วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงร่างวิทยานิพนธ์

  โครงร่างวิทยานิพนธ์

     วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์
 (พุทธทาสภิกขุ)

๑.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลารามที่อำเภอไชยา  จังหวัด       สุราษฎร์ธานีและพัฒนาให้เป็นสถานที่ที่มีบทบาทในการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เป็นแหล่งค้นคว้าและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  ท่านได้กล่าวถึงเหตุที่ก่อตั้งไว้ว่า  การตั้งสวนโมกขพลารามไม่มีอะไรมากเพียงแต่มองเห็นว่าควรปรับปรุงการปฏิบัติธรรมเท่านั้น  โดยการกลับไปหาของเดิมว่าการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นอย่างไร  เพื่อรื้อฟื้นพระพุทธศาสนากลับมาสู่สภาพเดิมเหมือนครั้งสมัยพุทธกาล  และยังได้กล่าวถึงการก่อตั้งสวนโมกขพลารามไว้อีกตอนหนึ่งว่า  การเกิดสวนโมกขพลารามเราถือว่าเป็นนิมิตหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่  เพื่อการแก้ไขสิ่งต่างๆ  ให้ดีขึ้นเท่าที่เราพึงทำได้[๑] คนส่วนใหญ่รู้จักสวนโมกขพลารามในนามของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เพราะท่านเป็นผู้สร้างสวนโมกขพลารามและพัฒนาบทบาทของสวนโมกขพลารามมาตลอด  ดังที่  ประเวศ  วะสี  ได้กล่าวถึง  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไว้ว่า  ท่านได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทยและแก่โลก[๒]  นอกจากนี้  เนาวรัตน์  พงศ์ไพบูลย์  ได้กล่าวถึงการจัดสถานที่ในสวนโมกขพลารามไว้ว่า  การจัดสถานที่ในสวนโมกขพลารามไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน  เพราะเน้นสวนป่าธรรมชาติที่มีต้นไม้นานาพันธุ์ให้ความร่มรื่น  รวมทั้งมีโรงมหรสพทางวิญญาณที่เป็นอุปกรณ์ในการสอนธรรมะที่ลึกซึ้ง  เรียกได้ว่าธรรมะเข้าถึงจิตวิญญาณของมนุษย์  รวมถึงลานหินโค้งซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเผยแผ่ธรรมะก็ทำให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมาก  และยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ  อีกมากมาย  ที่แฝงไปด้วยปริศนาธรรม[๓]
               พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ดังที่  จินดา  จันทร์แก้ว  ได้กล่าวถึงบทบาทนี้ไว้ว่า  ตลอดระยะเวลา  ๕๐  กว่าปี  ท่านได้มีบทบาทในการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมให้คล้ายกับสมัยพุทธกาล เช่น จัดสถานที่ให้ร่มรื่นเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม  ไม่ว่าจะเป็นลานหินโค้ง  โบสถ์บนยอดภูเขาพุทธทองหรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นๆ      จะใช้เป็นอุปกรณ์สอนธรรมะได้ทั้งสิ้นและได้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  ออกเผยแผ่มากมาย  เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาให้ชาวโลกได้รู้จักและนำไปปฏิบัติ  ผลงานเขียนของท่านพุทธทาสภิกขุที่ได้จัดพิมพ์เผยแพร่มีมากมาย  เช่น  ชุดธรรมโฆษณ์  จำนวน  ๕๐  เล่ม  ซึ่งเป็นหนังสือในลักษณะสารานุกรม  มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องปรมัตถธรรม[๔]  ซึ่งสอดคล้องกับที่  ประกาศ  วัชราภรณ์  ได้กล่าวไว้ว่า  ท่านพุทธทาสภิกขุได้แสดงผลงานการบรรยายธรรม  เทศนาธรรม  และเขียนหนังสือเกี่ยวกับธรรมะไว้เป็นจำนวนมาก[๕]  นอกจากนี้  จินดา  จันทร์แก้ว          ได้กล่าวถึงพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ไว้ว่า   ท่านได้ส่งเสริมด้านพระพุทธศาสนา    โดยวิธีการให้การศึกษาต่อชุมชนอีกมาก  เช่น การอบรมธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนทุกวันพระ     การจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เพื่อสอนธรรมะแก่นักเรียน  การจัดตั้งธรรมทานมูลนิธิเพื่อจัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือธรรมะออกเผยแผ่  และยังได้มีการจัดตั้งสวนโมกข์นานาชาติขึ้นอีกด้วย  ซึ่งพระภาวนาโพธิคุณ  ได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ไว้ว่า  สวนโมกข์นานาชาติสร้างขึ้นมาเพื่ออบรมขัดเกลาจิตใจของคนต่างชาติต่างศาสนาให้มีความเข้าใจตรงกัน  ตามที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้ตั้งปณิธานทั้ง ๓ ประการเอาไว้  คือ  ให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจศาสนาของตน  ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา  ช่วยกันถอนตัวออกจากวัตถุนิยม[๖]  นอกจากนี้  กลุ่มปฏิบัติงานเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ได้กล่าวถึงกิจกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่จัดขึ้น ณ สวนโมกข์นานาชาติไว้ว่า  ในวันที่  ๑ ๑๐  ของทุกเดือนจะมีการอบรมอานาปานสติภาวนาแก่ชาวต่างชาติ  เพื่อฝึกจิตใจให้สงบ  และสอดแทรกธรรมะให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ด้วยเหตุนี้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  จึงมีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด [๗]  ดังที่ ประภาส วัชราภรณ์  ได้กล่าวถึง สวนโมกขพลารามไว้ว่า สวนโมกขพลารามได้กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยทางจิตวิญญาณของโลกทั้งโดยอัตถะและโดยสัญลักษณ์อีกทั้งโดยความหมายที่แท้จริงของคำว่า มหาวิทยาลัย[๘]
                    การที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้ก่อตั้งสวนโมกขพลารามขึ้นนั้นถือเป็นบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยในด้านต่างๆกล่าวคือ  ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา  ผลกระทบด้านการศึกษา   ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ในด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนานั้น  ได้มีการส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของพระพุทธศาสนา  ในด้านการศึกษาพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้จัดการศึกษาที่สมบูรณ์แบบโดยให้มีวิชาศีลธรรมอยู่ในระบบและกระบวนการศึกษา  ส่วนผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้มีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ต่างๆ  อย่างมากมายหลายชนิดจึงทำให้ภายในสวนโมกขพลารามร่มรื่นด้วยต้นไม้  ซึ่งยังเป็นที่สมบูรณ์อยู่มากและยังมีสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่  เช่น  ลิง  กระรอก  ไก่ป่า  เป็นต้น  จึงทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมสวนโมกขพลารามและมาปฏิบัติธรรมได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น[๙]
            พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้สร้างคุณประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย  ผลงานของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ  เช่น  ภาษาอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เยอรมัน  จีน  ญี่ปุ่น  ลาว  ศรีลังกา  ทิเบต  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ  มีมากกว่า  ๒๐  เรื่อง  เช่น  คู่มือมนุษย์  ภาษาคน   – ภาษาธรรม  วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม  ได้ถูกนำไปตีพิมพ์ที่สำนักพิมพ์  wcstminster  ประเทศสหรัฐอเมริกา[๑๐]  และหนังสือเรื่อง  แก่นพุทธศาสน์  ที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้แสดงปาฐกถาในโอกาสพิเศษ  ณ  ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)  ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์  เมื่อวันที่  ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๐๔  ได้รับรางวัลชนะเลิศ  หนังสือดีประจำปี  ๒๕๐๘  จากองค์การยูเนสโก  แห่งสหประชาชาติ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นผู้สร้างความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ  international  understanding  ที่สำคัญคือ  เป็นไปเพื่อสันติภาพของโลก  จึงมีคำประกาศเกียรติคุณยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นบุคคลสำคัญของโลก[๑๑]      
                    เหตุผลนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะวิจัยเกี่ยวกับ  บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ผลของการวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้บทบาทในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นที่รู้จักกันเด่นชัดขึ้นทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อคณะสงฆ์โดยส่วนรวมในการนำผลการวิจัยไปปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยและจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ที่จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
           
