บทที่ ๓
บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีประเด็นจะต้องศึกษาดังต่อไปนี้
๓.๑ การเผยแผ่ด้วยการการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ และเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
๓.๒ เทคนิคและวิธีการในการเผยแผ่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๓.๓ บทบาทด้านกลุ่มบุคคลในการเผยแผ่
๓.๓.๑ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ
๓.๓.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทย
๓.๓.๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการขององค์กร
๓.๓.๔ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการพระธรรมทูต
๓.๑ การเผยแผ่ด้วยการการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ และเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ก่อตั้งสวนโมกขพลารามขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรื้อฟื้นพระพุทธศาสนาและส่งเสริมการปฏิบัติธรรมให้เป็นแบบอย่างแก่ภิกษุสามเณรและชาวพุทธทั่วไป ให้เหมือนสมัยพุทธกาล ดังที่ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติธรรมตามหลักที่แท้จริงของพระพุทธศาสนานั้น ได้เสื่อมถอยไปจึงรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ให้มีการปฏิบัติเช่นครั้งพุทธกาล และต้องส่งเสริมให้ก้าวหน้าถึงที่สุด จึงได้ตั้งสวนโมกขพลารามขึ้นเพื่อการนี้ โดยใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การเกิดขึ้นของสวนโมกขพลาราม จึงถือเป็นนิมิตหมายใหม่ของการแก้ปัญหาต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาให้ดีขึ้นโดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่สวนโมกขพลารามพยายามฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมอย่างมากมาย เช่น การจัดอบรมการปฏิบัติธรรมทั้งภายในและภายนอกสถานที่ การปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในระยะ และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมอย่างกว้างขวางด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเขียนหนังสือธรรมะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งมีมากมายที่จัดพิมพ์ออกเผยแผ่แล้ว เช่น หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ จำนวน ๕๐ เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือในลักษณะสารานุกรม มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องปรมัตถธรรม การศึกษา การฝึกสมาธิ และอื่นๆ ยังมีหนังสือชุดตามรอยพระอรหันต์ ตลอดถึงชุดบรรยายธรรมทั่วไป
นอกจากนี้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการช่วยเหลือผู้คนในสังคมให้ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข โดยการแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ เช่น การให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติธรรมด้วยการทำงานตามหน้าที่ที่มีอยู่ตามสถานภาพทางสังคม ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมที่ทุกคนสามารถทำได้ในทุกๆที่ ทุกเวลาตามที่ตนเองมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ การกระทำเช่นนี้เป็นการช่วยเหลือสังคมไม่ให้เกิดความวุ่นวาย และเมื่อได้ปฏิบัติตามที่ตนเองมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ การกระทำเช่นนี้เป็นการช่วยเหลือสังคมไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ทำให้สังคมเป็นสุข เมื่อทุกคนทำหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นการศึกษาการเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังมีรายละเอียดดังนี้
(๑) การเผยแผ่ด้วยการการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มองเห็นปัญหาทางสังคมของคนในการดำเนินชีวิต ว่าคนในสังคมปัจจุบันจะมีปัญหา (ทุกข์) อยู่ ๒ ประการคือ ปัญหาที่แก้ได้ เป็นปัญหาทางวัตถุ ทางร่างกาย เมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลใดก็สามารถใช้ความรู้ที่ศึกษามาแก้ปัญหาได้ และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ปัญหาทางจิตใจ หรือปัญหาทางวิญญาณ ที่เงินทอง ชื่อเสียง อำนาจ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และสังคมปัจจุบันคนกำลังประสบปัญหาทางจิตใจมาก อาจสืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ขาดหลักธรรมที่จะคอยค้ำจุนจิตใจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง จึงยากต่อการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากเดิมได้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับชีวิต คนจึงคิดและหาทางออกจากปัญหาต่างๆ ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น การหันหน้าพึ่งยาเสพติด ทำผิดกฎหมาย การฆ่าตัวตาย เป็นต้น การคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าวไม่ถูกต้องนักเป็นเพราะการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ที่แท้จริงได้เสื่อม ผู้คนไม่เข้าใจในหลักธรรม ไม่ได้นำธรรมะมาใช้ ในการดำเนินชีวิต สิ่งเหล่านี้จึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงสนใจและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมอย่างมากมาย
บทบาทสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่เข้ามาแก้ปัญหาทางจิตวิญญาณ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ประสบอยู่ และไม่สมารถแก้ไขได้ โดยการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรม ทั้งที่เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามาเณร ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญในการช่วยเหลือสังคมด้านจิตวิญญาณสืบทอดกันมา และการปฏิบัติธรรมของประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถใช้ธรรมะแก้ปัญหาชีวิตได้ เป็นการช่วยให้คนดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขที่แท้จริง การศึกษาบทบาทของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ ในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังนั้น พอประมวลเอกลักษณ์ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ลักษณะจำเพาะของสำนักสวนโมกขพลารามมีดังนี้
๑) มีสมองดี
๒) ไม่เชื่อง่าย
๓) ปฏิเสธวัตถุนิยม
๔) เป็นคนพุทธิจริต
๕) ชอบใช้ปัญญาเจาะลึก
๖) มีอิทธิบาท ๔ สูง
๗) มีความสนใจและความสามรถในการถ่ายทอดสูง
๑) มีสมองดี
ผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) คงจะต้องลงความเห็นว่าท่านมีสมองดีมาก ดีกว่าคนอื่น โดยทั่วไป หรือดีถึงขั้นหายากเพราะถ้าดีขนาดทั่วไปคงไม่สามารถสร้างงานได้อย่างที่ปรากฏ การมีสมองดีนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรม อย่างที่ท่านว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ส่วนหนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อม การที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต้องได้รับเหตุปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มีสมองดีเป็นแน่แท้
๒) ไม่เชื่อง่าย
คนส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อง่ายด้วยลักษณะของการเลี้ยงดูในครอบครัว การศึกษา ศาสนา กฎหมาย และวัฒนธรรม ซึ่งมีประโยชน์ในวาระที่ทำให้หมู่คณะทำอะไรเหมือนๆกัน เพื่อการเกาะกลุ่มและต่อสู้ แต่มีโทษคือ ขาดปัญญาที่จะแก้ปัญหา ซึ่งถ้าทำอย่างเดิมไปบ่อยๆแล้วแก้ปัญหาไม่ได้
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เรียนในโรงเรียนสามัญ ศึกษาถึงชั้นมัธยมปีที่ ๓ และเรียนบาลีได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และปฏิเสธที่จะเรียนต่อไปที่จะมีชีวิตอยู่ในระแบบพระในเมือง ได้ออกไปอยู่ป่า ปฏิเสธการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไม่เชื่อคำสอนแบบดาษดื่น ไม่เชื่อว่าสิ่งที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกจะเป็นพุทธวจนะทั้งหมด นี้เป็นเคล็ดสำคัญที่ทำให้ท่านบรรลุปัญญาอย่างเอกอุ ถ้าเชื่อง่ายและทำตามกันไปเรื่อยๆ ก็เหมือนๆเดิม พระพุทธองค์จึงทรงสอนเรื่องกาลามสูตรที่ไม่ให้เชื่อง่าย คนส่วนใหญ่จะไม่ปฏิบัติตามกาลามสูตรหรือปฏิบัติไม่ได้ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) นับเป็นผู้ที่ประยุกต์ใช้กาลามสูตรอย่างยิ่งผู้หนึ่ง
๓) ปฏิเสธวัตถุนิยม
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ปฏิเสธลาภยศและการเสพติดทางวัตถุ ไปอยู่ป่ากินอยู่อย่างง่ายๆ ข้อนี้ทำให้ท่านได้สัมผัสกับธรรมชาติ มีเวลาที่จะคิดค้นมาก คำสอนของท่านจะเน้น กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู อยู่กุฏิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง หรือ เป็นอยู่เหมือนตายแล้วอยู่บ่อยๆ และสถานที่ฉันข้าวของพระภิกษุสามเณร คือลานหินโค้ง อันมีชื่อเสียงเป็นสถานที่อเนกประสงฆ์ พระภิกษุสามเณรนั่งฉันกับพื้นทราย ญาติโยมนั่งตามพื้นตามโคนต้นไม้และพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ชอบกล่าวว่า พระพุทธเจ้าประสูติที่พื้นดิน (สวนลุมพินีวัน) ตรัสรู้ที่พื้นดิน (ใต้ต้นโพธิ์) และปรินิพพานที่พื้นดิน (ระหว่างต้นรังคู่) และอุโปสถของสวนโมกขพลารมไม่มีอาคาร เป็นที่กลางแจ้ง และที่พักของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีผู้สร้างห้องน้ำถวายท่านก็ไม่ใช้ ท่านสรงน้ำในโอ่งข้างนอก และนอนที่แคร่เล็กๆ ซึ่งตรงกับปณิธานอยู่อย่างหนึ่งของท่านคือ เพื่อนำมนุษย์ออกจากวัตถุนิยม
๔) เป็นคนพุทธิจริต พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ชอบศึกษาค้นคว้าเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งพระไตรปิฎก คำสอนมหานิกาย หรือศาสนาอื่น วิทยาศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์โบราณคดี และสังคมทั่วไป ทำให้ท่านมีความรู้กว้างขวางและเชื่อมโยง และสามารถแสดงธรรมที่สอดคล้องกับเรื่องของชีวิต และสังคมได้ทุกแง่มุม ปัญหาของพระส่วนใหญ่ขณะนี้คือ ไม่สามารถสื่อความหมายกับชาวบ้านได้ และชาวบ้านก็ไม่สนใจพระ เพราะเห็นว่าพระไม่เข้าใจปัญหาของเขา คงกราบไหว้ทำพิธีกรรมไปตามเรื่องตามราว แต่ไม่ได้รับประโยชน์จากพุทธธรรมจริงๆ ส่วนพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไม่มีพิธีมากนัก ใช้หลักธรรมสอนล้วนๆ และเข้าใจง่าย ทำให้ญาติโยมหรือผู้ที่มาฟังทำให้เกิดปัญญา เข้าใจหลักธรรมที่ถูกต้องไม่ไปติดที่เปลือก
๕) ชอบใช้ปัญญาเจาะลึก
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ตรวจสอบพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ และพบหลักธรรมที่ลึกซึ้งอันยากต่อการเข้าใจ ที่ไม่ค่อยมีผู้ใดนำมาพูดกันเลย ฝังอยู่เหมือนเพชรในตม พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้นำสิ่งเหล่านี้มาสอน เช่น อิทัปปัจจยตา ตถตา และเมื่อตรวจสอบปฏิจจสมุปบาท จนแน่ใจแล้ว ท่านลงความเห็นว่า การตีความปฏิจจสมุปบาท ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวอินเดีย อันพระภิกษุใช้ในการศึกษากันมาช้านาน น่าจะไม่ถูกต้อง ตรงนี้ท่านปรารภว่า ท่านจะขอเป็นไม้ซีกงัดไม้ซุง จะเห็นได้ว่าพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) นั้นเป็นผู้มีปัญญาเจาะลึกหลักธรรม ในทางพระพุทธศาสนาอย่างเข้าใจถ่องแท้
๖) มีอิทธิบาท ๔ สูง
