บทที่ ๑
ภูมิศาสตร์ของประเทศเวียดนาม
๑. แผนที่และที่ตั้งของประเทศเวียดนาม
ดินแดนประเทศเวียดนามในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๓ อาณาเขต คือ ตังเกี๋ย (Tong king) ได้แก่ แถบลุ่มแม่น้ำแดง อานัม (Annam ) ได้แก่ แผ่นดินแคบยาวตามทอดชายฝั่งทะเลนั้นซึ่งมีที่อยู่ตอนกลางระหว่างตังเกี๋ยกับโคชินจีน และโคชินจีนนั้น (Cochin China ) ได้แก่แผ่นดินส่วนล่างทั้งหมด ปัจจุบันนี้ อานัมภาคใต้ เป็นอาณาจักรจัมปา ส่วนโคชินจีนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน อาณาจักรอานัม มีอารยธรรมสืบสายมาจากจีน ส่วนจัมปากับฟูนันมีอารยธรรมที่สืบสายมาจากอินเดีย
อาณาจักรอานัมมีอายุเกือบ ๓ พันปี แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๓๐๐ ได้จัดตั้งเป็นอาณาจักรเวียดนาม๑ (เวียดนาม แปลว่า อาณาจักรฝ่ายทักษิณ) ต่อมาอาณาจักรเวียดนาม ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ใน พ.ศ. ๔๓๓ เป็นเวลานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ในระยะนี้ เรียกประเทศเวียดนามว่า อานัม แปลว่า ปักษ์ใต้ที่สงบ จากการตกเป็นเมืองขึ้นของจีน จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนแทบทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๒ เวียดนามได้ทำการกอบกู้เอกราชจากจีนได้สำเร็จ ได้ประกาศอิสรภาพจากจีน ต่อมาอาณาจักรเวียดนามได้แผ่อำนาจมาทางใต้สามารถเข้ายึดครองนครจัมปาได้ในที่สุด
ประเทศเวียดนามนั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการ คือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามซึ่งเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือติด ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ยทะเลจีนใต้ และทางทิศตะวันออก
เนื้อที่ทั้งหมด ๔,๖๓๘ km (๒,๘๘๓ mi) โดยติดกับประเทศกัมพูชา ๑,๒๒๘ km (๗๖๓ mi) ประเทศจีน ๑,๒๘๑ km (๗๙๖ mi) และ ประเทศลาว ๒,๑๓๐ km (๑,๓๒๔ mi) ทั้งหมดนี้เป็นประเทศเพื่อนบ้านของประชากรชาวเวียดนาม ที่ปรากฏเป็นหลักฐาน สามาราถมองเห็นได้ด้วยการเทียบเคียงกับแผนที่ของประเทศใกล้เคียง สิ่งที่สำคัญนั้นการที่จะรู้จุดใดของแต่ละประเทศมีส่วนทำให้เกิดความรู้ที่เพิ่มเติมมากขึ้น สามรถที่จะเจาะลึกไปถึงเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างมากมาย เช่น เรื่องของ การค้าขายระหว่างประเทศ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ในทางการเมืองด้วยที่จะใช้เป็นเครื่องมือประกอบธุรกิจ หรือ การทำอาชีพค้าขายกับต่างประเทศ
อาณาเขตของประเทศเวียดนาม
ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทยและทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้
ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและ ติดกับราชอาณาจักรของ กัมพูชา
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทยและทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้
ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและ ติดกับราชอาณาจักรของ กัมพูชา
ประเทศเวียดนามมีลักษณะคล้ายตัว “s” ขนาดใหญ่ที่ยาวเหยียด โดยกินบริเวณไปตาม ความยาว ของคาบสมุทรอินโดจีน ตลอดแนวพรมแดนมีความยาว ๓,๗๓๐ กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ ๓ ใน ๔ ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ บริเวณแผ่นดินทั้งหมดของเวียดนามมีพื้นที่ราว ๓๒๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร นอกจาก นั้นอาณาเขตของประเทศยังรวมไปถึงพื้นที่ในทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ว่าจะเป็นไหล่ทวีปขนาดใหญ่ หรือหมู่เกาะ นับพันที่วางทอดยาวจากอ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทยซึ่งมี บริเวณที่กว้างที่สุดของประเทศอยู่ทางภาคเหนือมีระยะทาง ๖๐๐ กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดระยะ ทาง ๕๐ กิโลเมตร
แผนที่ของประเทศเวียดนาม๒
๒. ประกรของประเทศเวียดนาม
มีจำนวน ๘๔.๒๓ ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย ๒๕๓ คน ต่อตารางกิโลเมตร
เวียดนาม ๘๐% เขมร ๑๐ % ซึ่งทั้งหมดนี้เป็น (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ๑.๙% ไท ๑.๗๔% เหมื่อง ๑.๔๙% ฮั้ว (จีน) ๑.๑๓% นุง๑.๑๒% ม้ง ๑.๐๓%
จากการสำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ประเทศเวียดนามมีประชากรถึง ๘๐% ที่ถือว่าตนเองไม่มีศาสนา ที่เหลือนั้นนับถือ ลัทธิขงจื้อ เต๋า พุทธมหายาน โรมันคาทอลิก โปรแตสเตนท์ และ อื่นๆ แต่ก็มีชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นชาวจาม
การสื่อสารใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน(Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
๓. เขตการปกครองและเศรษฐกิจ
สาธารณรัฐเวียดนามแบ่งออกเป็น ๕๓ เขตการปกครอง มีเมืองใหญ่ ๓ เมือง คือฮานอย กรุงโฮจิมินห์ และไฮฟอง และ ๕๐ มณฑล และภาษาเวียดนามขึ้นชื่อว่าเป็นภาษาที่ยากเป็นภาษาที่ใช้ อยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติกและยัง ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนและธิเบต ชาว เวียดนาม ประดิษฐ์อักษร ของตัวเองขึ้นมาโดยอาศัย แบบอย่างมาจากจีนแต่ได้ปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับ ภาษาที่ตัวเองต้องการเรียกว่า“โนมจน”ต่อมา บาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้แปลภาษา ให้เป็นแบบโรมัน เรียกว่า “กว๊อก หงือ”ปัจจุบันวัยรุ่นหนุ่มสาวเวียดนามหันมาพูดภาษาอังกฤษกันมากขึ้นส่วนภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มักจะใช้ในหมู่ผู้สูงอายุเท่านั้น
ทางด้านเกษตรกรรม มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ยาสูบ ชา กาแฟ พริกไทย และสินค้าต่างๆแต่ทางการประมง เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า และ การทำเหมืองแร่ ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตเลียม และก๊าซธรรมชาติ
ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ และลงมา คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน สิงคโปร์ เยอรมนี และอังกฤษ เกษตรกรรมมีผลผลิตได้แก่ ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย และ (๒๐๐๖ ส่งออกกว่า ๑๑๖,๐๐๐ ตัน ) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ ๔ ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่ โฮจิมินห์ซิตี และมีนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ ๓ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถัดจากอินโดนีเซียกับมาเลเซีย
มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนาน ประเทศจีน มีตั้งแต่กันยายนปี ๒๐๐๔ เป็นต้นไปนั้น
แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากประเทศกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี ๑๙๙๑
๔. ลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศที่มีความยาว ๑,๖๕๐ กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้และภูมิอากาศมรสุมเขต ร้อน ทำให้อุณหภูมิและอัตราฝนตกแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิและอัตราฝนตกแตกต่างกัน ไปตามแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิในภาคเหนืออาจลงต่ำถึง ๑๐ องศา และมีลมหนาวจัด ภาคต้นร้อนตลอดทั้งปี และมีสภาวะ อากาศแบบมรสุม ภาคเหนือมี ๒ ฤดู คือฤดูหนาวและฤดูร้อน ฤดูเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนชื้นมีฝนตกมาก ฤดูหนาวปกติจะแห้งและหนาวจัด ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีฝนตกประปราย ภาคกลางจากดานัง ถึงยาตรังมีลักษณะอากาศที่แตกต่างออกไปเนื่องจากมีมรสุม ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนกันยายน มีฝนตกตั้งแต่เดือน ตุลาคมจนถึงกลางเดือนมกราคม ภาคใต้มี ๒ ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ฝนจะเริ่มตกเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน ระหว่างนี้ จะมีฝนตกหนักราววันละ ๒๐ หรือ ๓๐ นาที ตอนบ่ายหรือตอนเย็น ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลาย เดือนเมษายนอากาศร้อนจัด อุณหภูมิ ๓๐ องศากว่าต้นๆ มีอัตราความชื้นสูง ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคมถึงเดือนเมษายนเป็นแบบมรสุมเขตร้อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนจึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ ๒ ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
ประเทศเวียดนาม เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ ๘๔ % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก ๑๒๐ ถึง ๓๐๐เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ ๕ °C ถึง ๓๗ °C ดังนั้นลักษณะสำคัญทางภูมิอากาศนั้นจึง มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตของชาวเวียดนาม ที่ต้องรับสภาพนี้ให้ได้ แต่ลักษณะนั้นไม่มีส่วนกระทบมากเท่าไหร่ ทั้งนี้เป็นเพราะการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งสภาพทางภูมิอากาศปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งนี้เป็นสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ เป็นเพราะต้นไม้ถูกทำลายไปอย่างมากทีเดียว ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการบ้าง หรือปัญหาทางประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ๒ ตอน คือ ตอนเหนือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และ ตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม แม่น้ำโขง
ซึ่งมีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มี เขาฟานซีปัง ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง ๓,๑๔๓ เมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดเล่าไค เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน
เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาวด้วยและทั้งมีภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบเพียงแค่ ๒๐% เวียดนามเป็นหนึ่งในสิบหกประเทศทั่วโลก ที่มีความหลากหลายทั้งทางชีวภาพสูงสุดโดยมีพันธุ์ไม้ ๑๓,๐๐๐ ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า ๑๕,๐๐๐ ชนิด
สรุปความได้ว่า ดินแดนของประเทศเวียดนามนั้นมาถึงทุกวันนี้ จัมปา คืออาณาจักร ของพวกจาม ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นชนชาติอินโดนีเซียพวกหนึ่ง เป็นชาวทะเล ชอบในทางการเดินเรือค้าขาย ทำการประมงและเป็นโจรสลัด มีการพูดภาษาจาม ซึ่งเขียนด้วยอักษรอินเดียแต่ภาษาในวรรณคดีนั้นใช้ภาษาสันสฤต มีวัฒนธรรมคล้ายกับแคว้นฟูนัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียเช่นเดียวกัน เขตแดนของอาณาจักรจัมปานั้นกำหนดคร่าวๆ ตั้งแต่เมืองดานัง หรือ ตูเรน อยู่ใต้เมืองเว้ลงไปเล็กน้อย ลงไปถึงอ่าวคัมรันห์ และลึกเข้าไปในแผ่นดิน เมืองสตรึงเตรงในประเทศของกัมพูชาในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อาณาเขตนี้ไม่ตายตัว เช่นเมื่อตอนสิ้นราชวงศ์ถังใน พ.ศ.๑๔๕๐ มีเขตแดนทางเหนือ หรือเส้นขนานที่ ๑๘ แต่ในสมัยหลังค่อยๆ หดลงมาจากทางเหนือมาตามลำดับจนสิ้นแผ่นดินของตน อาณาจักรจัมปาประกอบด้วยแคว้นสำคัญ ๔ แคว้นคือ อมราวดีซึ่งตรงกับเมืองกวางนามในปัจจุบันเมือง วิชัยซึ่งตรงกับ เมืองบินห์ดินห์ในปัจจุบัน เมืองเกาฐระซึ่งตรงกับเมืองนาตรังในปัจจุบันเป็น เมืองปัณฑุรังคะซึ่งตรงกับ เมืองฟารังในปัจจุบัน และเมืองเกาฐระและปัณฑุรังคะเคยเป็นดินแดนของฟูนันมาก่อน และกลายเป็นของจัมปา เมื่อครั้งอาณาจักรจัมปาได้เสียแก่เจนละ (กัมพูชา) ในราว พ.ศ. ๑๑๐๐ ดินแดนฟูนันที่เหลือจากนี้รวมทั้งโคชินประเทศจีนตอนล่างนั้นลงไป จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชาสมัยโบราณ
บทที่ ๒
ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเวียดนาม
๑. ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ยุคเก่า
อารยะธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนาม๓มีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยะธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริดและชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่าของชาวมองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่า อาณาจักรวันลางมีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปี เรียกซึ่งรวมเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์เวียดนาม เริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังชน เผ่าถุกจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกราน และยึดครองดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซ๊ซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิหนึ่งเดียวและ ได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมดจึงทำ ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือนามเหวียด ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นนั้นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. ๕๘๕ และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่าเจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่างๆซึ่ง ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้ง เช่นวีรสตรีในนาม ฮายบา จึงได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน แต่ปราชัยในอีก ๓ ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน
นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด
การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนาม ตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู้เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนของอินเดีย เพราะพระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้
พ.ศ. ๑๔๙๘-๑๕๑๐ ราชวงศ์โงหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงมีการก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต อาณาจักรแตกจึงแยกออกเป็น ๑๒ แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นต่อกัน
พ.ศ. ๑๕๑๑-๑๕๒๓ราชวงศ์ดิงห์ขุนศึกดิงห์โบะหลิง แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าด้วยกัน เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๑๕๒๔-๑๕๕๒ ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุค แรกมเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์ สถาปนาพระสวามีใหม่ ขุนศึกเลหว่าน เป็นจักรพรรดิ เลด่ายแห่งซึ่งพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์ กับราชวงศ์ซ่งของจีน และปราบปรามกบฏภายในแต่ไม่รอดพ้นการรัฐประหารและ สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก
๒. ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ยุคใหม่
พ.ศ. ๑๕๕๒-๑๗๖๘ ซึ่งมีราชวงศ์หลีกงอ่วนมีอำนาจมากในราชสำนักฮวาลือ เมื่อขึ้นครองราชย์ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่ ทังลอง (ฮานอย) ทรงสร้างวัดขึ้น ๑๕๐ แห่ง ในปี ๑๐๗๐ นำระบบการสอบจอหงวนมาใช้ ก่อตั้งมหาวิทยาลัย วันเหมียว ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีขงจื้อ เพื่อสอบเข้ารับราชการในระบบจอหงวน แต่ขุนนางยังมีจำนวนน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายผู้มีอิทธิพลในหัวเมือง ต่อมาทรงพระนามว่า หลีไถโต๋ สมัยหลีเป็นสมัยที่พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองและสังคมมาก ที่ปรึกษาราชการในบางสมัยเป็นพระสงฆ์ จักรพรรดิราชวงศ์หลีช่วงหลังสร้างวัดขนาดใหญ่ขุ้นหลายแห่ง และสละราชสมบัติออกผนวช เป็นสาเหตุให้การบริหารราชการเริ่มตกอยู่ในอำนาจของเครือญาติพระชายามาจากตระกูลที่มั่งคั่งในหัวเมืองซึ่งเป็น ผู้ปกครององค์สุดท้ายเป็นเด็กหญิงที่ได้รับการตั้งเป็นจักรพรรดินี พระนามว่าหลีเจี่ยว การบริหารราชการตกอยู่ในอำนาจของญาติวงศ์พระชนนีซึ่งเป็นขุนศึกมีกองกำลังทหารอยู่ในมือ เช่น เจิ่นถูโดะ ซึ่งก่อให้เกิดมีรัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงศ์หลีในที่สุด
พ.ศ. ๑๗๖๘-๑๙๔๓ ราชวงศ์เจิ่นถูโดะญาติของพระชายาจักรพรรดิก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจท่ามกลางสถานการณ์กบฏและการรุกรานจากข้าศึกต่างชาติ จากนั้นได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจียว ฮว่าง จักรพรรดินีองศ์สุดท้ายของราชวงศ์หลี แล้วยกหลานขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์เจิ่น สมัยเจิ่นเวียดนามต้องเผชิญกับศึกสงครามโดยตลอด ที่ร้ายแรงที่สุดคือการรุกรานจากพวกมองโกลและจัมปา สมัยเจิ่นเริ่มให้ความสำคัญกับอารยธรรมจีนมากกว่ายุคก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านภูมิปัญญาและอักษรศาสตร์ รวมถึงการบริหารราชการแบบจีน ซึ่งมาถึงในสมัยนี้มีการประมวลพงศาวดารชาติเป็นครั้งแรก ชื่อว่า ด่ายเหวียตสือกี๋ หรือ บันทึกประวัติศาสตร์ มหาอาณาจักรเวียด โดยราชบัณฑิต เลวันฮึว นอกจากนี้ยังเริ่มมีการประดิษฐ์อักษรของเวียดนามที่เรียกว่า อักษรโนม ขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๑๙๔๓-๑๙๗๑ ราชวงศ์โห่-โห่กุ๊ยลี ซึ่งเป็นญาติของพระชายาจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่น สร้างฐานอำนาจของตนด้วยการเป็นแม่ทัพทำศึกกับพวกจามทางใต้ ต่อมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่นและพยายามกำจัดเชื้อสายราชวงศ์ที่หลงเหลืออยู่ และจากนั้นขึ้นครองราชย์ ตั้งทายาทของตนเป็นจักรพรรดิต่อมา ราชนิกูลราชวงศ์เจิ่นได้ขอความช่วยเหลือไปยังจีน ทำให้จีนส่งกองทัพเข้ามาล้มล้างราชวงศ์โห่ แต่สุดท้ายก็ไม่มอบอำนาจให้แก่ราชวงศ์เจิ่น และยึดครองเวียดนามแทนที่การกู้เอกราชและก่อตั้งราชวงศ์เล (ยุคหลัง)
พ.ศ. ๑๙๗๑-๒๓๓๑ พ.ศ. ๑๙๖๑ เล่เหล่ย ชาวเมืองแทงหวา ทางใต้ของฮานอยซึ่งได้รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำ ขับไล่จีนออกจากเวียดนามได้สำเร็จ
พ.ศ. ๑๙๗๑ เลเหล่ยขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สถาปนาราชวงศ์เลขึ้น มีราชธานีที่ฮานอยหรือทังลองและราชธานีอีกแห่งคือที่เมืองแทงหวา (ทันห์ว้า) หรือ ราชธานีตะวันตก ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของเลเหล่ยและ ตระกูลเล ต่อมาเลเหล่ยได้รับการถวายพระนามว่า เลไถโต๋ ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง
หลังสมัยเลเหล่ย เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลในพ.ศ. ๒๐๐๒ มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิซึ่งขณะนั้น และต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. ๒๐๐๓-๒๐๔๐)
รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเวียดนาม มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักจะมาขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในพ.ศ. ๒๐๗๑ เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหงวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรกใน
ราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหงวียนและจิ่ง ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึง พ.ศ.๒๑๓๖ จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้ และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองชาวเวียดนามต่อไป
ยุคแตกแยกเหนือ -ใต้หลังการฟื้นฟูราชวงศ์เลขึ้นได้ ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ และบีบให้ขุนศึกตระกูลเหงวียนไปปกครองเขตชายแดนใต้บริเวณเมืองด่งเหยลงไปถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็น “เจ้า” สืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในตระกูลของตนเอง ขุนศึกตระกูลเหงวียนจึงประกาศไม่ยอมรับการปกครองของตระกูลจิ่งจนเกิดสงครามครั้งใหม่ต่อมาอีกหลายสิบปี เวียดนามแบ่งแยกเป็นสองส่วน ส่วนเหนืออยู่ในการปกครองของราชวงศ์เลและเจ้าตระกูลจิ่ง มีศูนย์กลางที่ทังลอง ส่วนใต้ตระกูลเหงวียนปกครอง มีศูนย์กลางที่เมืองฝูซวนหรือเว้
พ.ศ.๒๓๑๖ เกิดกบฏนำโดยการนำชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นใน เขตเมืองบิ่งดิ่ง เขตปกครองของตระกูลเหงวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้และ เชื้อสายตระกูลเหงวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพ ฯ ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในพ.ศ. ๒๓๔๕ สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอยราชวงศ์เหงวียน (พ.ศ. ๒๓๔๕-๒๔๘๘)
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหงวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน นายช่างฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้และป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน
ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สองนั้น ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นด่ายนาม ขยายแสนยานุภาพไปยังลาวและกัมพูชาผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชา หลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง
สมัยนี้เวียดนามนั้นเริ่มใช้ นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ ๔ คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างมีความรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. ๒๔๐๑ เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย
ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสบุกโจมตีดินแดนภาคใต้ จักรพรรดิตึดึ๊กยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น ๓ ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนาม ในตอนกลางและเขตอารักขาตังเกี๋ยนั้นในภาคเหนือของ เวียดนามยังมีจักรพรรดิเช่นเดิมแต่ต้องผ่านการร่วมคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศสและมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหารและการทูตสูงสุดเป็นของฝรั่งเศส ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น
ยุคอาณานิคม ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามซึ่งมีในทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามตกเป็นของชาวฝรั่งเศสจำนวนมาก ชาวฝรั่งเศสเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี ๒๔๗๓ และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท
ยุคเอกราช พ.ศ.๒๔๘๘ โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศส กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี ๑๔๙๗ และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการที่จะมารวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์นั้น ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม หรือเวียดนามใต้ มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ ๑๗ องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)
สงครามเวียดนามนั้น เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ซึ่ง ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำอยู่ประเทศของเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ “ปลดปล่อย” เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง) ในการทำสงคราม
การรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารอเมริกันและพันธมิตรจากต่างประเทศ กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง แม้สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให่สงครามยุติลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี ๒๕๑๑ ที่เมืองเว้ และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี ๒๕๑๖ กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี ๒๕๑๘ การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๙ และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น
