บทที่ ๑
บทนำ
๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติมาช้านานวัดจึงเป็นสถานที่สำคัญมากในสังคมไทย โดยเฉพาะในสมัยก่อนวัดมีบทบาทต่อสังคมมากมาย นอกเหนือจากเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของสงฆ์ และเป็นแหล่งส่งเสริมเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยตรงแล้ว วัดยังเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่เป็นแหล่งรวมกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เป็นโรงเรียนให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา เป็นสถานพยาบาลของชาวบ้าน เป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชน เป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้คน ดังที่ พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ ได้กล่าวถึงบทบาทของวัดที่มีต่อวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนไว้ว่า วัดเป็นโรงเรียนใกล้บ้านที่ชาวบ้านส่งลูกหลานเข้าศึกษาเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ เป็นสถานที่ช่วยอบรบสั่งสอนขัดเกลาจิตใจของชาวบ้าน เป็นสถานพยาบาลเมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ได้ป่วย โดยมีพระสงฆ์จะทำหน้าที่รักษาตามแบบแผนโบราณ ชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องที่อยู่ทำกินก็อาศัยวัดในการพักพิงเลี้ยงชีพ ชาวบ้านเดินทางไกลไม่มีที่พักก็จะใช้วัดเป็นสถานที่หลับนอนชั่วคราว ชาวบ้านใช้วัดเป็นที่พบปะสังสรรค์กันในยามว่าง ชาวบ้านจะจัดงานรื่นเริงในวัดโดยมีมหรสพต่างๆเช่น มโนราห์ หนังตะลุง และการละเล่นอื่นๆ และที่สำคัญคือวัดเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม และทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้คนในชุมชน๑ ในทำนองเดียวกัน สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ ได้กล่าวถึงบทบาทของวัดไว้ว่า ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางของความงามความดีที่ปรากฏในจิตใจของคนทั่วไป นอกจากนั้นวัดยังเป็นสถานศึกษา เป็นศูนย์กลางในการรักษาโรค และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น๒
วัดมีอยู่ทั่วไปในชุมชนต่างๆ ทุกภูมิภาคของสังคมไทย ดังที่ สุพร จุลทอง ได้กล่าวไว้ วัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านใดมักจะมีวัดประจำหมู่บ้านของตน ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านต่างก็ใช้วัดเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ และมีความสัมพันธ์อย่างแบบแน่นกับวัด วัดจึงเป็นสมบัติร่วมของทุกคนในท้องถิ่น โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำของชาวบ้านในชุมชน เมื่อมีกิจกรรมเนื่องด้วยผลประโยชน์ร่วมกันของชุมชน เช่น ขุดบ่อ สร้างถนน สร้างสะพาน
เป็นต้น พระสงฆ์ขอความช่วยเหลือให้ชาวบ้านช่วยกันทำ ชาวบ้านก็จะมาช่วยกันทำงานจนสำเร็จด้วยดี เป็นการทำงานด้วยความศรัทธาและเคารพเชื่อฟัง ทำให้เกิดระเบียบวินัย ประหยัด และทำให้ผู้คนมีจิตใจที่ดีงามต่อกันอีกด้วย๓ ปัจจุบันนี้เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนมาก
ทำให้ผู้คนมีความสัมพันธ์กับวัดลดน้อยลง ดังที่ กล้า สมตระกูล ได้กล่าวไว้ว่า สภาพสังคมไทยในขณะนี้ทำให้ชาวบ้านกับวัดมีความสัมพันธ์น้อยลง ชาวบ้านต้องต่อสู้แข่งขันกันทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้มีเวลาว่างลดน้อยลงมาก อันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องห่างไกลจากวัดและหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา๔และพระมหาณรงค์ศักดิ์ จิตฺตโสภโณ ได้กล่าวถึงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านห่างเหินกับวัดมากขึ้นในสังคมปัจจุบันไว้ว่า ความห่างเหินระหว่างวัดกับชุมชนเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพของวัดเอง เพราะบทบาทของวัดได้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมซึ่งวัดเคยเป็นที่พำนักของภิกษุสามเณรกลายเป็นที่อยู่อาศัยของคฤหัสถ์มากกว่าวัดซึ่งเคยเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ร่มรื่น เป็นที่ดึงดูดใจชาวบ้านให้เข้าไปพักผ่อนหย่อนใจ ก็กลายเป็นวัดที่ขาดระเบียบ สกปรก และขาดความร่มรื่น ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธา ไม่มีจิตศรัทธาที่จะเข้าวัด และวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางสังคมที่พึงปรารถนาก็กลายเป็นแหล่งอบายมุข
เป็นต้น พระสงฆ์ขอความช่วยเหลือให้ชาวบ้านช่วยกันทำ ชาวบ้านก็จะมาช่วยกันทำงานจนสำเร็จด้วยดี เป็นการทำงานด้วยความศรัทธาและเคารพเชื่อฟัง ทำให้เกิดระเบียบวินัย ประหยัด และทำให้ผู้คนมีจิตใจที่ดีงามต่อกันอีกด้วย๓ ปัจจุบันนี้เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนมาก
ทำให้ผู้คนมีความสัมพันธ์กับวัดลดน้อยลง ดังที่ กล้า สมตระกูล ได้กล่าวไว้ว่า สภาพสังคมไทยในขณะนี้ทำให้ชาวบ้านกับวัดมีความสัมพันธ์น้อยลง ชาวบ้านต้องต่อสู้แข่งขันกันทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้มีเวลาว่างลดน้อยลงมาก อันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องห่างไกลจากวัดและหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา๔และพระมหาณรงค์ศักดิ์ จิตฺตโสภโณ ได้กล่าวถึงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านห่างเหินกับวัดมากขึ้นในสังคมปัจจุบันไว้ว่า ความห่างเหินระหว่างวัดกับชุมชนเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพของวัดเอง เพราะบทบาทของวัดได้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมซึ่งวัดเคยเป็นที่พำนักของภิกษุสามเณรกลายเป็นที่อยู่อาศัยของคฤหัสถ์มากกว่าวัดซึ่งเคยเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ร่มรื่น เป็นที่ดึงดูดใจชาวบ้านให้เข้าไปพักผ่อนหย่อนใจ ก็กลายเป็นวัดที่ขาดระเบียบ สกปรก และขาดความร่มรื่น ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธา ไม่มีจิตศรัทธาที่จะเข้าวัด และวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางสังคมที่พึงปรารถนาก็กลายเป็นแหล่งอบายมุข
นอกจากนั้น ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับวัดลดน้อยลงไว้ว่า เนื่องมาจากวัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามาในสังคมไทยอย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้คนหลงใหลในทางวัตถุมากขึ้น และทำให้บ้านเมืองเกิดวิกฤติอย่างรุนแรงทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผู้คนต้องต่อสู้แข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องห่างเหินกับวัดไปโดยปริยาย ส่วน คณึงนิตย์ จันทบุตร ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนกับวัดลดความสัมพันธ์ลงไว้ว่า เกิดจากปัจจัย ๒ ประการ ได้แก่ ปัจจัยภายใน คือ การที่ผู้คนเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาและความไม่สนใจในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง และปัจจัยภายนอก คือการหลั่งไหลเข้ามาของ
อารยธรรมตะวันตกที่ทำให้ผู้คนหลงใหลกับสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ มีค่านิยมทางวัตถุมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ความสัมพันธ์กับวัดลดน้อยลงไปด้วย๕
อารยธรรมตะวันตกที่ทำให้ผู้คนหลงใหลกับสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ มีค่านิยมทางวัตถุมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ความสัมพันธ์กับวัดลดน้อยลงไปด้วย๕
สวนโมกขพลารามมีบทบาทสำคัญยิ่งในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ดังที่ จินดา จันทร์แก้ว ได้กล่าวถึงบทบาทนี้ไว้ว่า ตลอดระยะเวลา ๕๐ กว่าปี สวนโมกขพลารามได้มีบทบาทในการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมให้คล้ายกับสมัยพุทธกาล เช่น จัดสถานที่ให้ร่มรื่นเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นลานหินโค้งโบสถ์บนยอดภูเขาพุทธทองหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ จะใช้เป็นอุปกรณ์สอนธรรมะได้ทั้งสิ้นและได้จัดพิมพ์ผลงานเขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของท่านพุทธทาสภิกขุออกเผยแผ่มากมาย เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาให้ชาวโลกได้รู้จักและนำไปปฏิบัติ ผลงานของท่านพุทธทาสได้จัดพิมพ์เผยแพร่ เช่น ชุดธรรมโฆษณ์ จำนวน ๕๐ เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือในลักษณะสารานุกรม มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องปรมัตถธรรม๖ การศึกษา การฝึกสมาธิ เป็นต้น ชุดตามรอยพระอรหันต์ และชุดบรรยายธรรมทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับที่ ประกาศ วัชราภรณ์ ได้กล่าวไว้ว่า ท่านพุทธทาสได้แสดงผลงานการบรรยายธรรม เทศนาธรรม และเขียนหนังสือเกี่ยวกับธรรมไว้เป็นจำนวนมาก๗ การใช้สื่อเพื่อการเผยแผ่พุทธธรรมนั้น มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ในระยะแรกนั้นใช้สื่อบุคคลเป็นหลัก และได้เปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ จากชมพูทวีปเข้าสู่ประเทศไทยราวพุทธศักราช ๓๐๐ พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ แต่ก็ถูกปกปิดด้วยพิธีกรรมอย่างศาสนาพราหมณ์และความเชื่อเรื่องภูตผีดั้งเดิมของคนไทยแก่นแท้แห่งพุทธธรรมจึงไม่เป็นที่แพร่หลาย และถูกตั้งไว้ในฐานะสิ่งสูงสุดในโลกแห่งอุดมคติ ยากที่จะมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตและจิตวิญญาณได้อย่างเหมาะสม และเผยแพร่สิ่งนี้อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น เรื่องนิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ ปฏิจจสมุปบาทในชั่วขณะจิตไม่ข้ามภพข้ามชาติ และเรื่องจิตว่าง และยังมีหนังสืออื่นๆ อีกมากมาย
