วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ ๒ วิทยานิพนธ์

บทที่ ๒
ชีวประวัติ  ข้อวัตรปฏิบัติ  แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์
                           (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ผู้วิจัยได้เสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล  เป็น  ๓  ขั้นตอนดังนี้
                    ๒.๑ ชีวประวัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  
          ๒.๒  ข้อวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)      
               ๒.๓  แนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๒.๑ ชีวประวัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 
          พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นพระสงฆ์นักพัฒนาสังคมหลายด้านในจังหวัดสุราษฎร์ธานีรูปหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาสังคมและพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาพระพุทธศาสนานั้น  ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นไปทั่วโลกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  โดยวิธีคิดหลายมิติในการเผยแผ่หลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนประสบความสำเร็จด้วยดี  บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เด่นชัดของท่านจนเป็นที่กล่าวถึงและยึดถือเป็นตัวอย่างทั่วไป
                    ชีวประวัติการปฏิบัติและบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงเป็นสื่อที่ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะทำให้ทราบถึงชีวประวัติ    ข้อวัตรปฏิบัติ   และแนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างละเอียดโดยตรงแล้ว  ยังเป็นการช่วยเผยแผ่เกียรติคุณพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้อีกด้วย  ซึ่งท่านในฐานะพระสงฆ์นักพัฒนาพระพุทธศาสนา  ได้สร้างคุณประโยชน์ไว้ให้แก่สังคมโลกและพระพุทธศาสนาไว้อย่างมากมาย  อีกทั้งได้เป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี     ชีวประวัติการปฏิบัติและบทบาทพัฒนาของบุคคลย่อมมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ  และมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพียงแต่จะศึกษาอย่างลุ่มลึก การศึกษาวิเคราะห์บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ผู้วิจัยได้จำแนกประเด็นศึกษาชีวประวัติมีประเด็นดังต่อไปนี้
               ๒.๑.๑  ชีวประวัติก่อนดำรงสมณะเพศ
               พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  หรือ  เงื่อม  พาณิช  ก่อนที่จะอุปสมบทในทางพระพุทธศาสนา  ผู้วิวัยได้ศึกษาวงศ์ตระกูล  ชาติภูมิ  การศึกษา  ชีวิตครอบครัว  อุปนิสัยและบุคลิกภาพ  ก่อนดำรงสมณะเพศของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  แต่ละประเด็นปรากฎรายละเอียดดังต่อไปนี้
               ๑) วงศ์ตระกูล
                    บรรพบุรุษ
               บรรพบุรุษทางฝ่ายบิดามาจากเมืองจีน[๑]  จากมณฑลฮกเกี้ยน  แต่เดิมแช่โข่ว หรือ ข่อ  ออกเสียงแต้จิ๋วเป็นแช่โคว้  ต่อมามีพระราชบัญญัตินามสกุลในราชกาลที่ ๖  พวกข้าราชกาลเขาเปลี่ยนให้เป็นนามสกุล  พานิช  เพราะตอนนั้นบ้านที่ค้าขายมีแต่บ้านโยม  ส่วนทางโยมมารดาเป็นคนไทย  เป็นชาวท่าฉาง  แม่เกิดที่ท่าฉาง    ยายหรือทวดก็เกิดที่ท่าฉาง    เตี่ยเกิดพุมเรียง  ก่งและทวดก็มาอยู่พุมเรียงนานแล้ว  เป็นชาวพุมเรียงไป 
                    ๒) ชาติภูมิ
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เกิดที่พุมเรียง[๒]  ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ปี  ๒๔๔๙  วันอาทิตย์ที่  ๒๗  พฤษภาคม  ตรงกับวันขึ้น  ๗  ค่ำ  เดือน  ๗  ปี  มะเมีย  โยมมารดา  ชื่อเคลื่อน  โยมบิดา  ชื่อเซี้ยง  น้องชายของแกคืออาของผม  คนหนึ่งชื่อเสี้ยง  อีกคนชื่ออั้น
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มีพี่น้องด้วยกัน  ๓  คน    เดิมผมชื่อเงื่อม  รองลงไปชื่อยี่เกย  คือนายธรรมทาส  น้องหญิงชื่อกิมช้อย  แต่งงานออกไปอยู่ทางบ้านดอน  ใช้นามสกุลสามีว่า  เหมะกุล  พี่น้องห่างกันสามปีทั้งสองช่วง




                    ๓) การศึกษา
          ชีวิตเด็กวัด
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ  ๘-๙-๑๐ ปี  เรียนหนังสือ  ก ข ก กา  กระทั้งมูลบทบรรพกิจ[๓] กันที่วัด  สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียม  เด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น  แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูงๆ  จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ  ให้พระคอยดูแลเรื่องอาหารการกิน  คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย  แล้วให้ได้เรียนหนังสือ  ได้รับการอบรมบ้าง  ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์  เรื่องอุปัฏฐากพระเป็นเวรผลัดกันตักน้ำ  ทำสวนครัว  ซึ่งต้องทำกันทั้งนั้น
                     มีอีกธรรมเนียมหนึ่งที่กันทุกวัดทุกวา  เป็นการฝึกเด็กวัดให้เป็นคนเฉลียวฉลาด  เล่นกันในหมู่เด็กวัดรวมทั้งพระเณรด้วยโดยไม่ต้องให้ใครจัดให้  มันจะตั้งประเด็นขึ้นมา  เอ้าวันนี้เรามาพูดเรื่องหุงข้าวใครจะเล่าก่อน  มันต้องเล่าวิธีหุงข้าวว่าทำอย่างไร  เด็กทั้งหลายก็คอยฟัง  คนโง่ๆหน่อยมันอาจจะเริ่มต้นว่า  กูก็เอาข้าวสารใส่หม้อตั้งบนไฟ  เด็กนอกนั้นก็จะชวนกันค้านว่า  มึงจะไม่ได้เข้าไปในครัวสักทีจะทำได้อย่างไรละ  อย่างนี้เป็นต้น  ถ้ามีช่องให้ชักค้านได้มากๆ  มันก็ต้องให้คนอื่นเล่าเวลาถูกค้านได้ทีก็จะเฮกันที  ในที่สุดมันจะต้องได้เล่าถึงขั้นตอน  ทุกขั้นตอนจนไม่มีอะไรบกพร่อง  เหมือนกับการบรรยายของนักประพันธ์  ละเอียดถี่ยิบไปหมด  มันไม่เป็นเรื่องหนังสือโดยตรง  แต่ว่ามันเป็นเรื่องสร้างความเฉลียวฉลาดแยะทีเดียว  บางเรื่องก็แสดงเชาว์  มันเป็นโรงเรียนที่ทำให้คนฉลาดโดยไม่รู้สึกตัว  ส่วนเรื่องผู้หญิงนั้นเกือบจะไม่มี  กิเลสที่มาล่อเด็กในทางกามารมณ์ไม่ค่อยมี  แต่มีเรื่องดีเรื่องเด่นเรื่องดังทั้งนั้น  แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว  เพราะมันไม่มีเด็กนอนวัดกัน  มันขาดตอนเสียแล้ว
                    เด็กจะต้องไม่บิดพลิ้ว  ทำการทำงานตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ  วิธีบางอย่างที่บ้านมีไม่ได้  แต่ที่วัดมีได้  เช่น  นอนสายไม่ได้  ถ้านอนสายถูกเอาน้ำสาด  เพื่อนมีสิทธิ์จะเอาน้ำสาดลงไปให้เปียกหมด  ทีนี้อย่างไรเรียกว่านอนตื่นสาย  มันก็ต้องบัญญัติขึ้นมาว่า  เมื่อไก่ลงจากคอนแล้ว    ลงมาอยู่กลางดินแล้วยังนอนหลับอยู่  อย่างนี้เรียกว่านอนสายเอาน้ำสาดได้  ทีนี้ถ้าจะเล่นแกล้งกันทำอย่างไร  ก็ไล่ไก่ให้ลงก่อน  ๒-๓ ตัว  แล้วก็เอาน้ำสาดเพื่อน  มันเป็นเรื่องฝึกฝนกันหลายด้าน  ทั้งความเฉลียวฉลาด  การงาน  ความสนุกสนาน  แล้วมันยังมีเรื่องพิเศษ  ที่ทำให้พ่อแม่พอใจ  ที่จะให้ลูกอยู่วัด เพราะมันทำนั่นทำนี่เป็นขึ้นหลายอย่าง  เช่น  ทำจักรสาน  เป็นต้น  การข่มเหงรังแกกันมันก็มีน้อยมาก  เพราะกลัวอาจารย์

                    การเรียนหนังสือ
                    การเรียนหนังสือนั้น พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไม่รู้สึกว่าเรียนเก่ง  แต่สอบได้ไม่เคยตก  แต่เรียนไม่ค่อยสนุกแรกๆไปคิดถึงบ้าน  ยังไม่ทันหยุดตอนเที่ยงก็คิดถึงบ้าน  เศร้า  คิดถึงบ้าน  เหมือนอย่างกับเราไปเสียจากพ่อแม่  มันไม่สนุกสอบซ้อมสอบไล่พอทำได้

                    วิธีการอ่านหนังสือ
                   อ่านลวก  คืออ่านหนังสือ  อ่านหยาบอ่านเอาแต่ใจความลวกๆ  ไม่ค่อยได้อะไรนักมีนิสัยหยาบๆ  ไม่ได้อ่านถึงขนาดขีดเส้นใต้หรือว่าจดบันทึก  เพราะมีความอวดดีว่าไอ้เรื่องอย่างนี้มันรู้กันอยู่แล้วตรงๆ กับที่เรารู้  ไม่ต้องขีดเส้นใต้ถ้ามีก็น้อยเต็มที

                    การศึกษาพระไตรปิฎก
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ออกมาที่กรุงเทพฯ  ด้วยเจตนาข้อใหญ่ก็คือ  เพื่อจะปฏิบัติธรรมมันก็ปรากฏว่า  ความรู้ไม่พอ  และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า  ที่เขาพุดๆ สอนๆ กัน  แม้จะมีบ้าง  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็ไม่เห็นด้วย   เลยจำเป็นต้องค้นหาหลักเอาเอง  จึงทำให้ต้องไปสนใจกับสิ่งที่เรียกว่าปริยัติ  แต่ไม่ใช้เพื่อเป็นนักปริยัติ  หากเพื่อจะเก็บเอาหลักธรรมมาสำหรับใช้ปฏิบัติ  ทีนี้ต้องช่วยตนเอง  จึงทำให้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องค้นเอาจากพระไตรปิฎกด้วยตนเอง  ถึงแม้สมัยนั้นเขาจะมีพระไตรปิฎกแปลกันอยู่บ้างก็เล็กน้อยมาก    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นคนที่ชอบช่วยตนเองมากกว่า  จึงขอสมัครค้นคว้าด้วยตนเอง  เพื่อเก็บเอาหลักธรรมะที่จะอาศัยได้นั้นมาเป็นหลักปฏิบัติ  ซึ่งหลักเหล่านี้ก็ได้มาตามสมควร  สำเร็จรูปออกมาเป็นหนังสือที่เรียกว่า  ตามรอยพระอรหันต์  และได้คัดเลือกเอาพระไตรปิฎกส่วนหรือสูตรที่ควรจะเผยแผ่มาแปล  ลงมาหนังสือพิมพ์ระพุทธศาสนา

                    ศึกษาศาสนาของฝ่ายอื่นๆ
                    ศึกษาฝ่ายเซ็น
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ตอนแรกท่านก็มุ่งมั่นอยู่แต่เฉพาะพระไตรปิฎกเท่านั้น  แต่เมื่อได้อ่านหรือได้พบเรื่องของฝ่ายอื่น  เช่น  ฝ่ายเซ็น  เป็นต้น  มันกลายเป็นพบว่ามันมีประโยชน์เหมือนกัน  มันใช้ประกอบการศึกษาได้ดีโดยเฉพาะอย่างเซ็นนั้น  มันเป็นเทคนิคของการรวบรัดที่สุด  ทำพร้อมกันไปในคราวเดียวทั้งสมถะและวิปัสสนา  และยังมีพิเศษที่ว่าสามารถใช้คำพูดที่คมคายที่สุด  เมื่อพบแบบอย่างแล้วพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็เลยได้มีความสนใจด้วย  และพยายามเอามาใช้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
                    ประกอบกับนิสัยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ชอบศึกษาอย่างไม่มีขอบขีดจำกัดอยู่แล้วก็เลยเป็นไปได้โดยง่าย  ที่จะศึกษาขยายวงกว้างออกไป  เพราะเซ็นนั้นเป็นผู้คัดค้านล้อเลียนมหายาน ฉะนั้นจึงเอาข้อความในมหายานสูตรของมหายานไปอธิบายใหม่อย่างล้อเลียน  เรื่องสวรรค์  เรื่องสุขาวดี  อย่างนี้  พวกเซ็นไม่ได้ถือว่าสวรรค์อยู่ทางทิศตะวันตก  แต่ถือว่าสวรรค์อยู่ที่การเข้าถึงจิตเดิมแท้  นี่เรียกว่า  เป็นผู้ต่อสู้  ล้อเลียน  ท้าทายมหายาน  การศึกษาเซ็นให้ความรู้ไปในทางปฏิภาณการพูดให้เฉียบแหลมให้คมคาย  ให้ลึกซึ้ง  พูดอย่างเว่ยหล่างน่าฟัง  พูดอย่างนักปราชญ์  ดูตามบันทึกแล้ว  ปรากฏว่าพวกที่ศึกษาเหลาจื้อ  เต๋า มาแล้ว  ก็ยินดีฟังเว่ยหล่างซึ่งเป็นพระไม่รู้หนังสือ

                    การศึกษาฝ่ายมหายาน
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เดิมทีท่านไม่รู้เรื่องของมหายานมาก่อนได้ยินแต่ชื่อ  และได้ยินไปในแง่ที่เป็นฝ่ายร้ายฝ่ายลบว่า  มหายานเขาเพิ่มเติมอะไรขึ้นมามากทำให้ยุ่งยาก  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็อยากรู้ว่ามันคืออะไรบ้าง  มันจริงหรือเปล่า  ก็หาอ่าน  ศึกษา  พิจารณา  ในที่สุดจับเค้าความสำคัญได้ว่า  เขาต้องการจะให้ง่ายขึ้น  สำหรับคนที่ไม่มีการศึกษาชาวบ้านนอกคอกนา  เช่น  พิจารณาพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้งเขาทำไม่ได้มันก็ลดลงมาเหลือออกชื่อท่านก็แล้วกัน  ใครสวดได้  ๘๐,๐๐๐  ครั้ง  ก็เป็นอันว่ารอดตัวไปสวรรค์แน่มันก็น่าเห็นใจ  เพราะว่าเขาจะรักษาชนกลุ่มที่ด้อยการศึกษา  ปัญญาน้อย  เอาไว้ในวงการพุทธศาสนา  ไม่ให้มันแตกคอกออกไปเป็นศาสนาอื่นที่ง่ายกว่า  ฉะนั้นจึงบัญญัติพระพุทธเจ้าเสียมากมายเท่านั้น  ยังไม่พอ  ยังบัญญัติโพธิสัตว์ขึ้นมาช่วยพระพุทธเจ้า  บัญญัติคำราขึ้นมาช่วยโพธิสัตว์  องค์หนึ่งนับเป็นพันเป็นหมื่น
                    มหายานนั้นต้องการขยายออกไปให้ใหญ่  ทางหนึ่งขยายออกไปให้ต่ำ  คือทางให้ประชาชนที่ไร้การศึกษา  แล้วอีกอย่างก็ขยายออกไปในทางสูง  คือในผู้ที่มีสติปัญญามีการศึกษาดี  แต่แล้วก็ไม่พ้นจากที่จะใช้ความเชื่อเป็นใหญ่ใช้ศรัทธาเป็นใหญ่  พระธรรมโกศาจารย์             (พุทธทาสภิกขุ)  จึงพูดว่า  มันไม่มีอะไรสูงกว่า  ลึกกว่า  แปลกกว่าของเถรวาทอยู่นั้นเอง  มหายานเราไม่ค่อยต้องศึกษาอะไรให้มาก  เพราะว่ามันคล้ายๆ  กับเถรวาท  แม้ว่ามหายานชั้นดี  มันก็ไม่มีเรื่องอะไรแปลกออกไปจากเถรวาท  สูตรใหญ่ๆ  กว้างๆ  เช่น  สัทธัมมปุณฑริกสูตร  ใจความสำคัญมันก็ไปอยู่ตรงที่ละอุปาทานในขันธ์ ๕




