หมอชีวกโกมารภัจจ์
หมอชีวก
เป็นแพทย์ประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสารในกรุงราชคฤห์
และเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย การได้เป็นแพทย์ใหญ่
เพราะหมอเป็นนักศึกษาชั้นดีของมหาวิทยาลัยตักกสิลา
เป็นแพทย์มีจรรยาแพทย์ยิ่งกว่าแพทย์คนใด นับเป็นปรมาจารย์ของแพทย์ทั้งปวง
หมอชีวกเป็นชาวเมืองราชคฤห์ อันเป็นมหานครรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น
ประวัติแต่เดิมมา บิดาไม่ปรากฏเพราะเป็นลูกของหญิงแพศยาชื่อสาลวดี
ผู้มีความงามและมายาเป็นเสน่ห์ สมสู่กับชายคืนหนึ่งเป็นอันมาก
วันหนึ่งนางสมสู่กับชายที่ต้องใจ นางก็ขาดเลือดตั้งครรภ์ แต่มาสำนึกได้ว่า
อันธรรมดาหญิงแพศยา ถ้าปล่อยให้มีลูกปรากฏ รายได้ที่เคยมีประจำวัน
ประจำคืนเป็นอันหมด เป็นที่น่าเบื่อหน่ายของชายทั้งปวง
สาลวดีไม่มีทางทำลูกให้แท้งได้ ตกลงใจแสร้งนอนป่วยอยู่
ไม่ยอมรับแขกในยามท้องแก่ จนกระทั่งคลอดลูกออกมาเป็นชาย ครั้นตกราตรีมีความสงัด
นางจึงสั่งหญิงรับใช้ที่ไว้วางใจได้ให้อุ้มลูกของนางใส่ม้วนเสื่อไปทิ้งไว้ที่กองขยะนอกเมือง
ตั้งแต่ทิ้งลูกแล้ว นางก็ไม่ได้เอาใจใส่อีกต่อไป
รุ่งขึ้นเช้า โอรสของพระเจ้าพิมพิสารชื่ออภัยกุมาร ออกประพาสตลาดกลางเมือง
เป็นขบวนใหญ่ ออกไปถึงนอกเมือง เมื่อขบวนผ่านไปถึงกองขยะแห่งหนึ่ง
อภัยกุมารมองเห็นแร้งการุมกันอยู่ที่กองขยะ
ถามพวกตามเสด็จว่านั่นแร้งกามันรุมจะกินอะไรของมัน
หรือมีใครนำอาหารพิเศษอะไรมาทิ้งไว้ให้มัน
พวกมหาดเล็กรีบออกจากขบวนตรงเข้าไปดู มองเห็นเด็กร้องดิ้นอยู่
รีบกลับมาทูลเจ้านาย ว่ากากำลังจิกเด็กคนหนึ่ง ไม่รู้ว่าใครเอามาทิ้งไว้
“ผู้หญิงหรือผู้ชาย” กุมารรับสั่งถาม
“ผู้ชาย พ่ะย่ะค่ะ อ้วนท้วนน่ารักเสียด้วย”
ฟังกราบทูล
อภัยกุมารเกิดความสงสัยขึ้นในพระทัยรับสั่งให้มหาดเล็กไปอุ้มทารกมาถวาย พาเข้าวัง
สั่งให้พี่เลี้ยงทะนุถนอม จนทารกรอดชีวิตมาได้จนเติบโต
เด็กกองขยะ
เป็นคนฉลาด หน่วยก้านเป็นเด็กดีมีสติปัญญา
จึงได้รับแต่งตั้งจากพระราชาไว้ในมหาดเล็กฝ่ายในมีหน้าที่ปูพระยี่ภู่
และล้างพระบาท พระราชาจะเสด็จไปทางไหนก็ติดตามไปใกล้ชิด และประทานชื่อให้ว่า “ชีวกโกมารภัจจ์”
ความหมายว่า “บุญรอด” หรือ
“ผู้รอดชีวิตมาได้ด้วยพระราชาทรงเลี้ยง”
พอเติบโตขึ้น
ขนาดรุ่นหนุ่ม ชีวกเฝ้าทูลถามพระราชาว่า ใครเป็นพ่อเป็นแม่ของตน
พระราชาทรงเบี่ยงบ่ายพะยักพะเยิดให้ถามพวกมหาดเล็ก
พวกมหาดเล็กด้วยกันไม่มีใครกล้าตอบ และยังตั้งถ้อยล้อเลียนว่าเป็นเด็กกลางถนน
พ่อแม่อยู่ที่ไหนไม่มีใครรู้จัก ชีวกมีความสงสัยและผสมเจ็บใจอยู่
จึงเข้าไปทูลถามพระราชาถึงเผ่าพันธ์ของตน พระราชาก็ทรงตอบให้แจ่มแจ้งไม่ได้อีก
และไม่ทรงยอมบอกว่าเก็บได้มาจากกองขยะ
“ข้าเลี้ยงเจ้ามาตั้งแต่เด็กจนโต
เพราะฉะนั้นข้าก็ต้องเป็นพ่อเป็นแม่ของเจ้า”
ชีวกกุมารรู้ที
แต่นั้นมาก็มั่นใจว่าตนไม่มีพ่อไม่มีแม่แน่นอน ถ้าขืนอยู่ในราชสำนัก
รับใช้อยู่อย่างนี้คงไม่มีโอกาสเล่าเรียนอันใด ถ้าไม่ได้เล่าเรียนให้มีวิชา
จะยิ่งเป็นที่ดูถูกของพวกมหาดเล็กด้วยกัน จึงตกลงใจว่า
จะหาทางเรียนหนังสือเป็นที่พึ่งของตัวตนต่อไปในภายหน้า
สมัยนั้น
เมืองตักกสิลาเป็นเมืองเลื่องลือของคนทั้งหลายว่าเป็นแหล่งวิชา
ลูกผู้ดีมีทรัพย์พากันไปเล่าเรียน ชีวกกุมารตัดสินลอบออกจากเมืองราชคฤห์ไปตักกสิลา
ถึงวันดีคืนดีจึงจัดแจงเสบียงอาหาร หนีออกจากเมืองราชคฤห์ไปไม่ยอมให้ใครรู้
ทั้งเพื่อนและเจ้านาย
เมื่อถึงนครตักกสิลา
ชีวกกุมารเข้าหาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ยอมตัวเป็นศิษย์ขอเรียนวิชาหมอ
แต่ไม่มีค่าจ้างอันใดเป็นเครื่องบูชาคุณอาจารย์ได้
จึงยอมทำงานให้อาจารย์เป็นการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ อาศัยเป็นเด็กอ่อนน้อม
ยอมเชื่อฟังโอวาท อาจารย์เกิดความเอ็นดูรักใคร่
มีวิชาความรู้อันใดก็สั่งสอนให้จนหมดสิ้น
ชีวก
เรียนวิชาหมอ มาได้ 7 ปีเศษ ต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ
อันเป็นสมุนไพรภายในชมพูทวีปที่เป็นหยูกยารักษาโรคได้อย่างไร ก็รอบรู้จนหมดสิ้น
แต่อาจารย์สั่งสอนไม่รู้จบ วันหนึ่งชีวกคิดว่า
ตนมีวิชาเท่านี้พอจะกลับไปหากินในกรุงราชคฤห์อันเป็นเมืองใหญ่
เอาชนะพวกมหาดเล็กที่เคยพูดถากถางตนมา แต่สงสัยว่าเหตุใดเรียนมาตั้ง 7 ปี การงานในหน้าที่ต่ออาจารย์ก็ปฏิบัติต่อกันมาไม่ขาด
อาจารย์เกลียดชังอย่างไรกระมังจึงไม่ยอมให้สำเร็จเสียที
คนอื่นเขาเรียนวิชาอยู่ไม่กี่ปีพากันกลับไปบ้านได้หมด
วันหนึ่ง
ชีวกหนุ่มเข้าไปถามอาจารย์ “เมื่อไรจะจบหลักสูตร อนุญาตให้กระผมกลับบ้านเสียที”
อาจารย์มองหน้าศิษย์ด้วยปรานี
“ข้าอยากให้เจ้าอยู่ปฏิบัติข้า และศึกษาไปอีกนานๆ ถ้ากลับไปเสีย
ข้าจะหาศิษย์รู้ใจเช่นเจ้าไม่มี”
“กระผมขอบูชาคุณอาจารย์ที่มีอยู่จนสุดกำลัง แต่คิดถึงกรุงราชคฤห์เต็มทน
อยากลาอาจารย์ไปทำมาหากินบ้าง ถ้าอาจารย์เห็นว่ากระผมมีวิชาความรู้เพียงพอกลับไปเลี้ยงตนเองได้”
อาจารย์เห็นศิษย์ปรารถนา
