วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ ๔ วิชาวิทยานิพนธ์



บทที่ ๔

ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 

บทบาทในการเผยแผ่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  มีประเด็นจะต้องศึกษาดังต่อไปนี้
                        ๔.๑  ผลต่อบุคคลและกลุ่มบุคคล
                        ๔.๒ ผลต่อสังคม
                        ๔.๓  ผลต่อพระพุทธศาสนา
                        ๔.๔  ผลต่อสันติภาพโลก
                        ผลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)                ได้สร้างสวนโมกขพลารามที่  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นแหล่งปฏิบัติธรรม  และเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศไทยแห่งหนึ่ง  ซึ่งได้มีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  และแก้ปัญหาสภาพของสังคมที่นิยมทางด้านวัตถุมากขึ้น  สวนโมกขพลารามจึงได้กำหนดหน้าที่ในการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมทั้งของพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป   และได้ทำหน้าที่ในการออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทย  และชาวต่างประเทศ  จากการปฏิบัติตามบทบาทดังกล่าวข้างต้น  ได้ส่งผลต่อชุมชนและสังคมในท้องถิ่น  ตลอดถึงระดับนานาประเทศเป็นอย่างมากอันได้แก่  มีผลต่อบุคคล  และกลุ่มบุคคล  มีผลต่อสังคม  มีผลต่อพระพุทธศาสนา  และมีผลต่อสันติภาพโลก  ซึ่งผลของการศึกษาปรากฏตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

                    ๔.๑  ผลต่อบุคคลและกลุ่มบุคคล
            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง                          สวนโมกขพลาราม  เพื่อเป็นเครื่องส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง  และมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยมิติใหม่ๆ และมีแนวคิดปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างจริงจัง  โดยศึกษาธรรมะและหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาอย่างแตกฉานอันลึกซึ้งแล้วได้ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่บุคคลและกลุ่มบุคคล  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                    ผลต่อบุคคล  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในตอนที่ท่านเป็นฆราวาส มีความสนใจในธรรมะมาก่อน  เรียกว่า  นักเลงธรรมะ  ในวัยหนุ่มมีแววของความเป็นนักเทศน์  นักธรรมมาก่อน  ท่านสนใจทางด้านธรรมะจนกระทั้งเรียกว่า  วางตัวเป็นอาจารย์ธรรมะกลายๆ มีคนมาพูดคุยธรรมะให้ฟังตัวท่านเองต้องหาเหตุผลมาตอบโต้ต้องสู้กัน  ก็มีทั้งข้าราชการและคนอื่นๆ     ในแถบนั้นที่เป็นญาติๆ  กันก็มี
                    มีข้าราชการคนหนึ่งผ่านหน้าร้านขายของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) บ่อยๆ  ผ่านมาทีไรมีการเย้าธรรมะกัน กว่าจะหลุดไปถึงที่ทำงานได้  นับเป็นชั่วโมง  โต้กันที่ร้านของท่านนั้นแหละเลยทำให้ท่านต้องซื้อหนังสือนักธรรมชั้นตรี  นักธรรมชั้นโท  นักธรรมชั้นเอกมาก่อน  แม้แต่พวกอภิธรรมก็ซื้อมาอ่าน  เพราะท่านถือว่าตัวของท่านยังเด็กกว่าใครๆ  ในกลุ่มนักเลงธรรมะ  นอกนั้นมีคนสูงอายุคนแก่ทั้งนั้น  แต่อาศัยที่ว่าคนหนุ่มพูดได้ถูกกว่า  เพราะมีหนังสืออ่านมีหลักฐานอ้างอิง
    จากการไปพูดธรรมะโต้กันมาในวัยหนุ่มทำให้ พระธรรมโกศาจารย์                        (พุทธทาสภิกขุ)มีประสบการณ์ด้านธรรมะ  เป็นทุนทาง  ของพระพุทธศาสนาไว้แต่ต้นแล้ว       ครั้นถึงเวลาบวชจึงแทบไม่ต้องเรียนอะไรอีก  รู้เรื่องธรรมะชนิดที่โต้กับผู้ใหญ่  สู้กับนักเลงธรรมะรุ่นพี่  รุ่นน้ามาแล้วนั้นเอง
    เป็นที่น่าสังเกตว่า พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) คอยขัด  คือแกล้งขัดเขา       ตอนนั้นมีการตื่นเรื่องนักธรรม  เขาเปิดนักธรรมขึ้นใหม่ๆเป็นยุคแรกของหมู่บ้าน  ใครๆก็ชอบพูดธรรมะ  และมีข้าราชการคนหนึ่งที่ชอบคบค้ากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)               สอนนักธรรมที่วัดและเอาความรู้คอยเล่นงานลองภูมิคนอื่นเรื่อยไป  ท่านก็เลยแกล้งขัดแกล้งล้อ  มันจึงได้เกิดการโต้เถียงเรื่องธรรมะกัน  ได้รับความรู้และสนุกด้วย
    ชีวิตวัยหนุ่มเป็นทั้งพ่อค้า  เป็นนักเลงธรรมะซึ่ง  ข้ามรุ่นไปโต้กับรุ่นใหญ่  จนเป็นที่ประจักษ์ฝีมือหลายครั้งหลายหน  ความรู้ความสามารถที่ได้ในช่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นผลจากความสนใจในการอ่านของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพราะที่ร้านก็มีการขายหนังสือด้วย       ก็พลอยได้อ่านได้ศึกษาไปในตัว  หนังสือที่มีมันก็ตามยุคตามสมัยนั้นในสมัยนั้น  หนังสือประเภทจักรๆ วงค์ๆ มีมากและเล่มละสลึงพึงรู้ท่านผู้ซื้อ  ส่วนเรื่องสมัยใหม่ประเภทเรื่องแปลจากฝรั่งก็เริ่มมีแล้ว  มีโรงพิมพ์เขาเป็นผู้พิมพ์หนังสือสมัยใหม่  หนังสือขายไม่ค่อยดี  ที่เหลือก็ส่งคนไปขายต่างจังหวัด  ที่ร้านก็รับไว้เพราะราคาถูก  เหมือนราคาเศษกระดาษ  แต่คนอ่านมีน้อย  หนังสือที่ที่ซื้อมาจากกรุงเทพสมัยใหม่นั้น  มีงานแปลเรื่อง  โซไรดา และ พันหนึ่งทิวาเป็นหนังสือที่ขาย มีดีในสมัยนั้น  ไม่มีอะไรติดใจเพียงแต่รู้สึกแปลก
    สำหรับหนังสือของเทียนวรรณ  ของ  ก.ศ.ร.  กุหลาบ  เคยอ่านสมัยนั้น  สมัยนั้นโยมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้ซื้อ  โดยประจำปีละ ๑ บาท โยมอาที่อยู่ทางกรุงเทพก็ซื้อส่งมาให้อ่าน  เห็นมีอะไรแปลกๆ อาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ก็เคยคุยกับเทียนวรรณ  และนายกุหลาบด้วย  ตอนนั้นอาเขียนจดหมายมาเล่าให้ฟังว่า  นายกุหลาบใส่สร้อยเส้นโตๆแต่ฟันไม่แปรง

    อิทธิพลของอาที่อยู่กรุงเทพ ดูเหมือนจะเป็นหน้าต่างสำคัญอย่างหนึ่ง                         พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้รับอิทธิพลในเรื่องการอ่านไปด้วย  ความรู้สึกของ                        พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ที่รู้ในช่วงนั้นปรากฏว่า  นายกุลาบนี้ฟังดูว่าเหมือนหนังสือฝ่ายค้าน  ดุจจะอวดมากกว่า  จะอวดกับในหลวงจะได้ซื้อเสียงเร็วๆ  ที่ไม่มีหลักฐานก็อ้างเอา  สำหรับคุณอาของท่านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่บวชอยู่วัดปทุมคงคาในสมัยนั้น  ท่านเป็นคนคล่องแคล่ว  ขวนขวาย  จงมีโอกาสมากกว่า  โยมพ่อของพระธรรมโกศาจารย์        (พุทธทาสภิกขุ)  และคุณอาอ่านใบลานคล่องเขียนใบลานก็ได้ด้วย
    ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพุมเรียงในอดีต  หรือชีวิตของชาวชนบทละแวกนั้นส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง  คือไม่ร่ำไม่รวยอะไร  เรียกว่าพอมีพอกิน  สมัยนั้นคนไทยมีเงินพันบาทก็ต้องว่ารวยแล้ว อาชีพส่วนใหญ่เป็นชาวประมงมาแต่โบราณ ทำกันกินและก็ขายในหมู่บ้านนั่นเอง  มีทั้งกุ้ง  หอย  มีปูมีปลา  สมัยนั้นปูม้าสองตัวราคา  แค่หนึ่งสตางค์ผิดกับเดี๋ยวนี้
    ส่วนคนที่มีฐานะร่ำรวยก็จะมีที่ให้เขาเช่า  ใครมีที่นามากก็ได้ค่าเช่ามากและเป็นคนรวย  ที่นาสมัยนั้นก็ใช้วิธีจองเอา  จ้างคนขุดหรือซื้อในราคาถูกๆ คนที่จำเป็นก็ขายราคาถูกๆ  ใครมีเงินก็ซื้อไว้   วิธีทำนาของเจ้าของที่นาที่ได้เปรียบคือ  การปันกันคนละครึ่ง  พวกขุนนางที่มีราคามากก็จะใช้วิธีข่มเหงและเบียดเบียนคนอื่นเขา  ความรู้สึกของชาวพุมเรียงหรือชาวไชยาในสมัยนั้นดูเหมือนจะไม่ได้ใช้สมองพัฒนาอะไรขึ้นมา  แต่วัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้คนล้วน     มีน้ำใจช่วยเหลือเผื่อแผ่กัน
    ตำบลพุมเรียงตอนนั้น  เป็นที่ตั้งของอำเภอไชยา  จึงมีบ้านพักพวกของทางราชการมาตั้งอยู่  วัฒนธรรมของคนทางกรุงเทพฯ จึงมีขึ้น  ความรูสึกของชาวบ้านสมัยนั้นมีความเกรงกลัวเจ้าหน้าที่  เช่นเดียวกับหัวเมืองภาคใต้อื่นๆ ข้าราชกาลมีอำนาจมากคล้ายๆ  เป็นรัฐบาล  ข้าราชการจึงเป็นอีกระดับหนึ่ง  แต่ก็เป็นที่พึ่งพาอาศัยกันได้  ไม่ได้เป็นศัตรูกัน  อาจจะมีบ้างที่ไม่เป็นธรรมและหนักข้อ  แต่ทางรัฐบาลก็ส่งคนใหญ่คนโตมาหาข้อยุติ  พิจารณาสอบสวนลงโทษกันไปตามระเบียบของทางราชการ  ฝ่ายราษฎร์นั้นไม่ค่อยคัดค้านเจ้าหน้าที่  เพราะกลัว  ต้องระวังไม่ให้เกิดความผิด   คดีความสมัยนั้นไม่ค่อยมี  นักเลงอันธพาลก็น้อย  คงเกรงกลัวเจ้าเมือง  อันธพาลนักเลงโตมันจะมีไม่ได้เพราะไม่มีพรรคพวก  ในตลาดพุมเรียงไม่มีพวกอันธพาล   หรือนักเลงโต ถ้ามีมันก็ต้องไปป่าบางถิ่น
    ข้าราชการสมัยก่อนนั้น  ชาวบ้านยกย่องนับถือ  เรียกคุณพระตามบรรดาศักดิ์  อย่างเจ้าเมืองไชยานี้จะเรียกว่า  เจ้าคุณไชยาพวกบ่าวไพร่ก็เรียก  นาย คนในตระกุลต่ำมากก็เรียก   
    อิทธิพลทางด้านศิลปะหนังตะลุงสมัยที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ยังหนุ่ม  หรือนายวาณิชหนุ่มเมืองพุมเรียง  ท่านเคยจดจำเรื่องราวกับหนังตะลุงสมัยนั้น  และก็ได้บันทึกเรื่องราวครั้งนั้นไว้ว่า
    หนังตะลุงสอนให้ชาวบ้านพูดอย่างภาษากรุงเทพฯ คนพื้นบ้านเขาไม่เคยไปกรุงเทพฯ  ก็อยากได้ยินคนกรุงเทพพูด  ตัวพระตังนางในหนังตะลุงจึงพูดภาษกรุงเทพ  มันเป็นแบบฉบับเดิมแท้ที่มาจากอินเดีย  แล้วมาขึ้นที่พัทลุงก่อนแล้วลงไปทางใต้ทางชวาพวกหนึ่ง  ขึ้นมาทางตอนบนอีกพวกหนึ่ง  จึงเรียกหนังตะลุง  คือหนังจากพัทลุง
    ในอินเดียนั้นเขาเรียก ฉาผานาฎิกา  คือการเล่นละครด้วยเงานี้เขามีมาก่อน  เป็นของพื้นบ้านเป็นของทั่วไปอยู่แล้ว  แล้วในอินเดียนี้เอง ถ้าเป็นการเล่นละครแบบนี้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม  ตัวละครที่มีการศึกษาและเป็นผู้ชายจะต้องพูดภาษาปรากฤต  ถ้าหากเป็นชาวบ้านธรรมดา  คนใช้หรือผู้หญิงก็จะต้องพูดภาษาปรากฤต  คือภาษาพื้นบ้านนั้นเอง  ระเบียบนี้มันก็ติดเรื่อยมาถึงศิลปะหนังตะลุงของเรา  ถ้าเป็นตัวพระเป็นนักบวช เป็นตัวพระเอก  เป็นตัวเจ้านาย  จะต้องพูดภาษาสูงสุดคือ  ภาษากรุงเทพ  แต่ถ้าดูละครเก่าๆ 
    ก่อนที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะอุปสมบท ๑ ปี คือในปี                       พ.ศ. ๒๔๖๘ ทางคณะสงฆ์เมืองไชยาได้จัดตั้งโรงเรียนนักธรรมขึ้น  สำหรับพระและสามเณรที่วัด   ซึ่งโรงเรียนนักธรรมดังกล่าว  ตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่วัดโพธาราม  อำเภอไชยา  ในฤดูกาลเข้าพรรษาของพระภิกษุสามเณร  เจ้าอาวาสวัดโพธารามก็เปิดโอกาส  สนับสนุนให้พระภิกษุและสามาเณรได้เรียนนักธรรมกันทั่วหน้า  เป็นการค้นคว้าหาความรู้ในทางธรรมะ  พระธรรมโกศาจารย์           (พุทธทาสภิกขุ)ได้มีพื้นฐานทางด้านธรรมะมาตั้งแต่ตอนอยู่ค้าขายกับบ้าน  ซื้อหนังสือธรรมะมาอ่านมาค้นคว้าเป็นประจำ  จึงเป็นเรื่องง่ายเมื่อมาเรียนโรงเรียนนักธรรมและท่านก็สอบได้นักธรรมตรีในปีแรกนั้นเอง  ครั้นเมื่อสอบนักธรรมตรีได้แล้วก็เป็นนักธรรมชั้นโท  และนักธรรมชั้นเอกต่ออย่างสนุกสนาน     จนลืมเรื่องสัญญาที่ว่าจะสึกเมื่อออกพรรษาแล้ว  ประกอบกับตอนนั้น คุณธรรมทาส  พานิช  กำลังเรียนแพทย์ปี ๒ ของจุฬาลงกราณมหาวิทยาลัย  ก็ได้กลับมาช่วยทำงานที่ร้านแทนพี่ชายคือ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
