วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555
ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพุทธทาสภิกขุ
ประวัติย่อ
บิดา - มารดา และที่อยู่อาศัยเป็นบุตรนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิชเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง (ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น “สุราษฎร์ธานี”)
พ.ศ. ๒๔๔๙
เด็กชายเงื่อม หรือพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย บุตร นายเซี้ยงและนางเคลื่อน พานิช ที่หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นที่ตั้งของจังหวัดไชยา
พ.ศ. ๒๔๕๗
เมื่ออายุ ๘ ขวบ บิดามารดาพาเด็กชายเงื่อมไปฝากเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง เป็นเวลา ๓ ปี เพื่อรับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบโบราณ
พ.ศ. ๒๔๖๐
เด็กชายเงื่อมกลับมาอยู่บ้าน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโพธาราม และเล่าเรียนที่นี่จนถึงชั้นมัธยม
พ.ศ. ๒๔๖๔
ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๒ ที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด เพื่อจะได้อยู่กับบิดา ซึ่งมาเปิดร้านค้าอีกแห่งหนึ่งที่ตำบลนี้
พ.ศ. ๒๔๖๕
บิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน เด็กหนุ่มเงื่อมออกจากโรงเรียนมาช่วยดำเนินการค้ากับมารดา ระหว่างนี้ นายยี่เกย น้องชาย บวชเป็นสามเณรและเรียนชั้นมัธยมอยู่ที่โรงเรียนประจำจังหวัด
ๆ กันอยู่
-ปลายปีเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง "พระพุทธศาสนาขั้นบุถุชน" อธิบายคุณค่าของพระพุทธศาสนาด้วยภาษาสมัยปัจจุบัน และเริ่มแสดงความคิดเห็นว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้จริงในสมัยปัจจุบัน บทความนี้พิมพ์เป็นหนังสือแจก งานฉลองโรงเรียนนักธรรมวัดพระบรมธาตุไชยา
-ปลายปีนั้นสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค เป็น พระมหาเงื่อม อินฺทปญฺโญ
-ปลายปีนั้นสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค เป็น พระมหาเงื่อม อินฺทปญฺโญ
พ.ศ. ๒๔๗๔
-เบื่อเรียนมากขึ้น ค้นคว้าศึกษานอกตำราเรียนออกไป ความคิดอุดมคติเริ่มตั้งมั่น
-ปลายปีสอบเปรียญธรรมประโยค ๔ ตก เตรียมเดินทางกลับบ้านเพื่อทำงานตามอุดมคติ
-เบื่อเรียนมากขึ้น ค้นคว้าศึกษานอกตำราเรียนออกไป ความคิดอุดมคติเริ่มตั้งมั่น
-ปลายปีสอบเปรียญธรรมประโยค ๔ ตก เตรียมเดินทางกลับบ้านเพื่อทำงานตามอุดมคติ
พ.ศ. ๒๔๗๕
-เดินทางกลับถึงพุมเรียง (๖ เม.ย. ๒๔๗๔)
-เข้าอยู่ในวัดร้างตระพังจิก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสวนโมกข์สวนโมกขพลารามเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม -เดือนกรกฎาคมคณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
-นางเคลื่อนทำพินัยกรรมมอบเงิน ๖,๓๗๘ บาท ตั้งเป็นทุนต้นตระกูลพานิช ช้ดอกผลบำรุงสวนโมกข์และคณะธรรมทาน
-คณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (ก.ค.) เปิดบ้านหนังหนึ่งเป็น "ห้องธรรมทาน" -มีทำบุญเลี้ยงพระและเทศน์ทุกวันพระและวัน ๘ ค่ำ
-เริ่มเขียน "ตามรอยพระอรหันต์" ในเดือนสิงหาคม
-เข้าอยู่ในวัดร้างตระพังจิก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสวนโมกข์สวนโมกขพลารามเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม -เดือนกรกฎาคมคณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
-นางเคลื่อนทำพินัยกรรมมอบเงิน ๖,๓๗๘ บาท ตั้งเป็นทุนต้นตระกูลพานิช ช้ดอกผลบำรุงสวนโมกข์และคณะธรรมทาน
-คณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (ก.ค.) เปิดบ้านหนังหนึ่งเป็น "ห้องธรรมทาน" -มีทำบุญเลี้ยงพระและเทศน์ทุกวันพระและวัน ๘ ค่ำ
-เริ่มเขียน "ตามรอยพระอรหันต์" ในเดือนสิงหาคม
พ.ศ. ๒๔๗๖
-ออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา ราย ๓ เดือน
-เริ่มเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สภาพพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ใช้นามปากกา "ธรรมโยช" "ชินวาทก์"ฯ
- และเขียน "ทำไมไม่ไปกับพระโลกนาถ" ลงหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๖
-ออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา ราย ๓ เดือน
-เริ่มเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สภาพพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ใช้นามปากกา "ธรรมโยช" "ชินวาทก์"ฯ
- และเขียน "ทำไมไม่ไปกับพระโลกนาถ" ลงหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๖
-พิมพ์รวมเล่มพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ครั้งแรก
-คณะธรรมทานเปิดโรงเรียนพุทธนิคม
-คณะธรรมทานเปิดโรงเรียนพุทธนิคม
พ.ศ. ๒๔๘๐
-หัวหน้ากองตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย ประกาศใช้พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เป็นหนังสือประกอบแบบเรียน (๑๕ มิ.ย.)
-แปล "ลังกาวตาลสูตร" จากพระสูตรฝ่ายมหายาน ลงพุทธสาสนา
-สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทร์ ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม และผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เดินทางมาเยี่ยมสวนโมกข์และค้างคืน ๑ คืน (๒๖ มิ.ย.)
-เขียน "บรรณวิจารณ์อภิธานัปปทีปนีกา" และ "ต้นบัญญัติสิกขาบท" -ไว้อาลัยวาระสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (๑๖ ธ.ค.)
-หัวหน้ากองตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย ประกาศใช้พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เป็นหนังสือประกอบแบบเรียน (๑๕ มิ.ย.)
-แปล "ลังกาวตาลสูตร" จากพระสูตรฝ่ายมหายาน ลงพุทธสาสนา
-สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทร์ ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม และผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เดินทางมาเยี่ยมสวนโมกข์และค้างคืน ๑ คืน (๒๖ มิ.ย.)
-เขียน "บรรณวิจารณ์อภิธานัปปทีปนีกา" และ "ต้นบัญญัติสิกขาบท" -ไว้อาลัยวาระสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (๑๖ ธ.ค.)
พ.ศ. ๒๔๘๑
-เริ่มอบรมสามเณรชุดพิเศษ เพื่อสร้างนักเผยแผ่ที่ทันสมัย (งานที่ไม่ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา)
-เรียบเรียง "เกียรติคุณของพระพุทธเจ้า" หนังสือพุทธประวัติสำหรับคนหนุ่มสาว ลงวันที่ ๑๑ ม.ค.
-เขียนบทความขนาดยาว "อนัตตาของพระพุทธเจ้า"
-พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี) อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พระยาภะรตราชสุพิช ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มาเยี่ยมสวนโมกข์เป็นครั้งแรก
-เริ่มอบรมสามเณรชุดพิเศษ เพื่อสร้างนักเผยแผ่ที่ทันสมัย (งานที่ไม่ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา)
-เรียบเรียง "เกียรติคุณของพระพุทธเจ้า" หนังสือพุทธประวัติสำหรับคนหนุ่มสาว ลงวันที่ ๑๑ ม.ค.
-เขียนบทความขนาดยาว "อนัตตาของพระพุทธเจ้า"
-พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี) อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พระยาภะรตราชสุพิช ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มาเยี่ยมสวนโมกข์เป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๘๒
-นายยี่เกยเปลี่ยนชี่อเป็น "ธรรมทาส" อย่างเป็นทางการ
-สร้างหอสมุดธรรมทาน ที่วัดชยาราม เป็นที่พักและที่ทำงานอีกแห่งหนึ่ง
-มีบทความเกี่ยวกับกฤษณมูรติ ลงพุทธสาสนา
-เขียนบทความขนาดยาว ๕๕ หน้า "ตอบปัญหาบาทหลวง" หักล้างความเชื่อเกี่ยวกับพ-ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกขพลารามแห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)
พ.ศ. ๒๔๘๙
-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าฝ่ายองค์การเผยแผ่ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒๒ ม.ค.)
-ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกข์แห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)
-คณะพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์มาเยี่ยมครั้งที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๘๙
-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอินทปัญญาจารย์ (๕ ธันวาคม ๒๔๘๙)
-ปาฐกถาธรรมที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "พุทธธรรมกับสันติภาพ" (๒ มี.ค.)
-เลิกสวนโมกข์แห่งเดิมที่พุมเรียงโดยสิ้นเชิง (ก่อนหน้านี้ยังมีพระอยู่ประจำ)
-ปาฐกถาธรรมที่สมาคมพุทธบริษัทไทยจีนประชา เรื่อง "ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนาระหว่างนิกายต่าง ๆ" (๒๙ ธ.ค.)
-สร้างหอสมุดธรรมทาน ที่วัดชยาราม เป็นที่พักและที่ทำงานอีกแห่งหนึ่ง
-มีบทความเกี่ยวกับกฤษณมูรติ ลงพุทธสาสนา
-เขียนบทความขนาดยาว ๕๕ หน้า "ตอบปัญหาบาทหลวง" หักล้างความเชื่อเกี่ยวกับพ-ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกขพลารามแห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)
พ.ศ. ๒๔๘๙
-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าฝ่ายองค์การเผยแผ่ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒๒ ม.ค.)
-ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกข์แห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)
-คณะพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์มาเยี่ยมครั้งที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๘๙
-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอินทปัญญาจารย์ (๕ ธันวาคม ๒๔๘๙)
-ปาฐกถาธรรมที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "พุทธธรรมกับสันติภาพ" (๒ มี.ค.)
-เลิกสวนโมกข์แห่งเดิมที่พุมเรียงโดยสิ้นเชิง (ก่อนหน้านี้ยังมีพระอยู่ประจำ)
-ปาฐกถาธรรมที่สมาคมพุทธบริษัทไทยจีนประชา เรื่อง "ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนาระหว่างนิกายต่าง ๆ" (๒๙ ธ.ค.)
พ.ศ. ๒๔๙๐
-ปาฐกถาที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "พระพุทธศาสนาจะช่วยพวกเราในปัจจุบันนี้ได้อย่างไร" (๓๑ พ.ค. ๒๔๙๐)
-ปาฐกถาที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "พุทธธรรมกับเจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้นเข้าฟังด้วย (๑๑ พ.ย. ๒๔๙๐)
-เกิดคณะพุทธนิคมที่เชียงใหม่
-เริ่มแปล "สูตรของเว่ยหล่าง" ลงพุทธสาสนา
-ปาฐกถาที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "พระพุทธศาสนาจะช่วยพวกเราในปัจจุบันนี้ได้อย่างไร" (๓๑ พ.ค. ๒๔๙๐)
-ปาฐกถาที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "พุทธธรรมกับเจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้นเข้าฟังด้วย (๑๑ พ.ย. ๒๔๙๐)
-เกิดคณะพุทธนิคมที่เชียงใหม่
-เริ่มแปล "สูตรของเว่ยหล่าง" ลงพุทธสาสนา
พ.ศ. ๒๔๙๑
-โยมมารดาถึงแก่กรรม (๒๔ เม.ย.๒๔๙๑)
-เดินทางขึ้นเชียงใหม่ครั้งแรก เพื่อช่วยให้คำแนะนำแก่กิจการของคณะพุทธนิคมเชียงใหม่ (ก่อนเข้าพรรษา)
ระเจ้าแบบบุคคลอย่างรุนแรง ลงหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา ราย ๓ เดือน
-มีพิธีทอดกฐินครั้งแรกและครั้งเดียวของสวนโมกข์
-เขียน "บันทึกเปิดผนึกครบรอบ ๒๐ ปี" ลงในพุทธสาสนา ซึ่งออกรวมเป็นเพียงฉบับเดียวในปีนั้น
-เริ่มมีการบรรยายประจำคืนในช่วงพรรษา เพื่ออบรมพระภิกษุสามเณรภายในสวนโมกข์
-เดินทางขึ้นเชียงใหม่ครั้งแรก เพื่อช่วยให้คำแนะนำแก่กิจการของคณะพุทธนิคมเชียงใหม่ (ก่อนเข้าพรรษา)
ระเจ้าแบบบุคคลอย่างรุนแรง ลงหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา ราย ๓ เดือน
-มีพิธีทอดกฐินครั้งแรกและครั้งเดียวของสวนโมกข์
-เขียน "บันทึกเปิดผนึกครบรอบ ๒๐ ปี" ลงในพุทธสาสนา ซึ่งออกรวมเป็นเพียงฉบับเดียวในปีนั้น
-เริ่มมีการบรรยายประจำคืนในช่วงพรรษา เพื่ออบรมพระภิกษุสามเณรภายในสวนโมกข์
พ.ศ. ๒๔๙๖
-แสดงธรรมเรื่อง "ศาสนาคือโรงพยาบาลของโลก" ที่โรงพยาบาลสงฆ์ ในโอกาสเปิดตึกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (๒๑ ก.พ.)
-คณะธรรมทานได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็น "ธรรมทานมูลนิธิ" (๒๔ พ.ย.)
-มีผู้บริจาคแท่นพิมพ์และเครื่องตัดกระดาษให้ใหม่
-มีการฉายสไลด์ในสวนโมกข์ ริเริ่มการเผยแผ่ธรรมโดยการฉายสไลด์
-แสดงธรรมเรื่อง "ศาสนาคือโรงพยาบาลของโลก" ที่โรงพยาบาลสงฆ์ ในโอกาสเปิดตึกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (๒๑ ก.พ.)
-คณะธรรมทานได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็น "ธรรมทานมูลนิธิ" (๒๔ พ.ย.)
-มีผู้บริจาคแท่นพิมพ์และเครื่องตัดกระดาษให้ใหม่
-มีการฉายสไลด์ในสวนโมกข์ ริเริ่มการเผยแผ่ธรรมโดยการฉายสไลด์
พ.ศ. ๒๔๙๗
-อธิษฐานไม่ออกนอกเขตตลอดพรรษา
-พิมพ์หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปลครั้งแรก
-ร่วมประชุมและกล่าวปราศรัยในนามตัวแทนคณะสงฆ์ไทย ในงานฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่า เรื่อง "ลักษณะน่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาแบบเถรวาท" (๖ ธ.ค.)
-เขียน "โลกอาจรอดได้ แม้เพราะกตัญญู" (๘ มี.ค.) เป็นบทความที่เด่นบทหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์แบบพุทธที่มีลักษณะนิเวศวิทยาอยู่ในตัว
-อธิษฐานไม่ออกนอกเขตตลอดพรรษา
-พิมพ์หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปลครั้งแรก
-ร่วมประชุมและกล่าวปราศรัยในนามตัวแทนคณะสงฆ์ไทย ในงานฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่า เรื่อง "ลักษณะน่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาแบบเถรวาท" (๖ ธ.ค.)
-เขียน "โลกอาจรอดได้ แม้เพราะกตัญญู" (๘ มี.ค.) เป็นบทความที่เด่นบทหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์แบบพุทธที่มีลักษณะนิเวศวิทยาอยู่ในตัว
พ.ศ. ๒๔๙๘
-อบรมข้าราชการตุลาการครั้งแรก เรื่อง "ใจความสำคัญของพุทธศาสนา" ณ ห้องบรรยายเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาพิมพ์เป็นเล่มชื่อหลักพระพุทธศาสนา และพิมพ์ในชุดธรรมโฆษณ์ ชื่อ "ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑" -การบรรยายชุดนี้ทำต่อเนื่องมาอีกรวม ๑๔ ครั้ง
-อบรมข้าราชการตุลาการครั้งแรก เรื่อง "ใจความสำคัญของพุทธศาสนา" ณ ห้องบรรยายเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาพิมพ์เป็นเล่มชื่อหลักพระพุทธศาสนา และพิมพ์ในชุดธรรมโฆษณ์ ชื่อ "ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑" -การบรรยายชุดนี้ทำต่อเนื่องมาอีกรวม ๑๔ ครั้ง
พ.ศ. ๒๕๐๐
-แสดงธรรมที่โรงพยาบาลสงฆ์ เรื่อง "ธรรมะคือโอสถสำหรับโลก" (ก.พ.)
