วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา

            ความเป็นมาของการอยู่จำพรรษาการอยู่จำพรรษาหรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า การเข้าพรรษา นั้น เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของภิกษุในพุทธศาสนา ได้ทำติดต่อกันมาตั้งแต่พุทธกาลจวบจนปัจจุบัน นับเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดโดยไม่ขาดสายได้อย่างอัศจรรย์เดิมทีเดียว เมื่อภิกษุยังมีจำนวนน้อยไม่มีการเข้าพรรษา เมื่อถึงฤดูฝนท่านหยุดจาริกของท่านเอง พ้นหน้าฝนแล้วออกจาริกสั่งสอนประชาชนต่อไป ต่อมาเมื่อภิกษุมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งเป็นธรรมเนียมให้มีการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝนคงจะด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น1.เพื่ออนุโลมตามธรรมเนียมของบ้านเมืองในสมัยนั้นเป็นธรรมเนียมของบ้านเมืองในครั้งโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนต้องงดการไปมาหาสู่ต่างเมืองชั่วคราว มีตัวอย่าง เช่น พ่อค้า สัตว์พาหนะ ถึงฤดูฝน ที่ใดต้องหยุดพัก ที่นั้น เป็นอย่างนี้เพราะทางเดินเป็นหล่มไปไม่สะดวก นอกจากนี้ยังจะถูกน้ำป่าหลากมาท่วมด้วย วินัย (วินัยมุขของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
2.เพื่อป้องกันการตำหนิติเตียนของชาวเมืองข้อนี้มีเรื่องเล่าไว้ในพระวินัยปิฎกมาหวรรควัสสูปนายิกขันธกะ (หมวดที่ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวนาราม นครราชคฤห์ ครั้งนั้นยังมิได้ทรงบัญญัติการอยู่จำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปต่ลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนว่าไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปเช่นนั้น เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสัตว์มีชีวิต เช่นสัตว์หรือแมลงเล็ก จำนวนมากให้วอดวายแม้พวกเดียรถีย์ปริพพาชกผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังรู้จักพักอาศัยอยู่ประจำที่ตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกยังรู้จักทำรังอยู่บนยอดไม้และพักอาศัยอยู่ตลอดฤดูฝนเหมือนกัน แต่เหตุไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้จึงยังท่องเที่ยวอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้จึงทรงบัญญัติธรรมเนียมการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝน ความจริงฤดูฝนมี 4 เดือน คือตั้งแต่กลางเดือน 8 ถึงกลางเดือน 12 แต่ออกพรรษา 1 เดือนก่อนสิ้นฤดูฝนเพื่อให้เตรียมตัวหาจีวรและบริขารอันจำเป็นอื่น ในการจาริกเพื่อสั่งสอนประชาชนต่อไป3.เพื่อถือเป็นโอกาสอันดีของภิกษุจะได้เก็บตัวปฏิบัติธรรมฝึกฝนอบรมจิตเติมพลังความรู้ความสามารถให้แก่ตัวเองเมื่อออกพรรษาแล้ว จะได้จาริกออกสั่งสอนประชาชนต่อไปด้วยความกระปรี้กระเปร่าเหมือนการปิดเทอมใหญ่ของโรงเรียนให้ครูได้พักผ่อนและเพิ่มเติมความรู้ พอเปิดเทอมใหม่ก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นวันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษามี 2 คราว คือคราวแรกกำหนดวันแรมค่ำ 1 เดือน 8 (อาสาฬหะ) เรียกวันเข้าพรรษาต้น (ปุริมิกา วัสสูปนายิกา) ถ้าพระรูปใดเข้าพรรษาต้นไม่ทันด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านอนุญาตให้เข้าพรรษาหลังได้ ถือไปเข้าพรรษาเอาแรม 1 ค่ำ เดือน 9 เรียก ปัจฉิมมิกา วัสสูปนายิกา แต่ถ้าถึงวันเข้าพรรษาแรกแล้วเที่ยวเตร่เสียไม่ยอมเข้าพรรษา ด้วยเห็นว่าเข้าพรรษาหลังก็มีอยู่ ค่อยเข้าพรรษาหลังก็ได้ ดังนี้ไม่สมควร ถ้าทำท่านปรับอาบัติทุกฎ (ทุกฎ แปลว่าทำไม่ดี ไม่ควร ไม่ถูกต้อง) จะไม่ยอมเข้าเลยก็ไม่ได้ปรับอาบัติทุกฎเหมือนกันข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า พระสงฆ์ไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ เช่น อังกฤษ หรืออเมริกาซึ่งฤดูฝนไม่ตรงกับทางบ้านเมืองเราน้นท่านควรเข้าพรรษาในเดือนใดจึงจะเหมาะ  