วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปวิชาพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม

สรุปวิชา ศึกษางานสำคัญทางพระพุทธศาสนา  สอนโดย  อ.ดร.อุทัย เอกสะพัง
เรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม
กลุ่มที่ ๕

อาณาเขตของประเทศเวียดนาม
                ทิศเหนือ  ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
                ทิศใต้     ติดกับอ่าวไทยและทะเลจีนใต้
                ทิศตะวันออก  ติดกับทะเลจีนใต้
                ทิศตะวันตก   ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและ ติดกับราชอาณาจักร กัมพูชา

ประกรของประเทศเวียดนาม
              มีจำนวน ๘๔.๒๓ ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย   ๒๕๓ คน : ตารางกิโลเมตร เวียดนาม ๘๐เขมร ๑๐ %
           บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ      ต่าย .ไท .๗๔เหมื่อง .๔๙% ฮั้ว (จีน)  .๑๓นุง.๑๒ม้ง .๐๓%

ดินแดนประเทศเวียดนามในปัจจุบัน             
                                แบ่งออกเป็น ๓ อาณาเขต คือ ตังเกี๋ย) ได้แก่ แถบลุ่มแม่น้ำแดง อานัม) ได้แก่ แผ่นดินแคบยาวตามทอดชายฝั่งทะเล ที่อยู่ตอนกลางระหว่างตังเกี๋ยกับโคชินจีน และโคชินจีน ได้แก่แผ่นดินส่วนล่างทั้งหมด ปัจจุบันนี้ อานัมภาคใต้ เป็น        อาณาจักรจัมปา ส่วนโคชินจีนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน อาณาจักรอานัม มีอารยธรรมสืบสายมาจากจีน ส่วนจัมปากับฟูนันมีอารยธรรมที่สืบสายมาจากอินเดีย

ลักษณะโครงสร้างของประเทศเวียดนาม                  
                มีลักษณะคล้ายตัว “s” ขนาดใหญ่ที่ยาวเหยียด โดยกินบริเวณไปตาม ความยาว ของคาบสมุทรอินโดจีน ตลอดแนวพรมแดนมีความยาว ๓,๗๓๐ กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ ๓ ใน ๔ ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ บริเวณแผ่นดินทั้งหมดของเวียดนามมีพื้นที่ราว ๓๒๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร 



ลักษณะภูมิประเทศของเวียดนาม  
                มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ๒ ตอน คือ ตอนเหนือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม แม่น้ำโขง
                มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มี เขาฟานซีปัง ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง ๓,๑๔๓ เมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดเล่าไค  เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน

ลักษณะภูมิอากาศของเวียดนาม                             
                เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่ง รับ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มี โอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน  จึงมีฝนตกชุกในฤดู หนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ ๒ ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับ อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
                เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ ๘๔ % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก ๑๒๐ ถึง ๓๐๐ เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ ๕ °C ถึง ๓๗ °C

วัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม
                เวียดนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๔๓๒ เวียดนามได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหารการกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความหลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของเวียดนาม 
                เมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียดนามก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียดนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น

การนับถือศาสนาของประเทศเวียดนาม
                เวียดนามไม่มีศาสนาประจำชาติ โดยรัฐธรรมนูญให้อิสระในการเลือกนับถือศาสนา โดยปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ ๗ เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก ๓ เปอร์เซ็นต์ 