๓. ประวัติศาสตร์การแสดงออกทางวัฒนธรรมในเวียดนาม
๓.๑ ด้านวรรณกรรม
เป็นยุคแห่งวรรณคดี ๔ จีนผสมกับเวียดนาม นักประพันธ์ที่สำคัญมี เหงียนไตร ผู้นิพนธ์ ประกาศต่อประชาชนให้มีความรักชาติ ดังตรันกอน ผู้ประพันธ์บทเพลงจากภรรยานักรบ แลกีดอน ผู้ประพันธ์ประวัติศาสตร์ของไดเวียด เป็นต้น บรรดากวี ข้อเขียนทางวรรณคดี และปรัชญาหลายตอนเป็นภาษาจูกิงอันเป็นภาษาจีนชั้นสูง
ในราชวงศ์เหงียน (พ.ศ.๒๓๔๕ - ๒๔๘๘) วรรณคดีในสมัยนี้ยังคงผลิตผลงานเป็นภาษาจีนผสมเวียดนามคือ เขียนด้วยตัวอักษรจีน บทประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นผลงานของจักรพรรดิ์เองแต่ในวรรณคดีในภาษาเวียดนามก็ได้พัฒนาไปมากในรัชสมัยนี้
ในการเขียนภาษาเวียดนาม ชาวเวียดนามได้อาศัยอักษรที่เรียกว่า ชูนอง ก่อนเป็นอักษรจีนที่แก้ไขตามหลักการของเจ้าตำราแต่ละคน และต่อมาได้ใช้อักษรที่เรียกว่า กว๊อกงื้อ เป็นการถอดภาษาด้วยการใช้อักษรโรมัน ซึ่งคิดขึ้นโดยมีบาทหลวงชื่อ อเล็กซองเดรอะ เดอโรด และมาถึง ในปี (พ.ศ.๒๑๙๔) อักษรกว๊อกงื้อ หรืออักษรประจำชาติ เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแบบเดียว
นวนิยายในรูปบทกวี ที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งเขียนด้วยภาษาของปราชญ์ มีคุณค่าทางวรรณคดีมาก ผู้ประพันธ์คือ เหงียนดู (พ.ศ.๒๓๐๘ - ๒๓๖๓) และบทกวีที่รู้จักกันดีที่สุดบทหนึ่งคือ ลุกวันเทียน ผู้ประพันธ์คือ เหงียนดินห์เจียว (พ.ศ.๒๓๖๕ - ๒๔๓๑) โดยได้อาศัยหลักศีลธรรมตามลัทธิขงจื้อ
ในด้านบทละคร ที่เขียนขึ้นส่วนใหญ่ประกอบด้วย เนื้อเรื่องที่ยืมมาจากจีน แหล่งที่มาที่สำคัญได้แก่ นิยาย อิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก ตัวละครเป็นอย่างเดียวกับงิ้วจีน รูปแบบของบทกวีภาษาเวียดนามบางทีก็ลอกแบบจีนหรือมิฉะนั้นก็เป็นบทกวีพื้นเมือง
๓.๒ ด้านศิลปกรรม
ในการเขียนภาษาเวียดนาม ชาวเวียดนามได้อาศัยอักษรที่เรียกว่า ชูนอง ก่อนเป็นอักษรจีนที่แก้ไขตามหลักการของเจ้าตำราแต่ละคน และต่อมาได้ใช้อักษรที่เรียกว่า กว๊อกงื้อ เป็นการถอดภาษาด้วยการใช้อักษรโรมัน ซึ่งคิดขึ้นโดยมีบาทหลวงชื่อ อเล็กซองเดรอะ เดอโรด และมาถึง ในปี (พ.ศ.๒๑๙๔) อักษรกว๊อกงื้อ หรืออักษรประจำชาติ เป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแบบเดียว
นวนิยายในรูปบทกวี ที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งเขียนด้วยภาษาของปราชญ์ มีคุณค่าทางวรรณคดีมาก ผู้ประพันธ์คือ เหงียนดู (พ.ศ.๒๓๐๘ - ๒๓๖๓) และบทกวีที่รู้จักกันดีที่สุดบทหนึ่งคือ ลุกวันเทียน ผู้ประพันธ์คือ เหงียนดินห์เจียว (พ.ศ.๒๓๖๕ - ๒๔๓๑) โดยได้อาศัยหลักศีลธรรมตามลัทธิขงจื้อ
ในด้านบทละคร ที่เขียนขึ้นส่วนใหญ่ประกอบด้วย เนื้อเรื่องที่ยืมมาจากจีน แหล่งที่มาที่สำคัญได้แก่ นิยาย อิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก ตัวละครเป็นอย่างเดียวกับงิ้วจีน รูปแบบของบทกวีภาษาเวียดนามบางทีก็ลอกแบบจีนหรือมิฉะนั้นก็เป็นบทกวีพื้นเมือง
๓.๒ ด้านศิลปกรรม
ราชวงศ์เลอ ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้นทั่วประเทศ นับว่าเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่ของศิลปกรรมเวียดนาม ซึ่งบางครั้งก็แสดงออกด้วยหลุมพระศพของจักรพรรดิ์ ราชวงศ์เลอ ในระยะแรก ๆ จะเหมือนกับหลุมศพของจักรพรรดิ์ในราชวงศ์หมิงของจีน แต่ก็มีสิ่งปลูกสร้างที่เมืองหัวลือ ที่ได้แสดงให้เห็นบุคคลิกภาพ และเป็นตัวของตัวเอง ของศิลปินเวียดนามในการติดตามศิลปะของจีน
ต่อมาในราชวงศ์เหงียน (พ.ศ.๒๓๔๕ - ๒๓๘๘) ในรัชสมัยของจักรพรรดิ์ยาลอง ศิลปกรรมของราชวงศ์เหงียน ส่วนใหญ่แสดงไว้ที่เมืองเว้ สถาปัตยกรรมของพระราชวังจักรพรรดิ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงศิลปกรรมจีนกรุงปักกิ่งอย่างมาก
ศิลปเครื่องเขินของเวียดนาม ได้เริ่มเจริญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ นับได้ว่าเป็นมาตรฐานสูง มีลักษณะลมุนละไมกว่าของจีนและญี่ปุ่น การทำเครื่องเขินนับว่า เป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของเวียดนาม การทำลายรดน้ำ การทำภาพสอดสีต่าง ๆ มีความวิจิตรงามตา
ต่อมาในราชวงศ์เหงียน (พ.ศ.๒๓๔๕ - ๒๓๘๘) ในรัชสมัยของจักรพรรดิ์ยาลอง ศิลปกรรมของราชวงศ์เหงียน ส่วนใหญ่แสดงไว้ที่เมืองเว้ สถาปัตยกรรมของพระราชวังจักรพรรดิ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงศิลปกรรมจีนกรุงปักกิ่งอย่างมาก
ศิลปเครื่องเขินของเวียดนาม ได้เริ่มเจริญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ นับได้ว่าเป็นมาตรฐานสูง มีลักษณะลมุนละไมกว่าของจีนและญี่ปุ่น การทำเครื่องเขินนับว่า เป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของเวียดนาม การทำลายรดน้ำ การทำภาพสอดสีต่าง ๆ มีความวิจิตรงามตา
๓.๓ ด้านสถาปัตยกรรม
เวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนซึ่งมีเช่นเดียวกัน ตัวอาคารมักสร้างให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม หลังคามุงด้วยกระเบื้องประดับประดาแบบจีน ส่วนภาพในประดับด้วยไม้แกะสลัก มีลวดลายแบบจีนซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมเวียดนาม
รากฐานของสถาปัตยกรรมในเวียดนาม เกิดจากวิถีชีวิตประจำวัน และแนวความคิดในความเป็นอยู่ของสมัยนั้น ๆ
รากฐานของสถาปัตยกรรมในเวียดนาม เกิดจากวิถีชีวิตประจำวัน และแนวความคิดในความเป็นอยู่ของสมัยนั้น ๆ
๓.๔ ด้านปฏิมากรรม
รวมถึงงานแกะสลัก และงานหล่อ ได้รับอิทธิพลจากจีน จาม และฝรั่งเศส มาผสมผสานกันกับแนวคิดดั้งเดิมของตน
งานปฏิมากรรมส่วนใหญ่ จะเห็นได้ตามโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ส่วนลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในงานด้านนี้จะเห็นว่า มีสัตว์ต่าง ๆ เช่น มังกร ม้า เต่า และนกอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน ความมั่นคงและความสุขสำราญของชีวิต อิทธิพลของจามนับว่าเป็นรองจากจีน งานปฏิมากรรมด้านนี้มีรูปกินรี แจกัน เสาแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาถูกตกแต่งเป็นรูปคนสวมพวงมาลัยบนศีรษะเป็นต้น
ส่วนอิทธิพลของฝรั่งนั้นได้เข้ามาทีหลัง ได้ช่วยปรับปรุงเทคนิคในการทำลวดลายให้สวยงามยิ่งขึ้น แบบฉบับของงานมีลักษณะพิเศษ ไม่ได้สัมพันธ์กับงานสร้างเจดีย์ หรือพระปรางค์ ซึ่งสร้างกันมาแต่ก่อนหรือในสมัยเดียวกัน
๓.๕ ด้านจิตรกรรม
งานปฏิมากรรมส่วนใหญ่ จะเห็นได้ตามโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ส่วนลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในงานด้านนี้จะเห็นว่า มีสัตว์ต่าง ๆ เช่น มังกร ม้า เต่า และนกอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน ความมั่นคงและความสุขสำราญของชีวิต อิทธิพลของจามนับว่าเป็นรองจากจีน งานปฏิมากรรมด้านนี้มีรูปกินรี แจกัน เสาแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาถูกตกแต่งเป็นรูปคนสวมพวงมาลัยบนศีรษะเป็นต้น
ส่วนอิทธิพลของฝรั่งนั้นได้เข้ามาทีหลัง ได้ช่วยปรับปรุงเทคนิคในการทำลวดลายให้สวยงามยิ่งขึ้น แบบฉบับของงานมีลักษณะพิเศษ ไม่ได้สัมพันธ์กับงานสร้างเจดีย์ หรือพระปรางค์ ซึ่งสร้างกันมาแต่ก่อนหรือในสมัยเดียวกัน
๓.๕ ด้านจิตรกรรม
เวียดนามได้แบบอย่างนี้มาจากจีนซึ่งมีหลายอย่าง และในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ภาพเขียนต่าง ๆ ของเวียดนามได้นำมาดัดแปลง และเจือปนด้วยศิลปกรรมฝรั่งเศสด้วย จิตรกรรมจึงมีทั้งสองแบบคือ ทั้งแบบยุโรป และแบบของทางตะวันออก ซึ่งมีสองชั้นด้วยกัน
จิตรกรรมชั้นสูง มักจะเป็นภาพเขียนที่บรรยายธรรมชาติไว้อย่างวิจิตรพิสดาร ส่วนจิตรกรรมชั้นต่ำ ก็เป็นภาพเขียนบนผ้าไหม ฉาก ตามหีบไม้ต่าง ๆ ตามภาชนะเคลือบและเครื่องเขิน
๓.๖ ด้านดุริยางคศิลป์
จิตรกรรมชั้นสูง มักจะเป็นภาพเขียนที่บรรยายธรรมชาติไว้อย่างวิจิตรพิสดาร ส่วนจิตรกรรมชั้นต่ำ ก็เป็นภาพเขียนบนผ้าไหม ฉาก ตามหีบไม้ต่าง ๆ ตามภาชนะเคลือบและเครื่องเขิน
๓.๖ ด้านดุริยางคศิลป์
เริ่มต้นในราชวงศ์เลอ ได้มีการประพันธ์ทำนอง แบบของชาวจามด้วย ในสมัยราชวงศ์อองได๋ ได้มีการศึกษาดุริยางคศาสตร์ของจีนด้วย ดนตรีประจำชาติของเวียดนามแต่โบราณ ได้รับอิทธิพลจากจีนคำร้องและลีลาของเพลงได้จากธรรมชาติและความรัก
เครื่องดนตรีเวียดนามที่เลียนแบบเครื่องดนตรีจีนมี ขลุ่ยสามรู กระจับปี่ใหญ่ กระจับปี่สั้น ซอด้วง และขิม แต่เครื่องดนตรีเวียดนามที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ในสมัยต่อมาเรียกว่า คอนคิม มีลักษณะคล้ายแบนโจ และเครื่องดีดชนิดใหม่มีลักษณะคล้ายจะเข้ โดยปกติเครื่องประกอบดนตรีของเวียดนามก็คล้ายของชาวเอเชียด้วยกัน
เครื่องดนตรีเวียดนามที่เลียนแบบเครื่องดนตรีจีนมี ขลุ่ยสามรู กระจับปี่ใหญ่ กระจับปี่สั้น ซอด้วง และขิม แต่เครื่องดนตรีเวียดนามที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ในสมัยต่อมาเรียกว่า คอนคิม มีลักษณะคล้ายแบนโจ และเครื่องดีดชนิดใหม่มีลักษณะคล้ายจะเข้ โดยปกติเครื่องประกอบดนตรีของเวียดนามก็คล้ายของชาวเอเชียด้วยกัน
โดยทั่วไป ชาวเวียดนามรักการดนตรี รักการร้องเพลง และชอบร้องเพลง ในขณะทำงานหนักร่วมกันกรรมกรที่แบกของหนักๆก็ชอบร้องเพลงขณะทำงาน
๓.๗ ด้านนาฎศิลป์
มีลักษณะลีลาท่าทางการรำ อันเป็นศิลปที่อ่อนช้อย เทียบได้กับศิลปพื้นเมืองของไทยในบางอย่าง ได้แก่ ระบำ เดวียน เด ซึ่งเป็นการร่ายรำที่แสดงถึงชีวิตความสุข และความรักของคนธรรดาสามัญชนบท ระบำซานห์ เทียบ โก เดียว เป็นการเตือนให้ระลึกถึงสมัยที่รุ่งเรืองของดนตรีบริสุทธิ์ของเวียดนาม นาฏศิลปบางอย่างของเวียดนาม ก็ได้รับอิทธิพลจากจีน
สรุปความได้ว่า ในช่วงตลอดระยะเวลาอันยาวนานนั้นในประวัติศาสตร์ของเวียดนามพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับการดำรงอยู่แห่งชาติไม่ว่าจะอยู่ในยุคเจริญหรือยุคเสื่อมประเทศ เวียดนามนั้นซึ่ง มีอิทธิพลอย่างมากต่อวรรณคดี ศิลปะ ดนตรี และสถาปัตยกรรม กล่าวคือพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งชีวิตของชาวเวียดนาม โดยเฉพาะในส่วนเป็นที่สถาบันพระสงฆ์มีความเจริญรุ่งเรืองในคราวที่ ได้รับการสนับสนุน จากฝ่ายการเมืองและตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอยในคราวที่ฝ่ายการเมืองละเลยไม่อุปถัมภ์ หรือบีบคั้นในกฎระเบียบทางด้านต่างๆนั้น และเมื่อคราวที่ได้รับอิสรภาพจากจีน สถานะและบทบาททางพระพุทธศาสนาดูเหมือนว่า จะดำเนินไปด้วยดี แต่ทางการเมืองเกิดสงครามระหว่าง ฝรั่งเศสกับเวียดนามอีก ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศเวียดนามนั้น ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ เหนือกับใต้ ทำให้องค์กรสงฆ์ในเวียดนามนั้น ต้องแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เมื่อกล่าวเฉพาะเวียดนามใต้สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนานั้นยิ่งดูจะตกอยู่ใน ความลำบากมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากเวียดนามใน พ.ศ. ๒๔๙๘ และสหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทแทน อเมริกาสนับสนุนโง ดินห์ เดียมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พระพุทธศาสนาจึงถูกกดขี่อย่างหนักมากขึ้น ทำให้การต่อต้านจากชาวพุทธซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ท้ายที่สุดเมื่อ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖ พระมหาติช กวง ดึ๊ก พระสงฆ์ฝ่ายมหายานจุดไฟเผาตัวเองประท้วงรัฐบางโง ดินห์ เดียม และเกิดการรัฐประหารมีการโค่นล้มรัฐบาลเกิดขึ้น
บทที่ ๓
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