จะใช้วิชาความรู้ให้เป็นประโยชน์ ก็สุดขัด จึงบอกว่า ขอทดลองความรู้ดูก่อน
เห็นว่าควรกลับได้จะให้กลับ
รุ่งขึ้นอาจารย์สั่งชีวกให้เดินทางจากเมืองตักกสิลาไปทั้งทางทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก
และตะวันตก เที่ยวตรวจดูใบไม้ใบหญ้า และสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ ไปประมาณ 400 เส้น
ให้ตรวจดูว่าหญ้าชนิดใด ใบไม้ชนิดใด ใช้ทำยาชนิดใดได้บ้าง อย่างไหนใช้ทำยาไม่ได้”
ชีวกออกจากมหาวิทยาลัย
ขึ้นภูเขาเข้าป่าไปสำรวจสมุนไพรทั้ง 4
ทิศอยู่ประมาณ 7 วัน กลับมาบอกผลการสำรวจแก่อาจารย์
“ลองบอกไป ต้นหญ้าชนิดใด ใบไม้ชนิดไหนทำยาได้กี่ชนิด
และอย่างไหนเข้ากระสายยาอะไรไม่ได้เลย” อาจารย์สอบ
ชีวกแจงถึงชนิดหญ้าใบไม้เล็กใหญ่
ตลอดจนดินและหินนานาชนิดที่ไปสำรวจมา ว่าอย่างนั้น ทำยาแก้โรคอย่างนั้นๆ
จนหมดสิ้นตามตำราที่อาจารย์สอนมา สุดท้ายบอกแก่อาจารย์ว่า
ขึ้นชื่อว่าใบหญ้าใบไม้และสมุนไพรทั้งหลายในชมพูทวีปนี้ ที่ทำยาไม่ได้นั้นไม่มี
ผักหญ้าทุกอย่างบนพื้นดิน เป็นเครื่องยาได้ทั้งหมด
“เป็นอันว่าข้าสอบความรู้ของเจ้าแล้ว เจ้าเรียนจบหมดแล้ว เจ้ากลับได้
ไม่ต้องกลัวจะรักษาใครไม่ได้”
ครั้นอาจารย์อนุญาต
ชีวกก็กราบลาอาจารย์ ลาพวกเพื่อนและชาวบ้านที่เขารักเมตตา ออกเดินทางจากตักกสิลา
บ่ายหน้ากลับเมืองราชคฤห์บ้านเกิดเมืองนอน ต้องรอนแรมมาด้วยความลำบากอย่างยิ่ง
จนถึงชายเมืองสาเกตอันเป็นเมืองตั้งอยู่ไม่ถึงครึ่งทาง
เสบียงอาหารที่ตระเตรียมมาพอดีหมด จำเป็นต้องคิดหาเสบียงเพิ่มเติม
ด้วยหนทางไปเป็นทางกันดารข้าวปลาอาหารและน้ำกินน้ำอาบหายาก
แต่จนใจไม่รู้จะทำฉันใด
จึงจะได้เสบียงอาหารนำไปกินในระหว่างเดินทางข้างหน้า
เพราะในบ้านเมืองแห่งนี้ไม่รู้จักใครเลย จะขอใครเขากิน
ก็ผิดประเพณีนักศึกษามหาวิทยาลัยมีความรู้อยู่พอขายกินได้ ก็คือวิชาหมอ
แต่ถ้าใครเขาไม่เจ็บไม่ไข้ คงไม่มีทางไปรักษาแลกข้าวที่ไหนกินได้
เดินคิดไปหลงเข้าไปจนถึงกลางเมืองสาเกต
ตรงนั้นเป็นตลาดใหญ่
มีสิ่งของวางขายเกลื่อนตลาด ร้านอาหารนมเนยและน้ำตาล มีอยู่หลายแห่ง ยิ่งเห็นอาหาร
ยิ่งอยากกิน แต่อดใจไว้ได้ แอบไปนั่งอยู่ในหมู่คน
ได้ยินเสียงเขาพูดกันว่าเมียเศรษฐีในเมืองสาเกตคนหนึ่ง เป็นโรคปวดหัวมาถึง 7 ปี
ใครมารักษาไม่หาย เปลี่ยนหมอแก่หมอหนุ่ม หมอเมืองใกล้เมืองไกล มากกว่า 10 หมอแล้ว ครั้งแรกทุกหมอต่างโอ้อวกรักษาได้หายทั้งนั้น
แต่แล้วกลับเอาค่ายาไปกินเปล่า จะหาใครสามารถรักษาได้เป็นไม่มี จนตัวคนไข้
และลูกผัว พากันเบื่อหน่ายทอดอาลัยในชีวิตไปด้วยกัน
นายแพทย์ชีวกได้ฟังคนพูดกัน
ก็บอกว่าตนเองเป็นหมอ สำเร็จวิชามาจากเมืองตักกสิลา
อาการอย่างนี้ได้ยินได้เห็นมามาก เคยรักษามาตลอดทางหลายสิบคน ขอสมัครรักษาดู
ถ้าไม่หายไม่เอาค่าจ้าง และยอมให้เอาตัวเป็นทางรับใช้
คนที่ได้ฟังพอเห็นหมอหนุ่มพูดจริงจัง
จึงนำความไปบอกที่บ้านเศรษฐี ว่ามีหมอหนุ่มคนหนึ่งเดินทางไกล อ้างตัวว่าเก่งนัก
รับอาสารักษาโรคปวดหัว
“หมอหนุ่ม ฉันเบื่อเต็มที หมอแก่มีความชำนาญ ยังรักษาไม่หาย
หมอหนุ่มจะเก่งกาจรักษาฉันให้หายได้อย่างไร” เมียเศรษฐีตะโกนใส่หน้าผู้มาบอก
“เขาบอกว่าถ้ารักษาไม่หายขอยอมเป็นทาสในเรือน
ดีร้ายคงไม่ขาดทุนเหมือนดังที่แล้วมา ขอให้ลองดู ปะเหมาะเคราะห์ดี เคยทำบุญร่วมกัน
อุปถัมภ์ค้ำชูกันมาแต่ก่อน อาจรักษาหายก็ได้” พวกบ่าวบอกเข้านาย
พวกบ่าวเศรษฐีไปตามหมอชีวกเข้ามา
พอเห็นหน้าหมอเมียเศรษฐีสั่นศีรษะ แสดงอาการดูถูก หมอชีวกจึงพูดว่า
ถ้ารักษาไม่หายไม่ต้องเอาเงิน แต่ขอค่ายาชนิดหนึ่งก่อนเท่านั้น
เมื่อได้ฟังสัญญาแข็งขัน ภรรยาเศรษฐีจึงยอมตกลงทดลอง
หมอชีวกให้ภรรยาเศรษฐีนอนลง
เขาตรวจดูอาการโรคดูด้วยความชำนาญ โดยไม่มีเครื่องมือ พอตรวจเสร็จก็เห็นทางรักษา
จึงสั่งให้บ่าวออกไปซื้อเนยใสที่ตลาดมา 1
ถ้วย และเครื่องยาเบ็ดเตล็ด 2 – 3 อย่าง
เมื่อได้มาแล้วเอาแทรกเข้ากันบอกให้คนไข้นอนหงาย
ใช้เนยใสกับยาที่ผสมให้ไว้กรองลงทางจมูกด้วยวิธี พอภรรยาเศรษฐีนัดยาเข้าจมูก
เนยใสไหลเยิ้มออกมาทางปาก จึงถ่มลงกระโถน แต่บอกคนใช้เอาสำลีซับเนยนั้นไว้อีก
เพราะเกรงหมดเปลือง
หมอชีวกเห็นการกระทำ
คิดในใจว่า เมียเศรษฐีคนนี้ขี้ตระหนี่สิ้นดี ยังสกปรกเสียด้วย ถ้าเรารักษาหาย
แกคงไม่ให้เงินเรากี่กหาปณะ
หมอชีวกอดรนทนไม่ได้
จึงถามเรื่องเอาสำลีซับเนยมาเก็บไว้ทำไม ของสกปรกอย่างนี้ ถ้าขืนเอามาใช้
จะกลายเป็นรังแห่งโรค โรคนี้ยังไม่ทันหาย หมอไม่รับรู้ด้วย
ภรรยาเศรษฐีตอบหน้าตาเฉยว่า
ตั้งแต่นอนรักษาตัวมา 7
ปี หมดเปลืองเงินไปมาก
สิ่งที่ควรกระเหม็ดกระแหม่ได้ก็ต้องเก็บไว้ก่อน
ที่จริงเนยใสที่ซับไว้เอามาใช้ทาเนื้อทาตัวเวลาเมื่อยล้ายังได้
ทิ้งเสียเปล่าประโยชน์ พ่อหมอคงเห็นว่าฉันขี้ตระหนี่ไม่เข้าท่า
ที่จริงไม่ใช่เช่นนั้น สิ่งใดที่ควรเสีย ฉันจะยอมเสีย ลองดูซี
ถ้าพ่อหมอช่วยรักษาฉันหายคราวนี้ ฉันจะจ่ายเงินเป็นรางวัลให้พ่อหมออย่างหมดใจ
ชีวกได้ฟังพูดอย่างนี้ก็นิ่งไว้ แต่อดคิดไม่ได้ว่า ยายนี่เป็นแม่บ้านที่ดีอยู่หรอก
แต่ที่ไม่ดีคือสกปรกมาก