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู้ประเทศเวียดนาม 
               เวียดนามได้รับพระพุทธศาสนามาจากอินเดีย ผ่านเส้นทางการค้าทางทะเล และจากจีน เนื่องจากจีนเคยปกครองเวียดนามอยู่หลายร้อยปี โดยในพุทธศตวรรษที่ ๘ พระมหาชีวกะ ชาวอินเดีย และ พระขวองตังหอย (หรือ กังเซงโฮย) ได้เดินทางเข้ามาประกาศพระพุทธศาสนา ต่อมา พระฉิโจงโหลง (หรือ พระกัลยาณรุจิ) ก็เดินทางไปจีน แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนา แล้วจึงกลับเวียดนาม
                พ.ศ. ๒๕๔๖ เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีการควบคุมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยึดคัมภีร์ไปเผาทำลาย การรวมตัวของพุทธศาสนิกชนเพื่อประกอบพิธีจะต้องได้รับการอนุญาตจากทางการฝรั่งเศสก่อน ความเชื่อเรื่องผีสาง และลัทธิต่างๆ ก็เข้ามาในพระพุทธศาสนา เช่น หว่าเหา และเกาได๋
                พระพุทธศาสนา ได้รับผลกระทบจากสภาพความวุ่นวายทางการเมืองและสงครามเรื่อยมา สถาบันศาสนาก็ถูกรังแกอย่างไม่เป็นธรรม จนเป็นเหตุของการสร้างความตกตะลึงให้ชาวโลก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ มีพระภิกษุและแม่ชีในเวียดนาม เผาตัวเองประท้วงฝ่ายปกครอง
                กระทั่ง สภาวะทางการเมืองเริ่มสงบลง รัฐบาลลดการจำกัดสิทธิการนับถือศาสนาลงไปบ้าง ชาวพุทธจึงพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ จนมีอยู่หลากหลายนิกายในปัจจุบัน แต่ไม่ว่าจะเป็น พุทธบุตรหรือศาสนิก ของนิกายใด ศาสนาใด ต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นกับบ้านเกิดเมืองนอนของตน และด้วยความรักที่มีให้กันและกันอย่างแท้จริง

พระสงฆ์ชาวเวียดนามที่มีอิทธิพลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา     

ประวัติพระติช นัท ฮันห์
                ติช นัท ฮันห์ กำเนิดในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า   "ติช นัท ฮันห์" เป็นฉายา เมื่อท่านได้รับ การอุปสมบทแล้ว คำว่า "ติช" 
                ในเวียดนามใช้เรียกพระ มี ความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง"   หมู่ศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า "ท่านอาจารย์" 
                พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่ วัดตื่อฮิ้ว  วิถีชีวิต ในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้ การมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้น จนกว่าจะเข้าใจ "การนำ              สารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน" เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึงอากัปกิริยาของพระฝึกหัด จะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับ สัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน 
                พ.ศ. ๒๔๙๒ ติช นัท ฮันห์  ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๓ ท่านได้เดินทางไป ไซ่ง่อน  เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธ และจากรัฐบาล ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมื่อท่านได้รับการเสนอทุนจาก มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน  เพื่อ ศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น ๑ ปี
                ได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความ ร่วมมือ ระหว่างพุทธมหายานและหินยานในประเทศ และตั้ง รร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการ สงฆ์ ด้วยการสอนและเขียน ในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน และจัดตั้ง คณะเทียบหิน ในปี ๒๕๐๙
                ติช นัท ฮันห์ เป็นหนึ่งในบุคคล ผู้ริเริ่ม นำพุทธศาสนา ออกมาสัมพันธ์กับโลกสมัยใหม่ อย่างมีพลัง ในยามที่บ้านเมือง เกิดศึกสงคราม ท่านเห็นว่าจุดยืนของพุทธศาสนา มิได้อยู่ที่ การสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่จับอาวุธห้ำหั่นกัน หากอยู่ที่ การเสนอทางออกอย่างสันติ
                เสน่ห์แห่งคำสอนของ ติช นัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล ๕ ในขอบเขตแคบ ๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล ๕ ให้มีความหมาย กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะกับ สังคมสมัยใหม่
                ด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือการเจริญสติ เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่ การรู้กายและใจ ของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึง ความทุกข์ยากของผู้คนด้วย แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่น ท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ 
                ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือ ไปพ้นจากความหลง แห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่างๆ แยกออกเป็นขั้วๆ ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้น แท้จริงเป็นอีกด้านของ เหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แยกจากกัน คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน
                นอกจากองค์ ทะไลลามะ แล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็วๆ นี้ ยกย่อง ให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก หนังสือหลายเล่มของท่าน ติดอันดับ หนังสือขายดี ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยาย จะมีผู้ฟังแน่นขนัด แม้ต้อง เสียค่าผ่านประตูก็ตาม

