วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติของพระเจ้าพิมพิสาร(พุทธอุปัฏฐาก)

พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต แคว้นมคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวจึงเสด็จไปนมัสการ และชักชวนให้สละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน เมื่อได้รับคำปฏิเสธจึงขอคำปฏิญญาว่าหากทรงค้นพบสิ่งที่แสวงหาเมื่อใด ขอให้มาสอนพระองค์เป็นคนแรก
     ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าเมื่อโปรดปัญจวัคคีย์โปรดพระยสะและสหายมีพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ องค์ ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่าง ๆ แล้วพระองค์จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อเปลื้องคำปฏิญญาที่ประทานให้กับพระเจ้าพิมพิสารนั้นเอง
     พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้นำแคว้นใหญ่ ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนคนอื่น ๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์
     สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือชฏิลสามพี่น้องอยู่ พระองค์จึงต้องไปโปรดสามพี่น้องก่อน
     เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิลสามพี่น้องสละลัทธิความเชื่อดังเดิมนั้นมาเป็นสาวกของพระองค์หมดแล้ว ก็พาสาวกใหม่จำนวนพันรูปไปพักยังสวนตาลหนุ่มใกล้เมืองราชคฤห์
     เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม ได้เห็นอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าคองอัญชลีต่อพระพุทธเจ้าประกาศเหตุผลที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็หายสงสัย ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วนับถือพระรัตนตรัย และถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น
     หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวายสวนไผ่นอกเมืองให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวัน เวฬุวันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลปทนิวาปสถาน คือสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
     พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้าน่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้นเคยเป็นพระญาติของพระองค์มาขอส่วนบุญ และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา
      วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารในพระราชวัง แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากกฏโฉมอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสขอบคุณที่แบ่งส่วนบุณให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป
     เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงนำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม
     พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่า โกศลเทวี หรือ เวเทหิ เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระโอรสนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ในช่วยตั้งครรภ์พระนางเวเทหิทรงแพ้พระครรภ์ใคร่เสวยพระโลหิตของพระสวามี โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย
     เมื่อพระโอรสประสูติแล้ว ทรงให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เจ้าชายน้อยก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์
     พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จเดินจงกรมยังชีพอยู่ในคุกได้ด้วยพุทธานุสสติคือ มองลอดช่องหน้าต่างทอดพระเนตรดูพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏพร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน
     เมื่อรู้ว่าเสด็จพ่อยังเดินอยู่ได้ กษัตริย์อกตัญญูก็สั่งให้เอามีดโกนเฉือนพระบาทเอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน พระเจ้าพิมพิสารทนทุกขเวทนาไม่ไหวก็สิ้นพระชนม์ ณ ที่คุมขังนั้นแล
     พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาหยั่งรากลงในแคว้นมคธและเจริญแพร่หลายชั่วระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงพระคุณของพระองค์ในข้อนี้







 


ประวัติและความเป็นมา(ประเพณีเดือน ๑๐)

ประเพณีสารทเดือนสิบ
      สารทเดือนสิบ หรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกกันว่าประเพณีทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือน
สิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือนสิบเพื่อเพื่อนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคทั้งขนมสำคัญห้าอย่างไปถวาย
พระ แล้วอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษของตน ชาวเมืองนี้ไม่ว่าจะไปอยู่ไกลเพียงใด เมื่อถึงช่วงทำบุญเดือนสิบ ก็จะกลับภูมิลำเนามาร่วมทำบุญ ด้วยความสำนึกกตัญญูที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจมาแต่เยาว์วัย
ประวัติความเป็นมา
     ประเพณีสารทเดือนสิบวิวัฒนาการมาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ ซึ่งลูกหลานจัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศ
ส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติ
ในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่าประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อ
บรรพบุรุษ นำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารท
เดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาล คาดว่าพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในนครศรีธรรมราช จึงรับประเพณีนี้มาด้วย
ความเชื่อ
     ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าบรรพบุรุษอันไดแก่ ปู่ย่าตายาย และญาติพี่น้องที่
ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรก
กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปีมายังชีพ
ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอ
ส่วนบุญจากลูกหลายญาติพี่น้องและจะกลับไปนรกในวันแรม ๑ ค่ำ เดืออนสิบ
     โอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไป
แล้ว เป็นการแสดงกตัญญูกตเวที
ระยะเวลา
     ระยะเวลาของการประกอบพิธีประเพณีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครนิยม
ทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ
พิธีกรรม
     การปฏิบัติพิธีกรรมการทำบุญสารทเดือนสอบมีสามขั้นตอน คือ
๑) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ
๒) การฉลองหมฺรับและการบังสกุล
๓) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
๑) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ 
     การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้จัดหมฺรับ เริ่มขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ วันนี้เรียกกันว่า "วันจ่าย" ตลาดต่างๆ จึงคึกคักและคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนชาวบ้านจะซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน
ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัเตรียมไว้สำหรับใส่หมฺรับ
และสำหรับนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ
  ๑.๑ การจัดหมัรบ
         การหมฺรับมักจะจัดเฉพาะครอบครัวหรือจัดรวมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหมฺรับใช้
กระบุง หรือ เข่งสานด้วยด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของหมฺรับ ปัจจุบัน
ใช้ภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ
         การจัดหมฺรับ คือการบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบ ฯลฯ ลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้
สำหรับงานนี้โดยเฉพา โดยจัดเป็นชั้นๆ ดังนี้
             ๑) ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้ง ลงไว้ที่ก้นภาชนะ ได้แก่ ข้าวสาร แล้วใส่พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุง
อาหารที่จำเป็น
             ๒) ขั้นที่สอง จัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ใส่ขึ้นมาจากชั้นแรก ได้แก่ มะพร้าว ขี้พร้า
หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ ข้าวโพด อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีในเวลานั้น
             ๓) ขั้นที่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ปูน ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน
            ๔) ขั้นบนสุด ใช้บรรจุและประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ เป็นสิ่งสำคัญของหมฺรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมบรรพบุรุษและ
ญาติที่ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจาก
๑.๓) การยกหมฺรับ
                วันแรม ๑๔ ค่ำ ชาวบ้านจะจำหมฺรับที่จัดเตรียมไว้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด โดยเลือวัดที่อยู่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม วันนี้เรียกว่า " วันยกหมฺรับ" การยกหมฺรับไปวัดเป็น
ขบวนแห่หรือไม่มีขบวนแห่ก็ได้ โดยนำหมฺรับและภัตตาหารไปถวายพระด้วย