๒.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                    ๑.๒.๑  เพื่อศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)    
                   ๑.๒.๒  เพื่อศึกษาบทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 
                    ๑.๒.๓  เพื่อศึกษาผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย
         
๓.  ขอบเขตการวิจัย
          ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้  ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ไว้ ๓ ประเด็นดังต่อไปนี้ คือ 
                    ประเด็นที่  ๑  ศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์       (พุทธทาสภิกขุ)  มี ๓ ระยะ คือ
                    ๑.  ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะต้น  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ ๒๔๘๕)
                    ๒. ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะกลาง  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖ ๒๕๒๙)
                    ๓. ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะปลาย  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖)


                    ประเด็นที่  ๒  ศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ๓  ด้าน คือ
                    ๑.   การเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ 
                    ๒.  การเผยแผ่ด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
                    ๓.  การเผยแผ่ด้วยกลุ่มบุคคล
                    ประเด็นที่ ๓  ศึกษาผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย มี ๓ ด้าน คือ
                    ๑.   ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
                    ๒.  ผลกระทบด้านการศึกษา
                    ๓.  ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๔.  ปัญหาที่ต้องการทราบ
               ๑.๔.๑   ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)      มีความเป็นมาอย่างไร
                    ๑.๔.๒  บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เป็นอย่างไร
          ๑.๔.๓  ผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทยเป็นอย่างไร         
               
