วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

ขอบข่ายเนื้อหา (ธรรมศึกษาชั้นโท)

ขอบข่ายเนื้อหาหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นโท
(ปัจจุบัน)

 ศาสนพิธี

ศาสนพิธี  เป็นพิธีทางศาสนาที่กว้างขวาง  ลึกซึ้งเป็นขั้น ๆ  พิธีกรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นเป็นความนิยมในพระศาสนาย่อมเกิดขึ้นโดยมีเหตุผลและมีจุดหมายทั้งสิ้น
ประเภทของศาสนพิธีแบ่งออกเป็น  หมวด  ดังนี้
1.       หมวดกุศลพิธี                                                                2.  หมวดบุญพิธี
3.   หมวดทานพิธี                                                                  4.  หมวดปกิณกะ

                หมวดที่  1

                กุศลพิธี  เป็นพิธีกรรมที่สงฆ์พึงปฏิบัติเพื่อความดีงามในพระวินัย  มี  อย่าง
                1.  พิธีเข้าพรรษา                                                   2.  พิธีถือนิสัย
                3.  พิธีทำสามีจิกรรม                                             4.  พิธีทำวัตรสวดมนต์
                5.  พิธีกรรมวันธรรมสวนะ                                    6.  พิธีทำสังฆอุโบสถ                             7.  พิธีออกพรรษา

1.พิธีเข้าพรรษา     

มูลเหตุการเข้าจำพรรษา

ตามวัสสูปนายิกขันธกะ  พระวินัยปิฎก  กล่าวว่า  เมื่อมีภิกษุมากขึ้น  พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติให้ภิกษุจำพรรษา  ภิกษุทั้งหลายบางพวกต่างพากันจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ  เหยียบย่ำข้าวกล้าในท้องนาและเหยียบย่ำสัตว์เล็กสัตว์น้อยตาย  ชาวบ้านพากันตำหนิติเตียนเป็นอันมาก  ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ภิกษุจำพรรษาในฤดูฝนตลอด  เดือน

การเข้าจำพรรษา

การเข้าจำพรรษา  คือ การที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ประจำพรรษาตั้งแต่วันแรม  ค่ำ  เดือน  ไปจนถึงวันเพ็ญ  (กลางเดือนเดือน  11

สถานที่จำพรรษา

สถานที่จำพรรษา  ทรงอนุญาตให้ภิกษุจำพรรษาในถ้ำ  (คูหาหรือกุฎีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้  ซึ่งมีที่มุงที่บังครบถ้วน

                สถานที่ห้ามจำพรรษา  ทรงห้ามจำพรรษาที่กลางแจ้ง  ในโพรงไม้  ในหลุมที่ขุด  หรือในกุฎีดินซึ่งมีลักษณะเหมือนตุ่มอันอาจเป็นอันตรายพังลงมาทับเพราะน้ำฝนได้