-เทศน์ในโอกาส ๒๕ พุทธศตวรรษ เรื่อง "หนทางดับความเลวร้ายในยุคปัจจุบัน" ที่วัดพระศาสตร์และประเพณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้ฟังประมาณ ๓,๐๐๐ คน (๒๘ ธ.ค. ๒๕๐๓)
พ.ศ. ๒๕๐๔
-ในพรรษาพูดเรื่อง "ตัวกู-ของกู" อบรมพระสงฆ์สามเณร
-ร่วมสัมมนาเรื่อง "การศึกษาพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัย" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๖ พ.ย. - ๒๒ ธ.ค. ๒๕๐๔)
- และแสดงธรรมอบรมนิสิต รวม ๗ ครั้ง
-เทศน์ในโอกาส ๒๕ พุทธศตวรรษ เรื่อง "หนทางดับความเลวร้ายในยุคปัจจุบัน" ที่วัดพระศาสตร์และประเพณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้ฟังประมาณ ๓,๐๐๐ คน (๒๘ ธ.ค. ๒๕๐๓)
พ.ศ. ๒๕๐๔
-ในพรรษาพูดเรื่อง "ตัวกู-ของกู" อบรมพระสงฆ์สามเณร
-ร่วมสัมมนาเรื่อง "การศึกษาพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัย" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๖ พ.ย. - ๒๒ ธ.ค. ๒๕๐๔)
- และแสดงธรรมอบรมนิสิต รวม ๗ ครั้ง
พ.ศ. ๒๕๐๕
-เริ่มสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ (โรงหนังแบบสวนโมกข์) -และมีโรงปั้นเพื่อปั้นภาพพุทธประวัติยุคแรกของโลก ทั้ง ๒ อย่างนี้ใช้เวลาราว ๑๐ ปี จึงเสร็จ
พ.ศ. ๒๕๐๖
-อภิปรายแบบธรรมสากัจฉา กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครั้งแรก ในหัวข้อ "การทำงานคือการปฎิบัติธรรม" มีนายปุ๋ย โรจนบุรานนท์ และ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ร่วมด้วย ที่หอประชุมคุรุสภา (๖ ธ.ค.)
พ.ศ. ๒๕๐๗
-อภิปรายแบบธรรมสากัจฉา (ที่กลายเป็นวิวาทะ) กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครั้งที่ ๒ และครั้งสุดท้าย ที่หอประชุมคุรุสภา เรื่อง "การทำงานด้วยจิตว่าง" (๑๓ ก.พ. ๒๕๐๘)
-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "สิ่งที่เรายังเข้าใจผิดกันอยู่" ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ (๒๑ ม.ค.)
-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "การส่งเสริมจริยธรรมแก่เด็กวัยรุ่น" ในที่ประชุมสามัญประจำปี ที่คุรุสภา (๒๗ เม.ย.)
พ.ศ. ๒๕๐๘
-หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ที่ท่าน อาจารย์พุทธทาส ได้แสดงปาฐกถา ในโอกาสพิเศษ ณ.ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของ คณะแพทย์ ศาสตร์และศิริราชพยาบาล-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี" (๕ ธ.ค. ๒๕๑๔)
-เขียน "บันทึกคำชี้แจงเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท" (๓๐ ก.ย.)
พ.ศ. ๒๕๑๕
-บรรยายชุด "แก่นพุทธศาสน์" ที่โรงพยาบาลศิริราช
-บรรยายชุด "สอนพุทธศาสนาผ่านคัมภีร์ไบเบิล" ในสวนโมกข์
พ.ศ. ๒๕๑๖
-บรรยายเรื่อง "มหาวิทยาลัยกับความรู้เรื่องจิต" แก่อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาสวนโมกข์ (๓๐ ส.ค.)
-เขียนบทความขนาดยาว "สมเด็จในความรู้สึกของข้าพเจ้า" ตามคำขอของพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เพื่อพิมพ์ในหนังสือครบรอบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
-บรรยายเรื่อง "ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม" ในสวนโมกข์ (๑๑ พ.ย.)
-อาพาธ ขณะกำลังเทศน์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช (ธ.ค.)
พ.ศ. ๒๕๑๗
-บรรยายเรื่อง "มหิดลธรรม" แก่พระนักศึกษาภาคฤดูร้อน
-บรรยายเรื่อง "สังคมนิยมตามหลักแห่งพระศาสนา" (๑๕ ก.ย.)
พ.ศ. ๒๕๑๘
-บรรยายชุด "โมกขธรรมประยุกต์" สำหรับพระนักศึกษาภาคฤดูร้อน
-บรรยายเรื่อง "พระพุทธเจ้ามีอุดมคติเป็นสังคมนิยม"
-บรรยายเรื่อง "สังคมนิยมชนิดที่ช่วยโลกได้" (๒๗ พ.ค. ๑๘)
พ.ศ. ๒๕๒๑
-เริ่มปาฐกถาธรรมทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทุกวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือนพ.ศ. ๒๕๓๐
-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ "พระธรรมโกศาจารย์" (๕ ธ.ค. ๒๕๓๐)
-เริ่มสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ (โรงหนังแบบสวนโมกข์) -และมีโรงปั้นเพื่อปั้นภาพพุทธประวัติยุคแรกของโลก ทั้ง ๒ อย่างนี้ใช้เวลาราว ๑๐ ปี จึงเสร็จ
พ.ศ. ๒๕๐๖
-อภิปรายแบบธรรมสากัจฉา กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครั้งแรก ในหัวข้อ "การทำงานคือการปฎิบัติธรรม" มีนายปุ๋ย โรจนบุรานนท์ และ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ร่วมด้วย ที่หอประชุมคุรุสภา (๖ ธ.ค.)
พ.ศ. ๒๕๐๗
-อภิปรายแบบธรรมสากัจฉา (ที่กลายเป็นวิวาทะ) กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครั้งที่ ๒ และครั้งสุดท้าย ที่หอประชุมคุรุสภา เรื่อง "การทำงานด้วยจิตว่าง" (๑๓ ก.พ. ๒๕๐๘)
-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "สิ่งที่เรายังเข้าใจผิดกันอยู่" ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ (๒๑ ม.ค.)
-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "การส่งเสริมจริยธรรมแก่เด็กวัยรุ่น" ในที่ประชุมสามัญประจำปี ที่คุรุสภา (๒๗ เม.ย.)
พ.ศ. ๒๕๐๘
-หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ที่ท่าน อาจารย์พุทธทาส ได้แสดงปาฐกถา ในโอกาสพิเศษ ณ.ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของ คณะแพทย์ ศาสตร์และศิริราชพยาบาล-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี" (๕ ธ.ค. ๒๕๑๔)
-เขียน "บันทึกคำชี้แจงเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท" (๓๐ ก.ย.)
พ.ศ. ๒๕๑๕
-บรรยายชุด "แก่นพุทธศาสน์" ที่โรงพยาบาลศิริราช
-บรรยายชุด "สอนพุทธศาสนาผ่านคัมภีร์ไบเบิล" ในสวนโมกข์
พ.ศ. ๒๕๑๖
-บรรยายเรื่อง "มหาวิทยาลัยกับความรู้เรื่องจิต" แก่อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาสวนโมกข์ (๓๐ ส.ค.)
-เขียนบทความขนาดยาว "สมเด็จในความรู้สึกของข้าพเจ้า" ตามคำขอของพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เพื่อพิมพ์ในหนังสือครบรอบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
-บรรยายเรื่อง "ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม" ในสวนโมกข์ (๑๑ พ.ย.)
-อาพาธ ขณะกำลังเทศน์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช (ธ.ค.)
พ.ศ. ๒๕๑๗
-บรรยายเรื่อง "มหิดลธรรม" แก่พระนักศึกษาภาคฤดูร้อน
-บรรยายเรื่อง "สังคมนิยมตามหลักแห่งพระศาสนา" (๑๕ ก.ย.)