                    การศึกษาฝ่ายวัชรยาน
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้ศึกษาฝ่ายวัชรญาณมาแต่ไม่ชอบ  ไม่ค่อยได้ศึกษากี่มากน้อย  แล้วก็ยิ่งได้ยินว่ามันมีอะไรพิเศษเกี่ยวกับเรื่องเพศ  เกี่ยวกับเรื่องกามารมณ์  ดังนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็เลยไม่ได้สนใจไม่มีเวลาที่จะประเจียดให้  แล้วการตีความรูปเคารพของวัชรยานที่รูปผู้หญิงกับรูปผู้ชายประกบกันอยู่  โดยอวัยวะเสียบกันนั้น                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เห็นว่ามันเต็มที  จะจริงแท้อย่างนี้หรือไม่ก็ไม่ทราบ  แต่เขาพูดกันอย่างนั้น  ถ้าอุปมากันอย่างนี้  ถือว่าเป็นการตีความกับสิ่งที่เรียกว่า  ไม่คุ้มค่าเวลาเลย  อุปมาที่โลดโผนมากอย่างนี้  มันทำกันลำบาก  บางคนอธิบายว่า  ศรัทธากับปัญญาต้องประกบคู่กัน

                    การศึกษาคริสต์ศาสนา
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  อยากจะรู้ว่าทำไมจึงมีคนนับถือมากและพร้อมกันนั้นก็เกิดสงสัยว่า  ทำไมราชกาลที่ ๖  ที่แต่งเทศนาเสือป่านั้น  จึงประณามไว้อย่างรุนแรงตอนที่ออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา  แล้วมีบาทหลวง (ยอน  อุลลิอานา)  เขียนมา  จะหวังดีหรือหวังร้ายก็ไม่รู้  แต่พาดพิงถึงพุทธศาสนาในลักษณะที่ว่าจะลองเชิง  หรือว่าจะหาช่องโอกาสมาเปรียบเหยียบย่ำ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็เลยศึกษาในแง่ลบ  แล้วตอนนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็รู้คริสต์ศาสนาน้อยมาก  รู้แต่พระเจ้าในความหมายที่เขาใช้ๆ กันอยู่ในภาษาคน  ก็เลยเขียนต่อต้านพระเจ้า  พิมพ์เป็นหนังสือ  ตอบปัญหาของบาทหลวง  ซึ่งตอนหลังก็เป็นมิตรกันเดี๋ยวนี้ตายแล้ว
                    มีนักศึกษาฝ่ายอิสลามเขียนมาทำนองคัดค้านข้อความที่พาดพิงถึงพระเจ้า  ในลักษณะที่เป็นการจ้วงจาบ  หนังสือพิมพ์ของชาวคริสต์ก็เขียนต่อต้านเรื่องนี้  แต่ต่อมาเมื่อใช้หลัก             ภาษาคน-ภาษาธรรม  ก็มองเห็นไปอีกทางหนึ่งว่า  พระเจ้าที่สอนอย่างภาษาคนนั้น  มันสอนคนโง่  พระเจ้าควรมีความหมายในภาษาธรรม  สอนคนที่มีสติปัญญา  ตอนหลังๆ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงพูดถึงพระพุทธเจ้าในลักษณะที่มีความหมาย  มีประโยชน์และเข้ากันได้ทุกๆ  ศาสนาเอาพระพุทธเจ้าคุ้มครองโลก
                    สำหรับคริสต์ศาสนาระยะแรกพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  รู้สึกว่าเป็นคู่แข่งโดยแน่นอนจึงต้องรู้เรื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)         อ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลเท่าที่ต้องการจะอ่าน  เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบอยู่ในใจเสมอว่า  ข้อนี้มันตรงเรื่องราวหรือหลักเกณฑ์ในพระพุทธศาสนาอย่างไร  เป็นเรื่องเปรียบเทียบเพื่อทำความเข้าใจกันไม่ต้องรังแกกันมากกว่า
                    การเปรียบเทียบความรู้สึกแท้จริงนั้นทำได้ทั้ง ๒ อย่าง  ทำให้ไม่มีทางพูดให้เข้าใจกันเลยก็ได้  พูดให้มีทางที่จะอะลุ้มอล่วยจะกลมเกลืนกันก็ได้มันแล้วแต่เจตนา  ถ้าจะพูดให้เกลียดชังยิ่งขึ้นก็ทำได้  แต่มันจะมีประโยชน์อะไรในโลกซึ่งมันแคบเข้าๆ  คนต้องมาอยู่ร่วนกันเข้าสัมพันธ์กันแล้วเขาต้องมีศาสนาที่ถูกต้องกับจิตของเรา  ฉะนั้นเราก็ต้องให้อภัย  เดี๋ยวนี้พระธรรมโกศาจารย์     (พุทธทาสภิกขุ)  จึงพูดเสียใหม่ว่าต้องมีทุกศาสนา  ต้องทรงไว้ทุกศาสนาสำหรับคนทุกรูปทุกแบบ  ทุกระดับ
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  กลับมีความมุ่งหมายว่าทุกศาสนาที่มีอยู่ในโลก  จะต้องคงมีอยู่ในโลกต่อไป  สำหรับบุคลบางคนเป็นพวกๆ  ลดหลั่นเป็นชั้นๆ  ลงไป  ก็เลยมองไปถึงข้อที่ว่า  คนจะต้องสัมพันธ์แก่กันและกันในระหว่างคู่ต่างศาสนา  จะเป็นเรื่องการเมืองที่ดี     เรื่องเศรษฐกิจที่ดี  กระทั่งว่าจะต้องแต่งงานกันในระหว่างคนที่ต่างศาสนากัน  เขาจะได้เข้ากันได้อย่างสนิท ไม่เกิดปัญหาขึ้น

                    การศึกษาปรัชญา
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เรารู้สึกว่าปรัชญาในอินเดียนั้นเราเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับพุทธศาสนา  บางอย่างเป็นแบ็คกราวน์ของพุทธศาสนา  และมีชาวอินเดียบางคนอ้างว่า  หลักพุทธศาสนานั้นแยกออกจากเวทานตะ  อย่างนี้ก็ทำให้ต้องศึกษาปรัชญาอินเดีย          เพื่อประโยชน์ให้ผู้รู้พระพุทธศาสนามากขึ้นมาบ้าง  ศึกษาพื่อตอบปัญหาที่ถูกกล่าวหาบ้าง  แล้วก็ทำให้พบตามข้อเท็จจริงที่ว่าบางแง่ไม่ใช่ทั้งดุ้น  บางแง่ก็มีส่วนเป็นรากฐานพุทธศาสนาหรืออย่างน้อยให้รู้จักพุทธศาสนาดีขึ้น  ดังนั้นสมัยหนึ่งแม้จะเป็นระยะสั้นก็ตามเถอะก็เคยทุ่มตัวศึกษาปรัชญาอินเดีย
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  นับถือปรัชญาตะวันตกน้อยมากเพราะว่าไม่มีศรัทธาจึงมักจะดูถูก  เพราะว่ามันไม่ลึกซึ้งสูงสุดไปในทางดับทุกข์  มันเป็นเรื่องของนักคิดธรรมดาสามัญ  หรือคิดไปแต่ในเรื่องธรรมดาสามัญไม่มากในทางที่ดับทุกข์หรือ  เพื่อมรรค  ผล  นิพพาน  ดังนั้นจึงสนใจน้อยมาก

                    การศึกษาวัฒนธรรมตะวันตก
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เห็นว่าเรื่องนี้อยู่ในความรู้สึกมากทีเดียว  เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเสียหายและเป็นเรื่องขัดขวางความเจริญของธรรมะ  แทนที่พุทธบริษัทจะปฏิบัติธรรมะก็หันไปตามก้นฝรั่งกันหมด  ไม่ค่อยเข้าใจถึงโทษของการจัดการ  ศึกษาแบบตามก้นฝรั่ง     ก็คือเรื่องไม่บังคับตนเอง  ไม่สอนให้บังคับตนเองพากันเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเลยให้เด็กๆ  เป็นอิสระไม่บังคับตัวเองอย่างนี้เราเห็นว่าเสียหายอย่างยิ่ง  เด็กเหล่านั้นย่อมไม่เหมาะที่จะรู้ธรรมะวัฒนธรรม  ไม่บังคับตัวเองเป็นปฏิปักษ์โดยตรง  โดยจังๆ  กับพุทธศาสนา  เช่น  การกอดจูบกันตามสาธารณะ   โดยเห็นเป็นการถูกต้องไปเสีย  นี้คือการไม่บังคับความรู้สึก  มันก็มีนิสัยปล่อยตามความรู้สึก  ปล่อยตามกิเลสมันหันหลังให้กับหลักธรรมะ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)   พูดบ้างเฉพาะเมื่อมีอะไรมากระทบความรูสึก  เจตนาที่ค้านโดยตรงหรือหรือตะพืดนั้นก็ไม่มี  ไม่มีแผนการต่อต่านแต่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จะพูดบ้างในเมื่อมันมาขัดขวางกับเรื่องของเราที่จะเผยแผ่ธรรมะ

                    การศึกษาจิตวิทยา         
            เมื่อสวามีสัตยานันทมุนีเขาออกหนังสือ Social Science พักหนึ่งก็สนใจที่เขาพูดถึง ฟรอยด์ว่า  เป็นผู้พูดว่าอะไรๆ ก็ล้วนมีมูลรากมาจากความรู้สึกทางเพศทั้งนั้นมันก็จริงที่สุด พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)   เห็นว่ามันก็มีขอบเขตอยู่เพียงกามาวจรภูมิ  ส่วนพวกที่มีจิตเป็น  รูปาวจรภูมิ  อรูปาวจรภูมิ  มันก็ไม่ค่อยเป็นอย่างนั้นด้วย  และฟรอยด์ก็ไม่รู้เรื่องนี้  รู้แต่เรื่องกาม  กามคือเรื่องของมนุษย์ธรรมดาก็เลยเขียนออกไปอย่างนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)     จึงถือว่า  ฟรอยด์ไม่รู้เรื่อง  รูปาวจรภูมิ  อรูปาวจรภูมิ  คำพูดนั้นจึงถูกครึ่งหนึ่ง

            การศึกษาวิทยาศาสตร์
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)   มีความเห็นว่า  คำว่า  วิทยาศาสตร์  ก็ใช้กันอยู่ในเมืองไทย หมายถึงการเล่นแร่แปรธาตุเป็นส่วนใหญ่  อย่างในตลาดเขาจะมีคำพูดว่าทองวิทยาศาสตร์หรือทองจริงอย่างนี้เป็นต้น  วิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องหลอกลวงและเป็นเรื่องธรรมเทียม  และที่พูดว่าไอ้พวกวิทยาศาสตร์หมายถึงว่าเป็นพวกปลอมๆ  พวกที่สนุกสนาน  พวกเอร็ดอร่อยพวกหลอกลวงทั้งนั้นแหละ  และเกลียดคำว่า  วิทยาศาสตร์  ส่วนใหญ่สมัยนั้นเป็นคำเสียหาย  ไม่ใช่คำที่มีเครดิต
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีความเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาหัวข้อธรรมะต้องการพิสูจน์ทดลองไม่ต้องการคาดคะเนคำนวณ  มันผิดหลักกาลามสูตร  ตรรกเหตุ  นยเหตุ    มันต้องพิสูจน์ทดลองจนทนต่อการพิสูจน์ว่ามันดับทุกข์ได้  เพียงแต่พอใจแล้วว่าพุทธศาสนานี้มันมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์  จะต้องใช้วิธีการอย่างวิทยาศาสตร์  มาแตะต้อง  มาเกี่ยวข้อง  สาเหตุที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ตีความออกเพื่อไปให้เพื่อนๆ รู้ด้วยเท่านั้น
                   

                    การศึกษาวิทยาศาสตร์นั้น พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)   ศึกษาเท่าที่จะเป็นไปได้  เท่าที่ชอบ  เท่าที่พอใจ  แล้วก็มีความหวังอยู่ว่า  จะใช้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ธรรมะ  และจะเผยแผ่ธรรมะให้แก่วิทยาศาสตร์  ซึ่งจะเป็นหมู่ชนที่มีอิทธิพลมาก  ในอนาคตจะต้องทำอย่างไร  จึงศึกษาวิถีทางวิทยาศาสตร์เผื่อๆ เอาไว้
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มองว่าวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่มองเรื่องดับทุกข์  ในจิตใจของคนเสียเลยมองออกข้างนอก  ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อความก้าวหน้าของโลก  อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  แล้วถ้าอย่างนี้แล้ว  มันก็ช่วยให้คนมีกิเลสมากขึ้น  ต้องใช้เวลากลับตัวอีกสักพัก  จึงเอาปัญหาเรื่องดับทุกข์เป็นเรื่องใหญ่  ใช้วิธีหรือวิชาความสามารถทางวิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องมือ  อาจจะไปถึงกับว่าใช้ยากินเพื่อบรรเทาโลภะ  โทสะ  โมหะได้ก็ยังดี  แต่เขาจะคิดหรือไม่ก็ไม่รู้
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ยังคิดอยู่ในใจเสมอว่าพุทธศาสนาจะเผชิญหน้ากับโลกในสมัยวิทยาศาสตร์ได้ถึงที่สุด  คือโลกในอนาคต  เมื่อวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะช่วยโลกได้  ก็เสนอหลักธรรมะหรือธรรมะเข้าไปให้วิทยาศาสตร์สามารถใช้วิทยาศาสตร์ช่วยโลกได้
                    กฎของวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเหตุผล  เพราะสิ่งนี้มี  สิ่งนี้จึงมี  กฏอิทัปปัจจยตามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์อยู่อย่างเต็มที่  แล้วมนุษย์ก็เริ่มสนใจเรื่องต้นเหตุของความทุกข์  ต้นเหตุของวิกฤติการณ์อย่างเต็มที่พบแล้วก็กำจัดหรือควบคุมตามแต่กรณีเรื่องร้ายๆ  ในจิตใจของมนุษย์ก็จะลดลง
                    พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ต้องมีพระเจ้า  ศาสนาที่มีพระเจ้าไม่มีทางที่จะเป็นวิทยาศาสตร์  เพราะอะไรๆ ก็แล้วแต่  พระเจ้าซึ่งมีอารมณ์อย่างบุคคลนี่มันเสียหายมากตอนนี้       ถ้าพระเจ้าเป็นอย่างนั้นจริงพระเจ้าก็ต้องสร้างโลกดีกว่านี้  ช่วยสร้างไม่ให้โลกมีปัญหา