๕.  นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย
                    วิธีการเผยแผ่  หมายถึง  การที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ใช้เทคนิคและวิธีการในการแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น
                    พระพุทธศาสนา  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระธรรมโกศาจารย์         (พุทธทาสภิกขุ)      ได้ศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดครอบคลุมทุกแง่มุม             
                    ระยะต้น  หมายถึง  ระยะที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางด้านภาษาบาลีจนได้เปรียญธรรม ๓ โยคและเข้าไปอยู่สวนโมกข์ (พุมเรียง)  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ ๒๔๘๕)
                    ระยะกลาง  หมายถึง  ระยะที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้ย้ายจากสวนโมกข์ (พุมเรียง) และเข้าไปอยู่สวนโมกข์ (ไชยา)  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖ ๒๕๒๙)
                    ระยะปลาย  หมายถึง  ระยะที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระธรรมโกศาจารย์  (เจ้าคุณชั้นธรรม)  จนกระทั่งมรณภาพ  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖)
                    บทบาท  หมายถึง  การที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้กระทำหน้าที่ของตนเองอย่างบริบูรณ์แล้วและได้กระทำประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย
                    ผลกระทบ  หมายถึง  ผลที่เกิดจากการแสดงบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ได้แก่  ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา  ผลกระทบด้านการศึกษา  ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๖.  ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                ๖.๑  เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                                   พระประชา  ปสนฺนธมฺโม[๑๒]  ได้กล่าวถึง  อัตชีวประวัติของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ) ได้อย่างละเอียดที่สุดและสมบูรณ์เพราะผู้ถามมาตั้งใจถามและผู้ตอบตั้งใจตอบอย่างจริงจังและมีความลึกซึ้ง  ซึ่งข้อความข้างต้นนี้ ส.สิวลักษณ์  กล่าวเอาไว้ในคำนำสำนักพิมพ์    ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย  เมืองเบิกเลย์  สหรัฐอเมริกา  เมื่อ  ๑๒ ๓๕  ว่าสถานะของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุนั้น เป็นที่ยอมรับของพระมหาเถระมาตลอด แม้พระสังฆบิดรบางพระองค์จะทรงยึดวิสุทธิมรรคยิ่งกว่าปาพจน์ เมื่อทรงใคร่ครวญดูแล้ว ก็แลเห็นคุณของท่านอาจารย์ ซึ่งในสมัยปัจจุบันด้วยแล้ว องค์สกลมหาสังฆปรินายกถึงกับเสด็จไปทรงอภิวาทท่านอาจารย์ถึงสวนโมกข์เลยทีเดียว แม้จะต่างนิกายกันและทรงพระสถานะที่สูงกว่ากันสักเพียงใดก็ตาม
                      สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์[๑๓]  ได้กล่าวถึงบทบาทของวัดเอาไว้ว่า  วัดเป็นสถานที่
จัดศาสนพิธีต่างๆ  ทางศาสนา  เช่น  วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา  วันมาฆบูชา  เป็นต้น  ด้วยกิจดังกล่าวนี้  วัดจึงเป็นสถานที่สั่งสอนให้คนรู้จักสัมมาคารวะ  ปฏิบัติอยู่ในระเบียบวินัย  และเป็นผู้มีพิธีรีตอง     
                                    คนึงนิตย์  จันทบุตร[๑๔] ได้กล่าวถึงบทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เอาไว้ว่า  ท่านเป็นนักคิด  นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งในโลกศาสนา  เป็นผู้ริเริ่มผลงานด้านศาสนาหลายประการ  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสวนโมกข์  และคณะธรรมทาน  เป็นผู้ริเริ่มการสวดมนต์แปล  เป็นผู้นำในการแสดงธรรมแบบบรรยายหรือปาฐกถา  และออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา  ตั้งสำนักปฏิบัติธรรม  ปรากฎข้อเขียนและปาฐกถาธรรมมากมายมหาศาล 
                    สรุปความได้ว่า  บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)นั้น  มีส่วนทำให้พระพุทธศาสนา  ได้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น   ประดุจวงล้อธรรมจักรที่หมุนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง  เพราะบุคลากรของพระพุทธศาสนาได้มีความรู้  และมีความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน ที่เป็นเนื้อแท้ของศาสนาได้มากยิ่งขึ้น  จนสามารถนำไปปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง
               ๖.๒  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                                    จิราภรณ์ คงเหล่[๑๕] ได้วิจัยเรื่อง ศึกษาบทบาทของสวนโมกขพลาราม  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ผลวิจัยการพบว่า  บทบาทของสวนโมกขพลาราม  สามารถจำแนกรายละเอียดออกได้  ๒  ด้านคือ  บทบาทด้านการปฏิบัติธรรมและบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น จะต้องอยู่ในพระธรรมวินัย  และยึดคติธรรมที่ว่า  กินข้าวจานแมว  อาบน้ำในคู  นอนกุฏิเล้าหมู  ฟังยุงร้องเพลงพระภิกษุสามเณรจะปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการปฏิบัติธรรมคือ  ใช้หลัก  การทำงานคือการปฏิบัติธรรม  หรือ  ธรรมคือหน้าที่ ส่วนบทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น เป็นหน้าที่หลักของสวนโมกขพลาราม ที่ช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไปโดยตลอดระยะเวลาที่มีการจัดตั้งสวนโมกขพลาราม  