พ.ศ. ๒๕๑๘
-บรรยายชุด "โมกขธรรมประยุกต์" สำหรับพระนักศึกษาภาคฤดูร้อน
-บรรยายเรื่อง "พระพุทธเจ้ามีอุดมคติเป็นสังคมนิยม"
-บรรยายเรื่อง "สังคมนิยมชนิดที่ช่วยโลกได้" (๒๗ พ.ค. ๑๘)
พ.ศ. ๒๕๒๑
-เริ่มปาฐกถาธรรมทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทุกวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือนพ.ศ. ๒๕๓๐
-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ "พระธรรมโกศาจารย์" (๕ ธ.ค. ๒๕๓๐)
พ.ศ.๒๕๓๖
-๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา มรณภาพ
-๒๘ กันยายน ๒๕๓๖ พิธีเผาศพ ณ เขาพุทธทอง ภายในสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา
-๒๙ กันยายน ๒๕๓๖ ทำบุญอัฐิ
-๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๖ ฝังกระดูกและลอยอังคาร ที่เขาประสงค์ และช่องอ่างทอง
-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๖ ลอยอังคารที่ต้นน้ำตาปี ที่เขาสก
พ.ศ. ๒๕๓๗
-คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่ง ต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
-๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา มรณภาพ
-๒๘ กันยายน ๒๕๓๖ พิธีเผาศพ ณ เขาพุทธทอง ภายในสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา
-๒๙ กันยายน ๒๕๓๖ ทำบุญอัฐิ
-๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๖ ฝังกระดูกและลอยอังคาร ที่เขาประสงค์ และช่องอ่างทอง
-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๖ ลอยอังคารที่ต้นน้ำตาปี ที่เขาสก
พ.ศ. ๒๕๓๗
-คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่ง ต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
พ.ศ. ๒๕๔๘
-๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยกย่อง ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลก
-๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยกย่อง ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลก
พ.ศ. ๒๕๔๘
-UNESCO ได้มีมติให้ประกาศยกย่อง พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านอุทิศตนเพื่อการสั่งสอนธรรมะเพื่อผดุงไว้ซึ่งสันติธรรม ยุติธรรม และให้มนุษย์อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน และบรรจุการเฉลิมฉลองครบชาตกาล ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙
-UNESCO ได้มีมติให้ประกาศยกย่อง พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านอุทิศตนเพื่อการสั่งสอนธรรมะเพื่อผดุงไว้ซึ่งสันติธรรม ยุติธรรม และให้มนุษย์อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน และบรรจุการเฉลิมฉลองครบชาตกาล ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙
- ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ
- ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ได้รับการถวาย ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ได้รับการถวาย ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลอื่น ๆ.-
-สแวเรอร์ ได้สรรเสริญท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็น นาคารชุนแห่งเถรวาท กล่าวคือ เป็นผู้ปฏิวัติชำระสะสาง ปฏิรูปพุทธศาสนา ทั้งในด้านวิชาความรู้ และวิธีดำเนินการ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น สะอาดยิ่งขึ้น และก้าวหน้ายิ่งขึ้น (นาคารชุนคนแรก เป็นผู้ปฏิวัติพุทธศาสนาในสมัย นาลันทา ที่อินเดีย )
-พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ที่ท่าน อาจารย์พุทธทาส ได้แสดงปาฐกถา ในโอกาสพิเศษ ณ.ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของ คณะแพทย์ ศาสตร์และศิริราชพยาบาลมหาวิทยา ลัย แพทย์ศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศ “หนังสือดีประจำปี ๒๕๐๘” จากองค์การ ยูเนสโก้ แห่งสหประชาชาติ
- พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้รับคัดเลือกจากทางราชการ ประเภทบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตในโอกาสสมโภชน์กรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญญลักษณ์ “เสาอโศก” และเงินสดหนึ่งหมื่นบาท
- พ.ศ. ๒๕๓๗ คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่ง ต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
- เกียรติคุณท่านอาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว เป็นเกียรติคุณ ในทางโลกบ้าง ทางรูปธรรม ตามสมมติบ้าง ส่วนเกียรติคุณในทางนามธรรม ท่านอาจารย์คือผู้เปิดประตูทาง วิญญาณ ให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย หลุดพ้นออกมาจากคอกอันมืดมิดของอวิชชา ซึ่งจะไปได้ถึงระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ พละอินทรีย์ของแต่ละบุคคล ซึ่งก็ไม่มีใคร จะรับรองใครได้
-สแวเรอร์ ได้สรรเสริญท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็น นาคารชุนแห่งเถรวาท กล่าวคือ เป็นผู้ปฏิวัติชำระสะสาง ปฏิรูปพุทธศาสนา ทั้งในด้านวิชาความรู้ และวิธีดำเนินการ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น สะอาดยิ่งขึ้น และก้าวหน้ายิ่งขึ้น (นาคารชุนคนแรก เป็นผู้ปฏิวัติพุทธศาสนาในสมัย นาลันทา ที่อินเดีย )
-พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ที่ท่าน อาจารย์พุทธทาส ได้แสดงปาฐกถา ในโอกาสพิเศษ ณ.ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของ คณะแพทย์ ศาสตร์และศิริราชพยาบาลมหาวิทยา ลัย แพทย์ศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศ “หนังสือดีประจำปี ๒๕๐๘” จากองค์การ ยูเนสโก้ แห่งสหประชาชาติ
- พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้รับคัดเลือกจากทางราชการ ประเภทบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตในโอกาสสมโภชน์กรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญญลักษณ์ “เสาอโศก” และเงินสดหนึ่งหมื่นบาท
- พ.ศ. ๒๕๓๗ คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่ง ต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
- เกียรติคุณท่านอาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว เป็นเกียรติคุณ ในทางโลกบ้าง ทางรูปธรรม ตามสมมติบ้าง ส่วนเกียรติคุณในทางนามธรรม ท่านอาจารย์คือผู้เปิดประตูทาง วิญญาณ ให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย หลุดพ้นออกมาจากคอกอันมืดมิดของอวิชชา ซึ่งจะไปได้ถึงระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ พละอินทรีย์ของแต่ละบุคคล ซึ่งก็ไม่มีใคร จะรับรองใครได้
ท่านอาจารย์พุทธทาส : คนไข้ที่ผมได้รู้จัก " ตอนที่ ๑..... โดยตามรอย ท่านพุทธทาสเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 7:23 น.
ท่านอาจารย์พุทธทาส : คนไข้ที่ผมได้รู้จัก " ตอนที่ ๑.....
โดยตามรอย ท่านพุทธทาสเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 7:23 น.
"ตลอด ระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปีของการเป็นแพทย์ในระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่หยั่งรากลึกในสังคมไทยมานานกว่าหนึ่งศตวรรษ ผมได้พบประสบกับคนไข้จำนวนมาก ในหลายๆ รูปแบบที่ทำให้ผมเกิดการเรียนรู้มากขึ้นตามลำดับ แต่คงจะไม่มีช่วงเวลาใดเปรียบเทียบได้กับระยะเวลา ๒๐ เดือน ที่ผมได้มีโอกาสถวายการรักษาอาการอาพาธของท่านอาจารย์พุทธทาส อินฺทปญฺโญ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของท่าน"
ข้อความข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งจากบทนำที่ นายแพทย์นิธิพัฒน์ เจียรกุล อาจารย์แพทย์ในสาขาวิชาโรคระบบกรหายใจและวัณโรค คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เขียนไว้ในหนังสือท่านพุทธทาสภิกขุ คนไข้ที่ผมได้รู้จัก บันทึกจากแพทย์ผู้ถวายการรักษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖
คุณหมอนิธิพัฒน์ เริ่มต้นจากที่ไม่รู้จักท่านอาจารย์พุทธทาสเลย และเห็นว่าเป็นคนไข้ที่แปลกกว่าคนอื่นๆ ที่เคยรักษามาทั้งหมด ต่อมาได้สนใจและเรียนรู้ธรรมะจากท่านทั้งทางตรงและทางอ้อม จนกระทั่งได้ยอมรับว่า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการตายของมนุษย์ในทัศนะที่ไม่เคยมีการ เรียนการสอนกันเลย ในระบบการผลิตแพทย์แผนปัจจุบัน
....คำนำ.....