                    การศึกษาโหราศาสตร์
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มองว่าเดี๋ยวนี้โหราศาสตร์สมมตติว่าวันนั้นเป็นเทวดาองค์นั้น  วันนี้เป็นเทวดาองค์นี้  ดาวนั้นเป็นเทวดาองค์นั้น  ดาวพุทธ  ดาวพระเกตุ  ดาวพระศุกร์  ดาวราหู  ดาวอะไรว่ากันไปตามแบบนั้น  ดาราศาสตร์น่าจะเป็นวิทยาศาสตร์โหราศาสตร์ไม่ใช่แรงของดวงดาว  จะสู้แรงของกรรมคือการกระทำได้หรือ  การกระทำที่ถูกต้องสำคัญเหนือสิ่งใดอื่น  แต่เขาก็แย้งแม้แต่ทำให้ถูกต้องมันก็ยังไม่ได้ผล  ก็เลยหันไปหาไสยศาสตร์  เขาทำดีที่สุดถูกต้องที่สุดตามหลักวิชามันก็ยังขาดทุน  ที่จริงมันไม่ดูให้ดี  มันมีอะไรแฝงอยู่ในนั้นที่ไม่ถูกต้อง  แฝงอยู่ในนั้นแล้วก็มองไม่เห็น  ก็เข้าใจว่าเราทำถูกต้องหมดทุกอย่างแล้วมันก็ยังไม่สำเร็จหรือยังขาดทุนอยู่  และพวกนี้ก็ไม่ได้ค้นคว้า  ศึกษาในส่วนที่มันยังไม่ถูกต้อง  ไม่ได้ค้นคว้าศึกษาเท่าไร
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มองว่าเรื่องไสยศาสตร์นี้มันสำคัญ  ตรงที่เวลาผิดหวังก็ต้องนึกถึงสิ่งที่เข้าใจไม่ได้  ถ้าคนที่ศึกษาธรรมะให้มาก  ให้มากเท่าๆ กับการศึกษาวิทยาศาสตร์นี่คงจะดีมาก  แล้วมันก็ไม่เป็นอย่างนั้น
                    การศึกษาเรื่องโบราณคดี
                    มีมูลเหตุมาจากการที่เมืองไชยาเต็มไปด้วยหลักฐานทางโบราณคดีทางประวัติศาสตร์พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงอดสนใจด้วยไม่ได้  ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโบราณคดีสมัยมาเป็นครูสอนนักธรรม  จนกระทั้งพิมพ์หนังสือ  แนวสังเขปโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอนขึ้นมา
                    สมัยเป็นครูสอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยา  เมื่อพรรษาที่ ๔  ปี ๒๔๗๓  ระหว่างพรรษา  มีเจ้าหน้าที่โบราณคดีคนนั้นคนนี้  โดยเฉพาะหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์  แล้วพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็ได้ยินได้ฟังเขาพูดกันเรื่องนั้นเรื่องนี้ฟังดูมันก็น่าสนใจ  ในที่สุดจับเค้าเงื่อนเรื่องศรีวิชัยอย่างใหญ่โต  อย่างมโหฬาร  อย่างมีเกียรติ  ก็เป็นธรรมดาอยู่นั้นเองที่ต้องสนใจบ้าง  เพราะว่าเป็นเรื่องบ้านเกิดเมืองนอนก็ลอบเข้าไปดู  เข้าไปสังเกต  เข้าไปออกความคิดเห็น  มันเป็นเรื่องก่อหวอดทั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  แล้วพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็มีนิสัยชนิดที่ทำอะไรก็มักจะเอาจริงเอาจัง  ก็เป็นบ้าพักหนึ่งจนกระทั้งพิมพ์หนังสือแนวสังเขปโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอนขึ้นมาแล้วยังรวบรวมไว้อีกมากพอ  แต่ว่าเดี๋ยวนี้เหนื่อยแล้วหากว่าจะเขียนก็เขียนได้อีกมากเท่าตัว
                    ก่อนโน้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ชอบโบราณคดีขวนขวายรวบรวมไว้อย่างเดี๋ยวนี้ก็ยังเก็บไว้รู้สึกว่ามันจะไม่คุ้มค่ากับเวลา  คือไม่ดับทุกข์จัดโบราณคดีเป็นวิชาที่ไม่ใช่เป็นไปเพื่อดับทุกข์  มันเหมือนอภิธรรมเพ้อเจ้อทั้งนั้นก็เลยรามือ  พวกที่เคยเล่นกันมา มารบเร้ามาขอให้เขียนต่อ  คือหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ  รัชนี  มาทุกปี  ถามทุกปี  ยุให้เขียนต่อ                           พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็ไม่อยากให้เขาผิดหวังหรือว่ามีความรูสึกไปในทางเป็นทุกข์ก็บอกแกว่ายัง  ยังไม่กล้าบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่ชอบเสียแล้วเกลียดเสียแล้วไม่กล้าบอก  เดี๋ยวนี้            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เห็นเป็นเรื่องไม่คุ้มค่าเวลาแต่ก็ยังเสียดายวิชาความรู้ที่รวบรวมเป็นประโยชน์แก่คนพวกนี้  แต่เกรงว่าคนชั้นหลังก็มายึดถือเสียเวลาพลอยเสียเวลาเหมือนอย่างพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็ต้องรับบาปในส่วนนี้ไป 
                    เรื่องพวกนี้เป็นสมมติฐานที่ต้องเปลี่ยนไปตามหลักฐานที่คุดค้นพบใหม่ๆ  การติดตามเสียเวลามากต้องใช้เวลาพอๆ  กับศึกษาพระไตรปิฎกทั้งหมดพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไม่มีเวลาพอ  เดี๋ยวนี้เบื่อหมดวิชาโบราณคดีไม่ดับทุกข์
                   


                    คัมภีร์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                    พระไตรปิฎก   
                    พระไตรปิฎกนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ถือเป็นหัวใจเป็นชุดสำคัญที่สุดแล้วก็จำเป็นจะต้องมีชุดอธิบายพระไตรปิฎกคือ  อรรถกถา  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องมีอรรถกถาเท่าที่จะมีได้  แล้วก็มีพระไตรปิฎกที่ฝรั่งแปลเพื่อเอามาเทียบเคียงคำแปลของ     พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง

                    คัมภีร์ชั้นพระบาลี
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  สนใจพระบาลี (คัมภีร์ชั้นพระบาลี  หมายถึงพระไตรปิฎก  ซึ่งเป็นพุทธวจนะ  เรียกย่อๆ  ว่า  พระบาลี ) ก็เพราะว่า  เรื่องที่มันจะแน่นอนเด็ดขาดชัดแจ้งนั้นมันมีอยู่ในคัมภีร์ชั้นบาลี  หรือชั้นพระไตรปิฎก  อีกความหมายหนึ่งการศึกษาในโรงเรียนทั่วไปนั้น  เขาจัดให้เรียนคัมภีร์ชั้นอรรกถา  (คัมภีร์ที่แต่งโดยพระอาจารย์รุ่นหลัง  เพื่ออธิบายพระบาลีอีกทีหนึ่ง)  เพื่อจะได้ไปอ่านพระบาลี  แต่นักเรียนนักศึกษาไม่ได้สนใจในตัวพระบาลีเพราะไม่มีอะไรบังคับ  ทั้งนี้เพราะการสอบไล่นั้น  สอบตามหลักสูตรที่คัมภีร์อรรถกถา  เพราะใช้เป็นหลักสูตร  นักเรียนก็ต้องสนใจแต่อรรถกถา  แต่ถ้าพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องการรู้เรื่องที่เป็นหลัก  ก็ต้องสนใจพระบาลีไตรปิฎก  ชั้นบาลีอาจจะยากหรือสูงเกินไป  ชั้นอรรถกถามีเรื่องปฏิหาริย์หรือเรื่องทำนองที่อาจจะเอามาขยายให้เข้ารูปแบบกับไสยศาสตร์ได้
                    สำหรับคนทั่วไปมันสนุกดีไม่ทำให้ง่วงนอนคัมภีร์อย่างไตรภูมิพระร่วงก็เกิดขึ้นจากการรวบรวมอรรถกถาทั้งนั้น  ประชาชนส่วนใหญ่ก็เรียนรู้กันแต่ในระดับนั้นเพราะมีโอกาสเพียงเท่านั้น  โดยที่จริงแล้วมันไม่ใช่เจตนาของประชาชน พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องการรู้เรื่องโดยตรงก็ต้องค้นจากพระบาลีข้อเท็จจริงมันมีอยู่อย่างนี้
                    ก่อนจะมีความคิดเรื่องสวนโมกข์มันก็มีความคิดเรื่องจะทำหนังสือเป็นเล่มๆ  เป็นหลักฐานมันก็เลยทำให้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  สนใจพระไตรปิฎก

            การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก
                    ความรู้แค่  ป.ธ. ๓ พอศึกษาบาลีหรือพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไม่เคยนึกสงสัยเลยเพราะพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไม่ได้อาศัยแต่ความรู้บาลี  มันอาศัยความนึกคิดการใช้เหตุผล  วิธีการใช้เหตุผล  หรือเหตุผลที่ยังไม่มีใครรู้สึกกันถึงเดี๋ยวนี้พระไตรปิฎกก็ถือเอาตามตัวหนังสือไม่ได้  ยิ่งบัดนี้ยิ่งเห็นว่าไม่ได้มากขึ้นทุกทีถือเอาตามตัวไม่ได้ต้องเก็บเอาใจความบางอันน่าจะฉีกทิ้งด้วยซ้ำไปแต่ว่าไม่พูด  มันจะเกิดยุ่งพระไตรปิฎกควรฉีกทิ้งไปสัก  ๓๐ เปอร์เซ็นเหลือแต่ที่มันไม่ตีกันมันเข้ากันได้นั่นมันลึกจริงๆ 
                    พระไตรปิฎกไม่ได้อ่านทุกตัวแต่ว่าเปิดทุกใบมีก็อย่างน้อยเห็นหัวเรื่องว่า  นี่เรื่องอะไร  เรื่องอะไรเป็นเรื่องที่เราต้องการได้เดี๋ยวนี้หรือไม่
                    ฉะนั้นตลอดที่ผ่านมา  ๕๐ ปีก็เปิดหลายๆ  รอบ  หลายๆ  เที่ยว  หลายคราว  แต่ว่าในอภิธรรมนั้นน่ะไม่จำเป็น  เพราะมันไม่มีอะไรต้องการเปิดเหมือนกัน  แต่ว่าเปิดหยาบๆ  เอาข้อความมาเป็นเชิงอรรถของเรื่องจากพระสูตร  เช่น  เรื่องปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์นี้มีใจความสำคัญจากอภิธรรมอยู่ประโยคหนึ่งว่า  พอจิตเกิดกิเลส  ปฏิจจสมุปบาทก็ตั้งต้น  อย่างนี้มีในพระอภิธรรม
                    การใช้พระไตรปิฎกพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ใช้มัชฌิมนิกาย  สังยุตตนิกายมาก  ส่วนอังคุตตรนิกายก็รองลงมา  แต่ก็เรียกว่ามาก  ทีฆนิกายใช้น้อย
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ศึกษาอยู่ที่สวนโมกข์หาคนมาปรึกษายากพยายามดิ้นรนอย่างนั้นอย่างนี้  ค้นที่นั้นค้นที่นี่  หาทางเทียบเคียงอย่างนั้นอย่างนี้  คำบางคำต้องแปลงเป็นสันสกฤตแล้วไปดูปทานุกรมสันสกฤตจึงได้คำแปลที่ดีออกมา  แต่ก่อนพระธรรมโกศาจารย์    (พุทธทาสภิกขุ)  ก็เชื่อว่าพระไตรปิฎกแตะต้องไม่ได้ครั้นมาถึงเดี๋ยวนี้พระไตรปิฎกก็ต้องพิจารณาจะต้องคัดเลือกจะต้องพิสูจน์  เรียกว่าไม่ได้ถือเอาสักว่ามีในพระไตรปิฎก  ต้องมองเห็นความดับทุกข์ได้จึงจะถือเอา
 
            ๔)ชีวิตครอบครัว
            การดำเนินกิจการค้า
                    พอจบ ม.๓  ๒๔๖๕ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จากโรงเรียนก็ออกเพราะโยมผู้ชายตายก็ต้องช่วยรับภาระให้นายธรรมทาสไปเรียน  ถ้าเรียนหมดก็ไม่มีใครช่วยโยมที่บ้านเมื่อโยมบิดาตายก็เลิกร้านทางไชยากลับมาอยู่กับโยมหญิงที่พุมเรียงผมก็รับหน้าที่เป็นเหมือนผู้จัดการดูแลกิจการทั้งหมดเพราะโยมมารดาชราแล้วและป่วยด้วยตั้งเกือบปีเป็นโรคปวดเข่าแต่ต่อมาก็หายกินยาดองส้มพื้นบ้านหาย
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไม่เพียงแต่ขายของเป็นกรรมกรด้วยแบกของไปส่งตามบ้านเขาอย่างบ้านข้าราชการนี่เขาซื้อน้ำมันก๊าดปี๊บหนึ่งนี่เราก็ต้องแบกไปส่งให้  ไม่มีลูกจ้าง  ไม่มีรถรา  มันก็ยุ่ง  ทำงานหนักด้วย  กระทั้งต้องผ่าฝืนทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน  อย่างโยมเอาไปซื้อไม้โกงกางมาทั้งลำเรือ  เราต้องเลื่อยให้เป็นท่อนแล้วผ่าจนหมดจนเก็บไว้ใต้ถุนบ้านเสร็จ  ผ่าไม่โกงกางนี่ก็สนุกมันกรอบ  เอาขวานแตะมันกระเด็นออกไปหรือบางทีเอาขวานวางหงายเอาไม้ขัดลงไปมันก็แตกมันก็สนุก

                    เพื่อนผู้หญิง
                    เรื่องเช้าชู้นี่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไม่รู้เรื่องไม่มีเวลาที่จะไปเจ้าชู้มันมีงานทำอยู่ตลอดเวลา  ไม่เคยจีบผู้หญิง  กลางคืนไม่เคยเที่ยว  ไม่เคยติดต่อกับผู้หญิงที่ไหนนึกชอบเขามันก็มีบ้างเหมือนกันแต่มันไม่มีโอกาสมันได้แต่นึกอยู่ในใจไม่มีโอกาสติดต่อกับใครหรือไปเที่ยวกับใครแล้วมันก็สนุกกับอย่างอื่น  ตอนที่ยังไม่ได้บวชมันก็สนุกเรื่องการงานช่วยโยมค้าขาย  แล้วก็เรื่องคุยธรรมะเป็นนักเลงคุยธรรมะ
                    ส่วนใหญ่สมัยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นหนุ่ม  คู่ครองพ่อแม่ผู้ใหญ่เป็นคนดูให้เลือกให้และเขาก็ยอมตามพ่อแม่กัน  ผู้ใหญ่ก็ถามความสมัครใจของเด็กด้วย  ผู้ใหญ่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เขาก็ดูกันไว้ให้เหมือนกัน  เรียกว่า  คู่หมายคงจะได้  ไม่ใช่คู่หมั้น  สมัยนั้นหน้าตายังไม่เคยเห็นเลย  ตอนแรกชื่อก็ยังไม่รู้จักด้วยซ้ำ  เป็นคนอยู่ในจังหวัดนี้เหมือนกัน  แต่ไม่ใช่คนอยู่ในพุมเรียง

                    คุยเรื่องธรรมะ
                    เรื่องคุยธรรมะนี่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ทำตัวเป็นอาจารย์ธรรมะกลายๆ  ตอนเช้ามีคนมาคุยธรรมะ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องโต้  ต้องสู้  ข้าราชการคนหนึ่งต้องเดินผ่านที่ร้านไปทำงาน  แล้วก็ยังมีคนอื่นแถวๆ  นั้นที่เป็นญาติๆ กัน  ถ้าเห็นตาคนนี้มา  เขาจะมาดักเย้าธรรมะกัน  กว่าแกจะหลุดไปทำงานก็เป็นชั่วโมง  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องซื้อหนังสือนักธรรมตรี  นักธรรมโท  นักธรรมเอก  อภิธรรมมาอ่าน  ตอนนั้น                      พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ยังเป็นเด็กกว่าเขาเพื่อน  ส่วนใหญ่เขาคนแก่ทั้งนั้น  แต่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มักพูดได้ถูกว่าเพราะพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)          มีหนังสืออ่าน  เขาพูดตามข้อสันนิษฐาน  มันก็สนุกกับการได้พูดให้คนอื่นฟัง  ถ้าว่ากันถึงการเรียนธรรมะนี่  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เรียนมาก่อนบวช  เมื่อบวชก็เกือบจะไม่ต้องเรียนอีกแล้ว  ขนาดนักธรรมตรีเกือบจะไม่ต้องเรียน  เพราะเคยอ่านโต้กันก่อน
                    ตอนนั้นเรียกว่าตื่นเขาเปิดนักธรรมขึ้นใหม่ๆ  เป็นยุคแรกของบ้านนั้น  ใครๆ  ก็ชอบพูด  ข้าราชการคนนั้นเขาไปคบค้ากับอาจารย์สอนนักธรรมที่วัด  แล้วจะมาเล่นงานคนอื่นเราก็ไม่มีอะไร  มันสนุก  ขัดเขา  แกล้งล้อ  บางคนก็ขี้โมโห  คนแก่บางคนก็ถือหางข้าง พระธรรมโกศาจารย์    (พุทธทาสภิกขุ)  ตอนนั้นที่พุมเรียงสนุกอย่างนี้
                    หนังสือที่อ่านมาก่อน   
                    ที่บ้านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นร้านขายหนังสือด้วยตามแบบสมัยนั้น  ที่มีขายมากที่สุดก็คือ  เรื่องจักรๆ  วงศ์ๆ  แล้วก็ยังเบ็ดเตล็ด  ประเภทเล่มละสลึงพึงรู้ท่านผู้ซื้อมีมากที่สุด  งานแปลสมัยนั้นที่มีมาถึงก็อย่าง  โซไรดา  แล้วก็พันหนึ่งทิวา
                    อย่างงานของเทียนวรรณ  ของ  ก.ศ.ร. กุหลาบ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)      ก็อ่าน  สมัยนั้นดูเหมือนโยมจะรับเป็นประจำปีละบาท  โยมอาที่บวชอยู่กรุงเทพฯ เขาเห็นมีอะไรแปลกๆ  ก็รับส่งมา
                    หนังสือของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้าฯ สำหรับนักธรรมชั้นตรี  โท  เอก  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ก็อ่านหมดก่อนบวช 

