วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

บทความทางวิชาการ

วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
An  Analysis  of   the  Roles   of   Pradhammakosajarn  (Buddhadasa Bhikkhu) on the Dissemination of  Buddhism
พระไพโรจน์  อตุโล (สมหมาย)
                                                                                                                              สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
                     งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๒) เพื่อศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๓) เพื่อศึกษาผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูล  เอกสาร และการสัมภาษณ์ประกอบตามขอบเขตของการวิจัยที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในวิชาการและคณะสงฆ์ไทย 
ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๒) เพื่อศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๓) เพื่อศึกษาผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูล  เอกสาร และการสัมภาษณ์ประกอบตามขอบเขตของการวิจัยที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในวิชาการและคณะสงฆ์ไทย
               
                    ผลการวิจัยพบว่า
                          ๑) ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
จำแนกเป็น ๓ ระยะ คือ  ๑) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะต้น (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ ๒๔๘๕) พบว่าพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีบทบาทในการเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่วัด
พระบรมธาตุไชยา และเขียนหนังสือตามรอยพระอรหันต์และออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
รายตรีมาส  ปาฐกถา  เทศนา  ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะกลาง (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖       ๒๕๒๙) พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการเทศนาและปาฐกถาธรรมตามสถานที่ต่างๆ และมีการเขียนหนังสือความอัศจรรย์บางประการ
ของพระนิพพาน  พุทธธรรมกับสันติภาพ  พุทธธรรมกับเจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตย  ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม  จิตวิทยาแบบพุทธ ๓) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะปลาย (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐
  ๒๕๓๖) พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เขียนหนังสือเรื่อง ภาษาคน - ภาษาธรรม  อานาปานสติฉบับสมบูรณ์ และมาฆบูชาเทศนา
พระบรมธาตุไชยา และเขียนหนังสือตามรอยพระอรหันต์และออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
รายตรีมาส  ปาฐกถา  เทศนา  ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะกลาง (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖       ๒๕๒๙) พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการเทศนาและปาฐกถาธรรมตามสถานที่ต่างๆ และมีการเขียนหนังสือความอัศจรรย์บางประการ
ของพระนิพพาน  พุทธธรรมกับสันติภาพ  พุทธธรรมกับเจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตย  ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม  จิตวิทยาแบบพุทธ ๓) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะปลาย (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐
ของพระนิพพาน  พุทธธรรมกับสันติภาพ  พุทธธรรมกับเจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตย  ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม  จิตวิทยาแบบพุทธ ๓) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะปลาย (ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๓๐
  ๒๕๓๖) พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้เขียนหนังสือเรื่อง ภาษาคน - ภาษาธรรม  อานาปานสติฉบับสมบูรณ์ และมาฆบูชาเทศนา
                        ๒)  บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้มีการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรม  ด้วยการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง และสอนให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง  
และเป็นต้นแบบในการศึกษา  มีการศึกษาทางคดีโลกและคดีทางธรรม  มีความอุตสาหะอดทนศึกษาค้นคว้าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาอย่างลุ่มลึกแล้วออกมาเผยแผ่ให้พุทธบริษัทศึกษาเรียนรู้ประพฤติปฏิบัติ  และมีการเผยแผ่ด้วย
และเป็นต้นแบบในการศึกษา  มีการศึกษาทางคดีโลกและคดีทางธรรม  มีความอุตสาหะอดทนศึกษาค้นคว้าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาอย่างลุ่มลึกแล้วออกมาเผยแผ่ให้พุทธบริษัทศึกษาเรียนรู้ประพฤติปฏิบัติ  และมีการเผยแผ่ด้วยเทคนิควิธีการ, สื่อ, เอกสารและสิ่งพิมพ์ที่หลากหลาย เช่น ทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์, ใช้สื่อศิลปะ, สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ  เป็นต้น
