การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๐)
เอกนิปาตสฺส อฏฺฐมวคฺเค อุโภ ขญฺชา อุโภ กุณีติ อิลฺลีสชาตกวณฺณนาย เอกสฺมึ คุมฺเพ สุรํ ปิวิตฺวา สกฺเกน เทวินฺเทน ทมิตสฺส ทานผลํ ญตฺวา ปุญฺญํ กตฺวา สคฺเค นิพฺพตฺตสฺส อิลฺลีสเสฏฺฐิโน วตฺถุมฺปิ ธมฺมปทสฺส ปุปฺผวคฺเค ยถาปิ ภมโร ปุปฺผนฺติ คาถาวณฺณนายํ มหาโมคฺคลฺลานตฺเถเรน กปลฺลปูเว ขาทิตุ สตฺตภูมิกปฺปาสาทสฺสุปริมตเล นิสินฺนภาวํ ญตฺวา ตตฺถ คนฺตฺวา ทมิตสฺส ปูเว ทตฺวา ปจฺฉา เชตวนํ คนฺตฺวา สตฺถุ เทสนํ สุตฺวา โสตาปตฺติผลํ ปตฺตสฺส มจฺฉริเสฏฺฐิสฺส วตฺถมฺปิ กเถตพฺพํ ฯ
อิจฺเจเต สพฺพํ ทุสฺสีลํ อสฺสทฺธํ มจฺฉรึ อตฺตานํ สีลาทีสุ ฐเปตฺวา วิวิธานิสํสํ สมฺปาปุณึสุ ฯ ยญฺจ เนสํ ทุสฺสีลาทิเหตุกํ ทิฏฺฐธมฺมสมฺปราเยสุ ลภิตพฺพํ เวรํ โหติ ตํ สีลาทีสุ ฐิตกาลโต ปจฺฉา ปหียติ ตสฺมา อตฺตสมฺมาฐปนํ มงฺคลนฺติ ทฏฺฐพฺพํ ฯ เตนฏฺฐกถายํ โสปิ มงฺคลํ ฯ กสฺมา ทิฏฺฐธมฺมิกสมฺปรายิกเวรปฺปหานวิวิธานิสํสาธิคมเหตุโตติ วุตฺตํ ฯ
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๐)
เรื่องของอิลลีสเศรษฐี ผู้ดื่มสุราที่พุ่มไม้แห่งหนึ่ง อันท้าวสักกะจอมเทพทรงทรมานแล้ว มารู้ผลทานทำบุญแล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์ ในอรรถกถาอิลสีสชาดกว่า อุโภ ขญฺชา อุโภ กุณี ดังนี้เป็นต้น ในวรรคที่ ๘ แห่งเอกนิบาตก็ดี เรื่องเศรษฐีผู้ตระหนี่ ที่พระมหาโมคคัลลานเถระรู้ว่า เศรษฐีนั้น นั่งอยู่ ณ ที่ชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น เพื่อจะกินขนมเบื้อง ไป ณ ที่นั้นทรมานแล้วถวายขนม ภายหลังไปพระเชตะวัน ฟังเทศนาของพระศาสดา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ในอรรถกถาแห่งคาถาในบุปผวรรคธรรมบทว่า ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ เป็นต้นก็ดี ควรกล่าว (ด้วย)
ชนเหล่านั้นทั้งหมด ตั้งตนผู้ทุศีล ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ไว้ในคุณมีศีลเป็นต้นแล้ว บรรลุอานิสงส์ต่างๆ กัน ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เวรใด มีทุศีลเป็นต้นเป็นเหตุ อันชนเหล่านั้นควรได้ในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพ เวรนั้น พวกเขาย่อมละเสียได้ภายหลัง แต่เวลาที่ตนตั้งอยู่ในคุณมีศีลเป็นต้น เพราะฉะนั้นการตั้งตนไว้โดยชอบ พึงเห็นว่า เป็นมงคล ด้วยเหตุนั้น ในอรรกถา ท่านจึง กล่าวว่า การตั้งตนไว้โดยชอบแม้นั้น เป็นมงคล เพราะเหตุไร? เพราะเป็นเหตุละเวร อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพ และบรรลุอานิสงส์ต่างๆ ดังนี้
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๑)
สมฺมาปณิหิตญฺหิ จิตฺตํ สพฺพสมฺปตฺตึ ทาตุ สกฺโกติ ฯ เตน ภควา ยํ ยํ สมฺปตฺตึ เนว มาตาทโย ทาทุ สกฺโกนฺติ ตํ อิเมสํ สตฺตานํ อพฺภนฺตเร ปวตฺตํ สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตเมว เทตีติ วตฺวา ธมฺมปทสฺส จิตฺตวคฺเค อิมํ คาถมาห