พระพุทธศาสนาในปัจจุบันของประเทศเวียดนาม               
                 ในปัจจุบันนี้ ประเทศเวียดนามนับถือพระพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า และ ขงจื้อ เป็นการนับถือผสมผสาน โดยเฉพาะทางด้านหลักธรรมคำสอน จะปฏิบัติตามคำสอนของทั้ง ๓ ศาสนา         ทางด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาได้มีการเปิดสอนพระพุทธศาสนาขึ้น โดยมหาวิทยาลัย วันฮันห์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา 
          โดยการจัดตั้งขึ้นของสหพุทธจักรเวียดนาม และได้รับการรับรองจากรัฐบาลเวียดนาม เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๐๗ ในปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยฮันห์ ทำการเปิดสอน ๔ คณะคือ               คณะพุทธศาสตร์ และบูรพาวิทยา คณะอักษรศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะภาษาศาสตร์ เฉพาะคณะพุทธศาสตร์และบูรพาวิทยา แบ่งออกเป็น ๙ ภาควิชา คือ ภาควิชาพุทธปรัชญา วรรณคดีพุทธศาสนา พุทธศาสนประวัติ พุทธศาสนาทั่วไป พุทธศาสนาในเวียดนาม ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาอินเดีย ปรัชญาจีน และปรัชญาตะวันตก

บทสรุป
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อประเทศเวียดนาม
๑.อิทธิพลทางสังคม
                ๑.๑ วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นที่พึ่งของชุมชน เช่น ศาลเจดีย์ หรือโรงเจดีย์ หรือหอเจดีย์ ที่เรียกว่า จัว  เป็นที่บูชาเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา และเป็นที่ประกอบพิธีบูชา หรืองานเทศกาลทางพระพุทธศาสนา เช่น พิธี ๑ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และงานศราทธ์กลางเดือน ๗ เป็นต้น
          ๑.๒ วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
            วัดเป็นสถานที่รวมแหล่งทางการศึกษาแห่งชนชั้นทุกระดับ และยังเป็นสถานที่ชุมนุมของชาวพุทธในการพบปะปรึกษาหารือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านศาสนาและทั้งในด้านการเมือง โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำประชาชน และมีส่วนร่วมในการกอบกู้เอกราช อีกทั้งการฟื้นฟูพระศาสนา
          ๑.๓ พระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
            พระสงฆ์ถือว่ามีบทบาทต่อสังคมและความเป็นอยู่ เพราะการที่ประเทศเกิดความไม่สงบ และถูกรุกรานจากข้าศึก ประชาชนขาดที่พึ่ง และยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงต้องอาศัยวัด และมีพระสงฆ์ ซึ่งสามารถให้ความอบอุ่นใจ และกำลังใจ และยังเป็นผู้นำประชาชนในการต่อสู้กอบกู้เอกราช อยู่เคียงข้างกับประชาชน

