ปริศนาธรรม
บทนำ
ธรรมดาปริศนาเป็นปัญหาที่ดิ้นได้ อาจจะตีความหมายไปได้หลายอย่าง แต่จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นคติเตือนใจอย่างเดียวกัน
คำอธิบายต่อไปนี้เป็นเพียงความหมายแง่หนึ่งเท่านั้น
ปริศนาธรรม ๑๒ ข้อ
๑.กินอะไรไม่หายอยาก ๒.นอนมากไม่รู้จักตื่น
๓.รักผู้อื่นยิ่งกว่ารักตัว ๔.ของควรกลัวแล้วกลับกล้า
๕.ของสั้นสัญญาว่ายาว ๖.ปอกมะพร้าวเอาปากกัด
๗.อุ้มลูกอ่อนรัดไว้ไม่วาง ๘.หลงทางไม่ถามไถ่
๙.หนีจรเข้ใหญ่ไพล่ลงน้ำ ๑๐.ต้องจองจำกลับยินดี
๑๑.สู้ไพรีไม่หาอาวุธ ๑๒.ไม่หยุดไม่ถึงพระ
ความหมาย
๑.กินอะไรไม่หายอยาก
การกินของคนเรา กล่าวแล้วมี
๒ อย่าง คือ ๑.กินเพราะความหิว ๒.กินเพราะความอยาก
ความหิวเป็นความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะทรงตัวอยู่ได้เพราะอาหาร มนุษย์และสัตว์ทั้งปวงเป็นอยู่ได้เพราะอาหาร
การกินเพราะความหิวจึงเป็นความจำเป็นและ การกินเพราะความหิวมีเวลาอิ่มและเบื่อได้ มีขีดจำกัดตามขนาดของกะเพาะขงอแต่ละบุคคล ส่วนความอยาก
เป็นอาการของใจประกอบด้วยตัณหา
การกินด้วยความอยากนี้หามีขอบเขตของความอยากไม่ และยิ่งหามาสนองความต้องการได้มากเท่าใด
ก็ดูเหมือนจะเพิ่มความอยากให้มากขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น ที่สุดของความอยากจึงไม่มีเวลาอิ่ม
ท้องจะต้องแตกตายเหมือนตาชูชกกินด้วยความอยาก หากินเฉพาะทางปากเท่านั้นไม่ บางคนคนยังสามารถกินในสิ่งที่ไม่น่าจะกิน เช่น
กินจอบ กินเสียม และรถ
เรือ เป็นต้น ไฟไม่อิ่มเชื้อ ทะเลไม่อิ่มน้ำฉันใดก็ฉันนั้น ดังที่ท่านประพันธ์เป็นคำกลอนไว้ว่า
ธรรมดาๆฟย่อมๆม่พักพอไหม้เชื้อ, ทะเลใหญ่ไม่ปรากฏว่าเบื่อน้ำ, มฤตยูไม่อิ่มหนำในประชาสัตว์, คนละโมบสมบัติก็ไม่รู้สึกจุใจในสิ่งใด, ด้วยเหตุฉะนี้ผู้กินด้วยโลภะ ตัณหา
ชื่อว่า กินอะไรไม่หายอยาก
๒.นอนมากไม่รู้จักตื่น
การตื่นมี
๒ อย่าง คือ ๑.ตื่นจากหลับ ๒.ตื่นจากมัวเมาประมาท
บางคนอาจนอนขี้เซา ไม่รู้จักเวลาที่ควรนอนหรือไม่ควรนอน ไม่ว่าเช้าหรือสาย ไม่ว่าบ่ายหรือเย็น ไม่ว่ากลางคืนหรือกลางวัน การนอนบอกลักษณะของบุคคลได้ ดังโคลงโลกนิติบทหนึ่งว่า
บรรทมยามหนึ่งไซร้ ทรงฤทธิ์
หกทุ่มหมู่บัณฑิต ทั่วแท้
สองยามพวกพานิช นรชาติ
นอนสี่ยามนั้นแล้ว เที่ยงแท้เดรฉาน
ผู้ที่รู้จักแบ่งเวลา ไม่เห็นแก่การหลับนอนมาก ชื่อว่าผู้ตื่นจากหลับ ถ้ามีลักษณะตรงกันข้าม
ชื่อว่านอนมากไม่รู้จักตื่น
อีกประการหนึ่ง บางคนเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติคอยสำรวมระวังอยู่เสมอ
ไม่ยอมประพฤติชั่วทางกาย และทางวาจา
แม้มีประมาณน้อย
ไม่ประมาทโดยมาก
รู้เท่าทันความจริงว่า ของมากมาจากของน้อย
และของน้อยนั้นเองเมื่อรวมตัวมากเข้า
สามารถทำความเสื่อมเสียให้ได้
ดังคำกลอนบทหนึ่งว่า
น้ำน้อย ๆ ฝอยกระเซ็นอยู่เป็นนิตย์
ย่อมพังอิฐพังหินดินสลาย
มอดน้อย ๆ แคะแทะไม่วาย
ยังทำลายไม้คร่าวเสาโต ๆ
แม้ควายชั่วทุจริจก็เช่นเดียวกัน
แม้มีประมาณน้อยก็ไม่ควรไม่ควรประมาท ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เช่นนี้
ชื่อว่าผู้ตื่นจากความมัวเมาประมาท ส่วนที่ผู้หลงใหลไร้สติ
ปล่อยตัวให้จมอยู่ในความชั่ว ชื่อว่า นอนมากไม่รู้จักตื่น
ผู้เป็นเช่นนี้แม้มีชีวิตอยู่ก็เหมือนตายแล้ว
๓.รักผู้อื่นยิ่งกว่ารักตัว
ความรักมี ๒ ชนิด คือ
รักตัวเองและรักคนอื่นคนที่เอาใจต่อการศึกษาก็ดี