    เป็นที่น่าสังเกตว่า   เจ้าคณะเมืองในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) บวชนั้นคือ เจ้าคุณชยาภิวัติ  สุภัททสังฆปาโมทย์  เป็นเจ้าอาวาสวัดล่าง (สมุหนิมิต)                                   แต่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กลับไปบวชกับรองเจ้าคณะเมือง                                     คือพระครูโสภณเจตสิการาม (คง  วิมโล) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะทางญาติผู้ใหญ่มีความนิยมชมชอบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  จึงพลอยเกรงใจที่จะไม่นิมนต์เจ้าคณะเมืองมาเป็นอุปัชฌาย์ ประกอบกับเจ้าคณะเมืองรับนิมนต์  ไว้เสียก่อนที่อื่น  จึงมิได้เป็นเรื่องขัดเขินอะไร
    การที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต้องอยู่ที่วัดใหม่พุมเรียง  เพราะมีภูมิหลังที่ว่า   ปู่ที่เป็นน้องของย่าเคยเป็นสมภารวัดนี้มาก่อนจนกระทั้งท่านได้มรณภาพไป  ดังนั้น    ชั้นลูก ชั้นหลาน  หรือชั้นเหลน  ก็ต้องบวชวัดนี้คือ  วัดอุบลหรือวัดนอก  แล้วก็มาจำพรรษาที่วัดใหม่   พระลัด  ทุ่ม  อินฺทโชโต  เป็นเจ้าอาวาสวัดนอก  พระครูศักดิ์  ธมฺมรกฺขิโต  เจ้าอาวาสวัดหัวคู  (วินัย)  ท่านพระปลัด  ครูศักดิ์ เป็นพระ  แต่เป็นที่นับถือของโยมมารดาของพระธรรมโกศาจารย์          (พุทธทาสภิกขุ)
    ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าคณะเมืองนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เล่าไว้ว่า เนื่องจากวัดของท่านอยู่ติดกัน  บางทีผมก็ไปเยี่ยมบ้านแล้วก็ไปจำวัตรบ้าน  แล้วท่านก็ให้สัมพันธ์ด้วย  ก็คงเห็นผมคงพอจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์คล้ายๆ   จะเป็นผู้ใกล้ชิดในเรื่องต่างๆ  เพราะเมื่อผมออกบวชก็เคยรับใช้ใกล้ชิดท่าน
    ในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) บวชต่อไปไม่ลาสิกขา  เวลาก็ค่อยๆ  ยืดออกไปเรื่อย  เวลาที่อยู่ในผ้าเหลืองนั้นก็อุทิศให้กับพระศาสนา  ง่วนอยู่กับการเทศน์บ้าง  การศึกษาเล่าเรียนบ้าง  ไม่มีเวลาที่จะนึกถึงบ้าน  เรื่องชีวิตของครอบครัว  ไม่ว่าโยมแม่หรือญาติพี่น้อง ค่อยๆ ห่างออกไป  ไม่ได้สนใจกัน  คล้ายกับว่าไม่ได้มีญาติพี่น้องในโลก  ตอนอยู่วัดพุมเรียงเรียนนักธรรมที่วัดเหนือ  หน้าที่มันบังคับ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เคยเล่าว่า  ตอนที่กลับจากกรุงเทพ จำน้องสาวของตัวเองแทบไม่ได้  เมื่อได้พูดจากันจึงรู้เรื่อง  ห่างกันเป็นเดือนเป็นปี       ก็เปลี่ยนแปลงไป  คนเราโตขึ้นอ้วนขึ้น  ก็จำไม่ได้ว่าน้องสาวของตัวเอง
                    ก่อนจะไปกรุงเทพฯ ต้องเตรียมตัวเพื่อเทศน์ที่วัดตอนกลางคืน  พอกลับจากเรียนนักธรรมก็ขึ้นเทศน์ในพรรษาทุกวัน  เรื่องการเทศน์นี้แค่บวชได้ไม่กี่วันพระธรรมโกศาจารย์   (พุทธทาสภิกขุ) ก็เทศน์ได้แล้ว  ทุกคนพอใจ  ติดอกติดใจเลยให้เทศน์บ่อยขึ้น
    ข้อคิดทางธรรมะที่เคยประสบมาหรือเคยศึกษาก็นำมาสอนชาวบ้าน  เริ่มเป็นครูของชาวบ้าน  วิญญาณครูเริ่มซึมซับอยู่ข้างใน  แม้มันจะเป็นการเริ่มต้น  ค่อยเป็นค่อยไป  วิธีการเทศน์ของพระภิกษุเงื้อม  อินฺทปญฺโญ  ผิดกับที่ชาวบ้านเคยฟัง  คือไม่เหมือนเดิม  เทศน์แบบครึ่งเก่าครึ่งใหม่  ประยุกต์กัน  อาจารย์สมภารก็หนุนให้เทศน์  คนฟังก็เพิ่มขึ้น  ครูก็ถ้าหากสมภารก็อ่านใบลาน อ่านคัมภีร์บนใบลาน  ไม่รู้กี่เที่ยวอย่างที่เคยทำกันมา
    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ก็ยกใบลานมาอ่านเหมือนกัน  แต่ไม่อ่านทั้งหมด  เอาเนื้อหาที่เรียนมา  เข้าไปใส่  ในใบลาน  ขยายความในใบลานคนฟังก็เข้าใจง่ายขึ้น  ฟังรู้เรื่องดี  เอาที่เรียนจากโรงเรียนนักธรรมไปขยายความ  ทำให้ดูแปลก  ชาวบ้านก็ฟังไม่เบื่อเหมือนการหยิบไปตั้งให้เขาดู  ฟังรู้เรื่องทุกประโยค  ประยุกต์ชาดกที่เข้ากันได้หรือเรื่องอะไรดีๆ                          มาประกอบ  คนฟังเลยฟังอย่างสนุก  ฟังเข้ากันได้กับเรื่องธรรมะที่นำเอามาจากชาดก ที่หอสมุดพิมพ์ขึ้นจำหน่ายจ่ายแจกในครั้งนั้นอย่างมีรสชาติ  ค่อยๆคิด  ค่อยๆทำ  อย่างระมัดระวัง  ผลที่เกิดขึ้นก็ได้รับประโยชน์แก่ผู้ฟังมากขึ้น  ผู้เทศก็รู้สึกสบายใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ชาวบ้านไม่เสียแรงที่บวชเรียนฉันข้าวของญาติโยม
    การปรับรูปแบบใหม่ในการเทศน์และมีแนวคิดในการบรรยายธรรมทำให้ขยายความต่อบุคคลในการฟังธรรมไม่กี่คน  แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)                            มีการประยุกต์ในการเทศน์ทำให้ชาวบ้านได้เข้าใจธรรมมากขึ้น  ชาวบ้านที่ฟังพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)เทศน์ให้ฟังแล้ว  ก็ได้บอกต่อๆกันไปเพื่อมาฟังธรรมมากขึ้น  เป็นลำดับ พระธรรมโกศาจารย์   (พุทธทาสภิกขุ) เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ญาติโยมทั้งหลาย  ชาวบ้านที่เคยมาฟังท่านเทศน์  ก็พากันลือ  พากันแพร่ข่าวกระจายออกไปถึงวัดอื่นๆ  ว่า พระภิกษุ เงื่อม อินฺทปญฺโญ  เทศน์เก่ง  ชาวบ้านจากวัดอื่นก็แห่กันมาฟังบ้าง  ลือแตกตื่นกันต่อไปอีกอย่าง  จนกระทั้งมีผู้มาจากทุกวัด
    การเทศจึงต้องขยับขยาย  โดยมีการสับหลีกกันเสียใหม่ให้วัดสมุหนิมิต (วัดล่าง)     เทศน์เสียก่อน  แล้วจึงแล้วจึงเปลี่ยนใหม่  เสร็จแล้วจึงเป็นวัดโพธาราม (วัดเหนือ) หรือใครจะศรัทธาแก่กล้าฟังทั้ง ๓ วัดก็ตามใจ  คนฟังพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เทศน์สมัยนั้นราวสามสิบหรือสี่สิบคน  บางวัดมากันจนล้นศาลา  ที่น่าประหลาดใจก็คือที่มาฟังท่านเทศน์  ไม่ใช่คนแก่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ที่ไม่ใช่คนแก่ก็แห่กันมาฟังด้วย  อันนี้ต้องถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี                  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ทำกิจกรรมของสงฆ์ทุกอย่างด้วยความตั้งใจ  ความคิดสร้างสรรค์หลายอย่างได้ก่อรูปขึ้นในจิตใจของท่านอย่างต่อเนื่อง  อิทธิพลของการเป็นนักอ่านนั้นได้เพิ่มพูนแก่สติปัญญามาโดยลำดับ  ด้านการพูด  การเขียน  การวิพากษ์วิจารณ์  ล้วนก่อตัวขึ้นด้วยอย่างมีรูปธรรม
  ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเองพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ก็เริ่มมีความคิดถ่ายทอดข้อเขียนเป็นรูปแบบของหนังสือ  คือเป็นหนังสือพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในชีวิต  หนังสือพิมพ์ที่   พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) พิมพ์ออกมานั้นเป็นข้อเขียนใน  กระดาษฟุสสแก็ปสองคู่  ท่านเขียนขึ้นก่อนสวดมนต์ตอนค่ำ  พอพระสวดมนต์เสร็จเรียบร้อย  หนังสือพิมพ์ฉบับแรกก็ออกมาให้พระได้อ่าน  เนื้อหาในหนังสือพิมพ์นั้น  อ่านแล้วพากันหัวเราะ  วิพากษ์วิจารณ์ อาจจะเป็นเพียงนึกสนุกที่อยากจะทำให้เพื่อนหัวเราะ  ทำให้เพื่อนสบายใจ  จิตใจตอนนั้นนึกแต่กุศล  ไม่ได้คิดถึงสาระอะไรแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการเขียน  การวิพากษ์วิจารณ์  เมื่อท่านไม่มีเรื่องเขียนจะเอกสารคดีอ่านจากหนังสือพิมพ์มาเขียนใหม่  อย่างเช่น  วิธีซักผ้าให้ได้ผลดีที่สุด  เป็นต้น      พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ทำงานหนังสือพิมพ์อยู่ ๒ พรรษา พอพรรษาที่ ๓          งานมันมากขึ้น  จึงหยุดการออกหนังสือพิมพ์ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ขึ้นมาศึกษาที่กรุงเทพฯ ถึง ๒ ครั้ง  ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ แต่อยู่ไม่ได้เพราะเบื่อหน่ายสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะพระภิกษุพระพฤติไม่เหมาะไม่ควรต่อพระธรรมวินัย  ทำให้พระธรรมโกศาจารย์     (พุทธทาสภิกขุ) กลับมาที่พุมเรียง  และในตอนต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้กลับไปเรียนภาษาบาลีที่กรุงเทพฯอีกครั้ง  เพื่อต้องการศึกษาด้านปริยัติธรรม  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสติปัญญา  ทั้งๆ  ที่รู้ว่ากรุงเทพฯ ขัดต่อความรู้สึกมาแต่ต้น  มีความไม่สบายกายไม่สบายใจต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ  มีความคับแค้นใจ  และเรื่องดินฟ้าอากาศอันเป็นข้าศึกต่อสุขภาพ  แต่ท่านก็ได้อดทนมาจนกระทั้งสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค  และสอบเปรียญ ๔ ยังไม่ได้  ท่านตัดสินใจกลับมาอยู่ที่พุมเรียงอย่างถาวร  เพื่อมาศึกษาค้นคว้าธรรมด้วยตัวเองดังที่ตั้งใจไว้ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)      เริ่มตระหนักแล้วว่าธรรมะที่ท่านประพฤติปฏิบัติด้วยความพากเพียรนั้น  ไหนเลยจะเก็บเอางำไว้เพียงคนเดียว  ความรักเมตตาที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่า  จะทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุดในชีวิตนี้  ยังคงเด่นชัดอยู่  และหนทางที่จะช่วยสร้างความกระจ่างแจ้งแห่งพุทธธรรมของพระพุทธองค์นั้นจ้ำเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากสภาพความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมของสังคมกำลังปกคลุมอยู่ทั่วพุทธจักร
    ในที่สุดหนังสือพิมพ์  พุทธศาสนา  ฉบับแรกก็เกิดขึ้นในบรรณพิภพ  โดยการว่าจ้างโรงพิมพ์ไทยพานิชยการ  ถนนสีลม  พระนคร  ในการพิมพ์ครั้งนั้นมีจำนวนเพียง  ๑,๐๐๐ เล่นเท่านั้นเอง  หนังสือพิมพ์ดังกล่าวได้ออกเป็นรายตีมาศ คือ สามเดือนเล่ม  และได้แจกจ่ายไปยังพระภิกษุสามเณร  ได้มีการแลกคูปองในหนังสือ  ไทยเกษมรวมข่าว  หนังสือพิมพ์ไทยใหม่  และสัจจัง หนังสือพิมพ์ดังกล่าวแล้ว  ช่วยลงข่าวกิจการและเรื่องราวเกี่ยวกับการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของคณะธรรมทานให้เป็นที่เผยแผ่แก่ชาวพุทธโดยทั่วไป  คณะธรรมทานจึงค่อยๆ  เป็นที่รู้จักเพิ่มจำนวนโดยลำดับ  ข้อเขียนทั้งหมดในหนังสือพุทธศาสนา  พระธรรมโกศาจารย์                (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้เขียนเกือบทั้งหมด ท่านเขียนเองโดยใช้นามปากกาหลายชื่อ เช่น  อินทปญฺโญ  สังฆเสนา  สิริวยาส ฯลฯ การพิมพ์อยู่ที่กรุงเทพมหานคร  ส่วนกองบรรณาธิการอยู่ที่ไชยา  จึงไม่ค่อยสะดวกแก่กิจการ  เช่น การตรวจปรู๊ฟ และส่งต้นฉบับกลับไปกลับมาระหว่างกรุงเทพฯ ไชยา  จึงต่อมาภายหลังก็ได้มีการจัดซื้อแท่นพิมพ์เล็กๆ  ที่เรียกว่า  แท่นกริ้ก ใช้แรงคนพิมพ์  คือใช้เท้าถีบ           ใส่กระดาษพิมพ์ได้ครั้งละ  ๒ หน้าใหญ่ๆ ขนาด ๘ หน้ายก หน้าที่สำคัญในการดำเนินการพิมพ์ที่ไชยานั้นตกอยู่กับ  นายธรรมทาส  พานิช  โดยตลอด