                        ๓) ผลกระทบด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย  พบว่า  มีผลกระทบต่อสังคมไทยหลายด้าน คือ ๑) ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยมีผลกระทบด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนธรรม ด้านศาสนวัตถุ ด้านศาสนพิธี  ๒) ผลกระทบด้านการศึกษาโดยรณรงค์ให้นำหลักคุณธรรม ศีลธรรม หลักจริยธรรมกลับเข้าสู่สถาบันการศึกษาให้ได้เรียนรู้ประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง  ๓) ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การสร้างถาวรวัตถุให้กลมกลืนกับธรรมชาติการอนุรักษ์ต้นไม้และอนุรักษ์สัตว์ป่าทุกชนิดในบริเวณสวนโมกขพลารามและกำหนดให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
                    คำสำคัญ : วิเคราะห์บทบาท, พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ), การเผยแผ่พระพุทธศาสนา,
ABSTRACT
        The  objectives  of  this  thesis  were  as  follows  1) To  study  the  history  on  Buddhism  dissemination  of  Phradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) 2) To  study   the  Role on Buddhism dissemination of Phradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) 3) To  study  the   feedback  on  Buddhism  dissemination  of  Phradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) towards  Thai  society,  by  qualitative  research  to  find  out  data  in  terms  of  documents  and  interview  according  to  the  scope  of  research  which  has  given, the  data  from  study  will  be  utilized  in  arademic  field  and  Thai  Sangha.
                        The  findings  were  as  follows.
                         ๑)The  history  of  Buddhism  dissemination  of  Phradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) can be devided into three periods as follows  1) The  primary  Buddhism  dissemination (during  B.E. 2469 – 2485) found  that  he  was  a  Dhamma  teacher  in  Phrapariyattidamma (Dhamma Courses) and Wat Phraborommatatuchaiya and written the book title on  
“ Tamruey -
“ Tamruey - Phraarahan” and  thee  months  Buddhism  news, speech, sermon.  2) Buddhism dissemination  in  the  middle  time (during  B.E. 2486 – 2529) found  that  he  was  disseminated  Buddhism  By  Dhamma  teaching  and  Dhamma  speech  in  many  places  and  written  the  book  title  on  “ The  wonder  of  Nippana”, Buddha  Dhamma  and  peacefulness,  Buddha  Dhamma  purposive  of  Democracy, the  mountain  of  Buddhist  way, Buddhistic  Psychology. 3) Buddhism dissemination  in  the  end (during  B.E. 2530 –2536) found  that  he  had  written  the  book  title  on “common  language  and  Dhamma language, Anapanasati (completed  volumeand  Maga Puja Desana”.
                        ๒) The  role  in  Buddhism dissemination  of  Phradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) found  that  he  was  a  Dhamma  practitioner  as  origination  for Dhamma  practice  by  real  ordination, real  learning,  real  practice  and  teach  Buddhist  company  for  seriously  practice  and  to  be  originated  in  Dhamma  learning, to  have  secular  and  religious  learning, to  have  endurance  to  study  research  on   Buddhist  principle  as  deeply  after  that  he  has  disseminated  to  Buddhist  company  for  learning  and  practicing  and  to  have  dissemination  by  lots  of  techniques  and  methods  i.e.  multi-media, documents, and  variety  of  publishing  news  such  as  radio,  television,  art  media,  spiritual  entertainment  hall  etc.
        ๓)The feedback on  Buddhism dissemination  of  Phradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) towards  Thai  society  found  that  there  are  varieties  of  aspects  as  following  
1) The  feedback  on  Buddhism dissemination  especially  feedback  on  religious  personel,  religious  teaching,  religious  materials,  religious  ritual  2) The  feedback  on  education  by  campaign  to  apply  the  rituals  principle, moral, ethical  back  to  educational  institutes  for  learning  and  practicing  as  seriously  3) The  feedback  on  natural  resource  and  environment  conservation  especially  focus  on  environment,  to  build  any  dwelling  must  be  in  harmony  with  nature, to  be  conservation  on  forest  and  all  wild  life  in  the  area  of  Suanmokkhapalaram  and  to  determine  the  Dhamma  practitioners  must  be  regarded  with  environment  conservation  in  any  way.