คนขยันมั่นเพียรในการทำมาหากินก็ดีคนที่รู้จักป้องกันอันครายที่เกิดขึ้นแก่ตนก็ดี
ชื่อว่าผู้รู้จักตัวเองพ่อแม่รักลูกหรือลูกรักพ่อแม่ก็ดี
อาจารย์รักศิษย์หรื่ออาจารย์รักศิษย์หรืออาจารย์รักศิษย์ก็ดีตลอดถึงมิตรรักมิตรเป็นคนก็ดี
ชื่อว่ารักคนอื่นความรักทั้งสองนี้ท่านกล่าวว่า
ไม่มีความรักอันใดยิ่งกว่าความรักตัว หมายความว่าจะแสดง
ความรักออกมาโดยอาการใดก็ตามก็ล้วนแต่มุ่งผลสุดท้ายก็เพื่อาตัวเอง ความจริง
การรักตัวเองเป็นการกระทำถูกต้องตามหลักธรรม
เพราะดีชั่วทุกอย่างอยู่ที่ตัวของตัวเองเมื่อทำให้ดีแล้ว
ชื่อว่าทำทุกอย่างให้ดีตามไปด้วย มีคนบางคนบางพวกแม้จะพูดว่ารักตัวหรือ
แสดงอาการว่ารักต้ว แต่อาการกระทำนั้นเป็นการรักคนอื่น เช่น หนุ่มสาวบางคนหลงรักกันและกันย่อมมำความชั่วความผิดต่าง
ๆ เพื่อรักษาน้ำในคู่รัก ที่เรียกว่าความรักทำให้คนตาบอด
คือมองไม่เป็นเหตุผลนั้นเองพ่อแม่บางคนเป็นห่วงลูก รักลูกกลัวลูกจะอด
กลัวลูกจะไม่เทียมบ่าเทยมไหล่คนอื่นเขา สู้อุตส่าห์ตรากตรำลำบากทำงาน
แม้จะผิดถูกอย่างไรไม่คำนึงถึงหรือคนเฒ่าคนแก่บางคนมั่วเมาห่วงลูกห่วงหลาน
จะไปวัดไปวาหาความสงบสุขบ้าง แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ตลอดชีวิต เหล่านี้ชื่อว่า
รักผู้อื่นกว่ารักตัว
๔.ของควรกลัวกลับกล้า
ความกลัวมี ๒ ชนิด คือ กลัวไนสิ่งไม่ควรกลัว , กลัวสนสิ่งควรกลัว, ความกลัวย่อมเป็นสิ่งธรรดาของมนุษย์และสัตว์ทั่วไป แต่สัตว์บางจำพวกคือ
คนบางคนกลัวในสิ่งไม่ควรกลัวเช่นที่เล่ากันว่าใส้เดือนทั้งหลายกินดินเป็นอาหาร แต่ไม่กล้ากินมากเพราะกลัวดินจะหมด
นางนหต้อยติวิดนอนหงายเหมือนไข่ของมั่น เพราะกลัวฟ้าจะตกทับ นกนะเรีนไม่กลัวเหยียบดินเต็มเท้า
เพราะกลัวแผ่นดินจะไหว พวกพราะมณ์เที่วยกาเมียสาวเด็ก ๆ เพราะกลัววงศ์สกุลจะขากตอน
(ธรรมเนียมพราหมณ์สมัยโบราณ) สิ่งเหล่านี้เได้ชื่อว่ากลัวในสิ่งไม่ควรกลัว
หรือบางคนยะทำงานบางอย่าง ซึ่งเหมาะสมกับวิทยฐานะของตนแล้ว
แต่กลัวจะต่ำต้อยน้อยหน้า ผลที่สุดกลายเป็นคนว่างงาน บางคนทำความดีเช่นจุให้ทานแลุรักษาศีลเจริญภาวนา
หรือไปวัดฟังเทศน์ ฟังปาฐกถาก็ไม่กล้าทำ บ่นอายบ้างกลัวบ้าง
อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่ากลัวต่อสิ่งไม่ควรกลัว แต่บางคนกลับตรงกันข้าม
คือกลัวทำในสิ่งไม่ควรทำ
ความชั่วทุจริจทั่งหลายเป็นสิ่งไม่ควรทำเพราะมีผลเป็นทุกข์ดเอดร้อย พระพุทธองศ์ได้ประทานโอวาทไว้ว่าาเธอทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์
ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่พอในของเธอเธอย่าทำกรรมทั้งหลาย
ในที่สับและที่แจ้าในการทำชั่วนี้นนักปราชญ์สรรเสริญแต่คนขลาดแต่ไม่สะะเสริญคนกล้าเลยท่านสัตบุรษทั้งหลาย
ไม่ทำบาผเพราะกลัวต่อบาปนั้นเที่ยวด้วยเหตุนี้ความชั้วทุจริตเป็นสิ่งที่ควรกลัว
คนที่ทำความชั่วชื่อว่าของควรกลัวกลับกล้า
๕.ของสั้นสัญญาว่ายาว
ชีวิตความเป็นอยู่ข่องสัตว์และมนุษย์ทั้งหลายเป็นอยู่ได้อย่างมากไม่เกินร้อยปี
หากจะอยู่เกินกว่านี้บ้างก็ตายเพราะชรานักปราชญ์โบราณของลานนาไทยได้กำหนด
ที่สุดของชีวิตมนุษย์ไว้อย่างมากไม่เกิน ๙๐
ปี ดั่งคำกลอนว่า
สิบปี๋ อาบน้ำบ่หนาว ซาวปี๋ แอ่วสาวบ่ก้าย สามสิบปี๋ บ่หน่ายสงสาร
สี่สิบปี๋ เยียะการเหมือนฟ้าฝ่า ห้าสิบปี๋ สาวน้อยด่าบ่อเจ็บใจ หกสิบปี๋ ไอเหมือนฟานโขก เจ็ดสิบปี๋ บะโหกเต็มหัว แปดสิบปี๋ไค่หัวเหมือนไห้ เก้าสิบปี๋ ไข้ก็ตายบ่ไข้ก็ตาย