หมอให้ภรรยาเศรษฐีนัดเนยใสอยู่ไม่กี่วัน
อาการโรคค่อยบรรเทาเบาลง จนในที่สุดโรคปวดหัว 7 ปี ของภรรยาเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้งไป
เจ้าของไข้ให้รางวัลแก่หมอสมใจ ชื่อเสียงของหมอลือกระฉ่อนไป
เป็นที่รู้จักชื่นชมของชาวเมืองสาเกต ทุกคนถามว่า หมอหนุ่มเรียนวิชามาจากไหน
หมอบอกตามตรงว่า ไปเรียนมาจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่เมืองตักกสิลา
ฝ่ายลูกเขยลูกสะใภ้ของคนไข้ ครั้นรู้ว่าหมอหนุ่มมารักษาโรคหาย
พากันดีใจเรียกหมอเข้าไปให้รางวัล ลูกสาวดีใจที่รักษาแม่หาย ให้รางวัลไป 4 พันกหาปณะ ลูกเขยดีใจที่หมอรักษาแม่ยายหาย ให้รางวัลไปอีก 4 พันกหาปณะ ลูกสะใภ้ดีใจที่แม่ผัวหายจากโรคก็ให้รางวัลหมอไปอีก 4 พัน หมอรวมเงินทองได้แล้วลาเศรษฐีและชาวเมืองสาเกต
ออกเดินทางตรงไปยังกรุงราชคฤห์
เมื่อกลับถึงนครราชคฤห์
ชีวกเข้าเฝ้าอภัยกุมารผู้เป็นเจ้านายของตนมาแต่ก่อน พวกมหาดเล็กรุ่นเดียวกัน
เห็นชีวกกลับมา ก็พากันไต่ถามข่าวคราวที่หายหน้าไปเป็นสิบปี
อภัยกุมารตกพระทัยไม่นึกว่าจะได้พบมหาดเล็ก “บุญรอด” ที่ทรงเลี้ยงไว้แต่เด็ก ครั้งแรกทรงพิโรธเพราะไม่ทราบต้นสายปลายเหตุ
หมอหนุ่มเล่าเรื่องต่างๆ ที่หนีออกไปศึกษาวิชาแพทย์มาจากมหาวิทยาลัยตักกสิลา
จนมีความชำนาญวินิจฉัยโรคได้ทุกชนิด
เจ้าชายไม่ทรงเชื่อว่า มหาดเล็กมีความสามารถ แต่ไม่กล้ากล่าวดูถูก
เป็นแต่กระทำไว้ในพระทัย ถ้าหากเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะลองดีมหาดเล็กดู
ชีวกสังเกตดูเจ้านาย รู้ทีว่าไม่ทรงเชื่อ จึงทูลเล่าเรื่องต่างๆ
ที่ได้แวะเมืองสาเกต เข้าไปรักษาภรรยาเศรษฐีจนได้เงินทองมากมาย
ทูลเสร็จแล้วนำเงินทองที่เหลือระหว่างทางติดตัวมาทั้งหมดถวายแก่เจ้านาย
ขอทูลถวายเงินทั้งหมด
เพื่อเป็นเครื่องบูชาคุณที่ได้ทรงชุบเลี้ยงมา” หมอทูล
ครั้งทรงเห็นสักการะของมหาดเล็ก
ก็แน่พระทัยว่า น่าจะเป็นผู้มีความสามารถจริง ไม่ทรงรับเงินทอง
ที่มหาดเล็กทูลถวายเป็นเครื่องบูชาคุณ
ชื่นพระทัยที่มีมหาดเล็กมีความกตัญญูตั้งแต่วันนั้น
หมอชีวกก็เป็นที่โปรดปรานของราชสำนัก
ราชสำนัก
อยากทดลองความรู้หมอดูสักครั้ง แต่ไม่มีโอกาส อยู่มาวันหนึ่ง
บังเอิญลูกชายเศรษฐีในเมืองราชคฤห์คนหนึ่งเป็นโรคปวดท้องมาหลายปี
เศรษฐีพ่อได้ยินกิตติศัพท์เรื่องหมอสำเร็จจากมหาวิทยาลัยตักกสิลา
มาประจำอยู่ในราชสำนัก จึงทูลขออนุญาตให้หมอไปรักษา ทางราชสำนักอนุญาตให้
เพื่อลองดูฝีมือหมอ
หมอชีวกถึงบ้านเศรษฐีใหญ่
ลองตรวจอาการ และวินิจฉัยโรค พอรู้สมุฏฐาน หมอขอสัญญาณแก่เศรษฐีว่า จะเชื่อหรือไม่
ถ้าเชื่อโรคหาย ถ้าไม่เชื่อตาย เศรษฐีกลัวความตาย ปรึกษากับเมีย แม่กลัวลูกตาย
จึงยอมฟังคำสั่งของหมอ
หมอลงมือใช้วิชาผ่าตัดที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัย
วางยาชนิดหนึ่งไม่ให้ลูกเศรษฐีรู้สึกเจ็บปวดมากนัก ล้วงลำไส้น้อยใหญ่ออกมา
ชะล้างดี มีไส้ใดสกปรก ก็ตัดออกทิ้งเปลี่ยนเสียใหม่ เสร็จแล้วเย็บปากแผลให้ติดสนิท
ไม่มีรอย
หมอได้รางวัลมากมายจากตระกูลเศรษฐี
ได้เงินทองมาเท่าใด ก็มอบเงินทองนั้นๆ ให้แก่เจ้านายตามเคย
แต่เจ้าอภัยเป็นเจ้านายรู้จักเลี้ยงลูกน้อง ไม่ยอมรับเงินทอง
กลับสร้างบ้านให้หมออยู่ในวังอีกหลังหนึ่ง
อยู่ต่อมา
เกียรติคุณของหมอรู้ไปถึงวังข้างใน เวลานั้นพระเจ้าพิมพิสาร
ทรงเป็นโรคริดสีดวงมานาน จะเสด็จไปทางไหน
พระโลหิตไหลเปื้อนพระภูษาเป็นที่อับอายขายพระพักตร์
ต้องระงับไม่เสด็จออกว่าราชการอยู่นานวัน
ครั้นทรงได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถของหมอ ก็รับสั่งกับเจ้าฟ้าอภัยลูกชาย
ให้ส่งหมอชีวกเข้าไปตรวจอาการ
หมอวินิจฉัยโรคแล้ว
เอาสมุนไพรมาผสมถวายพระราชาขนานหนึ่ง ทูลให้เสวยเข้าไปเพียง 2 – 3 มื้อ
โรคพระโลหิตไหลก็หยุด ความเจ็บปวดที่เคยมีหายไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งหมอชีวกไว้ในตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์รับพระราชทานเงินเดือนเป็นประจำ
คนทั้งหลายในเมืองราชคฤห์
พากันสงสัยความสามารถของหมอว่า เหตุใดจึงผ่าท้องเปลี่ยนลำไส้ได้
ใครเป็นโรคอะไรหมอรักษาได้หมดแม้แต่พระราชา
จนได้รับการโปรดปรานประทานบ้านช่องเงินทอง พวกที่เคยดูหมิ่นมาก่อน พากันอิจฉา
แต่หมอเฉยเมยไม่นำพา ตั้งใจปฏิบัติราชการมาด้วยดี
อยู่ต่อมา
มีคนไข้อีกรายหนึ่ง เป็นเศรษฐีขี้ตระหนี่จัด อยู่ในเมืองราชคฤห์นั่นเอง
เป็นโรคปวดหัวหนัก รู้สึกเหมือนมีตัวแมลงเจาะเข้าไปอยู่ในขมอง เศรษฐีกลับตาย
แต่ขี้เหนียว จึงรักษาโรคด้วยหมอกลางบ้านมาหลายคน หมอที่มารักษาให้ยาชนิดหนึ่ง แล้วรับค่ายากินเปล่าไปทุกคน
เศรษฐีคนนี้
ได้ยินชื่อเสียงหมอชีวก ก็อยากลองดี จึงให้คนเชิญตัวมาจากวัง
ถามว่าคิดค่ารักษาเท่าไร ถ้ารักษาโรคปวดหัวหาย หมอตรวจอาการแล้วบอกว่า
ยินดีรักษาให้ เงินทองไม่ต้องพูด ไม่ให้ก็ได้ ให้ก็เอา แต่ต้องเชื่อหมอ
และให้สัญญา
“สัญญาว่าอะไร ? ” เศรษฐีและเจ้าของไข้พากันถาม
“สัญญาว่า ต้องนอนตะแคงขวาไป 7 เดือน
ภายหลังการผ่าตัด ต้องนอนตะแคงซ้าย 7 เดือน และนอนหงาย