          
.บทนำ
                พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ผู้ก่อตั้งและพัฒนาสวนโมกขพลาราม
ที่อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ให้เป็นสถานที่ที่มีบทบาทในการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เป็นแหล่งค้นคว้าและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  ท่านได้กล่าวถึงเหตุที่ก่อตั้งไว้ว่า  การตั้งสวนโมกขพลารามไม่มีอะไรมากเพียงแต่มองเห็นว่าควรปรับปรุงการปฏิบัติธรรมเท่านั้น  โดยการกลับไปหาของเดิมว่าการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นอย่างไร  เพื่อรื้อฟื้นพระพุทธศาสนากลับมาสู่สภาพเดิมเหมือนครั้งสมัยพุทธกาล  และการเกิดสวนโมกขพลารามถือว่าเป็นนิมิตหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่  เพื่อการแก้ไขสิ่งต่างๆ  ให้ดีขึ้นเท่าที่เราพึงทำได้ คนส่วนใหญ่จึงรู้จักสวนโมกขพลารามในนาม
ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เพราะเป็นผู้สร้างสวนโมกขพลารามและพัฒนาบทบาทของสวนโมกขพลารามมาตลอด ซึ่งท่านได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทยและแก่โลก 
ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เพราะเป็นผู้สร้างสวนโมกขพลารามและพัฒนาบทบาทของสวนโมกขพลารามมาตลอด ซึ่งท่านได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทยและแก่โลก 
                        พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้สร้างคุณประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย  ผลงานจากการบรรยายธรรมและการเผยแผ่ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ  เช่น  ภาษาอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เยอรมัน  จีน  ญี่ปุ่น  ลาว 
ศรีลังกา  ทิเบต  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ  มีมากกว่า  ๒๐  เรื่อง  เช่น  คู่มือมนุษย์ 
ภาษาคน  - ภาษาธรรม  วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม  ได้ถูกนำไปตีพิมพ์ที่สำนักพิมพ์  Westminster  ประเทศสหรัฐอเมริกา และหนังสือเรื่อง  แก่นพุทธศาสน์  ที่พระธรรมโกศาจารย์ 
(พุทธทาสภิกขุ)  ได้แสดงปาฐกถาในโอกาสพิเศษ  ณ  ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)  ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์  เมื่อวันที่  ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๐๔  ได้รับรางวัลชนะเลิศ  หนังสือดีประจำปี  ๒๕๐๘  จากองค์การยูเนสโก  
แห่งสหประชาชาติ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นผู้สร้างความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ  international  understanding  ที่สำคัญ  คือ  เป็นไปเพื่อสันติภาพของโลก  จึงได้มีคำประกาศเกียรติคุณยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นบุคคลสำคัญของโลก     
(พุทธทาสภิกขุ)  ได้แสดงปาฐกถาในโอกาสพิเศษ  ณ  ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)  ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์  เมื่อวันที่  ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๐๔  ได้รับรางวัลชนะเลิศ  หนังสือดีประจำปี  ๒๕๐๘  จากองค์การยูเนสโก  
แห่งสหประชาชาติ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นผู้สร้างความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ 
แห่งสหประชาชาติ  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นผู้สร้างความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ  international  understanding  ที่สำคัญ  คือ  เป็นไปเพื่อสันติภาพของโลก  จึงได้มีคำประกาศเกียรติคุณยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นบุคคลสำคัญของโลก
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นบุคคลสำคัญของโลก     
                        จากความเป็นมาและความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเหตุผลให้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะวิจัยเกี่ยวกับ  บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  
ผลของการวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้บทบาทในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นที่รู้จักกันเด่นชัดขึ้นทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อคณะสงฆ์โดยส่วนรวมในการนำผลการวิจัยไปปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยและจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภาครัฐและเอกชน 
ผลของการวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้บทบาทในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นที่รู้จักกันเด่นชัดขึ้นทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อคณะสงฆ์โดยส่วนรวมในการนำผลการวิจัยไปปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยและจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภาครัฐและเอกชน 
๒  วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                    ๑. เพื่อศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)   
                    ๒.เพื่อศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ 
(พุทธทาสภิกขุ) 
(พุทธทาสภิกขุ) 
                    ๓. เพื่อศึกษาผลกระทบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์
(พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย
๓.วิธีดำเนินการวิจัย         
                        การวิจัยเรื่อง  วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร  เทปการบรรยายธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ  ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งแหล่งปฐมภูมิ (Primary Data)  และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source)  แล้วเสนอการศึกษาวิเคราะห์โดยการพรรณนาวิเคราะห์ 
๔. สรุปผลการวิจัย
                      ๑. ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
                        สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ระยะ คือ ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะต้น (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ ๒๔๘๕) ผู้วิจัยจำแนกไว้เป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงอุปสมบทใหม่  ได้เรียนนักธรรมที่วัดเหนือได้แสดงพระธรรมเทศนาทุกวันให้พุทธศาสนิกชนได้ฟัง  และช่วงศึกษาพระปริยัติธรรมกรุงเทพมหานครสามารถสอบเปรียญธรรม ๓ ประโยคและช่วงกลับมาอยู่สวนโมกข์เก่า (วัดร้างตระพังจิก) จึงได้เขียนหนังสือเรื่องตามรอยพระอรหันต์เพื่อนำมาตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์พระพุทธสาสนารายตรีมาส  ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะกลาง (ระหว่าง  พ.ศ.๒๔๘๖ ๒๕๒๙) ผู้วิจัยจำแนกไว้เป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงสร้างสวนโมกข์ใหม่  ได้พัฒนาสวนโมกข์ให้เป็นแหล่งของการปฏิบัติธรรมโดยจัดสถานที่ให้เหมาะสม และช่วงบทบาทรุ่งเรืองของสวนโมกข์      ได้พัฒนาสวนโมกข์โดยการให้มีการสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณเพื่อเป็นสื่อการสอนธรรมจึงได้นำภาพปริศนาธรรมพร้อมด้วยพุทธประวัติยุคแรกของโลกมาอธิบาย ส่วนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะปลาย (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๐ ๒๕๓๖) ผู้วิจัยจำแนกไว้เป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงก่อนอาพาธ ได้ยกสวนโมกข์นานาชาติที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และช่วงบั้นปลายชีวิต ได้บรรยายธรรมประจำวันเสาร์ ซึ่งจะมีการแบ่งเป็นภาคของการเทศนาอันประกอบด้วย ภาควิสาขบูชา ภาคมาฆบูชา  และภาคอาสาฬหบูชา    
                        ๒.  บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
                       สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ประเด็น คือ การปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ โดยยึดหลักการทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม   การเป็นต้นแบบในการสวดมนต์ภาวนา โดยได้นำบทสวดมนต์มารวบรวมและนำแปลให้เข้าใจง่ายจนกลายเป็นบทสวดมนต์แปลฉบับสวนโมกข์และ            การเป็นต้นแบบในการศึกษา ได้เป็นต้นแบบในเรื่องการศึกษาทั้งการศึกษาทางโลกและการศึกษาทางธรรม   
                        ๓.  การเผยแผ่ด้วยเทคนิควิธีการและสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
                        สามารถจำแนกได้เป็น ๔ ช่วง คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการเที่ยวสั่งสอน โดยได้มีหน่วยงานที่ได้ทำหน้าที่เป็นนักเผยแผ่ธรรมเคลื่อนที่  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการพูด ได้มีการจัดกิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมทั้งได้มี การสนทนาธรรม  การแสดงธรรม การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง โดยดำเนินการตั้งแต่เมื่อปี  ๒๕๐๒ ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๗ จังหวัดนนทบุรีได้แสดงไปออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยสื่อศิลปะและเอกสารสิ่งพิมพ์  ได้นำภาพที่เป็นปริศนาธรรมไปลงในหนังสือพิมพ์พระพุทธสาสนารายตรีมาส