ตามความหมายของคำกลอนนี้ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชีวิตตามลำดับ เมื่อถึง ๙๐ ปีแล้ว
จะมีอันตรายของชีวิตมาตัดรอนหรือไม่ก็ตาม
ชีวิตจะต้องแตกดับไปตามธรรมดาของมัน
และในระหว่างความเป็นอยู่ชีวิตย่อมมีอันตรายรอบด้าน อาจจะแตกดับลงในขณะใดก็ได้ ท่านกล่าวว่า
ชีวิตความเป็นอยู่ ๑, พยาธิความป่วยไข้ ๑, กาลเวลา ๑,
ทีทิ้งกาย ๑, คติวิถีชีวิตหรือภพชาติข้างหน้า
๑
ทั้ง
๕ นี้ไม่มีนิมิตรเครื่องหมายที่จะให้เป็นไปตามความปรารถนาได้
คือเราจะปรารถนาว่าจะมีชีวิตอยู่เท่นนั้นเท่านี้ปี เวลาจะตายจะเลือกตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างนี้ จะขอตายเวลานั้น วันนั้น
เดือนนั้น และปีนั้น และจะปรารถนาว่าขอให้ตายที่นั่นที่นี่ และขอตายอยู่กับบ้านหลังนั้นหลังนี้ เรือนหลังโน้น
หรือดับชีพแล้วขอให้ไปเกิดที่นั้นที่นี่และจะขออยู่กับคนโน้นคนนี้ เหล่านี้จะปรากฏชัดก่อนจะตายนั้นไม่ได้ และจะขอให้เป็นไปตาความปรารถนาทุก ๆ
ประการก็ไม่ได้ แล้วแต่กรรมที่ทำไว้ ก็อะไรเล่าที่ทำให้ชีวิตล่วงไปหมด ท่านแสดงว่ากาลเวลาเป็นผู้ผลาญ เป็นผู้ทำลาย
กาลเวลากลืนกินสรรพสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวของมันเอง นักปราชญ์ท่านผูกเป็นปริศนาไว้ว่า
“พญายักษ์หนึ่งนา มีนัยน์ตาอยู่ ๒ ข้าง ข้งางหนึ่งสว่าง ข้างหนึ่งริบหรี่ มีปาก ๑๒ ปาก
มีฟันไม่มาก ปากละ ๓๐ ซี่ กินสัตว์ทั่วปฐพี ยักษ์ตนนี้คือใคร ?”
ตอบว่า “พญายักษ์ตนนั้นคือพระกาล ได้แก่วัน เดือน ปี ตาม ๒ ข้าง คือ ข้างขึ้นและข้างแรม หรือกลางคืนและกลางวันก็ได้, ๑๒ ปากคือ ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน,
ฟัน ๓๐ ซี่ คือเดือนหนึ่งมี
๓๐ วัน, กินสัตว์ทั่วปฐพี
คือหลืนกินชีวิตสัตว์ทั้งแผ่นดิน
ผู้ที่หลงผิดคิดว่าชีวิตนัน้เป็นของยาว เป็นของมาก ไม่แสวงหาความดี
ได้ในคำว่า ของสั้นสัญญาว่ายาว
๖.ปอกมะพร้าวเอาปากกัด
มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีลักษณะพิเศษกว่าผลไม้อื่น
ๆ คือมีเปลือก มีกะลา
มีเนื้อ และมีน้ำ การจะรับประทานน้ำมะพร้าง ต้องเจาะลงไปโดยลำดับ และการเจาะจะต้องใช้มีดใช้ขวาน เพียงแต่มือเปล่าหรือใช้ปากกัดย่อมไม่อาจจะได้รับประทานเนื้อหรือน้ำมะพร้าว
ฉันใดก็ดี คำว่ามะพร้าวนี้
ท่านเปรียบเหมือนพระพุทธศาสนา
นับแต่เวลาที่พระสมณโคดม ผู้เป็นเจ้าของประกาศพระศาสนา ได้นิพพานไปแล้ว ๒๕๔๐ ปีกว่า
พระพุทธศาสนาต้องผ่านอุปสรรคนานัปประการ
ย่อมจะมีเปลือก
มีกระพี้เข้าไปแทรกแซงอยู่เป็นธรรมดา
ผู้นับถือศาสนาจะต้องเป็นคนหนักในเหตุผล
พอได้ยินอะไรในเรื่องศาสนาแล้ว เป็นคนเชื่อง่ายรับเอา ๆ
เหมือนคนเห็นมะพร้าวแล้วกระหายอยากจะรับประทานน้ำ คว้ากัดเอา ๆ ย่อมไม่ได้ จะต้องพิจารณาหาเหตุผลให้ถ่องแท้แน่ใจ
แล้วลงมือปฏิบัติตามจึงจะได้รับผลสมปรารถนา
อีกประการหนึ่ง เรื่องของพระพุทธศาสนา
ไม่ใช่เรื่องสักแต่ว่าพูดด้วยปากหรือนับถือด้วยปากเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการกระทำ คือการปฏิบัติ นักศึกษาบางคนชอบค้นคว้าศึกษาเรื่องศาสนา แต่ผลการศึกษาของเขาคือ ชอบข่มขู่คนอื่นด้วยโวหาร เรียนไว้เพื่อตอบโต้ หาเรียนไปเพื่อปฏิบัติไม่ การนับถือพระพุทธศาสนาสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติ
การปฏิบัติเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาคนที่เชื่อง่ายงมงายก็ดี คนที่ดีแต่พูดก็ดีชื่อว่านับถือศาสนาในข้อว่า”ปอกมะพร้าวเอาปากกัด”
๗.อุ้มลูกอ่อนรัดไว้ไม่วาง
คำว่าลูกอ่อน หมายเอา ลูกอ่อนตรง ๆ
ก็ได้
หรือหมายเอาอัตตภาพทั่วไปของคนก็ได้
คำว่าอุ้ม
หมายถึงการหลงรักจนผิดธรรมดาหรือผิดหลัก
ธรรมดาลูกย่อมเป็นที่รักของพ่อแม่ยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ ดังนั้นคำกลอนบทหนึ่งว่า
“รักอะไรหรือจะแท้เท่าแม่รัก ผูกสมัครสายเลือดไม่เหือดหาย รักอื่นยังประจักษ์ว่ารักกลาย จืดจางง่ายไม่จีรังดังมารดา”
ในมโหสถชาดกมีเรื่องเล่าว่า
เทวดาตั้งปัญหาถามพระเจ้าวิเทหราชว่า
บุคคล ประหารคนอืนด้วยมือด้วยเท้าแต่กลับเป็นที่รักของผู้ถูกประหาร
พระองค์เห็นใครเป็นที่รักของผู้ประหาร มโหสถตอบแทนพระเจ้าวิเทหราชว่า ได้แก่บุตร
ยิ่งตบและยิ่งดึ่งผมบิดามารดาก็ยิ่งเป็นที่รักของบิดามารดา
เทวดาถามว่า ผู้ที่ชอบด่า
แต่ไม่อยากให้ผู้ที่ถูกด่าเดือดร้อน คือผู่ด่า
ด่าด้วยความรัก
พระองค์เห็นว่าใครเป็นผู้ถูกด่า
มโหสถตอบว่า
ได้แก่บิดามารดาด่าว่าบุตรเท่าไรก็ไม่อยากให้ประสพความร้ายแก่บุตรอย่างที่ตนด่า กลับทวีความรักในบุตรที่ตนด่ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ตามความในปัญหา ๒ ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าบิดามารดามีความรักในบุตรเพียงไร
แต่ถ้าบิดามารดาใช้ความรักผิดคือตามใจบุตรจนเกินไป
จะให้บุตรเล่าเรียนหรือให้ทำงานก็กลัวว่าบุตรจะลำบาก สู้อุตส่าห์ประคบประหงม
แม้บุตรจะเจริญวัยใหญ่โตพอจะช่วยตัวเองได้ก็ไม่ยอมวางมือ ไม่วายที่จะเป็นห่วง อย่างนี้เรียกว่ารักผิด โบราณท่านสอนว่า รักวัวให้ผูก
รักลูกให้ตี รักมีให้ค้า รักหน้าให้คิด
รักมิตรให้เตือน แปลว่า
รักลูกจะต้องให้วิชาแก่ลูกและสอนให้ลูกทำการงานเป็นด้วย นักปราชญ์ท่านสอนว่า มีหลักที่ดีและถูกต้องข้อหนึ่งว่า ความช่วยเหลืออันดีที่สุดที่พ่อแม่จะพึงให้ลูกนั้นคือ สอนให้เขารู้จักช่วยตัวเอง ข้อว่าลูกอ่อน หมายเอา อัตภาพทั่วไปนั้น หมายความว่า
ร่างกายของคนเราแต่ละคนไม่ผิดอะไรกับลูกอ่อน
เราต้องคอยบริหารรักษาอยู่ตลอดเวลา
เริ่มแต่ตื่นนอนเป็นต้นไป คือ
เราต้องล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม
แต่งตัว หาอาหารให้รับประทาน หาน้ำให้ดื่ม
ถูกร้อนนักก็ไม่ได้
ถูกหนาวมากก็ไม่ได้
นอกจากนี้ยังต้องระวังอันตรายนานัปประการ
ถ้าถึงคราวเจ็บไข้ได้ทุกข์ ยิ่งต้องเพิ่มการบริหารรักษามากยิ่งขึ้น อันการบริหารรักษาร่างกายนี้
ถ้าเป็นไปตามธรรมดาคือบริหารรักษาพอให้ชีวิตเป็นอยู่ก็พอทำเนา บางคนทำด้วยความลุ่มหลง ไม่พิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่
มุ่งเพื่อความสวยงามหรืออนุโลมตามสมัยยิ่งกว่าความจำเป็นแก่ชีวิต เช่น
หนุ่มสาวสมัยใหม่บางคนที่อุตส่าห์หาเครื่องประดับให้ร่างกาย
ไม่ว่าส่วนไหนของร่างกายตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเท้า ต้องเอาเครื่องวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยเพื่อตามสมัย เพื่อให้ทันฝรั่ง
ไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลืองและความจำเป็นแก่การครองชีพหรือไม่ ลักษณะอย่างนี้เป็นผลร้ายยิ่งกว่ามารดาเลี้ยงลูกอ่อนเป็นไหน
ๆ ปัจจัยเครื่องอาศัยอันจำเป็นแก่ชีวิต