๒.อิทธิพลทางด้านการเมือง
             ๒.๑ ในระบบการปกครองประเทศชาติ
                  มีการเอาศาสนธรรมมาเป็นหลัก ในการออกกฎหมายต่าง ๆ ของบ้านเมือง และในการนี้ พระสงฆ์ก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดไม่ว่าจะเป็นทางด้านศาสนา การศึกษา การเมือง และสังคม ผู้นำที่เข้าถึงพุทธศาสนาทุกระดับ จะได้รับการยอมรับเลื่อมใส ศรัทธา จากสังคมเป็นอย่างมากกว่าศาสนาอื่น ๆ
          ๒.๒ พระสงฆ์มีส่วนร่วม ในการต่อสู้กับการเมือง
          ในสมัยรัฐบาลของ โงดิน เดียม พระพุทธศาสนาถูกกดขี่ ย่ำยี จากฝ่ายรัฐบาลที่นับถือคริสต์ศาสนา เป็นการทำลายความรู้สึกของพุทธศาสนิกชนอย่างมาก ทำให้มีการเดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาล โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำมวลชน พระ ภิกษุถิช กวางดึ๊ก ได้เผาตนเองเพื่อประท้วงรัฐบาลซึ่งก่อความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธเวียดนามไปทั่วประเทศ
          ๒.๓ พระสงฆ์กับผลกระทบทางการเมือง
               ในยุคของนายพล เหงียนเกากี ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ได้รับการต่อต้านจากชาวพุทธหัวรุนแรงอยู่ตลอด มีพระสงฆ์เป็นผู้นำในการต่อสู้ ระดมมวลชนเดินขบวนไปตามท้องถนนเป็นยุค ที่เรียกว่า ยุคหลวงพี่ระดมพลกลางท้องถนน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ว่ายังเป็นพลังอำนาจอันสำคัญยิ่งใหญ่ที่ฝ่ายชาวบ้านเมืองยังต้องใส่ใจ หรือต้องพึ่งพาอาศัยเช่นกัน
          ๒.๔ เหตุแห่งความพ่ายแพ้ทางการเมืองของพระสงฆ์
                     พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้นำของชาวพุทธมีจุดอ่อนสำคัญ คือ ความไม่พร้อมที่เข้าสวมบทบาทรับภาระหน้าที่ที่มาถึงได้ เพราะขาดพื้นฐานการศึกษา และ เพราะตลอดเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี ที่ฝรั่งเศสยึดครองอำนาจในเวียดนาม ประชาชนทั่วไปถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้รับการศึกษา
          พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำชาวพุทธล้วนมาจากตระกูลชาวไร่ชาวนา แม้จะได้รับการศึกษาเล่าเรียนอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงความรู้แบบเก่า ๆ ที่สืบสานมาตามประเพณี น้อยองค์นักที่จะพูดภาษาฝรั่งเศส อังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ได้ในวงการเมืองถือว่า                พระสงฆ์เป็นกลุ่มชนผู้ด้อย หรือไร้การศึกษา มีลักษณะเด่นคือ กลัว และ ดูถูกวัฒนธรรมจากภายนอก แต่มีกำลังอิทธิพลอยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป
          ๒.๕ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพระสงฆ์
                  ในสมัยนายพล เหงียน คานห์ ขึ้นครองอำนาจแทนนายพล เดือง วัน มินห์ พระสงฆ์ ที่เป็นผู้นำชาวพุทธก็ร่วมกันสนับสนุน ขบวนการต่าง ๆ เช่นองค์การเยาวชนที่เป็นฐานกำลัง พร้อมที่จะปฏิบัติการตามคำสั่งก็มีมาก ผู้นำในวงการภายนอกก็หันมาสนใจ
          รัฐบาลที่เข้ามาใหม่ก็ต้องเอาใจ พระสามารถพูดเสียงดังเข้าไปถึงกลางเวทีการเมือง คือต้องการให้คณะสงฆ์ มีเสียงในรัฐบาล หรือว่ารัฐบาลต้องรับฟังคณะสงฆ์ ต้องการให้คนที่คณะสงฆ์เลือก หรือเห็นเหมาะสมเข้าไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ต้องการให้รัฐอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามากขึ้น และต้องการให้เยาวชนชาวพุทธมีสิทธิ มีส่วนในชะตากรรมของสังคมเวียดนามมากขึ้น




๓.อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ
             ๓.๑ เศรษฐกิจของเวียดนาม
                   มีลักษณะใกล้เคียงกับเศรษฐกิจของไทย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวนา ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในด้านเศรษฐกิจการปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คำสอนเกี่ยวกับการเลี้ยงชีวิตโดยธรรม ปราศจากการทุจริต โกง ปล้นจี้ เป็นต้น ล้วนมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของผู้คน
          ๓.๒ พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมแห่งเศรษฐกิจ
                     จะสังเกตเห็นได้ว่า บรรดาองค์กรต่าง ๆ ของคฤหัสถ์เกิดขึ้นด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น เช่น องค์กรการกรรมกรชาวพุทธ องค์การพ่อค้าย่อยชาวพุทธ สหพันธ์ลูกจ้าง และข้าราชการชาวพุทธ สมาคมครูชาวพุทธ สมาคมผู้ขับรถรับจ้างโดยสารชาวพุทธ พุทธิกสตรีชาวพุทธ สมาคมเภสัชกรชาวพุทธ สมาคมนักเขียนและจิตรกรชาวพุทธ เป็นต้น องค์การเหล่านี้ถือว่า เป็นแหล่งสำคัญของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างมาก
         
_____________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น