คุณ หมอนิธิพัฒน์ เจียรกุล เป็นแพทย์หนุ่มที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลส่งไปถวายการรักษาท่านอาจารย์ พุทธทาส ที่สวนโมกขพลาราม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔ เมื่อคราวท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจล้มเหลวมีอาการหอบเหนื่อย หมอนิธิพัฒน์เป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ว่าด้วยโรคทางปอดในช่วงแรกที่ท่าน อาพาธยังไม่ทราบแน่ว่าท่านเป็นโรคทางปอดหรือทางหัวใจ เมื่อท่านอาจารย์สบายดีแล้วเขาก็ยังเดินทางลงไปเยี่ยมท่านอาจารย์ทุกเดือน ฉะนั้นต่อมาเมื่อท่านอาจารย์อาพาธด้วยเรื่องอื่นอันไม่ใช่โรคปอด หมอนิธิพัฒน์ก็ยังติดตามถวายการรักษาโดยใกล้ชิด จวบจนปัจฉิมอาพาธและได้อยู่ด้วยขณะที่ท่านอาจารย์สิ้นใจ
ผม ได้สังเกตเห็นว่า คุณหมอนิธิพัฒน์เป็นผู้ที่มีความจริงใจ สุภาพ และนอบน้อมถ่อมตัว ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือมีลักษณะหลอกลวงด้วยความเห็นแก่ตัวแต่ประการใดๆ ในการเขียนบันทึกเรื่องนี้ก็มิได้ทำด้วยความอยากดัง แต่ถูกเร่งเร้าโดยคุณอรศรี งามวิทยาพงศ์ อาจจะโดยคนอื่นอีกบ้างที่ใกล้ชิดกับสวนโมกข์ บันทึกเรื่องนี้มีประโยชน์ ๓ อย่างคือ หนึ่ง ทำให้ทราบรายละเอียดของการอาพาธของท่านอาจารย์พุทธทาสจากแพทย์ผู้ถวายการ รักษาใกล้ชิด และถ้าใครอ่านให้ละเอียดจากหลายแห่งก็จะปะติดปะต่อให้เห็นอะไรต่ออะไรหลาย อย่างในทางการแพทย์ สอง การปรารภธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาสที่หมอได้ยินด้วยตัวเอง สาม การเปลี่ยนแปลงภายใน (internalization) ของแพทย์คนหนึ่ง
คุณ หมอนิธิพัฒน์เริ่มต้นจากการที่ไม่รู้จักท่านอาจารย์เลยและเห็นว่าเป็นคนไข้ ที่แปลกกว่าคนอื่นๆ ที่เคยรักษามาทั้งหมดต่อมาได้สนใจและเรียนรู้ธรรมะจากท่านทั้งทางตรงและทาง อ้อมจนกระทั่งยอมรับว่า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการตายของมนุษย์ในทรรศนะที่ไม่เคยมีการ เรียนการสอนกันเลยในระบบการผลิตแพทย์แผนปัจจุบัน
นี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งนักการที่คนๆ หนึ่งได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก
จะ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นชัดเจน การที่พระพุทธองค์ได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก การที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนักเพราะมนุษย์เรียนรู้ได้ยาก โดยเฉพาะคนที่มีความรู้การมีความรู้กับการเรียนรู้ไม่เหมือนกันการที่โลกลำบากอยู่ทุกวันนี้เพราะคนมีความรู้ไม่เรียนรู้ที่ เรียกว่า ความรู้นั้นที่จริงเป็น “ศาสตร์” หรือศาสตรา คืออาวุธหรือเทคนิควิธีเท่านั้น ในความเป็นจริงมีมนุษย์ ซึ่งมีทั้งกายและใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงกันสลับซับซ้อนและเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ความจริงหรือความเป็นจริงอันเกี่ยวกับมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความจำเพาะในกาละสถาน (space-time) จึงกล่าวได้ว่าจะไม่เหมือนกันเลย ณ จุดใดจุดหนึ่งของกาลเวลาหรือสถานที่ มนุษย์ต้องสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงจะรู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงจึงทำได้ถูกต้อง ฉะนั้นที่เรียกว่ามีความรู้แต่ไม่เรียนรู้ จึงห่างไกลความจริงยิ่งนัก เมื่อห่างไกลจากความจริงก็ห่างไกลจากความถูกต้อง และห่างไกลจากความดี
การ ที่จะเรียนรู้ได้ต้องลดละอหังการ ถ้าอหังการสูงก็เรียนรู้ไม่ได้ เหมือนที่ว่า “น้ำชาล้นถ้วย” มันเติมอีกไม่ได้แล้ว ถ้ายกหูชูหางว่าฉันรู้แล้วๆ ฉันเก่งแล้วๆ ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านเป็นบุคคลเรียนรู้ นี่แหละเคล็ดลับของการมีศักยภาพ ท่านเรียนรู้จากทุกสิ่งทุกอย่างทุกขณะ ความเจ็บไข้แต่ละครั้งท่านกล่าวว่าทำให้ท่านฉลาดขึ้น รอบๆ กุฏิท่านมีสุนัข มีไก่ มีปลา ท่านว่าสัตว์เหล่านี้มันเป็นครูท่านทั้งสิ้น ท่านได้เรียนรู้จากสัตว์เหล่านี้แล้วทำไมหมอจะเรียนรู้จากคนไข้แต่ละคนไม่ได้ถ้าหมอสามารถเรียนรู้จากคนไข้แต่ละคนได้ โลกจะเปลี่ยนไป เพราะหมอเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมมาก
การ เรียนรู้จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ หวังว่าหนังสือเล่มเล็กๆ โดยหมอเล็ก ๆ คนหนึ่ง จะสื่อเรื่องใหญ่แก่หมอและแก่บุคคลทั่วไป เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเองและต่อโลก
(ประเวศ วะสี)
.....บทนำ.....
ตลอด ระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปีของการเป็นแพทย์ในระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่หยั่งรากลึกในสังคมไทยมานานกว่าหนึ่งศตวรรษ ผมได้พบประสบกับคนไข้จำนวนมากในหลายๆ รูปแบบ ที่ทำให้ผมเกิดการเรียนรู้มากขึ้นตามลำดับ
แต่คงจะไม่มีช่วง เวลาใดเปรียบเทียบได้กับระยะเวลา ๒๐ เดือน ที่ผมได้มีโอกาสถวายการรักษาอาการอาพาธของท่านอาจารย์พุทธทาส อินทปัญโญ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของท่าน
ผมเริ่มต้นความ สัมพันธ์กับท่าน ในฐานะแพทย์กับคนไข้ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา แล้วจึงคลี่คลายมาตามลำดับ จากการได้เรียนรู้ทัศนะอีกแบบหนึ่งของท่าน ในเรื่องของความเจ็บป่วยและการตายของมนุษย์ซึ่งผมอาจจะเคยได้รับทราบมาบ้าง แต่ก็อย่างผิวเผินเต็มที เพราะเป็นทัศนะที่ยังไม่เคยมีการเรียนการสอนกันมาก่อนในระบบการผลิตแพทย์แผน ปัจจุบัน ในท้ายสุด ความสัมพันธ์ตามหน้าที่ จึงได้ก่อรูปเป็นความผูกพันพิเศษ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นกับผมมาก่อน
ผม อยากจะบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความเคารพและระลึกถึงท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ผู้เป็นที่มาแห่งการเรียนรู้เหล่านี้และเพื่อประโยชน์ที่อาจจะมีกับท่านผู้ อ่านไม่มากก็น้อย........