    การพิมพ์หนังสือออกเผยแผ่เป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวเดินของคณะธรรมทานและการพิมพ์เผยแผ่หนังสือพิมพ์  พระพุทธศาสนา  ทำให้พระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ เริ่มรู้จัก                   สวนโมกขพลาราม และรู้ว่ามีพระภิกษุชื่อ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) กำลังทำหน้าที่   เผยแผ่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในวัดร้างกลางป่า  สร้างความประหลาดใจให้กับพระภิกษุ  ซึ่งศึกษาด้านปริยัติ  อยู่ในเมืองหลวงและที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น  แม้แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่ก็รับรู้เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน    คือ ได้รับรู้ว่า  บัดนี้มีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งชื่อ  มหาเงื่อม  อินทปญฺโญ กำลังเคลื่อนไหวในวงการพุทธจักรอย่างเงียบๆ เป็นครั้งแรก 
    หนังสือพิมพ์พระพุทธศาสนาที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เขียนเป็นรายสามเดือนออกเผยแผ่ให้แก่บุคคลและสถาบันตลอดองค์กรต่างๆ  ได้อ่านหลักธรรมอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ค้นคว้าอย่างจริงจังถูกต้องจัดเจนแล้ว  เอามาเขียนลงในหนังสือพิมพ์พระพุทธศาสนาออกเผยแผ่  ทำให้คนและกลุ่มคนหันมาสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้น  ในทางมิติของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แม้แต่ท่าน        ปัญญานันทะและประกาศิตพุทธศาสตร์ก็ให้ความสนใจอย่างมาก  ในการเผยแผ่หลักธรรมของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านทั้งสองได้อยู่ร่วมกันในสวนโมกขพลารามตั้งแต่            ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ คือหลักจากตั้งสวนโมกขพลารามได้เพียง ๑ ปี
    จากปาฐกถาธรรมของท่านปัญญานันทะภิกขุ  เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านเล่าเกี่ยวกับการเข้าไปอยู่ในสวนโมกขพลารามในครั้งนั้นว่า  พระธรรมโกศาจารย์             (พุทธทาสภิกขุ) อยู่ในวัดนั้นเงียบๆองค์เดียว  หลังจากนั้นมาคนที่อยู่ที่นั้น คือ คุณบุญเอก วาณิชยจรเคยไปอยู่ที่นั้น  ต่อมาก็มีพระไปอยู่ด้วย ๒-๓ รูป  อาตมาก็เคยไปอยู่ด้วย ๑ พรรษา พร้อมกับพระราชญาณกวีที่เป็นเจ้าคณะจังหวัดชุมพรในปัจจุบันก็ไปอยู่ด้วย
    การไปอยู่ในวัดสวนโมกขพลาราม  เวลาตอนเช้าออกไปบิณฑบาตมาฉันบนร้าน  ทำขึ้นบนต้นไม้มีบันไดพาดขึ้นหน่อยแล้วก็นั่งฉันบนนั้น  เวลาฉันนี้เป็นเวลาที่คุยธรรมะด้วยกัน  จะเห็นได้ว่าท่านปัญญานันทะภิกขุและพระราชญาณกวีทั้ง ๒ ท่านให้ความสนใจ  กับวิธีคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งเป็นพระภิกษุกลุ่มแรก  ข้อเขียนของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นที่น่าสนใจอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะในหนังสือพิมพ์พระพุทธศาสนา  ทัศนะและบทวิพากษ์วิจารณ์  วงการพระพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้น  กลายเป็นเรื่องปลุกให้พระภิกษุและพุทธบริษัทตื้นขึ้นจาการนอนคุดคู้อยู่ในกุฏิให้ลุกขึ้นมาสนใจพระพุทธศาสนา  ฝ่ายอนาจักรก็พลอยให้ความเอาใจใส่มากขึ้นด้วย  ท่านปัญญานันทะภิกขุเล่าให้ญาติโยมฟังว่า  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เริ่มปฏิวัติในเรื่องกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาก็ว่าได้  โดยเขียนหนังสือเร่งอารมณ์  บางทีก็เขียนเป็นกลอน  สวดอ่านท่วงทำนองเสนาะ  และเขียนอื่นๆอีก เช่น เรื่องกาจำศีล  เรื่องเสือจำศีล  อะไรต่างๆ  เพื่อสะกิดให้เกิดความคิด  แต่เราไม่ค่อยอ่าน  ไม่ค่อยรู้  ในกิจการของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แต่มีคฤหัสถ์เขารู้กัน  คนกรุงเทพฯ ที่รู้เรื่องแล้วก็ไปช่วยเหลือชุดแรก  เป็นคณะผู้พิพากษาก็มีคือ  พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์  พระดุลยพากย์ สุวมัณฑ์  คุณสัญญา ธรรมศักดิ์ และยังมีคนอื่นๆ อีกหลายคน ไปพวกไปจากกรุงเทพฯ ไปช่วยเหลือ  และเจ้าคุณลัดพลี  ถวายน้ำตาลทรายแดงเดือนละ ๑ ปี๊บ สำหรับถวายพระได้ฉันตอนเย็น พออกพรรษาก็ส่งผ้าไตรไปถวายครบจำนวนพระ  และที่นี้ไม่ทอดกฐิน          แต่ส่งไปถวายอย่างนั้นเองทุกปีเสมอมาจนโยมรุ่นแรกๆ ได้สิ้นอายุไปบ้างแล้ว  ยังเหลือ คุณสัญญา     ที่เป็นโยม ผู้ซื้อสัตย์อยู่คนเดียว  ยังช่วยเหลืออยู่บ้างในกิจกรรมต่างๆ  ต่อมาก็มีคนรุ่นอื่นเข้าไปชดเชยกับไปจากกรุงเทพฯ ปัจจุบันนี้มีผู้สนับสนุนช่วยเหลือกันอยู่โดยทั่วไป  จะเรียกว่าทุกจังหวัดก็ว่าได้
    พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงค์ ลัดพลี) ซึ่งท่านปัญญานันทะภิกขุกล่าวไว้นั้น ท่านเป็นฆราวาสซึ่งรู้จักสวนโมกขพลารามและรู้จักพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)โดยผ่านทางหนังสือพุทธศาสนา  มีความเลื่อมใสศรัทธาในการทำงานของพระธรรมโกศาจารย์                  (พุทธทาสภิกขุ)ถึงกับสนับสนุนทุนรอนในการจัดพิมพ์เผยแผ่งานคิดงานเขียนของ                     พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์เป็นสหายธรรมฝ่ายฆราวาส   ท่านเป็นทั้งสหายนักศึกษาคู่คิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ด้านวิทยาการด้านตะวันออกที่นอกเหนือจากพุทธศาสนาในเมืองไทย  อันได้แก่  เซน  เต๋า  กฤษณะมุรติ  หรือแม้แต่            สวามีวิเวกนันทะ ฯลฯ เบื้องหลังอันเป็นที่มาของงานแปลคัมภีร์สูตร เว่ยหล่าง  และฮวงโป  ก็ได้รับแรงกระตุ้นจากท่านพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์อีกด้วย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)      ได้บันทึกความสำคัญของพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ไว้อย่างเปิดเผยว่า  ข้าพเจ้าบอกกล่าวไว้ในตอนนี้เสียเลยว่า  ข้าพเจ้าถือพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ผู้นี้เป็นสหายธรรมหมายเลขหนึ่ง  กล่าวคือเป็นบุคคลแรกที่มีความเข้าใจและพอใจในกิจการของสวนโมกขพลารามและคณะธรรมทานไชยาที่ตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ และการจัดออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา     รายตรีมาสในปีถัดมา   มากถึงขนาดที่ขอปวารณาตัวเพื่อรับใช้ทุกประการ  จนถึงกับแม้จะให้ลาออกจากราชการในเวลานั้นมาช่วยกันทำงานให้พระศาสนาก็ยินยอม
    ส่วนฆราวาสอีกท่านหนึ่งที่เป็นกำลังสนับสนุนพระธรรมโกศาจารย์                        (พุทธทาสภิกขุ) ตั้งแต่ต้นได้แก่  พระดุลยพากย์ สุวมัณฑ์ (ปัทมสถานน ๒๔๗๗-๒๕๒๕) เป็นราชชั้นนำที่ไปนมัสการพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในปีที่สองของสวนโมกขพลาราม ท่านผู้นี้อดีตเคยเป็นผู้พิพากษา  หัวหน้าศาล  จังหวัดนครศรีธรรมราช พระธรรมโกศาจารย์               (พุทธทาสภิกขุ) ถือว่าพระดุลพากย์สุวมัณฑ์  เป็นกัลยาณมิตรเป็นสหาย เผยแผ่ธรรมะ ได้ร่วมมือกันมาตลอดเมื่อครั้งที่คุณพระยังมีอำนาจอยู่ในกระทรวงยุติธรรม  เคยนิมนต์                                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ไปแสดงธรรมพิเศษแก่ข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม     การเทศน์ในครั้งนั้นมีชื่อว่า ทุกขัมปนูทนคาถา เรียกว่า   วิถีแห่งการบรรเทาทุกข์ ในครั้งนั้น        คุณพระท่านบอกกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ว่าที่ตรงนี้เป็นบัลลังก์เพื่อกรณีสวรรคต และพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้แสดงธรรมที่บัลลังก์นั้น พระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวไว้ว่า พระยาดุลยพากย์สุวมัณฑ์นั้นเป็นสหายนักศึกษาที่เคยแลกเปลี่ยนความรู้สึกกัน  นอกจากนั้นท่านยังป็นลูกศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันคือต่างเป็นลูกศิษย์สมเด็จวัดเทพศิรินทร์ด้วยกันอีกด้วย
    สำหรับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทราวาส  ซึ่งเป็นพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ในยุคนั้นสมเด็จท่านโปรดพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)            อย่างมากท่านไปเยี่ยมสวนโมกขพลารามและพอใจที่จะเล่าหรือขยายความธรรมะใดๆที่ไม่เหมาะสมจะพูดกับผู้อื่น นอกจากพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และพระยาดุลพากย์สุวมัณฑ์ทั้งสองจึงเป็นลูกศิษย์สมเด็จชนิดที่ไม่มีใครรู้
    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวถึงการมาเยือนสวนโมกขพลารามของสมเด็จวัดเทพศิรินทราวาสในอดีตว่า  ในที่สุดยังคงมีอยู่แต่ความสงสัยในใจของข้าพเจ้าว่า          ในอดีต  และในอนาคต ได้มี  หรือจะได้มีพระเถระองค์ใดที่ให้กำลังใจแก่พระเด็กๆ ในทำนองที่ท่านได้ประทานให้แก่ข้าพเจ้าอันทำให้ผู้ได้รับสามารถทำงานที่ลึกซึ้ง  เหนื่อยสมองได้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  ด้วยอิทธิพลแห่งกำลังใจนั้น  และทำให้ข้าพเจ้ามีความกล้าหาญและทะนงตัวในการทำงานยิ่งขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าที่เดียว                                 
    ทั้งๆที่เป็นไปในท่ามกลางความงงงันของพวกเราโดยไม่มีใครคาดฝัน  ว่าจะได้รับความเมตตาปราณีหรือความสนใจจากบุคคลสูงสุดในวงการสงฆ์เห็นปานนี้  ท่านได้ใช้เกียรติ              อันสูงสุดเป็นเดิมพันเสี่ยงไปเยี่ยมพวกเราซึ่งในขณะนั้นกำลังคนส่วนใหญ่  หาว่าแหวกแนวหรือ    อุตตริวิตถารหรือถึงกับหาว่าสถานที่นี้  เป็นสถานที่เก็บพวกพระซึ่งเป็นบ้าก็มี
    เหตุการณ์ในครั้งนั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ทราบดีว่าสมเด็จท่านเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม  ซึ่งรับหน้าที่ปกครองสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แต่ท่านมีเมตตาไปเยี่ยมพระป่าบ้านนอก  เปรียญธรรม ๓ ประโยค ซึ่งมีพรรษาเพียงสิบเอ็ดสิบสองพรรษาเท่านั้นพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) รู้สึกซาบซึ้งและรู้สึกมีกำลังใจแก่การทำงานอย่างยิ่งที่สมเด็จลงไปเยี่ยมคราวนั้น พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)    ยังได้กล่าวย้ำว่า