ตามหลักทางพระพุทธศาสนาท่านแสดงไว้
๔ อย่าง คือ ๑.เครื่องนุ่งห่ม
๒.อาหาร ๓.ที่อยู่อาศัย ๔.ยารักษาโรค ทั้ง ๔ อย่างนี้นับว่าเป็นปัจจัยจำเป็นที่สุดแก่ชีวิต นอกจากนี้เป็นแต่เครื่องประกอบเท่านั้น อัตภพาร่างกายของเรานี้ ท่านสอนให้พิจารณาให้รู้เท่าทันตามธรรมดาของมัน
คือมันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จะต้องแตกสลายไปในที่สุด ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ดังบาลีว่า
“สังขิตเตนะ
ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา กล่าวโดยย่อความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” ด้วยเหตุนี้ผู้เข้าใจผิดในขันธ์ ๕ ชื่อว่า อุมลูกอ่อนรัดไว้ไม่วาง
๘.หลงทางไม่ถามไถ่
ทางมี
๒ ชนิด คือ ๑.ทางกาย ๒.ทางใจ
ทางกายเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
ไปด้วยเท้าหรือด้วยพาหนะ เป็นต้น
ทางใจเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ไปด้วยความรู้สึกนึกคิด หรือด้วยความนับถือ เชื่อถือเป็นต้น การที่เราจะรู้ว่า ทางไปทิศเหนือ ทิศใต้ และไปได้ใกล้ไกลแค่นั้นแค่นี้ ก็เพราะคนเราได้ยิน
ได้ฟังจากคนอื่นหรือศึกษาจากตำหรับตำราเป็นต้น เราจึงไปมาได้สะดวก ไม่ผิดพลาด
ถ้าเราไม่ทราบมาก่อน
นึกอยากจะไปนั่นไปนี่
ก็นึกเดาไปเอง
อาจจะถึงจุดหมายปลายทางมาก่อนก็ได้
และขณะที่เดินทางก็ทำความไม่สะดวกใจ
ทำความสงสัยให้ไม่รู้จักจบ
ถ้าสมมติว่าหลงทางมีคนที่เราพอจะถามได้
เราก็ไม่ถามเพราะความอวดดื้อถือดี
เดินไปตามความคิดเห็นของตนเอง
ผลสุดท้ายไม่ถึงจุดที่ประสงค์
เราจะโทษทางหรือคนอื่นนั้นไม่ถูก
มันเป็นความผิดของเราเอง
ผิดตรงที่ว่าหลงแล้วไม่ถาม
ทางกายเราอาจหลงได้ฉันใด
ทางใจก็ฉันนั้น
และทางใจก็อาจหลงได้ง่าย
และมีผลร้ายยิ่งกว่าทางกายเสียอีก
ดังคำกลอนสอนจิตว่า
ผู้หลงเถื่อนกู่ก้อง
พอร้องรับ ผู้หลงทับตัณหา สุดตาเห็น
ฯ
และคำพังเพยโบราณบทหนึ่งว่า ถลำช่องชักได้
ถลำใจชักยาก
ซึ่งแสดงว่าความหลงทางใจนั้น
เมื่อกล่าวโดยย่อมี ๓ อย่างคือ
๑.ความเห็นว่า ทำชั่ว
เมื่อไม่มีคนรู้
ไม่มีคนจับได้ ไม่มีคนลงโทษ หาเป็นความชั่วไม่ ต่อเมื่อมีคนรู้ และจับได้ลงโทษต่างหาก จึงจัดเป็นความชั่ว การทำความดีก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีคนรู้ไม่มีคนชอบ ไม่มีคนให้รางวัล หาเป็นความดีไม่ ต่อเมื่อมีคนรู้มีคนชอบและให้รางวัลต่างหาก จึงจัดว่าเป็นความดี เช่นนี้เรียกว่า อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ปฏิเสธการกระทำ ถือปัจจัยภายนอก คือบุคคลเป็นผู้อำนวยจ ผิดหลักทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าการกระทำของคนนั้นเองเป็นเหตุ
๒.ความเห็นว่า
คนเราเป็นไปตามคราวเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย
ถึงคราวเคราะห์ดีก็ได้ดีเอง
ถึงคราวเคราะห์ร้ายก็ได้ชั่ว
และเมื่อคราวเคราะห์ดีนั้น
ทำอะไรก็มีคนชมชอบ
ให้ความสนับสนุน
แต่พอถึงคราวเคระาห์สิทำอะไรก็มีแต่คนตำหนิติเตียน คอยขัดขวาง
ตัดรอน เสื่อมลาภ เสื่อมยศ
เช่นนี้เรียกว่า อเหตุกิทิฏฐิ ความเห็นว่าหาเหตุมิได้ คือปฏิเสธเหตุอันไม่ปรากฏ
ผิดจากพระพุทธศาสนาที่นับถือหลักว่าสิ่งทั้งปวงเกิดแต่เหตุ เมื่อไม่มีเหตุจะไม่มีผล
๓.ความเห็นว่าสัตว์
บุคคลไม่มี
ต่างเป็นแต่เพียงธาตุประชุมกันเข้า
เกื้อกูลกันบ้าง ทำร้ายกันบ้าง ไม่เป็นบุญ
ไม่เป็นบาป
ธาตุอย่างหนึ่งกระทบกับธาตุอีกอย่างหนึ่งเท่านั้น อย่างนี้เรียกว่า นัตถิกทิฏฐิ
ความเห็นว่าไม่มี
ปฏิเสธด้วยประการทั้งปวง
ไม่ยอมรับสมมติสัจจะ
และคติของธรรมดาอันเนื่องมาจากเหตุและผล
ผิดจากหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ยอมรับสมมติสัจจะและคติของธรรมดาอันเนื่องมาจากเหตุและผล เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว สัตว์ บุคคลไม่มีจริง แต่ไม่ปฏิเสธเหตุคือการกระทำ และผลแห่งบุญละบาป สัตว์
บุคคลหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอำนาจเหตุ
บุคคลที่ตกอยู่ในความเห็น ๓ อย่างนี้ชื่อว่าผู้หลง ถ้าไม่ถามคือศึกษาหาเหตุความรู้และปฏิบิแก้ไขให้ถูกต้องก็ดี ก็ไม่มีโอกาสประสพผลที่ตนมุ่งหมายได้
นับวันแต่จะจมดิ่งลงไปสู่ความพินาศฉิบหายโดยลำดับ โอวาทคำสอนของท่านฟังแล้วพิจารณาหาเหตุผล ไม่เชื่ออย่างงมงาย เมื่อเห็นเหตุผลแล้วให้ปฏิบัติตามทันที
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตนเช่นนี้ชื่อว่าหลงทางไม่ถามไถ่
๙.หนีจรเข้ใหญ่ไพล่ลงน้ำ
หมายความว่าจรเข้เป็นสัตว์ประเภทดุร้าย และที่อยู่ของจรเข้คือน้ำ คนที่กลัวจรเข้ จะหนีจรเข้แต่กลับวิ่งลงน้ำ เท่ากับวิ่งเข้าไปหาจรเข้อีก ย่อมไม่พ้นจากจรเข้ฉันใด คนบางคนก็ฉันนั้น คือกลัวความทุกข์ ต้องการจะหนีความทุกข์ แต่ก็ยังก่อเหตุแห่งความทุกข์อยู่
คือผู้ที่ไม่รู้จักเหตุแห่งความทุกข์นั่นเอง เช่นสำคัญว่า
ความเกียจคร้านและไม่ต้องทำอะไรนั่นว่าเป็นความสุข สำคัญว่าอบายมุขคือ สุรา
นารี พาชี กีฬาบัตร
ว่าเป็นทางแห่งความเพลิดเพลิน
เป็นทางแห่งความเจริญ
สำคัญว่าการเบียดเบียนกันเป็นทางแห่งความสุข เมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ ผู้ที่สำคัญของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง สำคัญของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข สำคัญของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตนนั่นเอง นี่จึงชื่อว่าหนีจรเข้ไพล่ลงน้ำ
๑๐.ต้องจองจำกลับยินดี
โลกที่เราอาศัยอยู่นี้เปรียบได้หลายทาง ที่ไดยินได้ฟังอยู่บ่อย ๆ
ก็คือโลกนี้เปรียบเหมือนละครโรงใหญ่
ข้าพเจ้าคิดว่าคำเปรียบเทียบนี้เป็นการเปรียบเทียบให้เกียรติแก่โลกอย่างสูง
ความจริงโลกนี้คือตารางที่สำคัญสำหรับขังนักโทษอย่างใหญ่มหึมานั่นเอง
แต่เพราะมนุษย์สำคัญผิดคิดไปว่าการเกิดมาในโลกนี้เป็นความสุข
พระพุทธองค์ตรัสว่า โลกนี้ตั้งอยู่บนกองแห่งความทุกข์ โลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับคนโง่ แต่มันเป็นนรกสำหรับคนที่รู้ความจริงของมันแล้ว
คนที่เกิดมาซึ่งเท่ากับอยู่ในกรงขังอันมหึมา
และเต็มไปด้วยทุกข์นานัปประการ
เช่นแก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น บางคนยังสร้างกรงและโซ่มาใส่ตัวเองด้วย เช่น บางคนลักเล็กขะโมยน้อย ถูกเขาจับได้ต้องถูกจองจำเพิ่มโทษเข้าอีก ถึงเช่นนั้นบางคนกลับพูดว่า ดีเสียอีกที่เข้าไปอยู่ในคุก ในตะราง
บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ ถ้าอยู่ตามธรรมดาข้าวก็ต้องซื้อกิน บ้านก็ต้องเช่าเขา บางทีก็ยังหาไม่ได้เสียอีก นี้เรียกว่าต้องจองจำกลับยินดี
อีกประการหนึ่ง
ท่านว่าการต้องจองจำด้วยเชือกและโซ่เป็นต้นเป็นเครื่องจองจำภายนอก แก้ได้ง่ายและมีกำหนดเวลาพ้นโทษ ยังมีเครื่องจองจำภายในที่แก้ได้ยาก ไม่มีกำหนดที่จะพ้นโทษได้เมื่อไร เครื่องจองจำนั้นคือความรัก ความยึดติดในทรัพย์ สมบัติ ในบุตร ภรรยา สามี