คนธรรมดาโดยทั่วไป นำอิทธิบาท ๔ ไปใช้ไม่ค่อยสูง ทำให้พัฒนาตนยาก สำหรับ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่างจากบุคคลทั่วไป ที่มีความขยันขันแข็งยิ่งนักทั้งทางการศึกษาตรวจค้น การเขียนหนังสือ การแสดงธรรม และอื่นๆ ทำให้มีผลงานเป็นหนังสือมากยิ่งกว่าพุทธสาวกใดๆ ศาลาธรรมโฆษณ์ที่สวนโมกขพลารามบรรจุหนังสือที่ท่านเขียนและจากธรรมเทศนาของท่านเต็มหลัง ขณะนี้ท่านชราภาพมากแล้ว และไม่ค่อยสบาย เมื่อเร็วๆนี้ ท่านปัญญนันทมุนีได้ติดต่อจะขอส่งพระ ๒๕๐ รูป ไปยังสวนโมกขพลารมเพื่อการอบรม ท่านว่าท่านอบรมไม่ไหว แต่ในฤดูแล้งจะนอนอบรมบนเก้าอี้โยกดู ข้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ท่านมีอิทธิบาท ๔ สูงมาก แม้เป็นไข้ แต่ท่านจะขอนอนอบรมบนเก้าอี้โยก ลักษณะพระภิกษุทั่วไปคงไม่ใคร่ทำกัน เห็นได้จากพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เท่านั้น
๗) มีความสนใจและความสามรถในการถ่ายทอดสูง
พระบางรูปมีธรรมสูงแต่อบรมใครไม่เป็น ดังที่มีคำกล่าวที่ว่า อรหันต์แห้งแล้งพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สนใจในการถ่ายทอดธรรมะมาก เช่นการเทศน์เป็นที่ถูกอกถูกใจชาวบ้านตั้งแต่เป็นหนุ่มและได้ออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนารายไตรมาส ทำให้ธรรมจากสวนโมกขพลารามกระจายไปโดยรวดเร็ว แม้ท่านจะปฏิเสธวัตถุนิยมดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ถ้าเป็นวัตถุเพื่อสอนธรรมแล้ว ดูท่านจะชอบเป็นพิเศษ พระที่สวนโมกขพลารามด้านออกเทปและถอดเทป ท่านยังให้สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ รูปปั้น รูปวาด อันเป็นปริศนาธรรมชอบให้สร้างขึ้นไว้เพื่อสอนธรรมะท่านเป็นผู้สนใจศึกษาธรรมอย่างแท้จริง
คุณลักษณะทั้ง ๗ ประการที่กล่าวมานี้ หาใช่จะมีแต่ในองค์พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไม่ พระรูปอื่นๆก็มีบางข้อ มากบ้างน้อยบ้าง แต่ที่จะมีครบทั้ง ๗ อย่าง และเป็นอย่างมากหาได้ยากยิ่ง คุณลักษณะพิเศษดังกล่าว ร่วมกันทำให้เกิดความเป็นพุทธทาสอย่างท่านเป็น
สำหรับบทบาทสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านเข้ามาแก้ปัญหาทางจิตวิญญาณที่ผู้คนส่วนใหญ่ประสบอยู่ และไม่สามารถแก้ไขได้ โดยการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรม ทั้งที่เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับสำหรับพระภิกษุสามเณร ในฐานะที่บุคลสำคัญในการช่วยเหลือสังคม ด้านจิตวิญญาณสืบทอดกันมา และการปฏิบัติธรรมของประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถใช้ธรรมะแก้ปัญหาชีวิตได้ เป็นการช่วยให้คนดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขที่แท้จริง การศึกษาบทบาทด้านการปฏิบัติธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จำแนกประเด็นได้ดังต่อไปนี้
๑.การปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรของสวนโมกขพลาราม
พระภิกษุสามาเณร เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในฐานะเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณรจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้คนมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงสามารถเผยแผ่หลักปริยัติ และสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติ ดังที่ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า หากเราต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างไร เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เขาก่อน
จากการศึกษาบทบาทด้านปฏิบัติธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นแบบอย่างนั้น ผู้วิจัยพบว่า การปฏิบัติธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และพระภิกษุสามเณรในวัดสวนโมกขพลารามแห่งนี้ เป็นไปตามหน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย ซึ่งการทำงานทุกๆอย่าง ย่อมมีหลักการปฏิบัติเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติยึดแบบแนวทางเดียวกัน และไม่ผิดพลาดจากวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ดังที่พระภาวนาโพธิคุณ แห่งสวนโมกขพลาราม ได้กล่าวว่า การปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามโดยการนำของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)นั้นจะยึดหลัก “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” หรือ “ธรรมะคือหน้าที่” ซึ่งเป็นความหมายแห่ธรรมที่ครอบคลุมทุกเรื่อง ดังนั้นพระภิกษุสามเณรทุกรูปในสวนโมกขพลารามจะปฏิบัติธรรมด้วยการทำงานเป็นกิจวัตร โดยไม่ต้องมีใครบังคับ ทำนองเดียวกัน พระอาจารย์ นุ้ย สมฺปนฺโน แห่สวนโมกขพลาราม ได้กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามไว้ว่า พระสงฆ์กับแนวทางการปฏิบัติธรรมด้วยการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานตามหน้าที่ของพระสงฆ์ หรือ งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ในสวนโมกขพลาราม ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพราะพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้บัญญัติ คำว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” และในฐานะที่พระสงฆ์มีหน้าที่ช่วยเหลือสังคมในการเผยแผ่หลักปฏิบัติดังกล่าวให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ ดังนั้นพระภิกษุสงฆ์สามเณรทุกรูปที่สวนโมกขพลาราม จะต้องทำงานหรือมีหน้าที่เป็นของตัวเอง และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกวาดลานวัด การล้างจาน การล้างบาตร การบิณฑบาต การท่องตำรา ศึกษาพระธรรม รวมถึงการก่อสร้างต่างๆ และอื่นๆ พระภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลาราม ปัจจุบันเป็นพระสงฆ์ที่มีความรู้ดีมาก่อน หรือเป็นผู้ที่มีฐานะดีมาก่อนถึงร้อยละ ๘๐ แต่เมื่อมาอาศัยอยู่สวนโมกขพลารามทุกอย่างต้องทิ้งให้หมด พระสงฆ์ทุกรูปต้องทำงานเสมอเท่าเทียมกันตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นการสอนคนไม่ให้เกียจคร้านให้รู้จักหน้าที่ แต่การทำงานนี้คือการปฏิบัติธรรม ต้องทำด้วยความเป็นสุข สนุกสนาน อย่าไปยึดมั่นในตัวกู – ของกู การยึดมั่นถือมั่นตรงกับภาษาบาลีว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น คือการปฏิบัติตามหลักธรรมของอนิจจังที่ว่า สิ่งทั้งหลายล้วนเปลี่ยนแปลง พระภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลารามจึงต้องปฏิบัติข้อนี้ได้เป็นพื้นฐาน
การงานที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ตลอดถึงพระภิกษุสามเณรใน สวนโมกขพลารามปฏิบัติเป็นกิจวัตรที่ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมตามหลัก “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑)การสวดมนต์ภาวนา การสวดมนต์ภาวนาเป็นวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ตลอดถึงพระภิกษุสามเณรในวัดสวนโมกขพลารามที่ต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแบ่งการสวดมนต์ออกเป็น ๓ อย่าง ได้แก่ การสวดมนต์เช้า การสวดมนต์เย็น และการสวดมนต์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การสวดมนต์เช้าหรือการทำวัตรเช้า พระภิกษุสามาเณรทุกรูปในสวนโมกขพลารามหรือในวัดอื่นๆ ซึ่งนำแนวปฏิบัติธรรมของสวนโมกขพลารามไปถือปฏิบัติ จะตื่นเช้าตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา สำหรับพระภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลารามจะไปพร้อมกันที่ลานหินโค้ง แล้วนั่งเรียงแถวกลางลานดิน ตามธรรมชาติ แบบอย่างสมัยพุทธกาล หากพระสงฆ์รูปใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถไปสวดมนต์ที่ลานหินโค้งได้ ก็ให้สวดมนต์ปฏิบัติธรรมได้บนกุฏิตนเอง การสวดมนต์จะใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที เสร็จแล้วพระสงฆ์จะแยกย้ายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ต่อไป
การสวดมนต์เย็นหรือทำวัตรเย็น พระภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลารามจะกระทำเช่นเดียวกันกับการสวดมนต์เช้า ซึ่งพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปพร้อมกันที่ลานหินโค้ง หรือหากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถไปได้ก็ให้สวดมนต์ที่กุฏิตนเอง ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที การสวดมนต์ภาวนาจึงเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกๆวัน โดยเฉพาะที่สวนโมกขพลารามได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจเบื้องต้นของพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม
นอกจากนี้ยังมีการสวดมนต์ภาวนาในวันสำคัญสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา ซึ่งพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามจะทำกิจกรรมนี้ที่ลานหินโค้งโดยมีประชาชนมากมายมาแสวงบุญ การสวดมนต์ภาวนาที่สวนโมกขพลาราม กระทำอยู่คือ การสวดมนต์แปล เพื่อต้องการให้ทราบความหมายของการสวดมนต์แต่ละบท ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจหลักธรรมได้ดียิ่งขึ้น
การฝึกสมาธิเป็นรูปแบบหนึ่งของการปฏิบัติธรรมที่ให้จิตใจสงบ บริสุทธิ์ เป็นการดับตัณหาที่ทำให้ชีวิตประสบความสุข ดังที่ ธรรมทาส พานิช ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่ฝึกสมาธิจนจิตใจเข้าสู่ภาวะที่รู้แจ้ง จะดับตัณหาได้ จึงทำให้เกิดความสุข และตรงกันข้ามกับชีวิตของชาวโลกทั่วไป ที่ถูกครอบงำด้วยตัณหาจึงต้องตรากตรำตลอดเวลา เพราะทุกคนต้องการเงินทองทรัพย์สมบัติ เพื่อนำมาสนองกิเลสตัณหา ในเรื่อง การกิน การแต่งกายที่ฟุ่มเฟือย แต่ชีวิตของผู้ที่มีจิตใจเป็นสมาธิจะสงบ สว่าง ไม่มีความปรารถนาสิ่งใด เพราะการฝึกสมาธิทำให้ตัณหาดับสนิทแล้ว ย่อมไม่มีเรื่องเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง การกิน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ จึงเรียบง่าย ชีวิตจึงพบกับความสุขตลอดกาลไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่เช่นไร
การปฏิบัติธรรมโดยการฝึกสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ ในสวนโมกขพลาราม แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ การนั่งสมาธิ และการเดินสมาธิ (การเดินจงกรม) ดังที่พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามจะฝึกสมาธิได้ทุกอิริยาบถ แต่การฝึกสมาธิที่เห็นรูปธรรมชัดเจนคือ การนั่งสมาธิ และการเดินสมาธิ การเดินจงกรมพระสงฆ์จะปฏิบัติกันเป็นประจำ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๒) การนั่งสมาธิ เป็นการฝึกจิตให้มีสติ จิตใจสงบปล่อยวางจากสิ่งยึดมั่นถือมั่น ดังที่พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า พระภิกษุสงฆ์จะปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนาเพื่อให้มีหลักธรรมประกอบกัน ๓ อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา จากคนธรรมดาบางครั้งไม่ได้มีศีลที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร แต่เมื่อบวชเป็นพระภิกษุ การปฏิบัติตามในศีลจึงเกิดขึ้น เช่น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ อุโบสถศีล และศีล ๒๒๗ การปฏิบัติตนอยู่ในศีลของพระสงฆ์ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งพระธรรมวินัย เมื่อปฏิบัติอยู่ในศีลแล้วต่อมาต้องให้อยู่ในสมาธิ เพื่อความสว่างแห่งจิตใจ การทำงานอะไรก็จะสำเร็จ พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามจะฝึกสมาธิโดยกำหนดอิริยาบถนั่งสมาธิ เรียกว่า “สมถกัมมัฏฐาน” คือการมีสติกำหนดให้รู้ในทุกจังหวะของอิริยาบถนั่ง การนั่งสมาธิของพระภิกษุสามาเณรในสวนโมกขพลารามจะมีการปฏิบัติแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ การนั่งสมาธิตามปกติของการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คือวันละ ๓ เวลา ซึ่งพระสงฆ์จะนั่งสมาธิในช่วงเช้า หลังจากทำวัตรเช้า ช่วงเที่ยงเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ นาฬิกา พระสงฆ์จะปฏิบัติกิจด้วยการนั่งสมาธิอีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และการนั่งสมาธิฝึกจิตใจขั้นลึก ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกต่อเนื่องกันหลายวัน การปฏิบัติกิจฝึกสมาธิขั้นลึกนี้ทางสวนโมกขพลารามจะจัดการอบรมให้เป็นช่วงๆ อาจจะใช้สถานที่ที่สวนโมกข์นานาชาติ หรือ สวนโมกขพลารามแล้วแต่ความสะดวก การอบรมแต่ละครั้งก็จะมีพระสงฆ์เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๑๐๐ กว่ารูป ในอดีตการฝึกสมาธิขั้นลึกที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้อบรมฝึกพระภิกษุสามเณรด้วยตนเอง ปัจจุบันพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มรณภาพไปแล้ว การฝึกสมาธิก็จะยังคงใช้รูปแบบเดิม แต่ใช้เทปเสียงของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งจะมีวิธีการและขั้นตอนตามแบบสมัยเดิมทุกอย่าง การฝึกสมาธิที่พระภิกษุสามเณรได้ปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำ นี้เรียกว่า อานาปานสติภาวนา คือการฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจ และการฝึกสมาธิวิปัสสนายุคปรมาณู คือระบบปฏิบัติสมาธิภาวนาที่ครบถ้วน โดยใช้หลักของธรรมชาติกำหนดลมหายใจ และอิริยาบถทุกอย่าง ฝึกเพื่อให้เห็นอาการที่ไม่เที่ยง หลังจากฝึกจนครบหลักสูตรแล้ว พระสงฆ์ทุกรูปจะได้รับกฏเกณฑ์และวิธีการฝึกอย่างครบถ้วนทั้งภาคทฤษฎี คือ ปริยัติและปฏิบัติ รวมถึงผลของการปฏิบัติคือ ปฏิเวธ หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์เองแต่ละรูปที่จะฝึกฝนด้วยตนเอง หาที่สงบภายในสวนโมกขพลาราม แต่ต้องทบทวนปฏิบัติทุกวันให้บรรลุถึงธรรมอย่างแท้จริง