                    ๕) อุปนิสัยและบุคลิกภาพ
                            ชีวิตในวัยเด็ก
                            ถ้าเปิดดูสมุดพกประจำตัวนักเรียนของ ด.ช. เงื่อม  พาณิช  หรือพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ในวัยเด็กจะพบข้อความที่ครูใหญ่บันทึกว่า  ประพฤติเป็นคนอยู่ปกติปกติไม่ค่อยได้  ท่าทางอยู่ข้างองอาจ  ในเวลาทำการมักชักเพื่อนคุย  มารยาทพอใช้  ทำการงานสะอาด  และบันทึกสรุปปลายปีว่า
                    ๑.มีความหมั่นดี  ทำการงานรวดเร็ว
                    ๒.ยังไม่เคยประพฤติรังแกเพื่อน  และยังไม่เคยต้องบังคับให้มาเรียน
                    ๓.นิสัยจำอะไรแม่น  และชอบทำสิ่งที่เป็นจริง
                    ๔.ปัญญาพออย่างธรรมดาคน  ซึ่งข้อความในบันทึกนี้สอดคล้องกับคำบอกเล่าของ    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ว่าไม่รู้สึกว่าเรียนเก่ง  แต่สอบได้ไม่เคยตก

                    อุปนิสัยของท่านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 
                    ไม่ยึดติดกับยศถาบรรดาศักดิ์นับตั้งแต่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นภิกษุเงื่อม  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๖๙  เป็นต้นมา  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับแต่ท่านก็ไม่เคยยึดติดกับยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ  คงให้เรียกขานเพียงนามเดียว  คือ  พุทธทาส  โดยอ้างว่าเพื่อสะดวกต่อการใช้  ง่ายต่อการจำ  ทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ




                    เป็นคนทะนงตน
                    ลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ค่อนข้างเป็นคนทะนงตน  ไม่เคยคิดดึงใครมาเป็นมิตร  หรือร้องขอรบกวนสิ่งใดจากมิตร  แต่พระธรรมโกศาจารย์            (พุทธทาสภิกขุ)  เล่าว่ามักจะเป็นเรื่องฟลุคที่มิตรมักมาช่วยเหลือท่านเสมอ  เป็นพระหัวก้าวหน้า  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เล่าว่าตอนที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๗๕  ในคราวนั้น  ในหมู่สงฆ์มีการเคลื่อนไหวยึดอำนาจเจ้าอาวาสที่วัดปทุมคงคา  ถ้าท่านอยู่ในกรุงเทพฯ อาจจะเข้าร่วมกระบวนการนั้นก็ได้

                    จัดอยู่ในพวกวิตกจริตและพุทธิจริต
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ยอมรับว่ามีพื้นทางจิตหนักไปทางวิตกจริต     พุทธิจริต  ดังที่บันทึกไว้ในอนุทินปฏิบัติธรรมฯ  ว่าหงุดหงิดง่าย  กำหนัดง่าย  ไม่ชอบวุ่นวาย  บางครั้งท่านกล่าวว่า  ได้รับของขวัญจากพระเจ้าที่มอบพุทธิจริตไว้ให้เป็นเจ้าเรือน                     พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เล่าว่า  คงเป็นพวกที่เรียกว่าพุทธิจริตชอบสนุกกับการคิดนึก  การใช้ปัญญา  มาบวชเข้ามันได้พบอันนี้ก็เลยสนุกเป็นความสุขในการคิดนึกพิจารณา  พบของแปลก  พบของใหม่

                    เป็นคนประเภทฮิวเมอริสต์
                    ในขณะเดียวกันพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ยอมรับว่าเป็นคนประเภท       ฮิวเมอริสต์  (Humorist)  คือคนมีอารามณ์ขัน  ชอบคิดอะไรแปลกใหม่  จึงเห็นได้ว่า  ท่านมีพื้นเพทางจิตมากกว่าหนึ่งจริตออยู่ในคนเดียวกัน  ลักษณะประการแรกที่ว่าเป็นคนวิตกจริต  คือเป็นคนคิดมาก  ชอบคิด  ช่างคิด  ความคิดผุดขึ้นได้ง่ายมีอะไรมากระทบเพียงเล็กน้อยก็มาคิด  คิดจะทำโน่นทำนี่อยู่ตลอดเวลา  แต่บ่อยครั้งที่ทำไปได้เพียงครึ่งๆ  กลางๆ  หรือยังทำไม่สำเร็จก็มีความคิดอันใหม่ผุดขึ้นมาอีก  แล้วปล่อยให้ของเดิมค้างเติ่งไว้  และลงมือทำของใหม่แทน  และวนเวียนเป็นเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง  แม้แต่ในขณะป่วยไข้มาลาเรียมีเรื่องคิดเป็นร้อยเรื่อง  มีอยู่บ่อยครั้งที่เห็นอะไรแล้วเก็บมาคิด  เมื่อคิดได้แล้วกลัวลืม  กลัวความคิดดีๆ  แบบนั้นจะไม่หวนกลับมาอีกจึงรีบทึกไว้  โดยอาจจะบันทึกไว้ในปฏิทินสมุดฉีกซองจดหมาย  เศษกระดาษเท่าที่จะหาได้  ถ้าหาเศษกระดาษไม่ได้  เช่นตอนที่คิดเรื่องดีๆออกในขณะที่เดินไปบิณฑบาต  จะบันทึกไว้ในฝ่ามือหรือบนฝาบาตร  แล้วค่อยมาลอกลงในกระดาษภายหลัง  โดยปกติท่านจะพกปากกาติดตัวเสมอ  แม้ขณะออกบิณฑบาต
                    แต่ด้วยเหตุที่นอกจากจะมีวิตกจริตเป็นเจ้าเรือนแล้ว  ท่านยังมีพุทธิจริตเป็นเจ้าเรือนร่วมอยู่อีกด้วย  โดยปกติวิสัยของคนพุทธิจริตจะเป็นคนฉลาด  ไม่เชื่อใครง่าย  เว้นแต่พิจารณาเห็นจริงด้วยตนเองท่านมักกล่าวเสมอว่า  จะเชื่อในสิ่งที่ได้จากโยนิโสมนสิการ  คือเชื่อสิ่งที่ได้จากการคิดพิจารณาอย่างแยบยล  มากกว่าที่จะเชื่อจากปรโตโฆษะอันเป็นคำบอกเล่าของผู้อื่น  หรือเชื่อสิ่งที่ได้จากตำรา  ดังเช่นเมื่อถูกถามว่าธรรมะหมวดไหนที่ใช้มากที่สุดในชีวิตการปฏิบัติธรรม               พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ตอบว่าที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือโยนิโสมนสิการคือการเพิ่มพูนความรู้หรือปัญญาอันลึกซึ้ง  มันก็มาจากโยนิโสมนสิการ  ไม่ว่าเรื่องบ้าน  เรื่องเรือน  เรื่องโลก  เรื่องธรรมะ  การรับเข้ามาโดยวิธีใดก็ตาม  เช่น  ฟังจากผู้อื่น  อ่านจากหนังสือ  หรือจากอะไรก็ตาม  ที่เรียกว่านอกตัวเรา  (ที่ได้จากนอกตัวเราคือปรโตโฆษะ ผู้วิจัย ) ฟังเขามา  พอถึงแล้ว  ก็โยนิโสมนสิการเก็บไว้  เป็นความรู้  เป็นสมบัติ  พอจะทำอะไร  จะลงมือทำอะไร  ก็โยนิโมนสิการในสิ่งที่ทำให้ดีที่สุด  เรียกว่าไม่ค่อยจะผิดพลาดเลย  เท่าที่จำได้ในความรู้สึก  อะไรที่ควรกระทำ  จะได้  จะมี  มันไม่เคยผิดพลาด  เพราะเราเป็นคนโยนิโสมนสิการตลอดเวลา  และรู้สึกว่าฉลาดขึ้นมาเพราะเหตุนี้ถ้าจะเรียกว่าฉลาดนะ
            ลักษณะแห่งพุทธิจริตและยึดถือเอาโยนิโสมนสิการเป็นธรรมประจำใจดังกล่าว  จึงเป็นตัวช่วยควบคุม  และตะล่อมให้ความคิดของท่านไม่สะเปะสปะ  ไม่ฟุ่งซ่านสูญเปล่า  หรือเพ้อเจ้อเหลวไหล  หากมีแต่สติปัญญาคอยกำกับ  ให้ไปในทางทิศที่ต้องการ  ความคิดแต่ละเรื่องของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงมีเป้าหมายปรากฏผลของความคิดออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน  มีคุณค่าสาระและประโยชน์  ดังที่ในระยะต่อมา  มีผู้นำเอาโน้ตย่อหัวข้อธรรม  ที่เป็นลายมือเขียนเหล่านี้มารวบรวมไว้ในหนังสือ  ๓ เล่ม  คือ  พุทธทาสลิขิต  ๑  พุทธทาสลิขิต  ๒  และพุทธทาสลิขิต  ๓  เนื้อหาทั้ง  ๓  เล่มประกอบด้วยหัวข้อธรรมะ  จำนวนนับได้เป็นร้อยเรื่อง  บางหัวข้อต่อมาได้ถูกนำมาขยายความ  นำมาใช้เทศนาสั่งสอน  และนำมาพิมพ์เป็นหนังสือหลายเล่ม
                    ถ้าจะกล่าวในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ  ก็อาจจะกล่าวได้ว่าพระธรรมโกศาจารย์           (พุทธทาสภิกขุ)  เหมือนชาวกรีกโบราณ  ที่มีนิสัยเป็นเด็กตลอดกาล  คืออยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา  เพื่อที่จะให้เข้าใจอุปนิสัยส่วนนี้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น  จะนำหลักฐานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับของเล่นในชีวิตประจำวันของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มาแสดงให้เห็นพอเป็นตัวอย่างกล่าวคือพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  อยากรู้อยากเห็น  และสนใจในแทบทุกเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพืช  สัตว์  สิ่งของ  หรือธรรมชาติอื่นๆ  รอบตัว  แต่จุดประสงค์ในการเล่น  มิใช่เพื่อความสนุกเพลิดเพลินหากแต่เพื่อเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนั้น
                   
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เคยเล่าถึงนิสัยอยากรู้อยากลอง  ตอนมาอยู่คนเดียวที่สวนโมกข์ใหม่ๆว่า  ก็อยากลองไปเสียทั้งนั้น  แม้ที่สุดอยากลองให้เสือกัด  งูกัด  หรือผีหลอก  และให้ภูมิหรือเปรตมาสนทนาปราศรัยกัน  ทั้งนี้เพื่อถือเอาเป็นโอกาสสำหรับศึกษาสิ่งเหล่านั้นด้วย  และทดลองกำลังใจของตนเอง
                    ด้วยนิสัยดังกล่าวจึงทำให้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  กลายเป็นผู้สนใจรอบด้าน  เรื่องเกี่ยวกับอาหารการขบฉัน  มีการค้นคว้าทดลองเช่น  บางสมัยท่านทดลองฉันแต่ผลไม้อย่างเดียวหลังทดลองแล้ว  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ขอร้องให้ผู้อื่นทำตามเพราะท่านค้นพบว่า  ทำให้เนื้อตัวเย็นสบายไม่มีกลิ่นตัว  สีและกลิ่นของอุจจาระไม่เป็นที่น่ารังเกียจ  ส่วนการฉันแต่ผักหรือเผือกนั้น  ยากกว่าการฉันแต่ผลไม้  เพราะในตอนแรกๆ  ร่างกายจะปรับไม่ทัน  คือไฟธาตุหรือน้ำย่อยอาหารปรับตัวไม่ทัน  อย่างไรก็ตามจากการศึกษา  สังเกตทดลองอย่างจริงจัง     พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  พบว่าการฉันอาหารแบบนี้  ประสาทสัมผัสจะไวขึ้นกว่าเดิมหลายเท่านัก
                    ตัวอย่างอื่นๆ  เช่น  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  สนใจหีบเพลง  เพื่อที่จะศึกษา  เรียนรู้เรื่องดนตรี  เล่นพิมพ์ดีดเพื่อที่จะศึกษาเรียนรู้เรื่องการพิมพ์หนังสือ  เล่นกล้องถ่ายรูป  เพื่อที่จะเก็บรวบรวมภาพถ่ายไว้เป็นพันๆ  ภาพ  รวมทั้งภาพวิวธรรมชาติ  และภาพสถานที่ต่างๆทั่วกรุงเทพฯ ตอนไปอินเดียพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เคยขอร้องให้เขาก่อสร้างนั่งร้าน  เพื่อที่จะถ่ายภาพก้อนเมฆ  ท่านนั่งรออยู่นานถึง  ๓  วัน  จึงได้ภาพที่สมใจ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เคยศึกษาเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพยนตร์  ถ่ายไสลด์  และสามารถประดิษฐ์ชิ้นส่วนของสไลด์ขึ้นใช้เองเคยเล่นวิทยุ  โดยร่วมมือกับพระจรูญ  ซึ่งเคยเป็นช่างวิทยุสมัครเล่น  สร้างเครื่องรับส่งวิทยุขึ้นใช้ในวัดได้  แต่รู้ว่าผิดกฎหมายจึงมิได้ทำเป็นการเอิกเกริกนักและยังรู้จักนำเอาถ่านวิทยุที่หมดสภาพการใช้งานแล้วมาดัดแปลงให้ใช้ได้อีก 
                    ในตอนหนึ่งพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้เล่าเรื่องการท่องเทียวและการชอบทำอะไรแปลกออกจากชาวบ้าน  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นนักฮิวเมอริสต์  อย่างเช่นทดลองเลี้ยงปลากัด  ให้ถึงฝึกถึงซ้อม  โดยนำเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดี  อ้วนพี  แข็งแรง  ลงไปปล่อยในบ่อแคบๆ  แล้วจับตัวเมียใส่ขวดหย่อนลงไปล่อ  เมื่อตัวผู้เห็น  ก็วิ่งรอบๆ  (ว่ายรอบๆนับจำนวนเที่ยวไม่ถ้วน)  เป็นการฝึกความอดทน  เมื่อทดลองทำอย่างนี้ประมาณ  ๓-๔ วัน  ปลาตัวผู้นั้นจะล่ำสัน  ตาเขียว  ครีบหนา  ดุร้าย  พอเอามือไปล่อจะกระโจนกัดทันที  ท่านคาดว่า  ถ้านำไปกัดกับปลาตัวอื่นมันจะต้องชนะ
                   