๑.ประวัติพระพุทธศาสนามหายานในเวียดนาม
ประเทศเวียดนามได้รับพระพุทธศาสนามาจากอินเดีย๕โดยผ่านเส้นทางการค้าไปทางทะเล และจากจีน เนื่องจากจีนเคยปกครองเวียดนามอยู่หลายร้อยปี โดยในพุทธศตวรรษที่ ๘ พระมหาชีวกะซึ่งเป็น ชาวอินเดีย และพระขวองตังหอย (หรือ กังเซงโฮย) ได้เดินทางเข้ามาประกาศพระพุทธศาสนานั้นซึ่ง ต่อมา พระฉิโจงโหลง (หรือ พระกัลยาณรุจิ) ก็เดินทางไปจีน แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาแล้วจึงกลับเวียดนาม
ในปี พ.ศ.๗๓๒ เมื่อท่านโมวเป๋ย หรือเมียวโป ผู้เปลี่ยนจากการนับถือเต๋ามานับถือพระพุทธศาสนาและได้ เดินทางจากประเทศจีน ติดตามโยมมารดามาอยู่เวียดนาม และอยู่ประกาศพระพุทธศาสนาในที่แห่งนี้
ปลายพุทธศตวรรษที่๑๑ พระภิกษุชาวอินเดียนามว่าพระวินีตรุจิ(อ่านว่า วิ-นี-ตะ-รุ-จิ) เดินทาง เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้รับการนับถือว่าเป็นสังฆราชแห่งนิกายเธียน(เธียน เป็นคำเวียดนาม ได้แก่ ธยานะ หรือ ฉาน หรือ เซน) เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ฝับเหียน ศิษย์ชาวเวียดนามได้เผยแผ่พุทธธรรมอย่างมั่นคงสืบมา
พ.ศ.๑๓๖๓ ในสมัย (ยุคราชวงศ์ถังของจีนปกครองเวียดนาม)ซึ่งมี พระภิกษุว่อง่อนถ่อง ประดิษฐานนิกายเธียนเป็นครั้งที่๒ มีสถูปเจดีย์ ๒๐องค์ และวัดหลายแห่ง มีพระภิกษุประมาณ ๕๐๐รูป พระเถรานุเถระเป็นพหูสูตและเคร่งครัดในพระวินัย ประมาณพุทธศตวรรษที่๑๕ เมื่อเวียดนามกู้อิสรภาพจากจีนได้สำเร็จแล้วต่อมามี กษัตริย์เวียดนามหลายราชวงศ์ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเรื่อยมาเช่น
สมัยราชวงศ์ดินห์ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเลื่อมใสใน พระภิกษุง่อฉั่นหลู ซึ่งเป็นปราชญ์ด้านกวีนิพนธ์ และเชี่ยวชาญสมาธิแบบนิกายเธียน จึงได้สถาปนาท่านให้เป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์และเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้วย
ต่อมาในราวสมัยของ ราชวงศ์เล (ตอนต้น) และ ราชวงศ์ไล พระภิกษุเป็นผู้รอบรู้ในพระพุทธศาสนาและวิชาการต่างๆ ได้รับความเคารพศรัทธามาก กษัตริย์พระองค์ที่๒ แห่งราชวงศ์เล ได้ส่งคณะทูตไปประเทศจีน เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกมา และสนับสนุนให้ชาวเวียดนามหันมานับถือพระพุทธศาสนาแทนการนับถือผี แต่เมื่อถึงตอนปลายของราชวงศ์ การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ประชาชนจึงคลายความศรัทธา และไม่ได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ไล ราชวงศ์นี้มีอายุยาวนานถึง ๒๑๕ปี (พ.ศ.๑๕๕๓-๑๗๖๓) และพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองที่สุดพระเจ้าไลทันต๋อง ได้ประดิษฐานนิกายเธียนอีกเป็นครั้งที่๓
ประเทศเวียดนามได้รับพระพุทธศาสนามาจากอินเดีย๕โดยผ่านเส้นทางการค้าไปทางทะเล และจากจีน เนื่องจากจีนเคยปกครองเวียดนามอยู่หลายร้อยปี โดยในพุทธศตวรรษที่ ๘ พระมหาชีวกะซึ่งเป็น ชาวอินเดีย และพระขวองตังหอย (หรือ กังเซงโฮย) ได้เดินทางเข้ามาประกาศพระพุทธศาสนานั้นซึ่ง ต่อมา พระฉิโจงโหลง (หรือ พระกัลยาณรุจิ) ก็เดินทางไปจีน แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาแล้วจึงกลับเวียดนาม
ในปี พ.ศ.๗๓๒ เมื่อท่านโมวเป๋ย หรือเมียวโป ผู้เปลี่ยนจากการนับถือเต๋ามานับถือพระพุทธศาสนาและได้ เดินทางจากประเทศจีน ติดตามโยมมารดามาอยู่เวียดนาม และอยู่ประกาศพระพุทธศาสนาในที่แห่งนี้
ปลายพุทธศตวรรษที่๑๑ พระภิกษุชาวอินเดียนามว่าพระวินีตรุจิ(อ่านว่า วิ-นี-ตะ-รุ-จิ) เดินทาง เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้รับการนับถือว่าเป็นสังฆราชแห่งนิกายเธียน(เธียน เป็นคำเวียดนาม ได้แก่ ธยานะ หรือ ฉาน หรือ เซน) เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ฝับเหียน ศิษย์ชาวเวียดนามได้เผยแผ่พุทธธรรมอย่างมั่นคงสืบมา
พ.ศ.๑๓๖๓ ในสมัย (ยุคราชวงศ์ถังของจีนปกครองเวียดนาม)ซึ่งมี พระภิกษุว่อง่อนถ่อง ประดิษฐานนิกายเธียนเป็นครั้งที่๒ มีสถูปเจดีย์ ๒๐องค์ และวัดหลายแห่ง มีพระภิกษุประมาณ ๕๐๐รูป พระเถรานุเถระเป็นพหูสูตและเคร่งครัดในพระวินัย ประมาณพุทธศตวรรษที่๑๕ เมื่อเวียดนามกู้อิสรภาพจากจีนได้สำเร็จแล้วต่อมามี กษัตริย์เวียดนามหลายราชวงศ์ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเรื่อยมาเช่น
สมัยราชวงศ์ดินห์ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเลื่อมใสใน พระภิกษุง่อฉั่นหลู ซึ่งเป็นปราชญ์ด้านกวีนิพนธ์ และเชี่ยวชาญสมาธิแบบนิกายเธียน จึงได้สถาปนาท่านให้เป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์และเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้วย
ต่อมาในราวสมัยของ ราชวงศ์เล (ตอนต้น) และ ราชวงศ์ไล พระภิกษุเป็นผู้รอบรู้ในพระพุทธศาสนาและวิชาการต่างๆ ได้รับความเคารพศรัทธามาก กษัตริย์พระองค์ที่๒ แห่งราชวงศ์เล ได้ส่งคณะทูตไปประเทศจีน เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกมา และสนับสนุนให้ชาวเวียดนามหันมานับถือพระพุทธศาสนาแทนการนับถือผี แต่เมื่อถึงตอนปลายของราชวงศ์ การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ประชาชนจึงคลายความศรัทธา และไม่ได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ไล ราชวงศ์นี้มีอายุยาวนานถึง ๒๑๕ปี (พ.ศ.๑๕๕๓-๑๗๖๓) และพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองที่สุดพระเจ้าไลทันต๋อง ได้ประดิษฐานนิกายเธียนอีกเป็นครั้งที่๓
พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศเวียดนาม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ในขณะนั้น เวียดนามตกอยู่ในอำนาจของจีน พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามในยุคแรกนั้น เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน สันนิษฐานกันว่า ได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และ พระถังเซงโฮย ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคเดียวกับท่านเมียวโป แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะกษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และยังไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพุทธศาสนา
ต่อมาเมื่อชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง ในครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย ชื่อ วินีตรุจิ ท่านได้ศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียแล้วยัง ได้เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน หรือ เธียร (Thien) ในประเทศจีน แล้วเดินทางมาเผยแผ่ พุทธศาสนานิกายเธียร หรือ เซน ในเวียดนามจนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ
คราวที่เวียดนามกู้อิสระภาพ ได้ตั้งอาณาจักรไคโคเวียด ใน พ.ศ. ๑๔๘๒ หลังจากได้อิสระภาพแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเอง ประมาณ ๓๐ ปี ระยะนี้พุทธศาสนาซบเซาขาดการทำนุบำรุง ต่อมาเมื่อราชวงศ์ดินห์ ขึ้นครองอำนาจในปี พ.ศ. ๑๒๑๒ แล้ว พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
ใน พ.ศ. ๑๕๑๑-๑๕๒๒ รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การปกครองคณะสงฆ์ขึ้น โดยรวมเอาคณะนักบวชเต๋ากับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เข้าในระบบฐานันดรศักดิ์เดียวกัน พระเจ้าจักรพรรดิเวียดนาม ทรงสถาปนาพระภิกษุง่อฉั่นหลู เป็นประมุขสงฆ์ของเวียดนาม และแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้วย
ในสมัยกษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์เล (๑๕๔๘-๑๕๕๑) ได้ส่งพระสงฆ์ไปขอพระไตรปิฎกจากประเทศจีน ๑ ชุด และทรงแนะนำให้ประชาชนเลิกนับถือผีสาง เทวดา มานับถือพระพุทธศาสนา แต่ประชาชนยังนับถือผีสาง เทวดา พร้อมกับพุทธศาสนาด้วย
สมัยราชวงศ์ไล (๒๑๕ ปี) เป็นช่วงที่พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เพราะเป็นศาสนาเดียวที่ได้รับการอุปถัมภ์ และศรัทธาอย่างแรงกล้าจากราชวงศ์นี้ เช่น สมัยของพระเจ้าไลไทต๋อง (๑๕๗๑-๑๕๘๘) ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างกวางขวาง เช่น โปรดให้สร้างวิหาร ๙๕ แห่ง
ในสมัยของพระเจ้าไลทันต๋อง (๑๕๙๗-๑๖๑๕) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเอาใจใส่บ้านเมือง และประชาชนมาก ดำเนินรอยตามพระเจ้าอโศกมหาราช เช่น สงเคราะห์ประชาชนผู้ทุกข์ยาก เป็นต้น
พ.ศ. ๑๙๕๗ เวียดนามได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอีก ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๕๗-๑๙๗๔เป็นเวลา ๑๗ ปี ก็ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมไปมาก เพราะกษัตริย์ราชวงศ์หมิงของจีน ได้ส่งเสริมแต่ลัทธิขงจื้อ และเต๋า ในขณะนั้นพุทธศาสนานิกายตันตระ ของธิเบตก็เข้ามา จีนได้ทำลายวัด เก็บเอาทรัพย์สิน และคัมภีร์พุทธศาสนาไปหมด
พอเวียดนามได้เอกราชอีก เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๔ พุทธศาสนาก็ไม่ดีขึ้น เพราะกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา กลับเข้าแทรกแซงกิจการทางศาสนา ในช่วงนี้เองได้เกิดนิกายตินห์โดขึ้นในเวียดนาม ซึ่งเผยแผ่มาจากจีนถึงเวียดนาม ต่อมานิกายนี้ได้ผสมผสานกับนิกายเดิม คือ นิกายเธียร จนเกิดเป็นพุทธศาสนาแบบหนึ่งขึ้นมา ที่ยังปฏิบัติกันอยู่ตามโรงเจดีย์ (Chua) ในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๐๑๔ พระเจ้าเลทันต๋องได้รวบรวม อาณาจักรจัมปาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของเวียดนามได้สำเร็จ จนถึง พ.ศ. ๒๐๗๖ เวียดนามก็ได้แตกแยกเป็น ๒ อาณาจักร ได้แก่อาณาจักรฝ่ายเหนือที่พวกตระกูลตรินห์ (Trinh) ครองอำนาจ คือแคว้นตังเกี๋ย กับอาณาจักรฝ่ายใต้ของราชวงศ์เหงียน (Nguyen) คือแคว้นอานัม ทั้ง ๒ อาณาจักร ต่างทำสงครามกันมาตลอดระยะเวลา ๒๗๐ ปี จนรวมเป็นอาณาจักรเดียวกันอีก เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๕ ในช่วงเวลาที่แตกแยกกันเป็นเวลา ๒๗๐ ปีนั้น พุทธศาสนาต่างฝ่ายต่างทำนุบำรุงพุทธศาสนา มีการสร้าง และปฏิสังขรวัดวาอารามมากมาย
ในประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒นั้น ชาวตะวันตกได้เริ่มเดินทางมาติดต่อกับเวียดนามทางการค้าขาย และการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิค มีพวกโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ นักสอนศาสนาชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้คิดค้นวิธีการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรโรมัน จนชาวเวียดนามเลิกใช้ภาษาจีนนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๐-๒๔๐๑ เวียดนามได้ทำการปราบปรามพวกคริสต์อย่างเด็ดขาดโดยการจับฆ่าตาย ทำให้พวกนักสอนศาสนาถูกฆ่าตายจำนวนมาก และมีพวกชาวคริสต์ญวนอีกจำนวนนับแสนคน จนเกิดการขัดแย้งกันระหว่างเวียดนาม กับ อังกฤษ จนที่สุด อังกฤษสามารถเข้ายึดครองเวียดนามได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๒ ยึดครองเมืองไซง่อนได้ พ.ศ. ๒๔๒๖ เวียดนามนั้นก็ต้องตก เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
สมัยที่ฝรั่งเศสปกครองเวียดนาม พุทธศาสนาจึงมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะถูกเบียดเบียนจากพวกฝรั่งเศส ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ เช่นการห้ามสร้างวัด เว้นแต่ได้รับอนุญาต จำกัดสิทธิพระสงฆ์ที่จะรับถวายสิ่งของ จำกัดจำนวนพระภิกษุ เป็นต้น แม้ชาวพุทธจะถูกจำกัดสิทธิ โดยไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงเลย หากจะเป็นได้ต้องนับถือศาสนาคริสต์เสียก่อน และต้องโอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศสด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหาร และไม่มีสิทธิ ไม่มีเสียงอะไรในแผ่นดิน ชาวเวียดนามได้พยายามรวมตัวกันเพื่อลุกขึ้นสู้กอบกู้เอกราช แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงไปเป็นระยะ ๆ ในระยะนี้เองพระพุทธศาสนา ซึ่งมีท่าทีว่าจะสูญสิ้น ก็มีการตื่นตัว ฟื้นฟูกันอีกครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้มีการจัดตั้งสมาคมพุทธศาสนาศึกษาแห่งโคชินจีน (Cochinchina Buddhist study society) ขึ้นที่เมืองไซง่อน และได้มีการตั้งสมาคมทางพุทธศาสนาขึ้นอีกที่เมืองเว้ (อานัม) และที่เมืองฮานอย โดยสมาคม ฯ มุ่งเน้นด้านการศึกษา และสังคมสงเคราะห์ ปฏิรูปพระวินัยของสงฆ์ และส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาพุทธศาสนาแบบใหม่ได้มีการจัดพิมพ์วารสารของพระพุทธศาสนาและแปลคัมภีร์ต่าง ๆ ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท
การที่ได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาในครั้งนั้น นับว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของคนระดับปัญญาชน ที่เคยประสบความผิดหวังมาจากวัตถุนิยม ทางตะวันตก โดยมาสนับสนุนการฟื้นฟูพุทธศาสนาในครั้งนั้นอย่างมากมาย แต่การเผยแผ่ฟื้นฟูพุทธศาสนาก็เป็นอันหยุดชะงัก ลงอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังสงครามโลกสงบลง การฟื้นฟูพุทธศาสนาในเวียดนามก็ได้ดำเนินการต่อไปอีก ที่เมืองฮานอยได้มีการตั้งบริหารคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ และจัดตั้งพุทธสมาคมสำหรับฆราวาสขึ้นด้วย
และในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่เมืองไซง่อนได้จัดตั้ง พุทธสมาคมขึ้น เพื่อฟื้นฟูการศึกษาพระพุทธศาสนา แทนพุทธสมาคมเก่า ซึ่งได้ล้มเลิกกิจการไปตั้งแต่ก่อนสงครามโลก
ในปัจจุบันนี้ ประเทศเวียดนามนับถือพระพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า และขงจื้อ เป็นการนับถือผสมผสาน โดยเฉพาะทางด้านหลักธรรมคำสอน จะปฏิบัติตามคำสอนของทั้ง ๓ ศาสนา ทางด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาได้มีการเปิดสอนพระพุทธศาสนาขึ้น โดยมหาวิทยาลัยวันฮันห์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา โดยการจัดตั้งขึ้นของสหพุทธจักรเวียดนาม และได้รับการรับรองจากรัฐบาลเวียดนาม เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๐๗ ในปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยฮันห์ ทำการเปิดสอน ๔ คณะคือ คณะพุทธศาสตร์ และบูรพาวิทยา คณะอักษรศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะภาษาศาสตร์ เฉพาะคณะพุทธศาสตร์และบูรพาวิทยา แบ่งออกเป็น ๙ ภาควิชา คือ ภาควิชาพุทธปรัชญา วรรณคดีพุทธศาสนา พุทธศาสนประวัติ พุทธศาสนาทั่วไป พุทธศาสนาในเวียดนาม ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาอินเดีย ปรัชญาจีน และปรัชญาตะวันตก
๒. อิทธิพลพระพุทธศาสนามหายานต่อประเทศเวียดนาม
๒.๑ อิทธิพลทางสังคม
๒.๑.๑ วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน๖เป็นที่พึ่งของชุมชน
จะสังเกตได้ว่ามี ศาลเจดีย์ หรือโรงเจดีย์ หรือหอเจดีย์ ที่เรียกว่า จัว เป็นที่บูชาเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทางของพระพุทธศาสนานั้น และเป็นที่ประกอบพิธีบูชา หรืองานเทศกาลทางพระพุทธศาสนา เช่น พิธี ๑ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และงานศราทธ์กลางเดือน ๗ เป็นต้น พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือปฏิบัติตามศาลเจดีย์เหล่านั้น เป็นการผสมระหว่างนิกายเธียร (เซน) กับตินห์โด (ชิน) หรือเป็นศาสนาแบบชาวบ้าน ไม่สู้มีเนื้อหาหลักธรรมลึกซึ้งอะไร คือเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์หรือปูชนียบุคคลของจีน เช่น พระกวานอาม (กวนอิม ) เป็นต้น
๒.๑.๒ วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
วัดเป็นสถานที่รวมแหล่งทางการศึกษาแห่งชนชั้นทุกระดับ และยังเป็นสถานที่ชุมนุมของชาวพุทธในการพบปะปรึกษาหารือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านศาสนาและทั้งในด้านการเมือง โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำประชาชน และมีส่วนร่วมในการกอบกู้เอกราช อีกทั้งการฟื้นฟูพระศาสนา
๒.๑.๓ พระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
พระสงฆ์ถือว่ามีบทบาทต่อสังคมและความเป็นอยู่ เพราะการที่ประเทศเกิดความไม่สงบ และถูกรุกรานจากข้าศึก ประชาชนขาดที่พึ่ง และยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงต้องอาศัยวัด และมีพระสงฆ์ ซึ่งสามารถให้ความอบอุ่นใจ และกำลังใจ และยังเป็นผู้นำประชาชนในการต่อสู้กอบกู้เอกราช อยู่เคียงข้างกับประชาชน
๒.๒ อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ
๒.๒.๑ เศรษฐกิจของเวียดนาม
มีลักษณะใกล้เคียงกับเศรษฐกิจของไทย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวนา ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในด้านเศรษฐกิจการปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คำสอนเกี่ยวกับการเลี้ยงชีวิตโดยธรรม ปราศจากการทุจริต โกง ปล้นจี้ เป็นต้น ล้วนมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของผู้คน
๒.๒.๒ พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมแห่งเศรษฐกิจ
จะสังเกตเห็นได้ว่าในส่วน บรรดาองค์กรต่าง ๆ ของคฤหัสถ์เกิดขึ้นด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น เช่น องค์กรการกรรมกรชาวพุทธ องค์การพ่อค้าย่อยชาวพุทธ สหพันธ์ลูกจ้าง และข้าราชการชาวพุทธ สมาคมครูชาวพุทธ สมาคมผู้ขับรถรับจ้างโดยสารชาวพุทธ พุทธิกสตรีชาวพุทธ สมาคมเภสัชกรชาวพุทธ สมาคมนักเขียนและจิตรกรชาวพุทธ เป็นต้น องค์การเหล่านี้ถือว่า เป็นแหล่งสำคัญของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างมาก
๒.๓ อิทธิพลทางด้านการเมือง
๒.๓.๑ ในระบบการปกครองประเทศชาติ
มีการเอาศาสนธรรมมาเป็นหลัก ในการออกกฎหมายต่าง ๆ ของบ้านเมือง และในการนี้ พระสงฆ์ก็มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดไม่ว่าจะเป็นทางด้านศาสนา การศึกษา การเมือง และสังคม ผู้นำที่เข้าถึงพุทธศาสนาทุกระดับ จะได้รับการยอมรับเลื่อมใส ศรัทธา จากสังคมเป็นอย่างมากกว่าศาสนาอื่น ๆ
๒.๓.๒ พระสงฆ์มีส่วนร่วม ในการต่อสู้กับการเมือง
ในสมัยรัฐบาลของโงดินเดียม พระพุทธศาสนาถูกกดขี่ ย่ำยี จากฝ่ายรัฐบาลที่นับถือคริสต์ศาสนา เป็นการทำลายความรู้สึกของพุทธศาสนิกชนอย่างมาก ทำให้มีการเดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาล โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำมวลชน พระภิกษุถิช กวางดึ๊ก ได้เผาตนเองเพื่อประท้วงรัฐบาลซึ่งก่อความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธเวียดนามไปทั่วประเทศ
๒.๓.๓ พระสงฆ์กับผลกระทบทางการเมือง
ในยุคของนายพลเหงียนเกากี ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ได้รับการต่อต้านจากชาวพุทธหัวรุนแรงอยู่ตลอด มีพระสงฆ์เป็นผู้นำในการต่อสู้ ระดมมวลชนเดินขบวนไปตามท้องถนนเป็นยุค ที่เรียกว่า ยุคหลวงพี่ระดมพลกลางท้องถนน [Monk and Mobs in The Street] แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ว่ายังเป็นพลังอำนาจอันสำคัญยิ่งใหญ่ที่ฝ่ายชาวบ้านเมืองยังต้องใส่ใจ หรือต้องพึ่งพาอาศัยเช่นกัน
๒.๓.๔ เหตุแห่งความพ่ายแพ้ทางการเมืองของพระสงฆ์
พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้นำของชาวพุทธมีจุดอ่อนสำคัญ คือ ความไม่พร้อมที่เข้าสวมบทบาทรับภาระหน้าที่ที่มาถึงได้ เพราะขาดพื้นฐานการศึกษา และ เพราะตลอดเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี ที่ฝรั่งเศสยึดครองอำนาจในเวียดนามซึ่งมี ประชาชนทั่วไปถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้รับการศึกษา พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำชาวพุทธล้วนมาจากตระกูลชาวไร่ชาวนา แม้จะได้รับการศึกษาเล่าเรียนอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงความรู้แบบเก่า ๆ ที่สืบสานมาตามประเพณี น้อยองค์นักที่จะพูดภาษาฝรั่งเศส อังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ได้ในวงการเมืองถือว่า พระสงฆ์เป็นกลุ่มชนผู้ด้อย หรือไร้การศึกษา มีลักษณะเด่นคือ กลัว และ ดูถูกวัฒนธรรมจากภายนอก แต่มีกำลังอิทธิพลอยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป
๒.๓.๕ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพระสงฆ์
ในสมัยนายพลเหงียน คานห์ ขึ้นครองอำนาจแทนนายพลเดือง วัน มินห์ พระสงฆ์ ที่เป็นผู้นำชาวพุทธก็ร่วมกันสนับสนุน ขบวนการต่าง ๆ เช่นองค์การเยาวชนที่เป็นฐานกำลัง พร้อมที่จะปฏิบัติการตามคำสั่งก็มีมาก ผู้นำในวงการภายนอกก็หันมาสนใจ รัฐบาลที่เข้ามาใหม่ก็ต้องเอาใจ พระสามารถพูดเสียงดังเข้าไปถึงกลางเวทีการเมือง คือต้องการให้คณะสงฆ์ มีเสียงในรัฐบาล หรือว่ารัฐบาลต้องรับฟังคณะสงฆ์ ต้องการให้คนที่คณะสงฆ์เลือก หรือเห็นเหมาะสมเข้าไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ต้องการให้รัฐอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามากขึ้น และต้องการให้เยาวชนชาวพุทธมีสิทธิ มีส่วนในชะตากรรมของสังคมเวียดนามมากขึ้น
สรุปความได้ว่า ประเทศเวียดนามนั้นมีความสัมพันธ์กับนานาชาติอยู่ในระดับดี ด้วยความเป็นชาติที่มีประสบการณ์ที่ เกี่ยวกับการต่อสู้มายาวนานนั้นและ ด้วยความเป็นชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนานิกายเซน ทำให้มีหลักการและ วิธีการกำหนดนโยบายต่างประเทศที่มีอย่างชาญฉลาด ประเด็นที่เป็นชาตินับถือพระพุทธศาสนานี้แหละที่ทำให้น่าสนใจเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนานิกายเซนมีอะไรและ ให้อะไรแก่คนที่เข้ามานับถือและได้ปฏิบัติตาม ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามเซนย่อมจะได้คุณสมบัติอย่างน้อย ๓ อย่างคือ
๑) สมาธิ ความมุ่งมั่นจดจ่อไม่ท้อถอย
๒) จิตตะ ความเอาใจใส่ใคร่ครวญอย่างพิถีพิถัน
๓) ศรัทธา ความเชื่อที่ต้องประกอบด้วยเหตุผล
บทที่ ๔
บทสรุป
๑. ชาวเวียดนามที่มีอิทธิพลต่อพระพุทธศาสนา
๑.๑ ชีวประวัติของ ติช นัท ฮันห์
ติช นัท ฮันห์ กำเนิดในปี พ.ศ. ๒๔๖๙๗ ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า ( Nguyen Xuan Bao) "ติช นัท ฮันห์" เป็นฉายา เมื่อท่านได้รับ การอุปสมบทแล้ว คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง" (One Action) หมู่ศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า "Thay" (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า "ท่านอาจารย์"
ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิต ในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้ การมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้น จนกว่าจะเข้าใจ "การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน" เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึงอากัปกิริยาของพระฝึกหัด จะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับ สัมมาสติหรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ติช นัท ฮันห์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๓ ท่านได้เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธ และจากรัฐบาล ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมื่อท่านได้รับการเสนอทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพื่อ ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น ๑ ปี ท่านได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความ ร่วมมือ ระหว่างพุทธมหายานและหีนยานในประเทศ และตั้งรร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการสงฆ์ ด้วยการสอนและเขียน ในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together) และจัดตั้ง คณะเทียบหินในปี๒๕๐๙