น ตํ มาตา ปิตา กริยา อญฺเญ วา ปน ญตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเรติ ฯ
ตตฺถ น ตนฺติ ภิกฺขเว ตํ การณํ เนว มาตา กเรยฺย น ปิตา น อญฺเญ ญาตกา ฯ สมฺมาปณิธิหิตนฺติ ทสกุสลกมฺมปเถสุ ฐปิตํ ฯ เสยฺยโส นํ ตโต การณโต วรตรํ อุตฺตริตรํ ปุคฺคลํ กโรติ ฯ มาตาปิตโร หิ ปุตฺตานํ ธนํ ททมานา เอกสฺมึเยว อตฺตภาเว กมฺมํ อกตฺวา สุเขน ชีวิตกปฺปนกํ ทาตุ สกฺโกนฺติ ปุตฺตานมฺปน จกฺกวตฺติสิรึ ทาตุ สมตฺถา มาตาปิตโร นาม นตฺถิ ปเคว ทิพพสมฺปตฺตึ วา ปฐมชฺฌานาทิสมฺปตฺตึ วา โลกุตฺตรสมฺปตฺติทาเน กถาว นตฺถิ ฯ สมฺมาปณิหิตนฺตุ จิตฺตํ สพฺพมฺเปตํ สมฺปตฺตึ ทาตุ สกฺโกติ ฯ เตนตํ วุตฺตนฺติ ฯ ตสฺมา เกนจิปิ จิตฺตํ สมฺมา ฐเปตพฺพเมว สพฺพสุขํ เทติ ฯ
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๑)
แท้จริง จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ อาจอำนวยสมบัติได้ทุกอย่าง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ปิยชนมีมารดาเป็นต้นย่อมไม่อาจให้สมบัติใดๆ ได้เลย จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบซึ่งเป็นไป ณ ภายในของสัตว์เหล่านี้เท่านั้นย่อมให้สมบัตินั้นได้ ดังนี้ จึงตรัสคาถานี้ในจิตวรรคธรรมบทว่า
มารดาบิดา ก็หรือญาติเหล่าอื่น พึงทำเหตุนั้นให้ไม่ได้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ พึงทำผู้นั้นให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้นได้
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๒)
มิจฺฉาฐปิตญฺหิ จิตฺตํ สพฺพทุกฺขํ เทติ เตน ภควา ยํ เนว โจรา น เวริโน กาตุ สกฺโกนติ ตํ อิเมสํ สตฺตานํ อนฺโต มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตเมว กโรตีติ วตฺวา ตตฺเถวิมํ คาถามห
ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กริยา เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเรติ
ตตฺถ ทิโสติ โจโร ฯ ทิสนฺติ โจรํ ฯ ทิสฺวาติ ปาฐเสโส ฯ ยนฺตํ กริยาติ ตสฺส อตฺตนา ทิฏฺฐโจรสฺส ปุตฺตทารรปิฬนกฺเขตฺตาทินาสนชีวิตโวโรปนวเสน ยํ ตํ อนยพฺยสนํ กเรยฺย ฯ เวรีติ เกนจิเทว การเณน พุทฺธเวรี ฯ เวรินนฺติ เอวรูปํ เวรึ ทิสวา ฯ มิจฺฉาปณิหิตนฺติ ทสอกุสลกมฺมปเถสุ ฐปิตํ ฯ ปาปิโยติ ปาปฺฏฺฐตรํ ฯ นนฺติ เยน มิจฺฉาฐปิตํ จิตฺตํ ตํ ปุคฺคลํ ฯ ตโตติ ตสฺมา โจรเวรีหิ ทิฏฺฐโจรเวริปุคฺคลโต ตโต วา อนยพฺยสนโต ฯ กเรติ กเรยฺย ฯ อิทํ วุตฺตํ โหติ ทิโส วา เวรี วา ปุตฺตทารกฺเขตฺตวตฺถุโคมหิสาทีสุ อปรชฺฌนฺโต ยสฺส อปรชฺฌติ ตมฺปิ ตเถว อตฺตนิ อปรชฺฌนฺตํ ทิสํ วา เวรึ วา ทิสฺวา ยํ ตสฺส อนยพฺยสนํ กโรติ มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ตโต ปาปิฏฺฐตรํ ตํ ปุคคลํ กเรยฺย ฯ ทิสเวริโน หิ อิมสฺมึเยว อตฺตภาเว ทุกฺขํ วา อุปฺปาเทยยุ ชีวิตกฺขยํ วา กเรยยุ มิจฺฉาปณิหิตํ จตฺตนฺตุ ทิฏฺฐธมฺเม อนยพฺยสนํ ปาเปตฺวา อตฺตภาวสตสหสฺสานิปิ จตุราปาเย ขิปิตฺวา สีสํ อุกฺขิปิตุ น เทตีติ ตสฺมา เกนจิปิ จิตฺตํ มิจฺฉา น ฐเปตพฺพเมว ฯ