อยู่เฉยๆ อีก 7 เดือน”
หมอบอกคำขาด
“ถ้านอนไม่ได้
ก็รักษาไม่ได้”
เศรษฐีเสียงอ่อน
“งั้นขอต่อรองเพียงอิริยาบถละ
7 วัน รวม 21 วัน”
หมอขู่
“ไม่ทำตามคำสั่ง
ก็มีทางเดียว ตาย”
พอได้ยินคำว่าตายเศรษฐีก็เสียงอ่อน
“ตกลงฉันยอมนอน แต่ละข้างรวมทั้งหมด 21 เดือน”
เมื่อเศรษฐียอมรับสัญญา
หมอจึงสั่งให้จัดห้องพิเศษไว้ห้องหนึ่ง ไม่ยอมให้ใครเข้าไป
สั่งให้เศรษฐีนอนบนเตียง บอกว่าต้องผ่าขมอง เพราะข้างในมีแมลงกัดกินอยู่หลายสิบตัว”
เศรษฐีตกใจแทบสิ้นสติ
ให้รู้สึกปวดขมองมากขึ้น บางขณะเหมือนกับจะแตกออกเป็นเสี่ยง แต่ต้องยินยอมหมอ
เพราะกลัวตาย
หมอลงมือผ่าขมองด้วยความชำนาญ
ผ่าลงไปตอนแรกพบแมลงตัวใหญ่ผัวเมีย 2
ตัว เอาคีบคีบออกมาได้ แล้วค่อยๆ ผ่าสมองส่วนลึกลงไปอีก พบแมลงตัวอ่อนหลายสิบตัว
เอาคีบคีบออกมาได้จนหมด ขมองส่วนใดสกปรก ใช้น้ำยาสมุนไพรล้างจนสะอาด
ส่วนใดใช้ไม่ได้ ก็ขุดออกทิ้ง แล้วเย็บเข้าไว้อย่างเก่า
หมอแสดงความสามารถยอดเยี่ยม
จนคนไข้ไม่รู้สึกเจ็บปวด ตั้งแต่เริ่มผ่าตัดจนกระทั่งเย็บแผลเสร็จ
เสร็จแล้วหมอให้เศรษฐีกินยาอันผสมจากสมุนไพรเป็นระยะ
และบังคับให้เศรษฐีนอนแซ่วอยู่บนเตียงตามสัญญา
เศรษฐีนอนตะแคงขวาข้างเดียวไปได้ถึง
15 วัน
ก็บ่นเมื่อยขบไปทั้งตัว ทำท่าทนไม่ไหว อ้อนวอนหมอว่าจะเปลี่ยนทำได้หรือยัง
ถ้าขืนนอนตะแคงขวาอยู่อย่างนี้ อีกไม่กี่วันคงตาย หมอเห็นเศรษฐีนอนมาได้เวลาพอสมควร
จึงอนุญาตให้พลิกนอนมาข้างซ้ายได้ เศรษฐีได้ใจ ทนนอนตะแคงซ้ายต่อไปอีกราว 7
วัน บ่นเมื่อทำท่าจะทนไม่ไหวเอาอีก หมอเห็นสมควรแก่เวลา
ก็ให้พลิกไปนอนหงาย คราวหลังที่หมอบังคับให้เศรษฐีนอนแซ่วอยู่อีก 7 วัน พอครบกำหนดก็บอกว่าพอแล้ว ไม่ต้องนอนต่อไปอีก แต่นั้นมาโรคปวดหัวของเศรษฐีก็หายขาด
เศรษฐีดีใจให้เงินทองและข้าทาสชายหญิงเป็นรางวัลแก่หมอชีวกเป็นอันมาก
เมื่อหมอลากลับ เศรษฐีสงสัยการรักษาของหมอจึงถามว่า
“ทำไมต้องบังคับให้ฉันนอนตะแคงข้างเดียวตั้งปี และทำไมจึงเอาสัญญาก่อนรักษา”
หมอตอบว่า
“หมอต้องเอาสัญญากับคนไข้ก่อน
เพราะถ้าคนไข้ไม่เชื่อหมอ ไข้จะไม่มีวันหาย ส่วนที่กำหนดให้ 7 เดือน ที่จริงไม่ถึงอย่างนั้น แต่ต้องขู่ไว้
ยิ่งท่านเศรษฐีเป็นคนชอบทำอะไรตามใจตัว ไม่มีใครบังคับ และขี้ตระหนี่เสียด้วย
เพราะฉะนั้นต้องบังคับให้หนัก แล้วผ่อนเอาภายหลัง ประโยชน์ในการรักษาจึงสำเร็จได้”
พระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
ก็สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรเป็นโรดริดสีดวงงอก (โรคพระภคันทละ) มีพระโลหิตออกเปื้อนพระภูษา
พวกสนมเห็นแล้วพากันเยาะเย้ยว่า
บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดูจะประสูติในไม่ช้า
พระราชาทรงละอายจึงโปรดให้อภัยราชกุมารหาหมอมาบำบัด พระกุมารจึงกราบทูลว่า
ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้ายังหนุ่มทรงคุณวุฒิ
เธอจักรักษาพระองค์ได้
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นก็จงสั่งหมอชีวกให้มารักษาเถิด
ดังนั้น เจ้าชายอภัยจึงสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เธอจงไปรักษาพระเจ้าอยู่หัวเถิด
ชีวกหมอหนุ่มรับสนองพระบัญชาว่า ได้พ่ะย่ะค่ะ
แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปยังราชสำนัก
ครั้งถึงแล้วก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคราช แล้วได้กราบทูลขึ้นว่า
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ดูก่อน แล้วได้รักษาโรคริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิสารด้วยการทายาเพียงครั้งเดียว
พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงหายขาดจากโรค
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงหายประชวรแล้ว จึงรับสั่งนางสนมกำนัล 500 นางประดับเครื่องประดับเต็มที่แล้ว
ให้เปลื้องเครื่องประดับออกทำเป็นห่อกองไว้ประทานแก่ชีวก หมอหนุ่มด้วย ตรัสว่าพ่อชีวก
เครื่องประดับทั้งปวงของนางสนม 500 เหล่านี้จงเป็นของเจ้า
ชีวกหนุ่มกราบทูลว่า อย่าเลยพระพุทธเจ้าข้า
ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด
พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้เป็นแพทย์หลวงบำรุงพระองค์และฝ่ายใน
กับบำรุงพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ชีวกโกมารภัจจ์จึงทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า
ข้าพระพุทธเจ้าขอรับหน้าที่ตามพระราชทานอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
หมอชีวกรักษาเนื้องอกในลำไส้
ครั้งนั้น บุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี
เล่นกีฬากายกรรมผาดโผนหกคะแมนป่วยเป็นโรคเนื้องอกในลำไส้ เรียกว่า โรคอันตคัณฐะ
มีอาการคืออาหารที่รับทานเข้าไปในไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะไม่สะดวก (ไม่คล่อง) เพราะโรคนั้น จึงมีร่างกายผ่ายผอมลงไป
ผิวพรรณก็ซูบซีด เหลืองขึ้นมีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น