ท่านตระหนักว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทาง วิธีการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ หยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.) เสนอนามท่านติช นัท ฮันห์ เพื่อรับรางวัล โนเบลเพื่อสันติภาพ การทำงานเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเวียดนามใต้ ปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน จนแม้รวมประเทศได้แล้วก็ตาม ท่านจึงลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส เพื่อเขียนหนังสือ และปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงาน เพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย จากประสบการณ์ ของท่าน ที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือ ผู้คนได้อีกมาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่านทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่ม ก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้ ช่วงแรกหมู่บ้านพลัมเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย เพื่อปรับตัว ก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมาย ในการปฏิบัติ สมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิก เป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีสมาชิก นักบวชกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่บ้านพลัมในฝรั่งเศส ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม
ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ ติช นัท ฮันห์ ได้เดินทางกลับไปเยือนประเทศเวียดนาม บ้านเกิดของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมา เป็นเวลา๓๙ปีและได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น
ปัจจุบัน ท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังเดินทาง ไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ ท่านเป็นชาวเวียดนาม ที่เป็นพระมหาเถระ ในพุทธศาสนา และมีอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์อันเป็นพระที่เลื่อมใส แห่งสากลโลก เป็นอย่างยิ่ง
ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิต ในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้ การมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้น จนกว่าจะเข้าใจ "การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน" เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึงอากัปกิริยาของพระฝึกหัด จะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับ สัมมาสติหรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ติช นัท ฮันห์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๓ ท่านได้เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธ และจากรัฐบาล ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมื่อท่านได้รับการเสนอทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพื่อ ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น ๑ ปี ท่านได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความ ร่วมมือ ระหว่างพุทธมหายานและหีนยานในประเทศ และตั้งรร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการสงฆ์ ด้วยการสอนและเขียน ในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together) และจัดตั้ง คณะเทียบหินในปี๒๕๐๙
ท่านตระหนักว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทาง วิธีการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ หยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.) เสนอนามท่านติช นัท ฮันห์ เพื่อรับรางวัล โนเบลเพื่อสันติภาพ การทำงานเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเวียดนามใต้ ปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน จนแม้รวมประเทศได้แล้วก็ตาม ท่านจึงลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส เพื่อเขียนหนังสือ และปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงาน เพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย จากประสบการณ์ ของท่าน ที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือ ผู้คนได้อีกมาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่านทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่ม ก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้ ช่วงแรกหมู่บ้านพลัมเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย เพื่อปรับตัว ก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมาย ในการปฏิบัติ สมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิก เป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีสมาชิก นักบวชกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่บ้านพลัมในฝรั่งเศส ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม
ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ ติช นัท ฮันห์ ได้เดินทางกลับไปเยือนประเทศเวียดนาม บ้านเกิดของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมา เป็นเวลา๓๙ปีและได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น
ปัจจุบัน ท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังเดินทาง ไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ ท่านเป็นชาวเวียดนาม ที่เป็นพระมหาเถระ ในพุทธศาสนา และมีอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์อันเป็นพระที่เลื่อมใส แห่งสากลโลก เป็นอย่างยิ่ง
๑.๒ ติช นัท ฮันห์ กับการเผยแผ่ศาสนา
" ติช นัท ฮันห์" เป็นพระมหาเถระในพุทธศาสนามหายานนิกายเซน ชาวเวียดนาม ผู้ซึ่งนำพาให้ผู้คนได้ประจักษ์ถึงการนำ พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับ ชีวิตประจำวันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ตลอดชีวิตนักบวชของท่านได้เขียนหนังสือและบทกวีไว้มากมายเพื่อเผยแผ่วิถีแห่งพุทธธรรม ผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั่วโลกมากกว่า ๘๐ เล่ม จำนวนตีพิมพ์มากกว่า๑.๕ล้านเล่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในโลกตะวันตก
ในช่วงที่บ้านเมืองของท่านมีความเดือดร้อนจากภัยสงคราม ท่านพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้หลักพุทธศาสนาเพื่อนำพาผู้คนให้กลับสู่สันติภาพในจิตใจของตน เพื่อนำไปสู่การหยุดการก่อสงครามในทุกระดับ จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ได้เสนอท่านติช นัท ฮันห์ รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ติช นัท ฮันห์ คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา "ติช นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง"
ท่านติช นัท ฮันห์ พำนักอยู่ในชุมชนหมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เป็นชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติของพุทธบริษัท ๔อันประกอบด้วยภิกษุภิกษุณีอุบาสกและอุบาสิกา
ชุมชนหมู่บ้านพลัมมีกระจายอยู่ในหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง และล่าสุดที่ประเทศไทย โดยมีนักบวชมากกว่า ๕๐๐ รูป กว่า ๒๐ ประเทศทั่วโลก และมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม หรือสังฆะ เกือบหนึ่งพันกลุ่มกระจายอยู่ใน ๓๑ ประเทศทั่วโลก
ทุกวันนี้ ท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงเบิกบานกับการฝึกปฏิบัติร่วมกับคนรุ่นใหม่ และเดินทางไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ เพื่อสรรค์สร้างความรัก ความเข้าใจ และสันติภาวะภายในให้กับผู้คนทั่วโลก
ในช่วงที่บ้านเมืองของท่านมีความเดือดร้อนจากภัยสงคราม ท่านพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้หลักพุทธศาสนาเพื่อนำพาผู้คนให้กลับสู่สันติภาพในจิตใจของตน เพื่อนำไปสู่การหยุดการก่อสงครามในทุกระดับ จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ได้เสนอท่านติช นัท ฮันห์ รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ติช นัท ฮันห์ คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา "ติช นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง"
ท่านติช นัท ฮันห์ พำนักอยู่ในชุมชนหมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เป็นชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติของพุทธบริษัท ๔อันประกอบด้วยภิกษุภิกษุณีอุบาสกและอุบาสิกา
ชุมชนหมู่บ้านพลัมมีกระจายอยู่ในหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง และล่าสุดที่ประเทศไทย โดยมีนักบวชมากกว่า ๕๐๐ รูป กว่า ๒๐ ประเทศทั่วโลก และมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม หรือสังฆะ เกือบหนึ่งพันกลุ่มกระจายอยู่ใน ๓๑ ประเทศทั่วโลก
ทุกวันนี้ ท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงเบิกบานกับการฝึกปฏิบัติร่วมกับคนรุ่นใหม่ และเดินทางไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ เพื่อสรรค์สร้างความรัก ความเข้าใจ และสันติภาวะภายในให้กับผู้คนทั่วโลก
ท่าน ติช นัท ฮันห์ เป็นหนึ่งในบุคคล ผู้ริเริ่ม นำพุทธศาสนา ออกมาสัมพันธ์กับโลกสมัยใหม่ อย่างมีพลัง ในยามที่บ้านเมือง เกิดศึกสงคราม ท่านเห็นว่าจุดยืนของพุทธศาสนา มิได้อยู่ที่ การสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่จับอาวุธห้ำหั่นกัน หากอยู่ที่ การเสนอทางออกอย่างสันติ โดยมีความเมตตาต่อทั้งสองฝ่าย แม้นั่นจะหมายถึง การถูกเข้าใจผิด จากทุกฝ่าย ก็ตาม และในขณะที่ ผู้คนกำลังเดือดร้อน จากภัยสงครามและความยากจน ชาวพุทธ ไม่ควรเอาแต่นั่งภาวนาหรือแผ่เมตตา อยู่ในมุ้งหากควรออกไป
ต้องให้การช่วยเหลือคนเหล่านั้น โดยพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุข กับเขา แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับ ปฏิบัติการ ทางสังคม ก็คือ การเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดความสงบ มีสติที่เปี่ยมด้วย ความกรุณาและมีปัญญา กระจ่างแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ท่าน และประโยชน์ตนอย่างแท้จริง
นอกจากการนำพุทธศาสนามาสัมพันธ์กับสังคมแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ ยังเห็นว่าพุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรม มิได้หมายถึงการปลีกตัว ออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคม อย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านติช นัท ฮันห์ เรียกว่า Engaged Buddhism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับ อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน
เสน่ห์แห่งคำสอนของท่าน ติช นัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล ๕ ในขอบเขตแคบ ๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล ๕ ให้มีความหมาย กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะกับ สังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูง จนผู้คน สามารถเบียดเบียนกันได้ แม้จะไม่เห็นตัวกัน เช่น ศีลข้อที่ ๑ อันได้แก่ปาณาติบาต ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อย ให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใด ๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบาย ฆ่าตัดตอน ผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริม อุตสาหกรรมทารุณสัตว์ก็เท่ากับผิดศีลข้อที่๑ด้วย