            ระเบียบพิธี
1.     วันเข้าพรรษา  คือ  วันแรม 1 ค่ำ  เดือน  8  (ปีที่มีอธิกมาส  เป็นวันแรม  1 ค่ำ  เดือน  หลังภิกษุสามเณรทุกรูปในวัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนใส่พาน  หรือภาชนะที่สมควร  เพื่อใช้สักการะปูชนียวัตถุต่างๆ  ในวัดและใช้ทำสามีจิกรรมตามทำเนียมให้พร้อมก่อนเวลากำหนด  การประกอบพิธีต้องประชุมพร้อมกันในอุโบสถ  ในเวลาเย็นหรือค่ำตามสะดวก
2.     ถึงกำหนดเวลาตีระฆังสัญญาณ  ภิกษุสามเณรลงพร้อมกันในอุโบสถนั่งตามลำดับอาวุโส  หันหน้าเข้าหาพระพุทธรูปประธานเป็นแถวๆ
กรณียะที่พึงปฏิบัติ
   2.1 การทำวัตรเย็น  เจ้าอาวาสหรือพระเถระผู้เป็นประธานในที่ประชุมจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วนำทำวัตรเย็นตามที่เคยปฏิบัติประจำทุกวัน
   2.2 การแสดงพระธรรมเทศนาหรือประกาศเรื่องวัสสูปนายิกากถา  เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสโดยตรง  หรือจะมอบหมายให้พระรูปใดรูปหนึ่งทำหน้าที่แทนก็ได้  โดยแสดงเป็ฯเทศนาตามหนังสือเทศน์ที่มีหรือจะอ่านประกาศเพื่อให้ภิกษุสามเณรที่ประชุมได้ทราบเรื่องวัสสูปนายิกาเป็นสำคัญ
2.  พิธีถือนิสสัย
ตามธรรมเนียมพระวินัย  ภิกษุผู้ยังอยู่ในเขตเป็นพระนวกะ  คือมีพรรษายังไม่พ้น  หรือพ้นแล้วแต่ยังไม่สามารถรักษาตนตามพระวินัยบัญญัติได้  จะต้องถือนิสสัยต่อเจ้าอาวาสซึ่งไม่ได้เป็ฯพระอุปัชฌาย์ของตนในวัดที่ตนอาศัยอยู่  และสามเณรทุกรูปที่บวชหมู่และบวชนานแล้ว  ถ้าไม่ได้อยู่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์ของตนสมควรถือนิสสัยต่อเจ้าอาวาสในวัดที่ตนอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน
ระเบียบพิธี
1.ภิกษุสามเณรผู้อาคันตุกะ  เมื่อจะประกอบพิธีถือนิสสัยมอบตัวต่ออาจารย์  พึงตระเตรียมเครื่องสักการะไว้ให้พร้อม 
                2.เจ้าอาวาสผู้เป็นประธานสงฆ์ในวัด  เมื่อรับภิกษุหรือสามเณรอาคันตุกะไว้โดยชอบด้วยระเบียบ  ควรถือเป็นภาระที่จะต้องอบรมสั่งสอนให้รู้และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่ดีงาม  ในการโอวาทอบรมสั่งสอนนั้นควรเป้ฯเรื่องหน้าที่ศิษย์ที่จะพึงปฏิบัติต่ออาจารย์ตามพระวินัย 
3.  พิธีทำสามีจิกรรม
การทำความชอบ  เรียกว่า  สามีจิกรรม”  หมายถึง  การขอขมาโทษกัน  ให้อภัยกันทุกโอกาสไม่ว่าจะมีโทษขัดข้องหมองใจกันหรือไม่ก็ตาม โอกาสควรทำสามีจิกรรมนั้น  โดยนิยมมีดังนี้
1.     ในวันเข้าพรรษา  ทั้งภิกษุสามเณรที่ร่วมอยู่วัดเดียวกัน  ควรทำสามีจิกรรมต่อกัน  เรียงตัวตั้งแต่ผู้มีอาวุโสมากที่สุดถึงสามเณรรูปสุดท้ายในวัด
2.     ในระยะเข้าพรรษา  เริ่มแต่วันเข้าพรรษาและหลังวันเข้าพรรษา  ระยะเวลาประมาณ  วัน  ควรทำสามีจิกรรมต่อท่านที่เคารพนับถือ  ซึ่งอยู่ต่างวัดโดยทั่วถึง
ระเบียบพิธี
1.       สามีจิกรรมแบบขอขมาโทษ  ในอุโบสถหรือนอกอุโบสถ
1.1       จัดเครื่องสักการะ  คือดอกไม้ธูปเทียนใส่พาน  หรือภาชนะที่สมควร  ในปัจจุบันนิยมใช้เทียนแพ
1.2       ครองผ้าเรียบร้อยตามนิยมของวัดที่ตนสังกัด  ถ้าเป็นภิกษุพาดสังฆาฏิด้วย
1.3     ถือพานดอกไม้ธูปเทียน  หรือพานเทียนแพ  ประคอง  มือเข้าไปหาท่านที่ตนจะขอขมาคุกเข่าลงตรงหน้า  ห่างกันประมาณศอกเศษ  วางพานทางซ้ายมือของตน  กราบ  3 ครั้ง  แล้วยกพานขึ้นประคองสองมือแค่อก กล่าวคำขอขมา
1.4     เมื่อม่านที่ตนขอขมากล่าวคำในอภัยโทษแล้ว  พึงรับคำตามแบบนิยมถ้าท่านที่ตนขอขมาให้พรด้วย  พึงตั้งใจรับพรจนจบ และรับคำด้วยคำว่า  สาธุ  ภนเต”   ถ้าไม่มีพรและรับพระเสร็จแล้วพึงน้อมพานสักการะเข้าไปประเคน  แล้วกราบ  ครั้ง  เป็นเสร็จพิธี
2.       สามีจิกรรมแบบถวายสักการะ
2.1     จัดเตรียมเครื่องสักการะอย่างเดียวกับแบบขอขมา  แต่ในกรณีนี้  อาจเพิ่มเติมของใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ควรแก่สมณบริโภคด้วยก็ได้
2.2       การทำในแบบนี้  จะมีอาวุโสแก่กว่าหรืออ่อนกว่าตนก็ทำได้
2.3     ครองผ้าให้เรียบร้อย  ถือเครื่องสักการะเข้าไปหาท่านที่ตนจะทำแล้วประเคนทันที  ถ้าตนอ่อนอาวุโสกว่า  พึงกราบ  ครั้ง  ถ้าตนแก่กว่าไม่ต้องกราบ  เท่านี้เป็นอันเสร็จพิธี
4. พิธีทำวัตรสวดมนต์
            การทำวัตร  คือ  การทำวัตรของภิกษุสามเณร  และอุบาสกอุบาสิกาเป็นการทำกิจที่ต้องทำเป็นประจำจนเป็นวัตรปฏิบัติ  เรียกว่า  ทำวัตร”  และต้องทำเป็นประจำวันละ  เวลา  คือ  เช้ากับเย็น
                การสวดมนต์  คือ  การสวดบทพระพุทธมนต์ต่างๆ  ที่เป็นส่วนพระสูตรก็มี  ที่เป็นส่วนพระปริตรก็มี  ที่เป็นส่วนเฉพาะคาถาอันนิยมกำหนดให้นำมาสวดประกอบในการสวดมนต์เป็นประจำก็มี  นอกเหนือจากบทสวดทำวัตร  เรียกรวมการสวดทั้งสองนี้เข้าด้วยกันว่า  ทำวัตรสวดมนต์
5.  พิธีกรรมวันธรรมสวนะ
                วันธรรมสวนะ  คือ  วันกำหนดประชุมฟังธรรม  เรียกว่า  วันพระ”  วันกำหนดฟังธรรมนี้  กำหนดไว้  4 วัน ในเดือนหนึ่ง คือ  วัน  ค่ำ  วัน  14  หรือ  15  ค่ำ  ของปักษ์ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมนับโดยจันทรคติ
6.พิธีทำสังฆโบสถ
เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุตามพระวินัย  จะต้องทำอุโบสถกรรมทุกรูปและทุกกึ่งเดือน  ไม่มีเหตุจำเป็นที่มีพระบรมพุทธานุญาตไว้  จะเว้นหรือขาดการกระทำเสียมิได้  อุโบสถกรรม    นี้ต้องทำในสีมาชนิดใดชนิดหนึ่งตามพระวินัย
                อุโบสถ  3
1.     สังฆอุโบสถ  คือ  อุโบสถกรรมที่พระภิกษุร่วมกันทำตั้งแต่  รูปขึ้นไป  ทำเป็นการสงฆ์ต้องสวดปาฏิโมกข์ในท่านกลางสงฆ์เป็นหลักของการกระทำ
2.     ปาริสุทธิอุโบสถ  คือ  พระภิกษุมีต่ำกว่า  รูป  ได้แก่  มีพระภิกษุเพียง  3   รูป  หรือ  2 รูป  ทำเป็นการคณะห้ามสวดปาฏิโมกข์  ให้พระภิกษุแต่ละรูปบอกความบริสุทธิ์ของตน  เป็นการปฏิญาณตนต่อกันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติโทษ  เป็นหลักของการทำ
3.       อธิษฐานอุโบสถ  คือ  อุโบสถที่ทำเป็นการบุคคล  ทำด้วยการอธิษฐานใจตนเอง
หลักการทำอุโบสถ
1.       สังฆอุโบสถต้องทำภายในสีมาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถูกต้องตามวินัย
2.       วันทำอุโบสถเป็นวันขึ้น  15  ค่ำ  แรม  14  ค่ำ  หรือแรม  15  ค่ำ  ทางจันทรคติ  หรือวันสามัคคี
3.       มีพระภิกษุประชุมทำร่วมกันเป้ฯสงฆ์ตั้งแต่  รูปขึ้นไป
4.     พระภิกษุที่เข้าร่วมอุโบสถสังฆกรรม  ไม่เป็นผู้ต้องสภาคาบัติ  หรือต้องสภาคาบัติแล้ว  แต่ได้สวดประกาศก่อนทำอุโบสถโดยชอบด้วยพระวินัย
5.       ในที่ประชุมสงฆ์นั้น  ไม่มีบุคคลที่ควรเว้นอยู่ภายในหัตถบาส
6.       พระสงฆ์ทั้งนั้นได้ทำบุพกิจและบุพกรณ์ของอุโบสถสังฆกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
7.       มีการสวดปาฏิโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์
ระเบียบพิธี
1.       กำหนดเวลาทำสังฆกรรม  แล้วแต่วัดนั้นๆ  จะกำหนดเวลาไว้ตายตัวว่าจะทำเวลากลางวันหรือกลางคืนและเวลาเท่าไร
2.     ในวันอุโบสถ  ก่อนถึงเวลากำหนดทำอุโบสถ  เจ้าอาวาสต้องให้ภิกษุสามเณรหรือคนวัดทำความสะอาดโรงอุโบสถ  ปูลาดอาสนะและตั้งเตียงปาฏิโมกข์  ตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้ในที่ที่ควร  ตามประทีปในโรงอุโบสถ  (กลางคืนเมื่อถึงเวลา ตีระฆังสัญญาณ
3.     ก่อนถึงเวลาเล็กน้อย  กิจที่พระภิกษุสงฆ์ต้องเตรียม  คือ  ครองผ้าไว้ให้เรียบร้อย  เมื่อได้ยินสัญญาณระฆังให้ลงไปพร้อมกันในโรงอุโบสถ           แสดงอาบัติ  นั่งบนอาสนะตามลำดับอาวุโส หันหน้าไปทางพระประทาน
4.       เมื่อพร้อมกันแล้ว  ให้นับจำนวนพระสงฆ์ที่เข้าร่วมประชุม
5.       ต่อจากนั้นเริ่มทีวัตรเย็น  เสร็จแล้วนั่งล้อมรอบธรรมาสน์หรือเตียงปาฏิโมกข์  รักษาหัตภบาส
6.       เริ่มดำเนินการสวดปาฏิโมกข์
7.     จบปาฏิโมกข์แล้ว  พระสงฆ์ทั้งนั้นสวดมนต์ต่อท้ายปาฏิโมทกข์พอสมควร  สวดสีลุทเทสปาฐ  เป็นหลัก  นอกนั้นสุดแล้วแต่จะสวด  จบลงด้วยบทกรวดน้ำ  อิมินา  ปุญญกมเมน  เป็นเสร็จพิธี
ระเบียบทำปาริสุทธิอุโบสถ
                ปาริอุโบสถ  คือ  อุโบสถที่ภิกษุผู้ประชุมกันทำไม่ครบจำนวนเป็นสงฆ์  มีเพียง  รูป  หรือ  รูป  เรียกว่า  คณะ”  ห้ามสวดปากิโมกข์ในการทำ  ให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันแทนการสวด  ปาฏิโมกข์
                วิธีทำ
                เมื่อถึงวันอุโบสถ  ให้ภิกษุที่มีอยู่  หรือ  รูปนั้น  ประชุมกันในโรงอุโบสถและร่วมกันทำบุพกรณ์และกิจที่สมควร  ถ้ามี  รูป  ให้รูปหนึ่งตั้งญัติประกาศทำปาริสุทธิอุโบสถเป็นการคณะ  ครั้แล้วภิกษุผู้เถระพึงนั่งคุกเข่าประนมมือบอกความบริสุทธิ์ของตนตามแบบ  3   หน  ภิกษุนอกนี้  ก็พึงทำอย่างเดียวกันตามลำดับพรรษา  ถ้ามีเพียง  รูป  ไม่ต้องตั้งญัติให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันตามแบบ  รูปละ  3  หนตามลำดับพรรษา
            พิธีออกพรรษา
                ออกพรรษา  หมายถึง  การสิ้นสุดกำหนดอยู่จำพรรษาของภิกษุตามพระวินัย  มีพิธี    สังฆกรรมพิเศษ  เรียกว่า  ปวารณากรรม”  คือการทำปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ร่วมกันมาตลอด  เดือน  บัญญัติให้สงฆ์ทำปวารณา  คือ  การยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทุกกรณี  ไม่ต้องเกรงกันว่าเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อย  จะถือมาเป็นโทษโกรธแค้นกันไม่ได้ด้วย
หมวดที่  2    บุญพิธี

