วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เรื่องที่ควรทราบของ (นักธรรมชั้นตรี)
นักธรรมชั้นตรี ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
๑. วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นวิชาที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์ และ
ศิลป์ ที่กล่าวว่าเป็นศิลป์ เพราะการเรียงความเป็นเรื่องของความงดงามในการใช้ภาษา
ส่วนที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์นั้น เพราะการเรียงความเป็นวิชาที่มีหลักการ มีทฤษฎี
วิธีการที่เป็นแบบแผนชัดเจน ฉะนั้น
ผู้ที่จะเรียงความได้ดีต้องมีความรู้ในด้านภาษาดีพอสมควรและเรียนรู้หลักการวิธีการจนเข้าใจ
ตลอดจนมีประสบการณ์ผ่านการฝึกหัดมาอย่างดีวิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรม นอกจากจะทำให้ผู้เรียนขบคิดหัวข้อธรรมะให้แตกฉานสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเองแล้ว
ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน
นำเสนอแก่ผู้อื่นให้เข้าใจได้ด้วยภาษาเขียนตรงกับหลักการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิด
ลงมือทำ และ นำเสนอ หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า คิด ทำ นำเสนอ
สำหรับนักธรรมชั้นตรี ต้องแต่งอธิบายให้สมเหตุสมผลอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ
๑ สุภาษิต บอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย
สุภาษิตที่อ้างมานั้นต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมกับเรื่องกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๒ หน้าขึ้นไป และต้องเขียนเว้นบรรทัด
๒. วิชาธรรมวิภาค
วิชาธรรมวิภาค เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาหลักธรรม คำสอน ในพระพุทธศาสนา
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
และนำไปเป็นหลักหยึดในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม
อันจะนำความสุขสงบให้บังเกิดขึ้นแก่ชีวิตตนเอง และสังคมส่วนรวมหลักธรรมในวิชาธรรมวิภาคนี้ ท่านจัดไว้เป็นหมวด ตั้งแต่ ทุกะ หมวด
๒ ถึง ทสกะ หมวด ๑๐ ปกิณกะ หมวด เบ็ดเตล็ด รวมถึงคิหิปฏิบัติ คือ
หลักปฏิบัติสำหรับผู้ครองเรือน
๓. วิชาพุทธประวัติ
วิชาพุทธประวัติ
เป็นวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ทราบประวัติของพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอยู่จริง ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ การทราบภูมิหลัง
ความเป็นมาของพระพุทธเจ้าจะทำให้เกิดศรัทธาปสาทะ
ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง
ที่สำคัญเมื่อได้ทราบพระจริยาวัตรของพระพุทธองค์แล้ว
จะทำให้ได้แบบแผนที่ดีงามในการดำเนินชีวิต และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ
ในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์
๔.วิชาวินัยมุข
วิชาวินัยมุข กล่าวถึงพระวินัย
ซึ่งเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ
ระบุถึงโทษมากโทษน้อยตามความผิดที่กระทำ แล้วสั่งสอนให้สำรวมระวังมิให้ปฏิบัติผิด
ให้ปฏิบัติตามข้อที่ทรงอนุญาต งดเว้นข้อที่ทรงห้าม
วิชาวินัยจึงเป็นวิชาที่มุ่งให้ผู้ศึกษาทราบรายละเดียดของพระวินัย
แล้วมุ่งรักษาให้บริสุทธิ์ พระวินัยชื่อว่า เป็นรากแก้วของพระศาสนา
เพราะเป็นตัวบ่งชี้ หรือวัดความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาได้
ทั้งนี้ดูได้จากการปฏิบัติตามพระวินัยของพระภิกษุ หากปฏิบัติตามพระวินัยได้มาก
ก็แสดงว่าเจริญ และหากปฏิบัติย่อหย่อนก็แสดงว่าเสื่อม
ในส่วนของวินัยมุขนี้จะกล่าวถึงศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ
๕ วิชาศาสนพิธี
วิชาศาสนพิธี
เป็นวิชาที่กล่าวถึงพิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนที่จะพึงปฏิบัติในทางศาสนา
ซึ่งนอกจากจะสื่อความหมายไปถึงหลักจริยธรรมในศาสนาแล้ว ยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้พุทธศาสนิกชนมีระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
และเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนแล้ว ก็นับว่าบุคคล กลุ่มคน สังคมนั้นๆ
มีความเจริญ มีระเบียบแบบแผนเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น
กลายเป็นอารยธรรมทางศาสนาที่งดงาม เป็นที่ชื่นชมของผู้รู้ทั่วไป
วิชาศาสนพิธีสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี มีเนื้อหา
ครอบคลุมพิธีกรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน เช่น พิธีถวายทาน
พิธีแสดงความเคารพ เป็นต้น
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555
จงทำตัวให้มีคุณค่าเมื่อเกิดมาอยู่ในโลกนี้
@ ต้นไม้ให้ ความร่มรื่น แก่ชีวิต นกตัวนิด ให้เสียงเพลง แก่โลกหล้า
ดอกไม้น้อย ยังให้ความ ชื่นบานตา แม้ต้นหญ้า ก็ยังให้ ออกซิเจน
แล้วตัวเรา ที่เกิดมา ในโลกนี้ ทำสิ่งดี ใดไว้ ให้โลกเห็น
กินนอนเล่น เท่านั้นหรือ ที่ทำเป็น ไม่ดีเด่น กว่าบรรดา ต้นหญ้าเลย
พรรณหมู่ไม้ โตได้ วันละนิด อันความงาม พาจิต คนสดใส
ก่อนเหี่ยวแห้ง
หมู่แมลง ยังชื่นใจ ดูดเกสร ร่อนไป เลี้ยงรวงรัง
อันคนเรา เกิดมาอยู่ คู่กับโลก มีทุกข์โศก โรคร้าย ตายลงฝัง
บทกลอน (เกี่ยวกับวันแม่)
แม่ประคองครรภ์
@
เมื่อรู้ว่าตัวเธอนั้นตั้งท้อง
|
เฝ้าประคองด้วยใจที่มุ่งหวัง
|
สิ่งที่ชอบเผ็ดร้อนเธอระวัง
|
เพื่อปกกันลูกน้อยจะกระเทือน
|
แม้ไม่รู้ว่าจะชายหรือหญิง
|
เธอประวิงเฝ้านับครบวันเคลื่อน
|
แม้จะเจ็บจะกลัวตัดทั้งปวง
|
เธอปลื้มทรวงเสียงแว้แรกเริ่มดัง
|
เริ่มตั้งไข่ใจพองประคองลูก
|
ความพันผูกแนบแน่นสุดขานไข
|
เริ่มหัดเดินหัดพูดแม่สุขใจ
|
ก้าวแรกได้ให้ลูกด้วยผูกพัน
|
แม่เป็นครูคนแรกของชีวิต
|
ชี้ถูกผิดให้ลูกรู้ด้วยความฝัน
|
เติบโตใหญ่รวยจนไม่สำคัญ
|
ขอลูกฉันเป็นคนดีของสังคม
|
มาวันนี้แม่เริ่มแก่ชราล้า
|
แม่มองหาลูกทุกคนอยู่ที่ไหน
|
จากอกแม่ลืมแม่ไม่ห่วงใย
|
ถึงเศร้าใจแต่แม่ไม่โกรธเคือง
|
ถ้าใครยังมีแม่ขอเชิญเถิด
|