นิธิพัฒน์ เจียรกุล
***********************
๑ ราชการด่วนกับ "ผู้ป่วยพิเศษ"
พุทธทาสภิกขุ และ สวนโมกข์
ผม เคยรู้จัก ๒ คำนี้มาก่อน จากข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ-โทรทัศน์ และจากหนังสือธรรมะ ๒-๓ เล่ม ของ “พุทธทาสภิกขุ” ซึ่งผมเคยซื้ออ่านในสมัยเรียนหนังสือและเมื่อเริ่มทำงาน เพราะความสนใจใคร่รู้ในความคิดของบุคคล ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักคิด” คนสำคัญ ผมจำได้ว่าอ่านหนังลือของท่านเข้าใจไม่มากนัก แม้จะมีบางประเด็นที่เข้าใจและเห็นด้วยกับความคิดของท่าน แต่ก็เป็นความเข้าใจแบบผิวเผิน ที่ไม่นานนักก็ลืมและผ่านเลยไป
ผม กลับมารู้จักและสัมผัสกับ “พุทธทาสภิกขุ” อีกครั้ง คราวนี้อย่างใกล้ชิด แต่มิใช่ในฐานะของผู้อ่านหนังลือธรรมะ หากในฐานะของแพทย์ผู้ถวายการรักษาอาการอาพาธของท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ จนกระทั่งถึงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖
************************
บ่าย ๓ โมงของวันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ ขณะที่ผมกำลังตรวจเยี่ยมคนไข้ตามปกตินั้น ก็มีโทรศัพท์จากอาจารย์ประพาฬ ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์มาถึงผม ท่านถามว่า“นิธิพัฒน์ คุณว่างไหม มีราชการด่วนให้ทำ”ผม รู้สึกงงๆ เพราะย้ายมาอยู่ศิริราชครึ่งปีแล้ว ยังไม่เคยปรากฏว่ามีราชการด่วนอะไรเลย ท่านบอกว่าเป็นราชการในพระองค์ ที่วัดสวนโมกข์ จ.สุราษฎร์ธานี เนื่องจากทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับแจ้งว่า ท่านอาจารย์พุทธทาสอาพาธตั้งแต่ ๓ วันที่แล้ว แพทย์จากโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ซึ่งตรวจอาการเบื้องต้น วินิจฉัยว่า ท่านมีภาวะปอดอักเสบและมีอาการทรุดลงมาก ศ.น.พ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี คณบดี (ในขณะนั้น) จึงมีคำสั่งให้ผมลงไปรับท่านอาจารย์พุทธทาสขึ้นมากรุงเทพฯ เพื่อเข้ารับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช
ความเข้าใจ ตอนแรกของผมกับภารกิจคราวนี้คือ ลงไปรับท่านอาจารย์ขึ้นกรงเทพฯ และคอยถวายการดูแลในระหว่างการเดินทาง จึงไม่ได้รู้สึกหนักใจหรือคาดเดาไปได้ว่า ตนเองกำลังจะไปพบกับ “ผู้ป่วยพิเศษ” รายหนึ่ง ดังนั้นเมื่อได้รับคำลั่งทางโทรศัพท์แล้ว ผมจึงไม่ได้รู้สึกวิตกกังวลอะไร พอมาพบอาจารย์ประพาฬแล้ว ก็กลับที่พักซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับศิริราช เพื่อจัดกระเป๋าเตรียมเดินทางโดยเที่ยวบินกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ฯ เวลา ๑๘.๕๐ น. ในเย็นนั้นเลย ที่จริงผมคิดจะเตรียมเสื้อผ้าไปเพียงชุดเดียว เพราะคิดว่าการรับท่านมารักษาที่กรุงเทพฯ คงจะไม่มีปัญหาอะไรมาก คือไปถึงสวนโมกข์คืนนั้น วันรุ่งขึ้นก็คงพาท่านมากรุงเทพฯ ได้เลย แต่แวบหนึ่งที่ผมเกิดความเฉลียวใจขึ้นมาว่า บางทีเรื่องอาจจะไม่ง่ายอย่างนั้นก็ได้? เพราะท่านอาจารย์พุทธทาสเท่าที่ผมทราบข่าวคราวจากสื่อมวลชนนั้น ยังไม่เคยเจอข่าวว่าท่านเข้า ๆ ออกๆ โรงพยาบาลเลย ทั้ง ๆ ที่ผู้สูงวัยขนาด ๘๕ ปีอย่างท่านนั้น ควรจะต้องมีการเจ็บป่วยบ้างไม่มากก็น้อย รวมทั้งพอจะทราบมาก่อนว่า ท่านนั้นเป็นบุคคลสันโดษ และเป็นผู้ที่มีทัศนะไม่พึ่งพาเทคโนโลยีมากมายเหมือนคนในยุคปัจจุบัน ความเฉลียวใจแวบนั้น ทำให้ผมจัดเสื้อผ้าไปเผื่ออีก ๒-๓ วัน ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ความเฉลียวใจของผมก็ถูกต้องทีเดียว
เมื่อเก็บเสื้อผ้า เสร็จ ผมกลับมาที่ศิริราชอีกครั้ง เพื่อปรึกษาหารือกับอาจารย์แพทย์ในสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ร่วมกันวางแผนถวายการรักษาในกรณีต่างๆ เช่น ถ้าท่านมีภาวะปอดอักเสบจริง จะถวายการรักษาขั้นต้นด้วยอะไรบ้าง จะดูแลท่านในระหว่างการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อย่างไร ฯลฯ เสร็จแล้วก็ช่วยกันเตรียมเวชภัณฑ์และเครื่องมือต่างๆ ที่คิดว่าจำเป็น เช่น เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบที่สามารถจะหิ้วติดมือขึ้นเครื่องบินไปได้ เมื่อเตรียมการเสร็จ อาจารย์ประพาฬก็พาผมไปพบท่านคณบดี อาจารย์ประดิษฐ์ สรุปอาการอาพาธตามที่ท่านได้รับแจ้งให้ผมทราบอีกครั้ง รวมถึงภารกิจที่สำคัญของผม คือให้พยายามนิมนต์ท่านอาจารย์พุทธทาส หรือติดต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับท่าน เพื่อขอให้ท่านอาจารย์เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลศิริราช โดยทางคณะฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรื่องการเดินทาง เมื่อรับมอบหน้าที่แล้ว ท่านก็มาส่งที่รถ พร้อมกำชับอีกครั้งว่า ให้ผมพยายามปฏิบัติภารกิจอย่างสุดความสามารถและให้ประสบผลสำเร็จ ผมเดินทางพร้อมกับอาจารย์ประดิษฐ์ ปัญจะวีณิน อายุรแพทย์โรคหัวใจ เนื่องจากท่านอาจารย์เคยมีปัญหาด้านโรคหัวใจมาก่อน ทางคณะฯ จึงจัดให้แพทย์โรคหัวใจร่วมเดินทางไปด้วย
ในระหว่างการเดิน ทางผมกับอาจารย์ประดิษฐ์ ก็นั่งปรึกษาถึงแนวทางในการถวายการรักษา อาจารย์ประดิษฐ์ก็เช่นเดียวกันผม คือ รู้จัก “พุทธทาสภิกขุ” น้อยมาก เรานึกไม่ออกว่า ท่านอยู่อย่างไร ฉันอย่างไร ผู้ที่ดูแลท่านเป็นใคร ฯลฯ แต่เท่าที่เรารู้ก็คือ ท่านเป็น “นักคิด” ที่สำคัญท่านหนึ่ง ดังนั้นจึงสรุปกันว่า ถ้าเราจะเสนอถวายการรักษาอะไร คงจะต้องใช้วิธีการของหลักเหตุผล ไม่ใช่ระบบการสั่งหรือให้การดึงดันแต่ความเห็นของแพทย์ฝ่ายเดียว
เมื่อ ถึงสนามบินสุราษฎร์ฯ น.พ.ประยูร คงวิเชียรวัฒนะ อดีตสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ใกล้ชิดท่านอาจารย์พุทธทาสมานาน เป็นผู้มารับเราที่สนามบินพร้อมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสุราษฎร์ฯ ผมกับอาจารย์ประดิษฐ์นั่งรถอาจารย์ประยูรเพื่อเดินทางไปสวนโมกข์ทันที ระหว่างทาง อาจารย์ประยูรเล่าสรุปอาการอาพาธของท่านอาจารย์ให้ฟัง จำได้ว่า เราฟังกันด้วยความตื่นเต้นเป็นระยะๆ แต่มิใช่กับข้อมูลการอาพาธ หากเป็นความหวาดเลียวกับเส้นทางวิ่งของรถซึ่งฝ่าความมืดไปข้างหน้า โดยมีรถ ๑๐ ล้อสวนทางมาตลอดด้วยความเร็วสูงบนถนนแคบ ๆ ๒ เลนนั้น เราจึงไม่พยายามซักถามอะไรมากนัก เพราะเกรงจะรบกวนสมาธิในการขับรถของอาจารย์ประยูร ข้อมูลเท่าที่ได้ คือท่านอาจารย์เริ่มไอและมีไข้ต่ำๆ เมื่อ ๓ วันก่อน ต่อมาอาการหนักมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แพทย์จะได้ถวายยาปฏิชีวนะไปแล้วก็ตาม อาการหลังสุดคือ ท่านไอมีเสมหะปนเลือดและเริ่มมีอาการหอบเหนื่อย