เรื่องบุญพิธีโดยหลักใหญ่  ได้ประมาณเป็นหัวข้อได้  เรื่อง

                พิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ
                วันเทโวโรหณะ  คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก  หลักจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในภพดาวดึงส์ตลอดไตรมาส  และตรัสพระอภิธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลกนั้นตลอด   เดือน  พอออกพรรษาแล้ว  ก็เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์
                ระเบียบพิธี
                พิธีตักบาตรเทโวโรหณะนี้  นิยมจัดทำขึ้นในวัดเป็นหน้าที่ของทางวัดต่างๆ  และทายก    ทายิการ่วมกันจัดทำมีระเบียบพิธีพอประมวลได้  ดังนี้
             1.  ก่อนถึงวันแรม  ค่ำ  เดือน  11  ซึ่งเป็นกำหนดวันทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะนั้น  ทางวัดจะต้องจัดเตรียมงานต่างๆ  ไว้ให้พร้อม  ดังนี้
1.1     รถหรือคานหามพระพุทธรูปสำหรับชักหรือหามนำหน้าพระสงฆ์ในการรับบาตร  ตรงกลางมีที่ตั้งพระพุทธรูป  ประกอบด้วยราชวัติ  ฉัตร  ธงโดยรอบ  ที่มีตั้งบาตรหน้าพระพุทธรูปประดับให้วิจิตรพิสดารอย่างไรก็ได้
1.2       ถ้าไม่รถหรือคานหาม  จะใช้อุบาสกเป็นผู้เชิญพระพุทธรูป  และมีผู้ถือบาตรตามสำหรับบิณฑบาตรก็ได้
1.3     พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร  องค์  ถ้าไม่มีจะใช้พระพุทธรูปยืนปางอื่นก็ได้  ขนาดพอเหมาะสำหรับเชิญขึ้นบนรถทรงนำขบวนเวลารับบาตรเทโวโรณะ
1.4       จัดเตรียมสถานที่ให้ทายทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตร  โดยจัดบริเวณรอบๆ  อุโบสถหรือลานวัดก็ได้  จัดให้ตั้งเป็นแถวติดต่อกันไป 
1.5       แจ้งกำหนดเวลาตักบาตรให้แน่นอนบางแห่งจัดให้มีพระธรรมเทศนาทั้งตอนเช้าและตอนบ่ายก็ต้องกำหนดเวลาล่วงหน้า

            2.  สำหรับทายกทายิกา  เมื่อทราบกำหนดการแล้ว  จะต้องเตรียมและดำเนินการ  ดังนี้
2.1      เตรียมภัตตาหารคาวหวานใส่บาตร 
2.2      ถึงกำหนดวัน  ก็นำของใส่บาตรไปตั้งบนอาสนะที่ทางวัดจัดไว้ให้
2.3      เมื่อใส่บาตรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี  ถ้ามีเทศน์ด้วยจะอยู่ฟังด้วยก็ได้
           3.  สำหรับพระภิกษุสามเณรผู้รับบาตร  ถ้าในวัดห่มเฉียงอุ้มบาตร  ถ้าเป็นนอกวัดห่มคลุมเหมือนออกบิณฑบาตรนอกวัด  เดินตามรถหรือคานหามพระพุทธรูป
                พิธีเจริญพระพุทธมนต์
                การเจริญพระพุทธมนต์  ใช้สำหรับงานมงคลต่างๆ  เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์พึงปฏิบัติ  บทพระพุทธมนต์ใช้กันทั่วๆ  ไปมีดังนี้
                เจ็ดตำนาน    สิบสองตำนาน    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร    มหาสมยสูตร    โพชฌงคสูตร   คิริมานนทสูตร    ชยมงคลคาถา    คาถาจุดเทียนชัยและคาถาดับเทียนชัย                                           