๓) การเดินสมาธิ(การเดินจงกรม) เป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง ของพระสงฆ์ใน สวนโมกขพลาราม ดังที่พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า การเดินจงกรมเป็นการฝึกสมาธิด้วยอิริยาบถเดิน ซึ่งพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามได้ฝึกปฏิบัติกันเป็นประจำ การฝึกสมาธิด้วยการเดินจงกรมจะช่วยให้จิตใจสงบ มีสติ และผู้ปฏิบัติสามารถควบคุมตัวเองได้ดี เนื่องจากการเดินเป็นอิริยาบถที่ต้องเคลื่อนไหวถ้าสมาธิไม่ดี จิตไม่สงบจะทำให้เดินผิดพลาดได้ ดังนั้นการฝึกจิคต้องใช้ความพยายามระดับหนึ่ง การเดินสมาธิ (การเดินจงกรม) พระสงฆ์จะต้องกำหนดจิตให้รู้อยู่ตลอดเวลาว่ากำลังเดิน โดยสมาธิจะอยู่ที่เท้าก้าวย่าง ถ้าจิตไม่มั่นคงจะทำให้ผิดพลาดได้ พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามจะใช้บริเวณสวนโมกขพลาราม เช่น ลานหินโค้ง สระนาฬิเกร์ บริเวณกุฏิ เพื่อฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิไม่ว่าจะนั่งหรือเดิน เมื่อเข้าสู่ภาวะที่จิตมีสมาธิจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา ทำให้เป็นผู้มีความพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เหมาะสมกับการปฏิบัติสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
๔) การฉันอาหาร พระภิกษุสามาเณรในสวนโมกขพลารามเป็นผู้ที่ปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งทั้งปวง จึงได้มีการกำหนดให้การฉันอาหารเป็นการปฏิบัติธรรม โดยถือหลักที่ว่า “กินข้าวจานแมว” ดังที่พระอาจารย์ นุ้ย สมฺปนฺโน ได้กล่าวไว้ว่า พระภิกษุสงฆ์ใน สวนโมกขพลาราม จะฉันอาหารโดยยึดหลัก กินข้าวจานแมว คือการฉันอาหาร ที่นำข้าวแกง และอื่นๆ ที่เป็นอาหารประจำมื้อนั้นๆ คลุกเคล้าเข้าด้วยกันลงในบาตรโดยไม่คำนึงถึงรสชาติของอาหารคาวหวาน
การฉันอาหารลักษณะดังกล่าว เป็นการฉันอาหารตามแบบพระอรหันต์ ดังที่ ธรรมทาส พานิช ได้กล่าวไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้วก็รู้ว่า ตัณหาเป็นเหตุของความทุกข์ทั้งปวง พระองค์จึงได้ดำรงชีวิตอยู่โดยปราศจากตัณหา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชาวโลก ในด้านการฉันพระองค์ฉันเพียงวันละ ๑ เมื้อ โดยคลุกเคล้าอาหารทุกอย่างเข้าด้วยกัน และไม่คำนึงถึงรสชาติของอาหาร ฉันอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวของร่างกายเท่านั้น
การฉันอาหารแบบ “กินข้าวจานแมว ” จึงเป็นการฝึกปฏิบัติธรมของพระภิกษุสามเณรไม่ให้ยึดติดกับความอร่อยหรือรสชาติของอาหาร แต่ให้คิดว่าการฉันอาหารเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ เพื่อรักษาพรหมจรรย์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา พระภิกษุสามาเณรจึงฉันอาหารเพียงวันละ ๑ มื้อ อาหารเช้า (จังหัน) หรือฉันเที่ยง (เพล) ก็ได้ ดังที่ คณิงนิต จันทบุตร ได้กล่าวไว้ว่า การฉันอาหารของพระสงฆ์ในสวนโมกขพลาราม เป็นเหมือนพระป่าทั่วๆไป คือฉันในบาตร จะฉันมื้อเดียว ตามความเหมาะสมของร่างกายไม่คำนึงถึงรสชาติของอาหาร ฉันเพื่อให้ร่างกายตั้งอยู่ได้เพื่อปฏิบัติธรรมต่อไป
การฉันอาหารในแต่ละวันของพระภิกษุสามเณรจะฉันอาหารกันที่โรงฉันหรือกุฏิตนเองก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก แต่ต้องช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง โดยแม่ครัวจะจักอาหารไว้ที่โรงฉันเป็นหม้อๆ เมื่อถึงเวลาฉันอาหารจะมีการตีโพน (กลอง) ให้สัญญาณ พระสงฆ์แต่ละรูปก็จะนำบาตร ช้อน ของตนเองมาที่โรงฉัน หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดต้องการจะฉันอาหารที่กุฏิ ก็จะตัก ข้าว แกง ขนม ใส่ในบาตรรวมกัน แล้วนำไปฉันที่กุฏิ ถ้าพระสงฆ์รูปใดฉันอาหารที่โรงฉันก็จะตักเฉพาะข้าวใส่บาตร และนั่งบนโรงฉันโดยแบ่งเป็น ๒ แถว หันหน้าเข้าหากัน ส่วนกับข้าวก็จะใส่หม้อแล้วตั้งบนรถเข็นเคลื่อนไป ระหว่างแถวให้พระสงฆ์ตักอาหารใส่บาตร และนั่งบนโรงฉันโดยแบ่งเป็น ๒ แถว หันหน้าเข้าหากัน ส่วนกับข้าวจะใส่หม้อแล้วตั้งบนรถเข็นเคลื่อนไประหว่างแถว ให้พระสงฆ์ตักอาหารใส่บาตรตามปริมาณที่ต้องการ อาหารจะเคลื่อนผ่านเพียงครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็จะล้างบาตรของตนเอง การฉันอาหารจึงเป็นการช่วยเหลือตนเองทุกอย่าง ไม่ให้ผู้อื่นต้องรับภาระในการล้างภาชนะที่ฉัน ยกเว้นหม้อข้าว และหม้อแกง เท่านั้น ที่แม่ครัวต้องนำไปล้างเอง
๕) การจำวัดหรือการนอน การจำวัดของพระภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลารามเป็นวิธีการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เนื่องจากการจำวัดเป็นการนอนของพระสงฆ์ที่ไม่ยึดติดกับความสะดวกสบายและไม่เห็นแก่นอน กุฏิที่สร้างไว้มีขานาดเล็ก ลักษณะเรียบง่าย พอที่จะให้พระสงฆ์จำวัดได้ ๑ รูป เรียกว่า “กุฏิเล้าหมู” ดังที่ พระอาจารย์ นุ้ย สมฺปนฺโน ได้กล่าวไว้ว่า พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามฝึกปฏิบัติธรรมด้านการนอนแบบไม่ยึดติดการนอน ฝึกให้มีความเข้มแข็งว่องไว ทั้งร่างกายและจิตใจ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามจึงยึดคติว่า “นอนกุฏิเล้าหมู ” คือกุฏิไม่สบายหลังเล็กๆ หลังเดียว อยู่คนเดียว ภายในกุฏิไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ พัดลม บนกุฏิจะไม่มีปลั๊กไฟฟ้า สำหรับใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดใดเลย
การจำวัดหรือการนอนของพระภิกษุสงฆ์ในสวนโมกขพลาราม จะใช้หมอนไม้หนุนนอน ดังที่ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า การนอนแบบสวนโมกขพลารามจะนอนแบบเรียบง่ายใช้ท่อนไม้ตามในป่ามาหนุนนอน ซึ่งในหลักพระพุทธศาสนาบัญญัติว่า นอนหนุนหมอนไม้แล้วมารจะไม่ได้ช่อง มารในที่นี้หมายถึงกิเลสนั่นเอง ในประเทศอินเดียโบราณ ฆราวาสที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง จะหนุนหมอนไม้เพื่อฝึกความอดทน แม้แต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็ต้องการเข้มแข็งอย่างนักรบ ก็ฝึกการนอนโดยหนุนท่อนไม้ ถ้าเป็นนักบวชสมัยก่อนก็ฝึกการนอนเช่นนี้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายทรงอยู่เพื่อประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป
๖) การบิณฑบาต การบิณฑบาต เป็นกิจของพระภิกษุสงฆ์ ต้องปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งการบิณฑบาตของพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรม เพราะการบิณฑบาตของพระภิกษุในสวนโมกขพลารามจะอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยพระสงฆ์จะออกบิณฑบาตหลังจากทำวัตรเช้าเรียบร้อยแล้ว เวลาประมาณ ๐๖.๓๐ นาที การบิณฑบาตจะไม่มีเด็กวัดตามรับอาหาร ไม่มีย่ามสำหรับใส่อาหาร บิณฑบาตเพียงแค่อาหารเต็มบาตรหรือคิดว่าเพียงพอสำหรับฉันเท่านั้น แล้วกลับวัดทันที การเดินบิณฑบาตเดินอย่างมีสมาธิ สงบ และถือหลักว่า บิณฑบาตมาเพียงเพื่ออนุเคราะห์ร่างกายให้อยู่รอด เพื่อจะได้ประพฤติธรรมสืบต่อพระพุทธศาสนา สวนโมกขพลารามจึงถือว่าการบิณฑบาตเป็นการปฏิบัติธรรมตามกิจของสงฆ์ ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้วา การบิณฑบาตของพระสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น พระสงฆ์จะต้องพิจารณาว่า การบิณฑบาตไม่ได้ทำไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานทางกาย หรืออยากได้สิ่งของมากมาย แต่การบิณฑบาตจะต้องทำไป เพื่อความอยู่รอด ความเป็นอัตตภาพ เพื่อนำสิ่งที่ได้จากการบิณฑบาตมาอนุเคราะห์ร่างกาย สำหรับ ประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น
การบิณฑบาตจึงถือเป็นการปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ ดังที่ พระอาจารย์คัมภีรญาณ อภิปุณฺโญ ได้กล่าวไว้ว่า การออกบิณฑบาตของพระภิกษุสงฆ์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพราะเมื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว จะไปทำมาหาเลี้ยงชีพให้อยู่รอด แต่ต้องทำเพื่อให้มันเป็นไปตามอัตภาพสำหรับร่างกายนี้ จะได้ทรงอยู่เพื่อประพฤติธรรม เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคงต่อไปได้
การกวาดลานวัด พระภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลารามมีกิจที่ต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำคือกวาดลานวัด ซึ่งเป็นการทำความสะอาดบริเวณวัด แต่ในขณะดียวกันก็เป็นการแพ่งพิจารณาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ดังที่ จิราพร คงเหล่ ได้กล่าวไว้ว่า พระภิกษุใน สวนโมกขพลารามจะทำหน้าที่กวาดลานวัดเป็นกิจวัตร ซึ่งสวนโมกขพลารามถือว่าการกวาดลานวัดของพระภิกษุสงฆ์ เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เพราะขณะกวาดลานวัดสมาธิจะอยู่ที่ปลายไม้กวาด กวาดไปจะได้ธรรมะจากต้นไม้ ในขณะที่กวาดเราจะเห็นใบไม้ร่วงหล่นลงมา มีทั้งใบแก่ ใบเหี่ยว ใบที่มีสีเขียว และใบที่มีสีเหลือง ปรากฎการณ์ธรรมชาติจากการร่วงหล่นของใบไม้เช่นนี้ บอกให้เรารู้ว่าต้นไม้กำลังสอนธรรมะแก่เรา ตามกฎไตรลักษณ์ หรือกฎแห่งสามัญลักษณะ ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สอนให้เรารู้ว่าความตายนั้นตายได้ทุกเวลา ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งแก่และหนุ่ม เพราะฉะนั้นทุกคนจงอย่าประมาทกับการดำเนินชีวิต กฎไตรลักษณ์จึงเป็นธรรมชั้นสูงระดับหนึ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่ง คือทำให้คนเราทุกคนเกิดความสลดสังเวช จนเกิดความรู้สึกว่าแท้จริงแล้วทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ แปลเปลี่ยนได้ทุกเวลา หากเราได้พิจารณาถึงสภาวะของความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะเห็นความจริงข้อนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ เปรียบเสมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาให้เรากวาดที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะเวลา เช่นเดียวกับคนเราทุกคนย่อมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเวลาตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดล้วนแต่ไม่คงที่ แต่ด้วยความโง่เขลาของคนที่ไม่ได้เคยฝึกดูสภาวะของอนิจจัง จึงทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น จนทำให้เกิดความทุกข์
ทุกขัง คือ สภาวะที่ทนได้ยาก หรือทนอยู่ไม่ได้ตามอำนาจแห่ความเปลี่ยนแปลงเสมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมากระทบกับพื้นดิน เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามปัจจัยที่มากระทบ จึงได้ร่วงหล่นลงมา แต่คนเราโง่เขลาไม่เคยสังเกต จึงไม่ทราบสภาวะของทุกขังได้
อนัตตา คือ สภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเราทราบถึงภาวะของอนิจจัง ทุกขัง แล้วเราจะทราบว่าไม่มีสิ่งใดที่มีตัวตนจริงๆ เปรียบเสมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาจะหมดสภาพความเป็นใบไม้ที่สมบูรณ์ ไม่นานก็ถูกย่อยสลายเป็นอินทรีย์ธาตุ ความเป็นตัวตนก็จะหมดไป สวนโมกขพลารามได้ใช้ธรรมชาติสอนธรรมเพื่อปฏิบัติธรรม การกวาดลานวัดของพระภิกษุสงฆ์ทำให้ได้ธรรมะ การกวาดลานวัดจึงเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งพระสงฆ์ต้องทำเป็นกิจวัตร ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงหลักธรรมสู่การดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาทได้
๒) การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมให้ประชาชนทั่วไป
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไป กิจกรรมอย่างหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์สามเณรในสวนโมกขพลาราม โดยการนำของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีการส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ซึ่งสวนโมกขพลารามยังมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะจะส่งเสริมให้การปฏิบัติธรรมกันทั่งหน้าทุกคน เพื่อปฏิบัติตนให้เป็นคนที่บริสุทธิไม่ยึดมั่นกับสิ่งใด เป็นการช่วยบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ และมีความเจริญต่อไป ผู้ที่ช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาจึงไม่จำเป็นง่าจะต้องเป็นพระภิกษุสงฆ์สามาเณรอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยอุบาสก อุบาสิกาด้วย ดังที่ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า ทุกคนสามารถเป็นพุทธทาสได้ถ้าเขาต้องการบริสุทธิ์ใจ คือรับใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยการทำตัวอย่างในการปฏิบัติธรรมให้ดู มีความสุขให้ดูจนผู้อื่นพากันทำตาม ดังที่ พระภานาโพธิคุณ ได้กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมของประชาชนทั่วไปไว้ว่า ปณิธาน ๑ ใน ๓ ข้อ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีอยู่ว่า ต้องการให้ผู้คนโดยทั่วไปมีความเข้าใจในศาสนาของตนให้ลึกซึ้ง สวนโมกขพลารามจึงได้ดำเนินกิจกรรมตามปณิธานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) โดยการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมขึ้นสำหรับบุคคลทั่วไป ที่สนใจและต้องการปฏิบัติธรรมเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป โดยสวนโมกขพลารามไม่ได้กำหนดว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรมนั้น เป็นบุคคลที่มีอาชีพหนึ่งอาชีพใด หากแต่บุคคลใดมีความตั้งใจจริงก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้ และสามารถเป็นพุทธทาสได้ทุกคนถ้ามีหัวใจที่บริสุทธิ์ พร้อมที่จะดำเนินการเผยแผ่และปฏิบัติชอบให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ การปฏิบัติธรรมของประชาชนทั่วไปนั้น ได้มีประชาชนจำนวนมากมายที่มีความศรัทธาในบทบาทด้านการปฏิบัติธรรมของสวนโมกขพลาราม ได้เดินทางไปร่วมปฏิบัติธรรมทั้งที่สวนโมกขพลาราม และสวนโมกข์นานาชาติ ตลอดถึงวัดและสำนักปฏิบัติธรรมที่ได้ยึดแนวปฏิบัติตามแบบอย่างของสวนโมกขพลาราม ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ประชาชนยังได้นำแนวทางการปฏิบัติธรรมไปถือปฏิบัติในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งปรากฏรายละเอียดดังต่อไปนี้
การสวดมนต์ภาวนา เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้มีจิตสงบ มีจิตที่สว่างไม่คิดฟุ่งซ่าน เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตที่สงบก็จะทำให้มีสติ สามารถทำงานได้สำเร็จ และความประมาทในชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้น สวนโมกขพลารามในฐานะเป็นสถาบันทางศาสนา จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กิจกรรมสวดมนต์ภาวนาไปสู่การปฏิบัติของประชาชนทั่วไป ดังที่ จิราพร คงเหล่ ได้กล่าวไว้ว่า สวนโมกขพลารามต้องการที่จะส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติธรรมเพื่อความสุขทางจิตใจ การสวดมนต์ภาวนาจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยขัดเกลาจิตใจให้สะอาดได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการสวดมนต์เนื่องจากไม่ทราบความหมายของการสวดมนต์ จึงทำให้สวดมนต์ไม่มีความหมาย และไม่สามารถช่วยให้ประชาชนรู้ซึ้งถึงหลักทางธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ได้ สวนโมกขพลารามจึงกำหนดให้มีการสวดมนต์แปลขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติกิจกรรมสวดมนต์ด้วย ซึ่งประชาชนสามารถทราบความหมายของบทสวดมนต์ ทราบถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและได้นำหลักธรรมไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ดังที่ พระอาจารย์นุ้ย สมฺปนฺโนได้กล่าวไว้ว่า สวนโมกขพลารามจะสวดมนต์แปล ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจความหมายของหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ง่ายต่อการจำกว่าบทสวดมนต์ที่เป็นภาษาบาลี เมื่อประชาชนทราบความหมายของการสวดมนต์ภาวนา จึงง่ายต่อการถ่ายทอดบอกกล่าวผู้อื่น และสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิตที่มีความสุขต่อไปได้
สวนโมกขพลารามได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้ปฏิบัติธรรมด้วยการสวดมนต์ภาวนาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมสวดมนต์ภาวนาพร้อมกับพระสงฆ์ได้ตลอดเวลา ทั้งเวลาสวดมนต์ภาวนาตอนเช้าและสวดมนต์ภาวนาตอนเย็น รวมถึงการร่วมสวดมนต์ภาวนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งสวนโมกขพลารามจะทำกิจกรรมการสวดมนต์ภาวนาที่ลานหินโค้ง ซึ่งเป็นที่โล่งแจ้ง ทำให้ประชาชนผู้มีความศรัทธาสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติธรรมโดยการสวดมนต์ภาวนาได้สะดวก นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปยังสมารถนำหลักการสวดมนต์ไปปฏิบัติธรรมที่บ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าผู้ชี้นำทางแสงสว่างในการดำเนินชีวิตแก่ผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง
การฝึกสมาธิเป็นกิจกรรมปฏิบัติธรรมที่สามารถช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่สงบ บริสุทธิ์ และสามารถดับตัณหาได้ พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามส่วนมากได้ฝึกสมาธิจนมีจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว สามารถดับตัณหาได้แล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากกิเลสตัณหา ตามหน้าที่ของผู้ดำรงพระพุทธศาสนา โดยการส่งเสริมให้ประชาชาทั่วไปได้ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบ บริสุทธิ์ มีสติ ปราศจากการถูกครองงำจากกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ทั้งปวง ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ เจ้าอาวาสแห่งสวนโมกขพลาราม ได้กล่าวไว้ว่า สังคมปัจจุบันเจริญด้วยวัตถุ ประชาชนถูกครอบงำด้วยค่านิยมที่ฟุ่มเฟือย ขาดศีลธรรม ทำให้จิตไม่สงบ และมีปัญหาทางจิตใจจนไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้ สวนโมกขพลารามจึงถือเป็นหน้าที่ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนฝึกสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ สว่าง และสะอาด พระสงฆ์ทุกรูปในสวนโมกขพลาราม จึงรับฟังปัญหาและแนวทางทำจิตใจให้สงบ โดยการฝึกสมาธิดังนี้
การนั่งสมาธิ สวนโมกขพลารามได้ส่งเสริมการนั่งสมาธิให้กับประชาชนทั่วไปโดยการโดยการชักชวนและแนะนำวิธีปฏิบัติ และปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง เมื่อประชาชนทั่วไปมีความต้องการ การที่จะนั่งสมาธิฝึกจิตให้สะอาด พระสงฆ์จะช่วยเหลือโดยการแนะนำวิธีการนั่งสมาธิให้แก่ประชาชน ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า สวนโมกขพลารามและสวนโมกข์นานาชาติ สำหรับสวนโมกขพลารามจะมีการนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน และหลังจากพระสงฆ์ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตอนกลางวันเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ นาฬิกา ซึ่งจะมีพระสงฆ์นำการนั่งสมาธิ เมื่อประชาชนมาพร้อมเพรียงก็จะสวดมนต์ภาวนาก่อน หลังจากนั้นก็นั่งสมาธิ โดยมีพระสงฆ์แนะนำวิธีการนั่งสมาธิและนำวิธีการนั่งกำหนดอิริยาบถนั่งสมาธิ และปฏิบัติให้ถูกเป็นตัวอย่าง รวมถึงแนะนำให้ไปฝึกปฏิบัติเองที่บ้าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องฝึกนั่งสมาธิเฉพาะในวันที่มีการอบรมปฏิบัติธรรมตามโครงการของสวนโมกขพลารามเท่านั้น สวนโมกขพลาราม จะจักตารางการปฏิบัติธรรม ช่วงวันที่ ๑-๑๐ และวันที่ ๒๐-๒๖ ของทุกเดือน
การแนะนำแนวทางการนั่งสมาธิที่ช่วยฝึกจิตใจให้สะอาดของสวนโมกขพลารามได้มีประชาชนมากมายนำนำแนวทางไปปฏิบัติจนทำให้เกิดความศรัทธา แล้วหันมาฝึกนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง ดังที่ พระมณเทียร มณฺฑิโร ได้กล่าวไว้ว่า มีคนจำนวนมาก เดินทางมาที่สวนโมกขพลารามและได้ร่วมนั่งสมาธิฝึกจิตใจ และรับแนวทางปฏิบัติ ที่สวนโมกขพลารามได้แนะนำจนทำให้ใจสงบ เกิดความศรัทธาและหันมาบวชชี เพื่อจะได้เป็นผู้มีส่วนช่วยให้มีการปฏิบัติธรรมต่อไป และมีหลายคนเมื่อว่างจากภาระต่างๆ ก็เดินทางมาฝึกสมาธิที่สวนโมกขพลาราม ซึ่งจะได้ทำจิตใจให้สงบ เพื่อต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
การเดินสมาธิ หรือการเดินจงกรม เป็นการฝึกสมาธิอีกรูปแบบหนึ่งที่สวนโมกขพลารามแนะนำ ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติ เพราะการฝึกสมาธิไม่จำเป็นต้องฝึกนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว ดังที่ พระคัมภีรญาณ อภิปุณฺโญ ได้กล่าวไว้ว่า การฝึกสมาธิที่สวนโมกขพลารามได้ปฏิบัติกันอยู่ มีการนั่งสมาธิ และการเดินจงกรม ซึ่งทางสวนโมกขพลารามพยายามที่จะเผยแผ่วิธีการฝึกสมาธิให้กับประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติด้วย
พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามส่วนมากฝึกการเดินสมาธิ จนเป็นผู้สงบแล้วทางจิตใจ เป็นผู้สว่างแล้ว สามารถกำหนดรู้อิริยาบถทุกจังหวะของความเป็นอิริยาบถแล้ว จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญในฐานะที่เป็นผู้ดำรงพระพุทธศาสนาในการขยายผลสู่ประชาชนทั่วไป ดังที่ จิราพร คงเหล่ ได้กล่าวไว้ว่า สวนโมกขพลารามได้แนะนำวิธีการฝึกสมาธิโดยการศึกษากำหนดอิริยาบถการเดินว่า เราต้องรู้ว่าขณะนี้เรากำลังเดิน เดินอย่างไร เดินที่ไหน เดินไปไหน ต้องกำหนดรู้จิตให้รู้อยู่ตลอดเวลา สมาธิถึงจะเกิด และจะทำให้ไม่ประมาทในการปฏิบัติงานอื่นๆ เมื่อเราสามารถกำหนดจิตให้รู้อยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำอะไร การเดินจงกรมภายในสวนโมกขพลารามใช้บริเวณทั่วไปภายในสวนโมกขพลาราม เช่น บริเวณลานหินโค้ง บริเวณสระนาฬิเกร์ และสถานที่บริเวณอื่นๆในวัดสวนโมกขพลาราม ซึ่งประชาชนทั่วไปที่มีความศรัทธาก็สามารถมาปฏิบัติธรรมโดยการเดินจงกรมได้ตลอดเวลา
แนวทางการฝึกสมาธิของสวนโมกขพลารามไม่จำเปนต้องมาฝึกเฉพาะที่วัดเท่านั้นแต่ถ้าผู้ใดยึดถือปฏิบัติตามก็สามารถฝึกปฏิบัติได้ที่บ้าน สวนโมกขพลารามจะบอกวิธีการปฏิบัติ การเดินสมาธิ หรือการเดินจงกรม สู่ประชาชนโดยการทำตัวอย่างให้ถูกต้องต่อเนื่อง ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า การเดินสมาธิที่สวนโมกขพลารามที่สวนโมกขพลารามทำตัวอย่างให้ประชาชนทั่วไปได้ดู เพื่อนำเอาเป็นแบบอย่างคือ การเดินบิณฑบาตของพระภิกษุสงฆ์ในสวนโมกขพลาราม จะมีอิริยาบถการเดินที่สง่า สงบ มีสติ และสำรวม สืบเนื่องจากการฝึกเดินที่ทำให้เกิดสมาธินั่นเอง ดังนั้นการออกบิณฑบาตของพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามจึงเป็นการสั่งสอนและฝึกการเดินที่มีสมาธิให้กับประชาชนโดยตรง จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สวนโมกขพลารามช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามนั่นเอง
การรับประทานอาหาร พระภิกษุสงฆ์ในสวนโมกขพลารามปฏิบัติธรรมด้วยการฉันอาหาร โดยไม่ยึดติดกับรสชาติของอาหาร ฉันเพื่อให้มีชีวิตอยู่ การไม่ยึดติดกับรสชาติของอาหารทำให้การดำเนินชีวิตไม่ฟุ่มเฟือย แนวทางการปฏิบัติด้านการกินของพระสงฆ์ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไปที่ปฏิบัติตาม เพื่อลดความฟุ่มเฟือยในชีวิตลงได้ สวนโมกขพลารามพยายามถ่ายทอดแนวปฏิบัติธรรมด้านการกินที่ไม่คำนึงถึงรสชาติของอาหารให้ประชาชนทั่วไปโดยการเทศนาสั่งสอน หรือทำตัวอย่างให้ดูมาตลอด ดังที่ พระอาจารย์ มณเทียน มณฺฑิโร ได้กล่าวไว้ว่า การกินแบบสวนโมกขพลารามนี้ได้ถูกเผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ตามปณิธาน ๑ ใน ๓ ข้อของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) โดยสวนโมกขพลารามต้องการเข็ญโลกให้ออกจากวัตถุนิยม การกินอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนที่หลงฟุ่มเฟือยชอบรับประทานอาหารแพงๆ ในสถานที่ที่หรูหราซึ่งมีความสิ้นเปลือง สุดท้ายก็เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ เมื่อไม่มีสภาวะหรูหราด้านการกินอีก สวนโมกขพลารามได้ปฏิบัติธรรมด้านการกินที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ประชาชนทั่วไปดูเป็นตัวอย่าง โดยที่พระภิกษุสงฆ์จะฉันอาหารเพียง วันละ ๑ มื้อ และคลุกเคล้าข้าวแกงลงในบาตร ฉันโดยไม่ต้องคำนึงถึงรสชาติของอาหาร ในวันธัมมัสสวนะหรือวันพระ ก็จะมีประชาชนมาทำบุญมากมาย พระภิกษุสงฆ์ก็จะแสดงพระธรรมเทศนาซึ่งสอนในหลายๆเรื่อง ในเรื่องการกินที่ประหยัดแบบสวนโมกขพลารามจึงหยิบยกมากล่าวอ้างให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ทุกคนอยู่ตลอดเวลา และหลังจากทำภารกิจทางพระพุทธศาสนาแล้ว พระสงฆ์ก็จะฉันอาหาร โดยพระภิกษุสงฆ์จะฉันอาหารเพลที่ลานหินโค้ง นั่งกลางลานดิน ฉันอาหารแบบง่ายๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้ดูเป็นตัวอย่าง ดังนั้นเมื่อผู้ใดศรัทธาและนำแนวทางปฏิบัติธรรมด้านการกินตามแนวทางของสวนโมกขพลาราม ซึ่งจะช่วยให้มีความประหยัดมากขึ้น
การทำงานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้สั่งสอนประชาชน และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมด้วยหลักพระพุทธศาสนาที่ว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” การประกาศหลักพระพุทธศาสนาที่ว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ของสวนโมกขพลารามสืบเนื่องจากการไม่เข้าใจของประชาชนชาวพุทธทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ดังที่ ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ว่า ได้มีผู้คนมากมายวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาว่าทำให้คนขี้เกียจ สังคมไม่เจริญ และก็มีชาวพุทธส่วนหนึ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติธรรมโดยชักชวนชาวบ้านกันว่า ทำอะไรไม่สำคัญ ถ้าจะปฏิบัติธรรมก็ทำสมาธิเพียงอย่างเดียวก็พอ จึงทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ทาง สวนโมกขพลารามโดยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงได้ประกาศหลักพระพุทธศาสนาว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” หรือ “ธรรมะคือหน้าที่” ดังนั้นหมดปัญหาที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่า อะไรคือการปฏิบัติธรรม
หลักการของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่ว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม”
ของสวนโมกขพลารามป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดความวุ่นวายในสังคมลงได้ ดังที่ จิราพร คงเหล่ ได้กล่าวไว้ว่า การทำงานเป็นการปฏิบัติธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กล่าวไว้นั้น ช่วยให้ประชาชนทั่วไปรู้จักหน้าที่ของตนเอง เกิดเป็นคนก็ต้องทำงาน หากทำงานตามหน้าที่ก็เป็นการปฏิบัติธรรม สังคมก็จะไม่วุ่นวายเมื่อทุกคนรู้จักหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นไม่ต้องถกเถียงกันว่า ทำอย่างไรจึงถูก และทำอย่างไรจึงผิด เช่น พ่อแม่มีหน้าที่ ต้องเลี้ยงดูบุตรธิดา ตามหน้าที่ของพ่อแม่ ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม หากพ่อแม่ทิ้งบุตรธิดา ไม่ดูแลเลี้ยงดู ก็ถือว่าไม่ปฏิบัติธรรม ดังนั้น หากทุกคนทำงานตามหน้าที่และทำด้วยความสุข ทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ความวุ่นวายในสังคมก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติธรรม คือสอนให้เขาทำงานตามหน้าที่ ดังนั้น สวนโมกขพลารามแม้ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไม่อยู่แล้ว ก็สามารถอยู่คู่สังคมต่อไปได้
สรุปความได้ว่า ปัจจุบันนี้สวนโมกขพลารามได้สร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสุข แนะนำสั่งสอนปฏิบัติธรรมเป็นต้นแบบโดยลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง จนทำให้สวนโมกขพลารามเป็นสถานที่สำคัญสำหรับยกระดับจิตใจของคนได้ การส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมขึ้นทั้งพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไปได้ประพฤติปฏิบัติดี จึงเป็นสิ่งที่สวนโมกขพลารามควรกระทำอย่างยิ่ง และจะกระทำต่อไปในอนาคต คือความสงบสุขของสังคมและสันติภาพของโลก
๓.๒ เทคนิคและวิธีการในการเผยแผ่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๓.๒.๑ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการเที่ยวสั่งสอน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นบทบาทหน้าที่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จาริกเที่ยวสั่งสอนธรรมะ ในอดีตทางสวนโมกขพลาราม จะมีหน่วยงานเผยแผ่ธรรมเคลื่อนที่ ซึ่งละออกเทศนาสั่งสอนชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง เช่น บ้านดอน พุนพิน กาญจนดิษฐ์ เกาะสมุย และที่อื่นๆ ได้ตระเวนเทศนาไปตามหัวเมืองปักใต้ การเดินทางจะใช้เรือ หรือรถไฟ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ปัจจุบันการจารึกสั่งสอนเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวบ้านตามสถานที่ต่างๆของสวนโมกขพลารามยังดำเนินการอยู่ โดยการจัดแบ่งหน้าที่ของพระภิกษุในการเผยแผ่ ซึ่งจะแบ่งเป็นลักษณะดังนี้
๓.๒.๑.๑ การจารึกสั่งสอนโครงการของสวนโมกขพลาราม
โครงการจาริกออกเผยแผ่ที่สวนโมกขพลารามดำเนินการอยู่คือ โครงการยุวศรีวิชัย เป็นโครงการเผยแผ่ธรรมสู่เด็กๆ นอกสถานที่ ซึ่งมีพระภิกษุผู้รับผิดชอบตามที่ได้รับความมอบหมายจากพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ตั้งเอาไว้ที่ต้องการให้มีการปลูกฝังธรรมะแก่เด็กๆ ซึ่งจะเป็นเยาวชนของชาติที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อปลูกฝังธรรมะแก่เด็กๆ กลุ่มเด็กเป้าหมายได้แก่เด็กในจังหวัดสุราษฏร์ ในเขตอำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอเมือง และอำเภออื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงโดยออกคำสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียน ตามวัด และหมู่บ้าน พระภิกษุผู้รับผิดชอบจะเดินทางออกจากสวนโมกขพลารามหลังจากทำภารกิจตอนเช้าเสร็จแล้ว ไปยังวัด โรงเรียน หรือหมู่บ้านที่กำหนดนัดหมายมาประขุมกัน
การดำเนินงานแยกเป็น ๒ ส่วน คือ การสอนภาคทฤษฎี เป็นการสอนเรื่องทั่วไปแต่สอดแทรกธรรมะเพื่อขัดเกลาจิตใจเด็กๆ และการสอนภาคสนาม เป็นการนำเด็กๆ เดินทัศนะศึกษาไปตามหมู่บ้าน ทุ่งนา ป่าไม้ และภูเขา ในขณะเดียวกันก็มีการสอนธรรมะควบคู่ไปด้วย โดยชี้ให้เด็กๆ ให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตสัตว์โลกทุกชนิด ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นหลักธรรมะแก่เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี การปลูกฝังธรรมะเหล่านี้ทำให้เด็กๆ เป็นคนดีมีคุณธรรมต่อไป
๓.๒.๑.๒ การจารึกสั่งสอนตามโครงการต่างๆ
การจารึกสั่งสอนตามโครงการต่างๆขององค์กรต่างๆ เป็นการตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงพยาบาล โรงแรม หรือองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการให้คนในหน่วยงานมีธรรมะประจำใจ เพื่อใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต พระภิกษุในสวนโมกขพลาราม ที่ทำหน้าที่นี้ เช่น พระภาวนาโพธิคุณ พระอาจารย์นุ้ย สมฺปนฺโน และยังมีรูปอื่นๆ มาเปลี่ยนกันไป ในการบรรยายประจำของโรงมหรสพทางวิญญาณ
พระอาจารย์นุ้ย สมฺปนฺโน ได้กล่าวถึงการออกเผยแผ่ธรรมะตามโครงการขององค์กรต่างๆ ไว้ว่า ในแต่ละเดือนการขอความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ มีมากมายจนต้องแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ซึ่งสวนโมกขพลารามจะจัดพระภิกษุที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ออกไปเผยแผ่ตามความประสงค์ของหน่วยงาน การจาริกสั่งสอนตามโครงการขององค์กรต่างๆ ออกนอกสถานที่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแผ่กว้างออกไป เพราะคนที่เข้าฟังแต่ละครั้งมีมากมาย โดยเฉพาะได้จาริกสั่งสอนตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอไชยา และต่างอำเภอ ของจังหวัดสุราษฎร์ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส ซึ่งผู้คนเหล่านี้สามารถเป็นอีกแรงหนึ่ง ที่จะช่วยให้ธรรมเข้าสู่สังคมได้อย่างทั่วถึง
๓.๒.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางด้านสื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่งที่สวนโมกขพลารามมีความตั้งใจกระทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งทางวัดสวนโมกขพลาราม โดยการนำของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งได้ดำริไว้ว่า งานการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุกระจายเสียงที่สวนโมกขพลาราม เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๒ เมื่อศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๗ จังหวัดนนทบุรีได้ติดต่อทาง วัดสวนโมกขพลาราม เพื่อขออนุญาตนำหลักธรรมไปเผยแผ่ทางสถานีวิทยุ หลักธรรมเรื่องที่ออกเผยแผ่ครั้งแรกทางวิทยุครั้งแรกคือ “หลักธรรมพุทธศาสนา” โดยทางศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๗ จังหวัดนนทบุรีเอาไปอ่านออกอากาศเป็นประจำทุกวัน เวลา ๐๖.๓๐ นาที เมื่อการเผยแผ่ธรรมเริ่มเข้าถึงประชาชน ผู้คนติดตามรายการจนถือว่าสำเร็จไปด้วยดี ต่อมาผู้อำนวยการสถานีวิทยุประจำท้องถิ่น (วปถ.๕) ได้ติดต่อมายังสวนโมกขพลารามให้ทำการบันทึกเทปธรรมะ เพื่อนำไปออกอากาศทางสถานีวิทยุประจำท้องถิ่น (วปถ.๕) เป็นประจำทุกวัน ครั้งละครึ่งชั่วโมงและทางสวนโมกขพลารามได้นำธรรมะที่พูดบนโรงฉัน ชุด “คนถึงธรรมธรรมถึงคน” และตัวกู-ของกู ออกอากาศต่กันไปตลอดทั้งปี นอกจากนี้แล้วทางกรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร ได้ติดต่อมายังสวนโมกขพลารามเพื่อขออนุญาตนำเทปธรรมะออกอากาศในรายการธรรมะเดือนละครั้งในอาทิตย์ที่ ๓ ของทุกเดือน โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นมา นอกจากนี้ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. สถานีวิทยุค่ายวิภาวดีรังสิต ได้นำธรรมะจากสวนโมกขพลารามเผยแผ่ออกอากาศเช่นเดียวกัน ซึ่งสวนโมกขพลารามได้นำธรรมบรรยายชุด “พุทธธรรมนำสุข” ออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์จนถึงปัจจุบัน
๓.๒.๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อศิลปะ
การใช้ศิลปะศิลปะเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ธรรมะ เป็นวิธีการเผยแผ่ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นสื่อที่ทำให้เข้าใจหลักธรรมได้ดีขึ้นสวนโมกขพลารามได้นำศิลปะประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมแบบโบราณของชาติต่างๆ มาจำลองไว้เพื่อสอนธรรมะที่โรงมหรสพทางวิญญาณ และโรงปั้นภาพ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๓.๒.๓.๑ โรงมหรสพทางวิญญาณ
โรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นเครื่องมือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ทันสมัย และสามารถดึงคนเข้ามาวัดได้เป็นจำนวนมาก ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า สวนโมกขพลาราม ควรมีอาคารและอุปกรณ์สำเร็จรูปแบบ พร้อมที่จะสอนธรรมขึ้นสักหลังหนึ่งด้วยเหตุผลดังนี้
๑) เพื่อเป็นเครื่องทุ่นแรง เนื่องจากพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)มีความชราทำให้ไม่สามารถที่จะเทศนาหรืออธิบายหลักธรรมได้เป็นเวลานานๆ จึงต้องการให้มีอุปกรณ์ที่สำเร็จรูปที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของท่านได้ เช่น เทปบันทึกเสียง ให้แขกผู้มาเยือนเลือกไปฟังได้ตามต้องการ
๒) เพื่อประหยัดเวลาของผู้แสวงบุญ เพราะเวลา ๒-๓ ชั่งโมงที่มาสวนโมกขพลารามก็จะสามารถได้รับความรู้อย่างกว้างขวาง ภายโรงมหรสพทางวิญญาณจะมีการจำลองภาพจิตรกรรมฝาผนังจากประเทศอินเดียประมาณ ๑๐๐ กว่าภาพ ซึ่งภาพจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้แขวงไว้ด้วยธรรมะ ปรัชญา คติธรรมที่มีความหมายลึกซึ้งทางธรรม ทำให้ผู้มายืนลืมได้ยาก เช่น ภาพคนแจกดวงตาจะแจกดวงตาให้กับคนที่สนใจเข้ามารับดวงตา เมื่อได้รับดวงตาแล้วก็จะเดินกลับออกไปอย่างมั่นใจ สงบ และสว่าง ในขณะที่มีผู้อื่นที่ไม่ได้รับดวงตาเดินอย่างหลงทาง ไม่มีความสว่าง ซึ่งภาพคนแจกดวงตานี้จะมีคติธรรมแฝงอยู่ว่า บุคคลใดที่ได้รับดวงตา เปรียบเสมือนคนมีธรรมะ ซึ่งจะเป็นผู้ที่เจริญแล้ว สว่างแล้ว การเดินก็จะเดินไม่ผิดทิศทาง ไม่เหมือนกับคนที่ไม่มีธรรมะในจิตวิญญาณ คติธรรมข้อนี้เปรียบได้ว่าสวนโมกขพลารามเป็นสภาพที่ซึ่งแจกดวงตาธรรมะให้แก่ผู้ที่ยังหลงใหลอยู่กับอบายมุขหรือวัตถุนิยม ให้เป็นคนที่สว่าง สมารถเดินทางชีวิตที่ไม่หลงทางอีกต่อไป
๓.๒.๓.๒ โรงปั้นภาพ
โรงปั้นภาพเป็นสถานที่เผยแผ่ธรรมะโดยใช้ รูปปั้นตุ๊กตารูปปั้นสัตว์ต่างๆ ที่มีปริศนาธรรมแฝงอยู่ ดังที่พระภิกษุประจำโรงปั้นภาพได้กล่าไว้ว่าสวนโมกขพลารามต้องการปลูกฝังธรรมะแก่เด็กๆ เพื่อจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมต่อไปในวันข้างหน้า สวนโมกขพลารามจึงหาวิธีที่จะดึงเด็กเข้าวัดให้มากๆ การปั้นตุ๊กตารูปสัตว์ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กๆ เข้าวัด เพราะเมื่อฟังธรรมะจากโรงปั้นภาพแล้ว ก็จะได้รับของขวัญเป็นตุ๊กตาออมสิน รูปสัตว์กลับไปบ้านด้วย ปีหนึ่งๆ จึงมีเด็กๆ เข้าฟังธรรมะที่โรงปั้นภาพมากมาย
นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูป พุทธประวัติจากหินสลัก ซึ่งเป็นศิลปะจากอินเดีย ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานออกเผยแผ่ โดนำมาแสดงไว้ที่ผาฝนังของโรงมหรสพทางวิญญาณ และบริเวณโคนต้นไม้ทั่วๆไปในสวนโมกขพลารามรวมถึงการมอบรูปปั้นพุทธประวัติจากหินสลักให้กับวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปเผยแผ่ธรรมะต่อไป
๓.๒.๓.๓ ธรรมวารีนาวาอิสศรกุลนฤมิตร
ธรรมวารีนาวาอิสศรกุลนฤมิตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือโบราณที่มีปริศนาธรรมแฝงอยู่ คือ ปกติเรือต้องอยู่ในน้ำ แต่ที่สวนโมกขพลารามน้ำจะอยู่ในเรือ และบนเรือจะเป็นสวนทรายสำหรับนั่งสนทนาธรรมพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ให้ความหมายเรือนี้ว่า เป็นเรือจับปลา หมายถึง คนที่เจริญแล้วต้องเดินไปหาธรรมะ และเรือจะให้ประโยชน์มากคือ เป็นที่เก็บน้ำไว้ในยามขาดแคลน และสัญลักษณ์ของเสาร์ ๕ เสาที่อยู่บนเรือ หมายถึง ธรรมทุกชนิดที่มี ๕ ข้อ เช่น ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เบญจธรรมและหลักธรรมอื่นๆ
๓.๒.๔ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการพูด
การพูดเป็นการเผยแผ่ธรรมะที่สำคัญอย่างหนึ่งของสวนโมกขพลาราม ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยแบ่งออกได้ดังนี้
๑) การสนทนาธรรม การสนทนาธรรมเป็นกิจกรรมช่วงว่างๆ ของภิกษุซึ่งจะสนทนาธรรมกันระหว่างพระสงฆ์กับพระสงฆ์ พระสงฆ์กับประชาชนทั่วไปที่มาเยือน สวนโมกขพลารามเพื่อไขข้อข้องใจของธรรมะบางประการที่ไม่เข้าใจกัน ทางสวนโมกขพลารามจะจัดสถานที่สำหรับสนทนาธรรมไว้ เช่น โรงเรียนหิน สวนทรายบนเรือ ลานหินโค้ง เป็นต้น การสนทนาธรรมจะได้สาระความรู้มากมายเป็นวิธีหนึ่ง คู่สนทนาจะนำหลักธรรมมาเสวนาที่พูดคุยกันจนได้สาระไปถ่ายทอดผู้อื่นต่อไป
๒) การแสดงธรรมเทศนา การแสดงธรรมเทศนาเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกวัน ทั้งวันธรรมดา และวันธัมมัสสวนะ สำหรับวันธรรมดาจะมีการฟังเทศน์ หลังจากทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่แสดงพระธรรมเทศนา คือ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แต่ปัจจุบันพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มรณภาพไปแล้ว สวนโมกขพลารามยังจัดกิจกรรมนี้ให้คงอยู่เหมือนเดิมต่อไป การเทศนาจึงเป็นการนำรูปถ่าย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ตั้งบนธรรมมาส และเปิดเทปการเทศนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ให้สอดคล้องกับวันและเวลาที่มีการเทศนาเรื่องนั้นๆ ส่วนวันธัมมัสสวนะจะมีผู้คนเดินทางมาทำบุญมากมาย หลังจากประกอบกิจกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ที่มาทำบุญก็จะรวมตัวกันที่ลานหินโค้ง นั่งประนมมือ ฟังเทปเทศนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ทุกอย่างจึงเปรียบเสมือนพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ยังไม่ตาย
การเทศนาเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ได้ผลในวงกว้าง ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการเทศนาเป็นวิธีหนึ่งที่ธรรมสามรถเข้าถึงประชาชน เนื่องจากได้ฟังด้วยตนเอง การเทศนาธรรมในแต่ละครั้ง จะมีผู้คนมาที่ สวนโมกขพลารามเป็นจำนวนมาก นอกจากจะมีการเทศนาในวันพระแล้ว ยังมีการเทศนาสำคัญของสวนโมกพลามที่กระทำอยู่เป็นประจำทุกปีมีดังนี้
๑) วันล้ออายุ
วันล้ออายุ คือ วันคล้ายวันเกิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๗ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ถือว่าเป็นวันสำคัญ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะแสดงพระธรรมเทศนา สำหรับผู้มาเยี่ยม สวนโมกขพลารามในวันนี้ด้วยการเล่าเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและสังขารของท่านเอง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะให้ธรรมเป็นของขวัญด้วยวิธีการให้ทุกคนกลับได้ด้วยความเกลี้ยงเกลาแห่งจิตใจ เหมาะสมตามความหมายของโมกษะ การให้ของขวัญด้วยวิธีนี้มีผลทางจิตใจ ทำให้ไม่ประมาท และรู้จักตัวเองดีขึ้นๆ ทุกปี เพื่อความก้าวหน้าทางจิตใจของทุกคน
๒) วันกรรมกร
วันกรรมกร คือ วันที่ทำงานให้ออกเหงื่อเพื่อล้างกิเลส ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน สวนโมกขพลารามถือว่า เป็นวันทำงานหนักเพื่ออาบเหงื่ออย่างกรรมกร การกำหนดวันดังกล่าวเป็นวันกรรมกร ซึ่งเป็นวันประเภณีของสวนโมกขพลารามนั้น มีสาเหตุมาจากการสร้างสวนโมกพลารามในระยะแรก พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ให้พระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามทุกรูป และประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มียศตำแหน่ง มากน้อยเพียงใดก็ตาม ทุกคนต้องทำงานหนักทุกอย่าง เพื่อสร้าง สวนโมกขพลาราม การก่อสร้างอาคารใหม่ การซ่อมแซมอาคารเก่า รวมถึงการทำงานอย่างอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ให้ทุกคนดูตัวอย่างกรรมกรที่ต้องตรากตรำเหน็ดเหนื่อยมากกว่าอาชีพอื่นหลายเท่า สวนโมกขพลารามเห็นความสำคัญในจุดนี้จึงได้กำหนดวันกรรมกรขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์และประชาชนทั่วไปได้ระลึกถึงความเหน็ดเหนื่อยความลำบากที่เกิดขึ้นกับชีวิต ซึ่งจัดเป็นบทฝึกปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งสำหรับพระภิกษุสามเณร ให้เหงื่อล้างตัวกู-ของกู พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะเทศนาสั่งสอนให้ทุกคนรู้ว่าขณะที่เหน็ดเหนื่อยอยู่นั้น กิเลสจะโผล่ออกมาให้เห็นอย่างง่าย จึงเป็นบทเรียนของการทดสอบและทำวิปัสสนาบทจริง ยิ่งกว่าการหลบไปทำวิปัสสนาในกุฏิคนเดียว
๓) วันเวียนเทียน
วันเวียนเทียน คือ วันที่ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งมีปีละ ๓ ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา โดยทำพิธีบนยอดเขาพุทธทอง พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะแสดงพระธรรมเทศนาทำความเข้าใจแก่ผู้ร่วมพิธีในวันนั้นให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการกระทำ เสร็จแล้วก็ดำเนินการเดินเวียนเทียน ที่แปลกออกไปคือ จะมีการสนทนาธรรมและฟังพระธรรมเทศนาติดต่อกันจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่
๔) วันเยี่ยมสวนโมกขพลาราม
วันเยี่ยมสวนโมกขพลาราม คือ วันที่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่อยู่ไกลๆ ได้มาแสดงความเคารพพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และได้มาร่วมสนทนาธรรมะกัน และเป็นวันทำวัตรพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี วันเยี่ยมสวนโมกขพลารามเป็นวันที่ลูกศิษย์ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ร่วมใจกันจัดขึ้น เพื่อให้ลูกศิษย์ที่อยู่ไกลๆ ทั่วสารทิศได้มาแสดงความเคารพและขอบคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่ได้เป็นผู้ชี้แนวทางสว่างให้กับทุกคน ดังนั้น เมื่อถึงวันนี้พระภิกษุสามเณรทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดต่างๆ ตลอดศิษย์จากทีต่างๆ พากันมาที่สวนโมกขพลาราม เพื่อทำพิธีระลึกถึงคุณของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และทุกคนจะรวมตัวกันที่ลานหินโค้งเพื่อฟังพระธรรมเทศนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๕) การบรรยายธรรม
การบรรยายธรรมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะมีการบรรยายเป็นประจำ เนื่องจากจะมีผู้คนเดินทางมายังสวนโมกขพลารามทุกวัน การบรรยายธรรมจะจัดให้มีขึ้นภายในโรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นการบรรยายธรรมจากภาพปริศนาธรรม และการบรรยายธรรที่โรงปั้นภาพ เป็นการบรรยายธรรมะจากรูปปั้นตุ๊กตาในลักษณะต่างๆ ที่เป็นปริศนาธรรม การบรรยายธรรมในสถานที่ทั้ง ๒ แห่งนี้ ช่วยดึงคนให้มาเที่ยวสวนโมกขพลารามปีละมากมาย และเป็นการเผยแผ่ธรรมะที่ได้ทั้งความสนุกสนาน และความรู้
๕) การแสดงปาฐกถาธรรม
การแสดงปาฐกถาธรรม เป็นการพูดบรรยายหัวข้อธรรมในที่ประชุมที่มีคนจำนวนมาก ซึ่งการเผยแผ่ธรรมะด้วยการแสดงปาฐกถาธรรมนั้นพระสงฆ์ในสวนโมกขพลารามปฏิบัติกิจกรรมนี้มาช้านาน ในสมัยที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ แสดงปาฐกถาธรรมทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ในเขตอำเภอไชย ต่างจังหวัด และต่างประเทศด้วย เช่น ปาฐกถาธรรมพุทธธรรมที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ที่หอประชุมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และแสดงปาฐกถาธรรมในงานฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่า รวมถึงการแสดงปาฐกถาธรรม ในสถานที่เขตอำเภอไชยา ต่างอำเภอ และต่างจังหวัด เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการบันทึกการพูดบรรยายธรรมทุกๆ ครั้ง พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้บรรยายธรรมเนื่องในโอกาสต่างๆ หลักธรรมที่มีการเผยแผ่ด้วยเทปธรรมนั้นจะไม่มีการซื้อขาย ผู้ใดสนใจนำเทปเปล่าๆ มาแลกเปลี่ยนได้ที่ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ภายในโรงมหรสพทางวิญญาณ เทปธรรมที่ทางสวนโมกขพลารามจัดทำไว้ จากการบรรยายธรรมในงานและโอกาสต่างๆ มีประมาณ ๑,๐๐๐ เรื่อง ซึ่งปัจจุบันก็ได้รับความสนใจจากผู้คนมากมาย เพราะการฟังเทปบรรยายเปรียบเสมือนได้ฟัง พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) บรรยยายด้วยตนเอง ซึ่งสามารถฟังได้ทุกที่ตามความต้องการไม่จำเป็นต้องมาที่สวนโมกขพลาราม
๓.๒.๕ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการอบรม
การอบรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสวนโมกขพลารามยึดแนวทางปณิธานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีความต้องการให้คนเข้าใจในศาสนาของตนเอง มีความเข้าใจระหว่างศาสนา และเข็ญโลกให้รอดจากวัตถุนิยม การจัดอบรมจึงเกิดขึ้นเพื่อการนี้เป็นสำคัญ
ในการอบรมเพื่อการเผยแผ่หลักพระพุทธศาสนาออกสู่สังคมของสวนโมกขพลารามนั้น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดโครงการอบรมคือ คณะธรรมทาน ซึ่งเป็นผู้คอยดูแลและประสานงาน รวมถึงการจัดสถานที่อบรม โดยการจัดโครงการอบรมขึ้นที่สวนโมกข์นานาชาติ เรียกว่า “การอบอบอานาปานสติภาวนา” เป็นการฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจเป็นตัวกำหนด และการอบรมพระธรรมทูต เพื่อเป็นทูตทางศาสนา การอบรมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ สวนโมกขพลารามแบ่งออกเป็น ๔ ประเภทคือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการของ สวนโมกขพลาราม การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการขององค์กรต่างๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระธรรมทูต และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยธรรมมาตา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงได้แก่ การดำเนินงานเพื่อให้หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปมีผู้คนเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย น้อมนำเอาหลักธรรมในทางพระพุทธสาสนาไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติเหล่านั้น เพราะพระพุทธสาสนาบังเกิดขึ้นมาเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก หัวใจสำคัญในการเผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก โดยให้เกิดประโยชน์สุขตามที่พระพุทธประสงค์ ๓ ประการ คือ ทิฎฐธัมมิกัตตประโยชน์ ประโยชน์ชาตินี้ สัมปรายิกัตตประโยชน์ ประโยชน์ชาติหน้า และปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้ที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงได้พยายามเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่พระสงฆ์ สามเณร และเยาวชน ตลอดถึงการอบรมแผ่พระพุทธศาสนาแก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้พระสงฆ์ สามเณร และเยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แท้จริง และนำไปถือปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ซึ่งก่อให้เกิดความสุข ความเจริญ แก่ตนเองและสังคม ดังที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวถึงหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ไว้ว่า หน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ คือ การจัดการเทศนาอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร เยาวชน และบุคคลทั่วไป ให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ องค์การเผยแผ่ตามพระราชบัญญัติของคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ได้กำหนดหน้าที่ของพระสงฆ์ ระดับเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาค เกี่ยวกับการเผยแผ่ไว้ดังนี้
๑. อบรมพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ให้มีสมณะสัญญา และอบรมในเรื่องจรรยามารยาท ตลอดถึงการปฏิบัติอันเกี่ยวกับพิธีหรือแบบอย่างต่างๆ
๒. อบรมทำวัตรสวดมนต์ให้เป็นไปโดยมีระเบียบเรียบร้อย
๓. หาอุบายวิธีให้ได้ยินได้ฟังโอวาท คำสั่งสอน หรือแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. แนะนำสั่งสอนอบรมประชาชนให้เข้าใจในศาสนพิธีและการปฏิบัติ
๕. เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม และให้ได้ยินได้ฟังถึงสิ่งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยถูกต้อง
๖. หาอุบายวิธีสกัดกั้นสิทธิธรรมปฏิบัติมิให้เกิดขึ้น หรือบำบัดสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปโดยทางที่ชอบ
๗.ขวนขวายเพื่อให้ศิษย์วัดมีความรูในเรื่องพระพุทธศาสนาและอบรมในทางศีลธรรมมีการเจริญภาวนา สมาธิ เป็นต้น
๘.ขวนขวายจัดตั้งห้องสมุด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาธรรม หรือเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน หรือขวนขวายจัดหาหนังสือที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปบ้าง ที่เกี่ยวกับการไหว้พระสวดมนต์บ้าง ที่เกี่ยวกับศีลธรรมบ้าง เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการอบรมดังกล่าว ทำให้สวนโมกขพลาราม มีคุณลักษณะเด่นเป็นพิเศษในเรื่องของการเผยพระพุทธศาสนาเพราะไม่ใช้พิธีกรรมให้มากนัก แต่เน้นเรื่องของการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก โดยใช้กระบวนการของไตรสิกขา ในการอบรมและเจริญอานาปานสติ ในโครงการอบรมแต่ละครั้ง
๓.๒.๖ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ ที่สวนโมกขพลารามดำเนินการมาโดยตลอดคือ การจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ “พุทธศาสนา” รายไตรมาส โดยธรรมทานมูลนิธิร่วมกับโรงพิมพ์ธรรมทานที่อยู่ในความดูแลของธรรมทานมูลนิธิ หนังสือที่จัดพิมพ์เพื่อเผยแผ่ส่วนมากเป็นหนังสือของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และมีหนังสือของสหายธรรมบ้างเล็กน้อย การจัดพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่จะดำเนินการเป็นคณะทำงาน ซึ่งจะทำงานด้วยความสมัครใจ ไม่มีเงินเดือนการทำงาน จะติดต่อประสานงานกับวัด แต่จะไม่ทำงานภายในวัด เนื่องจากต้องการให้พระสงฆ์อยู่อย่างสงบ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิธรรมทาน ได้กล่าวถึงการพิมพ์หนังสือเพื่อการเผยแผ่ของมูลนิธิธรรมทานไว้ว่า งานหลักที่มูลนิธิธรรมทานกระทำอยู่ตอนนี้ คือจัดพิมพ์หนังสือที่เป็นผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือชุด “ธรรมโฆษณ์” ซึ่งพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต้องการให้เกิดขึ้นและคงอยู่ต่อไป และหนังสือชุดอื่นๆ รวมถึงการพิมพ์หนังสืออื่นๆ ตามความประสงฆ์ของผู้ที่ต้องการการพิมพ์แจกในงานบุญ นอกจากนี้ยังจัดทำจุลสาร การ์ดอวยพร ที่คั้นหนังสือ ซึ่งจะมีภาพและคำสอนของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่เป็นคำกลอน และหลักพระพุทธศาสนามาเป็นแนวคิด การดำเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมูลนิธิธรรมทาน เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่ต้องการให้กิจกรรมด้านศาสนาคงอยู่ต่อไป การดำเนินงานจะอยู่เฉพาะที่ แต่มีผลกว้างไกล เนื่องจากผู้คนเกิดความศรัทธาในพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และแนวทางปฏิบัติของสวนโมกขพลาราม ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากผู้ที่สนใจศึกษา เข้ามาศึกษา และนำไปเผยแผ่ต่อๆไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผู้คนเหล่านั้นได้ขออนุญาตการจัดทำหนังสือเผยแผ่ยังธรรมทานมูลนิธิ และไปจัดพิมพ์กันเองทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติ มูลนิธรรมทานจึงเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้มอบหมายให้ทำหน้าที่นี้โดยตรง
นอกจากนี้ทางสวนโมกขพลารามยังได้เห็นความสำคัญในการใช้เอกสารสิ่งพิมพ์เป็นสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้มีการจัดเอกสารให้มีระบบมากยิ่งขึ้น โดยจัดในรูปของห้องสมุดไว้บริการสำหรับผู้ที่สนใจใฝ่ธรรมะ ชื่อว่า “ห้องสมุดโมกพลบรรณาลัย” ตั้งอยู่ในบริเวณหัวเรือธรรมวารีนาวาอิสรกุลนฤมิตร ด้านฝั่งตะวันตกจะเปิดบริการทุกวัน เว้นวันธัมมัสสวนะ (วันพระ) เวลา ๑๒.๐๐-๑๖.๐๐น. ภายในห้องสมุดจะมีหนังสือที่เกี่ยวกับหลักธรรมมากมาย มีพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบอยู่ประจำห้องสมุดให้บริการ การยืม และการคืนหนังสือ ผู้ที่มีสิทธิ์ทำบัตรห้องสมุด คือผู้ที่อยู่ประจำที่สวนโมกขพลาราม หรือมาพักอาศัยอยู่ตั้งแต่ ๕ วันขึ้นไป สำหรับบุคคลภายนอกนั้น ถ้าจะยืมหนังสือ จะต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ เพื่อป้องกันการไม่คืนหนังสือ ห้องสมุดโมกพลบรรณาลัยนับเป็นสถานที่หนึ่งใน สวนโมกขพลาราม ที่เป็นแหล่งรวมเอกสารให้ความรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและอื่นๆ มากมาย ผู้ที่ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ที่พักอาศัยอยู่ในสวนโมกขพลาราม นอกจากนี้ยังมีบุคคลทั่วไป ทั้งอยู่ใกล้เคียง และผู้อยู่ไกล ที่แวะเยี่ยมมาเที่ยวที่สวนโมกขพลาราม วันหนึ่งๆ จะมีผู้คนเข้าห้องสมุดโมกพลบรรณาลัยเพื่อค้นคว้าหาความรู้ด้านธรรมะมากมาย การเปิดห้องสมุดจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแผ่กว้างออกไปจากการอ่านของผู้ที่สนใจ ดังที่พระภาวนาโพธิคุณ กล่าวไว้ว่า การเปิดห้องสมุดเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นแหล่งความรู้รอบตัว เป็นครูสอนให้คนฉลาด สวนโมกขพลารามจึงเห็นความจำเป็นในการจัดห้องสมุดขึ้นที่สวนโมกขพลาราม ให้พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วๆไปได้ศึกษาหาความรู้ และช่วยกันเผยแผ่สิ่งที่ดีๆ ของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงแผ่กว้างสู่สังคมต่อไป
๓.๓ บทบาทด้านกลุ่มบุคคลในการเผยแผ่
๓.๓.๑ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ พระนุ้ย สมฺปนฺโน ได้กล่าวไว้ว่า การอบรมชาวต่างชาติจะอบรมทุกวันที่ ๑-๑๐ ของทุกเดือน ชาวต่างชาติที่เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม โดยสอนอานาปานสติภาวนา ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา เยอรมัน และประเทศอื่นๆ ซึ่งชาวต่างชาติเหล่านี้มากันโดยมิได้นัดหมาย โดยจะมาพร้อมกันที่สวนโมกข์นานาชาติ ทุกวันที่ ๑-๑๐ ของทุกเดือน หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป การอบรมแต่ละครั้งมีชาวต่างชาติเข้าร่วมประมาณ ๗๐ ถึง ๑๐๐ คน
โครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยการอบรมชาวต่างชาติ เป็นวิธีการเผยแผ่และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้ปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ที่ทำขึ้นเพื่อตอบสนองปณิธานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๑ ใน ๓ ข้อ ที่ว่าให้ทุกคนเข้าใจกันระหว่างศาสนา ซึ่งชาวต่างชาติที่มาอบรม ที่สวนโมกขพลาราม จะมาจากต่างภาษา ต่างศาสนา การอบรมพร้อมกับการปฏิบัติธรรม จึงเป็นวิธีการหลอมบุคคลเหล่านั้นให้มีความเข้าใจกัน โดยใช้ศาสนาเป็นสื่อกลาง ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยที่ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑-๑๐ ของทุกเดือน ที่มีการอบรมนั้น จะมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างชาวต่างชาติ เช่น การสนทนาธรรมเพื่อไขข้อปัญหาทางศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกัน การทำสมาธิฝึกจิตให้ปล่อยวางจากสิ่งที่เรียกว่า กิเลส การร่วมทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างความเข้าใจ ความผูกพันให้มุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยไม่มีกำแพงเชื้อชาติ ศาสนา มาขวางกั้นไว้ ใครมีความทุกข์ร่วมช่วยเหลือ ใครมีความสุขร่วมยินดี การการทำเช่นจะทำให้เกิดสันติภาพขึ้นในโลก
สวนโมกขพลารามมีชื่อเสียงแผ่กว้างไกลไปทั่วโลก สืบเนื่องจากความศรัทธาของผู้ที่มาศึกษาธรรมะ และได้รับผลจากการกระทำนั้นไปบอกต่อผู้อื่น ชาวต่างชาติมากมายจึงเกิดความศรัทธาและเดินทางมาศึกษาธรรมะที่สวนโมกขพลารามเดือนหนึ่งๆมีมากมาย อานิสงส์ที่ชาวต่างชาติได้รับจากสวนโมกขพลารามจะถูกเผยแผ่ต่อไปสู่ผู้อื่น ซึ่งเป็นความต้องการของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงมีการอบรมชาวต่างชาติขึ้นเป็นประจำทุกเดือน
๓.๓.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่คนไทยนั้นจะอบรมทุกวันที่ ๒๐-๒๖ ของทุกเดือน เพื่อขี้หลักธรรมะที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนทั่วไป การอบรมพุทธศาสนิกชน เป็นโครงการเผยแผ่และส่งเสริมการปฏิบัติธรรมที่ตอบสนองปณิธานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๑ ใน ๓ ข้อ ที่ว่าต้องการให้คนมีความเข้าใจในศาสนาของตนเอง จะได้มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง
คนไทยที่เข้าร่วมโครงการอบรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะเข้าร่วมโครงการด้วยความศรัทธาที่คิดว่าการศึกษาธรรมะและการปฏิบัติธรรมจะช่วยแก้ปัญหาได้ คือมีปัญหาส่วนตัว ปัญหาในหน้าที่การงาน ที่ทำให้จิตใจไม่มีความสงบ กิจกรรมในการอบรมที่สวนโมกขพลารามจัดขึ้น จะช่วยสร้างความสบายใจ จิตใจมีสมาธิ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ปัญหาการงาน ปัญหาส่วนตัวก็สามารถไขได้เมื่อมีสติ กิจกรรมการอบรม เช่น การทำวัตรเช้าและการทำวัตรเย็น และการสวดมนต์ภาวนา เพื่อระลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การทำสมาธิโดยการนั่งสมาธิ เพื่อฝึกจิตให้ปล่อยวางกับการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ การฟังพระธรรมเทศนาคือทำจิตเข้าสู่ภาวะที่เป็นจริง แล้วนำหลักธรรมที่ได้นั้นมาแก้ปัญหาชีวิต การผ่อนคลายความเครียดและผ่อนคลายปัญหาต่างๆ โดยการร่วมทำกิจกรรมนันทนาการ รวมถึงการฝึกการกิน การนอนที่ต้องทำแบบเรียบง่ายไม่ให้ยึดติดกับวัตถุนิยมที่ฟุ่มเฟือยหรูหรา มีการสนทนาธรรม ตอบปัญหาธรรมะแลกเปลี่ยนความคิด การสร้างคนโดยยกระดับจิตใจของผู้คน โดยการส่งเสริมให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นคนที่คุณภาพจะได้พัฒนาสังคมให้เจริญต่อไปได้ในอนาคต และทำให้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เพื่อนำหลักธรรมออกไปเผยแผ่ต่อไป
๓.๓.๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการขององค์กร
ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆเห็นความสำคัญในการปลูกฝังธรรมะแก่พนักงานเพื่อลดความเครียดในการทำงาน จึงได้มีโครงการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาขึ้น โดยใช้สถานที่ของสวนโมกขพลารามเป็นสถานที่จัดอบรม ดังที่ พระอาจารย์นุ้ย สมฺปนฺโน แห่งวัด สวนโมกขพลารามได้กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างๆ ในปีหนึ่งๆ จะมีหน่วยงานของภาครัฐและภาคประชาชน ทั้งในเขตอำเภอไชยา ต่างอำเภอ และต่างจังหวัด ได้แสดงความประสงค์ให้มีการอบรมมากมาย ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
๑) การอบรมระยะสั้น
การอบรมธรรมที่มีเวลาเพียง ๑-๒ วัน ซึ่งกิจกรรมที่สวนโมกขพลารามจัดให้หน่วยงานเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการฟังธรรมบรรยายที่โรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งผู้เข้าอบรมมีเวลาน้อย แต่จะได้ความรู้มาก ที่โรงมหรสพทางวิญญาณมีพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบบรรยายภาพปริศนาธรรมให้เชื่อมโยงกับหลักธรรม ให้เห็นภาพพจน์ออกมาด้วยความสามารถ และลีลาการบรรยายที่น่าฟัง ไม่น่าเบื่อ จากนั้นจะมีการนั่งสมาธิ เพียงเพื่อให้ทราบหลักการทำสมาธิวิปัสสนาเบื้องต้น เพื่อจะได้นำหลังการไปฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง อีกแห่งหนึ่งที่เป็นที่ส่งเสริมการเผยแผ่ธรรมะในสวนโมกขพลารามสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยคือ ที่โรงปั้นภาพ ซึ่งจะใช้รูปปั้นตุ๊กตา เป็นรูปสัตว์ในการสอนธรรมะ และสอดแทรกการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเพื่อจะได้นำธรรมะที่ได้กลับไปพัฒนาตนเองต่อไป
๒) การอบรมระยะยาว
สวนโมกขพลารามจะจัดการอบรมให้กับหน่วยงานที่แจ้งความประสงค์ขอเข้ารับการอบรมธรรมะ โดยที่หน่วยงานมีเวลาไม่ต่ำกว่า ๕ วัน ทางสวนโมกขพลารามจะจัดอบรมให้ตามโครงการของสวนโมกขพลาราม คือ การอบรมอานาปานสติภาวนา แต่ระยะการอบรมจะไม่อยู่ในวันที่ ๒๐-๒๖ ของเดือน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นการอบรมตามโครงการของ สวนโมกขพลาราม การอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่ขอความอนุเคราะห์มา จะมีกิจกรรม คือการทำสมาธิ ฝึกจิตด้วยการกำหนดลมหายใจ การสนทนาธรรม เพื่อให้ทราบปัญหาทางธรรมะและแก้ใขที่ถูกต้อง การสวดมนต์ภาวนาเพื่อ จะใช้หลักธรรมไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน รวมถึงการฝึกความอดทน โดยการกินที่เรียบง่าย การนอนที่ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก เพื่อทดสอบความเข้มแข็งในจิตใจของตนเอง
๓) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโครงการธรรมมาตา
โครงการธรรมมาตาเป็นโครงการให้แก่สตรีเพศผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และต้องการที่จะเป็นทายาทที่สืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งมีลักษณะคล้ายสมัยพุทธกาล ดังที่ พระภาวนาโพธิคุณ ได้กล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระทำความเพียรเพื่อต้อการที่จะตรัสรู้ ได้มีผู้มาขอเป็นสาวกมากมายทั้งหญิงและชาย ในสมัยพุทธกาลจึงมีการบวชภิกษุณี ซึ่งเป็นสตรีเลื่อมใสศรัทธาในนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และขอเป็นสาวกเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แต่ต่อมาการบวชภิกษุณีก็หมดไปด้วยข้อจำกัดของสตรี ที่จะถือปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนาได้
สวนโมกขพลารามได้มองเห็นความสำคัญของสตรีว่า เป็นผู้ที่จะช่วยให้พระพุทธศาสนาเจริญได้ จึงจัดให้มีโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้น คือโครงการพระพุทธศาสนาสำหรับสตรี เพราะเห็นว่าสตรีผู้เป็นเพศแม่สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ทางพระพุทธศาสนาให้แก่เด็กๆ ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติในอนาคตได้อย่างลึกซึ้ง และผู้เป็นธรรมมาตาเหล่านี้ จะเป็นทูตทางศาสนา เพื่อปลูกฝังเรื่องธรรมพื้นฐานให้แก่เด็ก อีกทั้งได้ปลูกฝังพื้นฐานในทางสังคม ให้มีความแข็งแกร่ง โดยใช้ศาสนาเป็นสื่อสร้างสรรค์สังคม โครงการธรรมมาตาดำเนินงานอยู่ที่สวนโมกข์นานาชาติอย่างต่อเนื่อง และคงจะดำเนินการต่อไปในอนาคตเพื่อพัฒนาสังคมให้เจริญต่อไป
๓.๓.๔ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการพระธรรมทูต
การอบรมพระธรรมทูตเป็นโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วโลก ดังที่ พระมณเทียร มณฺฑิโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนโมกขพลาราม ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันนี้ สวนโมกขพลารามเป็นสถาบันศาสนานาชาติที่คนรู้จักทั่งโลก สวนโมกขพลารามมีความพยายามที่จะทำให้โลกมนุษย์ปราศจากกำแพงทางศาสนาขวางกั้น ต้องการให้คนมีความเข้าใจกันระหว่างศาสนา และต้องการให้เกิดสันติภาพขึ้นในโลกโดยใช้ศาสนาเป็นสื่อกลาง ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น โครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระธรรมฑูตจึงเกิดขึ้นเพื่อจะได้มีตัวแทนทางการเผยแผ่ศาสนาออกไปประสานความเข้าใจ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนต่างชาติ ต่างศาสนานั่นเอง โครงการอบรมพระธรรมทูตจะจัดขึ้นที่สวนโมกข์นานาชาติเป็นรุ่นๆ ซึ่งมีทั้งพระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป ปัจจุบันทางสวนโมกขพลารามธรรมมาศรมนานาชาติขึ้นอีก ๑ แห่ง คือที่บ้านดอนเคี่ยม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับอบรมเฉพาะชาวต่างชาติโดยตรง โดยมีพระสันติกโร ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวเยอรมันที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบวชเป็นพระภิกษุมาหลายปี จึงได้ดำเนินการอบรมพระธรรมฑูตเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางออกไปด้วย
สรุปได้ว่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรและชาวพุทธ การปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่หลักของสวนโมกขพลารามได้ดำเนินการในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามาช้านาน จนทำให้กลายเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงด้านการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กลายเป็นมหาวิทยาลัยทางวิญญาณของโลก ด้วยความมุ่งมั่นและพยายามสร้างสันติภาพแก่สังคม โดยใช้ศาสนาเป็นสื่อ สวนโมกขพลารามจึงได้ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมขึ้นทั้งพระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป รวมถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ทำให้สังคมเกิดความสงบสุขและต้องการส่งเสริมพัฒนาสังคมต่อไปในอนาคต พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งหลาย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และยังได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศด้วย เพราะว่าพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นพระสงฆ์ที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และการปฏิบัติตนตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สามารถปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์เป็นนิจ โดยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) คือการจัดให้มี การเทศนา อบรม สั่งสอน ปฏิบัติธรรมและอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจหลักพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิเป็นชาวพุทธที่ดีสืบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น