    ความเคารพนับถือที่มหาเงื่อม  อินฺทปญฺโญ มีต่อสมเด็จวัดเทพศิรินทราวาสนั้น  สัมพันธ์ต่อเนื่องตลอดมาและครั้งใดพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ขึ้นกรุงเทพฯ ก็จะเว้นเสียไม่เที่ยวจะต้องไปกราบสมเด็จผู้ซึ้งน่าเคารพบูชาเป็นนิจ สัญลักษณ์อันเป็นสิ่งระลึกนึกถึงสมเด็จนั้น ท่านไม่เคยลืมว่า  ครั้งหนึ่งคราวที่ท่านสมเด็จมาเยี่ยมสวนโมกขพลาราม (พุมเรียง) เคยนั่งสนทนากับสมเด็จท่านใต้ถุนต้นยางใกล้หนองน้ำตระพังจิกพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงเรียกต้นยางนั้นว่า  ต้นยางสมเด็จมาจนทุกวันนี้ 
    นอกจากคนและกลุ่มคนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ยังมีนักคิดนักปราชญ์และนักสังคมวิทยา  และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทำการสอนในวิชาพุทธทาสศึกษาอย่างมาก  ตลอดถึงนักศึกษาที่เรียนอยู่มนระดับปริญญาโท  ปริญญาเอก ได้สนใจค้นคว้าหนังสือพุทธทาสภิกขุที่เขียนเอาไว้มากมาย  และยังได้ค้นคว้าทำวิจัย  ทั้งวิจัยของสถาบัน  วิทยานิพนธ์  ดุษฎีนิพนธ์  ส่วนคนทั่วไปไม่แพ้กับนักคิด  นักปรัชญาเหล่านั้นที่ให้ความสนใจมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ทั้งสนใจหนังสือธรรมะ  และปฏิบัติธรรมเจริญอานาปานสติภาวนา  สำหรับชาวต่างชาติเข้าอบรมระหว่างวันที่   ๑-๑๐ ของทุกเดือน  สำหรับชาวไทยอบรมเข้ม  ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๙ ของเดือนมกราคม พฤษภาคม, และกันยายน  และสำหรับเยาวชน  นักเรียน  นักศึกษา  สถาบันต่างๆ อบรมวันที่  ๒๗-๓๐ ของทุกเดือนที่ลงท้ายด้วยคม  และสำหรับชาวไทย อบรมตามปกติระหว่างวันที่  ๒๐-๒๙ ของทุกเดือน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจในการปฏิบัติธรรมะและศึกษาหนังสือของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เพราะหนังสือของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้คิดค้นจากพระไตรปิฎกเอามาเผยแผ่ด้วยวิธีการลุ่มลึกเป็นอย่างยิ่ง
    สรุปได้ว่า  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)           ทำบุคคลและกลุ่มบุคคลให้หันมาสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้น  และเป็นการได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเข้าใจหลักพุทธธรรมอย่างถูกต้อง  โดยไม่ติดอยู่ในไสยศาสตร์เหมือนอย่างสมัยก่อนๆ ไม่ติดอยู่กับของศักดิ์สิทธิ์จนเกินไป  ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความมีเหตุผล  ที่ชาวบ้านเข้าใจหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเช่นนี้  เนื่องจากอิทธิพลของการค้นคว้าหลักธรรมของพระธรรมโกศาจารย์      (พุทธทาสภิกขุ) มาเผยแผ่ให้บุคคลและกลุ่มคนได้เข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง   
            มชั้นเอกมาก่อน  แม้แต่พากอภิธรรมก็ซื้อมาอ่านตัวท่านเองต้องหาเหตุ 
                    ๔.๒ ผลต่อสังคม
            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มีความคิดกว้างไกลในการมองของสังคมปัจจุบันว่า  เป็นสังคมวุ่นวาย  มีความเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน การไหล่บ่าของข่าวสารข้อมูล  เป็นไปอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว  และรุนแรง  ท่านให้ความสนใจกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม      ได้พัฒนาความคิดให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่จะก่อให้เกิดผลในการคิดและการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและเป็นแบบอย่างของสังคม
                    ในความเป็นไปของสังคมนั้น  ประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนหลายฝ่ายด้วยกัน  และในบรรดาบุคคลฝ่ายต่างๆ เหล่านั้นจะมีพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งในสังคมไทย  ที่ทำหน้าที่ชี้นำและชี้แนะแนวทางการขับเคลื่อนเหล่านั้น  โดยเฉพาะในยามที่สังคมวิกฤติ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)รูปนี้จะได้ปฏิบัติภารกิจที่มีค่ายิ่งต่อสังคม  มีการแสดงความคิดต่างๆ และความคิดของท่านจะสมบูรณ์พร้อมทั้งภาษาและเนื้อหา  สิ่งที่มีค่าเหล่านี้เมื่อได้มีการบันทึกเป็นหนังสือแล้ว  จะมีผลต่อสังคมโดยส่วนรวม
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) นอกจากจะเป็นปูชนียบุคคลของไทยแล้ว            ยังนับเป็นปูชนียบุคคลของโลกอีกด้วย  สังคมตะวันตกได้ยกย่องท่านเป็นประทีปแห่งเอเชีย      ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม  จนปัจจุบันนี้สวนโมกขพลารามได้ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  จนมีชื่อเสียงประจักษ์ทั่วโลก  ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้ว  การดำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสวนโมกขพลารามก็ยังคงเจริญก้าวหน้าไม่หยุดยั้งซึ่งมีผลต่อสังคม             ดังที่  ปิยะวรรณ์  สุธารัตน์   ได้กล่าวว่า  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นนักรื้อฟื้นและส่งเสริมการปฏิบัติธรรมแห่งยุคปัจจุบัน  เป็นผู้ขุดค้นเอาความลึกลับของความหลงเลอะเลือนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น  โดยหวังผลอย่างเดียว  คือให้โลกนี้มีความสุข  และมีสิทธิเป็นภารดรภาพแก่กันและกัน  การกระทำของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสังคมด้านจิตใจ  ตามแนวทางของพระบรมศาสดา  ในด้านบทความและปาฐกถาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)นั้น  ชิต  ภิบาลแทน  ได้เปรียบเทียบว่า            เป็นเสมือนหนึ่งแสงสว่างที่ส่องแสงให้เห็นทางแห่งความมีสันติสุข  ท่ามกลางความมืดมัวของโลกที่หลงใหลอยู่แต่ด้านเปลือก  งมงายอยู่แต่การใฝ่หาวัตถุมาบำรุงบำเรอกายสนองความทะยานอยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  และที่สำคัญที่สุดอย่างยิ่งคือการเขียนหนังสือของพระธรรมโกศาจารย์       (พุทธทาสภิกขุ) ที่มากเป็นประวัติศาสตร์ของพระภิกษุอีกรูปหนึ่งในเมืองไทย  และเป็นงานที่ให้ประโยชน์สุขทางจิตใจ  เป็นอย่างดียิ่ง  และ  ศรี  บูรพา  ได้กล่าวถึง  พระธรรมโกศาจารย์        (พุทธทาสภิกขุ) หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศไทยมาจนบัดนี้  คือในระยะเวลา  ๒๕ ปีมานี้ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แห่งสวนโมกขพลาราม  นับว่าเป็นท่านผู้ทรงธรรมท่านหนึ่ง  ที่ได้มีบทบาทอย่างสำคัญและมีคุณค่ายิ่งแก่วงการพระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชาวไทย  ในฐานะเป็นผู้นำในการเน้นให้เห็นความสำคัญของพุทธศาสนาในด้านการปฏิบัติ  ซึ่งดูเหมือนจะได้รับการเพิกเฉยละเลย  เพราะว่าน้อยคนนักที่จะเข้าใจในความหมายของการปฏิบัติ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อทำความขวนขวายในการปฏิบัติธรรมของท่านเอง  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาได้แสดงพระธรรมเทศนาที่พุทธสมาคมในกรุงเทพฯ เรื่อง  วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมตั้งแต่เริ่มแรกของการแสดงพระธรรมเทศนา  ท่านก็ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติธรรม  ได้ชักชวนให้พุทธศาสนิกชนสนใจในการปฏิบัติธรรม  และลงมือปฏิบัติธรรมกันจริงๆ จากพระธรรมเทศนาครั้งแรก  จนถึงครั้งสุดท้าย  คือตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๗๕  มาจนถึงบัดนี้  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ก็คงเทศน์และเขียนหนังสือซึ่งเป็นการส่งผลให้พุทธศาสนิชน  ได้สนใจในการปฏิบัติธรรมตลอดมา         ดังที่  เสรี  พงศ์พิศ  ได้กล่าวว่า  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นปราชญ์ผู้นำกระบวนการวิพากษ์สังคม  ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดแนวคิดใหม่  แรงบันดาลใจใหม่  และพลังใหม่  ท่านมิใช่สมบัติของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  หากแต่เป็นสมบัติของมนุษยชาติและทุกคน  ท่านคือ  ประกาศก  (Prophet) ผู้เลื่องลือด้วยภาษาของคนร่วมสมัย  และสื่อด้วยแบบอย่างชีวิต  ดังนั้น  สาร(Message) ของประกาศก  และตัวประกาศย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เพราะสิ่งดังกล่าวเกิดจากความรู้แจ้งเห็นจริง  ในเอกภาพของปริยัติ  ปฏิบัติ  และปฏิเวธ  ท่านเป็นผู้นำความคิดด้านภาษาที่เด่นที่สุดองค์หนึ่งตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา  อิทธิพลทางความคิดของท่านมีทั้งทางตรง  โดยมีลูกศิษย์จำนวนมากที่ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่าน  ทั้งทางความคิด  และการปฏิบัติ  ทั้งพระภิกษุและฆราวาส  สิ่งที่ท่านให้แก่บุคคลเหล่านี้  คือแนวความคิดและแบชีวิตอันเป็นการปฏิรูปของท่านเอง  ท่านเป็นผู้ริเริ่มเปิดทางใหม่เพื่อนำสิ่งเก่ามาปรับปรุงให้เข้ากับสังคม  และดังที่  ชาญณรงค์  เมฆินทราง  ได้กล่าวถึง   พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ว่าท่านเป็นนักคิดอัจฉริยะของไทย  มีผลงานด้านตำรามากมายให้ชาวไทยและชาวโลกได้ศึกษา  ท่านตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าให้สอดคล้องกับคนร่วมสมัย  ด้วยปรัชญาและความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณของท่าน  การตีความใช้ทั้งวิธีของมหายาน  วัชรญาณ  และใช้คัมภีร์ไบเบิ้ลด้วย  ท่านปฏิเสธคำสอนที่แต่เดิม  ท่านตีความตั้งแต่เดิมให้สอดคล้องกับสังคม  ที่เปลี่ยนแปลงกับคนรุ่นใหม่ในชาติ  ท่านเป็นนักปฏิรูปผู้ถ่ายทอดเนื้อหาวัฒนธรรมและสถาบันหลักของโบราณ  โดยคงแก่นและสัจธรรมไว้ด้วย  การตีความให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมใหม่  เช่น  มหรสพทางวิญญาณ  โรงธรรม  และกุฏิหลังน้อย  แสดงถึงการนำเอาคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนามาแสดงออกในรูปแบที่เป็นสมัยเดิมและสมัยใหม่ผสมกัน  ระบบความคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เด่นชัดและสอดคล้องกับศาสตร์แห่งการดำเนินชีวิต  ญาณทัศนะวิทยา  และจริยธรรม  ท่านเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในโลก  โดยไม่หลีกเร้นจากโลก  แต่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน  ที่ดำเนินชีวิตโดยธรรมชาติ  มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับระบบในสังคม  และชุมชนดังกล่าว  ให้ตั้งอยู่ในศีล  เป็นหลักแห่งศีลธรรม  ในด้านงานของท่าน  ไม่ว่างานของท่านจะออกมาในรูปของเชิงอรรถทางวัฒนธรรม  หรือประวัติในการเปรียบเทียบ  ท่านได้ให้รายละเอียดที่ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจเขตและความเคลื่อนไหวทางความคิดของชาวไทยและงานของท่านยังท้าทาย  ทั้งนักศึกษา  และสานุศิษย์ให้เข้าใจพุทธศาสนาในเนื้อหาดังเดิมและเป็นแก่นแท้ด้วย