ระเบียบพิธีและนิยมของบทพระพุทธมนต์

1.       งานมงคลทั่วไป                             2..งานมงคลเฉพาะกรณี
งานมงคลทั่วไป
                งานมงคลทั่วไป  คือ  งานที่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องฉลองและเรื่องต้องการสิริมงคลทั่วไป  การเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลนี้  นิยมใช้บทเจ็ดตำนาน  ซึ่งรวมเรียกว่าพระปริตร” 
                บทเจ็ดตำนานมีดังนี้
                มงคลสูตร    รตนสูตร    กรณียเมตตสูตร    ขันธปริตร    โมรปริตร    ธชัคคสูตร    อาฏานาฏิยสูตร  โพชฌงคปริตร
ในการสวดเจ็ดตำนานนี้ แต่เดิมนิยมสวดเต็มตำนาน  แต่ภายหลังมีนิยมเป็น  แบบ  คือ
แบบเต็ม  แบบย่อ  แบบลัด
                งานมงคลเฉพาะกรณี
งานมงคลเฉพาะกรณี  ที่นิยมทำกันอยู่ทั่วไป  มี  งาน  คือ
1.       งานฉลองพระบวชใหม่
2.       งานมงคลสมรส
3.       งานทำบุญอายุ
4.       งานทำบุญเอาฤกษ์ชัยมงคล
5.       งานทำบุญต่อนาม
พิธีสวดพระพุทธมนต์
                การสวดพระพุทธมนต์  คือ  การสวนมนต์เป็นพิธีสงฆ์งานอวมงคล  ระเบียบพิธีฝ่ายเจ้าภาพเหมือนงานทำบุญทั่วไป  ต่างแต่ถ้าเป็นงานทำบุญหน้าศพ  คือมีศพตั้งอยู่  ไม่ต้องวงสายสิญจน์และไม่ต้องตั้งน้ำมนต์
                ถ้าปรารภศพ  แต่ไม่มีศพตั้งอยู่ในบริเวณพิธี  จะวงสายสิญจน์และตั้งน้ำมนต์ด้วยก็ได้  โดยถือว่าเป็นการทำบุญบ้านไปในตัวด้วยก็ได้  งานประเภทนี้มี  งาน  คือ
1.       งานทำบุญหน้าศพ
2.       งานทำบุญอัฐิ
พิธีสวดพระอภิธรรม
                การสวดพระอภิธรรม คือ งานทำบุญเกี่ยวด้วยศพ  นับตั้งแต่มีการตายเกิดขึ้นจนถึงวันทำฌาปนกิจ  โดยประเพณีนิยม  ญาติของผู้ตายจะจัดให้มีสวดพระอภิธรรมในงานด้วย  พิธีสวดพระอภิธรรมนี้  มีนิยมเป็น  อย่าง
1.       สวดพระอภิธรรมประจำยามหน้าศพ
2.       สวดพระอภิธรรมหน้าไฟ

สวดพระอภิธรรมประยามหน้าศพ

                งานศพไม่เหมือนงานอื่น  ตอนค่ำมักว้าเหว่  จึงนิยมมีพิธีสวดพระอภิธรรมในตอนค่ำคืน  การสวดนี้บางแห่งนิมนต์พระมาสวดเป็นชุดๆ  ละยาม  สวดตลอดรุ่ง  ยาม  ก็นิมนต์พระ  4 ชุดสวดติดต่อกันก็มี  บางแห่งสวดแค่ในยามต้นก็มี  ดังนี้
            สวนพระอภิธรรมหน้าไฟ
            การสวดพระอภิธรรมหน้าไฟ  นิยมสวดในขณะทำฌาปนกิจ  การสวดไม่มีพิธีฝ่ายเจ้าภาพอย่างสวดหน้าศพ  เมื่อถึงพิธีจุดศพ  พระสงฆ์เข้านั่งประจำที่  พิธีเริ่มจะจุดศพ  ก็ตั้งพัดพร้อมกัน  พอจุดศพก็ตั้ง  นะโม  แล้วสวดไปจนจบพระอภิธรรม  คัมภีร์  เมื่อเจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรมแล้ว  อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี
                พิธีสวดมาติกา
                การสวดมาติกา  คือ  การสวดบทมาติกาของพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์  หรือที่เรียกว่า  สัตตีปกรณาภิธรรม”  มีการบังสุกุลเป็นที่สุด  เรียกโดยโวหารทางราชการในงานหลวงว่า  สดัปปกรณ์”  แต่ราษฎร์สามัญทั่วไปเรียกว่า  สวดมาติกา
                พิธีสวดแจง
            งานฌาปนกิจศพ  มีนิยมอย่างหนึ่งคือจัดให้มี  เทศน์สังคีติกถา”  หรือที่เรียกว่า  เทศน์แจง”  จะเทศน์ธรรมาสน์เดียวหรือ  ธรรมาสน์  เป็นปุจฉาวิสัชนาก็ได้