                        ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยกลุ่มบุคคล
                        สามารถจำแนกได้เป็น ๔ ช่วง คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวไทย  มีการอบรมทุกวันที่ ๒๐-๒๖ ของทุกเดือนเพื่อให้คนไทยเข้าใจศาสนาพุทธอย่างถูกต้อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการขององค์กรประกอบด้วยการอบรมระยะสั้นและการอบรมระยะยาวการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโครงการของพระธรรมทูตเป็นโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วโลกจึงมีตัวแทนการเผยแผ่ศาสนาออกไปประสานความเข้าใจและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศได้มีการอบรมทุกวันที่  ๑-๑๐  ของทุกเดือน   
                        ๕.  ผลกระทบจากบทบาทของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์  
(พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย
                        สามารถจำแนกได้เป็น ๔ ด้าน คือ  ผลกระทบด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนาประกอบด้วยผลกระทบด้านศาสนบุคคล  เป็นผู้สามารถนำธรรมะมาตีความได้อย่างลึกซึ้งจนทำให้ผู้ฟังได้เข้าใจธรรมะที่ง่าย  ผลกระทบด้านศาสนธรรม  โดยได้นำเรื่องปฏิจจสมุปบาท  คือ สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น มาทำความเข้าใจให้มองเห็นชัดในการเกิดทุกข์และดับทุกข์ซึ่งปฏิบัติได้ในปัจจุบันไม่ต้องรอชาติหน้า  ผลกระทบด้านศาสนวัตถุ    เป็นผู้สร้างสรรค์ ศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการอนุรักษ์จิตรกรรมเกี่ยวกับปริศนาธรรมและ ได้ประยุกต์โดยการใช้ปัญญาไม่ว่าจะเป็นพิธีบำเพ็ญกุศล  พิธีทำบุญ  พิธีถวายทาน และพิธีเบ็ดเตล็ด  และมีประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  แต่ต้องทำให้เหมาะสม ไม่ยึดมากจนเกินไป
                    ๖.ผลกระทบด้านแนวคิดทางการศึกษา
                    สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ด้าน คือ ผลกระทบด้านแนวคิดทางการศึกษา ได้เสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์แบบโดยเน้นให้ผู้ศึกษามี ๕ ดี  ผลกระทบด้านการศึกษาฝ่ายโลกิยะ  เป็นการศึกษาที่แก้ปัญหาของความทุกข์ได้ชั่วคราวเพราะเป็นการศึกษาอย่างชาวบ้านที่ให้ความสำคัญกับความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ และผลกระทบด้านการศึกษาฝ่ายโลกุตตระ ต้องการเน้นให้คนเข้าถึงธรรมระดับโลกุตตระในชาตินี้ไม่ต้องรอต่อไปชาติหน้า   
                        ๗.ผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่สมัยสร้างสวนโมกขพลาราม  ซึ่งได้มีการสร้างถาวรวัตถุให้กลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด  โดยสร้างอุโบสถที่พื้นดินตามธรรมชาติและมีการอนุรักษ์ต้นไม้โดยชี้ให้เห็นคุณค่าและโทษที่จะได้รับจากการไม่มีป่าไม้รวมทั้งสัตว์ป่าทุกชนิด 
๕. ข้อเสนอแนะ
     ๑. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                        จากการศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์
(พุทธทาสภิกขุ) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังต่อไปนี้
                        ๑.   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญของโลก  ทางสถาบันทางการศึกษาหรือกระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบายให้บรรจุประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่านลงใน หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน            เพื่อนักเรียนจะได้เรียนรู้ประวัติของบุคคลระดับโลก
                        ๒.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งถือว่าหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเน้นกระบวนการของไตรสิกขาเจาะลึกด้วยปัญญา  สั่งสอนพุทธศาสนิกชนในเรื่องพุทธที่แท้จริงควรที่คณะสงฆ์ไทยเอาเป็นแบบอย่าง
                        ๓.  หลักคำสอนของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ทางสถาบันการศึกษา     ควรที่ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนหลักคำสอนที่ท่านได้เขียนเอาไว้อย่างเข้าใจแล้วไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสงบแก่จิตใจด้วย
                        ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
มีผลกระทบทางการศึกษาทั้งแนวคิดทางการศึกษา ได้วิจารณ์เรื่องของการศึกษาปัจจุบันเปรียบเสมือนหมาหางด้วน  ดังนั้นทางกระทรวงศึกษาธิการต้องเติมแต้มให้กับหมาที่หางด้วนด้วย หมายถึง ต้องจัดการศึกษาทั้ง ๒ ด้านด้วยกัน คือ ทั้งด้านวิชาชีพให้มีความรู้ความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพส่วนด้านจิตวิญญาณ  จะต้องให้นักเรียนศึกษาอย่างมีทั้งคุณภาพมีศีลธรรม
และจริยธรรมในการดำเนินชีวิตที่ดี
                        ๕.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)                     มีผลกระทบด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอย่างดียิ่ง  ทางคณะสงฆ์ไทยทุกวัดควรให้ความสำคัญเรื่องธรรมชาติให้มากที่สุด  ส่วนภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่ทำเป็นแบบอย่างเอาไว้
        ๒.  ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
                        จากการวิจัยบทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์
(พุทธทาสภิกขุ) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการทำวิจัยดังต่อไปนี้
                        ๒.๑  ควรมีการศึกษาผลกระทบต่อแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
จากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  
                        ๒.๒  ควรมีการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาของพระธรรมโกศาจารย์
(พุทธทาสภิกขุ) เปรียบเทียบกับแนวคิดทางการศึกษาหรือนักปราชญ์กับท่านอื่น
                        ๒.๓  ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติอานาปานสติของสวนโมกขพลารามกับการปฏิบัติธรรมกับสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานอื่นๆ
                        ๒.๔  ควรมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของชาวพุทธที่ได้จากการปฏิบัติธรรมจาก               สวนโมกขพลาราม  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บรรณานุกรม
                        ก.  เอกสารชั้นปฐมภูมิ
ข้อมูลจากเทปบรรยายธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และการสัมภาษณ์บุคคล
ที่กำหนดไว้
                        ข.  เอกสารชั้นทุติยภูมิ
(๑)  หนังสือ
เนาวรัตน์  พงศ์ไพบูลย์.  แผ่วผ่านธารน้ำไหล.  กรุงเทพมหานคร : เกี้ยว - เกล้า  พิมพการ,  ๒๕๓๗.
ประกาศ  วัชราภรณ์.  พุทธทาสประทีปแห่งสวนโมกข์.  กรุงเทพมหานคร : เกี้ยว เกล้า  พิมพการ, 
                        ๒๕๒๐.     
ประเวศ  วะสี.  สวนโมกข์  ธรรมกาย  สันติอโศก.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน,
        ๒๕๓๐.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต).  พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) บุคคลสำคัญ
         ของโลก.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์  หจก.  เอมี  เทรดดิ้ง,  ๒๕๔๙.
พระประชา  ปสนฺนธมฺโม.  เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล
                        คีมทอง, ๒๕๓๕.  
พุทธทาสภิกขุ.  พุทธทาส  สวนโมกขพลาราม  กำลังแห่งการหลุดพ้น. นนทบุรี : ภาพพิมพ์,
        ๒๕๓๘.
(๒)  เอกสารและบทความต่าง ๆ
จินดา  จันทร์แก้ว.  ขบวนการสงฆ์ในปัจจุบัน.  เอกสารการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาใน
                        สังคมไทย  หน่วย  ๑ - ๗.  นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,  ๒๕๓๓.   
กลุ่มปฏิบัติงานเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา. ธรรมนิทัศน์ สัปดาห์พุทธธรรมพุทธทาส.
                        กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หอรัตน์ชัยการพิมพ์, ๒๕๓๑.
 (๓)  วิทยานิพนธ์
จิราพร  คงเหล่.  “ศึกษาบทบาทของสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.  
                        วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.  บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ,
                        ๒๕๔๑. 
ปิยะวรรณ์  สุธารัตน์. โวหารและความคิดจากอัตชีวประวัติของพุทธทาสและศาสตราจารย์                                             นายแพทย์  ประเวศ  วะสี. รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา,
                        ๒๕๔๑.   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น