ในด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือการเจริญสติ เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่ การรู้กายและใจ ของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึง ความทุกข์ยากของผู้คนด้วย แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่น ท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ ไปด้วยอีกคน เราจะต้องรักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยมีสติเข้าไปรับรู้ความเศร้าโศก ความโกรธ ความเกลียด และแปรให้เป็น ความสงบและความรัก การตื่นอยู่เสมอด้วยสตินั้นเป็นปาฏิหาริย์ในตัวเอง ดังหนังสือเรื่อง "ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" ของท่าน เป็นคู่มือนำทางให้แก่เรา ได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหนังสือเล่มนี้ ท่านเขียนในขณะที่สงครามเวียดนามกำลังมาถึงจุดแตกหักแม้ท่านจะห่วงใยกับสถานการณ์ดังกล่าวเพียงใดแต่ท่านก็สงบนิ่งพอที่จะเขียนหนังสืออันมีคุณค่าลุ่มลึกได้
ท่านติช นัท ฮันห์ ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือ ไปพ้นจากความหลง แห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่างๆ แยกออกเป็นขั้วๆ ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้น แท้จริงเป็นอีกด้านของ เหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แยกจากกัน คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน เช่นเดียวกับขยะ ซึ่งในอดีต เคยเป็นดอกไม้ และในอนาคตก็จะ กลายเป็นดอกไม้อีก ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันและเป็นเหตุปัจจัย ให้แก่กันและกัน (ดังท่านเรียกว่า “เป็นดั่งกันและกัน” หรือ interbeing) เมฆกับกระดาษ เกี่ยวข้องกัน อย่างแยกไม่ออก ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ก็ไม่มีต้นไม้ และไม่มีกระดาษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเน้นย้ำ ให้เราได้มองกระดาษ จนเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ และคนตัดไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งในกระดาษนั้นไม่มีตัวตนที่แท้ของมันเอง หากเกิดขึ้นมา
จากสิ่งที่ไม่ใช่กระดาษ เช่นเดียวกับร่างกายของเราล้วนเกิดขึ้นจากธาตุหรือสารต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา เช่น คาร์บอน แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ ด้วยคำสอนง่ายๆ ที่ฝึกให้เรามองสิ่งต่างๆ อย่างเพ่งพินิจ ท่านได้พาให้เราเข้าใจความจริง อันลึกซึ้ง อันได้แก่อนัตตา คือความไม่มีตัวตน
คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของท่านติช นัท ฮันห์ ที่ควรกล่าวย้ำในที่นี้ก็คือ การตั้งสังฆะที่สมสมัย ท่านตระหนักดีว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จำต้องมีสังฆะที่เข้มแข็ง แต่แทนที่สังฆะจะหมายถึงผู้บวช ที่ถือเพศพรหมจรรย์เท่านั้น ท่านได้ขยายสังฆะให้คลุมไปถึงอุบาสกและอุบาสิกา ขณะเดียวกัน ในฝ่ายผู้บวช ก็มิได้มีแต่ภิกษุเท่านั้น หากยังมีภิกษุณีอีกด้วย โดยมีสิกขาบทที่ปรับปรุงให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทวนกระแส บริโภคนิยม ซึ่งกำลังเป็นตัวกัดกร่อนบั่นทอนชีวิตจิตใจของนักบวชและผู้ใฝ่ธรรมทั่วโลก ขณะเดียวกันท่านยังได้คิดค้นพิธีกรรมใหม่ๆ ที่สื่อธรรม อย่างน่าประทับใจ ควบคู่ไปกับการสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สังฆะเพื่อเป็นชุมชนกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง
นอกจากองค์ทะไลลามะแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็วๆ นี้ ยกย่อง ให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก หนังสือหลายเล่มของท่าน ติดอันดับ หนังสือขายดี ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยาย จะมีผู้ฟังแน่นขนัด แม้ต้อง เสียค่าผ่านประตูก็ตาม ยิ่งที่หมู่บ้านพลัม อันเป็นสำนักของท่าน ในประเทศ ฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วม ปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อน นับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปของทั่วทั้งโลกนั้นโดย ไม่เว้นแม้แต่ประเทศ แอฟริกา และอเมริกาใต้
คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่า ความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจ ของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าซึ่งเป็นอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตรศิษย์หาและเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณา แม้กระทั่งกับ ผู้ปลิดชีวิตและมีบุคคลผู้ที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกัน ก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่าเปรียบเสมือน “ดอกบัวกลางทะเลเพลิง” ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากข้ออุปมาดังกล่าวมาแล้วนั้น
ต้องให้การช่วยเหลือคนเหล่านั้น โดยพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุข กับเขา แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับ ปฏิบัติการ ทางสังคม ก็คือ การเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดความสงบ มีสติที่เปี่ยมด้วย ความกรุณาและมีปัญญา กระจ่างแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ท่าน และประโยชน์ตนอย่างแท้จริง
นอกจากการนำพุทธศาสนามาสัมพันธ์กับสังคมแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ ยังเห็นว่าพุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรม มิได้หมายถึงการปลีกตัว ออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคม อย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านติช นัท ฮันห์ เรียกว่า Engaged Buddhism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับ อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน
เสน่ห์แห่งคำสอนของท่าน ติช นัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล ๕ ในขอบเขตแคบ ๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล ๕ ให้มีความหมาย กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะกับ สังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูง จนผู้คน สามารถเบียดเบียนกันได้ แม้จะไม่เห็นตัวกัน เช่น ศีลข้อที่ ๑ อันได้แก่ปาณาติบาต ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อย ให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใด ๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบาย ฆ่าตัดตอน ผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริม อุตสาหกรรมทารุณสัตว์ก็เท่ากับผิดศีลข้อที่๑ด้วย
ในด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือการเจริญสติ เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่ การรู้กายและใจ ของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึง ความทุกข์ยากของผู้คนด้วย แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่น ท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ ไปด้วยอีกคน เราจะต้องรักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยมีสติเข้าไปรับรู้ความเศร้าโศก ความโกรธ ความเกลียด และแปรให้เป็น ความสงบและความรัก การตื่นอยู่เสมอด้วยสตินั้นเป็นปาฏิหาริย์ในตัวเอง ดังหนังสือเรื่อง "ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" ของท่าน เป็นคู่มือนำทางให้แก่เรา ได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหนังสือเล่มนี้ ท่านเขียนในขณะที่สงครามเวียดนามกำลังมาถึงจุดแตกหักแม้ท่านจะห่วงใยกับสถานการณ์ดังกล่าวเพียงใดแต่ท่านก็สงบนิ่งพอที่จะเขียนหนังสืออันมีคุณค่าลุ่มลึกได้
ท่านติช นัท ฮันห์ ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือ ไปพ้นจากความหลง แห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่างๆ แยกออกเป็นขั้วๆ ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้น แท้จริงเป็นอีกด้านของ เหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แยกจากกัน คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน เช่นเดียวกับขยะ ซึ่งในอดีต เคยเป็นดอกไม้ และในอนาคตก็จะ กลายเป็นดอกไม้อีก ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันและเป็นเหตุปัจจัย ให้แก่กันและกัน (ดังท่านเรียกว่า “เป็นดั่งกันและกัน” หรือ interbeing) เมฆกับกระดาษ เกี่ยวข้องกัน อย่างแยกไม่ออก ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ก็ไม่มีต้นไม้ และไม่มีกระดาษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเน้นย้ำ ให้เราได้มองกระดาษ จนเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ และคนตัดไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งในกระดาษนั้นไม่มีตัวตนที่แท้ของมันเอง หากเกิดขึ้นมา
จากสิ่งที่ไม่ใช่กระดาษ เช่นเดียวกับร่างกายของเราล้วนเกิดขึ้นจากธาตุหรือสารต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา เช่น คาร์บอน แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ ด้วยคำสอนง่ายๆ ที่ฝึกให้เรามองสิ่งต่างๆ อย่างเพ่งพินิจ ท่านได้พาให้เราเข้าใจความจริง อันลึกซึ้ง อันได้แก่อนัตตา คือความไม่มีตัวตน
คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของท่านติช นัท ฮันห์ ที่ควรกล่าวย้ำในที่นี้ก็คือ การตั้งสังฆะที่สมสมัย ท่านตระหนักดีว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จำต้องมีสังฆะที่เข้มแข็ง แต่แทนที่สังฆะจะหมายถึงผู้บวช ที่ถือเพศพรหมจรรย์เท่านั้น ท่านได้ขยายสังฆะให้คลุมไปถึงอุบาสกและอุบาสิกา ขณะเดียวกัน ในฝ่ายผู้บวช ก็มิได้มีแต่ภิกษุเท่านั้น หากยังมีภิกษุณีอีกด้วย โดยมีสิกขาบทที่ปรับปรุงให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทวนกระแส บริโภคนิยม ซึ่งกำลังเป็นตัวกัดกร่อนบั่นทอนชีวิตจิตใจของนักบวชและผู้ใฝ่ธรรมทั่วโลก ขณะเดียวกันท่านยังได้คิดค้นพิธีกรรมใหม่ๆ ที่สื่อธรรม อย่างน่าประทับใจ ควบคู่ไปกับการสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สังฆะเพื่อเป็นชุมชนกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง
นอกจากองค์ทะไลลามะแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็วๆ นี้ ยกย่อง ให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก หนังสือหลายเล่มของท่าน ติดอันดับ หนังสือขายดี ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยาย จะมีผู้ฟังแน่นขนัด แม้ต้อง เสียค่าผ่านประตูก็ตาม ยิ่งที่หมู่บ้านพลัม อันเป็นสำนักของท่าน ในประเทศ ฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วม ปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อน นับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปของทั่วทั้งโลกนั้นโดย ไม่เว้นแม้แต่ประเทศ แอฟริกา และอเมริกาใต้
คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่า ความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจ ของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าซึ่งเป็นอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตรศิษย์หาและเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณา แม้กระทั่งกับ ผู้ปลิดชีวิตและมีบุคคลผู้ที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกัน ก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่าเปรียบเสมือน “ดอกบัวกลางทะเลเพลิง” ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากข้ออุปมาดังกล่าวมาแล้วนั้น
ฉะนั้นหากจีนไม่รุกรานธิเบต โลกก็คงไม่รู้จักองค์ทะไลลามะ ในทำนองเดียวกันหากรัฐบาลเวียดนามใต้ ไม่ปิดประตู ผลักไสให้ท่านกลายเป็นผู้ลี้ภัย โลกก็คง ไม่มีโอกาสดื่มด่ำสัมผัสธรรมของท่าน ติช นัท ฮันห์ อย่างแพร่หลายเช่นทุกวันนี้ เมื่อท่านไม่อาจเข้าประเทศเวียดนามได้ หลังจากการไปรณรงค์เรียกร้อง สันติภาพที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาและยุโรป จึงเปรียบเสมือนบ้านของท่านตลอด ๓๙ ปีที่ผ่านมา หนังสือและคำสอนที่สำคัญของท่านส่วนใหญ่เกิดขึ้น ในช่วงนี้ ยิ่งท่านมาตั้งสำนักที่หมู่บ้านพลัมของประเทศฝรั่งเศส สังฆะของท่านก็หยั่งรากลึกและเติบใหญ่ จนกลายเป็นพลังที่สำคัญ ในทางของศาสนธรรมและสันติภาพนั้น ขณะเดียวกันก็สร้างมิติใหม่ให้แก่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับโลกและสำหรับคนเวียดนามด้วย