                                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ทุ่มเททั้งกำลังกาย  กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก  ศึกษาพระธรรมขั้นลึกพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้สังคมมนุษย์มีพรหมแดนแห่งศาสนา  โดยศึกษาคัมภีร์ของศาสนาอื่น ๆ จนเข้าใจลึกซึ้งและสามารถถ่ายทอดความรู้ปรับใช้ให้แต่ละศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่น ได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล  พบว่าทุกศาสนามุ่งสอนให้เป็นคนดีนั่นเอง  นอกจากนี้ท่านได้แปลหนังสือ  สูตรเหวยหล่าง และคำสอนฮวงโป เพื่อถ่ายทอดศาสนาสืบต่อไป
                                    พระมหาสวนทรา  ธมฺมจารี  (สุจารี)[๑๖] ได้วิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์หลักปรัชญาศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ ผลการวิจัยพบว่า  ศิลปะเป็นวัตถุที่ถูกตกแต่งและสร้างสรรค์ด้วยฝีมือของมนุษย์  เพื่อให้มีผลต่อการรับรู้ของประสาทสัมผัส  ความสวยความงาม  เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากวัตถุ  ด้วยฝีมือของศิลปิน  ความงามกับวัตถุจึงแยกออกจากกันไม่ได้  ความเป็นศิลป์คือวัตถุที่ถูกจัดแจงตกแต่งให้สวยงามแล้วด้วยรูปร่างหรือทรวดทรงขนาดและด้านปริมาณ  ซึ่งคำนวณได้วัดได้ด้วยหลักทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  ดังนั้น  เกณฑ์มาตรฐานวัดความเป็นศิลป์  จึงเป็นเกณฑ์มาตรฐานของวัตถุเพื่อใช้กับวัตถุ  ศิลปะเป็นวัตถุแห่งการพิจารณา  โดยใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์มาตรฐานวัดความเป็นศิลป์           
                                    ปรัชญาศิลปะของพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้ยืนบนฐานความคิดที่แตกต่างจากทัศนะทั้งสาม  แต่หลักการเพื่อตัดสินความเป็นศิลปะจะถูกนำมาพิจารณาโดยรอบด้าน  ในความเป็นศิลป์ไม่ใช่ตัดสินให้เพียงแค่ความงาม  ความงามนั้นเป็นเพียงพื้นฐานของความเป็นศิลป์ที่ทำขึ้นด้วยความรู้ความชำนาญของศิลปินผู้มีความตั้งใจและความเพียรพยายาม  ไม่ใช่ทำเล่น ๆ ความดีและคุณค่านั้นควรมอบให้แก่ศิลปะ  ไม่ใช่เพราะมันทำให้เกิดความเพลิดเพลินน่าหลงใหล  หากแต่ศิลปะนั้นให้ผลต่อจิตใจของผู้รับรู้เป็นความสุขสงบ  ด้วยเหตุผลของท่านที่ว่าชีวิตมนุษย์  ถูกทำให้ร้อนรุ่มอยู่ทุกวันด้วยปัญหานานัปการ  ช่วงเวลาของการผักผ่อนทุกชีวิตต้องการและแสวงหา  แต่การได้พักผ่อนจริง ๆ แทบไม่มี  เพราะจิตวิญาณไม่ได้พบความสุขสงบที่เรียกว่าการพักผ่อนทางจิตวิญญาณจริง ๆ หากจะมอบความดีให้แก่ศิลปะ  ความดีนั้นก็คือผลปรากฏของศิลปะที่มีผลต่อความสงบสุขของจิตวิญาณ  และหากจะหาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อตัดสินความเป็นศิลป์  เกณฑ์มาตรฐานนั้นก็คือความจริงของความดีนั้น  ซึ่งเป็นที่ต้องการของจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน
                                    พระสมเกียรติ  ปริญฺญาโณ  (เพชรอริยาวงค์)[๑๗] ได้วิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตถตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ  ผลการวิจัยพบว่า  แนวคิดเรื่องตถตาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เสนอและนำมาเผยแผ่ต่อชาวโลกล้วนแต่มีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น  แนวคิด  ตถตา  โดดเด่นมากและเป็นของใหม่สำหรับการเผยแผ่ปรมัตถธรรม เป็นธรรมอันนำไปสู่การรู้แจ้งและพ้นทุกข์ทางใจได้จริง  บรรลุจุดมุ่งหมายของพระพุทธองค์  เป็นเพราะท่านพุทธทาสภิกขุ  ได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างเพื่อศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจังและสามารถนำสภาวธรรมและบัญญัติที่นอนเนื่องอยู่ในพระไตรปิฎก  ออกมาให้ประชาชนผู้แสวงหาสัจธรรมได้ศึกษาและปฏิบัติตามกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ
                                    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มีความเพียรอันยิ่งสมดังที่ตั้งปณิธานเป็นทาสของพระพุทธเจ้า  ได้มีจริยาวัตรอันน่าเลื่อมใสยิ่ง  เสมอต้นเสมอปลาย   เป็นแบบอย่างของพุทธสาวกอย่างแท้จริงที่ได้สืบทอดต่อเนื่องกันมา  ท่านได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอุทิศตนเพื่อพระพุทธองค์  เพื่องานพระพุทธศาสนาและเพื่อชาวโลก
                    จากการทบทวน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้  ผู้วิจัยนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยดังนี้

วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
                                                     

ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ)               ๓  ระยะ คือ
๑. ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะต้น  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ ๒๔๘๕)
๒.ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะกลาง  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖ ๒๕๒๙)
๓. ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะปลาย  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖)



บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)         ๓ ด้าน คือ
๑.การเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ
๒.การเผยแผ่ด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
๓.การเผยแผ่ด้วยกลุ่มบุคคล

                                                                             
     











 




ผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ระพุทธศาสนายุคต้อนระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาสจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย ๓  ด้าน คือ
๑.   ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๒.  ผลกระทบด้านการศึกษา
๓.  ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 




           

         





๗.  วิธีดำเนินการวิจัย
                การศึกษาเรื่อง  วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งแหล่งปฐมภูมิ (Primary Data) และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary Source)   ได้แก่   พระไตรปิฎก  และข้อมูลจากเทปบรรยายธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เอกสาร  งานวิจัย บทความ  และสิ่งพิมพ์อื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  แล้วเสนอการศึกษาวิเคราะห์โดยการพรรณนาวิเคราะห์  ซึ่งได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ดังนี้ คือ
                    ๗.๑  ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์
                    ๗.๒  ขั้นรวบรวมข้อมูล
                    ๗.๓  การวิเคราะห์ข้อมูล
                    ๗.๔  การเสนอผลการวิเคราะห์
                    ๗.๑  ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์
                                    ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้สามารถแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
                                    ๑) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลเพื่อการวิจัยที่รวบรวมได้จากการเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก และข้อมูลจากเทปบรรยายธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  
                                    ๒)  ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยรวบรวมจาก เอกสาร สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  และข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี     
                    ๗.๒  ขั้นรวบรวมข้อมูล
                                           ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research)  จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และแหล่งทุติยภูมิ  (Secondary Source)โดยการค้นคว้าจากพระไตรปิฎก  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่   เอกสาร  งานวิจัย บทความ  จดหมายเหตุและสิ่งพิมพ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ)  
                    ๗.๓  การวิเคราะห์ข้อมูล
                                          ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยแยกแยะตามประเด็นที่ศึกษาโดยหาสิ่งที่เหมือนกัน สิ่งที่ต่างกัน หรือสิ่งที่สัมพันธ์กันขององค์ความรู้เกี่ยวกับพระธรรมโกศาจารย์         (พุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งเป็นการนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาวิเคราะห์ความถูกต้องว่าสามารถตอบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ และสรุปอ้างอิงไปถึงสภาพการณ์จริงได้มากน้อยเพียงใด  หลังจากนั้นได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่ข้อมูลบางส่วนขาดความสมบูรณ์  ต่อจากนั้นจึงวิเคราะห์  สังเคราะห์  ตามขอบเขตด้านเนื้อหาที่กำหนดไว้
                    ๗.๔  การเสนอผลการวิเคราะห์ 
                               การสรุป อภิปรายและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนที่นำข้อสรุปมาสังเคราะห์เชื่อมโยงสู่ภาพรวม และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

๘.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                    ๘.๑  ทำให้ได้ทราบประวัติความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ)
                        ๘.๒  ทำให้ได้ทราบถึงบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาสภิกขุ)  ว่ามีการใช้รูปแบบใดมีหลักการและวิธีการอย่างไร
                    ๘.๓  ทำให้ได้ทราบถึงผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรม     โกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย















สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                           หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่  ๑  บทนำ
                        ๑.๑  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                                                                           
                        ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย                                                                                                                                ๑.๓  ขอบเขตการวิจัย       
                        ๑.๔  ปัญหาที่ต้องการทราบ
              ๑.๕  นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย                                                                                     
                        ๑.๖  ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                                                                       ๑.๗  วิธีดำเนินการวิจัย
                        ๑.๘ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่  ๒  ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
                        ๒.๑  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
   ระยะต้น  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ ๒๔๘๕)
                        ๒.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
   ระยะกลาง  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖ ๒๕๒๙)
              ๒.๓  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
   ระยะปลาย  (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐ ๒๕๓๖)
บทที่  ๓  บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                        ๓.๑   การเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ    
                      ๓.๒  การเผยแผ่ด้วยสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์                                                                                                       ๓.๒  การเผยแผ่ด้วยกลุ่มบุคคล

                 


สารบัญ  (ต่อ)

เรื่อง                                                                                                                           หน้า
บทที่  ๔  ผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
               ต่อสังคมไทย 
                        ๔.๑  ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
                        ๔.๒ ผลกระทบด้านการศึกษา
                        ๔.๓  ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บทที่  ๕  สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
                        ๕.๑  สรุปผลการวิจัย
                        ๕.๒ ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้วิจัย


















บรรณานุกรม  (ชั่วคราว)
                    ก.  เอกสารชั้นปฐมภูมิ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ
                    ราชวิทยาลัย  กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙.
                    ข.  เอกสารชั้นทุติยภูมิ
(๑)  หนังสือ  :
คณึงนิตย์   จันทบุตร.  สถานภาพและบทบาทของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย.  กรุงเทพมหานคร
                 : กลุ่มประสานงานด้านการศึกษาเพื่อสังคม,  ๒๕๓๒. 
ธรรมทาส  พานิช.  การปฏิบัติสำหรับฆราวาส.  กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ, ๒๕๓๑.
ธรรมปราโมทย์.  ตามรอยพุทธทาสภาคผลงาน.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา,  ๒๕๔๙.
เนาวรัตน์  พงศ์ไพบูลย์.  แผ่วผ่านธารน้ำไหล.  กรุงเทพมหานคร : เกี้ยว เกล้า  พิมพการ,  ๒๕๓๗.
บุญย์  นิลเกษ.  สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,  ๒๕๒๓.
ประกาศ  วัชราภรณ์.  พุทธทาสประทีปแห่งสวนโมกข์.  กรุงเทพมหานคร : เกี้ยว เกล้า  พิมพการ, 
                ๒๕๒๐.             
ประเวศ  วะสี.  สวนโมกข์  ธรรมกาย  สันติอโศก.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน,
๒๕๓๐.
พุทธทาสภิกขุ.  พุทธทาส  สวนโมกขพลาราม  กำลังแห่งการหลุดพ้น. นนทบุรี : ภาพพิมพ์,
 ๒๕๓๘.
___________การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและหลักแห่งพุทธศาสนา.  สุราษฎร์ธานี
                : ธรรมทานมูลนิธิ,  ๒๕๑๘.
___________.  การศึกษาด้านใน.  กรุงเทพมหานคร : กองทุนสวัสดี,  ๒๕๔๐.
___________.  เซ็นในสวนโมกข์กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา๒๕๓๕.   
___________.  อิทัปปัจจยตา.  กรุงเทพมหานคร : ธรรมทานมูลนิธิ๒๕๓๗.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต).  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  บุคคลสำคัญของ
                โลก.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์  หจก.  เอมี  เทรดดิ้ง,  ๒๕๔๙.
พระปัญญานันทภิกขุ.  คู่มืออุบาสก อุบาสิกา.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง,  มปป.  
                ๒๕๓๗.
พระประชา  ปสนฺนธมฺโม.  เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล
                คีมทอง๒๕๓๕.    


สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์.  บทบาทของวัดที่เคยมีและพึงต้องมีต่อสังคมภาคใต้.  กรุงเทพมหานคร
                : สำนักพิมพ์มงคลการพิมพ์๒๕๒๒. 
สุพร  จุลทอง.  บทบาทในการพัฒนาสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช.  สงขลา
                : มหาวิทยาลัยทักษิณ,  ๒๕๔๐.  
สุลักษณ์  ศิวลักษณ์.  อิทธิพลพุทธทาสต่อสังคม.  กรุงเทพมหานคร  :  เคล็ดไทย,  ๒๕๓๓.  
(๒)  เอกสารและบทความต่าง ๆ
กล้า  สมตระกูล.  วัดกับการปฏิรูป.  วารสารพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย.  ๔๓ (๒๖๓)  : ๒๘-๓๑
                มิถุนายน  ๒๕๓๗.
จินดา  จันทร์แก้ว.  ขบวนการสงฆ์ในปัจจุบัน.  เอกสารการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาใน
                สังคมไทย  หน่วย  ๑
๗.  นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ๒๕๓๓.   
พระมหาณรงค์   จิตฺตโสภโณ.  บทบาทของพระสงฆ์และวัดกับการพัฒนาในอดีต.  เอกสารการ  สอน  ชุดวิชาความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยหน่วยที่  ๑ ๗.  นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
                สุโขทัยธรรมาธิราช
,  ๒๕๓๓. 
 (๓)  วิทยานิพนธ์
จิราพร  คงเหล่.  “ศึกษาบทบาทของสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.  
                วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.  บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ,
                ๒๕๔๑. 
พระมหาสวนทรา  ธมฺมจารี.  การศึกษาวิเคราะห์หลักศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ.
                วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.  บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง     
                กรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๕๐. 
พระสมเกียรติ  ปริญฺญาโณ.  การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตถตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ.
                วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.  บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
                ราชวิทยาลัย,  ๒๕๔๖.








ประวัติผู้ศึกษาวิจัย

                ชื่อผู้วิจัย               พระไพโรจน์   อตุโล  (สมหมาย)
                วัน เดือนปี เกิด   :  วันที่  ๑  เดือนมิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๒๓
            สถานที่เกิด           :  บ้านเลขที่ ๔๑ หมู่ที่  ๓  ตำบลน้ำตก  อำเภอทุ่งสง  จังหวัด  นครศรีธรรมราช
                ประวัติการศึกษา :  ระดับประถมศึกษา
                                                   โรงเรียนบ้านน้ำตก  ตำบลน้ำตก  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
                                                :  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                                                   โรงเรียนบ้านน้ำตก  ตำบลน้ำตก  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
                                                :  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏิราชวิทยาลัย  วิทยาเขตวังน้อย
    ตำบลสนับทึบ  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา                  
:  ระดับอุดมศึกษา
                                                   ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต  (พธ.บ.)  คณะพุทธศาสตร์ 
                                                   สาขาวิชาศาสนา  จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
                                                    วิทยาเขตนครศรีธรรมราช  พ.ศ.  ๒๕๕๔
                                               :  นักธรรมชั้นเอก
                                                   จากสำนักวัดถ้ำพระหอ  อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช
                                                :  อภิธรรมชั้น  จูฬอาภิธรรมิกะเอก 
                                                    จากสำนักวัดไตรวิทยาราม  อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช
                อุปสมบท              :  วันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๕
                ตำแหน่งปัจจุบัน :  ครูสอนพระปริยัติธรรม , ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  
                ที่อยู่ปัจจุบัน         :  วัดน้ำตก ตำบลน้ำตก  อำเภอทุ่งสง   จังหวัดนครศรีธรรมราช  ๘๐๑๑๐