หมวดที่  ทานพิธี

1.        เรื่องถวายสังฆทาน
สังฆทาน  คือ  ทานที่ถวายแก่สงฆ์มิได้เจาะจงแก่บุคคล  โดยที่เข้าใจกันก็คือการจัดภัตตาหารถวาย พระสงฆ์ไม่เกี่ยวกับการถวายทานวัตถุอย่างอื่น  การจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์อย่างนี้  เรียกกันว่า  ถวายสังฆทาน”  มีทั้งหมด  ประการ  คือ
1.       ถวายแก่หมู่ภิกษุและภิกษุณี  มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
2.       ถวายแก่หมู่ภิกษุ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
3.       ถวายแก่หมู่ภิกษุณี  มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
4.       ถวายแก่หมู่ภิกษุและภิกษุณี  ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
5.       ถวายแก่หมู่ภิกษุ ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
6.       ถวายแก่หมู่ภิกษุณี  ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
7.       ร้องขอต่อสงฆ์ให้ส่งใครๆ  ไปรับแล้วถวายแก่ผู้นั้น
แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีครบทั้ง  ประเภท  มีเพียง  ประเภทเท่านั้น
1.     ทานที่ถวายแก่ภิกษุ  (ที่วัด)
2.       ทานที่สงฆ์จัดให้ตามคำร้องขอของทายก  (ที่บ้าน)
2.  เรื่องถวายสลากภัตต์
สลากภัตต์  คือ  ภัตตาหารที่ทายกทายิกาถวายตามสลาก  นับเข้าในสังฆทาน  ในครั้งพุทธกาลถวายโดยไม่กำหนดกาล  แต่ปัจจุบัน มักนิยมทำกันในเดือนที่มีผลไม้ต่างๆ  บริบูรณ์มาก  จัดถวายภัตตาหารพร้อมด้วยผลไม้นั้นๆ  ด้วยสลาก 
วิธีทำสลากภัตต์
เมื่อถึงวันกำหนด  ผู้จะถวายสลากภัตต์ก็จัดภัตตาหารกับไทยธรรมซึ่งมักประกอบด้วยผลไม้ในฤดูนั้นๆ  ตามกำลังของตนนำไปวัดหรือสถานที่ที่กำหนดไว้  ทายกทายิกาก็ให้ผู้รับสลากภัตต์ทุกคนจับสลากการจับสลากนั้น  ก็เขียนชื่อพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นหรือที่นิมนต์มา  ทำเป็นธงม้วนไว้ให้ทายกทายิกาจับ  เมื่อจับได้ชื่อรูปใดก็ถวายรูปนั้น
3. เรื่องตักบาตรข้าวสาร
การถวายข้า  (ตักบาตรข้าวสารเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในเมืองไทยยุคหลัง  เข้าใจว่าเพิ่งทำกันแพร่หลายเมื่อในรัชกาลที่  เพราะมีพระบรมราชธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ในหนังสือพระราชพิธี  12  เดือน  ตอนว่าด้วยการตักบาตรน้ำผึ้งแห่งหนึ่ง  ทรงแย้มความไว้ว่า  การตักบาตรน้ำผึ้งในสยามเรา  มีประโยชน์สู้ตักบาตรข้าวสารไม่ได้”  น่าจะมีผู้เห็นชอบตามพระบรมราชาธิบายนี้  จึงเปลี่ยนมาเป็นการตักบาตรข้าวสาร
ระเบียบพิธีปฏิบัติ
ในระหว่างเข้าพรรษาเป็นกาลนิยมทำบุญตักบาตรข้าวสาร  จะกำหนดวันไหนตามแต่จะสะดวก  โดยการประกาศให้ชาวบ้านรู้ทั่วกัน  ถึงวันกำหนดก็นำข้าวสารพร้อมทั้งเครื่องบริวาร  มีพริก  กะปิ  หอม  กระเทียม  ปลาแห้ง  ปลาเค็ม  เป็นต้น  นำไปวางรวมกันในที่จัดไว้  เมื่อพร้อมกันแล้วตีระฆังสัญญาณให้พระภิกษุสามเณรทั้งวัดลงมาประชุมกันที่ศาลาหรือสถานที่ที่กำหนดไว้
เมื่อพร้อมกันแล้ว  มีการรับศีลและแสดงธรรมอนุโมทนา  กัณฑ์  จบแล้วจึงกล่าววคำถวายข้าวสารพร้อมทั้งเครื่องบริวารเป็นภาษาบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทย  พระสงฆ์รับว่า  สาธุ”  พร้อมกัน
4.  เรื่องถวายเสนาสนะ
( กุฎี  วิหาร  ศาลา)
เสนาสนะ  เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรในวัดและเป็นที่บำเพ็ญกุศลสาธารณะ  ส่วนมากนิยมสร้างกันในฤดูร้อนก่อนฤดูฝน  สร้างเสร็จแล้วถวายเป็นของสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา  มีพิธีเกี่ยวด้วยการสร้างและการถวาย  ดังนี้
1.      ถ้าภิกษุสร้างเสนาสนะอยู่อาศัยเองในวัด  เป็นการวัตถุที่ต้องก่อหรือโบกด้วยปูนหรือดินเหนียวต้องสร้างให้ได้ประมาณตามพระวินัย  คือ  ยางเพียง  12  คืบพระสุคต  (8  ศอก  3นิ้วเศษกว้าง  คืบพระสุคต  ( 5 ศอก  10  นิ้วเศษ โดยประมาณของช่างไม้ปัจจุบัน  ในการสร้างนี้ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อนจึงสร้างได้  มิฉะนั้นผิดวินัย