                    สรุปได้ว่า  ผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ทำให้สะท้อนถึงสังคมให้หันมามอง  ให้ความสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้น  ทำให้สังคมกลับมาคิดกันใหม่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต  และพัฒนาสังคมให้เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ทางสันติภาพ  อยู่อย่างมีความสุขที่ยั่งยืนได้  ธรรม  ท่านเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ใงสุดท้าย รปฏิบัติ  ซึ่งดูเหมือนจะได้รับการห้
                  ๔.๓  ผลต่อพระพุทธศาสนา
            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและบทบาทด่านปฏิบัติธรรม  ซึ่งจากบทบาทดังกล่าว  ทำให้เกิดผลต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนา  โดยให้พระภิกษุสามเณรตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องอย่างสมัยพุทธกาล  แนวทางปฏิบัติเน้นความเรียบง่ายไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งใด  การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมที่สำคัญเกิดจากบทบาทของสวนโมกขพลาราม  เช่น  การส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร  และประชาชนทั่วไปได้สวดมนต์ภาวนาในตอนเช้า และตอนเย็นหรือตอนค่ำ  และทำวัตรเย็นทุกวัน
                    การสวดมนต์ภาวนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  การส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรฝึกสมาธิ  ซึ่งมีการเน้นสมาธิและการเดินจงกรมเพื่อทำจิตใจให้สงบ  การฉันอาหาร                     การกวาดลานวัด  และกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอื่นๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมดังกล่าว  ทำให้พระพุทธศาสนาที่แท้จริงปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน  เพราะเป็นการนำหลักธรรมมาปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนทั้งสิ้น  ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนที่มีสมาธิ  สงบ  ดับตัณหาได้ตลอดกาล  โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปนั้นจะต้องปฏิบัติให้เคร่งครัด  เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น  พระภิกษุสงฆ์ในสวนโมกขพลาราม      จึงเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในระเบียบของพระธรรมวินัย  อยู่อย่างสงบ  มีความสันโดษ  ในสวนป่าที่เป็นกำลังแห่งความหลุดพ้นนั้น นอกจากนี้สวนโมกขพลารามยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป   ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา                 เช่น การสวดมนต์ภาวนา  การฝึกสมาธิ  การกินอาหาร  รวมถึงการทำงานตามหน้าที่  โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นแห่งสภาวะของการมีตัวตน  ซึ่งการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมดังกล่าว  ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปมีสมาธิ  มีสติ  มีความอดทน  สามารถ  ลด  ละ  และเลิกกิเลสได้  ความทุกข์ทางกายและทางจิตใจจึงไม่เกิดขึ้น  ทำให้เชื่อมโยงต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมไทยอย่างไม่ประมาท  จึงถือได้ว่า  การปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามาเณรและประชาชนทั่วไปดังกล่าว  เป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแท้จริง
                    นอกจากพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมแล้ว      ยังส่งเสริมให้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบต่างๆ  เช่น การเผยแผ่โดยการฝึกอบรม      การเผยแผ่โดยการจาริกสั่งสอน  การเผยแผ่ด้วยเอกสารสิ่งพิมพ์  การเผยแผ่ทางสื่อวิทยุกระจายเสียง       เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางทั้งหมู่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ  โดยเฉพาะการเผยแผ่ในหมู่ขาวต่างประเทศ  สวนโมกขพลารามได้สร้าง         สวนโมกข์นานาชาติขึ้นเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา  สิ่งเหล่านี้เป็นผลที่เกิดจากบทบาทของ               สวนโมกขพลาราม  ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา  การนำผลจากการศึกษาพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ทำให้สวนโมกขพลาราม  เป็นแหล่งศึกษาทางพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุสามเณร  นักวิชาการ  และประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหลักธรรมที่หลากหลาย  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลทางด้านการส่งเสริมทางคุณธรรม  ศีลธรรม  และจริยธรรม  เนื่องจากการอบรมสั่งสอนของภิกษุสามเณรในสวนโมกขพลารามโดยใช้วิธีการเผยแผ่แบบการใช้สื่อต่างๆ  ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  เช่น  โรงมหรสพทางวิญญาณ  โรงปั้นภาพหรือรูปปั้น  การสร้างสวนโมกข์นานาชาติ  เป็นต้น   การใช้สื่อเหล่านี้เพื่อถ่ายทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ทำให้เกิดการส่งเสริมจริยธรรมในด้านต่างๆ  เช่น  จริยธรรมด้านความสามัคคีซึ่งเห็นได้จากภาพกิจกรรมฝาผนังในโรงมหรสพทางวิญญาณ  เป็นภาพพระเยซูกำลังมองดูผลของสงครามที่มนุษย์กำลังเข่นฆ่ากัน  เพราะเห็นแก่ตัวกัน  ขาดความสามัคคี  หรือจริยธรรมด้านความอ่อนน้อมถ่อมตน  ซึ่งเห็นได้จากการใช้ตุ๊กตาธรรมะจากโรงปั้นภาพ  เป็นรูปปั้นเด็กน้อยนอนหลับอิงหมอน  จะใช้สำหรับตอนเด็กๆ  พระภิกษุสงฆ์จะอธิบายธรรมะเป็นบทกลอน  รูปปั้นเหล่านี้จึงสอนให้เด็กๆ  มีจริยธรรมด้านการอ่อนน้อมถ่อมตน  ว่านอนสอนง่ายนั่นเอง  หรือการสร้างสวนโมกข์นานาชาติ  เพื่อให้คนทุกชาติ  ทุกศาสนา  มีความสามัคคีกันนั่นเอง  ส่วนพระภิกษุและสามเณรทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  การฝึกนั่งสมาธิ  การฉันอาหารมื้อเดียว  การกวาดลาดวัด  และการจำวัด  สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมให้เกิดจริยธรรม  ด้านความอดทนอดกลั้น  ความเพียรความพยายาม  นำไปสู่ความสำเร็จ  ซึ่งเป็นแบบอย่างที่บุคคลทั่วไปจะได้นำไปถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้เกิดความสุขในชีวิตที่แท้จริงต่อไป
                    ผลต่อพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่งคือด้านอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา  การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ได้ส่งผลต่อการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                    ๑.การอนุรักษ์ศิลปะ
                        พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ดำเนินการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการใช้สื่อทางด้านศิลปะในการสั่งสอนธรรมะด้วยการนำศิลปกรรม              มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาสามารถทำให้ธรรมะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ  และทำให้เข้าใจความหมายได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปกรรมอีกอย่างหนึ่งด้วย  ซึ่งแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
                    ๑.๑  การอนุรักษ์จิตกรรม
                               จิตกรรมเป็นภาพเขียนหรือภาพวาดบนฝาผนังปูน  ในสวนโมกขพลารามปรากฏภาพกิจกรรมบนฝาผนังของโรงมหรสพทางวิญญาณ  เป็นภาพวาดเกี่ยวกับปริศนาธรรม               ซึ่งมีคุณค่าทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดียิ่ง  สำหรับเป็นสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งทางสวนโมกขพลารามได้ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน  ปัจจุบันปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ  ได้รับความสนใจจากผู้ที่มาเยือนสวนโมกขพลารามเป็นอย่างมาก  เพราะการสอนธรรมะด้วยภาพนี้จะได้รับความสนุกบันเทิงไปในตัว  ทำให้การเรียนธรรมะเป็นสิ่งที่ไม่น่าเบื่อ  และช่วยในการประหยัดเวลา  แต่ผลที่ได้รับจะลึกซึ้งมากกว่าการอ่านหนังสือ  หรือการฟังธรรมบรรยาย  และภาพปริศนาธรรมยังให้ประโยชน์ในแง่ของศิลปะ  การใช้เส้น  เป็นการถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมโดยใช้ภาพ  เพื่อเป็นสื่อการอบรมธรรมะที่สอดคล้องกับอารมณ์ของผู้ฟังเมื่อมีการบรรยายภาพปริศนาธรรม  ซึ่งควรที่จะยกย่องให้เป็นศิลปะชั้นสูงในทางพระพุทธศาสนา  ที่ควรอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางธรรมต่อไป
                      พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวถึงภาพปริศนาธรรมซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ว่า  สวนโมกขพลารามนำภาพปริศนาธรรมมาสอนธรรมะเพื่อประโยชน์สูงสุดของการเผยแผ่ธรรมะที่จะต้องให้เข้าถึงจิตวิญญาณของคนนั้นเอง  โดยการศึกษาธรรมะจากภาพนั้น  ขั้นแรกจะต้องดูว่าภาพนั้นเป็นอย่างไร  ขั้นที่สองจะต้องพิจารณาว่าภาพนั้นมีความหมายอย่างไร  และขั้นสุดท้ายคือการรับภาวะของความหมายนั้นเข้ามาสู่จิตใจ  หรือภาวะของตัวเราที่กำลังเป็นอยู่จริง   ซึ่งบางคนถึงกับสะดุ้ง  เพราะภาพนั้นได้ด่าเรา  สอนเรา  ล้อเรา  ถึงขนาดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสันดานของเราที่ไม่ดีออกไปได้  บางคนดูภาพปริศนาธรรมอย่างดูเล่นๆ  เดินไปดูไป  โดยมีความคิดว่าเพียงพอแล้ว  ไม่ได้เข้าถึงประโยชน์ในการที่จะทำให้เกิดความคิดเห็นแจ้งในทางธรรมแต่ประการใดเลย  การมองเช่นนี้คุณค่าก็จะไม่เกิดขึ้น  ทางสวนโมกขพลารามได้จัดภาพและกิจกรรมการบรรยายภาพไว้ที่โรงมหรสพทางวิญญาณ  ก็ต้องการให้ผู้สนใจศึกษาภาพปริศนาธรรมทั้งในแง่ศิลปะของเส้น  แล้วต้องนำภาวะจิตใจให้เข้าถึงภาวะที่เห็นแจ้งทางจิตใจด้วยภาพปริศนาธรรมเป็นสิ่งชี้นำทาง  ด้วยเหตุนี้สวนโมกขพลารามจึงเห็นว่ามีคุณค่าแห่งการอนุรักษ์ไว้  เพราะเป็นไปในทางที่จะทำให้ได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้นไป  สำหรับผู้ที่แสวงหาความรู้  ความฉลาด  และความเห็นแจ้งในทางธรรมที่สูงสุดแห่งการศึกษาธรรมะสืบต่อไป
                    ภาพกิจกรรมฝาผนังในโรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นภาพที่จำลองแบบมาจากศิลปะของหลายประเทศ  เช่น  จีน  อินเดีย  และประเทศอื่นๆ  มีจำนวน  ๑๐๐ กว่าภาพ  แต่ละภาพมีคติธรรมที่มีความหมายลึกซึ้งแฝงอยู่  เช่น  ภาพความมืดสีขาว  มีลักษณะภาพคือ  เป็นภาพความมืดแต่ความมืดเป็นสีขาวไม่ใช่สีดำ  เพราะทำให้คนมองเห็นต้นไม้บางช่อง  และภูเขาสลัว  ภาพนี้จะมีคติธรรมแฝงอยู่คือความรู้ที่มี  แต่ไม่ใช่เป็นเครื่องดับทุกข์  ดับกิเลสนั้น  เปรียบดังความมืดสีขาว  หรือภาพกระจกส่องคน  มีลักษณะภาพคือ  เป็นภาพสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าตาหน้าเกลียดน่ากลัว                 ถ้าเปรียบกับคนที่มีความโกรธจะมีหน้าตาเหมือนสัตว์นี้  ภาพนี้จะมีคติธรรมที่แฝงอยู่คือ          ความโกรธมีหน้าตาหน้าเกลียดน่ากลัวไม่น่าเข้าใกล้  ดังนี้เป็นต้น  ดังนั้นการนำภาพกิจกรรมโบราณที่เกี่ยวกับปริศนาธรรมมาวาดไว้ที่ฝาผนังโรงมหรสพทางวิญญาณ  จึงเป็นการอนุรักษ์ศิลปะด้านจิตกรรมทางหนึ่งด้วย