ท่านเศรษฐีผู้บิดาจึงได้ไปยังพระนครราชคฤห์ เพื่อกราบทูลขอพระบรม ราชานุญาตหมอชีวกนายแพทย์หลวงมารักษาบุตรสุดที่รักของตน
เมื่อไปถึงเมืองราชคฤห์แล้ว
ก็ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคธราชแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะฯ
บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยด้วยเนื้องอกในลำไส้ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระบรมราชโองการสั่งหมอชีวกนายแพทย์หลวง
เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า ด้วยเถิด
พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิดชีวก
เจ้าจงไปพระนครพาราณสี แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีเถิด
หมอชีวกแพทย์หนุ่มทูลว่ารับสนองพระบรมราชโองการว่า ขอเดชะฯ
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปตามรับสั่ง แล้วจึงได้เดินทางไปพระนครพาราณสีพร้อมกับเศรษฐี
ครั้นไปถึงแล้วได้เข้าไปหาบุตรเศรษฐีสังเกตอาการดูรู้ได้ว่าจะรักษาอย่างไร
จึงให้คนออกไปเสียกั้นม่านมัดบุตรเศรษฐีไว้กับเสา
แล้วให้ภรรยาของบุตรเศรษฐียืนอยู่ข้างหน้า แล้วก็ผ่าหนังท้องนำเนื้องอกที่ลำไส้ออกแสดงแก่ภรรยาของเขาแล้วตัดเนื้องอกในลำไส้ออก
สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บหนังท้อง ทายาสมานแผล
ต่อมาไม่นานบุตรเศรษฐีก็หายเป็นปกติ
ท่านเศรษฐีผู้บิดาได้ให้รางวัลในการรักษาแก่หมอชีวกแพทย์หนุ่มเป็นเงิน 16,000
กหาปณะ หมอชีวกรับเงินแล้วเดินทางกลับสู่พระนครราชฤคห์
หมอชีวกรักษาโรคผอมเหลือง
ณ กรุงอุชเชนี มีกษัตริย์ผู้ครองเมืองทรงพระนามว่า “พระเจ้าจัณฑปัชโชตราชา”
ได้ทรงประชวรเป็นโรคปัณฑุปลาสคือโรคผอมเหลือง ได้มีแพทย์ชั้นผู้ใหญ่
ชื่อเสียงโด่งดังหลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทรงจ่ายพระราชทรัพย์ไปเป็นอันมาก ดังนั้น
พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงทรงส่งราชทูตถือสาส์นไปยังพระราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร ณ
พระนครราชคฤห์ มีความว่า “หม่อมฉันเจ็บป่วยด้วยโรคผอมเหลือง
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวกด้วยเถิด เขาจักรักษาหม่อมฉัน”
พระเจ้าพิมพิสาร ได้ดำรัสสั่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่า “ไปเถิดชีวก
เจ้งจงไปเมืองอุชเชนี เพื่อรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชตเถิด”
หมอชีกวโกมารภัจจ์นายแพทย์หลวงทูลรับสนองพระบรมราชโองการ
แล้วได้เดินทางไปยังเมืองอุชเชนี เข้าไปในพระราชสำนัก
แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ตรวจพระอาการต่างๆ แล้วกราบทูลถามทว่า
จะทรงดื่มเนยใสที่เคี่ยวเป็นยาได้หรือไม่
พระเจ้าจัณฑปัชโชตสั่งห้ามว่า อย่าเลย ชีวก
ท่านประกอบยาไม่ใส่เนยก็อาจรักษาเราให้หายโรคนี้ได้
หรือหากว่าอาจรักษาเราให้หายโรคนี้ได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด
เพราะเนยใสเป็นของน่ารังเกียจ น่าสะอิดสะเอียนสำหรับฉัน
หมอชีวกคิดว่า โรคอย่างนี้ไม่อาจจะเว้นเนยใสได้
จึงได้เคี่ยวเนยใสกับยาต่างๆ ให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด คือ
น้ำยาต้มแก่นไม้เป็นต้น เพื่อลวงให้เสวย และคิดเตรียมการหนีไว้ด้วย
แล้วจึงเข้าไปกราบทูลว่า ธรรมดาว่า หมอจำต้องขุดรากไม้รวบรวมยาบางอย่างฉับพลัน
จึงขอประทานพระบรมราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบท
ขอพระองค์จงทรงมีพระบรมราชวโรกาสตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า
หมอชีวกปรารถนาจะไป ก็ขอให้ไปได้ด้วยพาหนะได้ทุกอย่าง โดยประตูทุกประตูและทุกเวลา
ตลอดถึงเวลากลับเข้ามาด้วยดังนี้เถิด
พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้มีพระราชดำรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายตามที่หมอชีวกกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตไว้ทุกประการ
หมอชีวกได้ถวายยาเข้าเนยใส พระราชาเสวยแล้ว
ก็ไปโรงช้างขึ้นช้างพังชื่อว่าภัททวดี เดินทางได้วันละ 50 โยชน์
หนีออกจากกรุงอุชเชนี
ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้เสวยยาเข้าเนยใส ครั้นยาที่ทรงเสวยย่อย
ได้ทำให้ทรงเรอขึ้น จึงทรงทราบว่า ได้ถูกหมอชีวกหลอกให้ดื่มเนยใสแล้ว ทรงกริ้วมาก
จึงมีรับสั่งแก่พวกมหาดเล็กให้ออกค้นหาหมอชีวกแล้วจับกุมมาโดยเร็ว
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกได้ขึ้นช้างพังชื่อภัททวดีหนีไปแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า
พระเจ้าจัณฑปัชโชตดำรัสสั่งกากะมหาดเล็กซึ่งอาศัยเกิดกับอมนุษย์
เดินทางได้วันละ 60 โยชน์ว่า กากะเจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมาด้วยอ้างว่า
ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ท่านเดินทางกลับ ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้แลมีมารยามาก
เจ้าอย่ารับวัตถุอะไรๆ ของเขาเป็นอันขาด
กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันหมอชีวกโกมารภัจจ์
ซึ่งกำลังรับประทานอาหารมื้อเช้าในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี
จึงได้เรียนแก่หมอชีวกว่า ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัว
มีรับสั่งให้เชิญกลับไปกรุงอุชเชนี
หมอชีวกตอบว่า กากะผู้เจริญ ท่านจงคอยสักครู่
ขอให้เรารับประทานอาหารเช้าเสร็จก่อนเถิด
และข้าพเจ้าขอเชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด
กากะมหาดเล็กกล่าวว่า ท่านอาจารย์ ช่างเถอะ
พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่าขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้มีมารยามากอย่ารับวัตถุอะไรจากเขา
ทันใดนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้แซกยาทางเล็บพลางเคี้ยวมะขามป้อม
และดื่มน้ำรับประทาน แล้วได้ลองเชื้อเชิญกากะมหาดเล็กว่า
เชิญท่านกากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทานด้วยเถิด
กากะมหาดเล็กคิดว่า หมอคนนี้กำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทาน
คงไม่มีอะไรจะทำให้เกิดโทษแน่ จึงเคี้ยวมะขามป้อมครึ่งผล และดื่มน้ำรับประทาน
มะขามป้อมครึ่งผลที่กากะเคี้ยวกินนั้นเองได้ระบายอุจจาระออกมาในทันที ณ ที่นั้นเอง
เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น กากะมหาดเล็กจึงเรียนถามหมอชีวกว่า ท่านอาจารย์
ชีวิตของข้าพเจ้าจะรอดไปได้หรือไม่
หมอชีวกตอบว่า กากะ อย่าเลย ท่านจักไม่มีอันตรายใดๆ
แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรี้ยวกราดมาก จะถึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียได้ เพราะเหตุนั้น
เราจะไม่กลับแน่ แล้วมอบช้างพังภัททวดีคืนให้แก่กากะมหาดเล็ก
แล้วเดินทางไปพระนครราชคฤห์ รอนแรมไปโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์แล้วได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
กราบทูลเรื่องราวนั้นทุกประการ
พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า หมอชีวก
การที่เข้าไม่กลับไปนั้นชื่อว่าได้ทำถูกต้องแล้ว เพราะพระราชาองค์นั้นเหี้ยมโหดมาก
จะพึงรับสั่งให้สำเร็จโทษเจ้าเสียก็ได้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตครั้นเสวยยาขนานนี้แล้ว ก็ทรงหายประชวร จึงทรงส่งราชทูตไปที่สำนักหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่าขอเชิญหมอชีวกมากรุงอุชเชนีเถิด
เราจักให้พร
หมอชีวกกราบทูลตอบไปว่า ขอเดชะฯ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ต้องไปก็ได้ ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงโปรดอนุสรณ์ถึงความดีของข้าพระพุทธเจ้า
พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงระลึกถึงความดีของหมอชีวก
จึงโปรกส่งผ้าสิเวยยกะซึ่งเป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม
เป็นผ้าที่ทอจากเมืองสีพีคู่หนึ่งไปประทานให้แก่หมอชีวก หมอชีวกคิดว่า ผ้าคู่นี้
พระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นสมควรจะใช้
ส่วนใครอื่นไม่ควรอย่างยิ่งเพื่อใช้ผ้าสิเวยยกะคู่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยโอสถถ่าย
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระกายไม่สบาย หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ
คือ มีอาการผูกไม่ถ่าย พระองค์มีพระประสงค์จะเสวยยาระบาย (ฉันยาถ่าย)
จึงรับสั่งกะพระอานนท์ว่า อานนท์
กายของเราตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งของอันเป็นโทษ ตถาคตต้องการฉันยาถ่าย
พระอานนท์ก็ไปแจ้งแก่หมอชีวก หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ประกอบยาระบายถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเสวยยาระบายแล้ว
ไม่นานนักพระพุทธองค์ก็มีพระกายสำราญเป็นปกติ
กราบทูลขอพร
ครั้นแล้ว หมอชีวกจึงถือผ้าสิเวยยกะคู่นั้นไปสำนักพระพุทธเจ้า
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าจะขอประทานพรต่อพระองค์สักอย่างหนึ่ง ณ บัดนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก
หมอชีวกกราบทูลต่อไปว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ
พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
จงว่ามาเถิด ชีวก
หมอชีวกกราบทูลว่า
พระผู้มีพระภาคและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติอยู่
ผ้าสิเวยยกะของข้าพระพุทธเจ้าคู่นี้พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน
เป็นผ้าเนื้อดีเสิศประเสริฐ เป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก และของจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวรแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคทรงรับคู่แห่งผ้าสิเวยยกะแล้ว
ครั้นแล้วทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้นแล้วหมอชีวกก็ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป
ทรงมีพระพุทธานุญาตคหบดีจีวร
พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุนั้นแล้ว
ทรงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตคหบดีจีวร
รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร
แต่เราสรรเสริญการยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นอกจากพระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตคหบดีจีวรแล้ว
พระพุทธองค์ยังได้ทรงอนุญาตผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์ ผ้ากัมพล และคหบดีจีวร 6 ชนิดอีกด้วย กล่าวคือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ 1 ทำด้วยฝ้าย
1 ทำด้วยไหม 1 ทำด้วยขนสัตว์ 1 ทำด้วยป่าน 1 ทำด้วยของเจือกัน 1
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์
ครั้นถวายผ้าสิเวยยกะคู่นั้นแล้วได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระองค์แล้วได้เกิดดวงตาเห็นธรรมคือเป็นพระโสดาบัน
ครั้นแล้วก็ได้คิดที่จะถวายสวนมะม่วงที่เรียกว่า อัมพวันของตนให้เป็นอาราม
เพราะเหตุว่า พระเวฬุวันมหาวิหารนั้นอยู่ไกล ส่วนอัมพวันคือสวนมะม่วงของตนอยู่ใกล้กว่า
สะดวกที่จะไปมา จึงได้ทูลถวายสวนมะม่วงของตนให้เป็นอารามคือให้เป็นวัด
และปรากฏว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับที่อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์นี้เป็นบางครั้งบางคราว
ครั้งหนึ่ง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดอัมพวันนั้น
หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เข้าไปเฝ้า และได้กราบทูลว่า ได้ยินเขาพูดกันว่า
หมู่ชนฆ่าสัตว์อุทิศพระสมณโคดม
พระสมณโคดมก็ทรงทราบอยู่และก็เสวยเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าอุทิศอันเรียกว่าอุทิศมังสะนั้น
จึงพลอยเป็น (ปาณาติบาต) กรรมพ่วงอาศัยไปด้วย
ที่เขาพูดเช่นนี้เป็นการพูดจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประกอบอย่างนั้น
หรือว่าเขาพูดเป็นการพูดตู่ด้วยคำอันไม่จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธองค์ตรัสว่า
การที่เขาพูดกันเช่นนั้นมิใช่การพูดตามที่เราตถาคตปฏิบัติเป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง
เพราะว่า เราตถาคตได้กล่าวว่า เนื้อสัตว์ที่ภิกษุไม่ควรบริโภคนั้น
ประกอบด้วยฐานะคือ ด้วยการเห็น ด้วยการได้ยิน ด้วยการรังเกียจสงสัย
การเห็นนั้นคือเห็นเขาฆ่าเพื่อจะเอามาถวาย ได้ยินนั้นคือได้ยินเขาพูดว่า
เขาจะฆ่าเอามาถวาย ได้รังเกียจสงสัยนั้นก็คือ ไม่ได้เห็นไม่ได้ยิน
แต่มีจิตรังเกียจสงสัยว่าเขาฆ่ามาถวาย
เราตถาคตกล่าวว่าเนื้อไม่ควรบริโภคด้วยฐานะทั้ง 3 นี้
และเนื้อควรจะบริโภคนั้นประกอบด้วยฐานะ 3 ซึ่งมีความตรงกันข้าม
คือด้วยไม่ได้เห็น ด้วยไม่ได้ยิน ด้วยไม่ได้รังเกียจสงสัย
ครั้นแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
ได้อาศัยคามนิยมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ โดยเป็นผู้ที่มีใจประกอบด้วยเมตตา กรุณา
มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไปในทิศต่างๆ เป็นผู้มีใจประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม 4 ประการนั้น อันไพบูลย์ อันกว้างขวางไม่มีประมาณ ไม่มีเวร
ไม่มีความคิดเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกทั้งหมดในที่ทุกสถานโดยประการทั้งปวง
ทายกทายิกาเข้าไปหาภิกษุและนิมนต์ด้วยภัตในวันรุ่งขึ้น ถ้าภิกษุประสงค์จะรับนิมนต์
และเมื่อเข้าไปในบ้านตามคำนิมนต์นั้นแล้ว เขาอังคาสด้วยอาหารบิณฑบาต
ภิกษุก็มิได้มีความคิดขอให้ทายกทายิกด้วยบิณฑบาตอันประณีต
ภิกษุฉันบิณฑบาตรนั้นด้วยการพิจารณาเห็นโทษและใช้ปัญญา คือมิได้บริโภคด้วยตัณหา
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีเจตนาความจงใจเพื่อจะเบียดเบียนตน
เพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น หรือว่าเพื่อจะเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้างหรือ
หมอชีวกกราบทูลว่า
ถ้าภิกษุเป็นผู้เจริญพรหมวิหารธรรมทั้งมีการพิจารณาในการบิณฑบาตอย่างนั้น
ก็ไม่เป็นผู้เจตนาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
พระพุทธองค์ตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระภิกษุผู้ชื่อว่าฉันอาหารโดยไม่มีโทษไม่ใช่หรือ
หมอชีวกก็กราบทูลรับว่า
เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ถ้าพระภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติและทำใจได้อย่างนั้น
ก็จัดว่าเป็นผู้ฉันอาหารไม่มีโทษ
หมอชีวกกราบทูลต่อไปว่า ตามที่เคยได้ฟังมาว่าพรหมเป็นผู้ที่เป็นเมตตาวิหารี
คืออยู่ด้วยเมตตา กรุณาวิหารี คืออยู่ด้วยกรุณา มุทิตาวิหารี คืออยู่ด้วยมุทิตา
อุเบกขาวิหารี คืออยู่ด้วยอุเบกขา
ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นพระพุทธองค์ได้ทรงเป็นสักขีพยาน
เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้มีเมตตาวิหารี เป็นต้น