2.         ถ้ามีทายกสร้างให้  ไม่จำกัดประมาณ  แต่ต้องให้ทางวัดอนุญาตและให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน
3.      เมื่อสร้างเสร็จแล้ว  มีนิยมให้เจ้าของผู้สร้างถวายเสนาสนะนั้นเป็นของสงฆ์  ประชุมสงฆ์พร้อมกันในวัด  เจ้าภาพพร้อมด้วยญาติมิตร  กล่าวคำถวายพร้อมกัน  โดยหัวหน้าว่านำเป็นภาษาบาลีและแปลเป็นไทย
4.      กล่าวคำถวายจบ  พระสงฆ์รับ  สาธุ”  พร้อมกัน  ต่อจากนั้นให้เจ้าของผู้สร้างหลั่งน้ำลงในมือของพระภิกษุผู้เป็นประธานในพิธี  แสดงว่ายอมยกให้พระสงฆ์แล้ว  ต่อจากนั้น  พระสงฆ์อนุโมทนา  ยะถา  สัพพี  บทวิเสสอนุโมทนานิยมใช้  สีตํ  อุณหํ  ต่อด้วยบท  สัพพพุทธานุภาเวนะ
5.  เรื่องถวายผ้าวัสสิกสาฎก  (ผ้าอาบน้ำฝน)เป็นผ้าสำหรับใช้นุ่งในเวลาอาบน้ำฝน  หรืออาบน้ำทั่วไป  แต่เดิมทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้ผ้า  ผืน  (ผ้าไตรจีวรเท่านั้น  เมื่อเวลาฝนตก  ภิกษุบางรูปปรารถนาจะอาบน้ำฝน  ไม่มีผ้าอื่นจะผลัดนุ่งก็เปลือยกายอาบน้ำฝน
ผ้าอาบน้ำฝนนี้  ต้องทำให้ถูกต้องพระวินัยบัญญัติที่ทรงอนุญาตไว้  คือ  เป็นผ้าผืนยาว  คืบพระสุคตกว้าง  คืบครึ่ง  ถ้าเกินกว่านี้ใช้สอยเป็นอาบัติ  ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อนจึงแสดงอาบัติตก
                ทรงบัญญัติเขตกาลที่จะแสวงหา  เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม  และเขตกาลอธิษฐานใช้สอยว่า
1.       เขตกาลแสวงหา
2.       เขตกาลทำนุ่งห่ม
3.       เขตกาลอธิษฐานใช้สอย
6.  เรื่องถวายผ้าจำนำพรรษา
                ผ้าจำนำพรรษา  คือ  ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ เดือน  (เว้นผ้ากฐินเป็นพิเศษส่วนหนึ่งที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ครบ   เดือน  ถ้าได้กรานกฐินแล้ว  รับและใช้สอยได้ภายในกำหนด  5 เดือนอันเป็นเขตอานิสงส์กฐิน  คือตั้งแต่แรม  ค่ำ  เดือน  11  ถึงกลางเดือน  4
                ส่วนภิกษุที่จำพรรษาครบ  เดือน  แต่ไม่ได้กรานกฐิน  รับและใช้สอยได้เพียงกำหนด  เดือน  อันเป็นเขตอานิสงส์จำพรรษา  คือตั้งแต่แรม  ค่ำ  เดือน  ถึงกลางเดือน  12
                ผ้าที่ถวายนอกกำหนดนี้ไม่นับเป็นผ้าจำนำพรรษา  ในเมืองไทย  มีปรากฏทำเป็นแบบแผนขึ้นในสมัยรัชการที่  ซึ่งมีหลักฐานแจ้งอยู่ในหนังสือพระราชพิธี   12  เดือน  ว่าได้พระราชทาน  (ผ้าจำนำพรรษาสำหรับวัดพระเชตุพนฯ  วัดอรุณราชวราราม  และวัดราชโอรสเป็นปฐม  สำหรับชาวบ้านก็มีทำอยู่บ้างตามประเพณี
                7.  เรื่องถวายผ้าอัจเจกจีวร
                ผ้าอัจเจกจีวร  คือ  ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกรีบด่วนถวายก่อนวันออกพรรษา  โดยประสงค์จะทรงรักษ๋าศรัทธาของทายกผู้ตั้งใจจะถวาย  เพราะมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น  คือ
1.       จะต้องไปสงคราม
2.       จะไปค้างแรมอยู่ที่อื่นด้วยความจำเป็น
3.       หญิงมีครรภ์แก่เกรงว่าจะคลอดเสียก่อนถึงกำหนด
4.       ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่  จะรอถึงออกพรรษาเกรงว่าจะมีเหตุขัดข้อง
8.  เรื่องทอดผ้าป่า
                ผ้าป่า  ในครั้งพุทธกาล  เรียกว่า  ผ้าบังสุกุล  คือ  ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน  ที่ทิ้งอยู่ตามป่าดงบ้างตามป่าช้าบ้าง  ตามถนนหนทางและห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บ้าง  ที่สุดกระทั่งที่เขาอุทิศวางไว้แทบเท้าบ้าง  ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า  ผ้าป่า  ระยะเวลาทอดผ้าป่าไม่มีกำหนดกาลจะทอดเมื่อไรก็ได้
                พิธีที่สำคัญคือ  ให้อุทิศเป็นผ้าป่าจริงๆ  อย่าถวายแก่ใครโดยเฉพาะ  ถ้าทอดลับหลังพระสงฆ์ผู้รับ  ให้เจ้าภาพตั้งใจขณะทอดว่า  ขออุทิศผ้าพร้อมทั้งเครื่องบริวารแก่ภิกษุผู้ต้องการผ้าบังสุกุลมาถึงเฉพาะหน้า  เท่านี้ก็ได้ชื่อว่าทอดและถวายผ้าป่าแล้ว