                    นอกจากนี้ท่านยังเล่าว่า  เคยชอบไปเที่ยวทะเล  ลงเรือไปเล่นทะเล  ไปลอยทะเลก็หลายครั้ง  จัดจอมปลวกให้เป็นระเบียบก็เคยทำมาแล้ว  จอมปลวกอยู่ที่นั่นบ้าง  ที่นี่บ้าง  เราก็ย้ายมาทำให้เป็นระเบียบตรงๆ ที่เราอยากให้มันอยู่  แล้วเอาแผ่นปูนมาวางบนทำเป็นโต๊ะได้  ย้ายแล้วปลวกยังอยู่ที่นั้น  ต้องขุดลึกมากขนาด  ๔  คน  จึงหามไหว  ข้างล่างที่อยู่ใต้ดินมันโตกว่าข้างบน  ข้างบนเป็นโพรง   ปลวกแถวสวนโมกข์เก่าตัวสีเหลืองๆ  เป็นปลวกที่ไม่กัดของ  ย้ายมาตั้งเป็นแถวๆ  ข้างกฏิของเรา  ใกล้ๆ  แถวนั้นไม่พอ  ก็หาจากที่ไกลออกไป   บางทีก็ตาย  แล้วก็เลิกร่างไปก็มี     

๒.๑.๒  ชีวประวัติช่วงดำรงสมณะเพศ
               ๑)  ชีวประวัติช่วงดำรงสมณะเพศ
          พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  อุปสมบทที่วัดนอก (วัดอุบล)  วันอาทิตย์ที่ ๒๙  กรกฎาคม ๒๔๖๙  แล้วมาประจำอยู่ที่วัดใหม่ (พุมเรียง) ท่านพระครูโสภณเจติการาม (คง  วิมโล) เป็นพระอุปัชณา  พระปลัดทุ่ม  อินฺทโชโต  เจ้าอาวาสวัดนอก (อุบล) และพระครูศักดิ์  ธมฺมรกฺขิโต  เจ้าอาวาสวัดหัวคู (วินัย) เป็นพระคู่สวด 
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต้องอยู่วัดใหม่ (พุมเรียง) เพราะปู่ที่เป็นน้องของย่าเคยเป็นสมภารที่วัดนั้นจนมรณภาพ  เพราะฉะนั้นชั้นลูกหลาน  ชั้นเหลน  มันก็ต้องอยู่ที่วัดนั้น    พอบวชได้หลายวันแล้ว  อุปัชฌาย์ก็ขอร้องให้อาจารจุล (จนฺทโภ) ในฐานะที่มีความรู้ (บาลี) ช่วยคิดให้ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงมีฉายาว่า  อินฺทปญฺโญ 

                ๒)  ช่วงดำรงเป็นพระนวกะ (พระบวชใหม่)
                                พรรษาแรก
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  บวชแล้วมันก็ไม่ค่อยมีเวลา  ง่วนอยู่กับการเทศน์บ้าง การเล่าเรียนบ้าง  ไม่ค่อยได้นึกถึงบ้าน  ไม่ค่อยได้มาเยี่ยมบ้าน  บางปีเป็นปีเป็นเดือนไม่เคยมาบ้าน  เรื่องทางบ้านไม่ได้สนใจกันเลยเหมือนกับไม่ได้มีอยู่ในโลก

                                พรรษาที่ ๒
                    ตอนแรกที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ตั้งใจบวช ๓ เดือน พอพ้นข้อผูกพันทางประเภณีให้แม่  แต่มันก็สนุกในเรื่องของพระ  มีแต่คนตามใจ  คอยเอาอกเอาใจ  ทำอะไรก็ได้  เล่นอะไรก็ได้  ยังสนุกอยู่  ก็ยังไม่คิดสึก  มันไม่ต้องห่วงทางบ้านด้วย  เพราะราวเดือนมีนาคม  ๒๔๗๐ นายธรรมทาส  เขาปิดเทอม  เขาก็มาอยู่บ้าน  แล้วไม่ไปเรียนต่อ  ก็มีคนรับผิดชอบเรื่องที่บ้าน  เรื่องมารดาพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไม่สึกก็ไม่มีปัญหาอะไร  แล้วแผนการลึกๆ  อะไรก็ไม่มีทำให้  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ลืมเรื่องผู้หญิงไป  ไปสนุกกับเรื่องอื่นเสีย  เรื่องธรรมะมันทำให้สนุกเพลิดเพลินจนลืมเรื่องนี้  มีบ้างเหมือนกันในความรู้สึกนึกคิดนิดๆ  คิดว่าไม่แปลก

                                พรรษาที่ ๔
                    เมื่อพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  สอบนักธรรมเอกได้  พอดีญาติผู้ใหญ่คือคุณนายหง้วน  นามสกุลเศรษฐภักดี  เกิดศรัทธา  บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมวัดพระธาตุไชยา  สมันนั้นมันสร้างได้ด้วยเงิน  ๕ พันกว่าแหละ  ทีนี้พระครูเอี่ยมท่านรู้ว่าผมเป็นนักธรรมเอกแล้ว  เขายุให้น้าหง้วนขอร้อง  หรือบังคับผมนั่นแหละให้มาสอน  ทั้งๆ  ที่อาเสี้ยงที่ชุมพรไม่เห็นด้วย  อยากให้รีบสึกไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เสียเร็วๆ  ทีนี้ผมก็เกรงใจ  เพราะฝ่ายนี้ก็มีแยะ  โยมผมก็หันมาทางนี้  ผมก็เลยมาช่วยสอนนักธรรมเสียปีหนึ่ง  มันจึงฆ่าเวลาไปอีกปีหนึ่ง ไม่ได้สึก

                                พรรษาที่ ๕
                    ทีนี้พอมาสอนนักธรรมจนได้สอบนักธรรมเรียบร้อยแล้ว   อาเสี้ยงที่ชุมพรก็เร่งเร้าให้ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯให้ได้  อย่างที่แกเคยไปเรียนมา  คนอื่นๆ  ก็สนับสนุนทั้งนั้น  รวมทั้งท่านพระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) ซึ่งอยู่ที่นั่นแล้ว  ในที่สุดพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงขึ้นกรุงเทพฯ อีกครั้ง  ๒๔๗๓  แต่การขึ้นตอนนี้ควรคิด  มันเปลี่ยนไปแล้ว  เรื่องสึกหายไปหมด  ถูผิดว่ากันทีหลัง  พระกรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไรไม่สนใจ  ตั้งใจจะไปเอาความรู้ภาษาบาลีก่อน  ยังไงๆ ก็ต้องเรียนบาลีเสียทีก่อน  เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง  เพราะมันไม่สึกแล้วนี่  มันก็ไม่รู้จะทำอะไร       ก็เหลือเรียนบาลีเท่านั้นที่น่าสนใจกว่าอย่างอื่น
                   
                                พรรษาที่ ๖
               พระผู้ใหญ่ที่เด่นๆ สมเด็จทุกรูปแหละ  พระหนุ่มๆ เป็นดาวเด่นมันไม่ค่อยมี  คุณสุชีพหรือสุชีโวภิกขุนั้นแหละรูปแรก  เขามีผลงานตั้งแต่อายุยังน้อย  ตอนนั้นเขาเป็นผู้นำคนหนุ่มยุวพุทธ  ให้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน  เป็นผู้ก่อหวอด  ก่อรากมหาวิทยาลัยสงฆ์วัดบวรฯ เป็นคนแรกที่เทศน์เป็นภาษาอังกฤษในเมืองไทย




               ๓)  ช่วงดำรงสมณศักดิ์ที่พระมหาเปรียญ
                                พระเณรที่มาอยู่ด้วยกันที่สวนโมกข์พุมเรียง
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  อยู่รูปเดียว  ๒  พรรษา  พอออกพรรษาไม่นาน  มหาจุล  พฺรหมฺสโร  เป็นคนเชื้อเขมร  จำบาลีไวยากรณ์ได้แม่นยำ  ปฏิบัติเร่งครัด  ฉันเจ  ก็มาอยู่ด้วย  เขาอยู่ถึงแม่สอด  รู้จักสวนโมกข์จากหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา  ตอนอยู่ด้วยกันยังไม่มีท่าทีว่าจะเลอะ  จึงตกลงให้ไปอยู่สวนปันตารารามที่นครศรีธรรมราช  ที่พระดุลยพากษ์สุวมัณฑ์  เป็นตัวตั้งตัวทีจะเปิดกิจการแบบสวนโมกข์

                ๔)  ช่วงดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูอินทปัญญาจารย์
                                จากฉายาเดิมของท่านคือ อินฺทปญฺโญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยที่พระผู้ใหญ่ระดับสูงตั้งลงมาโดยที่ทางจังหวัดไม่ได้ขอขึ้นไป
                ๕)  ช่วงดำรงสมณศักดิ์ที่พระพระราชชัยกวี (เจ้าคุณชั้นสามัญ)
                   ซึ่งเป็นเจ้าคุณชั้นสามัญ ฉายาของท่านหมายถึง  เป็นนักปราชญ์ของไชยา เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๙๓
                 ๖)  สมณศักดิ์ที่พระเทพวิสุทธิเมธี (เจ้าคุณชั้นราช)
                                ซึ่งเป็นเจ้าคุณชั้นราช  ฉายาของท่านหมายถึง  เป็นนักปราชญ์ของไชยา เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๐๐
                       ๗)  สมณศักดิ์ที่พระเทพวิสุทธิเมธี (เจ้าคุณชั้นเทพ)
                                ซึ่งเป็นเจ้าคุณชั้นราช ฉายาของท่านหมายถึง ผู้เป็นเลิศด้านความบริสุทธิ์อันประเสริฐ เมื่อ พ.ศ.  ๒๕๑๔
                 ๗)  สมณศักดิ์ที่พระเทพวิสุทธิเมธี (เจ้าคุณชั้นธรรม)
                                ซึ่งเป็นเจ้าคุณชั้นธรรม ฉายาของท่านหมายถึง คลังแห่งพระธรรมเป็นสมณศักดิ์สูงสุดลำดับท้ายของท่านประเสริฐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยที่ทางจังหวัดมิได้ขอไป  แต่เป็นการแต่งตั้งจากพระผู้ใหญ่เบื้องบน
                               

                    สุวรรณา  เหลืองชลธาร[๔]  กล่าวว่า  แม้ท่านจะมีชื่อตามสมณศักดิ์ หลายชื่อ  แต่ท่านไม่ค่อยลงนามตามสมณศักดิ์  เวลาเขียนจดหมายติดต่อกับใคร  ถ้าไม่เป็นทางการ  หรือไม่ทางราชการ  ท่านจะใช้ชื่อว่า  พุทธทาส  อินทปญฺโญ  ตลอดมา  ท่านจะลงนามตามสมณศักดิ์ก็ต่อเมื่อเป็นเรื่องราชการ

            ๒.๒  ข้อวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
               ากการศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านตื่นจากการจำวัด (ตื่นนอน) แต่เป็นการตื่นอย่างเงียบๆ ยากที่ผู้ใดจะรู้ได้  ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว  หลังจากนั้นประมาณ  ๐๕.๐๐ นาฬิกา  ได้ออกไปปลุกเด็กๆ  ให้ตื่นขึ้นทำงานหรืออ่านหนังสือ  แล้วออกไปเดินเล่นบริเวณวัด  เวลาประมาณ  ๐๖.๐๐ นาฬิกา  มีแสงสว่างมากพอ   จะกลับไปทำงานเกี่ยวกับหนังสือจนถึงเวลา  ๐๗.๓๐ นาฬิกา  เมื่อถึงเวลา  ๐๘.๐๐ นาฬิกา  เป็นเวลาอาหารเช้า  มีพระภิกษุสามเณรกลับจากบิณฑบาตพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะฉันอาหารพร้อมกับภิกษุสามเณรอื่นๆที่โรงฉัน  หลังจากนั้นใช้เวลาสนทนาเชิงอบรมเป็นประจำวัน  เมื่อเวลาประมาณ  ๐๙.๓๐-๑๐.๐๐ นาฬิกา จึงสรงน้ำ  แล้วเดินตรวจบริเวณวัดท่านไม่ฉันเพล  ถ้าจะมีบ้างก็มีพียงแต่ของว่างเล็กๆน้อยๆ เช่นน้ำมะพร้าวอ่อนเพียงแก้วเดียว
                    เมื่อถึงเวลา  ๑๙.๐๐ นาฬิกา เป็นเวลาสวดมนต์เย็นที่ธรรมศาลาในพรรษา  เมื่อจบการสวดมนต์แล้ว  จะมีการสนทนาทำนองการอบรมภิกษุสามเณรตามสมควร  การอบรมตอนกลางคืนจะใช้เวลาราว ๑ ชั่วโมง  ครั้งเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ นาฬิกาต่างแยกย้ายกลับที่พัก  เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วท่านจะทำงานต่อไปจนถึงเที่ยงคืน  หรือบางคืน  ล่วงเข้าถึงวันใหม่จึงจำวัด  คืนหนึ่งท่านกำหนดเวลานอนเพียง ๔ ชั่งโมงจากภารกิจดังกล่าว  ท่านตั้งใจจะเรียนแบบลีลาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างในการดำเนินการข้อวัตรปฏิบัติ
                    วัตรปฏิบัติในการฝึกฝนทดลองทำอย่างเรียบง่าย  แต่เข้มแข็งและจริงจังในรูปแบบที่เรียกว่า  เป็นอยู่อย่างต่ำ  มุ่งกระทำอย่างสูง  เช่นดำรงชีวิตอยู่อย่างไร้ทรัพย์  มีจีวรเพียง ๓ ผืน  ย้อมด้วยแก่นขนุนให้เป็นสีดำ   ไม่มีร่ม  ไม่ใช้สบู่  ไม่สวมรองเท้า  ไม่กางมุ้ง  แต่ใช้วิธีสมไฟไล่ยุงแทน  เว้นแต่คราวไม่สบายจึงกางมุ้งนอน  โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่เคยมี  ไม่เคยใช้สิ่งเหล่านี้  เวลาเดินไปเทศน์ที่ใด  ถ้าถูกฝนเปียกปอน  จะนั่งเทศน์จนเนื้อตัวและจีวรแห้งไปเอง  แต่ไม่เคยเป็นหวัด  ออกกำลังกายโดยการกวาดขยะบนลานวัดสร้างที่พักตามที่ท่านตั้งชื่อเรียกว่า  โรงปลือยคือมีเพียงแค่ฝากั้น  มุงหลังคาด้วยจาก  และนอนบนแคร่ไม้ไผ่  ไม่มีห้องน้ำ  แต่ใช้วิธีขุดบ่อเล็กๆ  ไว้เป็นที่อาบน้ำแทนหรือโอ่งน้ำเป็นที่อาบน้ำ  ห้องสุขาทำแบบขุดหลุม  พอถ่ายแล้วก็ใช้รางไม้ไฝ่ผ่าซีกตักขี้เถ้าราดกลบจนมิด  ฉันอาหารเพียงหนเดียว  เวลาเย็นฉันน้ำใบชุมเห็ดใช้ชงกับน้ำตาลทรายแดง  ไหว้พระเช้า-เย็น ทำวัตรตอนย่ำรุ่ง
                    วัตรปฏิบัติอันน่าอัศจรรย์ใจของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในเบื่องต้นนั้น  ท่านมีความละเอียดอ่อนอันลึกซึ้งอีกประการหนึ่ง  ซึ่งให้เห็นความเชื่อมั่นในพุทธวจนะที่ว่า  กลิงฺค  รูปทานํ  ภิกฺขเว  วิหารถ   ซึ่งแปลว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เธอจงเป็นผู้มีท่อนไม้เป็นหมอนเถิด  เมื่อมีท่อนไม้เป็นหมอน  มารจักไม่เปิดโอกาส  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ใช้หมอนไม้หนุนหัวมาแต่ต้น  จึงอยากบันทึกถ้อยคำของท่านไว้ให้ปรากฎแก่ผู้ที่เป็นภิกษุและชาวพุทธทั่วไป
                    เมื่อท่านออกมาอยู่ที่สวนโมกขพลารามเก่า  มาสร้างสวนโมกขพลารามเก่าตั้งแต่วันแรกมาก็ได้ใช้หมอนไม้  เนื่องจากความคาดเดาเอาว่า  ไม้หมอนนี้จะเป็นประโยชน์อย่างน้อยก็ไม่มีผู้ใดขโมย  ไม่ลำบากในเรื่องการเก็บรักษา  เรื่องซักฟอก  และก็เห็เขาใช้กันอยู่ทั่วๆไป ไม่เห็นเป็นอะไร แม้เขาจะใช้นอนเล่นชั่วขณะ  เราใช้จริงตลอดคืนก็เพราะว่าเวลานอนน้อย  การนอนของเราก็น้อยในคืนหนึ่งเท่าๆกับการนอนเล่นของเขาอยู่แล้ว   เพราะฉะนั้นก็คงจะใช้ได้  เพราะถ้ามันแข็งมาก  ก็ใช้ผ้าสังฆาฏิรองก็ยังได้  เพราะฉะนั้นจึงได้ใช้หมอนไม้  มาตั้วแต่วันแรกของการการมาสวนโมกขพลาราม  คือ  พ.ศ.  ๒๔๗๕  เมื่อใช้เข้าจริงก็เห็นประโยชน์หลายอย่าง  อย่างที่ว่าแล้วและโดยเฉพาะสำหรับคนที่คิดเรื่อยโลหิตขึ้นสมอง  โลหิตขึ้นศรีษะทำให้มึนหรืองง  หรือปวดศรีษะได้ในที่สุด  การใช้หมอนไม้  เมื่อรู้จักใช้แล้วก็จะช่วยให้มีการโลหิตขึ้นศรีษะน้อยลงได้  แต่นี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญขอให้โปรดถือว่านี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  เรื่องสำคัญอยู่ที่ว่า  นี้มันเป็นคำแนะนำคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเพื่อมารจะอย่าได้โอกาสนั่นเอง
                หลักฐานเรื่องการใช้หมอนไม้นี้แม้จะเป็นเรื่องน้อยนิดที่หลายคนมองผ่านแต่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) หาได้ละเลยไม่  เพราะนั่นเป็นอุปกรณ์แห่งการทรมานกิเลสด้วยเช่นกัน  และหมอนไม้นั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ใช้มาจนตลอด
                    สวนป่าที่ชื่อว่า สวนโมกขพลารามพุมเรียง  เริ่มได้รับรู้ความเป็นอยู่ของพระภิกษุ       มหาเงื้อม  อินทปญฺโญทีละน้อย  ต้นไม้ทุกต้นอันเป็นชีวิตทางธรรมชาตินั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เคยเล่าไว้ว่า  มันทำหน้าที่ของมันอย่างชาญฉลาดอยู่  มันเรียนรู้การมีชีวิตอย่างล้ำลึกมันรู้รากควรจะชอนไชไปทางใด  กิ่งใบควรจะแตกยอดรับแสงแดดในทิศทางใด  มันจะพูดภาษาคนไม่ได้  แต่มันก็มีภาษาธรรมที่จะให้คำตอบสำหรับผู้เข้าใจธรรมะได้อย่างลึกซึ้ง  เช่นเดียวกับสัตว์ป่าทั้งหลาย  ล้วนมีความคิดของมันเองด้วยเหมือนกันหรือแม้แต่ก้อนหินใหญ่น้อยล้วนมีภาษาธรรมซ้อนเร้นอยู่
                    กิจวัตรประจำวันในระยะแรกๆที่อยู่ที่สวนโมกขพลารามเก่า  ทำวัตรตอนเช้า  ตอนหัวรุ่งแล้วก็ออกบิณฑบาตในตลาดพุมเรียงนั้นแหละ  ทรงไปถึงบ้านโยมแล้ก็กลับ  เพราะมีห่อกับข้าวตุงนังเต็มบาตรไปอีกไม่ได้  พอกลับถึงวัด  ตากวยก็คอยถ่ายข้าวให้ที่เหลือจากฉัน  แกก็เอาไปกินเป็นอันฉันเสร็จครั้งเดียวก็ว่างไปทั้งวัน  อ่านหนังสือบ้าง  คุยกับคนที่ไปเยี่ยมบ้าง  ส่วนการทำสมาธินั้น ระยะแรกก็ไม่ได้ทำจริงจัง  ยังยึดถือไอ้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้า  ตอนนั้นก็เรียนค้นพระไตรปิฎกและเริ่มเขียนตามรอยพระอรหันต์  แต่ปีแรกยังไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์  พระพุทธศาสนาก็มีเวลามาก  ออกไปเที่ยวตามป่าใกล้ๆ  บ่อยๆ  มีตาหลวงมินเป็นเพื่อนเที่ยว  มันเป็นช่วงที่ประหลาดที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิต  มีเวลานึกคิดอะไรมาก  นึกอะไรออกบันทึกไว้  จดไว้  จนใช้คำว่า  วิปัสสนาวันคืนแห่งการคิด”  นั้นมันยึดจำมันควรจะพูดว่า  วิปัสสนาวันคืนแห่งการดูธรรมชาติมากกว่า
                    สำหรับในตอนเช้าท่านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะห่มจีวร  อุ้มบาตร  ออกบิณฑบาตก่อนฟ้าสาง  หนทางจากราวป่าริมหนองน้ำตระพังจิกนั้นแวดล้อมด้วยสัตว์ป่า  เวลาเช้าท่านจะพบชีวิตสัตว์น้อยๆที่น่ารักนอนเกลือกกลิ้งตามแดนทางอย่างมีความหมาย  และเคยชิน  ท่านมองดูชีวิตนั้นอย่างพิจารณาก่อนที่จะเดินผ่านเลยไป  ท่านคงเดินต่อไปด้วยฝ่าเท้าที่เปลือยเปล่า  ภิกษุมหาเงื้อมหรือพระบ้าซึ่งถูกนำมาขังไว้ในวัดร้างกลางป่าตามความรู้สึกของเด็กชาวบ้านแถบนั้นผ่านออกสู่เขตคามของผู้คนทั้งที่เป็นอิสลามและชาวพุทธ  มีผู้ใส่บาตรบ้างและเมินเฉยเสียบ้างก็มีอยู่  เป็นธรรมดาแห่งความตื้นลึกแห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา  บางครั้งต้องเดินอุ้มบาตรไปไกล  เพื่อจะให้ได้มาซึ่งการขบฉันเพียงมื้อเดียว  เพียงเพื่อให้อยู่ได้แห่งกายนี้
                    การขบฉันอันจำเป็นทุกครั้งคราวพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ก็ฉันแบบเอกาสนิกังคธุดงค์และปัตตปิณฑิกังคธุดงค์คือถือฉันอาหารในบาตรเป็นวัตร  อาหารใดที่ทายกทายิกาใส่บาตรแล้ว  ก็จะคลุกเกล้าผสมกันในนั้น  คือฉันด้วยความรู้สึกว่า  กินอาหารเพียงเพื่อดำรงอยู่ได้ของร่างกาย  มิได้ยินดีต่อรสอร่อยของแห่งอาหารนั้น
                    สรุปได้ว่า  วัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านได้ปฏิบัติสมบูรณ์แบบอย่างจริงจัง  และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คณะสงฆ์ตลอดถึงประชาชนทั่วไปของประเทศไทยและทั่วโลกด้วยข้อวัตรปฏิบัติดังกล่าว   พระภิกษุสามเณรตลอดถึงประชาชนทั่วไปควรปรับปรุงประยุกต์เอาไปใช้ด้วยบริบทให้เหมาะสมกับการครองชีวิตของตนได้   