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า บุคคลใดยังมีพยาบาท คือความยังมีความมุ่งร้าย
มุ่งความวิบัติ ด้วยอำนาจของราคะ โทสะ โทหะ อันใด ราคะ โทสะ
โมหะอันนั้นของบุคคลนั้นไม่มีแก่พระพุทธเจ้า เพราะว่าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
บุคคลผู้ที่ฆ่าสัตว์ถวายพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า อันเรียกว่า
อุทิศมังสะนั้น ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญด้วยฐานะ 5 คือ
เมื่อเขาสั่งว่า จงไปนำสัตว์ที่โน้นมา
ก็เป็นผู้ประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นประการแรก
เมื่อเขานำสัตว์นั้นมาด้วยวิธีผูกคอล่ามมาเป็นต้น
ทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์โทมนัสเป็นอันมาก
ก็ชื่อว่าประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นประการที่ 2
เมื่อเขาสั่งว่า จงไปฆ่าสัตว์นี้
ก็ได้ชื่อว่าได้ประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นประการที่ 3
เมื่อสัตว์นั้นกำลังถูกฆ่า ก็ชื่อว่าได้ประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นประการที่
4 และ
เมื่อได้ถวายให้พระตถาคต หรือว่าพระสาวกของพระตถาคตฉัน
ด้วยสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ (สิ่งที่ไม่สมควร) ก็ชื่อว่าได้ประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นประการที่ 5
เมื่อตรัสดังนี้ หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็กราบทูลสรรเสริญพระสุภาษิต
และได้กล่าวรับรองว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ฉันอาหารเป็นกัปปิยะ คือสิ่งที่ควร
ฉันอาหารที่เป็นอนวัชชะ คือสิ่งที่ไม่มีโทษ แล้วได้ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต
พระพุทธเจ้าระหว่างประทับอยู่ในเมืองราชคฤห์ ทรงพระประชวรหลายครั้ง
ได้หมอชีวกปรุงยาถวาย บำบัดพระโรคไว้ทุกคราว
จนถึงคราวอชาตศัตรูกุมารโอรสพระเจ้าพิมพิสารสมคบกับพระเทวทัต
ปล่อยก้อนหินจากยอดภูเขาคิชฌกูฏเพื่อให้ทับพระพุทธเจ้า
สะเก็ดหินแตกกระเด็นกระทบพระบาทถึงห้อโลหิต
ก็ได้หมอชีวกนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยตักกสิลาปรุงยาบำบัดโรคเป็นลำดับมาด้วยประการฉะนี้
อาจารย์มองหน้าศิษย์ด้วยปรานี
“ลองบอกไป ต้นหญ้าชนิดใด ใบไม้ชนิดไหนทำยาได้กี่ชนิด
และอย่างไหนเข้ากระสายยาอะไรไม่ได้เลย” อาจารย์สอบ
คนที่ได้ฟังพอเห็นหมอหนุ่มพูดจริงจัง
จึงนำความไปบอกที่บ้านเศรษฐี ว่ามีหมอหนุ่มคนหนึ่งเดินทางไกล อ้างตัวว่าเก่งนัก
รับอาสารักษาโรคปวดหัว
หมอชีวกอดรนทนไม่ได้
จึงถามเรื่องเอาสำลีซับเนยมาเก็บไว้ทำไม ของสกปรกอย่างนี้ ถ้าขืนเอามาใช้
จะกลายเป็นรังแห่งโรค โรคนี้ยังไม่ทันหาย หมอไม่รับรู้ด้วย
ฝ่ายลูกเขยลูกสะใภ้ของคนไข้ ครั้นรู้ว่าหมอหนุ่มมารักษาโรคหาย
พากันดีใจเรียกหมอเข้าไปให้รางวัล ลูกสาวดีใจที่รักษาแม่หาย ให้รางวัลไป 4 พันกหาปณะ ลูกเขยดีใจที่หมอรักษาแม่ยายหาย ให้รางวัลไปอีก 4 พันกหาปณะ ลูกสะใภ้ดีใจที่แม่ผัวหายจากโรคก็ให้รางวัลหมอไปอีก 4 พัน หมอรวมเงินทองได้แล้วลาเศรษฐีและชาวเมืองสาเกต
ออกเดินทางตรงไปยังกรุงราชคฤห์
ราชสำนัก
อยากทดลองความรู้หมอดูสักครั้ง แต่ไม่มีโอกาส อยู่มาวันหนึ่ง
บังเอิญลูกชายเศรษฐีในเมืองราชคฤห์คนหนึ่งเป็นโรคปวดท้องมาหลายปี
เศรษฐีพ่อได้ยินกิตติศัพท์เรื่องหมอสำเร็จจากมหาวิทยาลัยตักกสิลา
มาประจำอยู่ในราชสำนัก จึงทูลขออนุญาตให้หมอไปรักษา ทางราชสำนักอนุญาตให้
เพื่อลองดูฝีมือหมอ
อยู่ต่อมา
มีคนไข้อีกรายหนึ่ง เป็นเศรษฐีขี้ตระหนี่จัด อยู่ในเมืองราชคฤห์นั่นเอง
เป็นโรคปวดหัวหนัก รู้สึกเหมือนมีตัวแมลงเจาะเข้าไปอยู่ในขมอง เศรษฐีกลับตาย
แต่ขี้เหนียว จึงรักษาโรคด้วยหมอกลางบ้านมาหลายคน หมอที่มารักษาให้ยาชนิดหนึ่ง แล้วรับค่ายากินเปล่าไปทุกคน
พอได้ยินคำว่าตายเศรษฐีก็เสียงอ่อน
เศรษฐีนอนตะแคงขวาข้างเดียวไปได้ถึง
15 วัน
ก็บ่นเมื่อยขบไปทั้งตัว ทำท่าทนไม่ไหว อ้อนวอนหมอว่าจะเปลี่ยนทำได้หรือยัง
ถ้าขืนนอนตะแคงขวาอยู่อย่างนี้ อีกไม่กี่วันคงตาย หมอเห็นเศรษฐีนอนมาได้เวลาพอสมควร
จึงอนุญาตให้พลิกนอนมาข้างซ้ายได้ เศรษฐีได้ใจ ทนนอนตะแคงซ้ายต่อไปอีกราว 7
วัน บ่นเมื่อทำท่าจะทนไม่ไหวเอาอีก หมอเห็นสมควรแก่เวลา
ก็ให้พลิกไปนอนหงาย คราวหลังที่หมอบังคับให้เศรษฐีนอนแซ่วอยู่อีก 7 วัน พอครบกำหนดก็บอกว่าพอแล้ว ไม่ต้องนอนต่อไปอีก แต่นั้นมาโรคปวดหัวของเศรษฐีก็หายขาด
เศรษฐีดีใจให้เงินทองและข้าทาสชายหญิงเป็นรางวัลแก่หมอชีวกเป็นอันมาก
เมื่อหมอลากลับ เศรษฐีสงสัยการรักษาของหมอจึงถามว่า
หมอตอบว่า
“หมอต้องเอาสัญญากับคนไข้ก่อน
เพราะถ้าคนไข้ไม่เชื่อหมอ ไข้จะไม่มีวันหาย ส่วนที่กำหนดให้ 7 เดือน ที่จริงไม่ถึงอย่างนั้น แต่ต้องขู่ไว้
ยิ่งท่านเศรษฐีเป็นคนชอบทำอะไรตามใจตัว ไม่มีใครบังคับ และขี้ตระหนี่เสียด้วย
เพราะฉะนั้นต้องบังคับให้หนัก แล้วผ่อนเอาภายหลัง ประโยชน์ในการรักษาจึงสำเร็จได้”
พระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น