            9.  เรื่องลอยกระทง
            การลอยกระทงตามประทีป  ถือกันเป็นประเพณีมาแต่โบราณกาลว่า  เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทาชมพูทวีป  เกิดนิยมขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย  ในราวแผ่นดินพระมหาธรรมราชาลือไทยรัชการที่  หรือแผ่นดินพระมหาธรรมราชาลิไทย  รัชกาลที่  และนิยมทำกันเป็นประเพณีในวันเพ็ญเดือน  12  ซึ่งเป็นฤดูน้ำเหนือลด  เพราะปรากฏในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  สนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทย  ธิดาของพระศรีมโหสถ  (ตำแหน่งราชครูได้เรียบเรียงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยราชประเพณี  12  เดือน
หมวดที่  4      ปกิณกะ
            หมวดนี้กล่าวถึง  วิธีการที่จะต้องปฏิบัติที่เป็นพิธีเบ็ดเตล็ด ในการประกอบศาสนพิธีดังกล่าวข้างต้นมาชี้แจงให้เข้าใจอีก  ประการ  คือ
1.       วิธีสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน
2.       วิธีไว้ครูสำหรับนักเรียน
3.       วิธีจับด้านสายสิญจน์
4.       วิธีบังสุกุลเป็น
5.       วิธีบอกศักราช
แต่ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวในข้อ  1และ  แต่จะกล่าวในข้ออื่น 
3.  วิธีจับด้ายสายสิญจน์
        สายสิญจน์  แปลว่า  สายรดน้ำ  ปัจจุบันได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบโดยวิธจับเส้นด้ายในเข็ดสาวชักออกมาเป็นห่วง  ๆ  ให้สัมพันธ์เป็นสายเดียวกันในเข็ดเส้นเดียว  จับออกครั้งแรกเป็น  เส้นแล้วม้วนเข้ากลุ่มไว้  ถ้าต้องการให้ได้สายใหญ่ก็จับอีกครั้งหนึ่ง  จะกลายเป็น  เส้น
        ในงานมงคลใช้สายสิญจน์  เส้น  ไม่ใช้สายสิญจน์  เส้น  แต่โบราณได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการเรียกว่า  เสก”  คือร่ายมนต์เพื่อศักดิ์สิทธิ์
4.  วิธีบังสุกุลเป็น
        การบังสุกุลเป็น  หมายถึง  บุญกิริยาที่เจ้าภาพนิยมทำเมื่อป่วยหนัก  เป็นการกำหนดมรณานุสสติวิธีหนึ่งโดยมากเมื่อญาติ ๆ  จัดให้มีพิธีสงฆ์สวดต่อนาม  แล้วถ้าผู้ป่วยยังมีสติอยู่  มักขอให้พระสงฆ์ชักบังสุกุลเป็นตนเองด้วยแม้ผู้ป่ายไม่ไข้  เมื่ออายุย่างเข้าวัยชรา  มักปรารภสังขารของตนที่ใกล้มรณะ  ประสงค์จะบำเพ็ญบุญกิริยาให้ทันตาเห็น  มักจัดให้นิมนต์พระสงฆ์มาชักบังสุกุลเป็นตนเองก็มี
        ในการชักบังสุกุลเป็นนี้ปกติไม่มีทอดผ้าเหมือนบังสุกุลศพ  มักใช้ผ้าขาวคลุมตัวคนป่วยหรือผู้ประสงค์การนี้แล้วเอาด้ายสายสิญจน์ผูกมุมผ้าขาวที่คลุมนั้นไว้ตอนหน้า  ถวายปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งให้พระสงฆ์จับพิจารณา  ซึ่งสิ่งที่เจ้าภาพต้องเตรียมในการสวดก็คือ  ธูปเทียน   ผ้าขาวและสายสิญจน์
5.  วิธีบอกศักราช
        ในการแสดงพระธรรมเทศนาในงานบุญทุกกรณี  ยกเว้นที่แสดงตามกาลในวันธรรมสวนะ  มีนิยมให้ผู้แสดงธรรมบอกศักราช  คือบอกวัน  เดือน  ปี  ที่ถึงในวันนั้นก่อนเริ่มเทศน์  จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังธรรมทราบปฏิทินในวันนั้นว่าเป็นวันอะไร  เดือนอะไร  ปีอะไร เพราะในสมัยก่อนปฏิทินรายวันมีไม่แพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน  จึงบอกเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน  ส่วนในปัจจุบันการบอกศักราชกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้ว  โดยการบอกศักราชต้องบอกทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี 
คำบอกศักราชแบบภาษาไทย(แปลมาจากบาลี)
        ศุภมัสดุ  พระพุทธศาสนายุกาล  จำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค  อรหันตสัมมาพุทธเจ้านั้น  บัดนี้ล่วงแล้ว 2545  พรรษา  ปัจจุบันสมัยตุลาคมมาส  สุรทินที่  23  วันนี้จันทรวาร  ศาสนายุกาลแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  มีนัยอันพุทธบริษัทจะพึงกำหนดนับด้วยประการฉะนี้ฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น