๒. ภิกษุณีชาวเวียดนามกับการฟังธรรม
๒. ภิกษุณีชาวเวียดนามกับการฟังธรรม
การบวชของผู้หญิงในศาสนาพุทธ เคยเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในห้วงระยะเวลาที่ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์๘ ละเพศฆราวาส แล้วประกาศตัวเป็นภิกษุณี แม้หลังจากนั้นจะมีผู้หญิงไทยบางคนที่มีศัทธา ออกบวชเป็นภิกษุณี แต่ก็ไม่มีท่านใดจะโดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากเท่าภิกษุณีนิรามิสา
ด้วยฐานะทางบ้าน ที่ประกอบกิจการโรงพิมพ์ ความรู้ ความแน่วแน่ในการค้นหาตัวเอง และสัจธรรมของชีวิต การบวชของภิกษุณีนิรามิสา เมื่อปี ๒๕๔๓ ในวัย ๓๐ ปลาย จึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขฐานะ หรืออาการป่วยไข้ทางจิตใจ อันเป็นสาเหตุของอาการปรารถนาความสงบ เหมือนเช่นผู้ทรงศีลในวัยสาวหลายคนเป็น หากแต่ด้วยความศรัทธา ที่ภิกษุณีนิรามิสา มีต่อท่านติช นัท ฮันห์ หลังจากไปฟังการแสดงธรรมครั้งแรกของท่านที่เยอรมนี ซึ่งมี "บทความ" บทนี้ที่กล่าวถึงความศัทธาต่อพระพุทธศาสนา
" ฟังหลวงพ่อเทศน์ครั้งแรกแล้วน้ำตาไหล ปมต่างๆที่อยู่ในตัวเองก็หลุดๆๆ รู้สึกเลยว่า หลวงพ่อเป็นคนที่เปิดประตูให้ การเปิดประตูนั้น หมายความว่า จริงๆเรามีอาจารย์อย่างท่านพุทธทาส ที่เป็นเหมือนอาจารย์ผู้แรกเริ่ม ได้ไปฝึกกับหลวงพ่อเทียนและบรรดาอาจารย์ท่านอื่นๆ เวลามีปัญหาส่วนใหญ่ก็ไปที่สวนโมกข์บ้าง ไปที่ศูนย์ฝึกปฏิบัติธรรมบ้าง แต่พอมาถึงจุดหนึ่ง เหมือนกับว่ามันบล็อค มีบางอย่างที่ถูกสกัดกั้นไว้ หาทางออกไม่ได้ ฝึกแล้วรู้สึกว่า ถึงเราจะพยายามที่จะเข้าใจปัญหาของตัวเองมากขึ้น หาทางออกกับชีวิตให้มากขึ้น หรือฝึกเพื่อให้ลดปมในตัวเอง ลดความเศร้าในตัวเอง แต่ก็ยังทำไม่ค่อยได้ มันไม่ค่อยเกิดความเบิกบานปีติเท่าที่ควร "
ภิกษุณีนิรามิสา บอกเล่ากับ "สารคดี" ถึงแรงบันดาลใจของท่านที่ทำให้มุ่งไปสู่หมู่บ้านพลัม อาจมิใช่ยูโทเปียรัฐในอุดมคติที่ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ หากแต่หมู่บ้านพลัมอันเป็นอาศรมของนักพรตผู้ยิ่งใหญ่นามติช นัท ฮันห์นั้น เป็นหนทางแห่งความสะอาด สว่าง สงบ ที่แท้ ในการเข้าถึงขุนเขาและสายน้ำแห่งเซน ด้วยว่า
"ก่อนการศึกษาเซน ขุนเขาคือขุนเขา สายน้ำก็คือสายน้ำ
แต่เมื่อได้ตระหนักในสัจจะแห่งเซน
ขุนเขาดูจะมิใช่เพียงขุนเขา และสายน้ำก็มิใช่
เพียงสายน้ำอีกต่อไปต่อเมื่อบรรลุความรู้แจ้งแล้ว"
ภิกษุณีนิรามิสา ทิ้งความเป็นพยาบาลบัณทิต รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับความรู้ระดับปริญญาโทด้านการศึกษาเด็กเล็ก จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เข้าเป็นนักบวชสังกัดหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส ชุมชนและกลุ่มวัดพุทธศาสนานิกายเซน มหายาน ภายใต้ร่มเงาของท่านติช นัท ฮันห์ พระเซนชาวเวียดนาม ผู้จาริกอยู่ในประเทศไทยวันนี้
๒.๑ ภิกษุณีกับการสืบเชื้อสายของศาสนา
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้ว เราสามารถสืบค้นหลักฐานเกี่ยวกับ ภิกษุณีสงฆ์ในจดหมายเหตุของศรีลังกาชื่อ ทิพวังสา (Dipavamsa) ซึ่งมีบันทึกว่า การสืบสายของภิกษุณีสงฆ์นั้นได้ไปถึงศรีลังกาโดย ท่านพระนางสังฆมิตตาอรหันตเถรี ซึ่งพระธิดาของ พระเจ้าอโศกมหาราช โดยการทูลเชิญของกษัตริย์ เทวานัมปิยติสสะแห่งศรีลังกา ภายหลังจากที่พระมหินทอรหันตเถระ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เดินทางมายังเกาะลังกาเพื่อประกาศธรรมให้แก่พระองค์จนเกิดความเลื่อมใสและมี ศรัทธาในพระพุทธศาสนาพระนางสังฆมิตตาเถรีได้นำกิ่งโพธิ์ เดินทางมาพร้อมกับคณะภิกษุณี จากนั้นท่านได้ทำพิธีอุปสมบทภิกษุณีให้แก่พระนางอนุฬาเทวี พร้อมทั้งบริวารอีกหนึ่งพันคน ณ ประเทศศรีลังกาซึ่งถือเป็นครั้งแรก
ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มี นักวิจัยได้ประมาณการสูญหายไปของภิกษุณีสงฆ์เถรวาทในศรีลังกา ในช่วงปีศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๓ ตามที่หลักฐานที่บันทึกลงในแท่นหินและใบลาน การสืบสายภิกษุณีมหายานที่ภิกษุณีศรีลังกานำไปสู่ เมืองหนานจิงในประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. ๙๖๙ และ ๙๗๖สืบสายอย่างต่อเนื่องในประเทศเหล่านี้คือประเทศ จีน ไต้หวัน เกาหลีและเวียดนาม ตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
สำหรับในประเทศไทย ในช่วงก่อนศตวรรษที่ ๒๐ ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถยืนยันถึงการมีอยู่ของภิกษุณีสงฆ์ในนิกายใดๆ แต่ในศตวรรษที่ ๒๐ เราได้พบบันทึกของการอุปสมบทเป็นภิกษุณีในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๓ คุณสาระและคุณจงดี ลูกสาวของนายนรินทร์กลึง พร้อมด้วยสตรีอีก ๖ คน ได้บรรพชาเป็นสามเณรี เหตุการณ์นี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและมหาเถรสมาคม เพราะเหตุนี้ เมื่อวันที่ ๑๘ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๗๑นั้นมี สมเด็จพระกรมหลวงชินวรสิริวัตน์ ได้ออกกฎหมายห้ามภิกษุและสามเณรบวชผู้หญิงให้เป็น ภิกษุณีสามเณรีหรือสิกขมานา
ในช่วงหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ภิกษุสงฆ์ศรีลังกาเริ่มทำพิธีอุปสมบทภิกษุณีตามพระวินัยฝ่ายเถรวาท ให้กับผู้หญิงชาวพุทธทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา อินเดียและศรีลังกาเป็นประเทศสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ โดยการร่วมมือของภิกษุและภิกษุณีมหายาน ( ตามที่มีในวินัยธรรมกุปตะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสงฆ์ฝ่ายมหายาน ในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลีและเวียดนาม)
ในปีพ.ศ.๒๕๔๔ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรีในประเทศศรีลังกา และได้อุปสมบทในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ในประเทศศรีลังกา มีการมารับการอุปสมบทครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของการอุปสมบทภิกษุณีชาวไทยในฝ่าย เถรวาท ซึ่งยังไม่ได้เป็นการยอมรับจากมหาเถรสมาคมของประเทศไทย ว่าเป็นเถรวาทเพราะได้รับการสืบสายการอุปสมบทภิกษุณีมาจากมหายาน หลังจากนั้น ผู้หญิงไทยหลายๆคนออกไปที่ศรีลังกา เพื่อจะได้รักษาพระวินัยของภิกษุณี ปัจจุบันนี้มีภิกษุณีเถรวาท ๑๙ รูป และสามเณรีเถรวาท ๒๗รูป ที่บวชจากศรีลังกา และกลับมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่แผ่นดินไทย
สำหรับในประเทศไทย ในช่วงก่อนศตวรรษที่ ๒๐ ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถยืนยันถึงการมีอยู่ของภิกษุณีสงฆ์ในนิกายใดๆ แต่ในศตวรรษที่ ๒๐ เราได้พบบันทึกของการอุปสมบทเป็นภิกษุณีในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๓ คุณสาระและคุณจงดี ลูกสาวของนายนรินทร์กลึง พร้อมด้วยสตรีอีก ๖ คน ได้บรรพชาเป็นสามเณรี เหตุการณ์นี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและมหาเถรสมาคม เพราะเหตุนี้ เมื่อวันที่ ๑๘ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๗๑นั้นมี สมเด็จพระกรมหลวงชินวรสิริวัตน์ ได้ออกกฎหมายห้ามภิกษุและสามเณรบวชผู้หญิงให้เป็น ภิกษุณีสามเณรีหรือสิกขมานา
ในช่วงหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ภิกษุสงฆ์ศรีลังกาเริ่มทำพิธีอุปสมบทภิกษุณีตามพระวินัยฝ่ายเถรวาท ให้กับผู้หญิงชาวพุทธทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา อินเดียและศรีลังกาเป็นประเทศสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ โดยการร่วมมือของภิกษุและภิกษุณีมหายาน ( ตามที่มีในวินัยธรรมกุปตะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสงฆ์ฝ่ายมหายาน ในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลีและเวียดนาม)
ในปีพ.ศ.๒๕๔๔ ดร.
๒.๒ ภิกษุณีที่เป็นศิษย์ ติช นัท ฮันห์
๑) ภิกษุณีนิรามิสา
ภิกษุณีนิรามิสา ชื่อของท่านแปลว่า ไม่ติดด้วยเหยื่อล่อทางโลก หรือ มีความสุขโดยไม่ต้องมี เหยื่อล่อ ท่านเป็นชาวไทย บวชกับท่านติช นัท ฮันห์ ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ๑๙๙๗ ต่อมาได้รับตะเกียงธรรมาจารย์ เป็นผู้นำในการปฏิบัติภาวนา ได้ช่วยท่านติช นัท ฮันห์ เผยแผ่ พุทธศาสนาไปในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา ไทย ลาว และเวียดนาม เป็นต้น
๒) ภิกษุณี Mai Nghiêm
ภิกษุณี Mai Nghiêm (มายงิม) เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อ ๑๙๘๔ บวชกับท่านติช นัท ฮันห์ ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ๒๐๐๒ ได้ฝึกปฎิบัติที่หมู่บ้านพลัมตั้งแต่เด็กกับครอบครัว มีความเชี่ยวชาญในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและวัยรุ่น และมีความสามารถทางด้านดนตรี ทั้งการแต่งเพลงและบทสวดมนต์เป็นภาษาฝรั่งเศส รวมถึงการร้องเพลงด้วย
๓)ภิกษุณี ThÙ Nghiêm
ภิกษุณี ThÙ Nghiêm (ทืองิม) เป็นชาวเวียดนาม เกิดในปี ๑๙๗๐ บวชกับท่านติช นัท ฮันห์ ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ๒๐๐๓ อดีตเคยเป็นเภสัชกร ปัจจุบันได้รับการมอบหมาย จากสังฆะให้ไปประจำที่วัดปรัชญา ประเทศเวียดนาม เพื่อฝึกฝนพระรุ่นน้อง มีความสุขุมเรียบร้อย มีความลุ่มลึกในธรรมะ
๔) ภิกษุณี Tháng Nghiêm
ภิกษุณี Tháng Nghiêm (ทังงิม) แปลว่า เพิ่มพูนด้วยความเจริญงอกงาม เป็นชาวเวียดนาม- อเมริกัน เกิดปี ๑๙๗๗ บวชกับท่านติช นัท ฮันห์ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ๒๐๐๓ เป็นนักบวชรุ่นใหม่ที่ได้รับมอบหมายจากสังฆะ ให้ประจำที่วัดปรัชญาประเทศเวียดนาม เพื่อฝึกฝน พระรุ่นน้อง มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนธรรมะ หลังจากงานภาวนาที่ประเทศไทย จะกลับไป จำพรรษาที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส
สรุปความได้ว่า การที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุณีนั้นเมื่อกล่าวใน ตามพระวินัยเป็นเรื่องยากอยางยิ่ง เพราะมีพระวินัยบัญญัติแก่ภิกษุณีว่าภิกษุณีที่มาบวชนั้น ต้องมาบวชกับ คณะสงฆ์อีกทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๑ สำหรับผู้ที่เป็น พระภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์นั้น จะบวชสตรีอื่นตามความพอใจไม่ได้ คือ หนึ่งปีบวชได้เพียง ๑ รูปเท่านั้น สำหรับสตรีที่จะไปขอบวช ต้องเป็นนางสิกขมานา รักษาศีล ๖ ข้อ ไม่ขาดเลยเป็นจำนวนทั้งหมด ๒ ปีด้วยกัน จึงจะบวชเป็นพระภิกษุณีได้ และมีพระวินัยอื่นๆ ที่ทำให้ภิกษุณีอยู่ลำบาก การบวชเป็นภิกษุณีนั้นถึงจะมีความยากลำบากมากแค่ไหนนั้น ไม่สามารถเป็นอุปสัคต่อการบวชได้ เพราะว่าผู้ที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุณีนั้น มีความศัทธามั่นคงอย่างมากในพระพุทธศาสนาและมาในสังคมปัจจุบันนี้ บางประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามีพระภิกษุณีมากกว่าภิกษุเสียอีก ดังนั้นกฎและข้อระเบียบต่างๆที่มีขึ้นนั้นย่อมที่จะไม่สามารถเป็นอุปสัคเลยกับภิกษุณี การบวชเป็นภิกษุณีนั้นในพระพุทธศาสนามีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้วนั้น กล่าวคือพระน้านางคือ พระนางปชาบดีโคตมีได้แสดงความประสงค์จะขอบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุมัติ ทั้งนี้ด้วยการขอร้องหรือการสนับสนุนของพระอานนท์เป็นพิเศษ แต่ต่อมานั้นภิกษุณีนั้นได้สูญหายไปจากประเทศที่นับถือ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้น คือ ประเทศพม่า ศรีลังกา และไทย แต่ก็ไปแพร่หลายในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และในใต้หวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น