ดังคำโคลงในโลกนิติว่า
มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว พันคอ
ทรัพย์ผูกบาทาคลอ หน่วงไว้
ภรรยาเยี่ยงบ่วงปอรึงรัด มือนา
สามห่วงใครลืมได้ จึงพ้น สงสาร
รวมความว่าทรัพย์สมบัติ บุตร
ภรรยา และสามี
เป็นบ่วงแต่ละอย่างที่ผูกจิตไว้เพื่อทำให้มนุษย์ติดอยู่ บางคนเจ็บหนักไม่มีหวัง จะรอดยังเป็นห่วงเรือรั่ว เครื่องตะเกียงลานเสียยังไม่ได้แก้ มีผู้บอกให้นึกถึงบทพุทธคุณว่า อะระหัง
ๆ กลับได้ยินว่า อะไรหาย ๆ
ก็มี ทั้งหมดนี้ชื่อว่าต้งอจองจำกลับยินดี
๑๑.สู้ไพรีไม่หาอาวุธ
ผู้ที่เป็นคู่ควรหรือเป็นข้าศึกศัตรูต่อกัน คอยหาโอกาสทำลายล้างผลาญกัน ชื่อว่าไพรี การที่บุคคลคิดจะต่อสู้ไพรีเพื่อได้ชัยชนะ แต่ไม่หาอาวุธหรือเครื่องมือไว้ป้องกันตัว จะเอาชนะไพรีได้อย่างไร ท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า บุคคล ๔ จำพวกคือ
๑.คนที่ไม่บำเพ็ญประโยชน์แต่ริหากัลยาณมิตร
๒.ไม่มีพรรคพวกยังต้องการเดินทางกันดาร
๓.ไม่มีภูมิรู้แต่อยากแถลงข้อความในที่ประชุม
๔.ไม่มีศาสตราวุธ ยังอุตริอยากรบ
ความหวังของคน ๔ จำพวก นอกจากไม่อาจสมปรารถนา แล้วยังจะกลับเป็นผลร้ายแก่ตนเองเสียอีก การสู้รบกับข้าศึกศัตรูภายนอก จะต้องเตรียมอาวุธไว้ฉันใด การปฏิบัติธรรมเพื่อนำชัยชนะมาสู่ตัว ก็ต้องเตรียมอาวุธไว้ฉันนั้น
ทางธรรมท่านกล่าวว่าสัตว์โลกถูกรุมสู้กับด้วยศัตรู ๔ เหล่า
คือ
๑.โลกถูกตัณหาก่อขึ้นมา
๒.ถูกความตายสู้ขัดขวาง
๓.โลกตั้งอยู่แล้วบนกองทุกข์
๔.ถูกชราห้อมล้อมไว้
รวมความว่า
สัตว์โลกอยู่ในอำนาจของศัตรู ๒ จำพวก คือ
๑.ศัตรูคือกิเลสคอยก่อกวนความสงบสุข
ทำให้เร่าร้อนอยู่เสมอ ๒.ศัตรูคือความเจ็บและความตายคอยเบียดเบียน
ขัดขวางและตัดรอนทอนกำลังอยู่เสมอ
อาวุธที่จะนำมาสู้รบกับศัตรู ๒ จำพวกนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้หลายอย่าง แต่ที่เป็นสาธารณะทั่วไปนั้นคือ ปัญญา ดังบาลีว่า
“โยเธถะ มารัง
ปัญญาวุเธนะ
แปลว่าท่านทั้งหลายพึงรบกับมารด้วยอาวุธคือปัญญา” ดังนี้
ด้วยเหตุนี้ผู้จะรบกับศัตรูหรือมาร
ในทางธรรมปฏิบัติพึงเตรียมอาวุธคือปัญญาไว้
ปัญญาที่จะได้มานั้นมีอยู่ ๓ ทาง คือ
๑.ปัญญาเกิดจากการได้ยินได้ฟังหรือการศึกษาเล่าเรียน
๒.ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา
๓.ปัญญาเกิดจากการเกิดจากการอบรม
คือการทดลองหรือปฏิบัติตามที่ได้ยิน ได้ฟังและคิดพิจารณาแล้ว
ผู้ที่จะเอาชนะกิเลส แต่ไม่แสวงหาปัญญาไว้ ชื่อว่า “สู้ไพรีไม่หาอาวุธ”
๑๒.ไม่หยุดไม่ถึงพระ
ในบรรดาปัญหาทั้ง ๑๒ ข้อ
ข้อสุดท้ายนับว่าเป็นข้อสำคัญหรือเป็นหัวใจของปัญหาทั้ง ๑๑ ข้อนั้นก็ได้ เพราะปัญหาทั้ง 11 ข้อที่กล่าวมาแล้ว
โดยความมุ่งหมายก็เพื่อเป็นคติเตือนใจ ให้บุคคลละความชั่วทั้งหมดนั้นเอง คำว่าพระ
ในที่นี้หมายถึงตัวพุทธศาสนานั้นเอง คำว่า พระพุทธศาสนา
จะขอรวมกล่าวความหมายโดยย่อว่า ได้แก่ความสงบ
ท่านแสดงเปรียบเทียบพระพุทธศาสนาว่า
น้ำมหาสมุทรย่อมาจากแม่น้ำสายต่างๆ แต่เมื่อว่าโดยรสแล้วมีอยู่รสเดียวคือ รสเค็ม
เท่าน฿น ความหลุดพ้นเป็นรสแต่อย่างเดียว
วิมุติ
หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองหรือเครื่องกังวลเดือดร้อนต่าง
ๆ ย่อมมีมากน้อยได้ตามสมควรแก่การปฏิบัติ ผู้ใดเข้าถึงชั้นหลุดพ้นโดยนิบปริยาย
คือโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสที่จะก่อการให้เกิดความเดือดร้อนอีก นั่นคือความสงบ
และนั่นคือจุดหมายคั่นสุดท้ายของพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์
ย่อมจะได้รับความสงบสุขตามสมควรแก่ข้อปฏิบัติ
ผู้ใดสามารถเข้าถึงความสงบสุขอย่างแท้จริงไม่กลับ กลายเป็นความทุกข์อีก
ผู้นั้นชื่อว่า เข้าถึงพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ ตรงกันข้ามผู้ที่
กล่าวนับถือพระพุทธศาสนา แต่ไม่หยุดคือไม่ละเว้นความชั่ว ผู้นั้นหาได้ชื่อว่า
นับถือพระพุทธศาสนาหรือเข้าถึงพระแล้วไม่ พึงเห็นพระองคุลิมาลเป็นตัวอย่าง
มีเรื่องเล่าว่า โจรองคุลิมาลฆ่ามนุษย์เสียมากต่อมาก จนจำไม่ได้ว่าจำนวนเท่าใด
จึงต้องตัดเอานิ้วร้อยเป็นพวงมลัย จึงได้ชื่ออย่าวนั้น วันหนึ่งพระพุทธศาสดาเสด็จไปโปรด
พอองคุลิมาลเห็นแปลกใจที่พระสมณะโคดมเสด็จมาแต่ลำพัง
และนึกดีใจที่ได้นิ้วมนุษย์มาร้อยเป็นพวงมาลัยเมอีก จึงเดินรื่เข้าไปหา
แม้จะพยายามก้วเท่าไรก็ไม่ทัน ถึงกับวิ่งก็ยังไม่ทันอยู่อีกจึงได้ร้องตะโกนไปว่า”สมณะหยุดก่อน” พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด” องคุลิมาลไม่เข้าใจจึงทูลถามต่อไปว่า “ท่านเดินไปอยู่
แต่ยังกล่าวว่าหยุดแล้ว
ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว แต่กล่าวว่าไม่หยุด
ท่านหมายความว่าอย่างไร ?” พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า “ดูก่อนองคุลิมาล เราเลิกเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายแล้ว เราวางศาสตรา อาวุธแล้ว ส่วนท่านสิ ยังเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายอยู่ ไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ท่านชื่อว่ายังไม่หยุด”
ด้วยพุทธโอวาทเพียงเท่านี้องคุลิมาลซาบซึ้งในความหมาย จึงวางศาสตราอาวุธ
และยอมตนเป็นศิษย์ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านพยายามปฏิบัติตามพุทธโอวาทอยู่ ต่อมาไม่ช้านานก็ได้บรรลุพระอรหันต์คือ
วิมุตติ
หลุดพ้นจากกิลเสความเศร้าหมองทั้งปวง
ได้รับความสงบสุข
ไม่มีความสุขใดจะยิ่งกว่า
ถึงกับเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานใจเสมอ
ดงัที่ท่านสุชีโวภิกขุถอดเป็นคำกลอนไว้ในหนังสือ “ใต้ร่มกาสาวพัสตร์” ว่า
ผู้เอยผู้ใด
ลำพองใจประมาทมาก่อน
แต่กลับตัวได้ไม่นิ่งนอน
ถ่ายถอนชั่วช้าสร่างซาไป
ผู้นั้นเหมือนจันทร์วันเพ็ญ
ลอยเด่นดูงามอร่ามใส
ไม่มีเมฆบังหมองเท่ายองใย
ส่องหล้าทั่วไปสว่างเอย
นี่คือความหมายของปริศนาธรรมข้อสุดท้าย
ความตายห้ามไม่ได้
เกิดมาพากันตายเหมือนหมายมั่น
ทั่วทุกท่านอย่าหวังว่ายังอยู่
การเกิดตายคู่กันเหมือนคันคู
ตรึกตรองดูให้แจ้งแห่งเกิดตาย
เกิดทุกวันตายทุกวันมันแน่นัก
เกิดก็มากตายก็มากออกหลากหลาย
มีแต่เกิดอย่างเดียวไม่มีตาย
อย่าได้หมายว่ามีที่อยู่เลย
โลกต้องแยกแตกดับเพราะคับคั่ง
โลกต้องพังย่อยยับดับแน่เอ๋ย
เพราะฉะนั้นจึงต้องตายไปตามเคย
มาลงเอยก็คือตายวายชีพเอย
ที่มา : คัดจาก “คติธรรมคำกลอน” (พิมพ์แจกในงานทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี
พระครูดิตถารามคณาศัย)
โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ ธนบุรี ๒๕๐๐ หน้า ๑๘ - ๔๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น