                    ๑.๒ การอนุรักษ์ปฏิมากรรม                                                                                                                               พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้จัดรูปปฏิมากรรมเพื่อใช้ในการสอนธรรมะและการเผยแผ่ธรรมะโดยการจำลองประติมากรรมโบราณของอินเดีย  และที่พบในภาคใต้ของประเทศไทยตลอดถึงการปั้นประติมากรรมแบบสมัยใหม่  มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่สำคัญมีดังนี้
                        ๑) รูปปั้นชุดพุทธประวัติจากหินสลัก
                               ประติมากรรมชุดนี้เป็นฝีมือของ  พระไสว  สิวญาโณ  แห่งโรงปั้นภาพของสวนโมกขพลาราม  ซึ่งคณะธรรมทานได้กล่าวถึงภาพปั้นชุดพุทธประวัติจากหินสลักไว้ว่า                ภาพพุทธประวัติจากหินสลักชุดจริงอยู่ที่ประเทศอินเดียในสถานที่ต่างๆ  เช่น  สถูปที่สาญจี           ที่นครนาคารชุฌิโกณฑา  ที่อมราวดี  บางส่วนอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของอินเดีย  และบางส่วนอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประเทศอังกฤษเป็นต้น  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้รวบรวมภาพจากแหล่งต่างๆและให้หลวงตาไสว  เป็นผู้จัดทำขึ้นจนเป็นภาพที่มีเรื่องราวต่อเนื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ  ตั้งแต่ประสูติ  ตรัสรู้  และปรินิพพานพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้อธิบายความหมายแห่งภาพไว้ในหนังสือพุทธประวัติจากหินสลักยุคก่อนมีพระพุทธรูปในช่วงราว  พ.ศ. ๓๐๐-๗๐๐  รูปปั้นชุดพุทธประวัติจากหินสลักที่มีอยู่ในสวนโมกขพลารามนับได้ว่าเป็นภาพที่ความสมบูรณ์มากและทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ 
                    รูปปั้นชุดพุทธประวัติจากหินสลัก  สวนโมกขพลารามได้จัดทำจำนวน ๔ ชุด   โดยชุดที่๑ นำไปประดับไว้ที่ฝาผนังของโรงมหรสพทางวิญญาณ  ชุดที่ ๒ วางเรียงรายไว้ทั่วไปตามโคนต้นไม้ในสวนโมกขพลาราม ชุดที่ ๓ ยังตกค้างอยู่ในโรงปั้นภาพ  และชุดที่ ๔                             พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ได้มอบให้วัดอุโมงค์  จังหวัดเชียงใหม่  เพื่อนำไปขยายเผยแผ่ต่อไป  เพราะภาพพุทธประวัติจากหินสลักนี้จะมีคุณค่าทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก  จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาสมัยที่ยังไม่มีพระพุทธรูป  ประชาชนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างภาพนี้เพื่อแสดงความเคารพ  สวนโมกขพลารามนำภาพนี้มาแสดงไว้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาธรรมะและอนุรักษ์ศิลปกรรมแบบโบราณไว้อีกด้วย
                    ๒) รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
                            รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  เป็นประติมากรรมที่จำลองรูปพระโพธิสัตว์     อวโลกิเตศวรสมัยศรีวิชัย  ซึ่งพบที่วัดพระบรมธาตุ  อำเภอไชยา พระธรรมโกศาจารย์                   (พุทธทาสภิกขุ)  ได้กล่าวถึงพระโพธสัตว์องค์นี้ไว้ว่า รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร                จะมีความหมายทางธรรมทีทุกคนควรจะกระทำเป็นเยี่ยงอย่างเพราะ คำว่า  อวโลกิเตศวร แปลว่า    ผู้เป็นใหญ่เหนือพระผู้เป็นเจ้า  ผู้คอยสอดส่องดูแลโลกหรือสามารถกล่าวได้ว่า  ผู้มีปัญญาแห่งนิกายมหายานของศาสนาในสมัยศรีวิชัยได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้นิกายมหายานมีสิ่งศักดิ์สิทธ์ควรแก่การเคารพบูชาไม่แพ้พระอิศวรของศาสนาฮินดูนั้นเอง  จึงทำให้รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนี้มีความหมายทางธรรมะที่แสดงออกถึงอารมณ์  สุทธิ  เมตตา  ปัญญา ขันติ  ซึ่งบุคคลใดมี ๔อย่างนี้ก็จะถือว่าเป็นบุคคลชั้นยอด  รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนี้ได้ประดิษฐานไว้บริเวณสนามหญ้าข้างโรงฉัน  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ปฏิมากรรมโบราณทางพระพุทธศาสนาให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาด้านศิลปะและพุทธศาสนา  นอกจากนี้แล้วยังมีรูปปั้นอื่นๆอีกมากมายมีเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับการสอนพระพุทธศาสนาและมีคุณค่าในการใช้เป็นเครื่องมือในการสอนธรรมะที่เกิดจากการทำงานของพระภิกษุสงฆ์ประจำโรงปั้นภาพ  เช่น  รูปปั้นตุ๊กตาธรรมะ  รูปสัตว์และอื่นๆ
                     ๒. การอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องทางพระพุทธศาสนา
                         วัดไทยในอดีต  เป็นสถานที่สำคัญยิ่งในการที่ประชาชนจะใช้เป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นงานประเพณีทางศาสนา  หรืองานประเพณีประจำปี  ซึ่งจะทำให้ประชาชนมารวมกันโดยง่าย  และเป็นที่รู้กันว่าจะต้องมาพบปะกันเวลาใด  จึงทำให้วัดมีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องในงานจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาสวนโมกขลารามยังคงเป็นสถาบันทางศาสนาที่ต้องดำเนินกิจกรรม  เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมให้คงอยู่ต่อไป  ซึ่งสามารถแยกได้เป็น ๒ ประเด็นดังนี้
                     ๑)  ประเพณีวันสำคัญทางศาสนา
                           ประเพณีทางศาสนา ซึ่งประกอบด้วยวันวิสาขบูชา  วันมาฆบูชา                               สงฆ์แทนสมเด้    วันอาสาฬบูชา  วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  เป็นต้น  การทำพิธีกรรมทางศาสนาในวันดังกล่าว   สวนโมกขพลารามจะจัดขึ้นบริเวณโบสถ์  บนยอดเขาพุทธของ  กิจกรรมที่แปลกกว่าการทำกิจกรรมของวัดอื่นๆคือ  หลังจากทำพิธีกรรมทางศาสนาตามปกติเสร็จเรียบร้อย  ผู้คนส่วนหนึ่ง   จะทยอยกันกลับบ้าน  ยังคงเหลือเฉพาะผู้ที่สนใจธรรมะ  ซึ่งจะมีการสนทนาธรรมเพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหลักธรรมที่ยังเข้าใจไม่ตรงกัน  รวมถึงการสนทนาธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ต่อกันระหว่าง พระสงฆ์กับพระสงฆ์  พระสงฆ์กับฆราวาส  การสนทนาธรรมจะปฏิบัติกันจนกระทั่งรุ่งอรุณของวันใหม่  และหลังจากนั้นก็ฟังพระธรรมเทศนาต่ออีก  การแสดงพระธรรมเทศนาจะแสดงให้เหมาะสมกับวันนั้น  เช่น  ถ้าเป็นวันวิสาขบูชา การแสดงพระธรรมจะเกี่ยวข้องกับวันนี้โดยตรง  เช่น  ความสำคัญของวันวิสาขบูชาการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาควรทำอย่างไร  พุทธศาสนิกชนควรจะปฏิบัติตนอย่างไร  หรือเสริมหลักธรรมอื่นที่ยังไม่เข้าใจตรงกัน

                 ๒)  ประเพณีประจำปีของสวนโมกขลาราม
                     สวนโมกขลารามจะจัดกิจกรรมประเพณีของสวนโมกขลารามเป็นประจำปี  ประเพณีประกอบด้วยวันดังต่อไปนี้
                 วันเยี่ยมสวนโมกข์  หรือวันทำวัตร  ตรงกับวันขึ้น ๑๓  ค่ำ  เดือน  ๑๐  ซึ่งเป็นวัน ที่กำหนดขึ้นโดยสหายธรรมและศิษย์ยานุศิษย์ที่ต้องการให้วันขึ้น  ๑๓ ค่ำ  เดือน  ๑๐  เป็นวันที่พระภิกษุสามเณรต้องมาที่สวนโมกขพลาราม  เพื่อทำวัตรและระลึกถึงคุณของพระธรรมโกศาจารย์                (พุทธทาสภิกขุ) ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ดังนั้นเมื่อวันนี้ของทุกปี  พระภิกษุในเขตอำเภอไชยา  ต่างอำเภอ  รวมถึงต่างจังหวัด  จะเดินทางมาเยี่ยมสวนโมกขพลาราม  พร้อมด้วยประชาชนมากมาย  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันนี้คือ  การพบปะพูดคุย  สนทนาธรรมกันระหว่างพระภิกษุกับพระภิกษุด้วยกัน  และระหว่างพระภิกษุกับฆราวาส  และฟังพระธรรมเทศนาที่ลานหินโค้งโดยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แต่ปัจจุบันใช้เทปหรือซีดีของ                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) หลังจากเสร็จพิธีพระภิกษุสงฆ์ที่เยี่ยมสวนโมกขพลาราม     จะได้รับการต้อนรับบริการน้ำชา  หลังจากนั้นก็จะทยอยกันกลับวัดเของตนเอง  สำหรับพระภิกษุที่อยู่ไกลๆ หรือต้องการจะพักที่สวนโมกขพลารามทางสวนโมกขพลาราม  ก็จะจัดหาที่จำวัดให้เรียบร้อย
                    วันล้ออายุ  เป็นประเพณีวันเกิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๗ พฤษภาคมของทุกปี  ในประเพณีวันนี้ทางลูกหลานและคณะธรรมทานจะจัดให้ยิ่งใหญ่มาก  จมีผู้คนเดินทางมามากมาย  กิจกรรมที่จัดขึ้น  เช่น  การฟังธรรมเทศนาจากพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ซึ่งเรื่องที่จะเทศนาเป็นเรื่องเป็นเรื่องอายุของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) นั้นเอง  คือความเปลี่ยนแปลงไปของสังขารนั้นเอง  ดังนั้นการที่สวนโมกขพลารามจัดประเพณีวันนี้ขึ้นมีจุดประสงค์เป็นหนึ่งที่จะชี้ธรรมะที่ปรากฏไปตามกฎของธรรมชาติว่า ใน ๑ ปี เมื่อครบรอบถึงวันล้ออายุของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ก็จะชรามากขึ้น  ทุกคนจึงต้องปลงและตัดสิ่งนี้ออกจากใจ  อย่าไปยึดติดกับตัวกู-ของกู นอกจากนี้ก็ยังมีสนทนาธรรม        และการสัมมนาของนักวิชาการที่มีชื่อเสียง  มาสัมมนาพูดคุยให้ความรู้ทั้งทางสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และศาสนาที่เชื่อมโยงกันและพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ก็จะมอบของขวัญให้ทุกคน  คือ การดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท  ทำให้ใจบริสุทธิ์  เหมาะสมตามคำว่า  โมกขะ                        ซึ่งแปลว่าความหลุดพ้น
                    วันกรรมกร  ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ  ของทุกเดือน  เป็นประเพณีอาบเหงื่อล้างตัวกู  เป็นงานเสียสละเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวเป็นการปฏิบัติธรรมชั้นลึกอยู่ในตัว  คือการทำงานโดยไม่ได้รับผลตอบแทนอะไรแม้แต่คำว่า  ขอบใจกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันกรรมกร  คือการฟังพระธรรมเทศนาที่เกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่เป็นการปฏิบัติธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าการนั่งทำวิปัสสนาอยู่คนเดียว  วันกรรมกรจึงต้องรวมตัวกันเพื่อระลึกถึงวันทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำเพื่อชำระล้างตัวกูให้หมดนั้นเอง
                    ๓.การอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน 