๒) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล 
      วันแรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า "วันหลองหมฺรับ" มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสกุลการทำบุญวันนี้
เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้
กระทำพิธีกรรมในวันนี้บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เกิดทุขเวทนาด้วยความ
อดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูไป
๓) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
        เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้วก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า " ตั้งเปรต" เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้เป็นสาธารณะทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มี
ญาติหรือญาติได้มาร่วมทำบุญได้
        บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้นเพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า " หลาเปรต" (ศาลาเปรต) เมื่องตั้งขนม ผลไม้ และ
และเงินทำบุญเสร็จแล้วก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้วมาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ก็จะเก็บ
สายสิญจน์
      การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า "ชิงเปตร" ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกัน
เข้าไปแย่งขนมกันอย่างคึกคัก เพราะความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะ
ได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
      วัดบางแห่งสร้างหลาเปรตไว้สูง โดยมีเสาเพียงเสาเดียว เสานี้เกลาจนลื่นและชะโลมด้วยน้ำมัน เมื่อถึง
เวลาชิงเปรต เด็กๆ แย่งกันปีนขึ้นไป หลายคนตกลงมาเพราะเสาลื่น และอาจถูกคนอื่นดึงขาพลัดตกลงมา
กว่าจะมีผู้ชนะการปีนไปถึงหลาเปรต ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงมีทั้งความสนุกสนาน และความ
และความตื่นเต้น
แก่นแท้หรือสาระสำคัญ
       ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการคือ
       ๑) เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ โดยรำลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  ที่ได้เลี้ยงดูลูกหลานและให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เพื่อตอบแทนบุญคุณดังกล่าวลูกหลานจึงทำบุญ
อุทิศส่วนกุศลไปให้
      ๒) เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไหล ได้มาพบปะซักถามสารทุกข์สุกดิบต่อกัน และได้มีโอกาสทำบุญ
ร่วมกัน เป็นการสร้างความสนิทสนมกลมเกลียวในหมู่ญาติ สร้างความสบายใจที่ได้ทำบุญ
     ๓) เป็นการเก็บพืชผลของตนไปทำบุญถวายพระ เพราะชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มีอาชีพทาง
ทางการเกษตร ในช่วงปลายเดือนสิบเป็นระยะที่พืชพันธุ์ต่างๆ กำลังออกผล จึงได้เก็บพืชผลไปทำบุญอันเป็น
สิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
      ๔) เป็นการเก็บเสบียงอาหาร มีทั้งพืชผัก อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป จัดนำไปถวายในรูปหมฺรับหรือสำรับ เพือที่ทางวัดจะได้เก็บรักษาไว้เป็นเสียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน ทั้งนี้เพราะในภาคใต้ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นใน
ปลายเดือนสิบ ซึ่งพระภิกษุสงฆ์จะบิณฑบาตด้วยความยากลำบาก
      ๕) เป็นการจัดงานรื่นเริงสนุนสนานประจำปี งานรื่นเริงจัดขึ้นเพราะความภาคภูมิใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ที่ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับไป และเป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิต
ทางการเกษตรและชื่นชมในผลผลิตที่ได้รับได้ร่วมกันจัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองร่วมกัน งานเพื่อเฉลิม
ฉลองประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งนับเป็นงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้
และประเทศไทย













ประวัติประเพณีเดือน ๑๐ (ชาวภาคใต้)

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน
การจัดหฺมฺรับ
เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า วันหลองหฺมฺรับแต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ /หมะหรับ/ สำหรับการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเซี่ยนหมาก สุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง ( บางท่านบอกว่า 6 อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม 6 อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย
การยกหฺมฺรับ
ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหมฺรับ ต่างก็จะนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงาม เพราะถือเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ตนศรัทธา การยกหมฺรับไปวัดอาจต่างครอบครัวต่างไปหรืออาจจัดเป็นขบวนแห่ ทั้งนี้เพื่อต้องการความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ได้จัดให้มีขบวนแห่หมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบทุก ๆ ปี โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างส่งหฺมฺรับของตนเข้าร่วมขบวนแห่และร่วมการประกวด ซึ่งในช่วงเทศกาลนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชมากยิ่งขึ้น
เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน ตั้งเปรตเพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบันนิยมตั้งบน หลาเปรตโดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน ชิงเปรตโดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ







x