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๒)
จริงอยู่ จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ย่อมอำนวยทุกข์ทุกอย่าง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พวกโจร พวกคนมีเวร ย่อมไม่อาจทำความพินาศใดให้ได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ณ ภายในของสัตว์เหล่านี้อย่างเดียว ย่อมทำความพินาศให้ได้ ดังนี้แล้ว ตรัสคาถานี้ ในจิตวรรคธรรมบทนั้นนั่นเองว่า
โจรเห็นโจรหรือคนมีเวรเห็นคนมีเวร พึงทำความวอดวายนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด พึงทำบุคคลนั้น ให้เลวกว่าความวอดวายนั้น
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๓)
โย จ ปุพฺเพ มิจฺฉาปฏิปนฺนํ จิตฺตํ ปจฺฉา สมฺมา ฐเปติ โส อตฺตทนฺโท จ นาม อคตปุพฺพํ ทิสํ คจฺฉติ เตน ภควา หตฺถาจริยปุพฺพกเมกํ ภิกฺขุ โอวทนฺโท ธมฺมปทสฺส นาควคฺเค อิมํ ถาถามาห
น หิ เอเตหิ ยาเนหิ คจฺเฉยฺย อคตํ ทิสํ
ยถาตฺตนา สุทนฺเตน ทนฺโท ทนฺเตน คจฺฉตีติ ฯ
ตตฺถ อคตนฺติ สุปินนฺเตนาปิ อคตปุพฺพํ ฯ ทิสนฺติ นิพฺพานํ ฯ อตฺตนาหิ จิตฺเตน ฯ สุทนฺเตนาติ อริยมคฺคภาวนาย สุฏฺฐุ ทมิเตน ฯ ทนฺโตติ นิพพิเสวโน ฯ ทนฺเตนาติ อินฺทฺริยทมเนน ทมิเตน ฯ อิทํ วุตฺตํ โหติ ยถา สปฺปญฺโญ ปุคฺคโล ทนฺโต ปุพฺพภาเค ทนฺเตน อปรภาเค สุทนฺเตน อตฺตนา อคตํ ทิสํ คจฺฉติ ทนฺตภูมึ ปาปุณาติ น ตถา โกจิ ปุคฺคโล เอเตหิ หตฺถิยานาทีหิ ยาเนหิ อคตํ ทิสํ คจฺเฉยฺย ตสฺมา อตฺตทมนเมว เต วรํ ภิกฺขูติ ฯ อตฺตสมฺมาปณิธิกถา ฯ
การตั้งตนไว้ชอบ (ข้อ๑๑๓)
ก็ผู้ใด ตั้งจิตอันดำเนินไปผิดในกาลก่อน โดยชอบได้ในภายหลัง ผู้นั้น ท่านเรียกว่า ผู้มีตนอันฝึกแล้ว ย่อมไปสู่ทิศที่ตนไม่เคยไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงสอนภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเคยเป็นควาญช้าง จึงตรัสคาถานี้ในนาควรรคธรรมบทว่า
บุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนทรมานแล้ว ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ฉันใด บุคคล (สามัญ) พึงไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปด้วยยานเหล่านั้น ฉันใด ไม่ได้เลย
วิเคราะห์ศัพท์
๑) คนฺตวา ไปแล้ว, คม ธาตุ ในความไป, แปลง ม ที่ คม เป็น น + ตฺวา ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น คนฺตวา
๒) สุตฺวา ฟังแล้ว, สุ ธาตุ ในความฟัง, ตฺวา ปัจจัย สุ + ตฺวา สำเร็จรูปเป็น สุตฺวา
๓) กเถตพฺพํ พึงกล่าว, กถ ธาตุ แปล อ ที่ กถ เป็น เอ ลง ตพฺพ ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น กเถตพฺพํ
๔) ทุสฺสีลํ ผู้ทุศีล, ทุ อุปสัค + สีล + อํ วิภัติ ลง ทุ บทหน้า ซ้อน ส หน้า สีล ลง อํ วิภัติ สำเร็จรูปเป็น ทุสฺสีลํ