                         พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้าน  โดยเฉพาะเกี่ยวกับการสอนธรรมะ  ภูมิปัญญาชาวบ้านตั้งแต่อดีตมา  เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง            สวนโมกขพลารามย้อนอดีตกลับไปดูว่าคนในอดีตเขาสอนธรรมะกันอย่างไร  สัญลักษณ์อย่างนี้ที่แสดงถึงภูมิปัญญาจากอดีตคือ  สระนาฬิเกร์  ซึ่งสวนโมกขพลารามสร้างสระนาฬิเกร์ขึ้นมาจาก  เพลง  เพลงกล่อมเด็กของชาวบ้านในอดีตที่ว่า
                                เออน้องเหอ                             มะพร้าวนาฬิเก
                                ต้นเดียวโนเน                             กลางทะเลขี้ผึ้ง
                         ฝนตกไม่ต้อง                             ฟ้าร้องไม่ถึง
                                                                                 กลางทะเลขี้ผึ้ง                          ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย  
                   เพลงกล่อมเด็กบทนี้จะมีความหมายลึกทางโลกุตตรธรรม  สวนโมกขพลารามสร้างสระนี้ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงความเอาจริงเอาจังในทางธรรมะ  ของปู่  ย่า  ตา  ยาย  สมัยก่อน    ซึ่งเพลงกล่อมเด็กในสมัยก่อนทุกๆบท  จะมีธรรมแฝงอยู่มาก  แต่สวนโมกขพลารามเลือกเอาบทนี้มามีความหมายทางธรรมว่า  นิพานนั้นอยู่กลางวัฏฏสงสารเปรียบเสมือนนิพพานที่อยู่กลางสงสารสาคร  มีน้ำล้อมรอบไม่มีใครสามารถไปถึง  นอกจากผู้ที่มีบุญ  หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติธรรมมีจิต  สงบ  สะอาด  สว่าง  ไม่มีกิเลสแล้ว
                    ๔.การอนุรักษ์ธรรมชาติ 
                            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นพระภิกษุที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติ  เพราะที่สวนโมกขพลารามใช้ธรรมชาติสอนธรรมะ  อาศัยอยู่กับธรรมชาติ  ยึดปฏิบัติตามแนวธรรมชาติ  ทุกอย่างจะไม่มีสิ่งใดเหนือธรรมชาติ  แนวคิดสร้างสวนป่าเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) แห่งสวนโมกขพลารามจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง  แม้แต่การคิดสร้างสวนโมก์นานาชาติ  ก็จะต้องจัดหาสถานที่เป็นสวนป่า  จึงเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด  ซึ่งมีดังต่อไปนี้
                    ๑) การอนุรักษ์ป่าไม้ 
                            สวนโมกขพลารามมีพื้นที่ทั้งหมด  ๓๑๐ ไร่  คือเนื้อที่ทั้งหมดของ                       สวนโมกขพลาราม  แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าของสวนโมกขพลาราม  คือการไม่ทำลายป่าไม้ในสวนโมกขพลารามยังคงเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์  มีต้นไม้หลายชนิด  ในป่าไม้ทั่วๆไป  ไม้บางชนิดจะไม่มี  แต่ที่สวนโมกขพลารามยังคงอนุรักษ์ไว้เหมือนเดิม  คือป่าเสม็ดแดง  ซึ่งปัจจุบันเป็นไม้ที่หายากมากหากใครตัดไม้ทำลายป่าของสวนโมกขพลาราม  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จะเป็นผู้ตัดสินโทษด้วยตัวของท่านเองโดยไม่ต้องนำตัวส่งถึงตำรวจ  เพราะสถานที่แห่งนี้เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนาที่ท่านจะต้องรักษาไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ และฆราวาสผู้ที่รับใช้พระพุทธศาสนา  ธรรมชาติที่เป็นป่าไม้กับสวนโมกขพลารามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพาอาศัยซึ่งกันและกัน  เมื่อสวนโมกขพลารามทำนุบำรุงรักษาป่าไม้ไว้  ป่าไม้ก็จะให้คุณประโยชน์แก่เราทุกคน   คือป่าไม้จะให้ความสงบ  ร่มรื่น   เย็นสบาย  และที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นๆ ป่าไม้จะให้ธรรมแก่เรา  เพราะธรรมะคือธรรมชาติ  ต้นไม้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สวนโมกขพลารามใช้สอนธรรมในเรื่องกฎของไตรลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วยอนิจจัง  อนัตตา  เป็นความไม่เที่ยงแท้ของทุกสรรพสิ่งอยู่ในโลก  อาจมีผู้สงสัยว่าต้นไม้จะสอนธรรมได้อย่างไร  ถ้าคนไม่เข้าใจก็ไม่สามารถที่จะรู้ความหมายแห่งโลกุตตรธรรมได้  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)มองเห็นความตายเป็นสิ่งไม่เที่ยงด้วยการเชื่อมโยงชีวิตมนุษย์เปรียบเทียบกับใบไม้  ในขณะที่เรานั่งพักผ่อนอยู่ตามโคนต้นไม้  จะสังเกตเห็นใบไม้ที่ร่วงหล่น  จะมีทั้งใบอ่อน  ใบแก่  ใบสีเขียว  ใบสีเหลือง  หากเรามองโดยทั่วไปอาจตัดสินว่าใบไม้ที่แก่เท่านั้นน่าจะร่วงหล่นลงจากต้น  แต่เมื่อเห็นใบไม้ร่วงหล่น  มีทั้งใบอ่อน  ใบแก่ ใบสีเขียว  ใบสีเหลือง ก็บอกเราให้ทราบว่า  เหตุการณ์นี้  เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งถึงการเชื่อมโยงสู่ชีวิตของมนุษย์ที่สามารถตายได้ตลอดเวลา  ทุกเพศ  ทุกวัย  สวนโมกขพลารามจึงใช้เหตุการณ์ของธรรมชาติเหล่านี้สอนคนให้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท  เพราะชีวิตคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพได้ทุกเวลานั้นเอง
                    ๒) การอนุรักษ์สัตว์ป่าไม้
                            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ให้ความสำคัญกำการอนุรักษ์สัตว์ป่าไม่แพ้กับการอนุรักษ์ป่าไม้  เพราะถือคติ   ของการอนุรักษ์สัตว์ป่าเช่นเดียวกับการอนุรักษ์ป่าไม้  คือการไม่ทำลายสัตว์ป่า ในสวนโมกขพลารามเดิมทีเดียวจะมีสัตว์หลายชนิด  เช่น  เสือ  ชะนี  ลิง  ค่าง  หมูป่า  ไก่ป่า  กระรอก  กระจง  และยังมีสัตว์อื่นๆอีกมากมาย  แต่ปัจจุบันสัตว์ที่กล่าวถึงเหล่านี้  บางชนิดได้สูญพันธ์ไปหมดแล้ว  เพราะบริเวณรอบนอกสวนโมกขพลารามปัจจุบันมีความเจริญมากขึ้น  เพราะประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น  สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ถูกทำลายใน                                 สวนโมกขพลาราม แต่สัตว์จะออกหากินไปนอกสวนโมกขพลารามจึงถูกผู้คนทำลาย  ปัจจุบันสัตว์หลงเหลืออยู่บ้างแต่มีจำนวนลดน้อยลงไป
                             สรุปความได้ว่า จากอดีตถึงปัจจุบันนี้  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)       ได้สร้างสวนโมกขพลารามแห่งนี้  เป็นดินแดนธรรมะซึ่งดำรงไว้แห่งคุณค่าทางพระพุทธศาสนา  หน้าที่หลักเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา
                        ๓) การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาธรรมะ   
                                สวนโมกขพลารามได้กลายเป็นดินแดนแห่งธรรมในความรู้สึกของคนทั่วไป  หรืออาจกล่าวได้ว่า  สวนโมกขพลารามเป็นมหาวิทยาลัยทางจิตวิญญาณที่มีชื่อเสียง  จึงมีผู้คนเดินทางมาเที่ยวที่วนโมกขพลารามมากมายและศึกษาธรรมะพร้อมๆกันไปด้วย  โดยบุคคลเหล่านี้จะทราบเรื่องราวของสวนโมกขพลารามเกี่ยวกับการสอนธรรมะจากเอกสาร  หรือการบอกเล่าของบุคคลที่เคยมาเที่ยว  เมื่อประชาชนมาเที่ยวจำนวนมากขึ้น  การจัดการภายในสวนโมกขพลาราม เพื่อต้อนรับกลุ่มบุคคลเหล่านี้   จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ติดต่อสอบถาม เพื่อรับทราบความต้องการของคณะที่มาโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า  ส่วนการสอนธรรมะจะมี  ๒ จุด   ที่สำคัญคือ  โรงมหรสพทางวิญญาณและโรงปั้นภาพ  เพราะเวลาที่นักท่องเที่ยวมาเพียง   ๒-๓ ชั่วโมงนั้น  ทางสวนโมกขพลารามจึงใช้วิธีบรรยายธรรมโดยใช้ภาพปริศนาธรรม  และใช้ภาพปั้นจากโรงปั้น  เพื่อให้ได้ความรู้มากในเวลาที่จำกัด  ดังนั้นที่โรงมหรสพทางวิญญาณก็จะมีพระผู้รับผิดชอบซึ่งจะประจำอยู่ตลอดเวลา  หลังจากทำภารกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว  และธรรมะโรงปั้นภาพ  จะเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้มาท่องเที่ยวศึกษาธรรมะสนุกสนานเพลิดเพลินไม่เบื่อ    และได้ความรู้มากมายในเวลาที่น้อย  สิ่งเหล่านี้เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมของ                         พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ทั้งนั้น
                         
                    ๔. ๔ ผลต่อสันติภาพโลก
                            พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) มีความริเริ่มไม่เคยรู้สึกจบสิ้น  การเผยแผ่พุทธธรรมในระดับสูงคงกระทำไปอย่างมีเหตุผล  ในขณะเดียวกันท่านก็เริ่มมองดูความเคลื่อนไหวของลูกหลานชาวพุทธทั้งหลายว่า  หากได้มีโอกาสรู้เรื่องธรรมะตั้งแต่ยังเยาว์วัย  ปัญหาของสังคมก็จะลดน้อยลงด้วย  เหตุนี้ท่านจึงเริ่มพุ่งความสนใจในด้านการปลูกฝังคุณธรรมในกลุ่มเยาวชนในระดับต่างๆ  จึงดำริให้คณะธรรมทานไชยา  จัดให้มีกิจกรรมด้านโรงเรียนสายสามัญขึ้น  จากจุดริเริ่มดังกล่าวนี้ทำให้เกิดโรงเรียนพุทธนิคมขึ้น  เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่ยังไม่ทราบกิจการของคณะธรรมทานก็อยากจะนำมาแถลงการณ์ของหน่วยงานเผยแผ่ธรรมะที่เรียกว่าคณะธรรมทานนี้มาพอสังเขป  เพราะการเกิดสวนโมกขพลารามกับการทำงานของคณะธรรมทานไม่แตกต่างอะไรกับสิ่งที่เรียกว่ากายกับใจ  ต้องอาศัยกันและกันโดยธรรมชาติ
                                โรงเรียนพุทธนิคม  มีหลักสูรการสอนตามหลักสูตรสามัญศึกษา  และจัดให้มีหลักสูตรวิชาพุทธศาสนาของโรงเรียน  โดยเฉพาะการตั้งโรงเรียนพุทธนิคมเป็นผลงานอีกอย่างหนึ่ง  โดยเหตุที่ตลาดเมืองไชยายังขาดโรงเรียนเด็กเล็กชั้นประถม  ต้องไปเรียนที่สารภีอุทิศ  ท่าโพธิ์  หรือที่โดรงเรียนวัดพระธาตุ  เป็นระยะทางไกลถึง ๒ กิโลเมตร  จึงให้มีการจัดตั้งขึ้นที่บ้านธรรมทาน  หมู่ที่ ๓ ตำบลพุมเรียง  โดยยื่นแบบแจ้งความขอตั้งต่อกระทรวงธรรมการ  ผ่านอำเภอไชยา  เมื่อวันที่    ตุลาคม  ๒๔๗๙  ทั้งยังได้มีการเปิดสอน  เด็กเล็ก (อนุบาล) เป็นการทดลอง  เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๙๗ โรงเรียนแห่งนี้ได้รับความจำนงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ  เมื่อวันที่  ๑๒  ธันวาคม  ๒๔๗๙ ได้รับการอนุญาตจากทางอำเภอ  เมื่อวันที่  ๑๒ ธันวาคม ๒๔๗๙  และได้รับอนุญาตจากทางอำเภอ  เมื่อวันที่  ๑๐  กุมภาพันธ์  ๒๔๗๙
                การตั้งโรงเรียนพุทธนิคม  จากการริเริ่มของคณะธรรมทานพระธรรมโกศาจารย์         (พุทธทาสภิกขุ) และธรรมทาสมุ่งหมายจะฝังนิสัยแห่งธรรมในจิตใจของยุวชน  ดังคำกล่าวของ พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ที่ว่า  ศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก  ทำนองเดียวกันกับโรงเรียนมิชชันนารี  ต่างกันแต่ว่าโรงเรียนพุทธนิคมมีการหยุดเรียนในวันพระและวันอาทิตย์  ความคิดริเริ่มเช่นนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องสะกิดใจในวงการศึกษาของชาติ  เพื่อให้ผู้อื่นเห็นแนวคิดและนำไปขบคิดเพื่อการเสริมสร้างพุทธธรรมขึ้นในหมู่อนุชนของชาติ