พุทธทาสภิกขุมีบทบาทด้านการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัดมายาวนาน และได้ก่อให้เกิดผลกระทบดังกล่าว จึงทำให้สวนโมกขพลารามเป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไปทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง“วิเคราะห์บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)” ผลของการศึกษาครั้งนี้จะช่วยเผยแผ่บทบาทของพุทธทาสภิกขุให้เป็นที่รู้จักกันเด่นชัดขึ้นทั้งเป็นประโยชน์ต่อสวนโมกขพลารามที่จะได้ข้อมูลบางส่วนไปปรับใช้ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไปและจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะได้นำข้อมูลเหล่านี้นำเอาไปปรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาวัดต่างๆให้มีบทบาทได้เหมาะสมต่อไป
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑.๒.๑ เพื่อศึกษาชีวประวัติ ข้อวัตรปฏิบัติ แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑.๒.๒ เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑.๒.๓ เพื่อศึกษาผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ไว้ ๓ ประเด็นดังต่อไปนี้คือ
ประเด็นที่ ๑ ศึกษาชีวประวัติ ข้อวัตรปฏิบัติ แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ประเด็นที่ ๒ ศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๓ ด้าน คือ
๑. บทบาทการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ
๒. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
๓. บทบาทด้านกลุ่มบุคคลในการเผยแผ่
ประเด็นที่ ๓ ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๑. ผลต่อบุคคลและกลุ่มบุคคล
๒. ผลต่อสังคม
๓. ผลต่อพระพุทธศาสนา
๔. ผลต่อสันติภาพโลก
๑.๔ ปัญหาที่ต้องการทราบ
๑.๔.๑ ชีวประวัติ ข้อวัตรปฏิบัติ แนวคิด ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีความเป็นมาอย่างไร
๑.๔.๒ บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
มีวิธีการอย่างไร
มีวิธีการอย่างไร
๑.๔.๓ ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นอย่างไร
๑.๕ นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย
พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกผู้ประพฤติพรหมจรรย์ตามสิกขาบทบัญญัติแห่งพระธรรมวินัย และเผยแผ่พุทธธรรมแก่ชาวโลก
การเผยแผ่ ซึ่งในงานวิจัยนี้หมายถึง การที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติ ได้
พระพุทธศาสนา หมายถึง ศาสนาของ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
บทบาท ซึ่งในงานวิจัยนี้หมายถึง หน้าที่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
ที่ได้ศึกษา หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเพื่อมาอบรมสั่งสอนประชาชน
ที่ได้ศึกษา หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเพื่อมาอบรมสั่งสอนประชาชน
วัตรปฏิบัติ ซึ่งในงานวิจัยนี้หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
แนวคิด ซึ่งในงานวิจัยนี้หมายถึง สิ่งที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) คิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น
๑.๖ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑.๖.๑ เอกสารที่เกี่ยวข้อง
๑.๖.๑.๑ แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับบทบาท
๑) ความหมายของบทบาท
บทบาท (Roles) มีความหมายตามที่นักปราชญ์ทั้งหลายได้ให้ไว้ ดังนี้ สุพัตรา สุภาพ อธิบายว่าบทบาท คือ การปฏิบัติตามสิทธิ และหน้าที่ของสถานภาพ (ตำแหน่ง) เช่น ตำแหน่งเป็นพ่อบทบาท คือ เลี้ยงดูลูก เป็นครู บทบาท คือ การให้คำสั่งสอนอบรมนักเรียนให้ดี เป็นคนไข้ บทบาท คือ ปฏิบัติตามหมอสั่ง จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มนุษย์แต่ละคนจะมีบทบาทหลายบทบาท และแต่ละบทบาท ก็มีความสมบูรณ์ หรือสมดุลกันพอสมควร เช่น มีผู้เหนือกว่าก็ต้องมีผู้ที่ต่ำกว่า มีครูก็ต้องมีนักเรียนมีนายจ้างก็ต้องมีลูกจ้าง ซึ่งในแต่ละตำแหน่งก็ต้องมีบทบาทต่างกัน ออกไป ๑ สุพัตรา สุภาพ กล่าวอีกว่า ยิ่งอยู่ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร บทบาทยิ่งแตกต่างไปมากขึ้นเท่านั้น เพราะบางบทบาทคนธรรมดาสามัญปฏิบัติได้ แต่บางบทบาทก็ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ ที่มีคนเพียงไม่กี่คนทำได้ เช่นการไปปฏิบัติการในอวกาศ เป็นต้น หรือบางบทบาทต้องอาศัยประสบการณ์จึงจะได้ผลเช่นถ้าเปรียบได้กับบทบาทในการขับรถ จะรู้แต่ทฤษฎีว่า เกียร์อยู่ตรงไหน แล่นมาเร็วแค่ไหนถึงจะต้องเปลี่ยนเกียร์ใหม่ ๒ แค่นี้ไม่เพียงพอแต่จะต้องฝึกหัดให้มีประสบการณ์ในการใช้เกียร์ด้วยจึงจะปลอดภัย
งามพิศ สัตย์สงวน ให้ความหมายไว้ว่า บทบาทคือ พฤติกรรมที่คาดหวังสำหรับผู้ที่อยู่ในสถานภาพต่างๆ ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร เป็นบทบาทที่คาดหวัง ในกลุ่มคนหรือสังคม เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์ ที่มีการกระทำระหว่างกันทางสังคมได้ รวมทั้งสามารถคาดการณ์พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ ๓
อุทัย ดุลยเกษม ได้ให้ความหมายไว้ว่า บทบาทคือ หน้าที่ หรือพฤติกรรมที่พึงคาดหมาย ของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มหรือในสังคมหนึ่งๆ บทบาทเป็นสิ่งที่สังคมหรือวัฒนธรรมของกลุ่มหรือสังคมนั้นกำหนดขึ้น ๔
งามพิศ สัตย์สงวน กล่าวว่า สถานภาพเป็นตำแหน่ง แต่บทบาทคือการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสถานภาพ สถานภาพและบทบาทมักจะเป็นของคู่กัน คือเมื่อมีสถานภาพจะต้องมีบทบาทด้วย แต่ไม่เสมอไป
ในบางครั้งบทบาทอาจมีลักษณะ “เครียด” (Strain) ได้ ในสังคมสมัยใหม่มีการคาดหวังในบทบาทต่างๆ มากไป แต่ละคนมีตำแหน่งต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถแสดงบทบาทได้ดีทุกบทบาทเพราะขาดเงินทอง เวลา และปัจจัยอื่นๆ ทำให้เกิดความรู้สึกที่เรียกว่าตึงเครียดได้ Biesanz and Biesnz ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้โดยเสนอมโนภาพ “บทบาทที่ต่อรอง” (Role Bargain) ขึ้นมโนภาพนี้ หมายถึง การเลือกแสดงบทบาทใดบทบาทหนึ่งให้ดีที่สุดสำหรับบทบาทอื่นๆ เอาแต่ผ่านไปเท่านั้น หรือบางครั้งต้องทิ้งบทบาทใดบทบาทหนึ่งไปเลย๕ งามพิศ สัตย์สงวนยกตัวอย่างว่า เช่น พระที่เป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษา ถ้าช่วงปิดภาคการศึกษาก็จะแสดงบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนบทบาทการเป็นครูสอนจะเป็นรอง แต่ถ้าเมื่อเปิดภาคการศึกษา ก็จะทิ้งบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ไปชั่วขณะหนึ่ง หันมาทำหน้าที่ครูสอนหนังสืออย่างเต็มที่๖
สถานภาพบางอย่างอาจขัดแย้งกันได้ (Status Inconsistency) ลักษณะต่อมาของ
สถานภาพ คือ เมื่อปัจเจกชนแต่ละคนมีตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ดังนั้นบางครั้ง
สถานภาพเหล่านี้ ขัดแย้งกันได้ เช่น ในสังคมไทยถ้าพระสงฆ์เกิดเป็นฆาตกรขึ้นมา เขาจะอยู่ในฐานะพระสงฆ์ในสังคมไทยซึ่งเป็นตำแหน่งที่น่าเคารพนับถือเป็นที่มีเกียรติสูง เป็นตำแหน่งที่บริสุทธิ์ เป็นที่เคารพยกย่อง ตรงข้ามกับตำแหน่งฆาตกรซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต่ำทราม จะได้รับการดูถูกดูหมิ่นดูแคลนผู้ที่อยู่ในตำแหน่งพระสงฆ์ที่เป็นฆาตกรจะมีความรู้สึกขมขื่นทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายไม่สามารถทำหน้าที่ปฏิบัติกิจของพระสงฆ์ได้ดีเพราะตำแหน่งที่เขาครองอยู่ขัดแย้งกัน ๗
สถานภาพ คือ เมื่อปัจเจกชนแต่ละคนมีตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ดังนั้นบางครั้ง
สถานภาพเหล่านี้ ขัดแย้งกันได้ เช่น ในสังคมไทยถ้าพระสงฆ์เกิดเป็นฆาตกรขึ้นมา เขาจะอยู่ในฐานะพระสงฆ์ในสังคมไทยซึ่งเป็นตำแหน่งที่น่าเคารพนับถือเป็นที่มีเกียรติสูง เป็นตำแหน่งที่บริสุทธิ์ เป็นที่เคารพยกย่อง ตรงข้ามกับตำแหน่งฆาตกรซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต่ำทราม จะได้รับการดูถูกดูหมิ่นดูแคลนผู้ที่อยู่ในตำแหน่งพระสงฆ์ที่เป็นฆาตกรจะมีความรู้สึกขมขื่นทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายไม่สามารถทำหน้าที่ปฏิบัติกิจของพระสงฆ์ได้ดีเพราะตำแหน่งที่เขาครองอยู่ขัดแย้งกัน ๗
พระมหาอดิศร ถิรสีโล ได้กล่าวไว้ว่า บทบาท หมายถึง การแสดงออกของคนซึ่งผู้อื่นคาดคิดหรือหวังว่าเขาจะกระทำเมื่ออยู่ภายใต้สถานการณ์สังคมอย่างหนึ่ง การที่ประชาชนคาดหมายหรือหวังให้เขากระทำอย่างนั้น ถือเอาฐานะและหน้าที่ทางสังคมของเขาเป็นมูลฐานหรือพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งสอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ ๘
ทัศนีย์ ทองสว่าง ได้กล่าวถึง บทบาท ไว้ว่า เมื่อบุคคลดำรงตำแหน่งทางสังคมหรือกลุ่มคน บุคคลนั้นย่อมต้องแสดงบทบาท ตามตำแหน่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นโดยปกติวิสัยแล้วสถานภาพและบทบาทจึงเป็นสิ่งควบคู่กันไป บทบาทหรือการปฏิบัติหน้าที่ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นบทบาทจึงเป็นรูปการ (Aspect) ที่เคลื่อนไหว หรือรูปการของพฤติกรรม) ของบุคคลเมื่อบุคคลมีสถานะภาพแล้ว เขาต้องมีการรับรู้ในบทบาทตามสถานภาพนั้นๆ ด้วย สังคมมนุษย์จะดำเนินไปได้ย่อมต้องมีบรรทัดฐานเป็นแนวทางในการปฏิบัติซึ่งบรรทัดฐานนี้จะติดอยู่กับสถานภาพอันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญและสังคมที่แท้จริงก็คือสถานภาพหรือตำแหน่งต่างๆ ที่มาประสานเข้าด้วยกันนั้นเอง๙
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า บทบาท หมายถึงลักษณะเคลื่อนไหวของสถานภาพ สังคมกำหนดสถานภาพให้บุคคล และบุคคลถือครองสถานภาพนั้นเมื่อเกี่ยวข้องกับสถานภาพอื่นๆ เมื่อบุคคลใช้สิทธิและหน้าที่ให้เกิดเป็นสถานภาพขึ้นมา บุคคลนั้นได้ชื่อว่ากำลังปฏิบัติบทบาท สถานภาพแลบทบาทจึงแยกกันไม่ออก ความแตกต่างระหว่างสถานภาพกับบทบาท เป็นเพียงความสนใจทางวิชาการเท่านั้น จะไม่มีบทบาทเลยถ้าไม่มีสถานภาพ คำว่า บทบาทก็เหมือนกับสถานภาพ คือ มีความหมายอยู่สองนัย ทุกคนจะมีบทบาทเป็นชุด (A series of Role) อันเกิดจากการที่บุคคลจะต้องมีบทบาททั่วไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการรวมเอาบทบาทต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด และเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เขาจะต้องทำสำหรับสังคม และสิ่งที่บุคคลคาดหวังจากสังคมด้วย๑๐
จำนงค์ ทองประเสริฐ กล่าวถึงบทบาทของพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์ต้องศึกษา หลักธรรมคำสอนให้มาก เพื่อนำไปเผยแผ่แก่ประชาชนให้ทราบ เพราะประชาชนทั่วไปต้องนำมาหาเลี้ยงชีพ จึงเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนให้แตกฉาน แล้วจึงนำ หลักธรรมที่ได้ศึกษา มาอบรมสั่งสอนประชาชนให้รู้ตามด้วย ๑๑
๒)ลักษณะของบทบาท
๑.บทบาททางสังคมย่อมมีลักษณะเป็นบทบาทสัมพันธ์หรือคู่บทบาทเสมอกล่าวคือพบการแสดงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับอีกบทบาทหนึ่งเสมอ ดังเช่น พ่อแม่มีบทบาทสัมพันธ์กับลูก บทบาทของพ่อแม่ต้องเลี้ยงดูอบรมลูกให้เติบโตและมีชีวิตอนาคตรุ่งเรื่อง และลูกต้องเชื่อฟังเคารพนับถือ และแสดงกตัญญูต่อพ่อแม่ หรือนายจ้างมีบทบาทคู่กับลูกจ้าง
๒. แต่ละบุคคลมีบทบาทได้หลายบทบาทจากการมีสถานภาพทางสังคมหลายสถานภาพเมื่อยู่ในหลายๆ สังคม โดยเฉพาะในสังคมซับซ้อน บุคคลแต่ละคนมีสถานภาพและบทบาทหลากหลาย เช่น บุคคลหนึ่งเป็น สามี บิดา อา ลูก นายงาน เพื่อนร่วมงาน สมาชิกสโมสรเป็นต้น
๓. บทบาทของบุคคลถูกกำหนดจากเงื่อนไขหลายประการ บุคคลจึงแสดงบทบาทที่เหมือนหรือต่างกันได้ แม้จะมีสถานภาพเดียวกัน
๓.๑ บทบาทบุคคลที่สัมพันธ์และคล้อยตามบทบาทกลุ่ม (Group Related Roles) โดยทั่วไปบทบาทบุคคลจะคล้อยตามบทบาทกลุ่ม บทบาทของกลุ่มที่มีคุณค่าคือบทบาทสงเคราะห์ (Helping Role) มีความสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้มีปัญหาการปรับตัว ช่วยกระตุ้นหรือเร้าให้บุคคลทำงานหรือแก้ไขปัญหาส่วนตัวได้ ในปัจจุบันนำไปใช้บำบัดรักษาในสถานพักพื้นของคนไข้โรคจิต ผู้ติดสารเสพติด ผู้สูงอายุ เป็นต้น
๓.๒ บทบาทบุคคลคล้อยตามบทบาทสถาบัน (Institutionalized Role) ค่านิยม ขนบประเพณี กฎหมาย และบรรทัดฐานอื่นๆ มีอิทธิพลกำหนดลักษณะเฉพาะให้บุคคลคล้อยตามสถานภาพเดียวกันถ้าอยู่ต่างสังคมอาจแสดงบทบาทต่างกัน บุคคลต้องใส่ใจต่อการเรียนรู้บทบาททางสถาบันของแต่ละสังคม เช่น ประเพณีไทยผู้สูงอายุต้องอยู่กับลูกหลานจนสิ้นอายุขัยไม่มีการแยกไปอยู่ลำพัง ซึ่งแตกต่างจากประเพณีอเมริกัน ที่ผู้สูงอายุต้องการแยกอยู่ตามลำพังและติดต่อกับลูกหลานเป็นครั้งคราว ในสังคมบุคคลย่อมแสดงบทบาทสอดคล้องตามแนวขนบประเพณี และกฎหมายของสังคมนั้น
๓.๓ บทบาทของบุคคลตามลักษณะทางชีวจิตของบุคคล (Biopsychological Role) ลักษณะธรรมชาติส่วนนี้เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลให้การแสดงบทบาทของบุคคลอาจแตกต่างออกไปจากบทบาทตามมาตรฐานหรือบรรทัดฐาน ตัวอย่าง พ่อแม่ทั้งสองครอบครัว มีพื้นฐานความรักลูก ในขณะที่ครอบครัวหนึ่งพ่อแม่เลี้ยงดูอบรมด้วยวิธีเข็มงวด แต่อีกครอบครัวเลี้ยงดูด้วยวิธีตามใจ เป็นต้น๑๒
กรรณิกา ขวัญอารีย์ ได้แบ่งลักษณะบทบาทของคนในสังคมไว้ดังนี้
๑. บทบาทที่กำหนดไว้หรือบทบาทตามอุดมคติ (The Socially Prescribed or ideal Role) เป็นบทบาทตามอุดมคติที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของตำแหน่งไว้
๒. บทบาทที่ควรกระทำ (Perceived Role) เป็นบทบาทที่แต่ละคนเชื่อว่า ควรจะเป็นการกระทำในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับบทบาทตามอุดมคติทุกประการและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลก็ได้
๓. บทบาทที่กระทำจริง (The Performed Role) เป็นบทบาทที่บุคคลทำได้จริงความเชื่อความคาดหวัง ตลอดจนความกดดันและโอกาสที่จะกระทำในแต่ละสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆ๑๓
สงวน สุทธิเลิศอรุณ ได้อธิบายถึงบทบาทตามสิทธิและหน้าที่ตามสถานภาพในการแสดงบทบาทไว้ ๓ ลักษณะ
๑. บทบาทตามความคาดหวัง (Expected Role) เป็นบทบาทที่ต้องแสดงตามความคาดหวังของผู้อื่น เช่น บทบาทของนักเรียนตามความคาดหวังของครู
๒. บทบาทตามลักษณะการรับรู้ (Perceived Role) เป็นบทบาทที่เจ้าของสถานภาพรับรู้เองว่าตนควรจะมีบทบาทอย่างไร เช่น ครูจะรู้ตัวเองว่าควรแสดงพฤติกรรมอย่างไร
๓. บทบาทที่แสดงจริง (Actual Role) เป็นบทบาทหน้าที่ที่เจ้าของสถานแสดงจริงซึ่งอาจจะเป็นบทบาทตามที่สังคมและตนเองคาดหวัง อาจจะไม่เป็นตามที่สังคมคาดหวังก็ได้ ๑๔
สำราญ ตันเรืองศรี ได้สรุปลักษณะของบทบาทไว้ ๓ ลักษณะ คือ
๑. บทบาทที่กำหนดไว้ หรือบทบาทตามอุดมคติ เป็นบทบาทที่มีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของตำแหน่งทางสังคม
๒. บทบาทที่คาดหวัง เป็นบทบาท ที่ต้องแสดงความคาดหวัง ในขณะเดียวกันเจ้าของสภาพนั้นก็สามารถที่จะรู้ว่าตนเองมีบทบาทอย่างไร และสามารถคาดหวังตัวเองว่า ควรแสดงพฤติกรรมอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สังคมคาดหวังและตนเองคาดหวัง
๓. บทบาทที่เป็นจริง เป็นบทบาทที่เจ้าของสถานภาพแสดงจริง ซึ่งอาจเป็นบทบาทที่สังคมคาดหวัง หรือบทบาทที่ตนเองคาดหวัง หรืออาจจะไม่เป็นบทบาทที่สังคมคาดหวังและคนเองคาดหวัง๑๕
สรุปได้ว่า บทบาท คือ พฤติกรรมที่คาดหวังสำหรับผู้ที่อยู่ในสถานภาพต่างๆ ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร (Role Expectation) เป็นบทบาทที่คาดหวังโดยกลุ่มคนหรือสังคมเพื่อทำให้คู่สัมพันธ์มีการกระทำระหว่างกันทางสังคมได้รวมทั้งสามารถคาดการณ์พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ผู้ที่มีตำแหน่งเจ้าอาวาส จะได้รับการคาดหวังจากสังคมให้แสดงบทบาทหรือหน้าที่ต่างๆ ของเจ้าอาวาส เช่น จะต้องอบรมสั่งสอนให้พระสงฆ์โดยส่วนรวม ทำหน้าที่กลั่นกรองบุคคลที่จะเข้ามาบวชเป็นพระ และอื่นๆ อีกเป็นต้น
๓) ความสำคัญของบทบาท
บทบาทเป็นหน้าที่และเป็นการแสดงออกของบุคคลตามความคิดหรือความคาดหวังเมื่ออยู่ใต้สถานการณ์ทางสังคมหนึ่ง โดยยึดถือฐานะและหน้าที่ทางสังคมที่กำหนดไว้ในบรรทัดฐานเป็นรากฐานตัดสินความถูกต้องและความสมควรของบทบาทนั้น บุคคลจึงตัดสินใจแสดงบทบาทต่างๆ ได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเกี่ยวข้องสมาคมกับบุคคลอื่น เช่น สังคมกำหนดบทบาทของผู้ใหญ่ต้องดูแลช่วยเหลือผู้เยาว์ และผู้เยาว์ต้องเชื่อฟังและนับถือผู้ใหญ่
บุคคลปฏิบัติตามบทบาททางสังคมตามที่ระบุไว้ในบรรทัดฐาน ระบบความสัมพันธ์ต่อกันจะเป็นแนวทางเดียวกัน เกิดความเป็นระเบียบและความสงบภายในสังคมบุคคลที่ฝ่าฝืนต้องได้รับการลงโทษ บุคคลที่ทำตามบทบาทที่คาดหวัง ต้องได้รับการยอมรับและส่งเสริมจากสังคม บุคคลจึงสามารถอยู่ร่วมกลุ่มได้ด้วยดี เช่น สามีหรือภรรยาที่นอกใจต่อกันย่อมได้รับการติฉินนินทา ทั้งมีชีวิตคู่ที่ปราศจากความสุขสงบ ๑๖
๔) แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับบทบาท
นงเยาว์ ปิฎกรัชต์ ได้กล่าวถึงทฤษฎีบทบาทกำหนดความหมายจากแนวคิดของโคเฮน (kohen) ไว้ว่า การที่สังคมกำหนดเฉพาะเจาะจงให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทใดบทบาทนั้นเรียกว่า เป็นบทบาทที่ถูกกำหนด ถึงแม้ว่าบุคคลมิได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่สังคมกำหนดให้ ส่วนบทบาทที่ปฏิบัติจริงหมายถึง การที่บุคคลได้แสดงหรือปฏิบัติออกมาจริงตามตำแหน่งของเขา ความไม่ตรงกันของบทบาทที่ถูกกำหนดบทบาทหน้าที่ปฏิบัติจริงนั้นอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. บุคคลขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่สังคมต้องการ
๒. ความไม่เห็นด้วยหรือไม่ลงรอยกับบทบาทที่ถูกกำหนด
นงเยาว์ ปีกรัชต์ ได้กล่าวถึงทฤษฎีบทบาทโดยสรุปความหมายมาจากแนวคิดของมีดไว้ว่า “บทบาทขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติจริงหรือบทบาทที่เป็นจริง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
๑. การรู้จักตนเองตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๒. พฤติกรรมตามสถานการณ์ที่กำหนดให้จะต้องมีความเหมาะสมกับการส่งเสริมฐานะของตนเอง
ประมวล รัตนวงศ์ ได้กล่าวทฤษฏีบทบาทไว้ว่า “ฐานะตำแหน่งและบทบาท ทางสังคมของบุคคลมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
๑. บทบาทมีอยู่ทุกๆ สังคมและมีอยู่ก่อนที่คนจะเข้าไปครอง
๒. บทบาทมีอยู่ในตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง
๓. วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม และประเพณีในสังคมนั้นๆ เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดตำแหน่งและบทบาทที่ควรจะเป็น
๔. การที่คนเราจะทราบฐานะตำแหน่งและบทบาทได้ เป็นเพราะการปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมนั้นๆ
ไพบูลย์ ช่างเรียน ได้กล่าวถึงทฤษฎีบทบาทว่า บทบาทของคนในสังคมย่อมขึ้นอยู่กับสถานภาพที่ตนครองอยู่และคุณสมบัติของบุคคลนั้น บทบาทของบุคคลจึงแตกต่างกันออกไปตามลักษณ์อุปนิสัย ความคิด ความรู้ ความสามารถ มูลเหตุแรงจูงใจ การอบรมเลี้ยงดูและความพอใจ๒๐
บทบาทของคนในสังคมย่อมขึ้นอยู่กับสถานภาพที่ตนครองอยู่และคุณสมบัติของบุคคลนั้น บทบาทของบุคคลจึงแตกต่างกันออกไปตามลักษณะอุปนิสัย ความคิด ความรู้ ความสามารถ มูลเหตุแรงจูงใจ การอบรมเลี้ยงดูและความพอใจ”และบทบาทจะต้องประกอบไปด้วย ๔ ประการดังต่อไปนี้
๑. รู้สถานภาพของตนเองในสังคม
๒. คำนึงถึงพฤติกรรมที่ควรแสดงออกในสถานการณ์นั้นๆ ที่เหมาะสมกับสถานภาพของตนเอง
๓. คำนึงถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ได้กล่าวถึง ทฤษฎีหน้าที่นิยมไว้ว่า
ทฤษฎีหน้าที่นิยมมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตสังคมและแสดงบทบาทหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น
๑. ทฤษฎีนี้มององค์การสังคมว่าเป็นระบบสังคม (Social System) โดยมีคนจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกและการทำการต่างๆ เมื่อองค์การสังคมเป็นระบบสังคมแล้ว ระบบหรือองค์การสังคมก็จะต้องเป็นตัวตนขึ้นมา มีชื่อ มีที่อยู่ มีหน้าที่หรือความต้องการ หรือมีเป้าหมายมีการเกิด การเปลี่ยนแปลงพัฒนาหรือเสื่อมลง และจบสิ้นไป
๒. ระบบสังคม (องค์การสังคม) หนึ่งอาจทำหน้าที่เดียวหรือหลายหน้าที่ก็ได้ เช่น ครอบครัว โรงเรียน โรงพยาบาล กองทัพ กระทรวง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น มีหน้าที่หลายอย่าง แม้ว่าแต่ละระบบมีหน้าที่หลักของตน ในทางตรงกันข้าม สองระบบหรือมากกว่าอาจทำหน้าที่เดียวกัน เช่น ระบบที่ยกตัวอย่างมาต่างทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่สมาชิกของระบบตน เป็นต้น ข้อเท็จจริงตรงนี้ให้เห็นว่า องค์การใหญ่อาจมีหลายระบบย่อย หรือองค์การย่อย และองค์การย่อยเหล่านี้ย่อมมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
๓. การเปลี่ยนแปลงในระบบหนึ่งย่อมมีผลต่ออีกระบบหนึ่งหรือกลับกัน ระบบโน้นเปลี่ยนแปลงก็ส่งผลต่อระบบนี้ ในทำนองเดียวกัน การจะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงองค์การสังคมให้ได้ผลต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบย่อมต่างๆ ในองค์การสังคมนั้นไปพร้อมกัน
๔. ทฤษฎีหน้าที่นิยมบอกว่า กิจกรรมหรือการกระทำอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การหนึ่ง อาจไม่เป็นประโยชน์ (Dysfunctional) ต่ออีกองค์การหนึ่ง เช่น ค่าจ้าง หรือเงินเดือน เป็นประโยชน์สำหรับองค์การสำนักงาน เช่น บริษัท กระทรวง มหาวิทยาลัย แต่ไม่ใช้กับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ตรงนี้เป็นศัพท์ เรียกว่า เอกภาพหน้าที่ ( Functional unity )
๕. สาระอีกอย่างหนึ่งของทฤษฎีการหน้าที่ คือ สังกัปที่เรียกว่าหน้าที่ แจ้ง (Manifest Function) และหน้าที่แฝง (Latent Function) คำว่า หน้าที่แจ้ง หมายว่าเป็นหน้าที่ที่จงใจหรือตั้งใจให้เกิด เช่น หน้าที่โรงเรียน คือ การถ่ายทอดความรู้ หน้าที่ของชาวนา คือ การผลิตพืชผลเกษตร แล้วก็ได้ผลตรงตามที่ตั้งใจไว้ ส่วนคำว่า หน้าที่แฝง ได้แก่ ผลที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด หรือ ผลรองที่เกิดจากการทำหน้าที่หลัก เช่น การไปทำงานของข้าราชการแล้วไปพบรักและแต่งงาน การพบรักและแต่งงานเป็นหน้าที่แฝง การเป็นกำนันแล้วเป็นผลให้ได้โครงการสร้างถนนเข้าตำบล โครงการสร้างถนนก็เป็นหน้าที่แฝง๒๒
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์๙ ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของวัดเอาไว้ว่า วัดเป็นสถานที่
จัดศาสนพิธีต่างๆ ทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น ด้วยกิจดังกล่าวนี้ วัดจึงเป็นสถานที่สั่งสอนให้คนรู้จักสัมมาคารวะ ปฏิบัติอยู่ในระเบียบวินัย และเป็นผู้มีพิธีรีตอง
จัดศาสนพิธีต่างๆ ทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น ด้วยกิจดังกล่าวนี้ วัดจึงเป็นสถานที่สั่งสอนให้คนรู้จักสัมมาคารวะ ปฏิบัติอยู่ในระเบียบวินัย และเป็นผู้มีพิธีรีตอง
คนึงนิตย์ จันทบุตร๑๐ ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)เอาไว้ว่า ท่านเป็นนักคิด นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งในโลกศาสนา เป็นผู้ริเริ่มผลงานด้านศาสนาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสวนโมกข์ และคณะธรรมทาน เป็นผู้ริเริ่มการสวดมนต์แปล เป็นผู้นำในการแสดงธรรมแบบบรรยายหรือปาฐกถา และออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา ตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ปรากฏข้อเขียนและปาฐกถาธรรมมากมายมหาศาล
บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)นั้นมีส่วนทำให้พระพุทธศาสนา ได้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ประดุจวงล้อธรรมจักรที่หมุนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เพราะบุคลากรของพระพุทธศาสนาได้มีความรู้ และมีความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน ที่เป็นเนื้อแท้ของศาสนาได้มากยิ่งขึ้น จนสามารถนำไปปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง
สรุปได้ว่า บทบาท เมื่อบุคคลจะแสดงออกมานั้น ได้มาจากสถานภาพ ทั้งที่เป็นสถานภาพดั้งเดิม คือ ความเป็นเพศชาย เพศหญิง ต่อมาเมื่อได้รับการเรียนรู้ทางสังคมก็จะมีแสดงบทบาทไปตามตำแหน่ง การงาน หน้าที่รับผิดชอบ ฐานะทางสังคม สภาพแวดล้อม ประเพณีวัฒนธรรม ความสนใจและความชอบโดยส่วนตัว สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดให้บุคคลคนดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม กำหนดให้บุคคลนั้นปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ในสังคม ในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมแต่ละวัน การปฏิสัมพันธ์กันของบุคคลในสังคม คือการแสดงบทบาท ของบุคคล แม้ว่า ผู้นั้นจะต้องแสดงบทบาท หรือไม่ได้ตั้งใจแสดงบทบาทก็ตาม แต่นั้นก็คือ การแสดงบทบาททางสังคมของบุคคลนั้นๆ
๑.๖.๑.๒ เทคนิคและวิธีเผยแผ่พระพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ทรงคำนึงถึงการที่จะทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน ในขั้นแรกพระองค์ทรงลังเลอยู่ว่าจะโปรดดีหรือไม่เพราะทรงเห็นว่าธรรมที่ทรงค้นพบด้วยการตรัสรู้นั้น เป็นสิ่งอันล้ำลึก ยากแก่ผู้ที่ยังยึดติดในกามจะรู้ได้ แต่ก็ทรงตระหนักในลักความจริงว่า มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั้งปวง มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์คือ เป็นสัตว์ที่แนะนำสั่งสอนได้ แต่ถึงกระนั้นมนุษย์ก็ยังมีระดับความแตกต่างในความพร้อม สติ ปัญญา ความรู้ความสามารถ พระองค์จึงทรงเปรียบมนุษย์เหมือนกับดอกบัว ๔ เหล่า ที่มีความแตกต่างกันในการเรียนรู้พุทธธรรม ดังนั้นพุทธวิธีและเทคนิคการเผยแผ่พุทธธรรมของพระองค์จึงแตกต่างกันไปตามกาลเทศะและบุคคลผู้สั่งสอน
สิ่งที่ควรทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ลักษณะงานสอนซึ่งแตกต่างกันตามประเภทวิชา อาจแยกได้เป็น ๒ ประเภท คือวิชาประเภทชี้แจงข้อเท็จจริง เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นต้น การสอนวิชาประเภทนี้ หลักสำคัญอยู่ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในข้อเท็จจริง การสอนจึงมุ่งเพียงหาวิธีการให้ผู้เรียนเข้าใจตามที่สอนให้เกิดพาหุสัจจะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนวิชาอีกประเภทหนึ่งซึ่งเกี่ยวด้วยคุณค่าในทางความประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะวิชาศีลธรรม และวิชาจริยธรรมทั่วไปการสอนที่จะได้ผลดี นอกจากให้เกิดความเข้าใจแล้ว จะต้องให้เกิดความรู้สึกมองเห็นคุณค่าความสำคัญ จนมีความเลื่อมใสศรัทธาที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติด้วย สำหรับวิชาประเภทนี้ ผลสำเร็จอย่างหลังเป็นสิ่งสำคัญมาก และมักทำได้ยากกว่าผลสำเร็จอย่างแรก เพราะต้องการคุณสมบัติขององค์ประกอบในการสอนทุกส่วนนับแต่คุณสมบัติส่วนตัวของผู้สอนไปทีเดียว ยิ่งในงานประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่จะให้คนจำนวนมากยอมรับด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ฉะนั้นการพิจารณาเทคนิคและวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระพุทธเจ้า จึงเริ่มแต่คุณสมบัติของผู้สอน๒๓ จากการศึกษาพบว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนด้วยเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย สามารถสรุปธรรมบรรยายต่างๆ ได้ดังนี้
๑. จุดมุ่งหมายในการสอนของพระพุทธเจ้าจากการศึกษารวบรวมเอกสสารต่างๆ สามารถสรุปจุดมุ่งหมายในการสอนของพระพุทธเจ้าได้ ๓ ประการคือ
๑. ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนให้ผู้ฟังตรองตามเห็นจริงได้
๓. ทรงสอนให้ผู้ฟังได้รับผลตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน
๑.๑ ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น จุดมุ่งหมายข้อนี้หมายความว่า ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงเฉพาะเท่าที่จำเป็นสำหรับสาวกนั้นๆ สิ่งใดที่ทรงรู้แล้วแต่เห็นว่าไม่จำเป็นสำหรับผู้ฟังหรือผู้รับการสอน ก็ไม่สอนสิ่งนั้น ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงเฉพาะเท่าที่รู้และจำเป็นเท่านั้น เช่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความหมายนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่เราหยิบขึ้นมากับใบไม้ที่อยู่บนต้น อย่างไหนมากกว่ากัน” ลำดับนั้นภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า “ใบไม้ที่อยู่บนต้นไม้นั้นแหละมากกว่าใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่พระองค์หยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน เพราะเหตุใดเราจึงไม่บอกเพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นเราจึงมิได้บอก สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้วคือเราได้บอกว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไร เราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อกลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบรำงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุขนิโรธคามินี ปฏิปทา๒๔
๑.๒ ทรงสั่งสอนให้ผู้ฟังตรองตามเห็นจริงได้ ทรงแสดงธรรมอย่างมีเหตุผลที่ผู้ฟังพอไตร่ตรองตามให้เห็นด้วยตนเอง เช่น พระองค์ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าภิกษุจะพึงจับชายสังฆาฏิของเราติดตามรอยเท้าเราติดตามไปข้างหลัง แต่ภิกษุนั้นมีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย หลงลืมสติไม่รู้ตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นก็ยังชื่อว่าอยู่ห่างไกลเรา เราก็ห่างไกลภิกษุนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นยังไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมชื่อว่าไม่เห็นเรา
ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุอยู่ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ แต่ภิกษุนั้นไม่มีความละโมบ ไม่กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตไม่พยาบาท ไม่คิดประทุษร้าย มีสติตั้งมั่น มีจิตมั่นแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ใกล้เรา เราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นแม้เห็นธรรม ชื่อว่าเห็นเรา๒๕
๑.๓ ทรงสอนให้ผู้ฟังได้รับผลตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน ทรงแสดงธรรมะมีคุณเป็นมหัศจรรย์ สามารถยังผู้ปฏิบัติตามให้ได้รับผลตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน เช่น ในมหาปรินิพพานสูตร เมื่อพระองค์ใกล้จะปรินิพพาน ทอดพระเนตรเห็นมหาชนนำเครื่องสักการะเป็นอันมากมาบูชาพระองค์จึงตรัสกับพระอานนท์ว่า
“การทำการบูชาอย่างนั้นไม่ชื่อว่าบูชาพระองค์ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง แต่ผู้ใดจะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกาก็ตามปฏิบัติธรรมสมควร ปฏิบัติชอบ ผู้นั้นแหละชื่อว่าบูชาพระองค์ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขารว่าอีก ๔ เดือน ข้างหน้าพระองค์จักปรินิพพาน ดังนี้ ภิกษุหลายหลายพันรูปเที่ยวแวดล้อมพระองค์อยู่ ปรึกษากันว่า “พวกเราจะทำอย่างไรหนอ” ?
ภิกษุรูปหนึ่งชื่อธรรมาราม ไม่ยอมรวมกลุ่มกับภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุทั้งหลายถามถึงความรู้สึกเกี่ยวกับการปรินิพพานของพระศาสดาท่านมิได้ให้คำตอบว่าประการใด แต่คิดว่า อีก ๔ เดือนข้างหน้าพระศาสดาจักปรินิพพานแล้ว เราเป็นผู้ที่ยังมีราคะอยู่ เราจะพยายามเพื่อบรรลุอรหัตตผลในช่วงเวลาที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ เพื่อเป็นการบูชาพระองค์ ๒๖
๒.หลักการสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงสอนใคร พระองค์ทรงดูว่าบุคคลแต่ละคนนั้นอยู่ในระดับไหนทรงคำนึงถึงบุคคล ๔ ประเภทคือ
อุคคฏิตัญญู ผู้สามารถรู้ได้อย่างฉับพลัน เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดงก็อาจรู้ได้ทันที
วิปจิตัญญู ผู้สามารถรู้ได้เมื่ออธิบายความอย่างละเอียดแล้วซักถามทบทวน
เนยยะ ผู้สามารถเข้าใจได้ เมื่ออธิบายความอย่างละเอียดแล้วซักถามทบทวน
ในการแสดงธรรม พระองค์จึงทรงใช้หลักการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลประเภทต่างๆ โดยคำนึงถึงตัวผู้เรียน และเนื่องหาเรื่องที่สอนเป็นสำคัญเช่นเดียวกับหลักการทั่วๆ ไป กล่าวคือ
๓. เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่ทรงสอนของพระพุทธเจ้า
ในการสอนแต่ละครั้งนอกจากพระองค์จะทรงดูนิสัย หรือระดับภูมิปัญญาแล้วเนื้อหาหรือเรื่องที่จะทรงสอนนั้นก็ต้องคำนึงด้วย ซึ่งเนื้อหาที่จะทรงสอนนั้นพระองค์ก็มีหลัก ๗ ประการ คือ
๑.สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่ายหรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่รู้เห็นหรือเข้าใจยากหรือยังไม่รู้เห็นไม่เข้าใจ
๒.สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึกยากลงไปตามลำดับชั้น และความต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป
๓.ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ พึงสอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียนได้ดู ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่าประสบการณ์โดยตรง
๔. สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา
๕.สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทานํ
๖.สอนเท่าที่จำเป็นพอดีสำหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้การเรียนรู้ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก
๔.เกี่ยวกับตัวผู้เรียน
เกี่ยวกับตัวผู้เรียนนี้ก็คล้ายกับเนื้อหาหรือเรื่องที่พระองค์ทรงสอน พระองค์จะสอนใครนั้นต้องดูก่อนว่ามีความพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ หรือคนไหนมีความรู้ระดับไหนพระองค์ก็จะปรับความยากง่ายให้เข้ากับบุคคลนั้น พระองค์จะรู้ว่าบุคคลนั้นมีนิสัยหรือจริตในทางใด (รู้ด้วยทศพลญาณ) พระองค์ก็จะสอนตามนั้น เกี่ยวกับตัวผู้เรียนจึงแบ่งออกเป็น ๗ ประเภท ได้ดังนี้คือ
๑.รู้ คำนึงถึง และสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น บุคคล ๔ ประเภท เป็นต้น
๒.ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคล แม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่างบุคคล อาจใช้ต่างวิธี ๓.นอกจากคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ผู้สอนยังจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสุกงอม ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ หรือญาณ ที่บาลีเรียกว่า ปริปากะ ของผู้เรียนแต่ละบุคคลเป็นรายๆ ไปด้วย
๔.สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจนแม่นยำและได้ผลจริง
๕.การสอนดำเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ในการแสวงหาความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบโดยเสรี หลักนี้เป็นข้อสำคัญในวิธีการแห่งปัญญาซึ่งต้องการอิสรภาพในทางความคิด และโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริง ผู้เรียนก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเอง
๖.เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆ ไป ตามสมควรแก่กาลเทศะและเหตุการณ์
๕.เกี่ยวกับตัวผู้สอน
ตรงนี้จะกล่าวถึงภาพรวมของผู้สอนซึ่งหมายถึงนักเผยแผ่พุทธธรรมทุกรูปและก็รวมไปถึงการสอนของพระพุทธเจ้าด้วย ในการสอนหรือเผยแผ่พุทธธรรมทุกครั้งนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงผู้สอนในฐานะผู้นำเสนอและผู้เรียนตามหลัก ๕ ประการดังนี้คือ
๑.ในการสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสำคัญมากอย่างหนึ่งการเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสำเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อยก็เป็นเครื่องดึงความสนใจ และนำเข้าสู่เนื้อหาได้
๒.สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ให้ตึงเครียด ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามีความภูมิใจในตัว
๓.สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็นสำคัญ ไม่กระทบทนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกตน ไม่มุ่งเสียดสีใครๆ
๔.สอนโดยเคารพ คือตั้งใจสอน ทำจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งมีคุณค่า มองเห็นความสำคัญของผู้เรียน และงานสั่งสอนนั้นไม่ใช่สักว่าทำ หรือเห็นผู้เรียนโง่เขลา หรือเห็นเป็นคนชั้นต่ำๆ
๖.ลีลาการสอนของพระพุทธเจ้า
การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้งมีคุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่า เป็นลีลาในการสอนมี ๔ ประการดังนี้คือ
๑.สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา
๒.สมาทปนา ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วยชวนให้คล้อยตามจนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ ๓.สมุตเตชนา เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จ ทนต่อความเหนื่อยยาก
๔.สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะเห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ๓๑
๗.วิธีการสอนแบต่างๆ ของพระพุทธเจ้า
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายวิธีแต่ที่พบบ่อยได้แก่วิธีต่อไปนี้
๑.แบบสากัจฉา หรือสนทนา โดยใช้วิธีถามคู่สนทนาเข้าสู่ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด
๒.แบบบรรยาย จะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจำวัน ซึ่งมีประชาชนหรือพระสาวกเป็นจำนวนมาก
๓.แบบตอบปัญหา ในการตอบปัญหาพระองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน
๔.การวางกฎข้อบังคับ โดยใช้วิธีการกำหนดหลักเกณฑ์ กฎ และข้อบังคับให้พระสาวกหรือสงฆ์ปฏิบัติ หรือยึดถือตัวด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน๓๒
๘. เทคนิคและวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
จากการศึกษารวบรวมจากเอกสารหรือหนังสือต่างๆ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)ได้สรุปเทคนิคและวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าได้ดังนี้คือ
๑.การยกอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย ช่วยให้เข้าใจความได้ง่ายและชัดเชน
๒.การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา ทำให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยากปรากฏความหมายเด่นชัดออกมาและเข้าใจง่ายขึ้น
๓.การใช้อุปกรณ์การสอน
๔.การทำเป็นตัวอย่างหรือสาธิตให้ดู วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในทางจริยธรรม คือการทำเป็นตัวอย่าง
๕.การเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ
๖.อุบายการเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้แก่การเริ่มต้นที่บุคคลซึ่งเป็นประมุขหรือหัวหน้าของชุมชนนั้นๆ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๗.การรู้จักจังหวะและโอกาส ผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะและโอกาสให้เป็นประโยชน์ในการสอนธรรมะอย่างได้ผล
๘.ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตาลดละตัณหา มานะทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “เราย่อมฝนด้วยวิธีอ่อนละมุนละไมและทั้งรุนแรงปนกันไปบ้าง”
๙.การลงโทษและการให้รางวัล การลงโทษในที่นี้คือ การลงโทษตนเองซึ่งมีทั้งในทางธรรมและวินัยอยู่แล้ว มีบทบัญญัติความประพฤติอยู่แล้ว การให้รางวัล คือการแสดงธรรมไม่กระทบกระทั่ง ไม่รุกรานใคร เป็นต้น
๑๐.กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้งต่างคราว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมต้องอาศัยปฏิภาณ คือความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะคราวไป๓๓
สรุปได้ว่า หลักนิเทศศาสตร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้สอดคล้องกับเทคนิคและวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ จะทรงตั้งจุดมุ่งหมายในการสอนว่าทรงกำหนดจุดมุ่งหมายแต่ละครั้งเพื่ออะไร แล้วก็ทรงเตรียมเนื้อหรือเรื่องที่จะทรงสอนไปตามลำดับความยากง่ายไปพร้อมๆ กับทรงคำนึงถึงตัวผู้รับการสอนหรือผู้รับสารด้วยว่า เขาจะสามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ และสนใจเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เทคนิคและวิธีการสอนก็ทรงหลากหลายรูปแบบและวิธีการดังกล่าวแล้ว จึงทำให้ในระยะแรกที่ทรงประกาศพระพุทธศาสนานั้นมีบุคคลในทุกชั้นวรรณะเลื่อมใสศรัทธาอุปสมบทตามและสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์จำนวนมาก ดังที่ปรากฏในพุทธประวัติแล้ว ถึงแม้บางคนจะมิได้อุปสมบทก็ตาม แต่ก็ได้น้อมนำหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวีตที่สุขสงบทั้งในระดับบุคคลครอบครัวมาสู่ชุมชนและสังคม ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรมาโดยตลอด
๑.๖.๒ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จิราภรณ์ คงเหล่๑๑ “ศึกษาบทบาทของสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัด
สุราษฎร์ธานี” ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของสวนโมกขพลาราม สามารถจำแนกรายละเอียดออกได้ ๒ ด้านคือ บทบาทด้านการปฏิบัติธรรมและบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น จะต้องอยู่ในพระธรรมวินัย และยึดคติธรรมที่ว่า “กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนกุฏิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง” พระภิกษุสามเณรจะปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการปฏิบัติธรรมคือ ใช้หลัก “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” หรือ “ธรรมคือหน้าที่” ส่วนบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น เป็นหน้าที่หลักของสวนโมกขพลาราม ที่ช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป โดยตลอดระยะเวลาที่มีการจัดตั้งสวนโมกขพลาราม และตลอดชีวิตของ
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ศึกษาพระธรรมขั้นลึกพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้สังคมมนุษย์มีพรหมแดนแห่งศาสนา โดยศึกษาคัมภีร์ของศาสนาอื่น ๆ จนเข้าใจลึกซึ้งและสามารถถ่ายทอดความรู้ปรับใช้ให้แต่ละศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่น ได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล พบว่าทุกศาสนามุ่งสอนให้เป็นคนดีนั่นเอง นอกจากนี้ท่านได้แปลหนังสือ “สูตรเหวยหล่าง” และคำสอนฮวงโป เพื่อถ่ายทอดศาสนาสืบต่อไป
สุราษฎร์ธานี” ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของสวนโมกขพลาราม สามารถจำแนกรายละเอียดออกได้ ๒ ด้านคือ บทบาทด้านการปฏิบัติธรรมและบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น จะต้องอยู่ในพระธรรมวินัย และยึดคติธรรมที่ว่า “กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนกุฏิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง” พระภิกษุสามเณรจะปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการปฏิบัติธรรมคือ ใช้หลัก “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” หรือ “ธรรมคือหน้าที่” ส่วนบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น เป็นหน้าที่หลักของสวนโมกขพลาราม ที่ช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป โดยตลอดระยะเวลาที่มีการจัดตั้งสวนโมกขพลาราม และตลอดชีวิตของ
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ศึกษาพระธรรมขั้นลึกพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้สังคมมนุษย์มีพรหมแดนแห่งศาสนา โดยศึกษาคัมภีร์ของศาสนาอื่น ๆ จนเข้าใจลึกซึ้งและสามารถถ่ายทอดความรู้ปรับใช้ให้แต่ละศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่น ได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล พบว่าทุกศาสนามุ่งสอนให้เป็นคนดีนั่นเอง นอกจากนี้ท่านได้แปลหนังสือ “สูตรเหวยหล่าง” และคำสอนฮวงโป เพื่อถ่ายทอดศาสนาสืบต่อไป
พระมหาสวนทรา ธมฺมจารี (สุจารี)๑๒ “การศึกษาวิเคราะห์หลักปรัชญาศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ” ผลการศึกษาพบว่า ศิลปะเป็นวัตถุที่ถูกตกแต่งและสร้างสรรค์ด้วยฝีมือของมนุษย์ เพื่อให้มีผลต่อการรับรู้ของประสาทสัมผัส ความสวยความงาม เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากวัตถุ ด้วยฝีมือของศิลปิน ความงามกับวัตถุจึงแยกออกจากกันไม่ได้ ความเป็นศิลป์คือวัตถุที่ถูกจัดแจงตกแต่งให้สวยงามแล้วด้วยรูปร่างหรือทรวดทรงขนาดและด้านปริมาณ ซึ่งคำนวณได้วัดได้ด้วยหลักทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดังนั้น เกณฑ์มาตรฐานวัดความเป็นศิลป์ จึงเป็นเกณฑ์มาตรฐานของวัตถุเพื่อใช้กับวัตถุ ศิลปะเป็นวัตถุแห่งการพิจารณา โดยใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์มาตรฐานวัดความเป็นศิลป์
ปรัชญาศิลปะของพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้ยืนบนฐานความคิดที่แตกต่างจากทัศนะทั้งสาม แต่หลักการเพื่อตัดสินความเป็นศิลปะจะถูกนำมาพิจารณาโดยรอบด้าน ในความเป็นศิลป์ไม่ใช่ตัดสินให้เพียงแค่ความงาม ความงามนั้นเป็นเพียงพื้นฐานของความเป็นศิลป์ที่ทำขึ้นด้วยความรู้ความชำนาญของศิลปินผู้มีความตั้งใจและความเพียรพยายาม ไม่ใช่ทำเล่น ๆ ความดีและคุณค่านั้นควรมอบให้แก่ศิลปะ ไม่ใช่เพราะมันทำให้เกิดความเพลิดเพลินน่าหลงใหล หากแต่ศิลปะนั้นให้ผลต่อจิตใจของผู้รับรู้เป็นความสุขสงบ ด้วยเหตุผลของท่านที่ว่าชีวิตมนุษย์ ถูกทำให้ร้อนรุ่มอยู่ทุกวันด้วยปัญหานานัปการ ช่วงเวลาของการผักผ่อนทุกชีวิตต้องการและแสวงหา แต่การได้พักผ่อนจริง ๆ แทบไม่มี เพราะจิตวิญาณไม่ได้พบความสุขสงบที่เรียกว่าการพักผ่อนทางจิตวิญญาณจริง ๆ หากจะมอบความดีให้แก่ศิลปะ ความดีนั้นก็คือผลปรากฏของศิลปะที่มีผลต่อความสงบสุขของจิตวิญาณ และหากจะหาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อตัดสินความเป็นศิลป์ เกณฑ์มาตรฐานนั้นก็คือความจริงของความดีนั้น ซึ่งเป็นที่ต้องการของจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน
พระสมเกียรติ ปริญฺญาโณ (เพชรอริยาวงค์)๑๓ “การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตถตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ” ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดเรื่องตถตาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เสนอและนำมาเผยแผ่ต่อชาวโลกล้วนแต่มีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น แนวคิด ตถตา โดดเด่นมากและเป็นของใหม่สำหรับการเผยแผ่ปรมัตถธรรม เป็นธรรมอันนำไปสู่การรู้แจ้งและพ้นทุกข์ทางใจได้จริง บรรลุจุดมุ่งหมายของพระพุทธองค์ เป็นเพราะท่านพุทธทาสภิกขุ ได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างเพื่อศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจังและสามารถนำสภาวธรรมและบัญญัติที่นอนเนื่องอยู่ในพระไตรปิฎก ออกมาให้ประชาชนผู้แสวงหาสัจธรรมได้ศึกษาและปฏิบัติตามกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มีความเพียรอันยิ่งสมดังที่ตั้งปณิธานเป็นทาสของพระพุทธเจ้า ได้มีจริยธรรม จริยาวัตรอันน่าเลื่อมใสยิ่ง เสมอต้นเสมอปลาย เป็นแบบอย่างของพุทธสาวกอย่างแท้จริงที่ได้สืบทอดต่อเนื่องกันมา ท่านได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอุทิศตนเพื่อพระพุทธองค์ เพื่องานพระพุทธศาสนา และเพื่อชาวโลก
พระสมเกียรติ ปริญฺญาโณ (เพชรอริยาวงค์) การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่อง ตถตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ
ความเข้าใจตถตา
๑.สรรพสิ่งทั้งปวงเป็น ตถตา มันเป็นของมันอย่างนั้น ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงสภาวะดังกล่าวนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งไม่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิต ขันธ์ ๕ ข้อดี นิพพานก็ดี หรือทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม สรุปลงในธรรมทั้งปวงเป็น ตถตา เป็นเช่นนั้นเอง
๒.ตถตา คือปัญญาของผู้ศึกษาปฏิบัติจนรู้แจ้งตามความเป็นจริงในกฎธรรมชาติในมิติต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว นับแต่ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา๘๘ เป็นต้น โดยปราศจากความคิดปรุงแต่งของผู้ปฏิบัติ
๓.การเข้าถึง ตถตา ย่อมเห็นองค์สัมพัทธภาพของสภาวธรรมชาติหรือสัจธรรมภาวะวิสัย คือกฎธรรมชาติที่มีอยู่เดิม องค์สัมพัทธภาพของขันธ์ ๕ คือสัจธรรมอัตวิสัย และการประยุกต์สภาวตถตา หรืออิทัปปัจจยตา เป็นหลักวิชาเพื่อแก้ปัญหาเหตุวิกฤตสำคัญ ๆ ร่วมสมัย
๔.เป็นบุคคลที่พระพุทธเจ้าทรงรับรอง เป็นบุคคลมีคุณธรรมอย่าง อัปปมัญญา ๔
เป็นบุคคลที่อุทิศชีวิตดำเนินศาสนกิจตามรอยบาทศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แนวคิดตถตาของท่านพุทธทาสภิกขุได้เสนอและนำมาเผยแผ่ต่อชาวโลกล้วนแต่มีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น แนวคิด ตถตา โดดเด่นมากและเป็นของใหม่สำหรับการเผยแผ่ปรมัตถธรรม ธรรมอันนำไปสู่การรู้แจ้งและพ้นทุกข์ทางใจได้จริง บรรลุจุดมุ่งหมายของพระพุทธองค์ เป็นเพราะท่านพุทธทาสภิกขุ ได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างเพื่อศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจังและสามารถนำสภาวธรรมและบัญญัติที่นอนเนื่องอยู่ในพระไตรปิฎก ออกมาให้ประชาชนผู้แสวงหาสัจธรรมได้ศึกษาและปฏิบัติตามกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้มีความเพียรอันยิ่งสมดังที่ตั้งปณิธานเป็นทาสของพระพุทธเจ้า ได้มีจริยธรรม จริยวัตรอันน่าเลื่อมใสยิ่ง เสมอต้นเสมอปลาย เป็นแบบอย่างของพุทธสาวกอย่างแท้จริงที่ได้สืบทอดต่อเนื่องกันมา ท่านได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอุทิศตนเพื่อพระพุทธองค์ เพื่องานพระพุทธศาสนา และเพื่อชาวโลก
ท่านพุทธทาสภิกขุ มีความรู้เพียบพร้อมทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ดำเนินชีวิตอุทิศตนในการเผยแผ่ธรรมทั้งการสอน การเทศน์ และงานเขียนไว้มาก เช่น หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ ประมาณ ๗๒ เล่ม เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชนร่วมสมัยและอนุชนรุ่นหลัง ภารกิจอันสูงส่งนี้ยากยิ่งที่ใครจะทำได้อย่างเสมอเหมือน ท่านจึงเป็นมหาบุรุษในการเผยแผ่พุทธธรรมตามรอยบาทพระศาสดาในยุคนี้
และหวังว่าเราทั้งหลายได้พบพุทธสาวกตามแบบอย่างพุทธทาสภิกขุ ผู้เจริญรอยตามพระพุทธองค์อย่างไม่ขาดสายสืบเนื่องตลอดไป
สำเร็จตามวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการทราบ
๑.ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ตถตา ทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถาอย่างแจ่มแจ้ง มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน
๒.ได้รับรู้แนวคิด ตถตา ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ ท่านได้อธิบายตามลำดับขั้นตอน ทำให้เกิดความเข้าใจในแนวทางเดียวกันกับพระไตรปิฎก
๓.ได้รับรู้ว่า ตถตา ทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา และแนวคิดตถตาของท่านพุทธทาสภิกขุ โดยหลักทั่วไปแล้วไม่แตกต่างไปจากพระไตรปิฎก และที่ต่างไปจากพระไตรปิฎกเป็นเพียงวิธีการนำเสนอตามลักษณะจำเพาะของพุทธทาสภิกขุและบริบทต่างยุคต่างสมัยกัน
๔.วิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์สภาวธรรมไว้อย่างละเอียดพอสมควร จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ให้ความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้ที่ต้องการแสวงหาสัจจะ เพื่อการหลุดพ้นอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และมวลมนุษยชาติ ตามความมุ่งหมายแห่งพระพุทธศาสนา
ได้รับองค์ความรู้ใหม่
ในการทำวิจัยครั้งนี้ และการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่จากแนวคิด ตถตา เพื่อประยุกต์ปัญหาร่วมสมัย ได้แก่
๑.การวิวัฒนาการของสังขารทั้งนามธรรมและรูปธรรม หรือนามรูป ๒ ลักษณะ คือค่อยเป็นค่อยไป และก้าวกระโดด เป็นกระบวนการวิวัฒนาการของนามรูปนับแต่นามรูปเซลล์เดียว วิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อถึงจุดเต็มหรืออิ่มตัวก็จะก้าวกระโดดเป็นนามรูป ๒ เซลล์ วิวัฒนาการทั้ง ๒ ลักษณะนี้เรื่อยมาจนถึงมนุษย์ และมนุษย์สามารถวิวัฒนาการทางจิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปและก้าวกระโดด จากปุถุชนก้าวกระโดดสู่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี อนาคามี แล้กระโดดสู่พระอรหันต์ เป็นการสิ้นสุดการวิวัฒนาการทางจิต
ข้อนี้ชี้ให้เห็นถึงวิถีธรรม จุดมุ่งหมายของมนุษย์อย่างแท้จริงคือนิพพาน ไม่มีจุดมุ่งหมายอื่น และหนทางที่จะปฏิบัติให้ถึงจุดมุ่งหมายคือมรรคมีองค์ ๘ ส่วนจุดมุ่งหมายตามอำนาจกิเลสมีมากมายมหาศาล
๒.วิถีของการวิวัฒนาการด้านบวกของนามรูปนั้น มีมิติ จากล่างขึ้นสู่บน, จากไม่มี
ไปสู่มี, จากอ่อนแอ ไปสู่ความเข้มแข็ง , จากความไม่แจ่มแจ้ง ไปสู่ความแจ่มแจ้ง และมีวิธีการเข้าหาศูนย์กลางคืออสังขตธรรมหรือบรมธรรม(นิพพาน)
๓.ความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรม กับสังขตธรรม หรือ ด้านเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลาย อสังขตธรรม (นิพพาน) เป็นด้านเอกภาพ เป็นจุดศูนย์กลางของนามรูปทั้งปวงสังขตธรรมเป็นด้านความแตกต่างหลากหลายขอนี้แสดงให้เห็นว่าอะไรๆ ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลาย ด้านโลกิยะธรรม ตัวอย่างเช่น ชาติเป็นด้านเอกภาพของประชาชนซึ่ง เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย, พระรัตนตรัยเป็นด้านเอกภาพ พุทธศาสนิกชนเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย, พระเจ้าแผ่นดินเป็นด้านเอกภาพ พสกนิกรเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย, อธิการบดีเป็นด้านเอกภาพ ตำแหน่งที่ต่ำกว่านั้นทั้งหมดเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย เป็นต้น
ทางด้านปรมัตถธรรม ตัวอย่างเช่น จิต, เจตสิก, รูป มีความแตกต่างหลากหลายนิพพานเป็นด้านเอกภาพ ส่วนปุถุชนย่อมไม่เห็นองค์สัมพันธ์รวมระหว่างเอกภาพกับความแตกต่างหลากหลาย เห็นแต่ด้านความแตกต่างหลากหลายตามโลกบัญญัติ เมื่อยึดถือก็เป็นทุกข์ นำไปสู่ความขัดแย้งนับแต่ตนเองจนถึงระดับโลก
๔.อสังขตธรรมมีลักษณะทั่วไป และสังขตธรรมมีลักษณะจำเพาะ
๕. ลักษณะทั่วไป แผ่กระจายครอบงำลักษณะจำเพาะ และลักษณะจำเพาะรวมศูนย์ หรือขึ้นต่อลักษณะทั่วไป เสมอไป
ข้อนี้นำไปประยุกต์ในการจัดความสัมพันธ์แก้ปัญหาส่วนรวมมีวิถีจากบนสู่ล่างเริ่มที่ระบอบการเมือง ถ้าระบอบการเมืองเป็นธรรมก็จะแผ่กระจายธรรมะ คุณธรรม ความยุติธรรม ความดีงามทั้งปวงออกไปทุกทิศทุกทางในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด
ข้อนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างถึงวิธีคิดของปุถุชน และอริยชน ในการคิดเพื่อแก้เหตุวิกฤตชาติ ถ้าพิจารณาบนความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจ ปุถุชนจะคิดแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและเห็นได้ง่าย แต่ปรากฏว่าเป็นปัญหาปลายเหตุ เป็นส่วนของผล เหตุที่จริงอยู่ที่ระบอบการเมือง ดังคำกล่าวที่ว่า ที่หลงไม่รู้ ไม่อาจจะจับความเท็จได้ (มีบุคคลอ้างเป็นพระอรหันต์) และขณะเดียวกัน ผู้ที่หลงไม่รู้ ก็มิอาจจะรู้สภาวะอรหันต์ที่แท้จริงได้
๖.อสังขตธรรมอันเป็นลักษณะทั่วไป อยู่ในกฎไตรลักษณ์ แต่สังขตธรรม เป็นลักษณะจำเพาะ ต้องตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือเมื่อเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด ซ้ำอยู่ในรอยเดิม มีทิศทางทั้งด้านพัฒนาการและด้านความเสื่อม
๗.เห็นการวิวัฒนาการทางรูปธรรมหรือทางฟิสิกส์ เช่น การต้มน้ำจากน้ำธรรมดา เป็นน้ำอุ่น น้ำร้อน เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และเมื่อน้ำเดือดไปสู่ความเป็นน้ำบริสุทธิ์ เป็นลักษณะก้าวกระโดด จะเห็นว่าการทำให้รูปธรรมหรือวัตถุบริสุทธิ์ ต้องทำให้เดือดเสียก่อน
ข้อนี้ผู้ที่เข้าใจว่า วัตถุเป็นความจริงแท้ หรือเป็นพื้นฐานของสิ่งทั้งปวง จิตคือพัฒนาการขั้นสูงสุดของวัตถุ ได้แก่ ลัทธิมาร์กช เมื่อมาประยุกต์ใช้ในทางการเมืองก็จะกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในทางรุนแรง เช่น เหมาเจ๋อตุง กำหนดว่า อำนาจต้องมาจากปากกระบอกปืน เปลี่ยนแปลงโลกด้วยสงคราม เป็นต้น
๘.การวิวัฒนาการของวิญญาณหรือธาตุรู้ จะทำให้บริสุทธิ์ได้นั้น จะต้องกลั่นให้สงบนิ่ง (ด้วยสมถะและวิปัสสนา)
ข้อนี้รู้ตามความจริงว่าจิตพื้นฐานของมนุษย์บริสุทธ์ มีสันติเป็นพื้นฐานเป็นแก่นสารที่แท้จริง กิเลส หรือความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่านั้น คือ เมื่อขาดสติทำให้กิเลสจรเข้ามา และเป็นเพียงมายา กิเลสเป็นเพียงปรากฎการณ์ทางจิตเท่านั้น ไม่มีแก่นสาร เมื่อมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาสังคม กำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างสันติ สมดังคำว่า อหิงสา ปรโม ธัมโม ความไม่เบียดเบียน เป็นธรรมอย่างยิ่ง
๙.มีความเห็นว่าสภาวะอสังขตธรรม อนัตตา นิพพาน บรมธรรม ตถตา ธรรมาธิปไตย สันติ และสภาวะพระพุทธเจ้าเป็นสภาวะเดียวกัน
จากการทำวิจัยพบว่าแนวคิด ตถตา ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา และแนวคิดของพุทธทาสภิกขุ เป็นการสอนเน้นเจาะจงไปที่ปัจเจกชนได้รู้แจ้งมากกว่าที่จะประยุกต์เพื่อการจัดความสัมพันธ์ให้ถูกต้องทางสังคม
เมื่อพิจารณาด้านบริบทในยุคพุทธกาล พระพุทธองค์ก็ทรงสอนมุ่งเน้นไปที่ปัจเจกชน การเผยแผ่ของพระองค์เน้นไปที่พระราชา เช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล ฯลฯ
เมื่อทำให้เกิดศัทธาเลื่อมใสแล้ว ก็ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงเพื่อการเผยแผ่พระธรรมวินัยให้มั่นคง โดยที่พระองค์มิได้ชี้แนะว่าการปกครองบ้านเมืองควรจะเป็นระบอบอย่างนั้นอย่างนี้
พุทธทาสภิกขุ เน้นสอนไปที่ปัจเจกชน เช่นเดียวกัน เพราะถ้าบุคคลดีแล้วอะไร ๆ ก็ดีตามไปเอง
แต่ผู้วิจัยมีความรู้เรื่องพื้นฐานทางการเมืองมาก่อน มองเห็นว่าในยุคทางการเมืองปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชามีอำนาจสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว ถ้าพระราชาเกิดมิจฉาทิฏฐิในเบื้องต้น อย่างเช่นพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมื่อได้รับการแนะนำสอนเตือนสติจากพระภิกษุ พระองค์ก็ทรงกลับใจมาเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ และยังได้นำพุทธธรรมมาประยุกต์ ใช้ในทางการเมืองการปกครองของพระองค์ สำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ กลายเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นแบบอย่างของโลก
สมัยปัจจุบัน ภิกษุไปแนะนำตักเตือนนักการเมืองเพื่อให้มีนโยบายสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับพระพุทธศาสนา ก็จะทำไม่ได้หรือทำได้ยากมาก เขาจะอ้างว่า “อาศัยความตามมาตรา” ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่โตมากในการแก้กฎหมาย ให้มีความเสมอภาคยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม เพราะรัฐทุกวันนี้เป็นนิติบุคคลและปกครองบ้านเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ากฎหายไม่มีธรรมะ กฎหมายนั้นก็จะครอบงำและแผ่ความอยุติธรรมออกไปทุกทิศทางทั่วทั้งแผ่นดิน
ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าในสภาพการณ์ปัจจุบันนอกจากจะสอนปัจเจกชนให้ถือธรรมเป็นใหญ่แล้ว (ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว) ยังต้องหาทางให้นิติบุคคล (รัฐ) ถือธรรมเป็นใหญ่ด้วย (ให้รัฐนับถือพระพุทธศาสนาด้วย) คือให้มีระบอบการปกครองที่มีธรรมเป็นหลักการ เป็นหลักประกันในความยุติธรรม ในกิจกรรมเพื่อประเทศชาติของตน มิฉะนั้นแล้วสถาบันพระพุทธศาสนาก็อยู่ใต้ความอยุติธรรม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่ภายใต้ความอยุติธรรม แล้วพระพุทธศาสนาจะยืนอยู่ในฐานะผู้นำทางสัจจะ ผู้นำทางจิต วิญญาณ และผู้นำทางปัญญาได้อย่างไรกัน นานวันเข้าก็จะค่อย ๆ เสื่อมไป ๆ เมือสภาพการณ์เป็นอยู่อย่างนี้พุทธสาวกทั้งหลายจะนิ่งดูคายได้อย่างไร
จากการทบทวน เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยได้มาใช้เป็นกรอบทฤษฎีในการดำเนินการวิจัย ทั้งในด้านองค์ความรู้ที่เป็นฐานความคิดในการวิจัย และกรอบแนวทางการวิจัย ตลอดขั้นตอนในการปฏิบัติของผู้วิจัย
๑.๗ วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาเรื่อง วิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ได้แก่ เอกสาร งานวิจัย บทความ และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แล้วเสนอการศึกษาวิเคราะห์ตามแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ตามขั้นตอนดังนี้ คือ
๑.๗.๑ ขั้นเตรียมการ
๑.๗.๒ ขั้นรวบรวมข้อมูล
๑.๗.๓ วิเคราะห์ข้อมูล
๑.๗.๔ เสนอผลการศึกษาวิเคราะห์
๑.๗.๑ ขั้นเตรียมการ
ข้อมูลสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลเพื่อการวิจัยที่รวบรวมได้จากการเก็บข้อมูล จากพระไตรปิฎกนอกจากการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงมากที่สุด
๒) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยรวบรวมจาก เอกสาร สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิจัย
๑.๗.๒ ขั้นรวบรวมข้อมูล
โดยการ เตรียมศึกษาข้อมูลด้านเอกสารเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่ที่ทำการศึกษา จากนั้นจึงลงสำรวจพื้นที่ครั้งแรก นอกจากนี้ยังเตรียมอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอื่นๆ อีก เช่น สมุดบันทึก กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายวิธีประกอบกัน ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยจะทำการค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เอกสาร งานวิจัย บทความ จดหมายเหตุและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๑.๗.๓ วิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยแยกแยะตามประเด็นที่ศึกษา โดยหาสิ่งที่เหมือนกัน สิ่งที่ต่างกัน หรือสิ่งที่สัมพันธ์กันขององค์ความรู้เกี่ยวกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งเป็นการนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาวิเคราะห์ความถูกต้องว่าสามารถตอบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ และสรุปอ้างอิงไปถึงสภาพการณ์จริงได้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้นได้ตรวจสอบข้อมูลตรวจสอบความสมบูรณ์ เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่ข้อมูลบางส่วนขาดความสมบูรณ์ ต่อจากนั้นจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามขอบเขตด้านเนื้อหาที่กำหนดไว้
๑.๗.๔ เสนอผลการศึกษาวิเคราะห์
การสรุป อภิปรายและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนที่นำข้อสรุปมาสังเคราะห์เชื่อมโยงสู่ภาพรวม และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ การพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
๑.๘ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
๑.๘.๑ ทำให้ได้ทราบอัตชีวประวัติและได้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๑.๘.๒ ทำให้ได้ทราบแนวคิดพระของธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑.๘.๓ ทำให้ทราบถึงบทบาทในการเผยแผ่และผลจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ว่ามีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบใดและใช้วิธีการอย่างไร
๑.๘.๔ ทำให้คณะสงฆ์สามารถนำบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันได้
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันได้
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ ๑ บทนำ
๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย
๑.๔ ปัญหาที่ต้องการทราบ
๑.๕ นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย
๑.๖ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑.๗ วิธีดำเนินการวิจัย
๑.๘ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
บทที่ ๒ ชีวประวัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๒.๑ ชีวประวัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๒.๒ วัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๒.๓ แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
บทที่ ๓ บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๓.๑ การเผยแผ่ด้วยการการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ
๓.๒ เทคนิควิธีการในการเผยแผ่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๓.๒.๑ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการเที่ยวสั่งสอน
๓.๒.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง
๓.๒.๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อศิลปะ
๓.๒.๔ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการพูด
๓.๒.๕ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการอบรม
๓.๒.๖ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
|
เรื่อง หน้า
๓.๓ บทบาทด้านกลุ่มบุคคลในการเผยแผ่
๓.๓.๑ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ
๓.๓.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทย
๓.๓.๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการขององค์กร
๓.๓.๔ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการพระธรรมทูต
บทที่ ๔ ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๔.๑ ผลต่อบุคคลและกลุ่มบุคคล
๔.๒ ผลต่อสังคม
๔.๓ ผลต่อพระพุทธศาสนา
๔.๔ ผลต่อสันติภาพโลก
บทที่ ๕ สรุปผลและข้อเสนอแนะ
๕.๑ สรุปผลการวิจัย
๕.๒ ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ประวัติผู้วิจัย
บรรณานุกรม (ชั่วคราว)
ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙.
ราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙.
ข. เอกสารชั้นทุติยภูมิ
(๑) หนังสือ :
คณึงนิตย์ จันทบุตร. สถานภาพและบทบาทของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย. กรุงเทพฯ :
กลุ่มประสานงานด้านการศึกษาเพื่อสังคม, ๒๕๓๒.
กลุ่มประสานงานด้านการศึกษาเพื่อสังคม, ๒๕๓๒.
ธรรมทาส พานิช. การปฏิบัติสำหรับฆราวาส. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, ๒๕๓๑.
บุญย์ นิลเกษ. สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ๒๕๒๓
ประกาศ วัชราภรณ์. พุทธทาสประทีปแห่งสวนโมกข์. กรุงเทพฯ : เกี้ยว-เกล้าพิมพการ, ๑๒๐.
พระปัญญานันทภิกขุ . คู่มืออุบาสก - อุบาสิกา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง , มปป. ๒๕๓๗.
พระประชา ปสนฺนธมฺโม. เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง,
๒๕๓๕.
พุทธทาสภิกขุ. การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและหลักแห่งพุทธศาสนา. สุราษฎร์ธานี : โรงพิมพ์
ธรรมทาน, ๒๕๑๘.
ธรรมทาน, ๒๕๑๘.
___________. การศึกษาด้านใน. กรุงเทพฯ : กองทุนสวัสดี, ๒๕๔๐.
___________. เซ็นในสวนโมกข์. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๓๕.
___________. อิทัปปัจจยตา. พิมพ์ครั้งที่ ๕ กรุงเทพฯ : ธรรมทานมูลนิธิ, ๒๕๓๗.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. บทบาทของวัดที่เคยมีและพึงต้องมีต่อสังคมภาคใต้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มงคลการพิมพ์, ๒๕๒๒.
มงคลการพิมพ์, ๒๕๒๒.
สุพร จุลทอง. บทบาทในการพัฒนาสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. สงขลา :
มหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๔๐.
มหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๔๐.
สุลักษณ์ ศิวลักษณ์. อิทธิพลพุทธทาสต่อสังคม. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, ๒๕๓๓.
(๒) เอกสารและบทความต่าง ๆ
กล้า สมตระกูล. วัดกับการปฏิรูป. วารสารพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย. ๔๓ (๒๖๓) : ๒๘-๓๑
มิถุนายน ๒๕๓๗.
มิถุนายน ๒๕๓๗.
จินดา จันทร์แก้ว. ขบวนการสงฆ์ในปัจจุบัน. เอกสารการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาใน
สังคมไทย หน่วย ๑-๗. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๓๓.
สังคมไทย หน่วย ๑-๗. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๓๓.
|
ชุดวิชาความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยหน่วยที่ ๑-๗. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๓.
(๓) วิทยานิพนธ์
จิราพร คงเหล่.“ ศึกษาบทบาทของสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี”.
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๔๑.
พระมหาสวนทรา ธมฺมจารี. “การศึกษาวิเคราะห์หลักศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ”
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
พระสมเกียรติ ปริญฺญาโณ. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตถตาในทัศนะของพุทธ
ทาสภิกขุ” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
|
ชื่อ : พระไพโรจน์ อตุโล (สมหมาย)
เกิด : วันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๓
สถานที่เกิด : บ้านเลขที่ ๔๑ หมู่ ๓ ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
การศึกษา : ประถมศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำตก ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านน้ำตก ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มัธยมศึกษาตอนปลาย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต วังน้อย ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (พุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช รุ่นที่ ๕๖
นักธรรมเอก, อภิธรรมชั้น มัชณิมโท สำนักวัดพระมหาธาตุ
อุปสมบท : วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
หน้าที่ : ครูพระปริยัติธรรม , ครูพระสอนศีลธรรม, เลขานุการเจ้าคณะ
ตำบลกะปาง, รองผู้อำนวยการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
วัดน้ำตก, พระวิทยากรอบรมคุณธรรมจริยธรรม
เข้าศึกษา : ๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
ที่อยู่ปัจจุบัน : วัดน้ำตก ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๑๑๐
|
เรื่อง
วิเคราะห์บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
An Analysis of The Roles of Phradhammakosajarn (BuddhadasaBhikkhu)
in the Propagation of Buddhism
โดย
พระไพโรจน์ อตุโล (สมหมาย)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
๑. พระมหาปรีดา ขนฺติโสภโณ, ดร. ประธานกรรมการ
๒. พระครูสิริธรรมาภิรัต, ผศ.ดร. กรรมการ
๓. รศ.สมบูรณ์ บุญฤทธิ์ กรรมการ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๕๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น