โครงร่างวิทยานิพนธ์


เรื่อง


วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
An  Analysis  of   the  Roles   of   Phradhammakosajarn  (BuddhadasaBhikkhu)
in  the  Propagation  of  Buddhism


โดย


พระไพโรจน์  อตุโล  (สมหมาย)



คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์

    ๑.  พระมหาปรีดา   ขนฺติโสภโณ, ดร.     ประธานกรรมการ
                                ๒. พระครูสิริธรรมาภิรัต, ผศ.ดร.            กรรมการ
                                ๓.  รศ.สมบูรณ์   บุญฤทธิ์                         กรรมการ



วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๕๔


[๑] พุทธทาสภิกขุ. พุทธทาส  สวนโมกขพลาราม  กำลังแห่งการหลุดพ้น.  (นนทบุรี : ภาพพิมพ์, ๒๕๓๘), หน้า  ๒๗.
[๒] ประเวศ  วะสี. สวนโมกข์  ธรรมกาย  สันติอโศก.  (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน,           ๒๕๓๐), หน้า  ๑๓.
[๓] เนาวรัตน์  พงศ์ไพบูลย์. แผ่วผ่านธารน้ำไหล(กรุงเทพมหานคร : เกี้ยว   เกล้า  พิมพการ, ๒๕๓๗), หน้า  ๑๓.
[๔]  จินดา  จันทร์แก้ว.  ขบวนการสงฆ์ในปัจจุบันเอกสารการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยหน่วย  ๑ ๗.  (นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,  ๒๕๓๓), หน้า  ๑๑๓.
[๕]ประกาศ  วัชราภรณ์.  พุทธทาสประทีปแห่งสวนโมกข์,  (กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย, ๒๕๒๑),  หน้า  ๑๒๐.  
[๖] เรื่องเดียวกัน,  หน้า   ๙๘.
[๗] กลุ่มปฏิบัติงานเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา.  ธรรมนิทัศน์ สัปดาห์พุทธรรมพุทธทาส.  (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หอรัตน์ชัยการพิมพ์, ๒๕๓๑),  หน้า  ๓๓.  
[๘] เรื่องเดียวกัน,  หน้า  ๑๒๐.  
 [๙] จิราพร  คงเหล่,   ศึกบทบาทของสวนโมกขพลาราม  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฏร์ธานี, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,  (บัณฑิตวิทยาลัย  : วิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๔๑)
[๑๐] ธรรมปราโมทย์. ตามรอยพุทธทาสภาคผลงาน.  (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๙),หน้า  ๑๑๕.
[๑๑] พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต).พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  บุคคลสำคัญของ
โลก.  (กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่  หจก.  เอมี เทรดดิ้ง, ๒๕๔๙),  หน้า  ๑ ๕.
            [๑๒] พระประชา  ปสนฺนธมฺโม.  เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา.  (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง,  ๒๕๒๘),  หน้า  ๑๓.
            [๑๓] สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์.  บทบาทของวัดที่เคยมีและพึงต้องมีต่อสังคมภาคใต้  ของดีวัดมัชฌิมวาส.(สงขลา : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์, ๒๕๒๒),  หน้า  ๑๗๕.
            [๑๔] คณึงนิตย์  จันทบุตร.  สถานภาพและบทบาทของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กลุ่มประสานด้านการศึกษาเพื่อสังคม, ๒๕๓๒), หน้า  ๑๒๒ ๑๒๓.
            [๑๕] เรื่องเดียวกัน.
                    [๑๖] พระมหาสวนทรา  ธมฺมจารี, การศึกษาวิเคราะห์หลักศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ,วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย  :  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๕๐).
                              [๑๗] พระสมเกียรติ  ปริญฺญาโณ, การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องตถตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ,  วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,  ๒๕๔๖).
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น