                การตั้งโรงเรียนพุทธนิคมขึ้นนี้เองทำให้เกิดศัพท์คำว่า  ชาวพุทธ ขึ้นอย่างแพร่หลาย  นายธรรมทาส  พานิช ได้ใช้ศัพท์นี้  กฎของโรงเรียนพุทธนิคมนายธรรมทาสก็ได้จัดตั้งขึ้นเรียกว่า  กฎ ๖ ข้อ หรือวัฒนธรรมของชาวพุทธคือ 
                    ๑.รักใครกันอย่างพี่น้องในตระกูลเดียวกัน
                    ๒.ให้ใจสงบเยือกเย็นไม่ผูกพยาบาทจองเวร
                    ๓.ยึดหลักทำดีได้ดีไม่เชื่อของขลังโชคลาง
                    ๔.เห็นแก่ความสุขของเพื่อนร่วมโลก
                    ๕. ครองชีพอยู่อย่างเรียบง่ายไม่ฟุ่มเฟือย
                    ๖. วัดเป็นสโมสรสถาน  หยุดงานในวันพระ 
                    โรงเรียนพุทธนิคมนับเป็นแนวทางอันมองไกลของพระธรรมโกศาจารย์                  (พุทธทาสภิกขุ) และนายธรรมทาส พานิช  สนองบทบาทนี้อย่างเข้มแข็ง  และขยายชั้นเรียนถึงระดับอุดมศึกษา  ภายหลังได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล  จะเห็นได้ว่า      พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) วางรากฐานไห้กับยุวชนอย่างดียิ่ง  ถ้าเด็กได้เรียนธรรมะตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการปลูกฝังธรรมะให้กับเยาวชนมีศีลธรรมอยู่ในใจแล้ว  สันติภาพจะไม่ต้องแสวงหา  มันเกิดแก่โลกด้วยตัวของมันเอง
                    แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าโครงการนี้รัฐบาล  ไม่ให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ หรือไม่นำเอาไปใช้ตรงตามเป้าหมายที่พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ชี้แนวทางไว้ให้  อาจจะเพราะเห็นว่าโรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ในวัด  เพียงแต่มีการพัฒนาด้านส่งเสริมจริยธรรมเป็นกิจกรรมพุทธศาสนาวันอาทิตย์  ซึ่งก็ไม่ได้ผลเต็มเปี่ยม  เดี๋ยวนี้ก็อยู่กับส่วนที่เรียกว่า  ศูนย์เยาวชน  นโยบายทางโลกประยุกต์ไปใช้โดยกระบวนการกิจกรรมอื่นๆ  ความโดดเด่นด้านพุทธธรรมสำหรับวางรากแก้ว  สำหรับเยาวชนจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
                    อย่างไรก็ตามในระยะหลังนี้ความคิดริเริ่มเรื่องนี้กำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งใน        อำเภอไชยา  โดยมีมูลนิธิพุทธบุตร  ๓๓๖ ซอยโสภณ  อำเภอไชย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โครงการนี้ที่  พระมหาวิรัตน์  วิรตฺตโน  ศิษย์ของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ)   กำลังเริ่มโครงการโรงเรียนพุทธบุตรตามแนวทางของรากแก้วแห่งพุทธธรรมแก่ลูกหลานชาวพุทธอีกครั้งหนึ่ง
                    ในขณะที่การทำงาของคณะธรรมทานดำเนินการบริการด้านกิจการโรงเรียนพุทธนิคม  และกิจการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางพระพุทธศาสนานั้น  ทุนรอนต่างๆก็ได้จากการดำเนินการของคณะธรรมทานทั้งสิ้น  รัฐบาลหรือกรมศาสนาหาได้มีบทบาทโดยตรงไม่  หากแต่ผู้ที่มีจิตใจศรัทธามองเห็นประโยชน์  และมองเห็นความตั้งใจอันแน่วแน่ของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) จึงให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง  จากแถลงการณ์ของคณะธรรมทาน  ทำให้เห็นว่า  แม้จะมีจิตใจเป็นกุศลตามอุดมการณ์ที่ว่า  สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ  การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวงนั้น  บ้างครั้งก็ต้องเผชิญกับอุปสัคไม่น้อย  แต่สำหรับพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ไม่มีความย่อท้อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดสันติภาพของโลกให้ได้  ดังที่  ประเวศ  วะสี  ได้กล่าวว่า  คุณค่าอันยิ่งใหญ่ต่อชาวโลกของท่านพระธรรมโกศาจารย์      (พุทธทาสภิกขุ) ว่าท่านได้สร้างคุณประการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทยและแก่โลก  คำสอนของท่านทำให้เชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม  ทั้งทางศาสนาและวิทยาศาสตร์  เรียกว่าทำให้หมดข้อสงสัย  นับเป็นมหาบุรุษเอกของโลก  สมควรที่พวกเราซึ่งโชคดีเกิดมาร่วมสมัยกับบุคคลเช่นนี้  ควรจะถือโอกาสศึกษาคำสอนของท่านให้เข้าใจ  เพื่อสร้างสันติให้เกิดขึ้นในตน  ในชาติและในโลก  ดังที่  พระธรรมโกศาจารย์  (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต)  ได้กล่าวไว้ว่า  พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เป็นบุคคลสำคัญของโลก  โดยทางองค์การยูเนสโกประกาศยกย่องท่านพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เป็นบุคคลสำคัญของโลก  ย้ำเตือนถึงความจริงของบทกลอนของท่านพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ที่ว่า  พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย  ผลงานของท่านนอกจากจะไม่ตายไปจากความทรงจำของชาวพุทธแล้ว  องค์การยูเนสโกยังประกาศยกย่องท่านพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ไปทั่วโลก
                    สรุปได้ว่า  พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) มีผลงานดีเด่นในมิติทางวัฒนธรรม  ซึ่งมีวัฒนธรรมสองอย่างได้แก่วัฒนธรรมทางวัตถุกับวัฒนธรรมทางจิตใจ พระธรรมโกศาจารย์      (พุทธทาสภิกขุ) ส่งเสริมวัฒนธรรมทางจิตใจ  และก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระดับโลก  ที่สำคัญ  คือ  เป็นไปเพื่อสันติภาพโลก

                    การศึกษาด้านจิตวิญญาณ  คือ  ต้องดูเข้าไปข้างในอย่าดูออกไปข้างนอก  รู้เข้าไปด้านจิตวิญญาณ  รู้เข้าไปข้างในด้วยตนเองในตัวเอง  รู้จักตัวเอง  และจัดการกำตัวเองอย่างถูกต้อง  เป็นการพัฒนาจิตใจ  กำจัดสัญชาติญาณอย่างสัตว์ออกไป  นี้จึงจะเป็นประโยชน์ของการศึกษาสูงสุด  การศึกษาที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบนั้นต้องใช้  หลักการไม่เห็นแก่ตัว  เป็นการพัฒนาตัวพัฒนาโลกแห่งจิตวิญญาณ  อันประกอบไปด้วยธรรม
                    จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เป็นห่วงในเรื่องของการจัดการศึกษาที่กล่าวมา  จัดไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาส่วนใหญ่เน้นไปที่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก  โดยหวังจะให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี  จัดการทัดเทียมกับประเทศทางตะวันตกซึ่งพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ใช้คำว่าหลงใหลไปกับวตถุนิยมและคุณค่าทางวัตถุถูกกำหนดให้มีความสำคัญมากกว่าคุณค่าทางด้านจิตใจ  และวัฒนธรรม  ละเลยต่อศีลธรรมอันดี  ซึ่งท่านให้ความสำคัญของศีลธรรม เป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตเลยทีเดียว  คือความมีชีวิต  ความเป็นอยู่ที่ปกติสุขจะขาดศีลธรรมเสียมิได้คนที่ขาดตกบกพร่องในศีลธรรม  คือคนที่ด้อยพัฒนาทางด้านจิตใจนั้นเอง   
                    การศึกษาที่สมบูรณ์นั้น  เมื่อให้ความรู้กับเด็กในด้านต่างๆ แล้ว  การพัฒนาจิตใจเด็กให้มีความรู้มีความคิดที่ประพฤติตนอย่างถูกต้องมีจิตที่ดีงาม  สามารถพึ่งตนเองได้  มีความสุขที่จะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น  และสังคมส่วนรวมด้วย  จึงจะเป็นชีวิตที่มีค่าและพระธรรมโกศาจารย์        (พุทธทาสภิกขุ) กล่าวไว้ว่า  การศึกษาที่ไม่ทำให้คนมีศีลธรรมนั้น  ไม่ใช่การศึกษา  แผนการศึกษาของโลกสมัยนี้ไม่มีการทำให้เด็กรู้ว่าเกิดมาทำไม  เมื่อคนเราไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม  มันก็ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนจะไปได้อะไรอันเป็นสิ่งที่สูงสุด  ทำให้สมบูรณ์เช่นนี้ไม่ต้องประกอบไปด้วยธรรม
                    จากการสัมภาษณ์  พระภาวนาโพธิคุณ  ท่านให้ข้อมูลถึงแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ไว้ว่า  การศึกษาที่สมบูรณ์แบบนั้น  เมื่อให้ความรู้กับในด้านต่างๆ แล้วการพัฒนาจิตใจเด็กให้มีความรู้  มีความคิด  ทีจะประพฤติอย่างถูกต้อง  มีจิตใจที่ดีงาม  สามารถพึ่งตนเองได้  มีความสุขที่จะทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคมส่วนรวมด้วยจึงจะเป็นชีวิตที่มีค่าสอดคล้องกับ  พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เคยกล่าวไว้ว่าไม่มีความถูกต้องทางศีลธรรม  ชีวิตนี้ถือว่าไม่มีค่า  ชีวิตนี้คือสิ่งที่ต้องพัฒนาให้มีศีลธรรม
                    นอกจากนี้พระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) เคยแสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาไทยว่า  การศึกษาไทยที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่สำเร็จประโยชน์แก่สันติภาพ  เพราะมีแต่การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้คนฉลาด  ให้นักศึกษาฉลาดอย่างไม่มีขอบเขต  ไม่มีการควบคุมความฉลาดคือควบคุมไม่ได้  เขาจะใช้ความฉลาดของเขาเพื่อประโยชน์อะไรได้ตามใจของเขา  ไม่มีสิ่งควบคุมความฉลาด  มันไม่เหมือนกับการศึกษาสมัยก่อน  ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติมาก  มันผูกพันอยู่กับศาสนา  มีศาสนาเข้าไปแฝงอยู่กับการศึกษา  ส่วนที่เป็นศาสนาจะควบคุมความฉลาดให้รู้จักละบาป  รู้ผิดชอบชั่วดี  ไม่ใช้ความฉลาดเพื่อประโยชน์ของท่านโดยส่วนเดียว  ที่ผ่านมามีการแยกศาสนาออกไปจากการศึกษาให้การศึกษาเป็นเรื่องบ้านเมืองล้วนๆ  ทำให้ไม่มีสิ่งควบคุมความฉลาด  มันก็มีอิสรเสรีที่จะเป็นตามความฉลาด  แย่งกันใช้ความฉลาดเพื่อประโยชน์ของตน  ต่างคนต่างจะเอาเปรียบกัน  โลกนี้จึงไม่มีสันติภาพ  แม้ว่าการศึกษาจะจัดเป็นอย่างไรก็ไม่มีทางสำเร็จ  มันจึงคงเป็นไปตามความฉลาดเพื่อหาทางเอาเปรียบเสมอไป  การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้นั้น  เราจะต้องมีการจัดการศึกษาที่ถูกต้อง  ศาสนาก็คือระบบการศึกษา  แต่เป็นการศึกษาระบบสูงสุด  เป็นระบบการให้ทราบถึงแนวคิดของท่านว่า  การศึกษาที่สมบูรณ์แบบนั้น  เป็นการพัฒนาเด็กให้ทุกคนอย่างสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป  โดยมิใช่มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาการเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว  จึงจะเป็นการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน  การพัฒนาด้านจิตใจนั้น  ต้อฝึกความใฝ่รู้ในเรื่องศีลธรรม  จริยธรรมอันเป็นพื้นฐานของชีวิต  ด้วยการบูรณาการกับการศึกษา  โดยเด็กสามารถอธิบาย  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักธรรมได้  และสามารถประเมิณผลการกระทำตนเองได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น