ถ้าถือเอาวันแรมค่ำ 1 เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษาก็คงทำเพียงเพื่อรักษาธรรมเนียมเท่านั้น หาได้สำเร็จประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของการอยู่จำพรรษาก็เพื่อได้หยุดจาริกในฤดูฝน ถ้าท่านจำพรรษาในฤดูฝนของประเทศนั้น ก็เรียกว่าได้ทำตามจุดมุ่งหมาย แต่อาจขัดกับธรรมเนียมที่เคยประพฤติมา ไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เคร่งในธรรมเนียมก็ได้ ทำนองเดียวกับความเชื่อและความปลงใจเห็นว่าเมื่อพระขึ้นเทศน์บนธรรมาสน์จะต้องถือคัมภีร์  พระสมัยก่อนเมื่อท่านเทศน์บนธรรมาสน์ท่านอ่านข้อความในคัมภีร์ใบลาน ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นคัมภีร์กระดาษพับอย่างเดียวกับคัมภีร์ใบลาน เรียกว่า ถือคัมภีร์และได้ใช้ประโยชน์ของคัมภีร์นั้น แต่เห็นพระสมัยนี้นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ปุจฉาวิสัชนา 2 ธรรมาสน์ ท่านไม่ต้องดูคัมภีร์ แต่ถือคัมภีร์ไว้ในมือหรือวางไว้บนตัก เรียกว่าถือคัมภีร์พอเป็นธรรมเนียมเท่านั้นเอง ไม่มีประโยชน์อะไรอย่างอื่นเรื่องของศาสนานั้น บางอย่างปฏิบัติกันไปตามธรรมเนียมโดยไม่คำนึงถึงสาระหรือจุดมุ่งหมาย บางอย่างถ้าต้องการให้ได้สาระก็ต้องทิ้งธรรมเนียมที่เคยทำกันมาบ้าง บางอย่างธรรมเนียมกับสาระสอดคลอ้งกันดีก็น่าจะรักษาไว้ให้ยั่งยืนต่อไป  ทำนองคนจะกินพุทรา มังคุด หรือ เงาะทั้งเปลือกก็ดูจะไม่สมควร เรียกว่าไม่รู้จักกินผลไม้ธุรกิจที่ทรงผ่อนผันให้ไปแรมคืนได้ในพรรษาภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกุฏิใดในวัดใดอันเหมาะสมที่จะอยู่ได้ตลอด 3 เดือนแล้วท่านไม่ให้ไปแรมคืนที่อื่นนอกจากมีธุระจำเป็นจริง ก็ไปได้ และไปแรมคืนได้อย่างมากเพียง 7 วัน ถ้าเกิน 7 วันพรรษาขาด ครบ 5 วันหรือ 6 วัน แล้วรีบกลับมานอนในวัดหรือในกุฏิที่เข้าพรรษาเดิมเสียก่อน วันต่อไปอาจไปได้อีก การไปแรมคืนที่อื่นในลักษณะนี้ท่านเรียกว่า สัตตาหกรณียะ (กรณียกิจที่จะพึงทำได้ภายใน 7 วัน)
ธุรกิจอันเป็นเหตุให้ทำสัตตาหะได้นั้นมีหลายอย่างเช่น1.ผู้มีศรัทธาต้องการทำบุญส่งคนมานิมนต์ไปฉลองศรัทธาของเขาได้ข้อนี้มีเรื่องอันเป็นปฐมเหตุเล่าไว้ในวินัยปิฎกว่าอุบาสกคนหนึ่งชื่ออุเทน สร้างที่อยู่อุทิศสงฆ์ให้มารับที่อยู่และเขาปรารถนาจะถวายทานฟังธรรม ปรารถนาพบเห็นภิกษุทั้งหลาย แต่ภิกษุทั้งหลายตอบไปกับทูตว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติให้เข้าพรรษา 3 เดือน เพราะฉะนั้นรับนิมนต์ไม่ได้ อุบาสกอุเทนติเตียนว่าเหตุไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉลองศรัทธาในเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้วทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยวิธีสัตตาหกรณียะ2.มารดาบิดาหรือสหธรรมมิก (เพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน เช่น ภิกษุ) ป่วยไข้ ไปเพื่อรักษาพยาบาลได้3.สหธรรมมิกสันใคร่จะสึก ไปเพื่อระงับความคิดอย่างนั้นเสียก็ได้4.สถานที่อยู่ เสนาสนะของสงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งชำรุดทรุดโทรม ตนเป็นผู้ฉลาดสามารถในการซ่อมแซม ไปเพื่อซ่อมแซมก็ได้5.แม้ธุระอื่น อันสมควร เป็นงานพระศานา หรือเรื่องอันเกี่ยวกับการประพฤติธรรม ก็ทรงอนุญาตให้สัตตาหกรณียะไปได้อันตรายของการอยู่จำพรรษาขณะอยู่จำพรรษาถ้ามีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น จะอยู่ต่อไปไม่ได้ทรงอนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ พรรษาขาด แต่ไม่ปรับอาบัติ อันตรายอันพอถือเป็นเหตุให้หลีกไปได้ท่านแสดงไว้ดังนี้1.ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปีศาจเบียดเบียน2.เสนาสนะถูกน้ำท่วมหรือไฟไหม้3.อุทกภัยหรืออัคคีภัยเกิดขึ้นแก่ชาวบ้านอันภิกษุอาศัยที่บิณฑบาต พวกเขาอพยพไป ภิกษุจะตามเขาไปก็ได้ แต่ทรงอนุญาตให้ตามไปในกรณีที่ชาวบ้าน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น