กราบเท้าเทิดบาทแม่ประเสริฐเหลือ
|
กตัญญูรู้คุณบุญคุ้มตัว
|
แม้สิ่งชั่วต้องแพ้พ่ายกตเวทิตาคุณ
|
กตัญญูรู้คุณบุญคุ้มตัว
|
แม้สิ่งชั่วต้องแพ้พ่ายกตเวทิตาคุณ
|
กตัญญูรู้คุณบุญคุ้มตัว
|
แม้สิ่งชั่วต้องแพ้พ่ายกตเวทิตาคุณ
|
@
รักของแม่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งไหน
|
หาสิ่งใดมาเทียบมิได้หนา
|
ตั้งแต่แม่ตั้งท้องคลอดลูกยา
|
อีกน้ำนมของมารดาให้ลูกกิน
|
แม่ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกน้อย
|
แม่เฝ้าคอยพัดวีให้ลูกสิ้น
|
แม่ยอมอดเมื่อให้ลูกนั้นได้กิน
|
แม่ยลยินลูกน้อยดั่งกลอยใจ
|
บทกลอน พ่อแม่ - แก่เฒ่า
พ่อแม่ - แก่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า
จำจากเจ้าไม่อยู่นาน
จะพบจะพ้องพาน
เพียงเสี้ยววานของคืนวัน
ใจจริงไม่อยากจาก
เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน
แต่ชีพมิทนทาน
ย่อมร้าวรานสลายไป
ขอเถิดถ้าสงสาร
อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ
คนแก่ชะแรวัย
คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน
ไม่รักก็ไม่ว่า
เพียงเมตตาช่วยอาทร
ให้กินและให้นอน
คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ
เมื่อยามเจ้าโกรธขึง
ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย
ร้องให้ยามป่วยไข้
ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน
เฝ้าเลี้ยงจนโตใหญ่
แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน
หวังเพียงจะได้ผล
เติบโตจนสง่างาม
ขอโทษถ้าทำผิด
ขอให้คิดทุกทุกยาม
ใจแท้มีแต่ความ
หวังติดตามช่วยอวยชัย
ต้นไม้ที่ใกล้ฝัง
มีหรือหวังอยู่ทนได้
วันหนึ่งคงล้มไป
ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง
หญิงคนหนึ่งที่เราเรียกว่าแม่
หญิงคนหนึ่ง
หญิงคนหนึ่ง คนที่เรา เรียกว่าแม่ หญิงคนที่ รักเราแท้ ไม่แปรผัน
หญิงคนที่ รักเรา เท่าชีวัน หญิงคนนั้น ให้เราเกิด กำเนิดมา
หญิงคนนี้ ที่เราควร จะกราบไหว้ หญิงคนที่
เราทั้งหลาย ควรฝันหา
หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา หญิงคนที่ เสียน้ำตา
ตอนคลอดเรา
หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา หญิงคนที่ เสียน้ำตา
ตอนคลอดเรา
วันเราเกิด หญิงคนนี้ ที่ต้องเจ็บ วันเราเจ็บ
เขายิ่งเจ็บ กว่าหลายเท่า
วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา วันเขาเศร้า
แล้วเราไป อยู่ไหนกัน
วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา วันเขาเศร้า
แล้วเราไป อยู่ไหนกัน
คิดบ้างเถิด ลูกทุกคน จงได้คิด คิดบ้างเถิด
ใครที่ผิด ที่แปรผัน
คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน คิดบ้างเถิด
ใครลืมวัน ที่ผ่านมา
คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน คิดบ้างเถิด
ใครลืมวัน ที่ผ่านมา
เราต่างหาก ที่มัวเมา จนลืมคิด เราต่างหาก
เราที่ผิด ไม่ไปหา
เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา เราต่างหาก
ที่มันบ้า หลงลืมตัว
เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา เราต่างหาก
ที่มันบ้า หลงลืมตัว
กลับไปเถิด กลับไป เยี่ยมแม่บ้าง อย่าให้ท่าน
ต้องอ้างว้าง ใจสลัว
อย่าหลงไฟ หลงแสงสี จนลืมตัว อย่าเมามัว
จนลืมแม่ ผู้รักเรา
อย่าหลงไฟ หลงแสงสี จนลืมตัว อย่าเมามัว
จนลืมแม่ ผู้รักเรา
หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา หญิงคนที่ เสียน้ำตา
ตอนคลอดเรา
วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา วันเขาเศร้า
แล้วเราไป อยู่ไหนกัน
คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน คิดบ้างเถิด
ใครลืมวัน ที่ผ่านมา
เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา เราต่างหาก
ที่มันบ้า หลงลืมตัว
บทกลอนเกี่ยวกับการทำกิจกรรมวันแม่
บทกลอนงานวันเกิด
@ งานวันเกิดที่ยิ่งใหญ่ใครคนนั้น ฉลองกันในกลุ่มผู้ลุ่มหลง
หลงลาภยศสรรเสริญเพลินทะนง วันเกิดส่งชีพสั้นเร่งวันตาย
อีกมุมหนึ่งหนึ่งซึ่งเหงาน่าเศร้าแท้ หญิงแก่แก่นั่งคอยและคอยหา
โอ้วันนั้นเป็นวันอันตราย แม่คลอดสายโลหิตแทบปลิดชนม์
วันเกิดลูกเกือบคล้ายวันตายแม่ เจ็บท้องแท้เท่าไรมิได้บ่น
กว่าอุ้มท้องกว่าจะคลอดรอดเป็นคน เติบโตจนมานี้นี่เพราะใคร
แม่เจ็บเจียนขาดใจในวันนั้น กลับเป็นวันลูกฉลองกันผ่องใส
ให้ชีวิตแล้วก็หลงระเริงใจ ลืมผู้ให้ชีวิตอนิจจา..
ไฉนจึงเรียกกันว่าวันเกิด วันผู้ให้กำเนิดประเสริฐกว่า
คำอวยพรที่คุณเขียนควรเปลี่ยนมา ให้มารดาคุณเป็นสุขจึงถูกแท้
เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดนะ ควรที่จะคุกเข่ากราบเท้าแม่
ระลึกถึงพระคุณอบอุ่นแท้ อย่ามัวแต่จัดงานประจานตัว....
การปฏิบัติตัวของพิธีกร
พิธีกรในพิธี
(๑) จุดเทียนชนวน ถือเชิงเทียนโดยมือขวา
หงายมือให้นิ้วทั้ง ๔ รองรับฐานเชิงเทียน โดยมีหัวแม่มือบีบบังคับเชิงเทียนไว้ไม่ให้ตก
เดินตรงเข้าไปหาประธานห่างพอสมควร ยืนโค้งคำนับ
(๒) เดินตามประธานในพิธีไปทางซ้ายมือของประธาน เมื่อถึงหน้าโต๊ะหมู่บูชา
ยื่นมือขวาส่งเทียนชนวนให้ประธาน ส่วนมือซ้ายเหยียดตรงแนบลำตัว
(๓) เมื่อยื่นเทียนแล้วถอยห่างออกมาห่างพอประมาณ
(๔) เมื่อประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เดินเข้าไปใกล้พอสมควร
ยื่นมือขวาหงายมือรับเทียนชนวนจากประธานคืน นั่งหรือยืนรอ
(๕) เมื่อประธานกราบพระรัตนตรัยแล้ว กำลังกลับที่เดิม
ดับเทียนชนวนโดยบีบไส้เทียนให้ดับ หรือใช้ฝาครอบสำหรับดับเทียน หรือเอามือพัด ไม่ควรใช้ปากเป่าดับไฟ
(๖) การส่งเทียนชนวน เมื่อประธานในพิธีจุดเทียนน้ำมนต์
ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
(๗) เมื่อประธานจุดธูปเทียน กราบพระรัตนตรัย กราบพระสงฆ์แล้ว
นั่งกระโหย่งพนมมือเริ่มกล่าวคำอาราธนาศีลห้า ขณะรับศีลห้าอาจนั่งพับเพียบก็ได้
(๘) หลังจากรับศีลห้าเสร็จ นั่งกระโหย่งพนมมือ อาราธนาพระปริตร
เสร็จแล้วนั่งพับเพียบ
(๙) ให้คำแนะนำแก่เจ้าภาพในขั้นตอนของพิธีกรรม จนเสร็จพิธี
ไม่ควรหนีกลับก่อนพิธีเสร็จ
ประวัติวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา