วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ ๕ วิทยานิพนธ์


บทที่ ๕
สรุป  ผลการวิจัย  และข้อเสนอแนะ
                 
                  การศึกษาเรื่อง วิเคราะห์บทบาทในกรเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาภิกขุ)  การวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ดังนี้
                      ๑.เพื่อศึกษาชีวประวัติ  ข้อวัตรปฏิบัติ  แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์            (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                          ๒.เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 
                          ๓.เพื่อศึกษาผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์              (พุทธทาสภิกขุ)
                          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในลักษณะ วิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)    ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ไว้ ๓ ประเด็นดังต่อไปนี้คือ 
                    ประเด็นที่   ศึกษาชีวประวัติ  ข้อวัตรปฏิบัติ  แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์       (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                    ประเด็นที่   ศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา    ด้าน  คือ
                    ๑.  บทบาทการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ 
                    ๒.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
                    ๓.  บทบาทด้านกลุ่มบุคคลในการเผยแผ่
                    ประเด็นที่ ๓ ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  
                    ๑.  ผลต่อบุคคลและกลุ่มบุคคล
                    ๒.  ผลต่อสังคม
                    ๓.  ผลต่อพระพุทธศาสนา
                    ๔.  ผลต่อสันติภาพโลก
               การศึกษาเรื่อง  วิเคราะห์บทบาทในกรเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาภิกขุ)  การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary Source)   ได้แก่   เอกสาร  งานวิจัย บทความ  และสิ่งพิมพ์อื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  แล้วเสนอการศึกษาวิเคราะห์ตามแบบพรรณนาวิเคราะห์  ซึ่งได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ตามขั้นตอนดังนี้  
                      ขั้นเตรียมการ
                      ขั้นรวบรวมข้อมูล
                      วิเคราะห์ข้อมูล
                    ๔ เสนอผลการศึกษาวิเคราะห์
                    ๑ .ขั้นเตรียมการ
                            ข้อมูลสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
                            ๑)  ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลเพื่อการวิจัยที่รวบรวมได้จากการเก็บข้อมูล จากพระไตรปิฎกนอกจากการรวบรวมข้อมูล   เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงมากที่สุด
                            ๒)  ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยรวบรวมจาก เอกสาร สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา   จังหวัดสุราษฎร์ธานี   เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิจัย
                    ๒.ขั้นรวบรวมข้อมูล
                                          โดยการ เตรียมศึกษาข้อมูลด้านเอกสารเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่ที่ทำการศึกษา จากนั้นจึงลงสำรวจพื้นที่ครั้งแรก นอกจากนี้ยังเตรียมอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอื่นๆ อีก เช่น สมุดบันทึก  กล้องถ่ายรูป  เครื่องบันทึกเสียง  เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล  การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายวิธีประกอบกัน ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                                    การเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary Source) โดยจะทำการค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่   เอกสาร  งานวิจัย บทความ  จดหมายเหตุและสิ่งพิมพ์อื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)   
                                     
                      วิเคราะห์ข้อมูล
                         การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยแยกแยะตามประเด็นที่ศึกษา โดยหาสิ่งที่เหมือนกัน สิ่งที่ต่างกัน หรือสิ่งที่สัมพันธ์กันขององค์ความรู้เกี่ยวกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี   หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งเป็นการนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาวิเคราะห์ความถูกต้องว่าสามารถตอบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ และสรุปอ้างอิงไปถึงสภาพการณ์จริงได้มากน้อยเพียงใด  หลังจากนั้นได้ตรวจสอบข้อมูลตรวจสอบความสมบูรณ์     เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่ข้อมูลบางส่วนขาดความสมบูรณ์  ต่อจากนั้นจึงวิเคราะห์  สังเคราะห์  ตามขอบเขตด้านเนื้อหาที่กำหนดไว้
                    ๔.เสนอผลการศึกษาวิเคราะห์    
                            การสรุป อภิปรายและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนที่นำข้อสรุปมาสังเคราะห์เชื่อมโยงสู่ภาพรวม และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ การพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
                 .๑   สรุปผลการวิจัย
                 ๑. เพื่อศึกษาชีวประวัติ  ข้อวัตรปฏิบัติ  แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์            (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า  การศึกษาวิเคราะห์บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ผู้วิจัยได้จำแนกประเด็นศึกษาชีวประวัติมีประเด็นดังต่อไปนี้
                    ๑.๑ ชีวประวัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เกิดในตระกูลพ่อค้า  และไดยึดอาชีพนี้มาโดยตลอดในช่วงชีวิตก่อนที่จะได้เข้ามาสู่ร่มเงาของผ้ากาสาวพัตรเพราะต้องช่วยงานโยมมารดา  เพราะบิดาเสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นแล้ว  จึงทำให้การศึกษาของพระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ  ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงานที่บ้าน  ถึงแม้จะน้อยนิดมาศึกษาค้นคว้า  ตำรับตำรา  เพื่อต้องการหาความรู้ใส่ตนจนกระทั้งได้ประสบความสำเร็จตามความปรารถนา
                ๑.๒  ข้อวัตรปฏิบัติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
                           พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีวัตรปฏิบัติเป็นไปอย่างอย่างเรียบง่าย         โดยยึดหลักที่ว่า  เป็นอยู่อย่างต่ำ  มุ่งกระทำอย่างสูง  ดังตัวอย่างต่อไปนี้คือ การหนุนหมอนไม้ท่านได้ปฏิบัติและเชิญชวนพระภิกษุตลอดเวลาเพื่อเป็นเครื่องปฏิบัติโดยถือหลักชาคริยานุโยค  เป็นการปฏิบัติเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งให้ท่านให้ความสำคัญในพุทธวจนะที่ว่า  กลิงฺค  รูปทานํ  ภิกฺขเว  วิหารถ   ซึ่งแปลว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เธอจงเป็นผู้มีท่อนไม้เป็นหมอนเถิด  เมื่อมีท่อนไม้เป็นหมอน  มารจักไม่เปิดโอกาส เรื่องของการเป็นอยู่ในการปฏิบัติธรรมในเรื่องอื่นๆ ท่านยังเน้นความเป็นอยู่ที่ให้เข้ากันได้กับธรรมชาติที่ว่า  กินข้าวจานแมว  อาบน้ำในคู  นอนกุฏิเล้าหมู  ฟังยุงร้องเพลง  
          ๑.๓ แนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านมุ่งเน้นปณิธาน ๓ ประการของท่านเป็นหลักในการปฏิบัติงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาคือ
                            ๑.ปณิธานข้อแรก  คือ  การทำให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนา  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติดีและตรง  เป็นธรรมสมควรแก่การหลุดพ้น  เพื่อสนองพุทธประสงค์โดยตรงอย่างแท้จริง
                            ๒.ปณิธานข้อที่สอง  คือ  การทำความเข้าใจระหว่างศาสนานี้เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ  เพราะโลกนี้ต้องมีมากศาสนาเท่ากับขณะของคนในโลก  เพื่อจะอยู่ร่วมโลกกันได้โดยสันติ  และทุกศาสนาล้วนแต่สอนความไม่เห็นแก่ตัว  จะต่างกันบ้างก็แต่วิธีการเท่านั้น
                            ๓.ปณิธานข้อที่ ๓  คือ  การทำโลกให้ออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม  หรือรสอันเกิดจากวัตถุนิยมทางเนื้อหนังนั้น  ควรเป็นกิจกรรมแบบสหกรณ์ของคนทุกคนในโลกและทุกศาสนา  เพื่อโลกจะเป็น  โลกสะอาด  สว่าง  สงบ  จากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