๕) อสฺสทฺธํ ผู้ไม่มีศรัทธา, น บทหน้า + สทฺธ + อํ วิภัตติ แปลง น เป็น อ ซ้อน ส สำเร็จรูปเป็น อสฺสทฺธํ
๖) สกฺโกติ ย่อมอาจ, สกฺก ธาตุ ในความตรึก ลง โอ ปัจจัย กัตตุวาจก ติ วิภัตติ วัตตมานา สำเร็จรูปเป็น สกฺโกติ
๗) กยิรา พึงทำ, กร ธาตุ ในความทำ ย อาคม อี อัชชัตตนี แปลง อี เป็น อิ แปลง เอถ เป็น รา
สำเร็จรูปเป็น กยิรา
๘) โลกุตฺตรสมฺปตฺติทาเน ในทานที่นำพร้อมซึ่งโลกุตตระ, โลกุตฺตร+สมฺปตฺติ+ทาเน
๙) ทสกุสลกมฺมปเกสุ ในกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ ,ทส = ๑๐ เป็น สังขยา กุสลกมฺมปเกสุ เป็น นปุงฺสกลิงค์ กุล (ตระกูล) ลง สุ สัตตมี วิภัตติ
๑๐) ทิฏฐโจร เวริปุคฺคลโต จากบุคคลผู้เห็นโจร และ ผู้มีเวร, ทิฏฐ+โจร+ เวริ+ปุคฺคลโต
ทิฏฐ = ทิส ธาตุ ต ปัจจัย
โจร = โจร
เวริ = เวร
ปุคฺคลโต = โต ปัจจัย อัพยยศัพท์ ปุคฺคล = บุคคโล มาสนธิกับ โต ปัจจัย
สรุป
การตั้งตนไว้ชอบ
การดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน
การตั้งตนไว้ชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา
การตั้งตนไว้ชอบประกอบใจให้ถูกเป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม ไว้ให้ถูกต้องแล้วประคับประคองตนให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้นด้วยความระมัดระวังโดยปฏิบัติตามหลักอริยมรรค ๘ ประการคือ
๑. สัมมาทิฐิ มีความเห็นถูกต้องเป็นเบื้องต้น
๒. สัมมาสังกัปปะ มีความคิดรอบคอบถี่ถ้วน
๓. สัมมาวาจา เจรจาหรือพูดแต่สิ่งที่ดีๆ
๔. สัมมากัมมันตะ ทำในสิ่งที่ถูกต้องที่ดีงาม
๕. สัมมาอาชีวะ ดำเนินชีวิตในทางที่ดี
๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามบากบั่นในสิ่งที่ดีๆ
๗. สัมมาสติ มีสติอยู่ตลอดเวลา
๘. สัมมาสมาธิ ดำรงจิตใจให้มั่นคงไม่ให้หวั่นไหว
อานิสงส์การตั้งตนชอบ
๑. เป็นผู้ที่สามารถพึ่งตนเองได้
๒. เป็นผู้ที่ไม่ประมาท
๓. เป็นผู้เตรียมไว้ดีแล้ว
๔.เป็นผู้มีโชคอำนวยในทุกที่ทุกสถาน
๕.เป็นผู้บูชาพระรัตนตรัยอย่างสูงสุด
๖.เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
๗.เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
๘.เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ
๙.เป็นผู้มีแก่นคนสามารถตักตวงประโยชน์จากชีวิตได้เต็มที่
๑๐.เป็นผู้ได้รับสมบัติทั้ง ๓ โดยง่าย คือ มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
๒. เป็นผู้ที่ไม่ประมาท
๓. เป็นผู้เตรียมไว้ดีแล้ว
๔.เป็นผู้มีโชคอำนวยในทุกที่ทุกสถาน
๕.เป็นผู้บูชาพระรัตนตรัยอย่างสูงสุด
๖.เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
๗.เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
๘.เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ
๙.เป็นผู้มีแก่นคนสามารถตักตวงประโยชน์จากชีวิตได้เต็มที่
๑๐.เป็นผู้ได้รับสมบัติทั้ง ๓ โดยง่าย คือ มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น