วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติและความเป็นมา(ประเพณีเดือน ๑๐)

ประเพณีสารทเดือนสิบ
      สารทเดือนสิบ หรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกกันว่าประเพณีทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือน
สิบ เป็นประเพณีทำบุญกลางเดือนสิบเพื่อเพื่อนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคทั้งขนมสำคัญห้าอย่างไปถวาย
พระ แล้วอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษของตน ชาวเมืองนี้ไม่ว่าจะไปอยู่ไกลเพียงใด เมื่อถึงช่วงทำบุญเดือนสิบ ก็จะกลับภูมิลำเนามาร่วมทำบุญ ด้วยความสำนึกกตัญญูที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจมาแต่เยาว์วัย
ประวัติความเป็นมา
     ประเพณีสารทเดือนสิบวิวัฒนาการมาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ ซึ่งลูกหลานจัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศ
ส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติ
ในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่าประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อ
บรรพบุรุษ นำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารท
เดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาล คาดว่าพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในนครศรีธรรมราช จึงรับประเพณีนี้มาด้วย
ความเชื่อ
     ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าบรรพบุรุษอันไดแก่ ปู่ย่าตายาย และญาติพี่น้องที่
ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรก
กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปีมายังชีพ
ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอ
ส่วนบุญจากลูกหลายญาติพี่น้องและจะกลับไปนรกในวันแรม ๑ ค่ำ เดืออนสิบ
     โอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไป
แล้ว เป็นการแสดงกตัญญูกตเวที
ระยะเวลา
     ระยะเวลาของการประกอบพิธีประเพณีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครนิยม
ทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ
พิธีกรรม
     การปฏิบัติพิธีกรรมการทำบุญสารทเดือนสอบมีสามขั้นตอน คือ
๑) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ
๒) การฉลองหมฺรับและการบังสกุล
๓) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
๑) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ 
     การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้จัดหมฺรับ เริ่มขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ วันนี้เรียกกันว่า "วันจ่าย" ตลาดต่างๆ จึงคึกคักและคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนชาวบ้านจะซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน
ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัเตรียมไว้สำหรับใส่หมฺรับ
และสำหรับนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ
  ๑.๑ การจัดหมัรบ
         การหมฺรับมักจะจัดเฉพาะครอบครัวหรือจัดรวมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหมฺรับใช้
กระบุง หรือ เข่งสานด้วยด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของหมฺรับ ปัจจุบัน
ใช้ภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ
         การจัดหมฺรับ คือการบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบ ฯลฯ ลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้
สำหรับงานนี้โดยเฉพา โดยจัดเป็นชั้นๆ ดังนี้
             ๑) ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้ง ลงไว้ที่ก้นภาชนะ ได้แก่ ข้าวสาร แล้วใส่พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุง
อาหารที่จำเป็น
             ๒) ขั้นที่สอง จัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ใส่ขึ้นมาจากชั้นแรก ได้แก่ มะพร้าว ขี้พร้า
หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ ข้าวโพด อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีในเวลานั้น
             ๓) ขั้นที่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ปูน ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน
            ๔) ขั้นบนสุด ใช้บรรจุและประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ เป็นสิ่งสำคัญของหมฺรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมบรรพบุรุษและ
ญาติที่ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจาก
๑.๓) การยกหมฺรับ
                วันแรม ๑๔ ค่ำ ชาวบ้านจะจำหมฺรับที่จัดเตรียมไว้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด โดยเลือวัดที่อยู่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม วันนี้เรียกว่า " วันยกหมฺรับ" การยกหมฺรับไปวัดเป็น
ขบวนแห่หรือไม่มีขบวนแห่ก็ได้ โดยนำหมฺรับและภัตตาหารไปถวายพระด้วย

๒) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล 
      วันแรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า "วันหลองหมฺรับ" มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสกุลการทำบุญวันนี้
เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้
กระทำพิธีกรรมในวันนี้บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เกิดทุขเวทนาด้วยความ
อดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูไป
๓) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
        เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้วก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า " ตั้งเปรต" เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้เป็นสาธารณะทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มี
ญาติหรือญาติได้มาร่วมทำบุญได้
        บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้นเพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า " หลาเปรต" (ศาลาเปรต) เมื่องตั้งขนม ผลไม้ และ
และเงินทำบุญเสร็จแล้วก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้วมาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ก็จะเก็บ
สายสิญจน์
      การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า "ชิงเปตร" ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกัน
เข้าไปแย่งขนมกันอย่างคึกคัก เพราะความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะ
ได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
      วัดบางแห่งสร้างหลาเปรตไว้สูง โดยมีเสาเพียงเสาเดียว เสานี้เกลาจนลื่นและชะโลมด้วยน้ำมัน เมื่อถึง
เวลาชิงเปรต เด็กๆ แย่งกันปีนขึ้นไป หลายคนตกลงมาเพราะเสาลื่น และอาจถูกคนอื่นดึงขาพลัดตกลงมา
กว่าจะมีผู้ชนะการปีนไปถึงหลาเปรต ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงมีทั้งความสนุกสนาน และความ
และความตื่นเต้น
แก่นแท้หรือสาระสำคัญ
       ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการคือ
       ๑) เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ โดยรำลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  ที่ได้เลี้ยงดูลูกหลานและให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เพื่อตอบแทนบุญคุณดังกล่าวลูกหลานจึงทำบุญ
อุทิศส่วนกุศลไปให้
      ๒) เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไหล ได้มาพบปะซักถามสารทุกข์สุกดิบต่อกัน และได้มีโอกาสทำบุญ
ร่วมกัน เป็นการสร้างความสนิทสนมกลมเกลียวในหมู่ญาติ สร้างความสบายใจที่ได้ทำบุญ
     ๓) เป็นการเก็บพืชผลของตนไปทำบุญถวายพระ เพราะชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มีอาชีพทาง
ทางการเกษตร ในช่วงปลายเดือนสิบเป็นระยะที่พืชพันธุ์ต่างๆ กำลังออกผล จึงได้เก็บพืชผลไปทำบุญอันเป็น
สิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
      ๔) เป็นการเก็บเสบียงอาหาร มีทั้งพืชผัก อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป จัดนำไปถวายในรูปหมฺรับหรือสำรับ เพือที่ทางวัดจะได้เก็บรักษาไว้เป็นเสียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน ทั้งนี้เพราะในภาคใต้ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นใน
ปลายเดือนสิบ ซึ่งพระภิกษุสงฆ์จะบิณฑบาตด้วยความยากลำบาก
      ๕) เป็นการจัดงานรื่นเริงสนุนสนานประจำปี งานรื่นเริงจัดขึ้นเพราะความภาคภูมิใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ที่ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับไป และเป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิต
ทางการเกษตรและชื่นชมในผลผลิตที่ได้รับได้ร่วมกันจัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองร่วมกัน งานเพื่อเฉลิม
ฉลองประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งนับเป็นงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้
และประเทศไทย













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น