                          ๒.บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                    ๒.๑  การเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบและเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
                        พระธรรมโกศาจารย์   (พุทธทาสภิกขุ)  ได้มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการช่วยเหลือผู้คนในสังคมให้ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข  โดยการแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ  เช่น  การให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติธรรมด้วยการทำงานตามหน้าที่ที่มีอยู่ตามสถานภาพทางสังคม ท่านจะเน้นให้คนรักษาธรรมเอาไว้  เพราะธรรมเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกๆอิริยาบถ  ถ้าทำถูกต้องแล้วจะไม่ถูกความทุกข์ขบและกัด  ท่านจะใช้คำว่าไม่กัดเจ้าของ  ซึ่งคำที่ท่านจะเน้นมากที่สุดคือ  การทำงานคือการปฏิบัติธรรม
                        ๓.๒  เทคนิคและวิธีการในการเผยแผ่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 
                        การอบรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)นั้นท่านนำเอาสื่อต่างๆ  นำมาปรับปรุงให้น้อมเข้ามามองตัวเองก่อนจะไปมองสิ่งอื่น  ดังตัวอย่าง  การสร้างสื่อทางธรรมะ  คือโรงมหรสพทางวิญญาณ  แต่ละภาพจะต้องใช้ความคิดของตังเองเป็นหลักในการตีความหมาย  เป็นการศึกษาธรรมะด้วยตัวเองโดยไม่รู้ตัว และสิ่งเป็นเครื่องศึกษาธรรมมากมายที่สวนโมกขพลารามล้วนมาจากความคิดของท่านที่ต้องการสื่อธรรมให้คนได้มาศึกษากลับไปอย่างคนได้ดวงตาที่สว่างทั้ง ๙ ตา คือตาแห่งปัญญา
                            ๓.๒  บทบาทด้านกลุ่มบุคคลในการเผยแผ่
                            ๓.๒.๑   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ
                           การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ท่านจะใช้สวนโมกข์นานาชาติให้เป็นการอบรมซึ่งอยู่คนละฝั่งถนนกับสวนโมกขพลารามภายในจัดสถานที่ไว้เหมาะสมและมีธารน้ำรอนสำหรับใช้ชำระร่างกาย  การอบรมชาวต่างชาติจะอบรมทุกวันที่  ๑-๑๐ ของทุกเดือนโดยจะมีพระภิกษุ  และฆราวาสที่ประจำอยู่ที่สวนโมกขพลาราม            จะรับผิดชอบกันไปในแต่ละช่วง
                        ๓.๒.๒  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทย
                   สำหรับที่เป็นพระภิกษุ  มีกาอบรมอาราปานสติภาวนาในค่ายลูกเสือในช่วงต้นเดือนของทุกเดือนเว้นในช่วงเข้าพรรษา  ส่วนอุบาสิกา - อุบาสิกา ไปอบรมที่ธรรมมาตาแต่ต้องมีการคัดเลือกด้วยในการอบรมแต่ละครั้ง ซึ่งจะอบรมทุกวันที่ ๒๐-๒๖ ของทุกเดือน เพื่อขี้หลักธรรมะที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาตามที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ได้วางหลักไว้
                        ๓.๒.๓  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการขององค์กร
                                ซึ่งจะแบ่งเป็นการการอบรมระยะสั้นคือ การอบรมธรรมที่มีเวลาเพียง ๑-๒ วัน ซึ่งกิจกรรมที่สวนโมกขพลารามจัดให้หน่วยงานเหล่านี้  ส่วนใหญ่จะเป็นการฟังธรรมบรรยายที่โรงมหรสพทางวิญญาณ  ซึ่งผู้เข้าอบรมมีเวลาน้อย  แต่จะได้ความรู้มาก  ที่โรงมหรสพทางวิญญาณมีพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบบรรยายภาพปริศนาธรรมให้เชื่อมโยงกับหลักธรรมการอบรมระยะยาว จะจัดการอบรมให้กับหน่วยงานที่แจ้งความประสงค์ขอเข้ารับการอบรมธรรมะ  โดยที่หน่วยงานมีเวลาไม่ต่ำกว่า  ๕ วัน ทางสวนโมกขพลารามจะจัดอบรมให้ตามโครงการของสวนโมกขพลาราม  คือ  การอบรมอานาปานสติภาวนา 
                       ๓.๒.๓ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการพระธรรมทูต
                 โครงการอบรมพระธรรมทูตจะจัดขึ้นที่สวนโมกข์นานาชาติเป็นรุ่นๆ ซึ่งมีทั้งพระภิกษุสามเณร  และบุคคลทั่วไป  ในสมัยที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ท่านยังมีชีวิตอยูท่าจะอบรมด้วยตัวท่านเองและใช้สถานที่ของค่ายธรรมบุตร  คือค่ายลูกเสือในการอบรมแต่ละรุ่นปัจจุบันทางสวนโมกขพลารามธรรมมาศรมนานาชาติขึ้นอีก  ๑ แห่ง  คือที่บ้านดอนเคี่ยม  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  สำหรับอบรมเฉพาะชาวต่างชาติโดยตรง  โดยมีพระสันติกโร  ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวเยอรมันที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