                    ๒.๓ แนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์          (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
               พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า  แนวคิดและกระบวนการประสงค์ของผู้ริเริ่มการพัฒนาพระพุทธศาสนาทำให้ขยายวงกว้างออกไปสู่การพัฒนาสังคม ซึ่งท่านได้กำหนด  ซึ่งได้กำหนดปณิธานไว้ในใจตลอดจนมีแนวคิดนี้ออกมา  จึงเป็นตัวการสำคัญในการกำหนดทิศทางและยุทธวิธีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  โดยพัฒนาพระภิกษุสงฆ์เสียก่อนด้วยหลักการของพระพุทธศาสนา  คือต้องพัฒนาพระภิกษุสงฆ์  ให้รู้จักคิด  รู้จักทำ  รู้แก้ปัญหา           อยู่อย่างถูกวิธี  ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เมื่อพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นมีความรู้  มีความชำนาญในการเผยแผ่  และจะเน้นหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ภาครัฐ  ภาคเอกชน  องค์กรทางศาสนา  และกลุ่มพลังมวลชน  ซึ่งสอดคล้องกับ  พระวิศาล  วิสาโล  ได้กล่าวไว้ว่า  โดยมุ่งเน้นปณิธานแห่งชีวิตของท่าน  มี ๓ ประการ ๑ ใน ๓ นั้นได้แก่  ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยมแม้     พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะละสังขารไปแล้ว  แต่ปณิธานดังกล่าว  ยังดังก้องผ่านงานเขียนและงานบรรยายของท่านเสมอมา  เป็นทั้งเสียงกระตุ้นเตือนและนำทางแก่ผู้ปรารถนาอิสรภาพทางจิตวิญญาณทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
                    กล่าวได้ว่า  ปณิธานใดที่มีความสำคัญต่อโลกทุกวันนี้มากเท่ากับปณิธานดังกล่าว  ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์ชาติกำลังถูกวัตถุนิยมครอบงำอย่างหนาแน่นชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน  มันไม่เพียงยึดครองจิตใจของผู้คนเท่านั้นแต่ยังฝังรากลึกอยู่ในศาสตร์นานาชนิด  จนวัตถุนิยมกลายเป็นความจริง  และคุณค่าขั้นสูงสุดในทัศนะของคนทั้งโลก  ไม่มีอะไรนอกจากวัตถุ  แม้แต่จิตใจก็เป็นเพียงปรากฎการณ์ทางเคมีฟิสิกในสมองเท่านั้นเอง  หากมีอะไรนอกจากนั้นไม่  ทัศนะเช่นนี้ทำให้มนุษย์เป็นเพียงก้อนวัตถุที่ไม่มีเป้าหมายใดๆในชีวิต  นอกจากการเสพและครอบครองวัตถุให้มากที่สุด  โดยไม่ต้องสนใจเรื่องบุญหรือบาปหรือภูมิธรรมขั้นสูงอีกต่อไป  ใช้แต่เท่านั้น  วัตถุนิยมยังครอบงำกำกับระบบต่างๆ  ในสังคมทุกระดับ  ไม่ว่าระบบเศรษฐกิจ  การเมือง  การศึกษา  สื่อสารมวลชน  และอื่นๆ  จนกลายเป็นจุดหมายสูงสุดของประเทศ  ความเจริญของประเทศไม่ได้วัดที่ความผาสุกของผู้คน  แต่วัดจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่สนใจด้วยซ้ำว่าความเจริญดังกล่าวได้มาจากการทำลายธรรมชาติและการสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้คนเพียงใดบ้าง
                    ที่น่าวิตกก็คือปัจจุบัน  วัตถุนิยมได้สถาปนาตนเองจนกลายเป็นศาสนาอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีผู้คนนับถือทั่งทั้งโลก  มันไม่เพียงสัญญาว่าจะให้ความสุข  ความสนุกสนาน  และความสะดวกสบายแก่ผู้คนเท่านั้น  แต่ยังให้คำมั่นว่าสามารถตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณของคนทั้งโลกได้  กล่าวคือให้ความมั่นคงทางจิตใจ  เพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิต  รวมทั้งเติมเต็มชีวิตไม่ให้รู้สึกว่างเปล่า  สามารถแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นคนใหม่ได้  โดยไม่ต้องทำอะไรนอกจากเป็นผู้บริโภคที่ทันยุคทันสมัยเท่านั้น
                    ท่ามกลางความหลงใหลในมนต์สะกดของวัตถุนิยม  ชีวิตและคำสอนของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นดังแสงสว่างที่นำผู้คนให้พ้นจากความมืดมนดังกล่าว  ท่านได้ชี้ให้เราเห็นว่า  จุดหมายหรือประโยชน์สูงสุดของการเป็นมนุษย์นั้น  มิได้อยู่ที่การครอบครองวัตถุให้มากที่สุด  แต่อยู่ที่การยกระดับทางจิตวิญญาณจนเข้าถึงอิสรภาพขั้นสูงสุด  ชนิดที่อยู่เหนือโลกและความทุกข์ทั้งปวง  ความทุกข์ที่แท้จริงอันได้แก่ความสงบเย็นนั้นสภาวะที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้และควรเข้าถึง  เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถเข้าถึงความสุขอันประเสริฐดังกล่าว  วัตถุนิยมจะมีผลต่อเราน้อยลง
                    วัตถุนิยมสามารถดึงดูดจิตใจจิตใจผู้คนทั่วทั้งโลก  ก็เพราะมันให้ความสุขแก่เราได้เวลาอันรวดเร็ว  แม้ความสุขดังกล่าวจะเจือไปด้วยทุกข์  แต่ก็ยากที่เราจะหนีพ้นจากอำนาจของมันได้  จนกว่าเราจะค้นพบความสุขที่ดีกว่า  ได้แก่นิรามิสสุขหรือเนกขัมมสุข  สุขที่ปลอดโปร่งจากกาม  วิถีแห่งการเข้าถึงความสุขดังกล่าว  มีอยู่แล้วในคำสอนของพระพุทธองค์  ซึ่ง  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้นำมาถ่ายทอดอย่างสมสมัย  โดยได้ย้ำให้เห็นถึงคุณค่าของการบำเพ็ญ           จิตตภาวนา  ซึ่งไม่เพียงช่วยให้เรามีสติและสมาธิเป็นเครื่องรักษาใจเท่านั้น  หากยังนำไปสู่การพัฒนาปัญหาจนเห็นแจ้งในมายาภาพของตัวตน  สามารถปล่อยวางความยึดติดถือมั่นใน  ตัวกู  ของกูได้  เมื่อนั้นจิตใจก็จะเป็นอิสระจากวัตถุนิยมอย่างสิ้นเชิง  วัตถุจะไม่เป็นนายของเราอีกต่อไป  ตรงกันข้ามเรากลับเป็นนายของวัตถุ  และสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง  การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นโชคอย่างยิ่ง  แต่จะมีประโยชน์อะไรหากเราต้องการเป็นธาตุ  ของวัตถุนิยมโดยไม่มีโอกาสสัมผัสอิสรภาพทางจิตวิญญาณเลยแต่น้อย  ซึ่งสอดคล้องกับ          พระมหาวุฒิชัย  วชิรเมธี  ได้กล่าวไว้ว่า  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นเมธีทางพุทธธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งในประวัติศาสตร์  ปัญญาชนชาวพุทธของไทยและของโลก  แม้แต่    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จะถึงแก่มรณภาพไปร่วมทศวรรษเข้ามานี้แล้ว  แต่ยิ่งล่วงกาลผ่านไป  ผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กลับได้รับการรื้อฟื้นนำขึ้นมาศึกษาค้นคว้าอภิปรายวิจัยกันอย่างกว้างขวางออกไปยิ่งขึ้นทุกที  ภาวการณ์เช่นนี้ไม่ได้เป็นไปเฉพาะในเมืองไทยอันเป็นแผ่นดินมาตุภูมิของท่านเท่านั้น  ทว่ายังเป็นไปแม้ในต่างประเทศด้วย  น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่าท่ามกลางการศึกษาค้นคว้างานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กันอย่างแพร่หลายนั้น  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้เขียนไว้ในปณิธาน  ๓  ประการของท่านข้อหนึ่งว่า  พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจวัตถุนิยม  เมื่อมองในมิติของกาลเวลาก็ต้องนับว่าข้อความนี้มีอายุมากกว่าครึ่งศตวรรษ  แต่มาถึงบัดนี้แล้ว  สถานการณ์โลกคงสะท้อนให้เราเห็นเป็นอย่างดีว่าวิสัยทัศน์อันยาวไกลของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) นั้นมาก่อนกาลเพียงใด
                    วิกฤติการณ์การเงินที่เกิดขึ้นในเมืองไทยปี  ๒๕๔๐  ก็ดี  วิกฤติแบบเบอรเกอร์กำลังระบาดขึ้น  ทะวีขึ้นที่สหรัฐอเมริกาแล้วลุกลามไปในโลกใน  พ.ศ.๒๕๕๑ นี้ก็ดี  ความล้มเหลวของการเมืองไทยในช่วง  พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนไทยถูกมอมเมาด้วยโลกทัศน์แบบวัตถุนิยมเต็มรูปแบบก็ดี  ตลอดถึงวิกฤติน้ำมัน  วิกฤติอาหาร  วิกฤติภาวะโลกร้อน  และสงครามแย่งชิงทรัพยากรที่ทยอยเกิดขึ้นทั่วไปในโลกของเรามาโดยตลอดนั้น  แต่สมัยหลังการการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเข้มขึ้นทุกขณะตามพลานุภาพของเทคโนโลยีก็ดี  เหล่านี้คือ  ผลเสียของโลกทัศน์แบบวัตถุนิยมที่ชักนำชาวโลกให้หลงติดอยู่  กามสุข อันเป็นความสุขที่วางรากฐานอยู่บนความมั่งมีศรีสุขและการตกเป็นทาสของ  ยศ  ทรัพย์  อำนาจ  อย่างมืดบอด  ภัยอันตรายของวัตถุนิยมดังกล่าวนี้  เป็นสิ่งที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มองเห็นล่วงหน้ามาโดยตลอด  เพียรเน้นย้ำให้มนุษย์ชาติพากันตระหนักรู้มาอย่างยาวนานตลอดอายุของท่าน  แต่ล้วกลับดูเหมือนว่าเสียงเตือนอันเปี่ยมด้วยปรีชาญาณของท่านแทบไม่ต่างอะไรกับเสียงกู่ตะโกนท่ามกลางทะเลทราย ที่น่าเศร้ายิ่งไปกว่านั้นคือ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นคนไทย  เป็นปัญญาชนไทยที่อยู่ในยุคสมัยของเรานี้เอง  แต่แล้วเราไม่เพียงแต่ไม่ได้ยินเสียงของท่าน  เรากลับไม่รู้จักท่านอย่างลึกซึ้งเลยเสียด้วยซ้ำ  ในเมืองไทยของเรานั้น  เรารู้จักพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กันอย่างผิวเผิน  พอๆกับที่เรารู้จักอัจฉริยบุคคลอย่างอัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  ไม่มีผิดคือ  พวกเราเห็นรูปของทั้งสองท่าน  เราก็พูดกันด้วยความภาคภูมิใจอย่างอย่างเปลือกผิวว่า  ท่านเป็นคนเก่ง เป็นอัจฉริยบุคคลเป็นเกียรติยศทางปัญญาของประเทศและของโลก  แต่แล้วเรากลับแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรจากท่านมากไปกว่านี้เลย  เป็นที่ทราบกันดีว่าในสมัยสังคมไทยเรานั้นนามของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีไว้เอ่ยอ้างเพื่อสร้างราคาให้ปัจเจกบุคคลนั้นๆ  ดูมีภูมิ  มีในสายตาของคนทั่วไปเท่านั้น  ประโยชน์นอกจากนี้แล้วดูเหมือนว่าเราจะได้รับจากท่านกันน้อยมาก
                    แม้เราจะรู้จักพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)อย่างผิวเผิน  แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นประโยชน์มหาศาลกว่าการรู้จักทรราชทางการเมืองที่คอยหลอกลวงประชาชนอยู่ทุกสมัย  และก็ยังคงดีกว่าการรู้จักนักวิชาการที่ขาดมโนธรรมอีกจำนวนมากในสังคมของเราเอง  ที่พร้อมขายบริการทางวิชาการเพื่อรับใช้กลุ่มบุคคลที่เป็นผู้รับสัมปทานค่านิยม  วัตถุนิยมในสังคมไทยอย่างมืดบอดและส่งผ่านค่านิยมอันตรายนี้สู่ประชาชน  ผ่านสื่อมวลชน  ผ่านวัฒนธรรมบริโภคนิยม  อำนาจนิยม  และผ่านการเมืองแบบประชานิยมที่มีแต่จะทำให้ประชาชนไทยด้อยคุณภาพและตกต่ำลงไปในทางปัญญา   และจิตวิญญาณยิ่งๆขึ้นทุกที 
                    การทำความเข้าใจว่า  วัตถุนิยม  คืออะไร  มีอันตรายอย่างไร  และ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สอนเรื่องนี้เอาไว้อย่างไร  อย่างลึกซึ้งนั้นมีประโยชน์นับอนันต์ไม่เฉพาะในทางวิชาการเท่านั้น  หากแต่ยังคงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ  และกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ชาติทั้งโลกร่วมกันด้วย  สถานการเมืองไทยและของโลกในเวลานี้นับว่าเป็นสภาพเอื้ออย่างยิ่งที่เราจะได้ชวนกันหันกลับมาศึกษาสาระสำคัญของปณิธานข้อที่ ๓  ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กันอีกครั้งหนึ่ง  อย่างรอบคอบ  รอบด้าน  และครอบคลุมมิติด้านต่างๆ  ที่ท่านพยายามบูรณาการให้เราได้เห็นมาตลอดในช่วงชีวิตของท่าน  และได้สอดคล้องกับ  ประเวศ  วะสี  ได้กล่าวไว้ว่า  ขณะนี้โลกได้มีการตระหนักรู้ของวิกฤติการณ์  วัตถุนิยม  บริโภคนิยม  เงินนิยม  มากขึ้นเรื่อยๆ  ดังที่อัลเบริร์ต  ไอน์สไตน์  ได้เคยกล่าวไว้ว่า  ถ้ามนุษย์ชาติจะอยู่รอดได้  ต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง  และท่านดาไล  ลามะ  ทรงกล่าวว่า  วิกฤติการณ์ปัจจุบัน เป็นวิกฤติการณ์แห่งการพร่องทางวิญญาณ  ต้องแก้ด้วยการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ ลาร์สโล  โกรฟ  และรัชเชล  กล่าวว่า  อารยธรรมตะวันตกกำลังพาโลกทั้งโลกเข้าไปสู่วิกฤติการณ์อย่างรุนแรง  อารยธรรมบริโภคนิยมไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่เกิดวิกฤติ  มีทางเดียวเท่านั้นที่จะรอดได้คือ  การปฏิวัติจิตสำนึก
                    แต่ทั้งหมดนี้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เห็นว่าวิกฤติการณ์จากวัตถุนิยมก่อนใครๆ  เริ่มตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๗๕  เมื่อท่านตั้งสวนโมกขพลาราม  ท่านก็เริ่มพูดถึงพิษภัติของวัตถุนิยมเรื่อยมา  ท่านเห็นว่าหัวใจของทุกศาสนาคือ  การไปพ้นจากวัตถุนิยม  ที่ใช้คำว่า  Spiritual    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เองใช้คำว่า  ทางจิตวิญญาณ  บ่อยๆ  เช่น  โรงมหรสพทางวิญญาณ  ธรรมเหนือวัตถุนิยม  คือ  ปรมัตถธรรม หรือ โลกุตตรธรรม   พระธรรมโกศาจารย์       (พุทธทาสภิกขุ) พูดถึงธรรมะเหนือวัตถุด้วยคำต่างๆ  เช่น  ไม่ต้องยึดติดในตัวกู  ของกู  ความว่าง  สุญญตา  ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น  นิพพานชิมลอง เป็นต้น  เรียกว่าคำสอนของท่านทั้งหมดมุ่งไปสู่การปลดปล่อยมนุษย์จากการเป็นธาตุของวัตถุนิยมหรืออีกนัยหนึ่ง  ท่านพยายามปรุงโอสถให้เป็นยาสามัญประจำบ้านให้ดื่มกินกันถึงในบ้านเลย  ไม่ใช่เรื่องไกลออกไปในโลก  ถ้าท่านได้เสพธรรมะบ่อยๆ  ความต้องการทางวัตถุนิยมจะลดน้อยถอยไปเอง  การไปพ้นจากอำนาจวัตถุนิยมไม่ได้ยากอย่างที่คิด  และท่านไม่ต้องเรียนโดยละทิ้งวัตถุ  แต่เริ่มโดยการเสพรสธรรมะ เช่น  อ่านคำสอนของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) บ่อยๆ  จนเจอความสุขที่ท่านไม่เจอมาก่อน  เป็นความสุขที่เบาสบาย  แผ่ซ่านไปทั้งตัว  เพราะจิตละ  วาง  จากความหนักแห่ความยึดมั่นในตัวกูของกู  ทำให้หมดความจำเป็นที่จะเสพสุขทางวัตถุอีกต่อไป  ดังที่  เมตตา  พานิช  ได้กล่าวไว้ว่า  เมื่อไรโลกจะมีสัตติภาพ  คำว่า  สันติภาพ ที่คนทั้งโลกกำลังร้องเรียกต้องการนั้น  แท้จริงคืออะไรกันแน่  และที่สำคัญที่สุดนั้นคือ  ตัวบุคคลที่มีอำนาจในการจัดการโลกให้มีสันติภาพเกิดขึ้น  มีความรู้  ความเข้าใจสิ่งนี้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และเพียงพอแล้วหรือยัง  คำตอบมีอยู่แล้วสามารถพิสูจน์ได้จริง  จนไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า  จนถึงขณะนี้โลกก็ยังไม่มีสันติภาพอยู่นั้นเอง
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต้องการสนองพระพุทธประสงค์เพื่อช่วยให้มีสัติภาพ  ท่านจึงมีปณิธานในชีวิต  ๓  ประการ  ท่านมองเห็นพิษภัย  โทษอันร้ายกาจของสิ่งที่เรียกว่า  วัตถุนิยม  ว่าเป็นศัตรูที่แท้จริงของสันติภาพ  จึงต้องช่วยกันทำให้โลกออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม  ซึ่งเป็นปณิธานข้อที่ ๓ และท่านมองเห็นว่า  การทำโลกให้ออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยมเป็นหน้าที่ของทุกคนในโลกแลทุกศาสนา  จึงต้องทำความเข้าใจระหว่างศาสนา  ซึ่งเป็นปณิธานข้อที่ ๒  และท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า  การมองเห็นว่าวิธีที่จะทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างศาสนาจนเกิดการร่วมมือกันได้นั้น  ต้องช่วยให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนๆ  ซึ่งเป็นปณิธานข้อที่ ๑ ธรรมาศรมนานาชาติ  ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองปณิธานของ    พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อให้ท่านได้มาลองอยู่ใช้ชีวิตเรียบง่าย  เป็นเกลอกับธรรมชาติ  ช่วยให้มีจิตใจสูงจนสามารถหลุดพ้นจากอำนาจของวัตถุนิยมได้โดยไม่ยาก  และยังส่งผลให้มีจิตใจที่สงบเย็นเพียงพอที่จะเกิดปัญหา อย่างแท้จริง  จนสามารถมองเห็นความจริงของธรรมชาติอันเป็นหัวใจหรือแก่นแท้ในหลักธรรมคำสอนของทุกๆศาสนา  ดังนั้น  แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                ๑) ปณิธาน ๓ ประการ
               ปณิธาน ๓ ประการเป็นเพชรดีน้ำหนึ่งพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้บรรยายและเขียนทุกส่วนหลายครั้งหลายวาระนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นต้นมา  เช่น  การเข้าถึงหัวใจศาสนาของตนๆ  พระพุทธศาสนาขั้นปุถุชนบทความขนาดยาวเรื่องแรกของท่าน  จากนั้นมีจำนวนมากมายนับไถ้วนจนตลอดชีวิต  การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้บรรยายใจความแห่งคริสตธรรมที่พุทธบริษัทควรทราบ  ในระหว่างวันเสาร์ที่ ๖ มกราคม ถึง ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒๒  ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ในประเทศ  การบรรยายครั้งนี้  ท่านได้มอบความไว้วางใจให้  เสรี  พงศ์พิศ  คริสตศาสนิกนำไปถอดเทปและจัดพิมพ์  ส่วนบาทหลวงวิชัย  โภคทวี  คณะเยซูจิต  ผู้อ่านและฟังธรรมบรรยายแล้วกล่าวว่า  ปณิธาน ๓ ข้อ ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ข้อแรกบอกว่าเข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาของตน  เราจะพบว่าแก่นของทุกศาสนาเป็นแก่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้นเวลาผมไปพูดที่ไหน   ผมพูดเสมอว่าปณิธานของท่านเป็นปณิธานเดียวกับพวกเรา  บอกทุกแห่งที่ไปพูด  เพราะผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ  เช่นเดียวกันกับหัจญี  ประยูร  วทาบยกุล  อิสลามิกผู้เคร่งครัดได้ดั้นด้นจากกรุงเทพมหานคร  มาสนทนาธรรมกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ครั้งแรกเป็นเวลา  ๘  ชั่วโมงในปี  พ.ศ. ๒๔๙๘   ถ้าว่าเมื่อพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กล่าวอะไรเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามแนวทางของท่านก็ดูเหมือนกำลังนำข้าพเจ้าเข้าไปสู่จุดหมายของอิสลามและการนำโลกออกเสียจากวัตถุนิยมนั้น  บัญชา  เฉลิมชัยกิจ  ได้กล่าวไว้ว่า  ถ้าคนละวางตนได้  ความเห็นแก่ตัวจะบางเบาลง  ละความละโมปโลภมากในการยึดครองวัตถุนิยมเกินความจำเป็น  ระบบทุนนิยมเป็นความทุกข์ของสังคมต้องเข้าสู่สังคมนิยมที่มีธรรมะ
                    ปณิธานทั้ง ๓ ข้อ นี้เกี่ยวข้องกันอย่างที่จะแยกกันไม่ได้  เพราะศาสนาทุกศาสนาไม่ต้องการให้คนหลงอยู่ในวัตถุนิยม  ไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลสทั้งสิ้น  มิฉะนั้นจะกลายเป็นนับถือศาสนาเนื้อหนัง  ศาสนาวัตถุนิยม  ดังนั้นวัตถุนิยม  เป็นทุกขสมุทัยของสังคม  จึงทำให้โลกนี้เปลี่ยนเร็วเพราะเราใช้วัตถุปัจจัยที่ผลิตกันอย่างอุตสาหกรรม  โลกนี้มันก็เปลี่ยนเร็ว  เป็นโลกที่บูชาวัตถุ  พูดตรงๆ  ก็ว่าบูชากิเลส  ตรงกว่านั้นก็คือ  บูชาความเอร็ดอร่อยทางเนื้อหนังซึ่งเมื่อก่อนเขาเกลียดกันมาก  เกลียดเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดเดี๋ยวนี้กลายเป็นของบูชาอยู่เหนือหัวคนปัจจุบันนี้  แล้วจะไม่ให้โลกเปลี่ยนอย่างไรเล่า  มันก็เปลี่ยนเป็นหน้ามือหลังมืออย่ามาโทษใคร  โทษนายทุนก็ไม่ได้  นี้ผู้ฉวยโอกาสทีหลัง  กิเลสของมนุษย์ต่างหากที่มันเปลี่ยนคนให้มาบูชาวัตถุ  จนเกิดโอกาสแก่นายทุน  แล้วเมื่อคนจนมันไม่ได้ความอร่อยอย่างนั้น  ก็คิดว่าเพราะนายทุน  ก็จะทำร้ายนายทุน  หารู้ไม่ว่ากิเลสของคนนั้นมันสร้างปัญหาขึ้นมาพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เห็นกาลไกลว่าสังคมโลกต่อไปจะตกอยู่ภายใต้อำนาจวัตถุนิยมอย่างแท้จริงจึงให้เรียกให้สังคมโลกหันมาถอนตัวออกจากอำนาจวัตถุนิยม  โดยยึดปณิธาน  ๓  ประการดังต่อไปนี้
                ๑.ปณิธานข้อแรก  คือ  การทำให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนา  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติดีและตรง  เป็นธรรมสมควรแก่การหลุดพ้น  เพื่อสนองพุทธประสงค์โดยตรงอย่างแท้จริง
                ๒.ปณิธานข้อที่สอง  คือ  การทำความเข้าใจระหว่างศาสนานี้เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ  เพราะโลกนี้ต้องมีมากศาสนาเท่ากับขณะของคนในโลก  เพื่อจะอยู่ร่วมโลกกันได้โดยสันติ  และทุกศาสนาล้วนแต่สอนความไม่เห็นแก่ตัว  จะต่างกันบ้างก็แต่วิธีการเท่านั้น
                ๓.ปณิธานข้อที่ ๓  คือ  การทำโลกให้ออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม  หรือรสอันเกิดจากวัตถุนิยมทางเนื้อหนังนั้น  ควรเป็นกิจกรรมแบบสหกรณ์ของคนทุกคนในโลกและทุกศาสนา  เพื่อโลกจะเป็น  โลกสะอาด  สว่าง  สงบ  จากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
                    สรุปความว่า  ปณิธานทั้ง  ๓  ประการ เป็นเพชรน้ำดีที่พระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ)ฝากเอาไว้ในสังคมไทยและสังคมโลกได้เอาไปเป็นข้อคิด  ข้อปฏิบัติในการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง
                       ๒) แนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับทางการศึกษาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แนวคิดทางการศึกษาของท่านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ให้แนวคิดทางการศึกษาไว้หลายครั้ง  หลายโอกาศโดยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ได้เล็งเห็นวิกฤติพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน  ที่สังคมที่มีปัญหาด้านศีลธรรมคนในสังคมไม่มี  ขาดคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น  ดำรงชีวิตภายใต้การครอบงำในเรื่องวัตถุนิยม  และความเห็นแก่ตัว  ทำความชั่วได้โดยไม่ยั้งคิด  ไม่สะทกสะท้านต่อการกระทำของตนเอง  เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของ  เงินทอง  หรือแม้แต่ชีวิตผู้อื่นด้วยการเบียดเบียนผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตน พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มองเห็นการไกล  และมีแนวความคิดในการที่จะปัดเป่าปัญหานี้ด้วยการชี้ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาพฤติกรรมของเยาวชน  ที่เป็นไปในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง  สร้างปัญหาให้กับตนเอง  ครอบครัว  และสังคม  และการให้การศึกษาให้กับเยาวชน  ให้มีความรู้คู่คุณธรรม  และควรนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง  เป็นเครื่องมือสำคัญในการครองตนและอยู่ร่วมกับสังคม  ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสือหลายๆเล่มของท่าน  ปรากฎว่าท่านได้กล่าวถึงแนวทางการจัดการศึกษา  พอประมวลไว้ได้  ๕  หัวข้อด้วยกันคือ 
                    ๑)  การศึกษาคืออะไร
                    ๒) การศึกษาไม่สมบูรณ์แบบ
                    ๓) การศึกษาหมาหางด้วน
                    ๔) ธรรมในฐานะสิ่งที่ต้องศึกษา
                    ๕) ครู  นักเรียน  คือผู้กำหนดซึ่งทำหน้าที่สร้างโลก 
                                ผลของการศึกษาค้นคว้ามีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑) การศึกษาคืออะไร
                    ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ประเด็นหัวข้อศึกษาคืออะไร  จากหนังสือมีดังนี้คือ  การศึกษาของโลก  ชีวิตงาม  ธรรมวาทะของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) พุทธวิธีชุบชีวิตยามตกอับมนุษย์ธรรมะทุกระดับ  สวนโมกขพลารามเมืองไชยาและพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จากการศึกษาได้แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาว่า  การศึกษาเป็นเรื่องสากลเป็นสิ่งที่สร้างโลก  เป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นอย่างไร  ทำให้รู้จักภาษา  ทำให้ชีวิตก้าวหน้า  จนเต็มความของคำว่าชีวิต  คือความเป็นอยู่  การศึกษาจะช่วยสร้างชีวิตนิรันดร  คือมีความเจริญก้าวหน้าอย่างถูกต้อง  เพื่อความเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด  ในทุกขั้นตอนของการวิวัฒนาการของตน  ตามที่ควรจะเป็น  โดยอาศัยความรู้และทำชีวิตให้ก้าวหน้าอย่างถูกต้องจนมนุษย์สิ่งที่ดีที่สุดด้วยมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิด ๕ ดี คือเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่  เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์  เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน  เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ  และเป็นพุทธมามกะที่ดีต่อพุทธศาสนา   ด้วยมีทมะ  สัจจะ  ขันติ  และจาคะ  ซึ่งอธิบายความได้ว่ามี ทมะคือ  บังคับตัวเองให้ทำดี    มีสัจจะคือ  มีความจริงใจ  ตั้งใจที่จะทำแต่ความดี  มีขันติ  คืออดทน  เมื่อจะต้องอดทนในการกระทำความดี  การกระทำความดีนั้นยากจึงต้องมีความอดทน  มีจาคะคือการละสิ่งชั่ว  สิ่งเลว  อบายมุขทั้งปวง  การสอนของครูจึงต้องสอนให้เกิดความคิดที่จะ  ลด  ละ  เลิก  อบายมุขทั้งปวงที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ  มีปัญหาในการดำรงชีวิต  จากความเข้าใจในหลักศาสนาอยู่อย่างถูกต้อง  นำไปประพฤติปฏิบัติได้ว่า  คำว่า  สามารถ  คือ  ระเบียบปฏิบัติขั้นสูง   ทำๆให้คนมีศีลธรรม  คือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับประโยชน์สุขขั้นพื้นฐานซึ่งจะตรงกับแทบทุกศาสนาที่มุ่งหวังสอนให้ทุกคนเป็นคนดี  ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  ให้มีความเข้าใจในเรื่องอนิจจัง  คือความไม่เที่ยง  ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ   ส่วนเรื่องทุกขังคือความทุกข์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  อนัตตาคือความไม่มีตัวตนคือไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของเราจนลืมคุณงามความดีมีแต่ความเห็นแก่ตัว  และจะต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักจำ  ในการเรียน รู้จักคิดตามไปอย่างมีเหตุผล  รู้จักถามสิ่งที่ไม่เข้าใจและอยากรู้เป็นวิธีการศึกษาตามคำที่        สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งก็คือหัวใจของนักปราชญ์  สุ  คือ ตั้งใจฟังให้ดี  จิ  คือ  คิดให้ละเอียดรอบคอบ  ปุ  คือ  ถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ  ลิ  คือ เขียนบันทึกจดจำไว้  เพื่อสามารถนำมาดูได้หากหลงลืมไป
                    การศึกษาที่ดีจึงต้องมีองค์ประกอบ  ๓  อย่างคือ 
๑) โรงเรียนดี  ได้แก่  อาคารสถานที่ดีพร้อมให้การศึกษา
                                 ๒) มีครูดี  สมกับคำว่าเป็นปูชนียบุคคล  เป็นครูทั้งทางด้านพฤตินัยและจิตใจ
                                 ๓) มีนักเรียน คือ เป็นนักเรียนที่ดำรงตนได้อย่างถูกต้อง
                    นอกจากนั้นการศึกษาต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีสัมมาทิฏฐิ  เป็นมนุษย์ที่ดี  คือมีความรู้ที่ถูกต้อง  มีร่างกายที่ดี  ที่สำคัญมีจิตใจที่ดีงาม  มีความคิดที่ดีที่ถูกต้องนั่นเอง  และการศึกษาต้องสอนให้ผู้เรียนเห็นความจริงของธรรมชาติ  ความเป็นธรรมชาติ  มีเหตุผล  พิสูจน์ได้  ไม่งมงาย  ในเรื่องไสยศาสตร์
                    ดังนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงให้ความสำคัญในเรื่องพุทธธรรมสำหรับผู้เรียน  ที่ควรจะต้องศึกษาคุณลักษณะที่ดีอันพึงประสงค์ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น  ได้แก่ธรรมทำให้งาม  ฆราวาสธรรม ๔  การคบมิตร  สังคหวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ และศีล  จากแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ดังกล่าวนั้น  ต้องมีความรู้รอบตัวคู่กับความรู้ทางพระพุทธศาสนา  ประเทศไทยของเราเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาแต่ขาดการจัดการ  ขาดคนที่จะจัดการให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง  หลักการคือการบูรณาการระหว่างความรู้ทั่วไปทางโลกกับความรู้ความคิดทางคติธรรมเข้าด้วยกันหรือเชื่อมโยงกัน  เช่น  การเรียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประวัติของบุคคลสำคัญ  ต้องให้มีการเชื่อมโยงในเรื่องคุณธรรม  หลักธรรมประจำใจของบุคคลนั้นหรือเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง  มีคติธรรม  หลักธรรมใดบ้างที่ควรนำมาศึกษาเป็นแบบอย่าง
                   