เมื่อ รถเลี้ยวเข้าเขตวัดแล้ว ผมก็ยังไม่แน่ใจนักว่าใช่จุดหมายของเราหรือไม่ เนื่องจากบรรยากาศโดยรอบมืดครึ้มและเงียบสงัดผิดแผกไปจากวัดทั่ว ๆ ไปที่ผมเคยเห็น ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีไฟตามรั้วหรือที่ป้ายชื่อวัด แต่เมื่อถึงบริเวณกุฏิของท่านอาจารย์ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่จอดรถนัก ผมก็แน่ใจว่าตนเองมาถึง “สวนโมกข์” แล้ว ขณะนั้นเป็นเวลา ๓ ทุ่ม บริเวณกุฏิที่พักของท่านอาจารย์เปิดไฟสว่าง มีพระและฆราวาสจำนวนหนึ่งกำลังรอเฝ้าอาการอาพาธอยู่ที่ด้านนอกของกุฏิ รวมไปถึงท่านอาจารย์โพธิ์ จันทสโร เจ้าอาวาส ผมและอาจารย์ประดิษฐ์ เข้าไปในกุฏิเพื่อตรวจอาการท่านทันที ห้องที่ท่านอาจารย์พักอยู่นั้น เป็นห้องเล็กๆ ขนาดพื้นที่ประมาณ ๙ ตารางเมตร มีเตียงเหมือนกับที่ใช้ในโรงพยาบาลตั้งอยู่ ๑ เตียง ปลายเตียงมีโถส้วม อ่างน้ำ และโต๊ะตัวเล็ก ๆ อีกตัวข้าง ๆ เตียง มีโคมไฟสำหรับอ่านหนังสือ และกองสมุดหนังสือ ๒-๓ กองตั้งอยู่ ท่านอาจารย์อยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนบนเตียง โดยมีสายให้ออกซิเจนซึ่งเป็นสายยางเล็ก ๆ จ่อเข้าจมูกเพื่อช่วยการหายใจของท่าน แวบแรกที่ผมได้พบท่านอาจารย์โดยตรงเป็นครั้งแรกในชีวิตนั้น สังเกตจากภายนอกพบว่าทานหายใจหอบปานกลาง แต่ก็ไม่แสดงออกถึงอาการทุกข์ทรมานอย่างที่ผมเคยพบเห็นในผู้ป่วยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นทางสีหน้าหรือท่าทาง ทั้ง ๆ ที่ดูจากภายนอก ผมก็พอจะประเมินจากประสบการณ์ที่พบเห็นผู้ป่วยแบบนี้มาพอสมควรได้แล้วว่า ท่านอาจารย์จะต้องอาพาธไม่น้อยทีเดียวหลังจากที่กราบนมัสการ ท่านและแนะนำตนเองแล้ว เราก็เริ่มต้นซักประวัติการอาพาธโดยละเอียดอีกครั้ง ท่านอาจารย์เองก็พยายามที่จะตอบพวกเราโดยละเอียด ท่วงท่าของท่านในระหว่างนั้นดูสงบ แต่ก็ยังเห็นอยู่ว่ามีอาการหอบเหนื่อยชัดเจน ต้องหยุดพักหายใจเป็นช่วง ๆ ไม่สามารถพูดตอบคำถามเราได้ติดต่อกันยาว ๆ เมื่อกราบเรียนถามเสร็จ เราก็เริ่มตรวจร่างกายท่านอย่างละเอียดโดยเฉพาะในระบบที่เกี่ยวข้องคือปอด และหัวใจ ผลของการตรวจนั้น ก็เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้คือท่านอาพาธหนัก สิ่งที่ที่ให้ผมแปลกใจ คือสีหน้าและท่าทางของท่านอาจารย์นั้นไม่ได้สัดส่วนกันกับอาการอาพาธที่เรา ตรวจพบ คือ ในผู้ป่วยธรรมดา โดยเฉพาะผู้มีอายุมากขนาดนี้ (๘๕ ปี) หากเจ็บป่วยขนาดที่เราตรวจพบในท่านอาจารย์ ผู้ป่วยจะต้องแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางว่าเจ็บป่วยอย่างชัดเจนกว่านี้ แต่ท่านอาจารย์นั้น เราสังเกตการอาพาธของท่านได้จากการหอบเหนื่อย น้ำเสียงที่อ่อนแรงและสีหน้าที่อิดโรย โดยที่ท่วงท่ายังดูสงบ ผมยังไม่เคยเห็นการแสดงออกของผู้ป่วยแบบนี้มาก่อน เพราะคนทั่วไปนั้น ความเจ็บป่วยเป็นความทุกข์ ความน่ารำคาญ และความน่าเบื่อที่สำคัญอย่างหนึ่ง ยิ่งเจ็บป่วยมากก็ยิ่งทุกข์มาก และแสดงให้เห็นมาก แต่ผู้ป่วยที่ผมตรวจรักษาอยู่คราวนี้ ดูจากอาการที่ท่านแสดงออกแล้ว ผมรู้สึกว่าความเจ็บป่วยดูจะเป็นสิ่งที่ธรรมดาสามัญ ไม่ใช่เรื่องทุกข์เรื่องร้อนอะไรเลย
นี่คือความแปลกที่ผมยัง ไม่เคยพบมาก่อน ในตอนนั้นผมยังไม่รู้ว่าตนเองจะได้พบกับทัศนะแปลกๆ ที่ยิ่งไปกว่านี้อีก ในขั้นตอนต่อ ๆ ไปของการถวายการรักษาคราวนั้น
เมื่อ ตรวจร่างกายท่านอาจารย์เสร็จแล้ว ผมและอาจารย์ประดิษฐ์ รวมทั้งน.พ.ทรงศักดิ์ เลรีโรดม อายุรแพทย์ของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ดูแลสุขภาพของท่านอาจารย์มาหลายปี ก็ได้ร่วมกันประมวลข้อมูลทั้งหมดทั้งจากที่กราบเรียนถาม การตรวจร่างกาย และจากบันทึกสุขภาพของท่านอาจารย์ ซึ่งพระอุปัฏฐากและแพทย์ได้บันทึกไว้เป็นลำดับ เราได้ข้อสรุปว่า
๑.การ ที่พื้นฐานของท่านอาจารย์มีภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน ประกอบกับภาวะสูงอายุและรูปร่างที่อ้วน ทำไมมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
๒. ช่วงที่ผ่านมาก่อนการอาพาธ ๒-๓ วัน ท่านอาจารย์มีภารกิจแสดงธรรม จนกระทั่งทำให้ร่างกายได้พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่วมกับมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ส่งเสริมให้เกิดภาวะหัวใจวายได้มากขึ้นอีก
ดังนั้น ท่านอาจารย์จึงอาพาธด้วยโรคหัวใจวาย มิใช่ด้วยโรคเกี่ยวกับปอดตามที่เข้าใจกันในตอนแรก อาจารย์ประดิษฐ์จึงรับหน้าที่กราบเรียนให้ท่านทราบถึงข้อสรุปทั้ง๒ ข้อ โดยกราบเรียนอย่างเชื่อมโยงให้ท่านเห็น และเข้าใจถึงสาเหตุที่มาของอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมาย จนเป็นเหตุให้ท่านอาจถึงแก่ชีวิตได้ในช่วงเวลาสั้นๆ พร้อมกับเสนอว่าเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิตได้ เราจึงขอนิมนต์ท่านอาจารย์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งมีอุปกรณ์การรักษา ที่พรักพร้อม เมื่ออาจารย์ประดิษฐ์กราบเรียนเสร็จ ท่านอาจารย์ก็ตอบกลับอย่างนุ่มนวลว่า ท่านอยากให้ทำการรักษาอยู่ที่วัดจะเหมาะลมกว่า
ความเข้าใจของ ผมในตอนแรกจากคำตอบปฏิเสธของท่านนี้ คือนึกไปว่า ท่านต้องการจะให้พวกเราขนอุปกรณ์การรักษาของโรงพยาบาล และบุคลากรอย่างครบครันมาที่วัด เพราะท่านต้องการจะรักษาอยู่ที่สวนโมกข์ เมื่อผมนึกถึงความยุ่งยากของการขนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ และการที่บุคลากรแพทย์ พยาบาล และช่างเทคนิคจะต้องแห่กันมาที่สวนโมกข์แล้ว ผมก็อดนึกในใจไม่ได้ว่า
“ทำไมการเข้าโรงพยาบาลมันยากเย็นอะไรนักหรือ?”
เพราะ การที่ท่านยอมไปโรงพยาบาลนั้น ย่อมง่ายกว่าการที่จะต้องยกโรงพยาบาลมาหาท่านเป็นไหนๆ ท่านนิ่งไปครู่หนึ่ง แล้วก็พูดขยายความต่อ ซึ่งทำให้ผมรู้ว่าตนเองเข้าใจผิดไปไกลโข และในทิศทางตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์ด้วย เพราะท่านบอกว่า
“อาตมาอยากให้การอาพาธและการดูแลรักษานั้นเป็นไปแบบธรรมซาติ ธรรมดาๆ เหมือนกับการอาพาธของพระสงฆ์ทั่วไปในสมัยพุทธกาล” และ
“ขอใช้แผ่นดินนี้เป็นโรงพยาบาล”นั่น คือ ท่านอาจารย์มิได้ต้องการจะให้ถวายการรักษาด้วยการใช้เครื่องมืออันทันสมัย มากมายอย่างที่เรากราบเรียนท่าน ว่ามีเพียบพร้อมในโรงพยาบาล หากต้องการรับการรักษาเท่าที่แพทย์จะทำได้ ภายใต้ข้อจำกัดของสถานที่ซึ่งมิใช่โรงพยาบาล ได้เท่าไร เอาเท่านั้น ท่านมิได้เรียกร้องแนวทางหรือรูปแบบการรักษาแต่ประการใด เมื่อเข้าใจความประสงค์ของท่านแล้ว ผมก็รู้สึกหนักใจขึ้นมาทันที อาจจะยิ่งกว่าการให้ย้ายโรงพยาบาลมาหาท่านเสียอีก เพราะเจตนารมณ์ของท่านดังนี้ เท่ากับปฏิเสธการไปรับการรักษาที่กรุงเทพฯ ตามภารกิจที่ผมได้รับมอบหมายมา
แต่นั่นก็ยังไม่น่าหนักใจเท่า กับการที่เราจะต้องรักษาผู้ป่วยซึ่งมีอาการหนัก และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง แต่กลับต้องการรับการรักษาภายนอกโรงพยาบาล เพราะเราเป็นแพทย์ซึ่งศึกษามาในระบบการแพทย์ที่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์การแพทย์มากมาย ที่จะช่วยบ่งชี้ให้เรารู้ถึงสภาพอาการและวิธีการรักษาคนไข้ได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในภาวะวิกฤต
ความต้องการของท่านอาจารย์จึงทำให้ผมรู้ ลึกหนักใจมาก ในใจก็คิดว่า ปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยคราวนี้ สำหรับผมเอง อย่างดีที่สุดก็คือเสมอตัว แต่ถ้าเกิดมีอะไรผิดพลาดขึ้น ก็มีแต่จะขาดทุนสถานเดียวเท่านั้น หมายถึงโอกาสที่ผู้ป่วยจะหายดีขึ้นนั้นมีน้อย แต่โอกาสที่อาการจะทรุดจนเสียชีวิตมีสูงกว่ามาก ดังนั้น สำหรับภารกิจคราวนี้แล้ว ผมจึงหวังเพียงแค่ว่า จะสามารถพยุงอาการของท่านให้ทรงไว้ อย่าให้ถึงแก่มรณภาพในช่วงที่เราถวายการรักษา ถ้าทำได้ ก็นับว่าผมโชคดีมากแล้ว และถ้าสารภาพกันอย่างเปิดใจแล้ว ความรู้ลึกของผมในตอนนั้นคือกลัวว่าท่านอาจารย์จะมรณภาพในขณะที่ท่านอยู่ใน การดูแลถวายการรักษาของผม มันคงเป็นความรู้สึกอันเนื่องกับชื่อเสียงและหน้าตาของผมเอง ไม่ใช่เรื่องของความผูกพันหรือห่วงใยในผู้ป่วยซึ่งเพิ่งพบกันครั้งแรก เพราะผมพอจะทราบว่าอาการอาพาธของท่านนั้น ถ้าเป็นข่าวออกไปเมื่อไรแล้วย่อมจะต้องเป็นที่สนใจของสังคมมิใช่น้อย พูดกันตรงๆ ก็คือผมกลัวเสียชื่อนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว ผมควรจะโกรธหรือไม่พอใจกับผู้ป่วย ที่ทำให้ผมต้องอยู่ในสถานการณ์ลำบากใจและหนักใจเช่นนี้ แต่เวลานั้น ผมรู้ลึกว่าตนเองไม่ได้คิดอะไรไปในทำนองไม่พอใจทัศนะและท่าทีของท่านอาจารย์ เลย แม้ผมจะคิดแบบแพทย์สมัยใหม่ ๆ ทั่วไปว่า ทัศนะของท่านอาจารย์นั้นเป็นการฝืนโลก หรือหากจะว่ากันตรง ๆ ที่สุดเลยก็คือ “ดันทุรัง” เพราะแพทย์ย่อมรู้ลึกว่าตนเองเป็นผู้มาช่วย เป็นผู้ปรารถนาดี อยากจะทำให้คนเจ็บคลายและหายจากความเจ็บป่วย ผู้ป่วยจึงควรที่จะยินดีและให้ความร่วมมือในการรักษาและปฏิบัติตามที่แพทย์ แนะนำ แต่ท่านอาจารย์กลับปฏิเสธ
ทว่าการปฏิเสธของท่านนั้น แตกต่างจากผู้ป่วยรายอื่นๆ ทีผมเคยพบ คือในผู้ป่วยประเภทที่ไม่เต็มใจรักษา เช่นพวกที่อยากตาย แต่ญาติเป็นผู้นำมาพบแพทย์นั้น ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ และไม่ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการตรวจและรักษาเลย แต่กรณีของท่านอาจารย์นั้น ท่านปฏิเสธด้วยท่าทีอันสงบและนุ่มนวล และมิได้มีท่าทีของการตั้งข้อเรียกร้อง หรือเชิงตั้งแง่ในลักษณะของการต่อต้านเป็นปฏิปักษ์กับแพทย์เลย ท่านยอมรับเหตุผล ยอมรับในสิ่งต่าง ๆ ที่เรากราบเรียนเสนอและพยายามอธิบายให้ท่านเข้าใจ เพียงแต่ท่านไม่ยอมรับกระบวนการรักษาทั้งหมดที่เราเสนอให้ เพราะวิธีการนั้นขัดกับทัศนะและหลักการที่ท่านเชื่อถืออยู่ ซึ่งตรงนี้ผมรู้ลึกว่าเราจะต้องเคารพในสิทธิการตัดสินใจเลือกของท่าน เพราะท่านอาจารย์เลือกด้วยความเข้าใจในข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ผมจึงมิได้รู้ลึกโกรธและความรู้ลึกยังค่อนไปในทางแปลกใจมากกว่ากับทัศนะของ “ผู้ป่วยพิเศษ” ท่านนี้ และอีกด้านหนึ่งผมยังรู้ลึกว่า ตนเองได้เจอกรณีที่ท้าทายความสามารถทางการแพทย์ ว่าจะรักษาคนไข้ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือได้สำเร็จหรือไม่ ?
เมื่อ รับทราบความประสงค์ของท่านอาจารย์แล้ว เราก็เริ่มถวายการรักษากันเท่าที่อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในเวลานั้นจะมีให้ มีการถวายยาทางหลอดเลือดดำโดยผ่านสายน้ำเกลือ และยารับประทานซึ่งถวายให้ท่านฉัน ผมลังเกตว่าในระหว่างที่เราถวายการรักษานั้น ท่านอาจารย์ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มิได้แสดงอาการใด ๆ ที่จะทำให้แพทย์ต้องวิตกกังวลว่าท่านจะปฏิเสธสิ่งที่เราถวาย หมายความว่าท่านพร้อมจะให้ความร่วมมือทุกอย่าง หากเราถวายการรักษาอยู่ที่สวนโมกข์ โดยไม่เกินเลยไปจากเจตจำนงของท่าน
คืน นั้นเราโทรศัพท์ขึ้นกรุงเทพฯ เพื่อรายงานท่านคณบดีถึงผลการตรวจรักษาและเรียนให้ท่านทราบว่า ท่านอาจารย์พุทธทาสต้องการที่จะรับการรักษาอยู่ที่สวนโมกข์ ท่านคณบดีรับทราบ แด่ก็ยังเสนอแนะว่า หากสามารถโน้มน้าวท่านได้ใหม่ ก็ให้พยายามนิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่ศิริราชอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีและท่านอาจารย์จะได้พ้นขีดอันตรายโดยเร็ว
ตอน ดึกคืนนั้น ศ.น.พ.วิจารณ์ พานิช ซึ่งเป็นหลานชายของท่านอาจารย์ ได้นำคณะแพทย์และพยาบาล จากคณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์ มาร่วมถวายการรักษาด้วย ในคืนนั้นอาการของท่านอาจารย์ดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อถวายยาต่าง ๆ และเฝ้าดูอาการจนถึงประมาณตี ๓ ผมก็เข้านอน มีพยาบาลเวรและพระอุปัฏฐากคอยเฝ้าดูอาการ ทางวัดจัดให้ผมและอาจารย์ประดิษฐ์พักที่บ้านรับรอง ซึ่งมีคุณป้าอรัญและพี่คิ่นเป็นผู้คอยดูแลความสะดวกด้านการกินการอยู่ให้ เป็นอย่างดี
( โปรดติดตามตอนต่อไป...)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)