                 ๔.ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 
                ๔.๑ ผลต่อบุคคลและกลุ่มบุคคล
                พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในตอนที่ท่านเป็นฆราวาส มีความสนใจในธรรมะมาก่อน  เรียกว่า  นักเลงธรรมะเพราะท่านได้กัลยาณมิตรที่ดีคือพระลัด  ทุ่ม  อินฺทโชโต  เป็นเจ้าอาวาสวัดนอก  พระครูศักดิ์  ธมฺมรกฺขิโต  เจ้าอาวาสวัดหัวคู  (วินัย)  ท่านพระปลัด  ครูศักดิ์ เป็นพระ  แต่เป็นที่นับถือของโยมมารดาท่านได้คอยให้คำแนะนำชี้แนะแนวทางอยู่ตลอดเวลาประคับประคองจนกระทั้งพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ที่เมื่อก่อก่อนคิดจะสึกแต่สุดท้ายสามารถอยู่ในเพศบรรพชิตทำหน้าที่สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาต่อไป
                               


            ๔.๒ ผลต่อสังคม
                                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ว่าท่านเป็นนักคิดอัจฉริยะของไทย          มีผลงานด้านตำรามากมายให้ชาวไทยและชาวโลกได้ศึกษา  ท่านตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าให้สอดคล้องกับคนร่วมสมัย  ด้วยปรัชญาและความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณของท่านระบบความคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เด่นชัดและสอดคล้องกับศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต  ญาณทัศนะวิทยา  และจริยธรรม  ท่านเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในโลก  โดยไม่หลีกเร้นจากโลก  แต่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 
                            ๔.๓  ผลต่อพระพุทธศาสนา
                                    โมกขพลาราม เป็นสถานที่สร้างพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในระเบียบของพระธรรมวินัย  อยู่อย่างสงบ  มีความสันโดษ  ในสวนป่าที่เป็นกำลังแห่งความหลุดพ้นนั้น นอกจากนี้สวนโมกขพลารามยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป   ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา เช่น การสวดมนต์ภาวนา  การฝึกสมาธิ  การกินอาหาร  รวมถึงการทำงานตามหน้าที่  โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นแห่งสภาวะของการมีตัวตน

                        ข้อเสนอแนะ
                  การศึกษาเรื่อง วิเคราะห์บทบาทในกรเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะดังต่อไปนี้
                        ๑.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                        ๑.๑ ควรนำผลของการศึกษาครั้งนี้นำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการปฏิบัติธรรม  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของแต่ละวัด  และให้เป็นแบอย่างที่ดีแก่วัดและสำนักปฏิบัติธรรมอื่นๆ  ต่อไปด้วย 
                        ๑.๒ ควรปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการปฏิบัติธรรม  และผู้คนในสังคม  เพื่อจะได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้าถึงจิตใจของประชาชน  และเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตตลอดถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นธรรมชาติต่อไป
                        ๒. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป
                        ๒.๑ ควรจะได้มีการศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เปรียบเทียบบทบาทของวัด  และสำนักปฏิบัติธรรมอื่นๆ  ในด้านของการปฏิบัติธรรมเป็นแบบอย่าง และวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                  ๒.๒ ควรส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับสวนโมกขพลารามในแต่ละด้าน  เช่น  การเผยแผ่หลักธรรมของนิกายต่างๆ  ในพระพุทธศาสนา  กลวิธีในการปฏิบัติธรรม  และการเผยแผ่ศาสนาของพระพุทธเจ้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น