                    สำหรับเครื่องมือในการศึกษา  หลักสูตรตำราเรียนครูสอนเป็นสิ่งสำคัญก็จริงแต่ก็ไม่สำคัญเท่าความตั้งใจ  การปฏิบัติจริงในแต่ละบทเรียน  เรียนรู้ให้จริง  ให้ครบถ้วน  สิ่งสำคัญคือการเอาชนะใจตนเอง  บังคับตนเองให้เรียนรู้ได้อย่างละเอียดครบถ้วน  ต้องพยายามเข้าใจบทเรียนเปรียบเทียบเหตุการณ์จริง  ผู้เรียนประสบกับเหตุการณ์นั้นจริงๆ  ด้วยตนเอง  เกิดความซึมซับในใจจนเป็นเรื่องที่ลืมยาก  จะจำได้แม่นยำกว่าการท่องจำเป็นไหนๆ  เป็นการศึกษาด้วยตนเอง  และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ด้วยความคล่องแคล่ว  รวมถึงการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองสิ่งที่ตนเองได้พบเห็นนำมาเป็นสิ่งที่ศึกษาหาความจริงตามหลักแห่งเหตุผล  โยงไยไปสู่คติธรรมต่างๆ  ให้เกิดเห็นจริงในเรื่องของจริยธรรมอันเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยเสียมิได้ในชีวิต  ทำให้ค้นพบด้วยตนเองว่าอะไรดี  ดีอย่างไร  อะไรไม่ดี  ไม่ดีอย่างไร  ทั้งทางใจและทางกาย  เมื่อจิตใจดีแล้ว  ทางกายก็อย่าละเลยให้ดูแลสุขภาพอนามัยให้ดีด้วย  จากความคิดที่ดีแล้วนั้นจบในที่สุด  เกิด ๕ ดีดังกล่าวแล้ว พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ยังให้แนวคิดเรื่องการศึกษาคืออะไร  ไว้อีกแง่มุมหนึ่งว่าการศึกษานั้นถ้าตั้งต้นจากความอยากรู้  อยากรู้อะไร  ก็จงตั้งต้นการศึกษาโดยคิดว่าเราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้นที่เราอยากรู้  เรียนรู้ให้มากในเรื่องนั้นๆ  จะทำให้รู้เรื่องนั้นเป็นอย่างดีจนพอหรือเกินพอไม่ว่าเรื่องอะไร  ต้องเรียนให้มาก  คิดให้มาก  ทบทวนจวบจนแตกฉาน  จึงจะสอนคนอื่นได้  อยากรู้ก็ให้อ่าน  ฟัง  ค้นคว้า  การศึกษาที่เห็นแจ้งจากภายใน  คือเกิดความรู้  ความฉลาด  สามารถเข้าใจ  นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ด้วยตัวของตัวเองจะทำให้บรรลุผลความมุ่งหมายไม่แพ้ใคร  และการศึกษา  ศาสนาวัฒนธรรม  ประเพณี  การเมือง  การปกครอง  การเศรษฐกิจ  ศิลปะ  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  วิทยาการใดๆ  ก็แล้วแต่  ต้องใช้เป็นเครื่องมือในการดับทุกข์ในใจของตนได้  จึงเป็นการศึกษาที่ถูกต้อง  โดยศึกษาธรรมะเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ให้ถ่องแท้เข้าใจให้เกิดการเรียนรู้  การมีความรู้ในเรื่องต่างๆ  แล้วนำไปใช้  นำไปปฏิบัติ  จนเกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นได้  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางเทคโนโลยีทุกชนิด  ไม่อาจใช้เป็นเครื่องมือเอาชนะกันได้  นอกจากจะมีแต่ความพินาศด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่ายต้องมีธรรมต้องมีความรักทางศาสนาเป็นรากฐาน
                    สำหรับการศึกษาตามความคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงหมายถึงการจัด  การเรียนการสอน  ให้กับเยาวชนให้เรียนรู้ที่จะเป็นคนดีมีคุณธรรม   และมีวิชาความรู้ที่จะดำรงชีวิตในสังคมอย่างถูกต้องและมีความสุข  ครูผู้สอนต้องสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์  สงเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  สาระการเรียนรู้  การให้มีคุณธรรม  ศีลธรรม  จริยธรรม  บูรณาการกับวิชาความรู้


๓) การศึกษาไม่สมบูรณ์แบบ   
                    ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ประเด็นหัวข้อการศึกษาไม่สมบูรณ์แบบจากหนังสือดังต่อไปนี้  ได้แก่  ธรรมคือสิ่งพัฒนาชีวิต  การพัฒนาชีวิตโดยพระไตรลักษณ์  หลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้โลกรอดได้  ต้นเหตุของปัญหาทุกระดับในโลก  การดำรงชีวิตที่ถูกต้อง  การศึกษาของโลก  พุทธทาสภิกขุนักปฏิวัติสังคมผู้ยิ่งใหญ่  และวิทยานิพนธ์  เรื่องการพัฒนาชุดการฝึกอบรมธรรมตามแนวคิดทางการศึกษาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาสังคม  จากการศึกษาเอกสารพบว่า  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้แสดงความคิดเห็นต่อลักษณะปัญหาการศึกษาของไทยไว้ว่า  การศึกษาที่วางแนวทางไว้เดิมไม่สมบูรณ์  เป็นการศึกษาที่สร้างความเห็นแก่ตัว  แข่งขันกันใช้ความฉลาดแบบเฉโก  เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง  คิดแต่จะเอารัดเอาเปรียบกัน  ไม่มีศีลธรรมเป็นตัวควบคุมความฉลาด  ไม่มีตัวนำด้านจิตวิญญาณ  คือจิตใจ  ไม่มีจุดยืนที่แน่นอน  ไม่ได้สร้างพลเมืองที่ดี  ศาสนิกชนที่ดี  และเพื่อนที่ดีต่อกัน  จึงไม่อาจทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้  และ    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ยังได้กล่าวอีกว่า  การศึกษาสมัยก่อนอยู่ในมือของพระ  มีการจัดระบบเป็น ๓ ส่วน  ส่วนที่หนึ่งเป็นการศึกษาให้รู้หนังสือ  คือมีสติปัญญา  ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเพื่อเป็นการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ  คือ  รู้เทคโนโลยี  และส่วนที่สามเป็นการศึกษาธรรมะเพื่อความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง  เมื่อศึกษาครบทั้งสามส่วน  จึงมีผลให้เป็นมนุษย์ที่เต็มตามความหมายของคำว่า เป็นมนุษย์   คือเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอันตราย  เป็นสัตว์ที่ปราศจากอันตราย  เป็นสุภาพบุรุษที่ปราศจากอันตราย  เป็นสัตบุรุษที่ปราศอันตราย  เป็นอริยชนที่ปราศจากอันตราย  ซึ่งการจะเป็นมนุษย์      
                                                




            [๑] ธรรมปราโมทย์ . ตามรอยชีวิตพุทธทาสภิกขุ. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา. ๒๕๕๒), หน้า  ๔.
                    [๒] พระประชา  ปสนฺนธมฺโม.  เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา.  (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.  ๒๕๔๖),  หน้า  ๔.
    [๓] นายรัตน  ลิ้มตระกูล,อัตชีวประวัติและแนวคิดทางการศึกษาของท่านอาจารย์พุทธทาส,  ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,  (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,  ๒๕๔๗
                    [๔] สุวรรณ  เหลืองชลธาร. พุทธทาส สวนโมกขพลาราม กำลังแห่งความหลุดพ้น. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพมหานคร. ๒๕๔๑), หน้า ๒๑.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น