  
               ย่อมร้าวรานสลายไป
       ขอเถิดถ้าสงสาร 
                   อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ  
      คนแก่ชะแรวัย 
                         คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน
ไม่รักก็ไม่ว่า 
                เพียงเมตตาช่วยอาทร 
            ให้กินและให้นอน  
                      คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ
            เมื่อยามเจ้าโกรธขึง 
               ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย
          ร้องให้ยามป่วยไข้
                        ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน
             เฝ้าเลี้ยงจนโตใหญ่
                     แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน  
          หวังเพียงจะได้ผล 
          เติบโตจนสง่างาม
      ขอโทษถ้าทำผิด
             ขอให้คิดทุกทุกยาม 
     ใจแท้มีแต่ความ
                    หวังติดตามช่วยอวยชัย

      ต้นไม้ที่ใกล้ฝัง  
               มีหรือหวังอยู่ทนได้  
        วันหนึ่งคงล้มไป
        ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง 

หญิงคนหนึ่งที่เราเรียกว่าแม่


หญิงคนหนึ่ง 
หญิงคนหนึ่ง คนที่เรา เรียกว่าแม่                                  หญิงคนที่ รักเราแท้ ไม่แปรผัน
    หญิงคนที่ รักเรา เท่าชีวัน                                                หญิงคนนั้น ให้เราเกิด กำเนิดมา
         หญิงคนนี้ ที่เราควร จะกราบไหว้                                    หญิงคนที่ เราทั้งหลาย ควรฝันหา
           หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา                                    หญิงคนที่ เสียน้ำตา ตอนคลอดเรา
           หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา                                    หญิงคนที่ เสียน้ำตา ตอนคลอดเรา
          วันเราเกิด หญิงคนนี้ ที่ต้องเจ็บ                                       วันเราเจ็บ เขายิ่งเจ็บ กว่าหลายเท่า
         วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา                                       วันเขาเศร้า แล้วเราไป อยู่ไหนกัน
         วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา                                       วันเขาเศร้า แล้วเราไป อยู่ไหนกัน
      คิดบ้างเถิด ลูกทุกคน จงได้คิด                                         คิดบ้างเถิด ใครที่ผิด ที่แปรผัน
      คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน                                       คิดบ้างเถิด ใครลืมวัน ที่ผ่านมา
      คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน                                       คิดบ้างเถิด ใครลืมวัน ที่ผ่านมา
เราต่างหาก ที่มัวเมา จนลืมคิด                                         เราต่างหาก เราที่ผิด ไม่ไปหา
     เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา                                               เราต่างหาก ที่มันบ้า หลงลืมตัว
      เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา                                               เราต่างหาก ที่มันบ้า หลงลืมตัว
      กลับไปเถิด กลับไป เยี่ยมแม่บ้าง                                     อย่าให้ท่าน ต้องอ้างว้าง ใจสลัว
 อย่าหลงไฟ หลงแสงสี จนลืมตัว                                     อย่าเมามัว จนลืมแม่ ผู้รักเรา
 อย่าหลงไฟ หลงแสงสี จนลืมตัว                                     อย่าเมามัว จนลืมแม่ ผู้รักเรา


บทกลอนเกี่ยวกับการทำกิจกรรมวันแม่



                                                              บทกลอนงานวันเกิด
              @ งานวันเกิดที่ยิ่งใหญ่ใครคนนั้น                      ฉลองกันในกลุ่มผู้ลุ่มหลง
หลงลาภยศสรรเสริญเพลินทะนง                          วันเกิดส่งชีพสั้นเร่งวันตาย
อีกมุมหนึ่งหนึ่งซึ่งเหงาน่าเศร้าแท้                         หญิงแก่แก่นั่งคอยและคอยหา
โอ้วันนั้นเป็นวันอันตราย                                แม่คลอดสายโลหิตแทบปลิดชนม์   
วันเกิดลูกเกือบคล้ายวันตายแม่                                เจ็บท้องแท้เท่าไรมิได้บ่น
กว่าอุ้มท้องกว่าจะคลอดรอดเป็นคน                            เติบโตจนมานี้นี่เพราะใคร
แม่เจ็บเจียนขาดใจในวันนั้น                               กลับเป็นวันลูกฉลองกันผ่องใส
ให้ชีวิตแล้วก็หลงระเริงใจ                              ลืมผู้ให้ชีวิตอนิจจา..
ไฉนจึงเรียกกันว่าวันเกิด                                 วันผู้ให้กำเนิดประเสริฐกว่า
คำอวยพรที่คุณเขียนควรเปลี่ยนมา                              ให้มารดาคุณเป็นสุขจึงถูกแท้
เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดนะ                               ควรที่จะคุกเข่ากราบเท้าแม่
ระลึกถึงพระคุณอบอุ่นแท้                              อย่ามัวแต่จัดงานประจานตัว....
                                                                    

การปฏิบัติตัวของพิธีกร


พิธีกรในพิธี 
 () จุดเทียนชนวน ถือเชิงเทียนโดยมือขวา หงายมือให้นิ้วทั้ง ๔ รองรับฐานเชิงเทียน โดยมีหัวแม่มือบีบบังคับเชิงเทียนไว้ไม่ให้ตก เดินตรงเข้าไปหาประธานห่างพอสมควร ยืนโค้งคำนับ
() เดินตามประธานในพิธีไปทางซ้ายมือของประธาน เมื่อถึงหน้าโต๊ะหมู่บูชา ยื่นมือขวาส่งเทียนชนวนให้ประธาน ส่วนมือซ้ายเหยียดตรงแนบลำตัว
() เมื่อยื่นเทียนแล้วถอยห่างออกมาห่างพอประมาณ
() เมื่อประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เดินเข้าไปใกล้พอสมควร ยื่นมือขวาหงายมือรับเทียนชนวนจากประธานคืน นั่งหรือยืนรอ
() เมื่อประธานกราบพระรัตนตรัยแล้ว กำลังกลับที่เดิม ดับเทียนชนวนโดยบีบไส้เทียนให้ดับ หรือใช้ฝาครอบสำหรับดับเทียน หรือเอามือพัด ไม่ควรใช้ปากเป่าดับไฟ
() การส่งเทียนชนวน เมื่อประธานในพิธีจุดเทียนน้ำมนต์ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
() เมื่อประธานจุดธูปเทียน กราบพระรัตนตรัย กราบพระสงฆ์แล้ว นั่งกระโหย่งพนมมือเริ่มกล่าวคำอาราธนาศีลห้า ขณะรับศีลห้าอาจนั่งพับเพียบก็ได้
() หลังจากรับศีลห้าเสร็จ นั่งกระโหย่งพนมมือ อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วนั่งพับเพียบ
() ให้คำแนะนำแก่เจ้าภาพในขั้นตอนของพิธีกรรม จนเสร็จพิธี ไม่ควรหนีกลับก่อนพิธีเสร็จ

ประวัติวันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา

            ความเป็นมาของการอยู่จำพรรษาการอยู่จำพรรษาหรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า การเข้าพรรษา นั้น เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของภิกษุในพุทธศาสนา ได้ทำติดต่อกันมาตั้งแต่พุทธกาลจวบจนปัจจุบัน นับเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดโดยไม่ขาดสายได้อย่างอัศจรรย์เดิมทีเดียว เมื่อภิกษุยังมีจำนวนน้อยไม่มีการเข้าพรรษา เมื่อถึงฤดูฝนท่านหยุดจาริกของท่านเอง พ้นหน้าฝนแล้วออกจาริกสั่งสอนประชาชนต่อไป ต่อมาเมื่อภิกษุมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งเป็นธรรมเนียมให้มีการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝนคงจะด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น1.เพื่ออนุโลมตามธรรมเนียมของบ้านเมืองในสมัยนั้นเป็นธรรมเนียมของบ้านเมืองในครั้งโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนต้องงดการไปมาหาสู่ต่างเมืองชั่วคราว มีตัวอย่าง เช่น พ่อค้า สัตว์พาหนะ ถึงฤดูฝน ที่ใดต้องหยุดพัก ที่นั้น เป็นอย่างนี้เพราะทางเดินเป็นหล่มไปไม่สะดวก นอกจากนี้ยังจะถูกน้ำป่าหลากมาท่วมด้วย วินัย (วินัยมุขของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
2.เพื่อป้องกันการตำหนิติเตียนของชาวเมืองข้อนี้มีเรื่องเล่าไว้ในพระวินัยปิฎกมาหวรรควัสสูปนายิกขันธกะ (หมวดที่ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวนาราม นครราชคฤห์ ครั้งนั้นยังมิได้ทรงบัญญัติการอยู่จำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปต่ลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนว่าไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปเช่นนั้น เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสัตว์มีชีวิต เช่นสัตว์หรือแมลงเล็ก จำนวนมากให้วอดวายแม้พวกเดียรถีย์ปริพพาชกผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังรู้จักพักอาศัยอยู่ประจำที่ตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกยังรู้จักทำรังอยู่บนยอดไม้และพักอาศัยอยู่ตลอดฤดูฝนเหมือนกัน แต่เหตุไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้จึงยังท่องเที่ยวอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้จึงทรงบัญญัติธรรมเนียมการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝน ความจริงฤดูฝนมี 4 เดือน คือตั้งแต่กลางเดือน 8 ถึงกลางเดือน 12 แต่ออกพรรษา 1 เดือนก่อนสิ้นฤดูฝนเพื่อให้เตรียมตัวหาจีวรและบริขารอันจำเป็นอื่น ในการจาริกเพื่อสั่งสอนประชาชนต่อไป3.เพื่อถือเป็นโอกาสอันดีของภิกษุจะได้เก็บตัวปฏิบัติธรรมฝึกฝนอบรมจิตเติมพลังความรู้ความสามารถให้แก่ตัวเองเมื่อออกพรรษาแล้ว จะได้จาริกออกสั่งสอนประชาชนต่อไปด้วยความกระปรี้กระเปร่าเหมือนการปิดเทอมใหญ่ของโรงเรียนให้ครูได้พักผ่อนและเพิ่มเติมความรู้ พอเปิดเทอมใหม่ก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นวันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษามี 2 คราว คือคราวแรกกำหนดวันแรมค่ำ 1 เดือน 8 (อาสาฬหะ) เรียกวันเข้าพรรษาต้น (ปุริมิกา วัสสูปนายิกา) ถ้าพระรูปใดเข้าพรรษาต้นไม่ทันด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านอนุญาตให้เข้าพรรษาหลังได้ ถือไปเข้าพรรษาเอาแรม 1 ค่ำ เดือน 9 เรียก ปัจฉิมมิกา วัสสูปนายิกา แต่ถ้าถึงวันเข้าพรรษาแรกแล้วเที่ยวเตร่เสียไม่ยอมเข้าพรรษา ด้วยเห็นว่าเข้าพรรษาหลังก็มีอยู่ ค่อยเข้าพรรษาหลังก็ได้ ดังนี้ไม่สมควร ถ้าทำท่านปรับอาบัติทุกฎ (ทุกฎ แปลว่าทำไม่ดี ไม่ควร ไม่ถูกต้อง) จะไม่ยอมเข้าเลยก็ไม่ได้ปรับอาบัติทุกฎเหมือนกันข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า พระสงฆ์ไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ เช่น อังกฤษ หรืออเมริกาซึ่งฤดูฝนไม่ตรงกับทางบ้านเมืองเราน้นท่านควรเข้าพรรษาในเดือนใดจึงจะเหมาะ  ถ้าถือเอาวันแรมค่ำ 1 เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษาก็คงทำเพียงเพื่อรักษาธรรมเนียมเท่านั้น หาได้สำเร็จประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของการอยู่จำพรรษาก็เพื่อได้หยุดจาริกในฤดูฝน ถ้าท่านจำพรรษาในฤดูฝนของประเทศนั้น ก็เรียกว่าได้ทำตามจุดมุ่งหมาย แต่อาจขัดกับธรรมเนียมที่เคยประพฤติมา ไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เคร่งในธรรมเนียมก็ได้ ทำนองเดียวกับความเชื่อและความปลงใจเห็นว่าเมื่อพระขึ้นเทศน์บนธรรมาสน์จะต้องถือคัมภีร์  พระสมัยก่อนเมื่อท่านเทศน์บนธรรมาสน์ท่านอ่านข้อความในคัมภีร์ใบลาน ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นคัมภีร์กระดาษพับอย่างเดียวกับคัมภีร์ใบลาน เรียกว่า ถือคัมภีร์และได้ใช้ประโยชน์ของคัมภีร์นั้น แต่เห็นพระสมัยนี้นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ปุจฉาวิสัชนา 2 ธรรมาสน์ ท่านไม่ต้องดูคัมภีร์ แต่ถือคัมภีร์ไว้ในมือหรือวางไว้บนตัก เรียกว่าถือคัมภีร์พอเป็นธรรมเนียมเท่านั้นเอง ไม่มีประโยชน์อะไรอย่างอื่นเรื่องของศาสนานั้น บางอย่างปฏิบัติกันไปตามธรรมเนียมโดยไม่คำนึงถึงสาระหรือจุดมุ่งหมาย บางอย่างถ้าต้องการให้ได้สาระก็ต้องทิ้งธรรมเนียมที่เคยทำกันมาบ้าง บางอย่างธรรมเนียมกับสาระสอดคลอ้งกันดีก็น่าจะรักษาไว้ให้ยั่งยืนต่อไป  ทำนองคนจะกินพุทรา มังคุด หรือ เงาะทั้งเปลือกก็ดูจะไม่สมควร เรียกว่าไม่รู้จักกินผลไม้ธุรกิจที่ทรงผ่อนผันให้ไปแรมคืนได้ในพรรษาภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกุฏิใดในวัดใดอันเหมาะสมที่จะอยู่ได้ตลอด 3 เดือนแล้วท่านไม่ให้ไปแรมคืนที่อื่นนอกจากมีธุระจำเป็นจริง ก็ไปได้ และไปแรมคืนได้อย่างมากเพียง 7 วัน ถ้าเกิน 7 วันพรรษาขาด ครบ 5 วันหรือ 6 วัน แล้วรีบกลับมานอนในวัดหรือในกุฏิที่เข้าพรรษาเดิมเสียก่อน วันต่อไปอาจไปได้อีก การไปแรมคืนที่อื่นในลักษณะนี้ท่านเรียกว่า สัตตาหกรณียะ (กรณียกิจที่จะพึงทำได้ภายใน 7 วัน)
ธุรกิจอันเป็นเหตุให้ทำสัตตาหะได้นั้นมีหลายอย่างเช่น1.ผู้มีศรัทธาต้องการทำบุญส่งคนมานิมนต์ไปฉลองศรัทธาของเขาได้ข้อนี้มีเรื่องอันเป็นปฐมเหตุเล่าไว้ในวินัยปิฎกว่าอุบาสกคนหนึ่งชื่ออุเทน สร้างที่อยู่อุทิศสงฆ์ให้มารับที่อยู่และเขาปรารถนาจะถวายทานฟังธรรม ปรารถนาพบเห็นภิกษุทั้งหลาย แต่ภิกษุทั้งหลายตอบไปกับทูตว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติให้เข้าพรรษา 3 เดือน เพราะฉะนั้นรับนิมนต์ไม่ได้ อุบาสกอุเทนติเตียนว่าเหตุไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉลองศรัทธาในเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้วทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยวิธีสัตตาหกรณียะ2.มารดาบิดาหรือสหธรรมมิก (เพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน เช่น ภิกษุ) ป่วยไข้ ไปเพื่อรักษาพยาบาลได้3.สหธรรมมิกสันใคร่จะสึก ไปเพื่อระงับความคิดอย่างนั้นเสียก็ได้4.สถานที่อยู่ เสนาสนะของสงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งชำรุดทรุดโทรม ตนเป็นผู้ฉลาดสามารถในการซ่อมแซม ไปเพื่อซ่อมแซมก็ได้5.แม้ธุระอื่น อันสมควร เป็นงานพระศานา หรือเรื่องอันเกี่ยวกับการประพฤติธรรม ก็ทรงอนุญาตให้สัตตาหกรณียะไปได้อันตรายของการอยู่จำพรรษาขณะอยู่จำพรรษาถ้ามีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น จะอยู่ต่อไปไม่ได้ทรงอนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ พรรษาขาด แต่ไม่ปรับอาบัติ อันตรายอันพอถือเป็นเหตุให้หลีกไปได้ท่านแสดงไว้ดังนี้1.ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปีศาจเบียดเบียน2.เสนาสนะถูกน้ำท่วมหรือไฟไหม้3.อุทกภัยหรืออัคคีภัยเกิดขึ้นแก่ชาวบ้านอันภิกษุอาศัยที่บิณฑบาต พวกเขาอพยพไป ภิกษุจะตามเขาไปก็ได้ แต่ทรงอนุญาตให้ตามไปในกรณีที่ชาวบ้าน 

บทสวด (ถวายพรพระ)


บทถวายพรพระ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ครั้ง)
          อิติปิ โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู
อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถาเทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ
        สวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  
  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ
        สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ 
ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ   สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ยะทิทัง  จัตตาริ ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย  
ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ
                        พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง  ครีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
                ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
                ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง
                เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท ตันเตชะสา  ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
                อิทธีภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        กัตวานะ  กัฏฐะมุทะรัง  อิวะ คัพภินียา จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
                สันเตนะ  โสมะวิธินา ชิตะวา  มุนินโท ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง
                ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต    
                   อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท ตันเตชะสา  ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
                ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                        เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา  โย วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที
                หิตวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ   โมกขัง สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ ฯ
                          มะหาการุณิโก  นาโถ            หิตายะ  สัพพะปาณินัง
        ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา                           ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                             โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง ฯ
                ชะยันโต  โพธิยา มูเล                        สักยานัง  นันทิวัฑฒะโน
        เอวัง  ตวัง  วิชะโย โหหิ                            ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
        อะปะราชิตะปัลลังเก                                 สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
        อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง                         อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ ฯ
        สุนักขัตตัง สุมังคะลัง                                สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง
        สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ                               สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
        ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                            วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง
        ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง                            ปะณิธี เต  ปะทักขิณา
        ปะทักขิณานิ  กัตวานะ                               ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ ฯ
                                     มงคลจักรวาฬน้อย (ย่อ)
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ                              ระตะนัตตะยะเตชะสา
ทุกขะโรคะภะยา  เวรา                                โสกา  สัตตุ  จุปัททะวา
อะเนกา  อันตะรายาปิ                                 วินัสสันตุ  อะเสสะโต
ชะยะสิทธิ  ธะนัง  ลาภัง                              โสตถิ  ภาคยัง สุขัง  พะลัง
สิริ  อายุ จะ วัณโณ  จะ                                โภคัง  วุฑฒี  จะ ยะสะวา
สะตะวัสสา  จะ อายู  จะ                              ชีวะสิทธี  ภะวันตุ  เต ฯ
                                                       บทภะวะตุสัพ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
             สัพพะพุทธานุภาเวนะ                               สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
              ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
              สัพพะธัมมานุภาเวนะ                               สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ       
              ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
             สัพพะสังฆานุภาเวนะ                               สะทา  โสตถี  ภะวันตุ เต ฯ